foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra tam tesana header

อให้คำขวัญแก่โยมทั้งหลาย และลูกศิษย์ใหม่ที่เดินทางจากลอนดอน มาพักอยู่ที่วัดหนองป่าพง ขอให้ทำความเข้าใจในธรรมะที่ได้ศึกษาแล้ว ที่วัดหนองป่าพงนี้ โดยย่อก็คือ ให้ปฏิบัติให้พ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร ขอให้โยมจำไว้ในใจว่า อารมณ์ทั้งหลายนั้น จะเป็นอารมณ์ที่พอใจก็ตาม หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจก็ตามอารมณ์ทั้งสองอย่างนี้ มันเหมือนงูเห่า งูเห่ามันมีพิษมากถ้ามันฉกคนแล้ว ก็ทำให้ถึงแก่ความตายได้ อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมากอารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี ทำให้จิตใจไขว้เขว จากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

you kab ngoo hao

วันนี้จึงขอให้โอวาทย่อๆ แก่โยม ขอให้เป็นผู้มีสติอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็ให้นอนด้วยสติ นั่งด้วยสติ เดินด้วยสติ ยืนด้วยสติ จะพูดก็พูดด้วยสติ จะทำอะไรๆ ก็ให้มีสติอยู่ด้วยทั้งนั้น

relaxเมื่อมีสติแล้ว สัมปชัญญะความรู้ตัวมันก็จะเกิดขึ้นมา สติกับสัมปชัญญะเป็นของคู่กัน เมื่อทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกันแล้ว ก็จะนำปัญญาให้เกิดตามทีนี้เมื่อมีทั้งสติ สัมปชัญญะปัญญาแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนนั้น ไม่ใช่ธรรมะที่เพื่อฟังเฉยๆหรือรู้เฉยๆ แต่เป็นธรรมะที่ต้องปฏิบัติ ต้องทำให้เกิดขึ้น ต้องทำให้มีขึ้นในใจของเราให้ได้ จะไปที่ไหนก็ให้มีธรรมะ จะพูดก็ให้มีธรรมะ จะเดินก็ให้มีธรรมะ จะนอนก็ให้มีธรรมะ จะทำอะไรๆ ก็ให้มีธรรมะทั้งนั้น

คำว่า "มีธรรมะ" นี้ก็คือ จะทำอะไรก็ตาม จะพูดอะไรก็ตาม ให้ทำด้วยปัญญา ให้พูดด้วยปัญญา ให้นึกคิดด้วยปัญญา ผู้ใดมีสติ สัมปชัญญะ ควบกับปัญญาอยู่ตลอดเวลาแล้ว ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้พระพุทธเจ้าทุกเมื่อ

ดังนั้น แม้เมื่อโยมจากวัดหนองป่าพงนี้ไปแล้ว ก็จงเป็นผู้ปฏิบัติ ให้ธรรมะทั้งหลายมารวมอยู่ที่ใจ มองลงไปที่ใจ ให้เห็นสติ ให้เห็นสัมปชัญญะ ให้มีปัญญา เมื่อมีทั้งสามอย่างนี้แล้ว มันจะมีการปล่อยวาง รู้จักเกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ

ที่เรียกว่า "เกิดๆ ดับๆ" นี้คืออะไร คืออารมณ์ซึ่งมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป ดับแล้วมันก็เกิดขึ้นมา ในทางธรรมะเรียกว่าการเกิดดับ มันก็มีเท่านี้ ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้ว ทุกข์มันก็ดับไป ทุกข์ดับไปแล้ว ทุกข์ก็เกิดขึ้นมา นอกเหนือจากนี้ไป ก็ไม่มีอะไรมีแต่ทุกข์เกิด แล้วทุกข์ก็ดับไป มีเท่านี้

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จิตของเราก็จะเห็นแต่การเกิด-ดับอยู่เสมอ เมื่อเห็นการเกิด-ดับอยู่เสมอ ทุกวันทุกเวลา ตลอดทั้งกลางวัน ตลอดทั้งกลางคืน ตลอดทั้งการยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะเห็นได้ว่ามันไม่มีอะไรจริงๆ มีแต่เกิด-ดับอยู่เท่านี้เอง แล้วทุกอย่างมันก็จบอยู่ตรงนี้

เมื่อเห็นอารมณ์เกิด-ดับอย่างนี้อยู่เสมอไปแล้วจิตใจก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเมื่อคิดไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรมากมาย มันมีแต่การเกิดแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ดับ มันมีอยู่เท่านี้ ฉะนั้นเมื่อคิดแล้วก็ไม่รู้จะไปเอาอะไรกับมัน พอคิดได้เช่นนี้ จิตก็จะปล่อยวางปล่อยวางอยู่กับธรรมชาติ มันเกิดเราก็รู้ มันดับเราก็รู้มันสุขเราก็รู้ มันทุกข์เราก็รู้ รู้แล้วไม่ใช่ว่าเราจะไปเป็นเจ้าของสุขนะ หรือเมื่อทุกข์ขึ้นมา เราก็ไม่เป็นเจ้าของทุกข์เหมือนกัน เมื่อไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์มันก็มีแต่การเกิด-ดับอยู่เท่านั้น ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไร

lp cha 08

อารมณ์ทั้งหลายที่ว่ามานี้ เหมือนกันกับงูเห่าที่มีพิษร้าย ถ้าไม่มีอะไรมาขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน แม้พิษของมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออก ไม่ได้ทำอันตรายเรา เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น

ดังนี้ ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว ก็จะปล่อยหมดสิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ไม่ชอบก็ปล่อยมันไป เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไปมันก็เลื้อยไปทั้งพิษที่มีอยู่ในตัวมันนั่นเอง

ฉะนั้น คนที่ฉลาดแล้ว เมื่อปล่อยอารมณ์ก็ปล่อยอย่างนั้น ดีก็ปล่อยมันไป แต่ปล่อยอย่างรู้เท่าทันชั่วก็ปล่อยมันไป ปล่อยไปตามเรื่องของมันอย่างนั้นแหละอย่าไปจับ อย่าไปต้องมัน เพราะเราไม่ต้องการอะไร ชั่วก็ไม่ต้องการ ดีก็ไม่ต้องการ หนักก็ไม่ต้องการ เบาก็ไม่ต้องการ สุขก็ไม่ต้องการ ทุกข์ก็ไม่ต้องการ มันก็หมดเท่านั้นเอง ทีนี้ความสงบก็ตั้งอยู่เท่านั้นแหละ

เมื่อความสงบตั้งอยู่แล้ว เราก็ดูความสงบนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไรแล้ว เมื่อความสงบเกิดขึ้นความวุ่นวายก็ดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสว่านิพพานคือความดับ ดับที่ตรงไหน? ก็เหมือนไฟเรานั่นแหละ มันลุกตรงไหน มันร้อนตรงไหน? มันก็ดับที่ตรงนั้น มันร้อนที่ไหนก็ให้มันเย็นตรงนั้น ก็เหมือนกับนิพพานก็อยู่กับวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารก็อยู่กับนิพพาน เหมือนกันกับความร้อนกับความเย็น มันก็อยู่ที่เดียวกันนั่นเอง ความร้อนก็อยู่ที่มันเย็น ความเย็นก็อยู่ที่มันร้อน เมื่อมันร้อนขึ้น มันก็หมดเย็น เมื่อมันหมดเย็น มันก็ร้อน

วัฏฏสงสารกับนิพพานนี้ก็เหมือนกัน ท่านให้ดับวัฏฏสงสารคือความวุ่น การดับความวุ่นวายก็คือการดับความร้อน ไฟทางนอกก็คือไฟธรรมดา มันร้อน เมื่อมันดับแล้ว มันก็เย็น แต่ความร้อนภายในคือ ราคะ โทสะโมหะ ก็เป็นไฟเหมือนกัน ลองคิดดูเมื่อราคะ ความกำหนัดเกิดขึ้น มันร้อนไหม? โทสะเกิดขึ้นมันก็ร้อน โมหะเกิดขึ้นมันก็ร้อน มันร้อน ความร้อนนี่แหละที่ท่านเรียกว่าไฟ เมื่อไฟมันเกิดขึ้น มันก็ร้อน เมื่อมันดับ มันก็เย็นความดับนี่แหละคือนิพพาน

นิพพานคือสภาวะที่เข้าไปดับซึ่งความร้อน ท่านเรียกว่าสงบ คือดับซึ่งวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารคือความเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น เมื่อถึงนิพพานแล้ว ก็คือการเข้าไปดับซึ่งความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง อันนั้น เรียกว่าการดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ ก็ดับที่ใจของเรานั่นแหละ คือใจถึงความสงบ

ในความสงบนั้น สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี แต่มนุษย์เรานั่นแหละจะอดสุขไม่ได้ เพราะเห็นว่าความสุขเป็นยอดของชีวิตแล้ว แม้พระนิพพานก็ยังมาว่าเป็นความสุขอยู่เพราะความคุ้นเคย ตามเป็นจริงแล้ว เลิกสิ่งทั้ง ๒ อย่างนี้ก็เป็นความสงบ เมื่อโยมกลับบ้าน แล้วขอให้เปิดเทปธรรมะนี้ฟังอีก จะได้มีสติ เมื่อโยมมาอยู่วัดหนองป่าพงใหม่ๆ

โยมร้องไห้ เมื่ออาตมาเห็นน้ำตาของโยม อาตมาก็ดีใจ ทำไมจึงดีใจ? ที่ดีใจก็เพราะว่า นี่แหละ โยมจะได้ศึกษาธรรมะที่แท้จริงละ ถ้าน้ำตาไม่ออกก็ไม่ได้เห็นธรรมะ เพราะน้ำนี้เป็นน้ำไม่ดี ต้องให้มันออกให้หมด มันถึงจะสบาย ถ้าน้ำนี้ไม่หมด ก็จะไม่สบาย มันก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ อยู่เมืองไทยก็จะร้องไห้อยู่อย่างนี้ กลับไปกรุงลอนดอนก็จะร้องไห้อีก มีชีวิตอยู่ก็จะร้องไห้อยู่อย่างนี้แหละ

เพราะน้ำนี้มันเป็นน้ำกิเลส เมื่อทุกข์ก็บีบน้ำนี้ให้ไหลออกมา เมื่อสุขมากก็บีบน้ำนี้ออกมาอีกเหมือนกัน ถ้าหมดน้ำนี้เมื่อใด ก็จะสบาย ถ้าโยมทำได้ โยมก็จะมีแต่ความสงบ ความสบาย

ขอให้โยมรับธรรมะนี้ไปปฏิบัติ ไปปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ให้มันตายก่อนตาย มันถึงสบาย มันถึงสงบ

ขอให้โยมมีความสุข ความเจริญ ให้เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมะให้พ้นจากวัฏฏสงสาร

cha kamson 4

redline

backled1

pra tam tesana header

อให้ตั้งอยู่ในความสงบ รับโอวาทพอสมควร วันนี้มีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตมาถวายดอกไม้ตามกาลเวลา เรื่องสักการะ เรื่องคารวะ การเคารพต่อผู้ใหญ่เป็นมงคลอันเลิศ พรรษานี้อาตมาไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ไม่สบาย สุขภาพไม่แข็งแรง จึงหลบมาอยู่บนภูเขานี้ ก็ได้รับอากาศบริสุทธิ์สักพรรษาหนึ่ง ญาติโยมสานุศิษย์ทั้งหลายไปเยี่ยมก็ไม่ได้สนองศรัทธาอย่างเต็มที่ เพราะว่าเสียงมันจะหมดแล้ว ลมมันก็จะหมดแล้ว นับว่าเป็นบุญที่เป็นตัวเป็นตนมานั่งให้ญาติโยมเห็นอยู่ นี่นับว่าดีแล้ว ต่อไปก็จะไม่ได้เห็น ลมมันก็จะหมด เสียงมันก็จะหมดเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสังขาร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอนไว้ ขะยะ วัยยัง คือ ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขาร

you pua arai

arjhan cha 01ความเสื่อมไปแห่งสังขาร

เสื่อมไปอย่างไร เปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนมันเป็นน้ำเขาเอามาทำให้เป็นก้อน แต่มันก็อยู่ไม่นานหรอกมันก็เสื่อมไป เอาก้อนน้ำแข็งใหญ่ๆ เท่าเทปนี้ไปวางไว้กลางแจ้ง จะดูความเสื่อมของก้อนน้ำแข็งก็เหมือนสังขารนี้ มันจะเสื่อมทีละน้อยทีละน้อย ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก้อนน้ำแข็งก็จะหมด ละลายเป็นน้ำไป นี่เรียกว่าเป็นขะยะวัยยัง ความสิ้นไป ความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นมานานแล้ว ตั้งแต่มีโลกขึ้นมา เราเกิดมา เราเก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาด้วยไม่ใช่ว่าเราทิ้งไปไหน พอเกิดเราเก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตายมาพร้อมกัน

ดังนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่า ขะยะ-วัยยัง ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย เรานั่งอยู่บนศาลานี้ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งหมดนี้ มีแต่ก้อนเสื่อมทั้งนั้นนี่ที่ก้อนมันแข็ง เปรียบเช่นก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนเป็นน้ำ มันเป็นก้อนน้ำแข็งแล้วก็เสื่อมไป เห็นความเสื่อมมันไหม ดูอาการที่มันเสื่อมซี ร่างกายของเรานี่ทุกส่วนมันเสื่อม ผมมันก็เสื่อมไป ขนมันก็เสื่อมไปเล็บมันก็เสื่อมไป หน้ามันก็เสื่อมไป อะไรทุกอย่างมันเสื่อมไปทั้งนั้น

ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

ญาติโยมทุกคนเมื่อครั้งแรกคงจะไม่เป็นอย่างนี้นะ คงจะมีตัวเล็กกว่านี้ นี่มันโตขึ้นมา เจริญขึ้นมา ต่อไปนี้มันก็จะเสื่อม เสื่อมไปตามธรรมชาติของมัน เสื่อมไปเหมือนก้อนน้ำแข็ง เดี๋ยวก็หมด ก้อนน้ำแข็งมันก็กลายเป็นน้ำ เรานี่ก็เหมือนกันทุกคน มีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม เมื่อมีตัวตนประกอบกันอยู่ ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตั้งขึ้นเรียกว่า คน แต่เดิมไม่รู้ว่าเป็นอะไรหรอก เรียกว่าคน เราก็ดีอกดีใจเป็นคนผู้ชาย เป็นคนผู้หญิง สมมติชื่อให้นายนั่น นางนี่ตามเรื่อง เพื่อเรียกตามภาษาให้จำง่าย ใช้การงานง่าย

แต่ความเป็นจริงก็ไม่มีอะไรมีน้ำหนึ่ง ดินหนึ่ง ลมหนึ่ง ไฟหนึ่ง มาปรุงกันเข้ากลายเป็นรูป เรียกว่า คน โยมอย่าเพิ่งดีใจนะ ดูไปดูมาก็ไม่มีคนหรอก ที่มันเข้มแข็งพวกเนื้อพวกหนัง พวกกระดูกทั้งหลายเหล่านี้เป็นดิน อาการที่มันเหลวๆ ตามสภาพร่างกายนั้น เราเรียกว่า น้ำ อาการที่มันอบอุ่นอยู่ในร่างกายเรา เรียกว่า ไฟ อาการที่มันพัดไปมาอยู่ในร่างกายของเรานี้ลมพัดขึ้นเบื้องบน พัดลงเบื้องต่ำนี้ เรียกว่า ลม ทั้งสี่ประการนี้มาปรุงกันเข้าเรียกว่าคน ก็ยังเป็นผู้หญิงผู้ชายอีก จึงมีเครื่องหมายตามสมมติของเรา

kra dookทุกคนนอนอยู่กับโครงกระดูก

แต่อยู่ที่วัดป่าพง ที่ไม่เป็นผู้หญิงไม่เป็นผู้ชายก็มี เป็นนะปุง-สักลิงค์ ไม่ใช่อิตถีลิงค์ ไม่ใช่ปุงลิงค์ คือ ซากศพที่เขาเอาเนื้อเอาหนังออกหมดแล้ว เหลือแต่โครงกระดูกเท่านั้น เป็นซากโครงกระดูกเขาแขวนไว้ ไปดูก็ไม่เห็นว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ใครไปถามว่านี่เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ก็ได้แต่มองหน้ากัน เพราะมันมีแต่โครงกระดูกเท่านั้น เนื้อหนังออกหมดแล้ว พวกเราทั้งหลายก็ไม่รู้

ทุกคนไปวัดป่าพง เข้าไปในศาลาก็ไปดูโครงกระดูก บางคนดูไม่ได้ วิ่งออกจากศาลาเลย กลัว... กลัวเจ้าของ อย่างนั้นเข้าใจว่าไม่เคยเห็นตัวเราเองสักที ไปกลัวกระดูก ไม่นึกถึงคุณค่าของกระดูก เราเดินมาจากบ้านนั่งรถมาจากบ้าน ถ้าไม่มีกระดูก จะเป็นอย่างไร จะเดินไปมาได้ไหม เกิดมาพร้อมกันไม่เคยเห็นกัน นอนเบาะอันเดียวกันไม่เคยเห็นกัน นี่แสดงว่าเราบุญมากที่มาเห็น แก่แล้ว ๕๐ ปี ๖๐ ปี ๗๐ ปี ไปวัดป่าพงเห็นโครงกระดูกกลัว นี่อะไรไม่รู้ แสดงว่าเราไม่คุ้นเคยเลยไม่รู้จักตัวเรา กลับไปบ้านก็ยังนอนไม่หลับอยู่สามสี่วัน

แต่ก็นอนกับโครงกระดูกนั่นแหละ ไม่ใช่นอนที่อื่นหรอก ห่มผ้าผืนเดียวกัน อะไรๆ ด้วยกัน นั่งบริโภคข้าวด้วยกัน แต่เราก็กลัว นี่แสดงว่าเราห่างเหินจากตัวเรามากที่สุด น่าสงสาร ไปดูแต่อย่างอื่น ไปดูต้นไม้ ไปดูวัตถุอื่นๆ ว่าอันนั้นโต อันนี้เล็ก อันนั้นสั้น อันนั้นยาว นี่ไปดูแต่วัตถุของอื่นนอกจากตัวเรา ไม่เคยมองดูตัวเราเลย ถ้าพูดตรงๆ แล้วก็น่าสงสารมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นคนเราจึงขาดที่พึ่ง

เห็นร่างกายตามความเป็นจริง

อาตมาเคยบวชนาคมาหลายองค์ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ นาคที่เคยเป็นนักศึกษาคงนึกหัวเราะว่า ท่านอาจารย์เอาอะไรมาสอน นี่ เอาผมที่มันมีอยู่นานแล้วมาสอน ไม่ต้องสอนแล้ว รู้จักแล้วเอาของที่รู้จักแล้วมาสอนทำไม นี่คนที่มันมืดมากมันก็เป็นอย่างนี้ คิดว่าเราเห็นผม อาตมาบอกว่าคำที่ว่าเห็นผมนั้น คือ เห็นตามความเป็นจริง เห็นขนก็เห็นตามความเป็นจริง เห็นเล็บ เห็นหนัง เห็นฟัน ก็เห็นตามความเป็นจริง จึงเรียกว่าเห็น ไม่ใช่ว่าเห็นอย่างผิวเผิน เห็นตามความเป็นจริง อย่างไรๆ เราคงจะไม่หมกมุ่นอยู่ในโลกอย่างนี้ถ้าเห็นตามความจริง

ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นอย่างไร ตามความเป็นจริงเป็นของสวยไหม เป็นของสะอาดไหม เป็นของมีแก่นสารไหมเป็นของเที่ยงไหม เปล่า...มันไม่มีอะไรหรอก ของไม่สวยแต่เราไปสำคัญว่ามันสวย ของไม่จริงไปสำคัญว่ามันจริง

ร่างกายเป็นที่รวมของสิ่งโสโครก

อย่าง เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง คนเราไปติดอยู่นี่ พระพุทธองค์ท่านยกมาทั้งห้าประการนี้เป็นมูลกรรมฐาน สอนให้รู้จักกรรมฐานทั้งห้านี้ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เราเกิดขึ้นมาก็หลงมันซึ่งเป็นของโสโครก ดูซิ... คนเราไม่อาบน้ำสักสองวันสิ เข้าใกล้กันได้ไหม มันเหม็นเหงื่อออกมากๆ ไปนั่งทำงานรวมกันอย่างนี้ เหม็นทั้งนั้นแหละ กลับไปบ้านอาบน้ำ ถูสบู่ออกหายเหม็นไปนิดหนึ่งก็หอมสบู่ขึ้นมา ได้ถูสบู่มันก็หอม ไอ้ตัวเหม็นก็อยู่อย่างเดิมนั่นแหละมันยังไม่ปรากฏเท่านั้น กลิ่นสบู่มันข่มไว้ เมื่อหมดสบู่มันก็เหม็นตามเคย

จงรู้จักพึ่งตัวเอง

เรามักจะเห็นรูปที่นั่งอยู่นี่นึกว่ามันสวย มันงาม มันแน่น มันหนา มันตรึงตรา มันไม่แก่ มันไม่เจ็บ มันไม่ตาย หลงเพลิดเพลินอยู่ในสากลโลกนี้ จึงไม่รู้จักพึ่งตนเอง ตัวที่พึ่งของเรา คือใจ ใจของเราเป็นที่พึ่งจริงๆ ศาลาหลังนี้มันใหญ่ก็ไม่ใช่ที่พึ่ง มันเป็นที่อาศัยชั่วคราวนกพิราบมันก็มาอาศัยอยู่ ตุ๊กแกมันก็มาอาศัยอยู่ จิ้งเหลนนี้มันก็มาอาศัยอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างมาอาศัยอยู่ได้ เราก็นึกว่าของเรา มันไม่ใช่ของเราหรอก มันอยู่ด้วยกัน หนูมันก็มาอยู่ สารพัดอย่าง นี่เรียกว่าที่อาศัยชั่วคราว เดี๋ยวก็หนีไปจากไป เราก็นึกว่าอันนี้เป็นที่พึ่งของเรา

คนมีบ้านหลังเล็กๆ ก็เป็นทุกข์เพราะบ้านมันเล็ก มีบ้านหลังใหญ่ๆ ก็เป็นทุกข์เพราะกวาดไม่ไหว ตอนเช้าก็บ่น ตอนเย็นก็บ่น จับอะไรวางตรงไหนก็ไม่ค่อยได้เก็บ คุณหญิงคุณนายนี่จึงเป็นโรคประสาทกันเป็นทุกข์กัน

cha 2อย่าแต่งกาย จงแต่งใจกันเถิด

ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงให้หาที่พึ่ง คือ หาใจของเรา ใจของเราเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยมากคนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญ ไปมองดูที่อื่นที่ไม่สำคัญ เป็นต้นว่า กวาดบ้าน ล้างจาน ก็มุ่งความสะอาด ล้างถ้วยล้างจานให้มันสะอาด ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งความสะอาด แต่ใจเจ้าของไม่เคยมุ่งมองเลย ใจของเรามันเน่า บางทีก็โกรธหน้าบูดหน้าเบี้ยวเท่านั้นแหละ ก็ไปมุ่งแต่จานให้จานมันสะอาด ใจของเราไม่สะอาดเท่าไรก็ไม่มองดู นี่เราขาดที่พึ่ง เอาแต่ที่อาศัย แต่งบ้านแต่งช่อง แต่งอะไรสารพัดอย่าง แต่ใจของเราไม่ค่อยจะแต่งกัน ทุกข์ไม่ค่อยจะมองดู ใจนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญ

พระพุทธองค์ท่านจึงพูดว่าให้หาที่พึ่งทางใจ อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ใครจะเป็นที่พึ่งได้ ที่เป็นที่พึ่งที่แน่นอนก็คือใจของเรานี่เอง ไม่ใช่สิ่งอื่น พึ่งสิ่งอื่นก็พึ่งได้ แต่ไม่ใช่ของที่แน่นอนเราจะพึ่งสิ่งอื่นได้ก็เพราะเราพึ่งตัวของเรา เราต้องมีที่พึ่งก่อน จะพึ่งอาจารย์ พึ่งญาติมิตรสหายทั้งหลาย จะพึ่งได้ดีนั้นเราต้องทำตัวของเราเป็นที่พึ่งให้ได้เสียก่อน

ให้ถามตัวเองว่าเราเกิดมาทำไม

วันนี้ที่มากราบนมัสการทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ขอให้รับโอวาทนี้ไปพินิจพิจารณา เราทุกคนให้นึกเสมอว่า เราคืออะไร เราเกิดมาทำไม นี่ถามปัญหาเจ้าของอยู่เสมอว่า เราเกิดมาทำไม ให้ถามเสมอบางคนไม่รู้นะ แต่อยากได้ความสุขใจ มันทุกข์ไม่หาย รวยก็ทุกข์ จนก็ทุกข์ เป็นเด็กเป็นคนโตก็ทุกข์ ทุกข์หมดทุกอย่าง เพราะอะไร เพราะว่ามันขาดปัญญา เป็นคนจนก็ทุกข์เพราะมันจน เป็นคนรวยก็ทุกข์เพราะมันรวยมาก ของมากๆรักษาคนเดียว

ในสมัยก่อนอาตมาเคยเป็นสามเณร เคยเทศน์ให้โยมฟัง ครูบาอาจารย์ท่านให้เทศน์ พูดถึงความร่ำรวยในการมีทาส ให้มีทาสสักร้อย ผู้หญิงก็ให้ได้สักร้อยหนึ่ง ผู้ชายก็ร้อยหนึ่ง มีช้างก็ร้อยหนึ่งมีวัวก็ร้อยหนึ่ง มีควายก็ร้อยหนึ่ง มีแต่สิ่งละร้อยทั้งนั้น ญาติโยมได้ฟังแล้วก็สบายใจ ให้โยมไปเลี้ยงควายสักร้อยหนึ่งเอาไหม เอาควายร้อยหนึ่ง เอาวัวร้อยหนึ่ง มีทาสผู้หญิงผู้ชายอย่างละร้อยให้โยมรักษาคนเดียว มันจะดีไหม นี่ไม่คิดดู แต่ความอยากมีวัว มีควาย มีช้างมีม้า มีทาสสิ่งละร้อยละร้อย น่าฟัง อุ๊ย! อิ่มใจเหลือเกิน มันสบายนะ แต่อาตมาเห็นว่าได้สักห้าสักสิบตัวก็พอแล้ว แค่ฟั่นเชือกเท่านั้นก็เต็มทีแล้ว อันนี้โยมไม่คิด คิดแต่ได้ ไม่คิดถึงว่ามันจะยากจะลำบาก

