foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra tam tesana header

การทำจิตให้สงบ คือการวางให้พอดี ตั้งใจเกินไปมากมันก็เลยไป ปล่อยเกินไปมันก็ไม่ถึง เพราะขาดความพอดี ธรรมดาจิตเป็นของไม่อยู่นิ่ง เป็นของมีกิริยาไหวตัวอยู่เรื่อย ฉะนั้นจิตใจของเราจึงไม่มีกำลัง

tam jai hi sa ngob

การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลัง ทำกายบริหาร มีการกระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง การทำจิตใจให้มีกำลังก็คือทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่ไปต่างๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน

การทำสมาธิ 

บัดนี้เราจะทำสมาธิ ก็ตั้งใจ ให้เอาความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ถ้าหากว่าเราหายใจสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป ก็ไม่พอดี ไม่ได้สัดได้ส่วนกัน ไม่เกิดความสงบเหมือนกันกับเราเย็บจักร ผู้เย็บจักรมีมือมีเท้าเราต้องถีบจักรเปล่าดูก่อน ให้รู้จักให้คล่องกับเท้าของเราเสียก่อนจึงเอาผ้ามาเย็บ

cha 15การกำหนดลมหายใจก็เหมือนกัน หายใจเฉยๆ กำหนดรู้ไว้ จะพอดีขนาดไหน ยาวขนาดไหน สั้นขนาดไหน จะให้ค่อยขนาดไหน แรงขนาดไหน จะยาวก็ไม่เอากับมัน จะสั้นก็ไม่เอากับมัน จะค่อยก็ไม่เอากับมัน เอาตามความพอดี เอายาวพอดี เอาสั้นพอดี เอาค่อยพอดีเอาแรงพอดี นั่นชื่อว่าความพอดี เราไม่ได้ขัดไม่ได้ข้องแล้วก็ปล่อย หายใจดูก่อนไม่ต้องทำอะไร

ถ้าหากว่าจิตสบายแล้ว จิตพอดีแล้ว ก็ยกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หายใจเข้าต้นลมอยู่ปลายจมูกกลางลมอยู่หทัยคือหัวใจ ปลายลมอยู่สะดือ อันนี้เป็นแหล่งการเดินลม เมื่อหายใจออกต้นลมจะอยู่สะดือกลางลมจะอยู่หทัย ปลายลมจะอยู่จมูก นี่มันสลับกันอย่างนี้ กำหนดรู้เมื่อลมผ่านจมูก ผ่านหทัย ผ่านสะดือ พอสุดแล้วก็จะเวียนกลับมาอีกเป็นสามจุดนี้ ให้ความรู้ของเราอยู่ในความเวียนเข้าออกทั้งสามจุดนี้ พยายามติดตามลมหายใจเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อรักษาความรู้นั้นและทำสติสัมปชัญญะของเราให้กล้าขึ้น

เมื่อหากว่าเรากำหนดจิตของเรา ให้รู้จักต้นลมกลางลม ปลายลมดีแล้วพอสมควร เราก็วาง เราจะหายใจเข้าออกเฉยๆ เอาความรู้สึกของเราไว้ปลายจมูก หรือริมฝีปากบนที่ลมผ่านออกผ่านเข้า เอาแต่ความรู้สึกเท่านั้นไว้ที่นั่น ไม่ต้องตามลมออกไป ไม่ต้องตามลมเข้ามา เอาความรู้สึกหรือผู้รู้นั่นแหละไว้เฉพาะหน้าเราที่ปลายจมูก ให้รู้จักลมผ่านออก ผ่านเข้า ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย เพียงแต่ให้มีความรู้สึกเท่านั้นแหละ ให้มีความรู้สึกติดต่อกัน ลมออกก็ให้รู้ลมเข้าก็ให้รู้ ให้รู้อยู่แต่ที่นั่นแหละ

รู้แล้วมันจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องคิด เอาเพียงเท่านั้นเสียก่อนในเวลานี้  หน้าที่การงานของเรามีแค่นั้น ไม่ได้มีมาก   กำหนดลมเข้าออกอยู่อย่างนั้นแหละ ต่อไปจิตก็สงบลมก็จะละเอียดเข้าไป น้อยเข้าไปกายก็จะเบาเข้าไป จิตก็จะสงบไป ความเบากายเบาใจนั้น ก็จะเกิดขึ้นมา จะเป็นกายควรแก่การงาน และจะเป็นจิตควรแก่การงานต่อไป นี่คือการทำสมาธิ ไม่ต้องทำอะไรมาก ให้กำหนดเท่านั้น ต่อไปนี้ให้ตั้งใจทำกำหนดไป.....

