foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

paya kwam tuay

ความทวย โดย : อาจารย์สวิง บุญเติม ปธ.๙ M.A.

bulletความทวยเรียงตามหมวดอักษร

soi 8 ความทวย : "หญิงเห็นกลาย ชายเห็นชายเด้า เข้าบ่เข้าคลำเบิ่งเอา" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ผู้ชายฝนมีดหรือฝนพร้า อธิบายเวลาลับมีด-พร้า ผู้ชายจะนั่งยองๆ ผลักมีดไปตามหินและดึงกลับเป็นจังหวะๆ เอวก็จะโยกตัวไปตามจังหวะผลักและดึงกลับนั้น
ความทวย : "ญาท่านบ่เว้า ญาเจ้าบ่แสดง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ พระพุทธรูป
  ความทวย : "หญ้าผีบ้าบ่ถูกกะติด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หญ้าคา
soi 10 ความทวย : "ดำจั่งหมี ตีก้นจั่งกัด คำจั่งหมัดสนเคราทางก้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ สิ่ว และ เข็มเย็บผ้า (จั่ง = คล้าย, สนเครา = สนตะพาย)
ความทวย : "ดังบ่มีฮู อยู่ป่ากินสัตว์" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เสือ (ดัง = จมูก, ฮู = รู)
  ความทวย : "ดังอยู่ดิน บินบนอยู่เทิงฟ้า" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือหอ (ดัง = เสียงดัง, เฮือหอ = เรือเหาะหรือเครื่องบิน)
soi 11 ความทวย : "ต้นมันท่อลำเทียน หมากมันเลียนซ่ายล่าย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ต้นข้าว อธิบายได้ว่า ต้นมันเล็กๆ แต่หมาก (เมล็ด) มันจะเรียงเป็นรวงยาว
ความทวย : "ตักกะเต็ม บ่ตักกะเต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หมากพร้าว อธิบายว่า น้ำมะพร้าวไม่มีใครไปตักใส่ไว้ มันก็เต็มอยู่อย่างนั้น
  ความทวย : "ตาเดียว หลายหน่อ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ตากล้า อธิบายว่า แปลงนาที่หว่านข้าวเพื่อเอาต้นกล้าไปดำนานั้น ชาวอีสานเรียก ตากล้า ตากล้าแปลงเดียวนั้นจะมีหน่อข้าวที่หว่านลงไปงอกขึ้น นับหน่อไม่ได้
  ความทวย : "โตอยู่นา ตาอยู่บ้าน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ปูกับเหล็กตาปู อธิบายว่า โต (ตัว) อยู่นา (ท้องนา) คือ ปู ตาอยู่บ้านคือเหล็กตาปู
  ความทวย : "ตกปุ๊ก ข้างซี่บ่ให้ว่าขี้ช้าง ยื่อแย่งแขนงเดียว" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ข้าวเหนียวแดง
  ความทวย : "ตักบ่เต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ต้นบก อธิบายว่า บก ภาษาอีสานคือเหือดแห้ง
  ความทวย : "ตากบ่แห้ง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ซุ่ม ปัญหาเชาวว์ หมายถึงความซุ่มที่ไม่แห้ง (ในที่นี้จะหมายถึง ซุ่มขังไก่ เพราะในสำเนียงคนอีสาน ซุ่มกับสุ่ม ออกเสียงเหมือนกัน)