ไม่มีปัญญา จักพาให้เป็นทุกข์

สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวเรานี้ ถ้าเราไม่มีปัญญา จะทำให้เราทุกข์นะ ถ้าเรามีปัญญา นำออกจากทุกข์ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาไม่ใช่ของดีนะ ถ้าเราใจไม่ดี ไปมองคนบางคน ไปเกลียดเขาอีกแล้ว มานอนเป็นทุกข์อีกแล้ว ไปมองดูคนบางคน รักเขาอีกแล้ว รักเป็นทุกข์อีกแล้ว มันไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เกลียดก็เป็นทุกข์ รักก็เป็นทุกข์เพราะมันอยากได้ อยากได้ก็เป็นทุกข์ ไม่อยากได้ก็เป็นทุกข์ ของที่ไม่ชอบใจอยากทิ้งมันไป อยากได้ของที่ชอบใจ ของที่ไม่ชอบใจได้มามันก็ทุกข์ ของที่ชอบใจได้มาแล้วกลัวมันจะหายอีกแล้ว มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่รู้ว่าจะอยู่อย่างไร

บ้านหลังใหญ่ๆ ขนาดนี้ ก็นึกว่าจะให้มันสบายขึ้น เก็บความสบาย เก็บความดีไว้ในนี้ ถ้าคิดไม่ดีมันก็ไปไม่ได้ทั้งนั้นแหละ

ญาติโยมทั้งหลายจงมองดูตัวของเรา ว่าเราเกิดมาทำไม เราเคยได้อะไรไว้ไหม อาตมาเคยรวมคนแก่ เอาคนแก่อายุเลย ๘๐ ปีขึ้นไปมาอยู่รวมกัน อาชีพทำนา ตามบ้านนอกของเรา ทำนามาตั้งแต่โน้น เกิดมาได้ ๑๗-๑๘ ปี ก็รีบแต่งงาน กลัวจะไม่รวย ทำงานตั้งแต่เล็กๆ ให้มันรวย ทำนาจน ๗๐ ปีก็มี ๘๐ ปีก็มี ๙๐ ปีก็มี ที่มานั่งรวมกันฟังธรรม "โยม" อาตมาถาม "โยมจะเอาอะไรไปไหมนี่เกิดมาก็ทำอยู่จนเดี๋ยวนี้แหละ ผลที่สุดจะไป...จะได้อะไรไปไหม"

ไม่รู้จัก ตอบได้แต่ว่า "จังว่า จังว่า จังว่า"* นี่ตามภาษาเขาว่า กินลูกหว้า เพลินกับลูกหว้า มันจะเสียเวลา เพราะจังว่านี่แหละ จะไปก็ไม่ไป จะอยู่ก็ไม่อยู่ มันอยู่ที่จังว่า นั่งอยู่ก้างๆ อยู่ง่า นั่งอยู่คาคบนั่นแล้ว มีแต่จังว่าๆ

arjhan cha 08

อย่าทิ้งไม้เล็กแบกไม้ใหญ่

ตอนยังหนุ่มๆ ครั้งแรกอยู่คนเดียวเข้าใจว่าเป็นโสดไม่สบาย หาคู่ครองเรือนมันจะสบาย เลยหาคู่ครองมาครองเรือนให้ เอาของสองอย่างมารวมกันมันก็กระทบกันอยู่แล้ว อยู่คนเดียวมันเงียบเกินไป ไม่สบายแล้ว เอาคนสองคนมาอยู่ด้วยกัน มันก็กระทบกัน ก๊อกๆ แก๊กๆ นั่นแหละลูกเกิดมาครั้งแรกตัวเล็กๆ พ่อแม่ก็ตั้งใจว่า ลูกเราเมื่อมันโตขึ้นมาขนาดหนึ่งเราก็สบายหรอก ก็เลี้ยงมันไปสามคนสี่คนห้าคน นึกว่ามันโตเราจะสบาย เมื่อมันโตมาแล้วมันยิ่งหนัก เหมือนกับแบกท่อนไม้อันหนึ่งเล็กอันหนึ่งใหญ่ ทิ้งท่อนเล็กแล้วแบกเอาท่อนใหญ่ นึกว่ามันจะเบาก็ยิ่งหนัก

ลูกเราตอนเด็กๆ มันไม่กวนเท่าไรหรอกโยม มันกวนถามกินข้าวกับกล้วย เมื่อมันโตขึ้นมานี่มันถามเอารถมอเตอร์ไซด์ มันถามเอารถเก๋ง เอาล่ะความรักลูกจะปฏิเสธไม่ได้ ก็พยายามหา มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่ให้มันก็เป็นลูก บางทีพ่อแม่ทะเลาะกัน "อย่าพึ่งไปซื้อให้มันเลย รถนี่ มันยังไม่มีเงิน" แต่ความรักลูกก็ต้องไปกู้คนอื่นมา เห็นอะไรก็อยากซื้อมากิน แต่ก็อด กลัวมันจะหมดเปลืองหลายอย่าง ต่อมาก็มีการศึกษาเล่าเรียน ถ้ามันเรียนจบเราก็จะสบายหรอก เรียนมันจบไม่เป็นหรอก มันจะจบอะไร เรียนไม่มีจบหรอก ทางพุทธศาสนานี่เรียนจบ ศาสตร์อื่นนอกนั้นมันเรียนต่อไปเรื่อยๆ เรียนไม่จบ เอาไปเอามาก็เลยวุ่นเท่านั้นแหละ บ้านหนึ่งเรียน ๔ คน ๕ คน ตาย! พ่อแม่ทะเลาะกันไม่มีวันเว้นละอย่างนั้น

เราถูกระดูกอยู่ทุกวัน

ความทุกข์มันเกิดมาภายหลังเราไม่เห็น นึกว่ามันจะไม่เป็นอย่างนี้ เมื่อมันมาถึงเข้าแล้วจึงรู้ว่า โอ! มันเป็นทุกข์ ทุกข์อย่างนั้นจึงมองเห็นยาก ทุกข์ในตัวของเรานะโยม พูดตามประสาบ้านนอกเราเรื่องฟันของเรานะโยม ตอนไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ขี้ถ่านไฟก็ยังเอามาถูฟันให้มันขาว ไปถึงบ้านก็ไปยิงฟันใส่กระจก นึกว่ามันขาวถูฟันแล้วนี่ ไปชอบกระดูก ของเจ้าของไม่รู้เรื่อง พออายุถึง ๕๐-๖๐ ปี ฟันมันโยก เออ! เอาซิฟันโยก มันจะร้องไห้ กินข้าวน้ำตามันก็ไหล เหมือนกับถูกศอก ถูกเข่าเขาอยู่ทุกเวลา ฟันมันเจ็บมันปวด มันทุกข์มันยากมันลำบากนี่ อาตมาผ่านมาแล้วเรื่องนี้

ถอนออกหมดเลย ในปากนี้เป็นฟันปลอมทั้งนั้น มันโยกไม่สลายอยู่ ๑๖ ซี่ ถอนทีเดียวหมดเลย เจ็บใจมัน หมอไม่กล้าถอนแน่ะตั้ง ๑๖ ซี่ "หมอ ถอนมันเถอะ เป็นตาย อาตมาจะรับเอาหรอก" ถอนมันออกทีเดียวพร้อมกัน๑๖ ซี่ ที่มันยังแน่นๆ ตั้งหลายซี่ ตั้ง ๕ ซี่ ถอนออกเลย แต่ว่าเต็มทีนะ ถอนออกหมดแล้วไม่ได้ฉันข้าวอยู่ ๒-๓ วัน นี่เป็นเรื่องทุกข์

จะเก็บจะตายสังขารไหลเรื่อยไป

อาตมาคิดแต่ก่อนนะ ตอนไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เอาถ่านไฟมาถูให้มันขาว รักมันมากเหลือเกิน นึกว่ามันเป็นของดี ผลที่สุดมันจะหนีจากเรา จึงเกือบตาย เจ็บฟันนี้มันตั้งหลายเดือน ตั้งหลายปี บางทีมันบวมทั้งข้างล่างข้างบน หมดท่าเลยโยม อันนี้คงจะเจอกันทุกคนหรอก พวกที่ฟันไม่โยก เอาแปรงไปแปรงให้มันสะอาดสวยงามอยู่นั่นแหละ ระวังนะ ระวังมันจะเล่นงานเราเมื่อสุดท้าย ซี่ยาวซี่สั้นมันสลับกันอยู่อย่างนี้ ทุกข์มากโยม อันนี้ทุกข์มากจริงๆ

อันนี้บอกไว้หรอก บางทีจะไปเจอเอาทุกข์ เพราะความทุกข์ในตัวของเรานี้ จะหาที่พึ่งอะไรมันไม่มี มันค่อยยังชั่วเมื่อเรายังหนุ่ม พอแก่เข้าก็เริ่มพัง มันช่วยกันพัง สังขารมันเป็นไปตามเรื่องของมัน เราจะร้องไห้มันก็อยู่อย่างนี้ จะดีใจมันก็อยู่อย่างนี้ เราจะเป็นอะไรมันก็อยู่ของมันอย่างนี้ เราจะเจ็บจะปวดจะเป็นจะตายมันก็อยู่อย่างนั้นเพราะมันเป็นอย่างนั้น นี่มันหมดความรู้ หมดวิชา เอาหมอฟันมาดูฟัน ถึงแก้ไขแล้วยังไงก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ต่อไปหมอฟันเองก็เป็นเหมือนเราอีก ไปไม่ไหวอีกแล้ว ทุกอย่างมันก็พังไปด้วยกันทั้งหมด นี้เป็นความจำเป็นที่เราจะต้องรีบพิจารณา

เมื่อมีกำลังเรี่ยวแรงก็รีบทำจะทำบุญสุนทานจะทำอะไรก็รีบจัดทำกัน แต่ว่าคนเราก็มักจะไปมอบให้แต่คนแก่ จะเข้าวัดศึกษาธรรมะรอให้แก่เสียก่อน โยมผู้หญิงก็เหมือนกัน โยมผู้ชายก็เหมือนกัน ให้แก่เสียก่อนเถอะ ไม่รู้ว่าอะไรกันคนแก่นี่มันกำลังดีไหม ลองไปวิ่งแข่งกับคนหนุ่มดูซิ ทำไมจะต้องไปมอบให้คนแก่เหมือนไม่รู้จักตาย พอแก่มาสัก ๕๐ ปี ๖๐ ปี จวนเข้าวัดอยู่แล้ว หูตึงเสียแล้ว ความจำก็ไม่ดีเสียแล้ว นั่งก็ไม่ทน "ยายไปวัดเถอะ"

"โอย หูฉันไม่ดีแล้ว"

นั่นเห็นไหม ตอนหูดีเอาไปฟังอะไรอยู่ จังว่า... จังว่า มันคาแต่ลูกหว้าอยู่นั่นแหละ จนหูมันหนวกเสียแล้วจึงไปวัด มันก็ไปได้นั่งฟังท่านเทศน์ เทศน์อะไรไม่รู้เรื่อง มันหมดแล้วจึงมาทำกัน

ยามหนุ่มสังขารแบกเรา ยามแก่เราแบกสังขาร

วันนี้คงจะได้ประโยชน์กับบุคคลที่สนใจเป็นบางสิ่งบางอย่าง ที่ควรเก็บไว้ในใจของเรา สิ่งทั้งหลายนี่เป็นมรดกของเราทั้งนั้น มันจะรวมมา รวมมาให้เราแบกทั้งนั้นแหละ ขานี่เป็นสิ่งที่วิ่งได้มาแต่ก่อนอย่างขาอาตมานี่จะเดินมันก็หนัก สกลร่างกายจะต้องแบกมัน แต่ก่อนนั้นมันแบกเรา บัดนี้เราแบกมัน สมัยเป็นเด็กเห็นคนแก่ๆ ลุกขึ้นก ็"โอ๊ย" นั่งลงก็ "โอ๊ย" มันทุกข์ถึงขนาดนั้น เรายังไม่เห็นโทษมัน เมื่อจะหนีจากมันเราไม่รู้จัก ที่ทำเจ็บทำปวดขึ้นมานี่ เรียกว่าสังขารมันเป็นไปตามเรื่องของมัน มันเป็นประดง ประดงไฟ ประดงข้อ ประดงงอประดงจิปาถะ

หมอเอายามาใส่ก็ไม่ถูก ผลที่สุดก็พังไปทั้งหมดอีก คือสังขารมันเสื่อม มันเป็นไปตามสภาพของมัน มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้นให้ญาติพี่น้องให้พากันเห็นถ้าเห็นแล้วก็จะไม่เป็นอะไร อย่างงูอสรพิษตัวร้ายๆมันเลื้อยมา เราเห็น เราเห็นมันก่อนก็หนี มันไม่ได้กัดเราหรอก เพราะเราได้ระวังมัน ถ้าเราไม่เห็นมัน เดินๆไปไม่เห็นก็ไปเหยียบมัน เดี๋ยวมันก็กัดเลย