จิตเราละเอียดเข้าไป การทำสมาธินั้นจะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้ทันเอาไว้ ให้เรารู้จักมัน มันก็มีทั้งอารมณ์ มีทั้งความสงบคลุกคลีกันไป มันมีวิตก วิตกคือการจะยกจิตของตนนึกถึงอันใดอันหนึ่งขึ้นมา ถ้าสติของเราน้อยก็จะวิตกน้อย แล้วก็มีวิจารณ์คือ การตรวจดูตามเรื่องที่เราวิตกนั้น แต่ข้อสำคัญนั้นต้องพยายามรู้ให้ทันอยู่เสมอ แล้วก็พิจารณาให้ลึกลงไปอีก ให้เห็นว่า มีทั้งสมาธิและมีทั้งความรู้รวมอยู่ในนั้น

องค์ประกอบของความสงบ

คำว่า "จิตสงบ" นั้นไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรมันต้องมี มีความสงบครอบอยู่ ท่านกล่าวถึงองค์ของความสงบขั้นแรกว่า หนึ่งมีวิตก ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา แล้วก็มีวิจารณ์ คือพิจารณาตามอารมณที่เกิดขึ้นมา ต่อไปก็จะมีปีติคือ ความยินดีในสิ่งที่เราวิตกไปนั้น ในสิ่งที่เราวิจารณ์ไปนั้น จะเกิดปีติ คือความยินดีซาบซึ้งอยู่โดยเฉพาะของมันแล้วกมีสุข สุขอยู่ไหน สุขอยู่ในการวิตก สุขอยู่ในการวิจารณ์ สุขอยู่กับความอิ่มใจ สุขอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแหละ แต่ว่ามันสุขอยู่ในความสงบ วิตกก็วิตกอยู่ในความสงบ วิจารณ์ก็วิจารณ์อยู่ในความสงบ ความอิ่มใจก็อยู่ในความสงบ สุขก็อยู่ในความสงบ ทั้งสี่อย่างนี้เป็นอารมณ์อันเดียว อย่างที่ห้า คือ เอกัคคตา ห้าอย่างแต่เป็นอันเดียวกัน คือทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ แตมีลักษณะอยู่ในขอบเขตอันเดียวกัน คือเมื่อจิตสงบ วิตกก็มี วิจารณ์ก็มี ปิติก็มี สุขก็มี เอกัคคตาก็มี ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์เดียวกัน

คำที่ว่าอารมณ์เดียวกันนั้น ทำไมจึงมีหลายอย่างหมายความว่า มันจะมีหลายอาการก็ช่างมัน เพราะอาการทั้งหลายเหล่านั้น จะมารวมอยู่ในความสงบอันเดียวกันไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ เหมือนกับว่ามีคน ๕ คน แต่ลักษณะของคนทั้ง ๕ คนนั้นมีอาการเดียวกัน คือจะมีอารมณ์ทั้ง ๕ อารมณ์ เมื่ออารมณ์อันนั้นอยู่ในลักษณะ นี้ ท่านเรียกว่า "องค์" องค์ของความสงบ ท่านไม่ได้เรียกว่าอารมณ์ ท่านเรียกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เป็นอารมณ์ตามธรรมดาท่านจึงจัดว่าเป็นองค์ของความสงบมีอาการอยู่ ๕ อย่าง คือวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ไม่มีความรำคาญ วิตกอยู่ก็ไม่รำคาญ วิจารณ์อยู่ก็ไม่รำคาญมีปีติก็ไม่รำคาญ มีความสุขก็ไม่รำคาญ จิตจึงเป็นอารมณ์เดียวอยู่ในสิ่งทั้ง ๕ นี้จับรวมกันอยู่ เรื่องจิตสงบขั้นแรกจึงเป็นอย่างนั้น