  ความทวย : "โตใหญ่ตาน้อย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ช้าง
  ความทวย : "ตุ้มกลางดง โค่งโน่งกลางเหล่า เค้าเม้ากลางเฮือน แอ๋แอ่นกลางซาน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : จุ้มกลางดง คือ เสียงปืน, โค่งโน่งกลางเหล่า คือ คันแฮ้ว เค้าเม้ากลางเฮือน คือ ใต้กระบอง แอ๋แอ่นกลางซาน คือ ไม้คานหาบของ
  ความทวย : "ตาบ่เน่า เก่าบ่เป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ความดีที่คนทำไว้
soi 12 ความทวย : "แถนบ่เว้า หมู่เจ้ากะให้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บั้งไฟ (แถน = พระอินทร์)
ความทวย : "ไถบ่มีฮอย แต่ว่าจ่อยเบิ้ดโต" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ไถเงิน (ฮอย = รอย, จ่อย = ผอม, เบิ้ดโต = ทั่วทั้งตัว)
  ความทวย : "เถียงอีหยัง บังแดดบ่ได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนเถียงกัน กระท่อมนา คนอีสานเรียกว่า "เถียงนา" คนทะเลาะกัน คนอีสานเรียกว่า "เถียงกัน" (อีหยัง = คืออะไร)
  ความทวย : "ถมบ่เต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บก คำตอบนี้เป็นคำตอบปัญหาเชาว์เพราะถ้ายังมีคำว่า "บก" หรือพร่องอยู่มันก็ต้องไม่มีคำว่าเต็ม
ความทวย : "ถิ่มใส่น้ำดังโป๊ก ถิ่มใส่บกดังถ่วน ถิ่มใส่ป่าหญ้าดังป้อง ดังก้องทั่วเมือง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ความดีคนดี อันว่าความดีคนดีนั้นโบราณท่านว่าตกน้ำไม่ไหลคือทิ้งลงน้ำจะให้จมมันก็ไม่จม ใช้ไม้แข็งกะจะให้ตาย ให้แตก มันก็ไม่ตาย เพราะมันมีฐานมวลชนรองรับเหมือนทิ้งลงน้ำ ยกให้มวลชนไป เหมือนทิ้งเข้าป่าหญ้าป้อง มันก็ยิ่งดังระเบิดเมือง
soi 13 ความทวย : "ทางบ่มีเส้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ทางสวรรค์ ทางนิพพาน
ความทวย : "ทิศบ่มีทาง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ทิศสึกใหม่
  ความทวย : "ท้องอยู่หลัง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หม้อกะทะ
  ความทวย : "เทิงกะดำ หลุ่มกะดำ มักตำกันเวลากลางคืน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขนตา คนส่วนใหญ่ชอบนอนเวลากลางคืน เวลานอนจะหลับตา ขนตาดำข้างล่างกับขนตาดำข้างบนมันจะปิดทับกัน หรือมาชนกันอยู่ คนอีสานเรียกว่า "ตำ"
soi 14 ความทวย : "ธงบ่มีสัญชาติ ปราชญ์เอามาจาระนัย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ธงบุญผะเหวด
ความทวย : "ธรรมอันใด๋หมุนไปคือล้อ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ธรรมจักร
  ความทวย : "ธรรมอยู่ในคัมภีร์ แต่ว่าอยู่สู่หม่อง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ธรรมดา