ไม่อยากทุกข์ต้องรู้จักทางแก้ไข

ถ้ามันทุกข์แล้วไม่รู้จะไปฟ้องใคร ถ้าทุกข์เกิดขึ้นจะไปแก้ตรงไหน คืออยากแต่ว่าไม่ให้มันทุกข์เฉยๆ เท่านั้น อยากไม่ให้มันทุกข์แต่ไม่รู้จักทางแก้ไขมัน แล้วก็อยู่ไป อยู่ไปจนถึงวันแก่ วันเจ็บ แล้วก็วันตาย คนโบราณบางคนเขาว่า เมื่อมันเจ็บมันไข้จวบลมหายใจจะขาดให้ค่อยๆ เข้าไปกระซิบใกล้หูคนไข้ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ มันจะเอาอะไร พุทโธนั่นนะ คนที่ใกล้จะนอนในกองไฟจะรู้จักพุทโธอะไร ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอายุรุ่นๆ ทำไมไม่เรียนพุทโธให้มันรู้ หายใจติดบ้างไม่ติดบ้าง "แม่ๆ พุทโธ พุทโธ" ว่าให้มันเหนื่อยทำไม อย่าไปว่าเลย มันหลายเรื่อง เอาได้แค่นั้นก็สบายแล้ว

โยมชอบเอาแต่ต้นกับปลายมัน ตรงกลางไม่เอาหรอก ชอบอย่างนั้น บริวารพวกเราทั้งหลายก็ชอบอย่างนั้น ทั้งญาติโยมทั้งพระ ทั้งเณร ชอบแต่ทำอย่างนั้น ไม่รู้จักแก้ไขภายในจิตของเจ้าของ ไม่รู้จักที่พึ่ง แล้วก็โกรธง่าย และก็อยากหลายด้วย ทำไม คือคนที่ไม่มีที่พึ่งทางใจ อยู่เป็นฆราวาส มีอายุ ๒๐-๓๐-๔๐ ปี กำลังแรงดีอยู่ พ่อบ้านแม่บ้านทั้งหลายก็พอพูดกันรู้เรื่องกันหน่อย นี่ ๕๐ ปีขึ้นไปแล้ว พูดกันไม่รู้เรื่องกันแล้ว เดี๋ยวก็นั่งหันหลังให้กันหรอก แม่บ้านพูดไปพ่อบ้านทนไม่ได้ พ่อบ้านพูดไปแม่บ้านฟังไม่ได้ เลยแยกกันหันหลังให้กัน เลยแตกกันเลย

ความหมายของคำว่า "ครอบครัว"

เรื่องนี้อาตมาเล่าไปหรอก ตัวเองไม่เคยมีครอบครัว ทำไมไม่มีครอบครัว คืออ่านคำว่าครอบครัว มันก็รู้แล้ว ครอบครัว คืออะไร ครอบมันก็คืออย่างนี้ ถ้าเรานั่งอยู่เฉยๆ ก็เอาอะไรมาครอบลงนี้จะเป็นอย่างไร เรานั่งอยู่ไม่มีอะไรมาครอบมันก็พอทนได้ ถ้าเอาอะไรมาครอบลงก็เรียกว่าครอบแล้ว มันเป็นอย่างไรครอบก็เป็นอย่างนั้น มันมีวงจำกัดแล้ว ผู้ชายก็อยู่ในวงจำกัด ผู้หญิงก็อยู่ในวงจำกัด อาตมาไปอ่านแล้ว ครอบครัวโอยหนัก ศัพท์ตายนี่ คำนี้ไม่ใช่ศัพท์เล่นๆ ศัพท์ที่ว่า ครอบ นี้ศัพท์ทุกข์ ไปไม่ได้มันมีจำกัดแล้ว ต่อไปอีก ครัว ก็หมายถึงการก่อกวนแล้ว ทิ่มแทงแล้ว

โยมผู้หญิงเคยเข้าครัว เคยโขลกพริกคั่ว พริกแห้งไหม ไอ จาม ทั้งบ้านเลยศัพท์ครอบครัวมันวุ่น ไม่น่าอยู่หรอก อาตมาอาศัยสองศัพท์นี่แหละจึงบวชไม่สึก

ครอบครัวนี่น่ากลัว ขังไว้จะไปไหนก็ไม่ได้ ลำบากเรื่องลูกบ้าง เรื่องเงินเรื่องทองบ้าง สารพัดอย่างอยู่ในนั้น ไม่รู้จะไปที่ไหน มันผูกไว้แล้ว ลูกผู้หญิงก็มี ลูกผู้ชายก็มี มันวุ่นวายเถียงกันอยู่นั่นแหละจนตายไม่ต้องไปไหนกันละ เจ็บใจขนาดไหนก็ไม่ว่า น้ำตามันไหลออกก็ไหลอยู่นั่นแหละ เออ น้ำตามันไม่หมดนะโยมครอบครัวนี่นะ ถ้าไม่มีครอบครัวน้ำตามันหมดเป็น ถ้ามีครอบครัวน้ำตามันหมดยาก หมดไม่ได้ โยมเห็นไหม มันบีบออกเหมือนบีบอ้อย ตาแห้งๆก็บีบออกให้เป็นน้ำไหลออกมา ไม่รู้มันมาจากไหน มันเจ็บใจแค้นใจสารพัดอย่าง มันทุกข์ เลยรวมทุกข์บีบออกมาเป็นน้ำทุกข์

cha 1อันนี้ให้โยมทั้งหลายเข้าใจ ถ้ายังไม่ผ่านมันจะผ่านอยู่ข้างหน้าบางคนอาจจะผ่านมาบ้างแล้วเล็กๆน้อยๆ บางคนก็เต็มที่แล้ว จะอยู่หรือจะไปหนอ โยมผู้หญิงเคยมาหาหลวงพ่อ

"หลวงพ่อ แหม ถ้าดิฉันไม่มีบุตร ดิฉันจะไปแล้ว"

"เออ อยู่นั่นแหละ เรียนให้จบเสียก่อน เรียนตรงนั้น อยากจะไปก็อยากจะไป ไม่อยากจะอยู่ ถึงขนาดนั้นก็ยังหนีไม่ได้"

วัดป่าพงสร้างกุฏิเล็กๆ ไว้ตั้ง ๗๐-๘๐ หลัง บางทีจะมีพระเณรมาอยู่บรรจุเต็ม บางทีก็มีเหลือ ๒-๓ หลัง อาตมาถามว่า "กุฏิยังเหลือว่างไหม?"

พวกชีบอก "มีบ้าง ๒-๓ หลัง"

"เออ เก็บเอาไปเถอะ บางทีพ่อบ้านแม่บ้านเขาทะเลาะกัน เอาไว้ให้เขามานอนสักหน่อย"

แน่ะ มาแล้ว โยมผู้หญิงสะพายของมาแล้ว ถามว่า "โยมมาจากไหน?"

"มากราบหลวงพ่อ ดิฉันเบื่อโลก"

"โอย! อย่าว่าเลย อาตมากลัวเหลือเกิน"

พอผู้ชายมาบ้าง ก็เบื่ออีกแล้ว นั่นมาอยู่ ๒-๓ วัน ก็หายเบื่อไปแล้ว โยมผู้หญิงมาก็เบื่อ โกหกเจ้าของ โยมผู้ชายมาก็เบื่อ โกหกเจ้าของ ไปนั่งอยู่กุฏิเล็กๆ เงียบๆ คิดแล้ว "เมื่อไหร่หนอแม่บ้านจะมาเรียกเรากลับ" "เมื่อไหร่หนอพ่อบ้านจะมาเรียกเรากลับ"

แน่ะ ไม่รู้อะไร มันเบื่ออะไรกัน มันโกรธแล้ว มันก็เบื่อแล้วก็กลับอีก เมื่ออยู่ในบ้านผิดทั้งนั้นล่ะ พ่อบ้านผิดทั้งนั้น แม่บ้านผิดทั้งนั้น มานั่งภาวนาได้ ๓ วัน "เออ! แม่บ้านเขาถูกเว้ย เรามันผิด" "พ่อบ้านเขาถูก เราซิผิด" มันจะกลับ มันเปลี่ยนเอาเองของมันอย่างนั้น ก็กลับไปเลยทั้งนั้นแหละ นี้ความจริงมันเป็นอย่างนั้นนะโลกนี้ อาตมาจึงไม่วุ่นวายอะไรกันมาก รู้ต้นรู้ปลายมันแล้ว ฉะนั้น จึงมาบวชอยู่อย่างนี้

คิดและพิจารณาบ่อยๆ พลอยให้เกิดปัญญา

วันนี้ขอฝากให้เป็นการบ้าน เอาไปทำการบ้าน จะทำไร่ทำนาทำสวน ให้เอาคำหลวงพ่อมาพิจารณาว่า เราเกิดมาทำไม เอาย่อๆว่าเกิดมาทำไม มีอะไรเอาไปได้ไหม ถามเรื่อยๆนะ ถ้าใครถามอย่างนี้บ่อยๆมีปัญญานะ ถ้าใครไม่ถามเจ้าของอย่างนี้ โง่ทั้งนั้นแหละ เข้าใจไหม บางทีฟังธรรมวันนี้แล้วกลับไปถึงบ้านจะพบเย็นนี้ก็ได้ ไม่นานนะมันเกิดขึ้นทุกวัน เราฟังธรรมอยู่มันเงียบ บางทีมันรออยู่ที่รถ เมื่อเราขึ้นรถมันก็ขึ้นรถไปด้วย ถึงบ้านมันก็แสดงอาการออกมา อ้อ หลวงพ่อท่านสอนไว้จริงของท่านละมังนี่ ตาไม่ดี ไม่เห็นนะ

เอาละ วันนี้เทศน์มากก็เหนื่อย นั่งมามากก็เหนื่อยสังขารร่างกายนี้

redline

backled1

pra tam tesana header

บัดนี้ขอให้โยมจงตั้งใจฟังธรรมะ ซึ่งเป็นโอวาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเคารพต่อไป

ให้โยมตั้งใจว่า ในเวลานี้ ปัจจุบันนี้ ซึ่งอาตมาจะได้ให้ธรรมะให้โยมตั้งใจเสมือนว่า พระพุทธเจ้าของเรานั้นตั้งอยู่ในที่เฉพาะหน้าของโยม จงตั้งใจให้ดี กำหนดจิตให้เป็นหนึ่ง หลับตาให้สบาย น้อมเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาไวที่ใจ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บัดนี้ อาตมาไม่มีอะไรฝากโยมด้วยสิ่งของที่จะเป็นแก่น เป็นสาร นอกจากธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น และเป็นของฝากที่เป็นชิ้นสุดท้าย ขอให้โยมจงตั้งใจรับ

ban tee tae jing

ให้โยมทำความเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าของเรานั้น ถึงแม้จะเป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีมาก ก็จะหลีกหนีความทุพพลภาพไปไม่ได้ อายุถึงวัยนี้แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราท่านก็ปลง ปลงอายุสังขาร คำว่าปลงนี้ก็คือว่าให้ปล่อยวาง อย่าไปหอบไว้ อย่าไปหิ้วไว้ อย่าไปแบกไว้ ให้โยมยอมรับเสียว่า สังขารร่างกายนี้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นอย่างไรๆ ก็ตามมันเถอะ เราก็ได้อาศัยสกลร่างกายนี้มาตั้งแต่กำเนิดขึ้นมา จนถึงวัยเฒ่าแก่ป่านนี้ ก็พอแล้ว

ก็เปรียบประหนึ่งว่า เครื่องใช้ไม้สอยของเราต่างๆ ที่อยู่ในบ้านซึ่งเราเก็บกำไว้นานแล้ว เช่นถ้วยโถโอจานบ้านช่องของเรานี้ เบื้องแรกมันก็สดใสใหม่สะอาดดี เมื่อเราใช้มันมาจนบัดนี้มันก็ทรุดโทรมไป บางวัตถุก็แตกไปบ้าง หายไปบ้าง ชิ้นที่มันเหลืออยู่นี้ก็แปรไปเปลี่ยนไป ไม่คงที มันก็เป็นอย่างนั้น

ถึงแม้ว่า อวัยวะร่างกายของเรานี้ก็เหมือนกันตั้งแต่เริ่มเกิดมาเป็นเด็กเป็นหนุ่มมันก็แปรมา เปลี่ยนมาเรื่อยๆ มาจนถึงบัดนี้แล้วก็เรียกว่า "แก่" นี้คือให้เรายอมรับเสีย พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า สังขารนี้ไม่ใช่ตัวของเราทั้งในตัวเรานี้ก็ดี กายเรานี้ก็ดี นอกกายนี้ก็ดี มันเปลี่ยนไปอยู่อย่างนั้น ให้โยมพินิจพิจารณาดูให้มันชัดเจน