ปัญหาของการทำสมาธิ

cha 5ทีนี้บางอย่างอาจถอยออกมา ถ้ากำลังใจไม่กล้าสติหย่อนไปแล้ว มันจะมีอารมณ์มาแทรกเข้าไปเป็นบางครั้ง คล้ายๆ กับว่าเคลิ้มไป แล้วมีอาการอะไรบางอย่างเข้ามาแทรกตอนที่มันเคลิ้มไป แต่ไม่ใช่ความง่วงตามธรรมดา ท่านว่ามีความเคลิ้มในความสงบ บางทีก็มีอะไรบางอย่างแทรกเข้ามา เช่นว่า บางทีมีเสียงปรากฏบ้าง บางทีเหมือนเห็นสุนัขวิ่งผ่านไปข้างหน้าบ้าง แต่ว่าไม่ชัดเจนและก็ไม่ใช่ฝัน อันนี้จัดเป็นฝันไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะกำลังทั้ง ๕ ดังกล่าวแล้วไม่สม่ำเสมอกัน มันอ่อนลง อ่อนเคลิ้มลง จึงเกิดอารมณ์เข้าแทรก อันนี้เป็นอาการของจิต

ถ้าหากว่าเรามีความสงบมันก็มีสิ่ง ๕ สิ่งนี้เป็นบริวารอยู่ แต่เป็นบริวารในความสงบ อันนี้เป็นเบื้องแรกของมัน ขณะที่จิตเราสงบอยู่ในขั้นนี้ ชอบมโนนิมิตทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางจิต มันชอบเป็นแต่ผู้ทำสมาธิจับไม่ค่อยถูกว่า "มันหลับไหม? ก็ไม่ใช่""มันฝันไปหรือ? ก็ไม่ใช่" ไม่ใช่อะไรทั้งนั้น มันเป็นอาการเกิดมาจากความสงบครึ่งๆ กลางก็ได้ บางทีก็แจ่มใสเป็นธรรมดา บางทีก็คลุกคลีไปกับความสงบบ้าง กับอารมณ์ทั้งหลายบ้าง แต่อยู่ในขอบเขตของมัน

อย่างไรก็ตามบางคนทำสมาธิยาก เพราะอะไรเพราะจริตแปลกเขา แต่ก็เป็นสมาธิ แต่ก็ไม่หนักแน่น ไม่ได้รับความสบายเพราะสมาธิ แต่จะได้รับความสบายเพราะปัญญา เพราะปัญญาความคิด เห็นความจริงของมันแล้วก็แก้ปัญหาถูกต้อง เป็นประเภทปัญญาวิมุต ไม่ใช่เจโตวิมุต* มันจะมีความสบายทุกอย่างที่จะได้เกิดขึ้นเป็นหนทางของเรา เพราะปัญญาสมาธิมันน้อย คล้ายๆ กับว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ พิจารณา "อันนั้นเป็นอะไรหนอ" แล้วแก้ปัญหาอันนั้นได้ทันที เลยสบายไป เลยสงบลักษณะผู้มีปัญญาต้องเป็นอย่างนั้น

ทำสมาธินี้ไม่ค่อยได้ง่ายและไม่ค่อยดีด้วย มีสมาธิแต่เพียงเฉพาะเลี้ยงปัญญาให้เกิดขึ้นมาได้ โดยมากอาศัยปัญญา เช่นสมมติว่า ทำนากับทำสวน เราอาศัยนามากกว่าสวน หรือทำนากับทำไร่ เราจะได้อาศัยนามากกว่าไร่ ในเรื่องของเรา อาชีพของเรา และการภาวนาของเราก็เหมือนกัน มันจะได้อาศัยปัญญาแก้ปัญหา แล้วจะเห็นความจริง ความสงบจึงเกิดขึ้นมา มันเป็นไปอย่างนั้น ธรรมดาก็เป็นไปอย่างนั้น มันต่างกัน