 


รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร

redline

backled1

paya kwam tuay

ความทวย โดย : อาจารย์สวิง บุญเติม ปธ.๙ M.A.

bulletความทวยเรียงตามหมวดอักษร

soi 1 ความทวย : "กกบ่มีฮาก หมากบ่มีใบ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เครือเขาดำ อธิบายให้รู้จักกันชัดๆ คือเครือเขาดำนั้นเป็นเถาวัลย์เล็กๆ ชนิดหนึ่งชอบเกิดบนต้นไม้ ไม่มีรากลงดิน มีลูก (ผล) แต่ไม่มีใบ (เวลาตอบให้ตอบเฉพาะว่า เครือเขาดำ เท่านั้น)
ความทวย : "ไก่อีดำงำดิน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ก้อนขี้ควาย เพราะกองขี้ควายมันจะเป็นกองดำๆ คว่ำอยู่บนดิน (งำดิน = คว่ำอยู่บนดิน)
  ความทวย : "ไก่อีกล้ากินหญ้าอ้อมโพน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ กรรไกรตัดผม หมายถึง กรรไกรตัดผมรอบศรีษะ (อ้อมโพน = รอบโคนจอมปลวก ในที่นี้หมายถึงศรีษะ)
  ความทวย : "ไก่อีลายขี้ยายคันฮั้ว" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขี้ตอก หมายถึง เศษไม้ไผ่ที่เหลาจากตอกแล้ว เขามักจะเอาไปวางตามรั้วบ้านสมัยก่อน
  ความทวย : "กกอยู่ป่า ง่าอยู่บ้าน บานได้สู่แลง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ กระบอง หมายถึง ขี้ไต้ที่จุดไฟไว้ อธิบายให้รู้ชัดๆ คือ กก หมายถึงต้นยางที่เอายางของมันมาผสมกับไม้ผุ ห่อด้วยใบตองยางเช่นเดิม แล้วเอามาจุดไฟให้แสงสว่าง ง่า หมายถึง กิ่งไม้ ซึ่งก็คือที่วางขี้ไต้ สู่แลง คือทุกค่ำคืน
  ความทวย : "ไก่อีลายตายอยู่นอกซาน คนเบิ้ดบ้านมาปาดบ่เบิ้ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หินฝนพร้า หมายถึง คนที่มาลับมีด (ฝนพร้าที่หินเป้นร้อยคน หินก็ไม่หมด)
  ความทวย : "ไก่อีลายตายอยู่ไฮ่อ้อย คนเป็นร้อยไปปาดบ่เบิ้ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หินฝนพร้า หมายถึง หินลับมีด
  ความทวย : "ไก่อีขาวซาวเกลือ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หน่อไม้ส้ม หมายถึง หน่อไม้ดอง
  ความทวย : "ไก่อีขาวซาวปีก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ดอกซ้อน หมายถึง ดอกมะลิ
soi 2 ความทวย : "ขนแยมแยะแปะกันมีแฮง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขนตา หมายถึง เวลาหลับตานอน
ความทวย : "แข่วซากลาก ฮูดากหลุมแขน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ สุ่ม อธิบายว่า สุ่มนั้นที่ปากของมันจะมีริ้วไม้ไผ่ที่ใช้สานสุ่มแหลมๆ เรียงกันเป้นแถวคนอีสานเรียกว่า "แข่ว" (ฟัน) หรือ (เขี้ยวสุ่ม) ใช้ขังไก่ จับปลา เวลาใช้จะเอาปากลง เอาก้นขึ้น เวลาจะเอาของในสุ่มจะล้วงเอาทางดาก (ก้น) สุ่มนี้
  ความทวย : "ข่ายหล่ายก่ายหี" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หางควายโตแม่
  ความทวย : "ขาวคือฝ้าย ยายอยู่ทั่วฟ้า" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ดาว