สัจจธรรมของชีวิต

อันนี้แหละ ทั้งก้อนที่เรานั่งอยู่นี่ ที่เรานอนอยู่นี้ที่มันกำลังทรุดโทรมอยู่นี้ นี้แหละมันคือสัจจธรรม สัจจธรรมคือความจริง ความจริงอันนี้เป็นสัจจธรรม เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แน่นอน เพราะฉะนั้นท่านจึงให้มองมัน ให้พิจารณามัน ให้ยอมรับมันเสีย มันก็เป็นสิ่งที่ควรจะยอมรับ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นอย่างไร อะไร ก็ตามทีเถอะ พระพุทธองค์ท่านก็สอนว่า เมื่อเราถูกคุมขังในตะรางก็ดี ก็ให้ถูกคุมขังเฉพาะกายอันนี้เท่านั้น แต่ใจอย่าให้ถูกขัง อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

arjhan cha 01เมื่อร่างกายมันทรุดโทรมไปตามวัย โยมก็ยอมรับเสียให้มันทรุดไป ให้มันโทรมไปเฉพาะร่างกายเท่านั้น เรื่องจิตใจนั้นเป็นคนละอย่างกันก็ทำจิตให้มีกำลัง ให้มีพลัง เพราะเราเข้าไปเห็นธรรมว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็เป็นอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านก็สอนว่า ร่างกายจิตใจนี้มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะไม่เป็นไปอย่างอื่น คือ เริ่มเกิดขึ้นมาแล้วก็แก่ แก่มาแล้วก็เจ็บ เจ็บมาแล้วก็ตาย อันนี้เป็นความจริงเหลือเกิน ซึ่งคุณยายก็พบอยู่ในปัจจุบันนี้ มันก็เป็นสัจจธรรมอยู่แล้วก็มองดูมันด้วยปัญญา ให้เห็นมันเสียเท่านั้น

ถึงแม้ว่าไฟมันจะมาไหม้บ้านของเราก็ตาม ถึงแม้ว่าน้ำมันจะท่วมบ้านของเราก็ตาม ถึงแม้ว่าภัยอะไรต่างๆ มันจะมาเป็นอันตรายต่อบ้านต่อเรือนของเราก็ตาม ก็ให้มันเป็นเฉพาะบ้านเฉพาะเรือน ถ้าไฟมันไหม้ก็อย่าให้มันไหม้หัวใจเรา ถ้าน้ำมันท่วมก็อย่าให้มันท่วมหัวใจเรา ให้มันท่วมแต่บ้าน ให้มันไหม้แต่บ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกกายของเรา ส่วนจิตใจของเรานั้น ให้มันมีการปล่อยวางเพราะในเวลานี้มันก็สมควรแล้ว.มันสมควรที่จะปล่อยแล้ว

ที่โยมเกิดมานี้ก็นานแล้วใช่ไหม ตาก็ได้ดูรูปสีแสงต่างๆ ตลอดหมดแล้วทิ้งอวัยวะทุกชิ้นทุกส่วน หูก็ได้ฟังเสียงอะไรทุกๆ อย่างหมดแล้ว อะไรทุกอย่างก็ได้รับมามากๆ ทั้งนั้นแหละ และมันก็เท่านั้นแหละจะรับประทานอาหารที่อร่อย อร่อยมันก็เท่านั้น รับประทานสิ่งที่ไม่อร่อยมันก็เท่านั้น ตาจะดูรูปสวย สวยมันก็เท่านั้น หรือดูรูปที่ไม่สวยมันก็เท่านั้น หูได้ฟังเสียงที่ไพเราะไพเราะจับอกจับใจมันก็เท่านั้น จะได้ฟังเสียงที่ไม่ไพเราะมันก็เท่านั้นแหละ

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงบอกว่า ทั้งคนร่ำรวยทั้งคนยากจน ทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็ก ตลอดทั้งเดียรัจฉานทั้งหมดด้วย ซึ่งเกิดขึ้นมาในสกลโลกอันนี้มันไม่มีอะไรจะยั่งยืน จะต้องผลัดไป เปลี่ยนไปตามสภาวะของมัน

อันนี้เป็นสภาวะความจริงที่เราจะแก้ไขอย่างไรๆ เพื่อจะให้มันไม่เป็นอย่างนั้นไม่ได้ แต่ก็มีทางแก้ไขอยู่ว่าพระพุทธองค์ท่านให้พิจารณาสังขาร ร่างกายนี้ที่เดียวเท่านั้น ให้พิจารณาจิตใจนี้ด้วย ว่าทั้งสองอย่างนี้มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา มันเป็นของสมมติ เช่นว่า บ้านของคุณยายนี้ก็เป็นของสมมติว่าเป็นของคุณยายเท่านั้น จะเอาติดตามไปที่ไหนก็ไม่ได้ สมบัติพัสถาน มันสมมติว่าเป็นของคุณยายเท่านั้น มันก็ตั้งอยู่เท่านั้น จะเอาไปที่ไหนก็ไม่ได้ ลูกหลานบุตรธิดาทั้งหลายทั้งปวงนั้นเขาสมมติว่าเป็นลูกเป็นหลานของคุณยาย มันก็เรื่องสมมติทั้งนั้น

มันก็เป็นอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ใช่ว่าเป็นเรา คนเดียว มันเป็นกันทั้งโลก ถึงแม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็เป็นอย่างนี้ พระอรหันต์สาวกทั้งปวงท่านก็เป็นอย่างนี้ แต่ท่านแปลกกว่าพวกเราทั้งหลาย แปลกอย่างไร คือท่านยอมรับ ยอมรับว่า สกลร่างกายนี้มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ มันจะต้องเป็นอย่างนี้

รู้จักปล่อยแล้วก็วาง

ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงให้พิจารณาดูสกลร่างกายตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาบนศีรษะ ตั้งแต่ศีรษะลงไปหาปลายเท้า ดูซิว่ามันมีอะไรบ้าง อะไรเป็นของสะอาดไหม เป็นของเป็นแก่นสารไหม นับว่าแต่มันจะทรุดเรื่อยมาอย่างนี้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เห็นสังขารว่าของไม่ใช่ของเรา มันก็เป็นอย่างนี้ ของที่ไม่ใช่ของเรามันก็เป็นอย่างนี้ จะให้มันเป็นอย่างไรล่ะ อันนี้มันถูกแล้วถ้าโยมมีความทุกข์ โยมก็คิดผิดเท่านั้นแหละ ไปเห็นสิ่งที่มันถูกอยู่โดยความเห็นผิดมันก็ขวางใจเท่านั้น

arjhan cha 08

เหมือนน้ำในแม่น้ำที่มันไหลลงไปในทางหลุ่ม มันก็ไหลไปตามสภาพอย่างนั้น อย่างแม่น้ำอยุธยา แม่น้ำมูลแม่น้ำอะไรๆ ก็ตามเถอะ มันก็ต้องมีการไหลวนไปทางใต้ทั้งนั้นแหละ มันไม่ไหลขึ้นไปทางเหนือหรอก ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น สมมติว่าบุรุษคนหนึ่งไปยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแล้วก็มองดูกระแสของแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวไปทางใต้ แต่บุรุษนั้นมีความคิดผิด อยากจะให้น้ำนั้นมันไหลขึ้นไปทางเหนือ อย่างนี้เป็นต้นเขาก็เป็นทุกข์ เขาคนนั้นจะไม่มีความสงบเลย ถึงแม้จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน เขาก็ไม่มีความสงบ เพราะอะไรล่ะ เพราะบุรุษนั้นคิดผิด คิดทวนกระแสน้ำ

คิดอยากจะไปให้น้ำไหลขึ้นไปทางเหนือ ความจริงนั้นน้ำมันจะไหลขึ้นไปทางเหนือนั้นไม่ได้ มันจะต้องไหลไปตามกระแสของมัน เป็นธรรมดาอยู่อย่างนั้นเมื่อมันเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นก็ไม่สบายใจ ทำไมถึงไม่สบายใจ ก็เพราะบุรุษนั้นคิดไม่ถูก พิจารณาไม่ถูก ดำริไม่ถูก เพราะเขามีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิแล้วก็ต้องเห็นว่า น้ำก็ต้องไหลไปตามกระแสของมัน คือไหลไปทางใต้ ที่จะให้ไหลไปทางเหนือนั้นมันเป็นความเห็นผิด มันกมีความกระทบกระทั่งตะขิดตะขวงใจอยู่อย่างนั้น จนกว่าบุรุษคนนั้นจะมาพิจารณาคิดกลับเห็นว่า น้ำธรรมดามันก็ต้องไหลไปทางใต้อย่างนี้ เป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนี้

อันนี้เป็นสัจจธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเราจะเอามาพิจารณาว่า เออ....อันนี้มันก็เป็นความจริงอย่างนั้น แม่น้ำที่มันไหลไปทิศใต้มันก็เหมือนชีวิตร่างกายของยายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ เมื่อมันหนุ่มแล้วมันก็แก่ เมื่อมันแก่แล้วก็วนไปตามเรื่องของมัน อันนี้เป็นสัจจธรรม อย่าไปคิดว่าไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น อย่าไปคิดอย่างนั้น เรื่องอันนี้ไม่ใช่ว่าเราจะมีอำนาจไปแก้ไขมัน พระพุทธเจ้าท่านให้มองตามรูปมัน มองตามเรื่องของมัน เห็นตามสภาพของมันเสียว่ามันเป็นอย่างนั้นเท่านั้น เราก็ปล่อยมันเสียเราก็วางมันเสีย เอาความรู้สึกนี้เองเป็นที่พึ่ง ให้ภาวนาว่าพุทโธ พุทโธ ถึงแม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยก็ตามเถอะ

ให้โยมทำจิตให้อยู่กับลมหายใจ หายใจออกยาวๆ สูดลมเข้ามายาวๆ หายใจออกไปยาวๆ แล้วก็ตั้งจิตขึ้นใหม่ แล้วก็กำหนดลมว่า พุทโธ พุทโธ โดยปกติถึงแม้ว่ามันจะเหนื่อยมากเท่าไร ก็ยิ่งกำหนดลมเข้าให้ละเอียด ละเอียดเข้าไปมากเท่านั้นทุกครั้ง เพื่ออะไรเพื่อจะต่อสู้กับเวทนาเมื่อมันกำลังเหน็ดเหนื่อยก็ให้โยมหยุดความคิดทั้งหลาย ให้โยมหยุดคิดอะไรๆ ทั้งปวงเสียให้เอาจิตมารวมอยู่ที่จิต แล้วเอาจิตให้รู้จักลมภาวนาพุทโธ พุทโธ ปล่อยวางข้างนอกให้หมด อย่าไปเกาะกับลูก อย่าไปเกาะกับหลาน อย่าไปเกาะกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งนั้นให้ปล่อย ให้เป็นอันเดียว รวมจิตลงที่อันเดียว ดูลม ให้กำหนดลมเอาจิตนั่นแหละไปรวมอยู่ที่ลม คือให้รู้ที่ลมในเวลานั้น ไม่ต้องไปรู้อะไรมากมายกำหนดให้จิตมันน้อยไปๆ ละเอียดไปๆ เรื่อยๆ ไปจนกว่าจะมีความรู้สึกน้อยๆ มันจะมีความตื่นอยู่ในใจมากที่สุด

relax2อันนี้เวทนาที่มันเกิดขึ้น มันจะค่อยๆ ระงับไปๆ ผลที่สุดเราก็ดูลมเหมือนกับญาติมาเยี่ยมเรา เราก็จะตามไปส่งญาติขึ้นรถลงเรือ เราก็ตามไปถึงท่าเรือ ไปถึงรถเราก็ส่งญาติเราขึ้นรถ เราก็ส่งญาติเราลงเรือ เขาก็ติดเครื่องเรือเครื่องรถไปลิ่วเท่านั้นแหละ เราก็มองไปเถอะเมื่อญาติเราไปแล้ว เราก็กลับบ้านเรา เราดูลมก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อลมมันหยาบเราก็รู้จัก เมื่อลมมันละเอียดเราก็รู้จัก เมื่อมันละเอียดไปเรื่อยๆ เราก็มองไปๆ ตามไปน้อมไปๆ ทำจิตให้มันตื่นขึ้น ทำลมให้มันละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ผลที่สุดแล้วลมหายใจมันน้อยลงๆ จนกว่าลมหายใจไม่มี มันก็จะมีแต่ความรู้สึกเท่านั้นตื่นอยู่

นั้นก็เรียกว่า เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว เรามีความรู้ตื่นอยู่ ที่เรียกว่า พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าเป็นเช่นนั้นเราได้อยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว เราได้พบพระพุทธเจ้าแล้ว เราพบความรู้แล้ว เราพบความสว่างแล้ว มันไม่ส่งจิตใจไปทางอื่นแล้ว มันจะรวมอยู่ที่นั่น

นั้นเรียกว่า เข้าถึงพระพุทธเจ้าของเรา ถึงแม้ว่าท่านปรินิพพานไปแล้ว นั่นเรียกว่าพระพุทธรูป เป็นรูปกาย มีรูปแต่พระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงนั้นก็คือ ความรู้อันสว่างไสว เบิกบานอย่างนี้ เมื่อพบเช่นนี้เราก็มีอันเดียวเท่านั้น ให้มารวมที่นี้ ฉะนั้นให้วาง วาางทั้งหมดเหลือแต่ความรู้อันเดียว แต่อย่าไปหลงนะ อย่าให้ลืม ถ้าเกิดนิมิตเป็นรูปเป็นเสียงอะไรมา ก็ให้ปล่อยวางทั้งหมด ไม่ต้องเอาอะไรทั้งนั้นแหละ ไม่ต้องเอาอะไร เอาแต่ความรู้สึกอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ห่วงข้างหน้า ไม่ห่วงข้างหลัง หยุดอยู่กับที่ จนกว่าว่าเดินไปก็ไม่ใช่ ถอยกลับก็ไม่ใช่ หยุดอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่มีที่ยึดไม่มีที่หมาย เพราะอะไรเพราะว่าไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเราและไม่มีของของเรา...หมด

นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า สอนให้เราหมดอย่างนี้ ไม่ให้เราคว้าเอาอะไรไป
ให้เรารู้อย่างนี้ รู้แล้วก็ปล่อย ก็วาง

บัดนี้มันเป็นภาระของเราคนเดียวเท่านั้น ให้เข้าถึงธรรมะอย่างนี้ อันนี้เป็นทางที่จะทำให้เราพ้นจากวัฏฏสงสาร พยายามปล่อยวางให้เข้าใจ ให้ตั้งอกตั้งใจพินิจพิจารณา อย่าไปห่วงคนโน้น อย่าไปห่วงคนนี้ ลูกกดี หลานกดี อะไรทั้งปวงเหล่านั้นอย่าไปห่วงเลย ที่เขายังเป็นอยู่ เขาก็เป็นอยู่ อนาคตต่อไปเขาก็จะเป็นอย่างนี้เป็นอย่างคุณยายที่เป็นอยู่นี้ ไม่มีใครที่จะเหลืออยู่ในโลกได้ จะต้องเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น อันนี้คือสภาวะความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าท่านสอน เพราะฉะนั้นของที่ไม่มีสาระแก่นสารจริงๆ ท่านจึงให้วาง ถ้าวางแล้วก็เห็นความจริง ถ้าไม่วางมันก็ไม่เห็นความจริง มันเป็นอยู่อย่างนี้ ใครทั้งหมดในสกลโลกนี้มันก็เป็นอย่างนี้ ดังนั้นยาย โยม ไม่ควรห่วงใย ไม่ควรเกาะเกี่ยว

ถึงแม้มันจะคิดก็ให้มันคิด แต่ว่าคิดให้อยู่กับปัญญา ให้คิดด้วยปัญญา อย่าคิดด้วยความโง่ นึกถึงลูกก็นึกถึงความปัญญา อย่านึกถึงด้วยความโง่ นึกถึงหลานก็ให้นึกถึงด้วยปัญญา อย่าให้นึกถึงด้วยความโง่อะไรอะไรทั้งหมดนั่นแหละเราก็คิดได้ เรารู้มันก็ได้ แต่เราคิดด้วยปัญญา เรารู้ด้วยปัญญา ถ้ารู้ด้วยปัญญาเราก็ต้องปล่อย รู้ด้วยปัญญาก็ต้องวาง ถ้ารู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา มันจะไม่มีทุกข์ มันจะมีความเบิกบาน มีความสำราญ มีความสงบ มีความระงับเป็นอันเดียวจิตใจเรามารวมอยู่อย่างนี้ อะไรที่เราจะต้องอาศัยอยู่ในปัจจุบันในคราวนี้ก็คือลม ลมหายใจนี่แหละ

บัดนี้เป็นภาระของคุณยายคนเดียว ไม่เป็นภาระของคนอื่น ภาระของคนอื่นก็ให้เป็นของคนอื่นเขา ธุระหน้าที่ของเราก็เป็นธุระหน้าที่ของเรา อย่าไปเอาธุระของลูกหลานมาทำ อย่าไปเอาธุระของคนอื่นมาทำ อย่าไปเอาธุระอะไรๆ ทั้งปวงทั้งนั้นแหละมาทำ ไม่ใช่หน้าที่ของเราในเวลานี้เราควรปล่อยแล้ว เราควรจะวางแล้ว อาการที่จะปล่อยจะวางนี้ จะทำความสงบนี้ เป็นธุระของเรา เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องทำในปัจจุบัน ให้รวมจิตเข้ามาเป็นหนึ่ง นี้คือธุระหน้าที่ของเรา เรื่องอะไรก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องรูปก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องเสียงก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องกลิ่นเรื่องรสก็ปล่อยให้เขาเสีย เรื่องอะไรๆ ก็ปล่อยให้เขาแล้ว เราจะทำธุระหน้าที่ของเรา

มันจะมีอะไรเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ก็ให้นึกอยู่ในใจว่า อย่ามากวนฉัน ไม่ใช่ธุระหน้าที่ของฉัน ความวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ตาม เช่นว่าเราจะกลัว กลัวในชีวิตของเราเพราะเราจะตายอย่างนี้เป็นต้น คิดถึงคนโน้นแล้วก็คิดถึงคนนี้ เมื่อมันเกิดขึ้นในจิตอย่างนั้น เราก็บอกในใจเราว่า อย่ามากวนฉัน ไม่ใช่ธุระของฉัน บอกอย่างนี้ไว้ในใจของเรา เพราะว่าเราเห็นธรรมทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นมา

arjhan cha 10

ธรรมคืออะไร ธรรมก็คือทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่มีแล้ว โลกก็คืออะไร โลกก็คืออารมณ์ที่มันมายุแหย่กวนยายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ เดี๋ยวคนนั้นจะเป็นอย่างไร เดี๋ยวคนนี้จะเป็นอย่างไร เมื่อเราตายไปนี่ใครจะดูแลเขา ใครจะเป็นอะไรอย่างไรไหม อย่างนี้น่ะเป็นโลกทั้งนั้นแหละ ถึงแม้ว่าเราคิดขึ้นเฉยๆ เราก็กลัวจะตาย กลัวจะแก่ กลัวจะเจ็บ อะไรทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นโลกทั้งนั้น ทิ้งโลกเสีย โลกนี้มันเป็นอย่างนั้น ถ้ามันมีขึ้นมาในใจก็เรียกว่า โลกนี้คืออารมณ์ อารมณ์นี้มันมาบังจิต ไม่ให้เห็นจิตของตน อะไรๆทุกอย่างนั่น ถ้ามันเกิดขึ้นมาให้โยมคิดว่า อันนี้ไม่ใช่ธุระของฉัน เป็นเรื่องอนิจจัง เป็นเรื่องทุกขัง เป็นเรื่องอนัตตา

เราจะคิดว่าอยากอยู่ไปนานๆ อย่างนี้ก็ให้เกิดทุกข์ เราอยากจะตายเสียเดี๋ยวนี้ เร็วๆ นี้อันนี้ก็ไม่ถูกทาง นะยายนะ เป็นทุกข์ เพราะว่าสังขารนี้ไม่ใช่ของเรา เราจะไปตกแต่งอะไร มันก็ไม่ได้หรอก มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ตกแต่งมันได้ก็นิดๆ น้อยๆ เป็นต้นว่าตกแต่งร่างกายของเราให้สะสวย ให้มันสะอาด ดูเด็กๆ เขาสิ ทาปาก ทำเล็บให้มันยาว ทำอะไรให้มันสะสวยเสียมันก็แค่นั้นแหละโยม เมื่อแก่มาแล้วก็รวมในกระป๋องเดียวกัน ไม่มีอะไร ตกแต่งได้แค่นั้นแหละ ตกแต่งจริงๆ ไม่ได้หรอก มันก็เป็นอย่างนั้นเรื่องของสังขาร ที่จะตกแต่งได้ก็เรื่องจิตใจของเรา

บ้านที่แท้จริง

cha 3ตึกรามบ้านช่องทั้งหลายก็สร้างขึ้นมาได้ อย่างบ้านคุณหมออุทัยนี่อาตมาก็เคยไปขึ้นบ้านใหม่ให้ สร้างขึ้นจะสวยใหญ่โตก็ได้ สร้างนั้นมันสร้างบ้านข้างนอกใครๆ ก็สร้างกันได้ทั้งนั้น แต่ว่าพระพุทธองค์ท่านเรียกว่าบ้านข้างนอก ไม่ใช่บ้านที่แท้จริง มันเป็นบ้านโดยสมมติบ้านอยู่ในโลก มันก็เป็นไปตามโลก บางคนก็ลืมนะ ได้บ้านใหญ่โตสนุกสุขสำราญ ลืมบ้านจริงๆของเขา บ้านที่จริงของเราอยู่ที่ไหน บ้านที่จริงของเราคือที่ว่ามีความ รู้สึกที่มันสงบ คือความสงบนั่นแหละเป็นบ้านจริงๆ ของเรา บ้านที่เราอยู่นี้ หรือบ้านที่ไหนก็ตามทีเถอะ บ้านก็สวยหรอก แต่อยู่กันไม่ค่อยสงบ เดี๋ยวก็เพราะอันโน้น เดี๋ยวก็เพราะอันนี้ เดี๋ยวก็ห่วงอันนั้น เดี๋ยวก็ห่วงอันนี้อยู่อย่างนี้แหละ เรียกว่าไม่ใช่บ้านเรา ไม่ใช่บ้านข้างใน มันเป็นบ้านข้างนอก อีกประเดี๋ยววันใดวันหนึ่งเราก็เลิกมันเท่านั้นแหละ บ้านนี้เราอยู่ไม่ได้หรอก มันเป็นบ้านของโลก ไม่ใช่บ้านของเรา

สกลร่างกายของเรานี้ ก็ยังเห็นว่าเป็นตัว เป็นตนเป็นเรา เป็นเขาอีก อันนี้ก็เป็นบ้านหลังหนึ่งซึ่งติดอยู่กับตัวของเราที่เราเข้าใจว่าตัวเราหรือของเรานี้ อันนี้ก็ไม่ใชอีก อันนี้ก็เป็นบ้านของโลก ไม่ใช่บ้านของเราอย่างแท้จริงแต่คนก็ชอบแต่จะสร้างบ้านข้างนอก ไม่ชอบสร้างบ้านข้างใน บ้านที่มันสำหรับอยู่จริงๆ ที่มันสงบจริงๆ ไม่ค่อยจะสร้างกัน ไปสร้างแต่ข้างนอกก็เพราะมันเป็นอย่างนี้แหละ

อย่างคุณยายนี่ ก็ลองคิดดูซิ เวลานี้มันเป็นอย่างไรนะ คิดดูตั้งแต่วันที่เราเกิดมาเรื่อยๆ มาจนถึงบัดนี้ คือเราเดินหนีจากความจริงเดินไปเรื่อย และเดินมาจนแก่ จนเจ็บขนาดนี้ ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนี้ ห้ามมันก็ไม่ได้ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ จะให้เป็นอย่างอื่นมันก็เป็นไปไม่ได้ เหมือนกันกับเป็ดจะให้มันเหมือนไก่มันก็ไม่เหมือนเพราะว่ามันเป็นเป็ด ไก่อยากให้เหมือนกับเป็ด มันก็เป็นไปไม่ได้เพราะว่ามันเป็นไก่ ถ้าใครไปคิดอยู่ว่าอยากให้เป็ดเหมือนไก่ อยากให้ไก่เป็นเหมือนเป็ดมันก็ทุกข์เท่านั้นล่ะ ก็เพราะมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าโยมมาคิดเสียว่า เออ เป็ดมันก็ต้องเป็นของมันอย่างนั้น ไก่มันก็ต้องเป็นของมันอย่างนั้น จะให้เป็ดเหมือนไก่ จะให้ไก่เหมือนเป็ดมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นอยู่อย่างนั้น

ถ้าเราคิดเช่นนี้แล้ว เราจะมีพละ เราจะมีกำลังเพราะว่าสกลร่างกายนี้ อยากจะให้มันยืนนานถาวรไปเท่าๆ ไรมันก็ไม่ได้ มันก็เป็นอย่างนี้นี่ท่านเรียกสังขาร อนิจฺจา วตสงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปชฺฌิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสวูปสโม สุโข สังขาร คือ ร่างกายจิตใจนี้แหละมันเป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่แน่นอน มีแล้วก็หาไม่ เกิดแล้วก็ดับไป แต่มนุษย์เราทั้งหลายอยากให้สังขารนี้มันเที่ยง อันนี้คือความคิดของคนโง่ ดูซิว่าลมหายใจของคนเรานี้มันเข้ามาแล้วมันก็ออกไป เป็นธรรมดาของลม มันก็ต้องเป็นอยู่อย่างนั้น ต้องกลับไปกลับมา มีความเปลี่ยนแปลง

เรื่องสังขารมันก็อยู่ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ จะให้มันไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ลองคิดดูซิว่า หายใจออกอย่างเดียว ไม่ให้มันเข้ามาได้ไหม สบายไหม สูดลมเข้ามาแล้วไม่ให้มันออกดีไหม นี่ อยากจะให้มันเที่ยงอย่างนี้ มันเที่ยงไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ ออกไปแล้วก็เข้ามา เข้ามาแล้วก็ออกไป เป็นเรื่องธรรมดาเหลือเกิน เกิดแล้วก็แก่ แก่แล้วเจ็บและก็ตาย เป็นเรื่องธรรมดาแท้ๆ เหมือนกับลมเข้าแล้วไม่ให้ออกไม่ได้ออกแล้วไม่ให้เข้าไม่ได้ ถ้ามีการเข้าแล้วออก ออกแล้วเข้า ก็ทำให้ชีวิตเช่นมนุษย์ทั้งหลายเป็นอยู่ได้เท่าทุกวันนี้เพราะสังขารมันทำตามหน้าที่ของมันอย่างนี้แหละมันจริงอยู่แล้วไม่ใช่เป็นของไม่จริง มันจริงของมันอยู่อย่างนั้นแหละ

