foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

preecha pintong header

ประวัติการศึกษา

preecha 03
  • เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2457 ณ บ้านโพนทอง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  • เป็นบุตรของนายตา และนางคำ พิณทอง มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน
  • เริ่มเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านโพนทอง การเรียนดีมากแต่ฐานะยากจนจึงบวชเรียน
  • เป็นสามเณรที่วัดหอไตร อำเภอเขื่องใน ได้เล่าเรียนการอ่านอักษรโบราณ ทั้งตัวไทยเดิม ตัวลาว และตัวไทยน้อยอย่างแตกฉาน
  • พ.ศ. 2473-2475 สอบได้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ในขณะที่ยังเป็นสามเณร
  • พ.ศ. 2480 เมื่อย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าใหญ่ (มหาวนาราม) สอบได้เปรียญสามประโยค และได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนธรรม
  • พ.ศ. 2484 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกลาง
  • พ.ศ. 2495 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาของพระภิกษุสามเณร เช่น การเรียนนักธรรม เรียนบาลี
  • พ.ศ. 2499 สอบได้เปรียญเก้าประโยค ซึ่งถือว่าเป็นเปรียญสูงสุดของฝ่ายสงฆ์ ได้รับการยกย่องจากทุกสารทิศในวงการสงฆ์ เพราะเป็นพระชนบทที่ไม่ได้ไปร่ำเรียนในสำนักกรุงเทพฯ แต่สอบได้ สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายคือ เจ้าคุณพระศรีธรรมโสภณ เจ้าของนามปากกา "ปริญญาโณ ภิกขุ"
  • พ.ศ. 2505 ลาสิกขาบท

preecha

การทำงาน

  • หลังจากลาสิกขาบทแล้ว ได้ออกมาประกอบอาชีพส่วนตัวโดยตั้ง "โรงพิมพ์ศิริธรรม" ด้วยเหตุที่มีใจรักในวัฒนธรรมอีสาน วรรณคดีอีสาน ต้องการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้อ่านได้ศึกษา
  • ด้วยความเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายสาขา โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชาวอีสาน จึงได้แต่งหนังสือมากมายออกมาเผยแพร่  ผ่านทางโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ของตนเอง เช่น
    • ประเพณีไทยโบราณอีสาน
    • ภาษิตโบราณอีสาน
    • มนต์โบราณอีสาน เล่ม 1 เล่ม 2
    • รวมวรรณคดีอีสาน เล่ม 1 เล่ม 2
    • ขูลู-นางอั้ว
    • ผาแดง-นางไอ่
    • เวสสันดรคำโคลง
    • สังข์ศิลป์ชัย
    • สวดมนต์แปล
    • กาพย์ปู่สอนหลาน - หลานสอนปู่
    • สิริจันโทวาทยอดคำสอน
    • สวดมนต์เจ็ดตำนาน
    • นกจอกน้อย
    • ท้าวก่ำกาดำ
    • ไขภาษิตโบราณอีสาน
    • ท้าวฮุ่ง-หรือเจือง
    • สารานุกรม อีสาน-ไทย-อังกฤษ
  • พ.ศ. 2480 - 2494 เป็นครูสอนนักธรรมบาลี ประจำสำนักเรียนวัดมณีวนาราม วัดสุปัฏนารามและวัดกลางอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2490 ได้เป็นประธานขออนุญาตตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้นที่ วัดมณีวนาราม ให้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนอุบลวิทยากร
  • พ.ศ. 2499 ได้ทำถนนกว้าง 6 เมตร ยาว 9 กิโลเมตรจาก บ้านโพนทองถึงบ้านกอก
  • พ.ศ. 2500 ได้พัฒนาภายในบ้านโพนทอง โดยแบ่งที่ดินให้ครัวเรือนละ 200 ตารางเมตร มีครอบครัว 200 เศษ
  • พ.ศ. 2501 ได้สร้างโรงเรียนนักธรรมบาลีและโรงเรียนมัธยมขึ้น 2 หลัง ด้วยเครื่องไม้จริง หลังคามุงสังกะสี กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร
  • พ.ศ. 2506 ได้สร้างสถานีอนามัยชั้นสองขึ้น 1 หลัง ที่บ้านโพนทอง