soi 3 ความทวย : "เค็งๆ ก้องในดงมิดมี่ คื่นๆ ก้องในบ้านบ่ได้ยิน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หมากเค็ง (ลูกหยี) และ หมากเขือคื่น (ขื่น) อธิบายได้ว่า เค็งๆ ก้องในดงมิดมี่ คือหมากเค็ง คื่นๆ ก้องในบ้านบ่ได้ยิน คือหมากเขือขื่น เค็งๆ กับคื่นๆ เป็นเพียงชื่อผลไม้ ไม่ใช่เสียงมันจึงเงียบและไม่ได้ยิน
ความทวย : "คนเบิ้ดบ้านกินน้ำสร้างเดียว เทียวทางเดียวบ่ให้เหยียบฮอยกัน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนรับศีลจากพระ อธิบายว่า คือรับจากพระรูปเดียว ว่าความเดียวกัน และว่าพร้อมกันด้วย
  ความทวย : "ควยบ่มีขากินหญ้าบ่เป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หลักฝังบ่แน่น (ของที่เคยแน่นมาก่อนแต่มาโยกหรือคลอนตอนหลัง คนอีสานเรียก "ควย" เช่น ฟันโยก คนอีสานจะเรียกว่า "แข่วควย" หลักที่ถูกโยกหรือคลอน คนอีสานจะเรียกว่า "หลักควย")
soi 5 ความทวย : "งงงาพร้อมหูหางดูอาจงามเด สัตว์สิ่งนี้ควรค่ำค่าเมือง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ช้าง
ความทวย : "งุมหน้าให้ฟ้าเบิ่งก้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บักหอยโข่ง
  ความทวย : "โงโค้งโน้งข่วมท่งข่วมภู" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ฮุ้งลงกินน้ำ
soi 6 ความทวย : "จับหางขี้จ๊วก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คันโซ่ หมายถึง เครื่องมือวิดน้ำ ทำด้วยไม้ไผ่สาน ใช้แรงคนวิด
ความทวย : "จับใต้ฉีกแคกแดกเข้าในฮู" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขนไก่แหย่หู อธิบายว่า สมัยก่อนคนนิยมเอาขนปีกไก่มาฉีกบางส่วนออก แล้วเอามาแหย่รูหู (แทนคอตตอนบัดในสมัยนี้นั่นเอง) ทั้งคัน ทั้งมันอย่าบอกใครเชียว
  ความทวย : "จากไปบ่เห็นฮอย บ่ต้งคอยกลับมาเอง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ จิตใจของคน
  ความทวย : "เจ้าบ่มีศาล สมภารบ่มีวัด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : "เจ้าบ่มีศาล คือ แม่น้ำเจ้าพระยา สมภารบ่มีวัด คือ การแถมสมภาร ในภาคอีสานเวลาพระเทศน์ เช่น กัณฑ์มัททรี เวลาพระขึ้นเสียงสูง ชาวบ้านจะหยอดเหรียญในบาตรทำให้เกิดเสียงดังพร้อมกับร้องว่า "นิมนต์ข้าน้อย" การกระทำเช่นนี้เรียกว่า แถมสมภาร
soi 7 ความทวย : "ว้างอีเอ่นเล่นน้ำกลางวัง ทางหลังมันเปียก ทางท้องมันบ่เปียก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือน หมายถึง เรือนอยู่อาสัยของเรานี้เอง เวลาฝนตกใส่หลังคาจะเปียก แต่ท้องบ้านคือใต้ถุนบ้านใต้ไม้กระดานปูไม่เปียก
ความทวย : "ซ้างขึ้นพลูตีหูปั๊วๆ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ฟืม หมายถึง ฟืมเวลาทอผ้า โดยเอากี่เป็นโรงทอ
  ความทวย : "ซ้างขึ้นภู หักไว้หักไว้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ไหวาก คือไหปากวิ่นนั่นเอง
  ความทวย : "ใช้แล้วใหม่ บ่ใช้แล้วเก่า" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หนทาง คือ หนทางนั้นถ้าเราเทียวอยู่บ่อยๆ มันก็ไม่รก แต่ถ้าเราไม่เทียวหรือไม่ใช้เส้นทางนั้น มันก็จะรก