หลุดพ้นด้วยปัญญาสมาธิ

บางคน แรงในทางปัญญา สมาธิพอเป็นฐานไม่มาก คล้ายๆ กับว่านั่งสมาธิ ไม่ค่อยสงบ ชอบมีความปรุงแต่ง มีความคิดและมีปัญญาชักเรื่องนั้นมาพิจารณาชักเรื่องนี้มาพิจารณา แล้วพิจารณาลงสู่ความสงบก็เห็นความถูกต้อง อันนั้นจะได้มีกำลังกว่าสมาธิ อันนี้จริงของบางคนเป็นอย่างนั้น แม้จะ ยืน เดิน นั่ง นอนก็ตามความตรัสรู้ธรรมะนั้นไม่แน่นอน จะเป็นอิริยาบถใดก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นั่งก็ได้ นอนก็ได้ อันนี้แหละผู้แรงด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญา สามารถที่จะไม่เกี่ยวข้องกับสมาธิมากก็ได้

ถ้าพูดกันง่ายๆ ปัญญาเห็นเลย เห็นไปเลยก็ละไปเลย สงบไปเลย ได้ความสบายเพราะอันนั้นมันเห็นชัดมันเห็นจริง เชื่อมั่นยืนยันเป็นพยานตนเองได้ นี่จริตของบางคนเป็นไปอย่างนี้ แต่จะอย่างไรก็ช่างมันก็ต้องทำลายความเห็นผิดออก เหลือแต่ความเห็นถูก ทำลายความฟุ้งซ่านออก เหลือแต่ความสงบ มันก็จะลงไปสู่จุดอันเดียวกัน

บางคนปัญญาน้อย นั่งสมาธิได้ง่าย สงบ สงบเร็วที่สุด ไวแต่ไม่ค่อยมีปัญญา ไม่ทันกิเลสทั้งหลาย ไม่รู้เรื่องกิเลสทั้งหลาย แก้ปัญหาไม่ค่อยได้ พระโยคาวจรเจ้าผู้ปฏิบัติมีสองหน้าอย่างนี้ ก็คู่กันเรื่อยไป แต่ปัญญาหรือวิปัสสนากับสมถะมันก็ทิ้งกันไม่ได้ คาบเกี่ยวกันไปเรื่อยๆ อย่างนี้

ทีนี้ถ้ามันชัดแจ้งในความสงบ เมื่อมีอารมณ์มาผ่าน มีนิมิตขึ้นมาผ่าน ก็ไม่ได้สงสัยว่า "เคลิ้มไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้?" "หลงไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้?" "ลืมไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้?" "หลับไปหรือเปล่าเมื่อกี้นี้?"จิตขณะนี้สงสัย "หลับก็ไม่ใช่ ตื่นก็ไม่ใช่" นี่มันคลุมเครือเรียกว่า มันมั่วสุมอยู่กับอารมณ์ ไม่แจ่มใสเหมือนกันกับพระจันทร์เข้าก้อนเมฆ มองเห็นอยู่แล้ว แต่ไม่แจ่มแจ้งมัวๆ ไม่เหมือนกับพระจันทร์ออกจากก้อนเมฆนั้นแจ่มใสสะอาด จิตเราสงบมีสติสัมปชัญญะรอบคอบสมบูรณ์แล้วจึงไม่สงสัยในอาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นจะหมดจากนิวรณ์จริงๆ รู้ว่าอันใดเกิดขึ้นมาเป็นอันใดหมดทุกอย่าง รู้แจ้งรู้เรื่องตามเป็นจริงไม่ได้สงสัย อันนั้นเป็นดวงจิตที่ใสสะอาด สมาธิถึงขีดแล้วเป็นเช่นนั้น