ที่พักชั่วคราวของมนุษย์

เมื่อเราเกิดมาแล้ว โยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเองแหละ ไอ้ความแก่กับความตาย มันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ เหมือนกับต้นไม้อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย เมื่อมีปลายมันก็มีโคน ไม่มีโคนปลายก็ไม่มี มีปลายก็ต้องมีโคน มีแต่ปลายโคนไม่มีก็ไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้น

standingsideเพราะฉะนั้นก็นึกขำเหมือนกันนะ มนุษย์เราทั้งหลายเมื่อจะตายแล้วก็โศกเศร้า วุ่นวาย นั่งร้องไห้เสียใจ สารพัดอย่าง หลงไปสิ โยม มันหลงนะ พอคนตายก็ร้องไห้พิไรรำพัน แต่ไหนแต่ไรมาไม่ค่อยได้พิจารณาให้ชัดแจ้งนะ ความเป็นจริงแล้ว อาตมาขอโทษด้วยนะอาตมาเห็นว่า ถ้าจะร้องไห้กับคนตายน่ะ ร้องไห้กับคนที่เกิดมาดีกว่า แต่มันกลับกันเสีย ถ้าคนเกิดมาแล้วโยมทั้งหลายก็หัวเราะดีอกดีใจกันชื่นบาน ความเป็นจริงเกิดนั่นล่ะคือตาย ตายนั่นล่ะก็คือเกิด ต้นก็คือปลาย ปลายก็คือต้น เราไม่รู้จัก ถึงเวลาจวนจะตาย หรือตายแล้วก็ร้องไห้กัน นี่คือคนโง่ ถ้าจะร้องไห้อย่างนั้นมาแต่ต้นก็ยังจะดีนะ เมื่อเกิดมาก็ร้องไห้กันเสียทีเถอะ ดูให้ดีซิถ้าไม่เกิดมันก็ไม่ตายเข้าใจไหม

เพราะฉะนั้นโยม อย่านึกอะไรมากมาย ให้นึกว่ามันเป็นอย่างนั้น นี้คือธุระหน้าที่ของเราแล้ว บัดนี้ใครช่วยไม่ได้ ลูกก็ช่วยไม่ได้ หลานก็ช่วยไม่ได้ ทรัพย์สินเงินทองก็ช่วยไม่ได้ ช่วยได้แต่ความรู้สึกของโยมที่คิดให้ถูกต้องเดี๋ยวนี้นะ ไม่ให้หวั่นไหวไปมา ปล่อยมันทิ้งเสียเราปล่อยมัน ทิ้งมัน

ถ้าเราไม่ปล่อยมัน ไม่ทิ้งมัน มันก็จะหนีอยู่แล้วเห็นไหม อวัยวะร่างกายของเราน่ะ มันพยายามจะหนีอยู่แล้วน่ะ เห็นไหม ดูง่ายๆว่า เมื่อเกิดมาเป็นหนุ่มเป็นสาวผมมันก็ดำเห็นไหม บัดนี้มันหมอก นี่เรียกว่ามันหนีแล้วนะ ตาเราเคยสว่างไสวดีตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว บัดนี้มันฝ้าฟางเห็นไหม นี่เรียกว่ามันหนีแล้ว เขาทนไม่ไหวเขาต้องหนี ที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของเขา อะไรทุกชิ้นทุกส่วนเขาก็จะหนีแล้ว ฟันของเราตอนเป็นเด็กมันแน่นหนาถาวรไหมบัดนี้มันมันโยกมันคลอน แล้วจะใส่ฟันใหมเสียก็ได้ นี่มันก็ของใหม่ไม่ใช่ของเก่า สิ่งทั้งหลายในอวัยวะร่างกายของคุณยายนี้น่ะ เขาพยายามจะหนีไปแล้ว ตา หู จมูกลิ้น กาย ทั้งหมด เขาพยายามจะหนี ทำไมถึงจะหนีเพราะตรงนี้ไม่ใช่ที่อยู่ของเขา เป็นสังขารอยู่ไม่ได้ อยู่ชั่วคราวเท่านั้นก็ไปไม่ว่าแต่ตัวของเรา ทั้งหมดอวัยวะนี่ผมก็ดี ขนก็ดี เล็บกดี ทั้งหมดนั่น เดี๋ยวนี้เขาเตรียมหนีเขาหนีไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่หมด ยังเหลือแต่คนเฝ้าบ้านเล็กๆ น้อยๆ เฝ้าบ้านอยู่แต่ไม่ค่อยดีหรอก ตาก็ไม่ค่อยดีฟันก็ไม่ค่อยดี หูนี่ก็ไม่ค่อยจะดี ร่างกายนี้ก็ไม่ค่อยจะดีก็เพราะเขาหนีไปบ้างแล้ว

นี่ให้ยายเข้าใจว่าที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมนุษย์โดยตรงเป็นที่พักชั่วคราวเท่านั้นล่ะ เพราะฉะนั้นยายไม่ควรห่วงใยอะไรมากมาย มาอยู่ในโลกก็ให้พิจารณาโลกนี้ว่ามันเป็นอย่างนั้น ไม่ว่าแต่อะไรทั้งหลายเลย เขาเตรียมจะหนีกันแล้ว ดูซิ ดูตามสภาพร่างกายซิว่ามันมีอะไรเหมือนเดิมไหม ร่างกายเหมือนเดิมไหม หนังเหมือนเดิมไหมผมเหมือนเดิมไหม ไม่เหมือน เขาไปที่ไหนกันหมดแล้วนี่ ธรรมชาติเขาเป็นอย่างนั้น เมื่ออยู่ครบตามวาระของเขาแล้วเขาก็ต้องไป เพราะธุระเขาเป็นอย่างนั้น ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ที่แน่นหนาถาวรอะไร อยู่แล้วก็วุ่นๆ วายๆ สุขๆ ทุกข์ๆ ไม่สงบ ระงับ

ถ้าเป็นคนก็เป็นคนที่เดินไปยังไม่ถึงบ้าน ยังอยู่ระหว่างทาง เดี๋ยวก็จะกลับ เดี๋ยวก็จะไป เดี๋ยวก็จะอยู่ นี่คือคนไม่มีที่อยู่ เปรียบเหมือนว่าเราเดินออกจากบ้านไปกรุงเทพฯ หรือว่าไปที่ไหนก็ตามเถอะ เราก็เดินไป เมื่อเดินไปยังไม่ถึงบ้านเมื่อไร มันก็ยังไม่น่าอยู่ นั่งก็ไม่สบาย นอนก็ไม่สบาย เดินก็ไม่สบาย นั่งรถไปก็ยังไม่สบาย เพราะอะไร เพราะว่ายังไม่ถึงบ้านเรา พอเรามาถึงบ้านเราแล้วก็สบาย เพราะเราเข้าใจว่านี่เป็นบ้านเรา อันนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ในโลกนี้มันเรื่องไม่สงบทั้งนั้น ถึงแม้มันจะร่ำจะรวยมันก็ไม่สงบ มันจนก็ไม่สงบ มันโตก็ไม่สงบ เป็นเด็กก็ไม่สงบ มีความรู้น้อยมันก็ไม่สงบ มีความรู้มากมันก็ไม่สงบ เรื่องมันไม สงบมันเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นคนที่มีน้อยก็มีทุกข์ คนที่มีมากก็มีทุกข์ เป็นเด็กมันก็เป็นทุกข์ ผู้ใหญ่ก็เป็นทุกข์ แก่แล้วมันก็ทุกข์ ทุกข์อย่างคนแก่ ทุกข์อย่างเด็ก ทุกข์อย่างคนรวย ทุกข์อย่างคนจนมันเป็นทุกข์ทั้งนั้นนั่นล่ะ ดังนั้นอวัยวะทุกส่วนเขาจึงทยอยกันไปเรื่อย

เมื่อคุณยายพิจารณาอย่างนี้แล้ว ก็จะเห็นว่าอนิจจัง มันเป็นของไม่เที่ยง ทุกขัง มันเป็นทุกข์ เพราะว่าอะไร เพราะว่าอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ร่างที่ยายอาศัยอยู่เดี๋ยวนี้น่ะ ร่างกายที่นั่ง นอนเจ็บป่วยอยู่นี้ และทั้งจิตใจที่รู้ว่ามันเป็นสุขเป็นทุกข์ มันเจ็บป่วยอยู่เดี๋ยวนี้ทั้งสองอย่างนี้ท่านเรียกว่า ธรรม

สิ่งที่ไม่มีรูป ที่มันเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น เรียกว่ามันเป็นนาม มันก็เป็น "นามธรรม" สิ่งที่มันเจ็บปวดขยายไปมาอยู่นี้อันนี้มันก็เป็น "รูปธรรม" สิ่งที่เป็นรูปก็เป็นธรรม สิ่งที่เป็นนามก็เป็นธรรม ฉะนั้นเราถึงอยู่กันด้วยธรรมะ คือ อยู่ในธรรม มันเป็นธรรมนั่นแหละ ตัวของเราจริงๆที่ไหนมันไม่มี มันเป็นธรรมะสภาพธรรมมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไปๆ สภาวะธรรมมันเป็นอยู่อย่างนั้น มีความเกิดแล้วก็มีความดับ เราก็มีความเกิดดับอยู่ทุกขณะเดี๋ยวนี้น่ะมันเป็นอยู่อย่างนี้

ฉะนั้น เมื่อเราคิดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็น่าไหว้ น่าเคารพ น่านับถือ ท่านพูดจริงท่านพูดตามความจริง มันก็เห็นจริงอย่างนั้น ถ้าเราเกิดมาพบอยที่นี่เราก็เห็นธรรมะ แต่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมะบางคนปฏิบัติธรรมะแต่ไม่เห็นธรรมะ บางคนรู้ธรรมะเรียนธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ ก็ยังไม่เห็นธรรมะ ก็ยังไม่มีที่อยู่

ดังนั้นให้เข้าใจเสียว่า ที่นี่ทุกคน แม้ปลวกหรือมด หรือสัตว์ตัวนิดๆก็ตามทีเถอะ เขาก็พยายามจะหนีกันทั้งนั้น สิ่งที่มชีวิตเขาอยู่กันพอควรแล้ว เขาก็ไปกันทั้งนั้นล่ะ ทั้งคนจน ทั้งคนร่ำรวย ทั้งเด็ก ทั้งคนแก่ทั้งสัตว์เดียรัจฉาน สิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้ มันก็ย่อมแปรไปเปลี่ยนไปอย่างนี้

เพราะฉะนั้น เมื่อคุณยายรู้ว่าโลกนี้มันเป็นอย่างนี้แล้ว ก็น่าเบื่อหน่าย น่าเบื่อมัน อะไรมันไม่เป็นตัวของตัวทั้งนั้น เบื่อหน่าย นิพพิทา คำว่า เบื่อหน่ายไม่ใช่ว่ารังเกียจนะ เบื่อหน่ายคือ ใจมันสว่าง ใจมันเห็นความเป็นจริง ไม่มีทางจะแก้ไขอะไรแล้ว มันเป็นอย่างนี้ รู้อย่างนี้ก็เลยปล่อยวางมัน ปล่อยโดยความไม่ดีใจ ปล่อยโดยความไม่เสียใจ ปล่อยไปตามเรื่องของสังขาร ว่าสังขารมันเป็นอย่างนั้น ด้วยปัญญาของเรา นี่เรียกว่า อนิจจา วต สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ที่ไม่เที่ยง คือ มันเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา อย่างนั้นแหละเรียกว่าไม่เที่ยง คือ อนิจจัง

พูดง่ายๆ ว่า ตัวอนิจจังนั่นแหละ คือตัวพระพุทธเจ้าล่ะ ถ้าเราเข้าไปเห็นอย่างจริงๆจังๆว่า อนิจจังคือของไม่เที่ยงนั่นแหละคือตัวพระพุทธเจ้า ของที่ไม่เที่ยง ถ้าเราเห็นชัดเข้าไปมันก็เที่ยง เที่ยงอย่างไร ก็เที่ยงที่มันเป็นอยู่อย่างนั้นแหละ มนุษย์สัตว์เกิดมาก็เป็นอย่างนั้น มันเที่ยงอย่างนั้น แต่ว่ามันไม่เที่ยง คือว่ามันแปรไปแปรมา คือมันเปลี่ยนเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นเฒ่า แก่ชรา เรียกว่ามันไม่เที่ยง ไอ้ความที่มันเป็นอย่างนั้นก็เรียกว่า มันเที่ยง ไม่แปรเป็นอย่างอื่น ถ้าคุณยายเห็นอย่างนี้ใจก็จะสบาย ไม่ว่าเราคนเดียวหรอก ทุกๆ คนเป็นอย่างนี้

sweepดังนั้นเมื่อคิดได้เช่นนี้ ก็น่าเบื่อ เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายหายความกำหนัดรักใคร่ในโลก ในกามในโลกามิสทั้งหลายเหล่านี้ มีมากก็ทิ้งไว้มาก มีน้อยก็ทิ้งไว้น้อย ทุกคนดนี่ซิ ที่คุณยายเกิดขึ้นมานี้เห็นไหม เห็นคนรวยไหม เห็นคนอายุสั้นไหม เห็นคนอายุยืนไหม มันก็มีเท่านั้นล่ะ