 


รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร

redline

backled1

paya kwam tuay

ความทวย โดย : อาจารย์สวิง บุญเติม ปธ.๙ M.A.

bulletประเภทของความทวย

วามทวย ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อดูตามลักษณะของการผูกปมปัญหาขึ้นมา เพื่อให้ลูกหลานทายกันแล้วจะมีลักษณะต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

  1. ความทวยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ ความทวยที่ผูกขึ้นตามลักษณะของสิ่งนั้น และตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ไม่แฝงด้วยปริศนาซ่อนเงื่อนอย่างอื่น เช่น
    • ความทวย "ญาท่านบ่เว้า ญาเจ้าบ่จา" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ พระพุทธรูป พระพุทธรูปก็คือพระ คือญาท่าน ลักษณะของท่านคือไม่พูดไม่จา
    • ความทวย "บ่มีขาขึ้นกกไม้ได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ งู งูมันไม่มีขา แต่มันขึ้นต้นไม้ได้
  2. ความทวยแบบปัญหาเชาว์ ได้แก่ความทวยที่ผูกเป็นปมปัญหาขึ้น จากสิ่งหรือของนั้น ซึ่งถ้าจะว่าตามลักษณะก็ไม่เชิงจะใช่ ตัวอย่างเช่น
    • ความทวย "ตักบ่เต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ บก คือความไม่เต็มนั่นเอง
    • ความทวย "ตากบ่แห้ง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ ชุ่ม คือความไม่แห้งนั่นเอง
  3. ความทวยแบบซ่อนคำตอบไว้ในคำถามแล้ว ได้แก่ความทวยที่เอาคำตอบขึ้นมาถาม พร้อมกับความทวยคือตัวปัญหาหรือปริศนานั้น คนถูกถามจะไม่รู้ว่ามีคำตอบอยู่ในคำถามแล้ว เช่น
    • ความทวย "สัตว์สี่ขากินสัตว์ขาเดียว สัตว์หัวเขียวกินสัตว์หน้าข่วม(คว่ำ) เต่ากินเห็ด เป็ดกินหอย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ เต่ากินเห็ด เป็ดกินหอย นั่นเอง อธิบายชัดๆ ว่า สัตว์สี่ขาคือเต่า สัตว์ขาเดียวคือเห็ด สัตว์หัวเขียวคือเป็ดตัวผู้ สัตว์หน้าคว่ำคือหอย ปราชญ์อีสานท่านเอาคำตอบใส่เข้าไว้ในคำถาม คนที่ตอบได้ก็คือคนที่มีเชาว์ปัญญาดี
    • ความทวย "พีเคิ่งกลางหัวหางมันส่วย กบเขียดอยู่ห้วยงูกินเบิ๊ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ งูกินกบกินเขียด นั่นเอง คนที่ไม่ฉลาด เชาว์ปัญญาไม่ดี ก็จะคิดหาคำตอบจากการเปรียบเทียบเป็นลักษณะอย่างอื่นไป ซึ่งในความทวยบทนี้ลักษระของงูกินกบกินเขียด มันก็จะอ้วนตรงกลางอยู่แล้ว ซ้ำท่านยังบอกว่า กบเขียดในห้วยงูกินหมดแล้ว ดังนั้นคนมีเชาว์ปัญญาดี จึงเฉลียวใจและตอบได้
  1. ความทวยแบบสอนคุณธรรม ได้แก่ ความทวยที่เป็นปรัชญาคำสอน ซึ่งปราชญ์อีสานต้องการสอนลูกหลานด้วยการใช้ปริศนาคำตอบหรือความทวยนี้ เช่น
    • ความทวย "ตายบ่เน่า เก่าบ่เป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ความดีที่คนทำไว้
    • ความทวย "พรหมสองหน้าผู้ข้าเกิดนำ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ พ่อกับแม่
  2. ความทวยที่มีลักษณะ 2 แง่ 2 ง่าม ความทวยนี้มีหลายคนเห็นว่า "มันหยาบ" และผู้คิดความทวยนี้ก็มี "เจตนาลามก" ข้าพเจ้าได้ใช้ปัญญาพิจารณาดูถ้วนถี่แล้ว ชี้เปรี้ยงได้เลยว่า เป็นความทวยไม่ลามก และผู้คิดความทวยนี้ขึ้นก็ไม่มีเจตนาลามก ข้าพเจ้าสงสัยแต่ว่า เจ้าคนที่พูดว่าลามกนั้น คงคิดเหมือนกับว่า ท่านปราชญ์ผู้ผูกความทวยนี้ขึ้นจะลามกเหมือนกับตัวกระมัง! ถึงได้คิดและพูดเช่นนั้น
             