preecha 00 
รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2528

คุณพ่อปรีชา พิณทอง ถือเป็น "คนสำคัญของแผ่นดินอีสาน" เป็นผู้รวบรวบ ค้นคว้า ปริวรรต วรรณกรรม ประเพณี พิธีกรรม รวมถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของอีสานเพื่อเป็นฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้สามารถนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง โดยมีผลงานที่เป็นประจักษ์ และ เป็นต้นแบบให้ลูกหลานได้ใช้สืบค้น คือ หนังสือประเพณีโบราณไทยอีสาน หนังสือภาษิต(ผญา) โบราณอีสาน หนังสือสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ และอื่นๆ อีกกว่า 30 เล่ม

ท่านมักจะปรารภกับผู้ที่ท่านสนทนาด้วยเสมอมาว่า คนอีสานขาดความรู้ความเข้าใจของดีอีสาน ชาวอีสานไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจตนเอง แต่ไปศึกษาเรื่องอื่นๆ ที่ห่างไกลตัวเอง คนที่ไม่เข้าใจตนเองแล้วจะไปเข้าใจคนอื่นได้อย่างไร ท่านจึงเป็นผู้นำในการศึกษาค้นคว้าวรรณคดีลุ่มน้ำโขง ด้วยการศึกษาจากคัมภีร์ใบลาน หนังสือก้อมที่มีอยู่ในวัดต่างๆ ซึ่งกำลังจะสูญหายไป ท่านมักปรารภอยู่เสมอด้วยความมุ่งมั่นว่า ท่านกำลังทำความดีที่คนอื่นเขาไม่ค่อยเห็นว่าเป็นความดี ซึ่งทำให้ท่านดูเหมือนว่าอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานและสังคมภายนอก เรียกได้ว่าทำด้วยใจรักอย่างแท้จริง และในที่สุดความดีที่ท่านทำก็ได้ปรากฏผล มีคนเห็นถึงความดีนั่น

preecha 05
คุณพ่อปรีชา พิณทอง กับ ดร.เสรี พงศ์พิศ

ชีวิตและผลงานของท่าน ดร.ปรีชา พิณทอง ทั้งเมื่ออยู่ในเพศบรรพชิตและฆราวาส มีมากมายแทบไม่น่าเชื่อว่า คนธรรมดาที่ด้อยโอกาสคนหนึ่งจะสามารถทำได้ ท่านได้เขียนไว้ในเรื่องเล่าของท่านเองตอนหนึ่งความว่า “…ข้าพเจ้าเรียนมหาวิทยาลัยโลกจาก ไฮ่นา สาโท ฮั้วสวน ลวนปิ่น ผักนาง อางหญ้า แคบแค แจฮั้ว ดินดอน ขอนไม้ นกหนู ปูปีก กว่าจะได้สิ่งเหล่านี้มารวมกันเป็นกอบเป็นกำก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร…” แสดงให้เห็นว่า ท่าน ดร.ปรีชา พิณทอง ได้แสดงความเป็นปราชญ์แท้แห่งเมืองนักปราชญ์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวรรณกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอีสานและพระพุทธศาสนา โดยการ “เหมบเขียน” (นอนคว่ำเขียนหนังสือบนเตียงไม้) อยู่อย่างโดดเดี่ยวบนบ้านอันเป็นที่ทำงานส่วนตัว และจัดพิมพ์เป็นหนังสือออกเผยแพร่เป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัว

ด้วยผลงานการศึกษาค้นคว้าของท่านนับสิบๆ เล่ม ที่เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง จนอาจเรียกได้ว่า ไม่มีนักศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมและประเพณีวัฒนธรรมอีสานคนใด ไม่ได้อ้างอิงงานของท่าน เพียงเห็นหนังสือ สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ความหนา 1,075 หน้า เล่มเดียวก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ในความวิริยะอุตสาหะ ใส่ใจ ทุ่มเท อุทิศชีวิตวิญญาณ เพื่องานการศึกษาค้นคว้าตามปราชญ์วิถีที่หาได้ยากยิ่ง ท่านเล่าไว้ในประวัติของท่านเองว่า “…ข้าพเจ้ามีลูกศิษย์เป็นดอกเตอร์หลายคน แต่ศิษย์เหล่านั้นข้าพเจ้าไม่ได้อบรม สั่งสอนเขาเลย เขาเป็นศิษย์โดยเอาความรู้จากหนังสือที่ข้าพเจ้าได้แต่ง ไปทำวิทยานิพนธ์ สาหรับข้าพเจ้าก็ได้ปริญญาเอกเหมือนลูกศิษย์ ทั้งนี้จะเป็นเพราะข้าพเจ้าไม่มีสถาบันชั้นสูงรับรอง…”

siritham offset

โดยสถานภาพเมื่อครองเพศฆราวาส ท่านก็มีครอบครัวที่สงบและเป็นสุขกับศรีภรรยาคือ คุณแม่คำวงศ์ พิณทอง (สกุลเดิม เดชพันธ์) กับบุตรชายที่ดีและเก่งคนพี่ชื่อ ปริญญา พิณทอง คนน้องชื่อ ปรัชญา พิณทอง ประสบความสำเร็จตามอัตภาพและพอเพียง ในการบริหารจัดการโรงพิมพ์ศิริธรรม และพัฒนามาเป็น โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท ที่กำลังเจริญเติบโตในรุ่นลูก ความสำเร็จของพ่อใหญ่ ดร.ปรีชา พิณทอง จึงเป็นความสำเร็จทั้งวิถีโลก วิถีธรรม และวิถีปราชญ์แห่งเมืองนักปราชญ์ที่น่าภาคภูมิใจ เป็นความดี ความงาม ความสุข อันบริสุทธิ์ ก่อให้เกิดพลังบันดาลใจ เป็นแบบอย่างอันงดงามแก่ลูกหลานชาวอุบลราชธานีและคนทั่วไป

เกียรติประวัติ

  • พ.ศ. 2528 เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยการนาเสนอของ ศูนย์วัฒนธรรม วิทยาลัยครูอุบลราชธานี (มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2528 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย เนื่องจากเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานทางวิชาการแสดงเอกลักษณ์ไทย มีความรู้ความสามารถดีเด่นหาได้ยาก โดยเฉพาะงานบุกเบิกวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ผลงานที่สำคัญคือ การอ่านอักษรไทยอีสานโบราณทั้งอักษรตัวธรรมและอักษรไทยน้อย แล้วถ่ายทอดเป็นอักษรไทยปัจจุบัน และเรียบเรียงตำราวิชาการทั้งคดีโลกและคดีธรรม
  • พ.ศ. 2532 เป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2537 ได้รับเกียรติคุณเป็น "ผู้อนุรักษ์ไทยดีเด่น" ในวันอนุรักษ์มรดกไทย วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2537

ที่อยู่

  • โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท เลขที่ 429 หมู่12 ถนนอุบล-ตระการ บ้านโนนหงษ์ทอง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
  • โทรศัพท์ 045 317 491

preecha 06

ดร.ปรีชา พิณทอง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สิริอายุได้ 89 ปี ประวัติชีวิตของพ่อใหญ่ ดร.ปรีชา พิณทอง จึงเป็นประทีปธรรมแห่งอีสาน ตำนานปราชญ์เมืองอุบลราชธานี โดยแท้

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)