เพราะฉะนั้นที่สำคัญคือ พระพุทธเจ้าท่านให้สร้างบ้านเรือนตัวเอง สร้างโดยวิธีที่อาตมาบรรยายธรรมะให้ฟังเดี๋ยวนี้น่ะ สร้างบ้านให้ได้ ปล่อยวางให้ได้ ปล่อยวางมันให้มันถึงความสงบ เรียกว่าไม่เดินไปข้างหน้า ไม่ก้าวไปข้างหลัง ไม่หยุดอยู่ นี่เรียกว่าสงบ สงบจากการเดินไป สงบจากการถอยกลับ สงบจากการหยุดอยนี่ ไอ้ความสุขก็ไม่ใช่ที่อยู่ ไอ้ความทุกข์ก็ไม่ใช่ที่อยู่ของเรา ทุกข์มันก็เสื่อม สุขมันก็เสื่อมทั้งนั้น

พระบรมครูของเรา ท่านเห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้พวกเราทั้งหลายปล่อยวาง เมื่อถึงเวลาสุดท้ายของทุกคนเพราะว่ามันเอาไปไม่ได้ จำเป็นมันก็ต้องวางอยู่นั่นเองล่ะแต่เราก็วางมันไว้ก่อนเสียจะไม่ดีกว่าหรือ เราแบกก็รู้สึกว่ามันหนัก เมื่อมันหนักแล้วเราก็ทิ้งมันเสียก่อนจะไม่ดีหรือ จะไปกวนแบกมันทำไม เราปล่อยวาง ก็ให้ลูกหลานพยาบาลเราสบายๆ

ผู้ที่พยาบาลคนที่ป่วยก็มีคุณธรรม คนที่ป่วยก็ให้โอกาสแก่ผู้พยาบาล อย่าทำให้ลำบากแก่คนที่รักษา เจ็บตรงไหน เป็นอะไรก็ให้ได้รู้จัก ทำจิตให้มันดี คนที่รักษาพ่อแม่ก็ให้มีคุณธรรม มีความอดทน อย่ารังเกียจ อันนี้ที่จะเป็นการสนองคุณพ่อแม่ของเราก็เวลานี้เท่านั้นล่ะเบื้องต้นเกิดมา เราเป็นเด็ก พ่อแม่เป็นผู้ใหญ่ เราอาศัยพ่อแม่จึงเติบโตจนถึงบัดนี้ ได้มาอยู่บัดนี้ นั่งรวมกันอยู่ที่นี่ก็เพราะคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเรามาสารพัดอย่างแล้ว มีบุญคุณมากที่สุดเหลือเกินนะ

บัดนี้ให้ลูกหลานทุกๆ คนนี้จงเข้าใจว่า เดี๋ยวนี้พ่อแม่กลายเป็นลูกเราเสียแล้ว แต่ก่อนเราเป็นลูกของพ่อแม่บัดนี้พ่อแม่เป็นลูกเราเสียแล้ว เพราะอะไร เพราะแก่ไปๆ จนกลายเป็นเด็ก จำก็ไม่ได้ ตาก็มองไม่เห็น หูไม่ได้ยินสารพัดอย่าง บางทีพูดถูกๆ ผิดๆ เหมือนเด็กนั่นเองดังนั้นให้ลูกหลานทั้งหลายปล่อย คนที่รักษาคนป่วยก็ให้ปล่อย อย่าไปถือเลย ปล่อยเสียให้ตามใจทุกอย่างเหมือนเด็กๆ ที่เกิดมา อะไรที่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ก็ปล่อยทุกอย่างนั่นล่ะ ปล่อยให้เด็กมันสบาย ไม่ให้เด็กมันร้องไห้ อย่าให้เด็กขัดใจอะไรเหล่านี้ พ่อแม่ของเราบัดนี้ก็เหมือนมัน สัญญามันวิปลาส บางทีเรียกลูกคนหนึ่งไปถูกคนหนึ่ง บางทีเรียกหลานคนหนึ่งไปถูกหลานอีกคนหนึ่ง จะเรียกเอาขันมาก็ได้จานมา

มันเป็นเรื่องของธรรมดาอย่างนั้น อันนี้ก็ให้พิจารณา คนที่ป่วยก็ให้นึกถึงคนพยาบาล มีคุณธรรม ให้อดให้ทนต่อทุกขเวทนา เวทนาสารพัดอย่างที่มันเกิดขึ้นมาให้อดกลั้น ให้ทำความเพียรในใจของเรา อย่าให้มันวุ่นวาย อย่าให้มีความลำบากยากเกินไปแก่ผู้ปฏิบัติ ผู้อุปัฏฐากก็ให้มีคุณธรรมอย่ารังเกียจน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ อะไรก็ต้องพยายามเท่าที่เราจะทำได้ ลูกๆเราทุกคนให้ช่วยกันดู

บัดนี้เรามีพ่อแม่เท่านี้แหละ เราอาศัยมาได้เกิดมาได้เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นพยาบาล เป็นหมอ เป็นอะไรมาทุกอย่างเหล่านี้ อันนี้คือบุญคุณของท่านที่เลี้ยงเรามา ให้ความรู้เรามา ให้ความเป็นอยู่ของเรามา ให้ทรัพย์สมบัติเรา นี่คือคุณของพ่อแม่ถ่ายทอดรับมรดกกันมาอย่างนี้ เป็นวงศ์ตระกูลอย่างนี้ พระพุทธองค์ท่านจึงสอนเรื่องกตัญญูกตเวที กตัญญู กับกตเวทีนี้เป็นธรรม ซึ่งสนองซึ่งกันและกัน ท่านต้องการอะไร ท่านไม่สบายท่านมีความลำบาก ท่านมีความขัดข้องประการใด เราก็ต้องเสียสละ ช่วยท่านรับภาระธุระอันนั้น นี้คือกตัญญูกตเวทีเป็นธรรมที่ค้ำจุนโลกอยู่ ให้วงศ์ตระกูลของเราไม่กระจัดกระจาย ให้วงศ์ตระกูลของเราเรียบร้อยมั่นคง

วันนี้อาตมาได้เอาธรรมะคำสอน มาฝากยายในเวลาที่เจ็บป่วยอยู่อย่างนี้ ซึ่งอาศัยคุณหมออุทัยลูกของโยมนั่นแหละ นึกถึงผู้มีพระคุณ อาตมาจะฝากอะไรมามันก็ไม่มี จะฝากวัตถุอะไรมา ที่บ้านนี่ก็เยอะแยะแล้วอาตมาจึงฝากธรรมะซึ่งมันหมดไม่ได้ มันเป็นแก่นเป็นสาร ถึงยายได้ฟังธรรมะนี้แล้ว จะถ่ายทอดให้คนอื่นเท่าไรก็ ยังไม่หมดไป สัจจธรรมคือความจริงตั้งมั่นอยู่อย่างนี้ อันนี้ อาตมาก็พลอยดีใจด้วยที่ได้ฝากธรรมะมาให้คุณยาย เพื่อจะได้มีจิตใจที่เข้มแข็งต่อสู้กับสิ่งทั้งหลายเหล่านี้.....

redline

backled1

pra tam tesana header

ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนามาจากครูบาอาจารย์มาก็มาก ซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป จนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไร บางท่านก็สอนลัดเกินไป จนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ เพราะว่ากันตามตำรา บางท่านก็สอนพอปานกลาง ไม่กว้างและไม่ลัด เหมาะที่จะนำไปปฏิบัติจนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆ พอสมควร

kan son dhamma kru arjan

อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและการปฏิบัติ ซึ่งเคยดำเนินมา และได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำให้ท่านทั้งหลายได้ทราบบางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็เป็นได้

samati2ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้น เบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำ และเข้าใจความหมายของคำว่าพุทธธรรมต่อไปว่า

  • พุทธะ หมายถึงท่านผู้รู้ตามเป็นจริง จนมีความสะอาด สงบ สว่างในใจ
  • ธรรม หมายถึงตัวความสะอาด สงบ สว่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้นผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรม ก็คือ คนเข้าถึงศีลสมาธิ ปัญญา นี่เอง

การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม 

ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอา เขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินทางให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวก และถึงที่หมายได้ หากเดินผิดทาง เขาจะได้รับอุปสรรค เช่น พบขวากหนามเป็นต้น และยังไกลที่หมายออกไปทุกที หรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง ไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้ เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อนหลับนอนเป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์

ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้าน หรือผ่านบ้านไปเฉยๆ คนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา ข้อนี้ฉันใด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมก็เหมือนกัน ทุกๆ คนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเอง ไม่มีการเดินแทนกัน และต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมาย ได้รับความสะอาด สว่าง สงบสว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเอง แต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรา กางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ ผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลย เขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านเลยไป ครูบาอาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้น เราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดิน และจะได้รับผลมากน้อยเพียงใด นั้นมันเป็นเรื่องเฉพาะตน

อย่ามัวอ่านสรรพคุณยาจนลืมกินยา

อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้งพันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่า โดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลย

เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยา ซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียจนเพลินแต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอจะอ่านฉลากครั้งเดียวหรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อย เขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้ง ก็เพราะโรคเรามันมาก เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน ดังนั้นท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญาพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จึงจะเข้าใจดี

สรีรโอสถและธรรมโอสถ

พวกแพทย์พวกหมอเขาปรุงยาปราบโรคทางกาย จะเรียกว่าสรีรโอสถ ก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่า ธรรมโอสถ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไวและเป็นได้ทุกคน ไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็นไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ

เข้าถึงพุทธธรรมด้วยใจ

พิจารณาดูเถิด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมมิใช่เดินด้วยกายแต่ต้องเดินด้วยใจจึงจะเข้าถึงได้ ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น 3 ชั้น คือ

  1. ชั้นต่ำ ได้แก่ ผู้รู้จักปฏิญาณตนเองเอาพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอาศัย ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดี ละทิ้งประเพณีที่งมงายและเชื่อมงคลตื่นข่าว จะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อน คนพวกนี้เรียกว่า สาธุชน
  2. ชั้นกลาง หมายถึง ผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย รู้เท่าทันสังขาร พยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลง มีจิตเข้าถึงธรรมสูงขึ้นเป็นขั้นๆ ท่านเหล่านี้เรียกว่าพระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
  3. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกาย วาจา ใจ เป็นพุทธะ เป็นผู้พ้นจากโลก อยู่เหนือโลก หมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิง เรียกว่า พระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด

การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

ศีลนั้น คือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้วมีอย่างเดียว คือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอเพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหาย และรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจให้อยู่ในแนวทางแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดา เมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรกและตัวเองก็สกปรก ย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน ดังนั้นเมื่อศีลไม่บริสุทธิ์เพราะกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมอง ขัดต่อการปฏิบัติธรรม และเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้น เพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป

การฝึกสมาธิ

การฝึกสมาธิ ก็คือการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบเพราะตามปกติ จิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบทำชลประทาน เหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมด ดังนั้นจิตใจที่มีการกั้นการฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์" ดังนี้เป็นต้น

เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ

samatiจิตที่ฝึกดีแล้วมีคุณค่ามากมาย

ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวก ได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไปและท่านยังได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เราๆจะกำหนด ก็เพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น

จิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นคนหุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ

การฝึกอานาปานสติภาวนา

การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า อานาปานสติ-ภาวนา คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดินจงกรม และนั่งสมาธิ ก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าพยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆ ติดต่อกันไป

ใช้สติกำหนดลมหายใจเพียงอย่างเดียว

การฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาดีๆ แต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้ ป่า ป่าช้า ถ้ำ ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญ เหมาะที่สุด เราจะอยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่น ก็พยายามดึงกลับมาทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติไหลไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆ จะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น

tesana 8ปัญญาเกิดเมื่อจิตดีแล้ว

เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขารที่เกิด เป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหล เมื่อเราได้อะไรมาก็มีสติ ไม่ดีใจจนเกินไป เมื่อของสูญหายไป ก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกขเวทนา เพราะรู้เท่าทัน เมื่อประสบความเจ็บไข้หรือได้รับทุกข์อื่นๆ ก็มีการยับยั้งใจ เพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้ว เรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่าเกิดปัญญารู้ทันตามความเป็นจริง ที่จะเกิดปัญญาเพราะมีสมาธิ สมาธิจะเกิดเพราะมีศีล มันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้

ลมหายใจกับศีล สมาธิ ปัญญา

สรุปได้ความดังนี้ อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยากมิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพานเมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด

ผลจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา

เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 พวก ดังต่อไปนี้

  1. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตาม ย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่พึ่งได้ ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวาน
  2. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย เป็นผู้มีจิตใจผ่องใส ดิ่งสู่นิพพานเปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ซึ่งมีทั้งรสหวานและมัน
  3. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหัตตผล ย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง เพราะเป็นพุทธะแล้ว พ้นจากโลก อยู่จบพรหมจรรย์เปรียบเหมือนได้กินของหวาน ที่มีทั้งรสหวาน มัน และหอม

จงรีบสร้างบารมีด้วยการทำดี

เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดี ทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย

ฉะนั้น ควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ ขอฝาก ภาษิตว่า

เที่ยวทางเวิ้งเหิงนานมันสิค่ำ เมานำต่าบักหว้ามันสิช้าค่ำทาง"

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)