    ความทวยนี้ ข้าพเจ้าจะยกมาให้พิจารณามากๆ เพื่อปราชญ์ผู้ฉลาดในศาสตร์และศิลป์ จะได้ใช้วิจารณญาณตัดสิน เพราะท่านก็ทราบดีว่า สมัยก่อนนั้นไม่ค่อยได้ยินครูข่มขืนศิษย์ เด็กทั้งผู้หญิงผู้ชายอายุ 6-7 ขวบในปี พ.ศ. 2495-6 ยังเปลือยกายวิ่งเล่นกันอยู่ ไม่เห็นมีใครข่มขืนใครเลย จึงขอให้ท่านนักปราชญ์ทั้งหลายได้พิจารณาความทวยนี้ด้วยว่า "ลามก" หรือไม่? ตัวอย่างเช่น

isan banhao 13

  • ความทวย "ขนแย่มแยะแปะกันมีแฮง"
    ความตอบ "ขนตาเวลาหลับนอน" ก็เท่านั้น ไม่ได้คิดไปไกลเหมือนคนสมัยนี้ดอก (รู้นะ... ว่าคิดอะไรอยู่ 😁🤭 ชิมิ)
  • ความทวย "ผู้หญิงเห็นผู้หญิงกลาย ผู้ชายเห็นผู้ชายเด้าเข้าบ่เข้าคลำเบิ่งเอา"
    ความตอบ "ผู้ชายฝนพร้า (ลับมีด)" ซึ่งการลับมีด ร่างกายทั้งท่อนบนและท่อนล่าง จะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะที่ผลักมีด ผู้ผูกปัญหาก็จะผูกไปตามกิริยาอาการนี้ก็ไม่เห็นจะต้องมีหยาบหรือลามกตรงไหน
  • ความทวย "ทางเทิงกะดำ ทางหลุ่มกะดำ มักตำกันเวลากลางคืน"
    ความตอบ "ขนตาเวลาหลับนอน" ลามกตรงไหน? คิดดู
  • ความทวย "นกโก่นโต่น สี้ก้นแม่เจ้าของ"
    ความตอบ "ลูกกุญแจ" ดูซิหยาบตรงไหน
  • ความทวย "นาหนองน้อย บ่มีจอกบ่มีแหน มีปลาซิวหัวแปโตหนึ่งอยู่หั่น"
    ความตอบ "ปากกับลิ้น" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "นอนหงายให้เขาขี่ เอามือตี่ยัดใส่"
    ความตอบ "เกิบ" มันก็คนใส่รองเท้า หยาบตรงไหน สงสัยคนคิดแบบนั้นหยาบเอง
  • ความทวย "ยาวค่าคืบ ยัดเข้าหลืบฮูหนังทั่งไปทั่งมา น้ำแบ้นไหลออก" (ความทวยคิดขึ้นใหม่)
    ความตอบ "คนแปรงฟัน" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "เสียกแพ่แว่ แหย่เข้าฮูหนัง"
    ความตอบ "หลอดยาดม" ดูซิลามกตรงไหน?
  • ความทวย "เสียกข่านหล่านจำกั่นจำบัก ยกขาขึ้นผู้อยู่หลุ่มมีแฮง"
    ความตอบ "คนกั้งคันยู (ร่ม)" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "อูดหลูด ปูดหลูดออก ปูดหลูดเข้าเอาหัวตำ ผู้หยิงชอบกำ ยามมื้อเช้ามื้อแลง"
    ความตอบ "สากกะเบือ" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "ฮูเนิน แม่นฮูคัน ฮูซันแม่นฮูลูก"
    ความตอบ "ฮูคราด" ลามกตรงไหน

จากความทวยและคำตอบนี้ เราจะเห็นได้ว่า ปราชญ์โบราณอีสานท่านผูกคำทวยขึ้นมา จากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง แม้คำทวยจะระคายความรู้สึกของคนคิดมากในยุคปัจจุบัน แต่สมัยก่อนโน้นท่านคงไม่ได้คิดจะให้ลามก เพราะดูจากคำตอบแล้วไม่เห็นมีอะไรลามกเลย นี่แหละวัฒนธรรมของฅนอีสานขนานแท้

isan banhao 14


รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร

redline

backled1

paya kwam tuay

ความทวย โดย : อาจารย์สวิง บุญเติม ปธ.๙ M.A.

ลักษณะของความทวย

วามทวย เป็นปริศนาหรือปัญหาที่บรรพบุรุษชาวอีสานจินตนาการจากรูปลักษณ์ของสิ่งต่างๆ นั้น แล้วตั้งเป็นปริศนาหรือปัญหาขึ้น ด้วยภูมิปัญญาของตน เพื่อให้ลูกหลานคิดเทียบเคียงแล้วทาย เช่น

  1. ถ้าเขาจะเอาจอมปลวกเป็นความทวย (ปริศนา-ปัญหา) เขาก็จะตั้งปัญหาหรือความทวยนั้นให้มันเหมือนลักษณะของจอมปลวก เช่น
  • ความทวย "ไฟไหม้ป่า บ่ไหม้หมกเห็ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
    คำตอบ ก็คือ "จอมปลวก" นั่นเอง เพราะไฟจะไหม้ป่าเท่าไร มันก็จะไม่ไหม้หมกเห็ดคือจอมปลวกเลย
  • ความทวย "ไฟไหม้ดัง บ่ไหม้ขี้มูก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
    คำตอบ ก็คือ คนสูบบุหรี่เอาควันออกทางจมูก ควันออกจากจมูกมันก็เหมือนไฟไหม้จมูก แต่มันก็ไม่ไหม้ขี้มูก เพราะมันเป็นเพียงควันเฉยๆ

 

  1. ถ้าขณะนั้น บรรยากาศมันเครียดเกินไป ต่างคนต่างเมื่อยล้า เพราะฟังนิทานและคิดตอบความทวยมามากแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาเลิก ท่านก็จะคิดปัญหาที่ตลกๆ ชวนหัวเราะขึ้นมา ให้ลูกหลานพากันคิดหาคำตอบ ความทวยดังกล่าวนี้ พอได้ฟังเท่านั้นเด็กๆ ก็จะหัวเราะและคลายเครียดลงได้ เช่น
    • ความทวย "แข่วซากลาก ฮูดากหลมแขน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      คำตอบ ก็คือ "สุ่ม" สุ่มนั้นถ้าเป็นสุ่มใหญ่เขาจะใช้ขังไก่ ถ้าเป็นสุ่มเล็ก เขาจะนำไปสักหาปลา ลักษณะของสุ่ม ปากและฟันมันจะคว่ำลงข้างล่าง ส่วนก้นสุ่มจะหันขึ้นข้างบน เวลาขังไก่ก็จะคว่ำปากลง เอาไก่ลงทางฮูดาก (รูก้น) ของสุ่ม เวลาจะเอาไก่ก็ล้วงลงทางฮูดาก (รูก้น) ของสุ่มนี้ สุ่มเล็กเขาใช้สักหาปลา น้ำจะต้องลึกไม่เกินครึ่งแข้ง ถ้าลึกกว่านั้นใช้สุ่มสักหาปลาไม่ได้
              การใช้ ผู้ใช้จะจับทางก้นสุ่ม สักจ๊วบๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ถ้าไปครอบหรือสักถูกปลา ปลามันจะวิ่งชนสุ่ม ถ้าตัวใหญ่สุ่มก็จะโยก เจ้าของสุ่มจะต้องขึ้นไปนั่งบนก้นสุ่ม ให้ปลามันวิ่งชนสุ่มจนมันเมื่อยล้าก่อน ค่อยเอามือล้วงลงไปจับเอาใส่ข้องที่ผูกติดไว้กับเอว
              พอเด็กได้ฟังความทวยหรือคำถามที่ตั้งขึ้นว่า "แข่วซากลาก ฮูดากหลมแขน" เท่านั้นเด็กก็จะหัวเราะกัน แล้วคิดหาคำตอบ
    • ความทวย ไก่อีดำงำดิน ไผว่าแม่นหยัง?
      คำตอบ ก็คือ ขี้ควาย

                เด็กจะแยกกันคิด และรวมกันคิดหาคำตอบอย่างสนุกสนาน จนได้เวลากินข้าวเย็น บางคนก้กินกับตายาย บางคนก็กลับไปกินบ้าน บางคนยังทายไม่เสร็จแต่อาหารเย็นบ้านเขาเสร็จ พ่อแม่ของเขาจะมาเรียกแล้วพากลับไปกินข้าว
             วันไหนคุณย่าคุณปู่ หรือคุณตาคุณยาย ผู้เป็นครูพิเศษมีอาหารมาก ท่านก็จะบอกพ่อแม่เด็กที่มาเรียกว่า "บ่ต้องเอิ้นมันดอก มื้อนี้กูสิเลี้ยงมันเอง" วัฒนธรรมเก่าของเรามันน่ารักอย่างนี้ แต่พอวิทยุ โทรทัศน์นำนวนิยายมาทำเป็นละครฮิต จนลูกหลานลุ่มหลงตั้งตารอดูและลุกลามไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ก็ยังตั้งตาคอยด้วย วัฒนธรรมเหล่านี้ก็นับวันจะหดหายและไม่อาจหวนกลับมาอีก

จึงได้แต่เสียดายในการสูญหายของ ความทวย หนทางที่จะบันทึกไว้ให้ลูกหลานได้รู้ ได้ทราบเป็นตำนานสืบไปก็โดยการถ่ายทอดบนเว็บไซต์นี้

 kwam tuay

โอ๋ยน้อท่านเอ้ย

ข้าน้อยสิเด็ดดอกไม้สามดอกไว้ถวาย
ดอกหนึ่งเทียมกั่วกายสูงกั่วชายสองช่วง
บัดยามค่วงลงน้ำบ่สูงเพียงตุ้มหม่อง
ให้เจ้าทายไวว่องลองเบิ่งว่าดอกหยัง

ดอกสองต่ำสูงบ่ฮู้หมื่นพันแสนร้อย
ดอกสองนี่ดอกหน่อยมีหลายคนซุบ้าน
บัดยามบานเกินโพดตัดดอกหน่อยต้นบ่ตัด
ให้ลองวัดปัญญาทายท้าว่าดอกหยัง

ดอกสามยามเฮาเอิ้นดอกหน่วยว่าต่างกัน
บัดเอาผ้ามาปั้นบัดได้อยู่ในเฮือนนอน
อย่าสิว่าโพดถ่อนต้นเกิดฮอดนรก
สามดอกยกมาแล้วลองทายเบิ่งว่าดอกหยัง

เฉลย

ดอกแรกเพิ่นทวยไว้ว่าดอกได๋คิดไปแหน่
เห็นพ่อแก่เพิ่นตากไว้บัดยามหิ้วปลาค่อข่อง
แผ่ห้อยไว้เทิงจั่วเล้าหลังจากเซาขึ้นจากหนอง
ดอกนี่ว่าบ่ขัดข้อง ทวยเพิ่นว่าดอกแหนั่น แนวเอาไว้หากิน

ดอกสองเห็นอยู่หลายล้น หลายคนทวยบ่ผิด
คนบ่คิด เหมิดทางใจ จั่งค่อยได้ถามกู้
ร้อยละสิบซาวห้า สามสิบกะยอมอยู่
ตัดดอกกู้ ตรอมป่วยไข้ จ๊ะแม่นหลายน้อดอกเบี้ย

ดอกสามเฉลยออกดอกบักงิ้วหน่วยบักหนุ่น
มากหลายคุณประโยชน์เหลือจนล้นล้ำ
ผิดเมียลูก ตายตกนรก ชดใช้กรรม
ปีนงิ้วซ้ำ หนามแทงหน่อเนื้อ เจ็บปวดทรมาน ซั่นแหล้ววววววววววววว

ดอกแห
ดอกเบี้ย
ดอกงิ้ว

 


รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)