arjhan cha 09

ระยะหลังๆ มาก็เป็นไปในรูปอย่างนี้ทำนองนี้ ป็นเรื่องธรรมดาของมัน ถ้าจิตแจ่มแจ้งผ่องใสแล้ว ไม่ต้องไปถามว่าง่วงหรือไม่ง่วง ใช่หรือไม่ใช่ ทั้งหลายเหล่านี้มันก็ไมมีอะไรถ้ามันชัดเจน ก็เหมือนเรานั่งธรรมดาอย่างนี้เอง นั่งเห็นธรรมดา หลับตาก็เหมือนลืมตา เห็นในขณะหลับตาก็เหมือนลืมตามาเห็นทุกอย่างสารพัด ไม่มีความสงสัย เพียงแต่เกิดอัศจรรย์ขึ้นในดวงจิตของเราว่า"เอ๊ะ! สิ่งเหล่านี้มันก็เป็นของมันไปได้ มันไม่น่าจะเป็นไปได้ มันก็เป็นของมันได้" อันนี้จะวิพากษ์วิจารณ์มันเองไปเรื่อยๆ ทั้งมีปีติ ทั้งมีความสุขใจ มีความอิ่มใจ มีความสงบเป็นเช่นนั้น ต่อนั้นไปจิตมันจะละเอียดไปยิ่งกว่านั้นมันก็จะทิ้งอารมณ์ของมันไปด้วย วิตกยกเรื่องขึ้นมาก็จะไม่มี และเรื่องวิจารณ์มันก็จะหมด จะเหลือแต่ความอิ่มใจ อิ่มไม่รู้ว่าอิ่มอะไร แต่มันอิ่ม เกิดความสุขกับอารมณ์เดียว นี่มันทิ้งไป วิตกวิจารณ์มันทิ้งไป ทิ้งไปไหน? ไม่ใช่เรื่องทิ้ง จิตเราหดตัวเข้ามาคือมันสงบ เรื่องวิตกวิจารณ์มันเป็นของหยาบไปแล้ว มันเข้ามาอยู่ในที่นี้ไม่ได้ก็เรียกว่า ทิ้งวิตก ทิ้งวิจารณ์ ทีนี้จะไม่มีความวิตก ความยกขึ้นวิจารณ์ ความพิจารณาไมมี มีแต่ความอิ่ม มีความสุขและมีอารมณ์เดียวเสวยอยู่อย่างนั้น

ที่เขาเรียกว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เราไม่ได้ว่าอย่างนั้น เราพูดถึงแต่ความสงบวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ต่อไปนี้ก็ทิ้งวิตกวิจารณ์ เกิดขึ้นมาแล้วก็ทิ้งไป เหลือแต่ปีติกับสุข เอกัคคตา ต่อไปก็ทิ้งปีติเหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ต่อไปก็มีเอกัคคตากับอุเบกขา มันไม่มีอะไรแล้วมันทิ้งไป เรียกว่า จิตมันสงบๆ ๆ ๆ จนไปถึงอารมณ์มันน้อยที่สุดยังเหลืออยู่แต่โน้น...ถึงปลายมัน เหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา เฉยอย่างนี้ อันนี้มันสงบแล้วมันจึงเป็น นี่ เรียกว่ากำลังของจิต อาการของจิตที่ได้รับความสงบแล้วถ้าเป็นอย่างนี้มันไม่ง่วง ความง่วงเหงาหาวนอนมันเข้าไม่ได้นิวรณ์ทั้งห้า มันหนีหมด วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลอิจฉาพยาบาท ฟุ้งซ่าน รำคาญหนี เหล่านี้ไม่มีแล้ว นี่มันค่อยเลื่อนไปเป็นระยะอย่างนั้น นี่อาศัยการกระทำให้มากเจริญให้มาก

สติ : สิ่งที่ช่วยรักษาสมาธิ

smile1สิ่งที่รักษาสมาธินี้ไว้ได้ คือสติ สตินี้เป็นธรรมเป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สตินี้ก็คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาท ในระหว่างขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมาย การกระทำไม่มีความหมาย ธรรมคือสตินี้คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทุกสิ่งสารพัด

ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ ธรรมทั้งหลายนั้นไม่สมบูรณ์ อันนี้คือการควบคุม การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ไมใช่แต่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แม้เมื่อเราออกจากสมาธิไปแล้ว สติก็ยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอมีความรู้อยู่เสมอ เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายมันก็เกิดขึ้นมา การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น เมื่อความอายกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี นี่ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนี้ เราจะไปไหนก็ตาม อันนี้มันอยู่ในจิตของตัวเอง มันไม่ได้หนีไปไหน นี่ท่านว่าเจริญสติ ทำให้มาก เจริญให้มาก อันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่ หรือทำมาแล้ว หรือกำลังจะกระทำอยู่ ในปัจจุบันนี้เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก ให้เรารู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มีทุกเมื่อ เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่ เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ ความละอายก็เกิดขึ้น จะไม่ทำสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว

เมื่อรวบยอดเข้ามา มันจะมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา คือ การสังวรสำรวมที่มีอยู่ในกิจการของตนนั้น ก็เรียกว่าศีล ศีลสสังวร ความตั้งใจมั่น อยู่ในความสังวรสำรวมในข้อวัตรของเรานั้น ก็เรียกว่ามันเป็นสมาธิ ความรอบรู้ทั้งหลายในกิจการที่เรามีอยู่นั้น ก็เรียกว่าปัญญา พูดง่ายๆก็คือ จะมีศีล จะมีสมาธิ จะมีปัญญา ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี เมื่อมันกล้าขึ้นมามันก็คือมรรค นี่แหละหนทาง ทางอื่นไม่มี

*
ปัญญาวิมุต คือ บุคคลผู้หลุดพันเพราะปัญญา คือ ปัญญาเป็นกำลังสำคัญ หรือปัญญานำหน้า
เจโตวิมุต คือ บุคคลผู้หลุดพ้นเพราะสมาธิ คือ สมาธิเป็นกำลังสำคัญ หรือสมาธินำหน้า
วิมุต หมายถึง บุคคลผู้หลุดพ้น
วิมุติ หมายถึง ความหลุดพ้น

redline

backled1

pra tam tesana header

ผลที่สุดแล้วพระศาสนาของพระศาสดานั้นเจริญไปด้วยอนิจจัง ที่เป็นมาทุกวันนี้ ทันสมัยทุกเวลา ครั้งพุทธกาลก็ดี อดีตที่ผ่านมาก็ดี อนาคตที่ยังไม่มาถึงก็ดี ปัจจุบันนี้ก็ดี มันจะต้องเป็นตัวอนิจจังเป็นผู้ควบคุมอยู่ อันนี้ต้องไปภาวนาสามารถที่จะเห็นในคัมภีร์อะไรก็ไม่รู้สมัยนั้น

mee seen mee panya

sit 3คำพูดของนักปราชญ์ที่ถูกต้องไม่ขาดจากอนิจจังอันนี้ก็จริง ถ้าไม่มีอนิจจังไม่ใช่คำพูดของนักปราชญ์ หรือไม่ใช่คำพูดของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คำพูดของพระอริยเจ้านั่นเอง คือเป็นคำพูดที่เรียกว่ายังไม่เป็นความจริงที่ยอมรับ สิ่งทั้งปวงก็ต้องมีทางระบาย คิดพิจารณาไปหลายๆ อย่าง มีเรื่องไม่ใช่เรื่องจิต มีเรื่องระบาย จิตใจของเรานี้เหมือนกัน อารมณ์ที่ไม่ระบายอารมณ์ จิตที่ไม่ได้ระบายอารมณ์นี้เรียกว่า เมา จิตมึนเมา ปฏิบัติอะไรทุกอย่าง หมายความว่า อย่าเมา ถ้าเมาเป็นผิดเป็นไม่ถูกละ

เราจะทำอะไรอันหนึ่งเกิดขึ้นมา ให้เป็นไปตามอำนาจที่ความรู้สึกของเรา เมื่อเข้าใจแล้วแต่อย่าเมา ถ้าเมาแล้วไม่ถูกต้องตามสัจธรรม ฉะนั้น ถ้าเราซึ่งปฏิบัติธรรมะ พระพุทธองค์สอนว่าอย่าให้เมา ถ้าเมาแล้วผิด ถึงเป็นเรื่องดีก็อย่าเมาดี ถ้าเมาดีมันก็จะเกิดไม่ดี อย่าให้มันเมา ให้รู้มันก็เหมือนการสร้างเขื่อนที่มีทางระบายน้ำ ไม่ปิดตายตัวมันซะ อันนั้นเป็นเขื่อนที่ดีมาก เป็นเขื่อนที่ไม่ทรมาน

เราผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกัน ฉันนั้น เรื่องบังคับจิตนี้ก็เรียกบังคับจิตเป็นขณะ อย่าเมา ไม่ใช่บังคับจิต สอนจิตให้จิตค่อยๆ รู้สึกขึ้นมา บังคับจิตมันจะเป็นบ้าเอา ให้ค่อยๆ จิตมันก็รู้สึกขึ้นมา นี่ว่าถึงปฏิปทาของเรา ก็ต้องเป็นอย่างนั้น

มีส่วนเทียบหลายๆ อย่างซึ่งมารวมกัน การก่อสร้างข้างนอกนี่ก็เหมือนกัน อะไรหลายๆ อย่างก็เหมือนกัน มันมารวมจุดอันเดียวกันทั้งนั้น ดังนั้นได้ประโยชน์หลายในการที่เราภาวนา ในการที่เราตามรักษาจิตของเรานี้ มันเป็นเบื้องต้น ถึงแม้ว่าเราจะศึกษาเล่าเรียนมามันก็ดีอยู่แล้ว แต่ว่ามันเป็นขั้นที่ 2 เช่น พระอภิธรรม พระไครปิฎกต่างๆ ก็ดี แต่ว่ามันเป็นขั้น 2 ที่คนไปบรรยายจากความจริง ไอ้เรื่องจริงยิ่งกว่านี้มันยังมีอยู่ อันนี้คือถอดจากเรื่องจริง อาจารย์ที่ท่านถอดมานั้น บางทีลุ่มๆ ดอนๆ ก็มี นานๆ ไปมันลุ่มๆ ดอนๆ

แต่เรื่องจริงๆ ของมันนั้น ไม่มีใครควบคุมมัน มันก็เป็นเรื่องของเก่าคือธรรมชาติ ไม่มีเสื่อม ไอ้เรื่องคนที่ถอดมาเป็นขั้นที่ 2 ที่ 3 ถึงว่ามันดี มันเจริญมันก็มีการเสื่อม

ก็เหมือนกันที่คนเรามีมากเข้ามากเข้า มันก็ทำความยุ่งยากขึ้นมา ตามเรื่องของมัน เพราะว่ามันมาก เคยมีคนสอนให้ดี ดีเท่าไหร่เป็นต้น มันก็สอนได้ แต่ว่ามันก็ไม่เหมือนความจริงของมัน

cha 07สัจธรรมนี่มันเป็นจริงของมัน ไม่มีอะไรที่จะเสื่อมทราม เพราะอันนั้นมันคงที่มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนั้นมันเป็นต้นตอ เป็นสัจธรรมที่ว่ามันเกิดขึ้นมาอยู่ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น

สาวกองค์ใด ผู้ประพฤติปฏิบัติองค์ไหนก็ตามจะต้องพยายามไปรู้ตรงนั้น เห็นตรงนั้น ปฏิบัติตรงนั้นเทียบเคียงกันออกมา นานๆ ไปมันก็ช่วยระบายออกไป เสื่อมไป ต้นตอมันก็ยังอยู่อย่างเก่า อันนั้นมันก็อยู่อย่างเก่า เช่นเดิมของมัน

ฉะนั้น พระพุทธองค์ของเราจึงสอนว่า ให้กำหนดและให้พิจารณา ผู้ปฏิบัติหาความจริงนั้นอย่าติดในความเห็นของเรา อย่าติดในความรู้ของเรา อย่าติดในความรู้ของคนอื่น อย่าติดในความรู้ของใคร ให้รู้เป็นพิเศษอันนี้ไว้ คือปล่อยให้สัจธรรมความเป็นจริง ระเบิดขึ้นเต็มที่มันอยู่เสมอ ไม่ได้ไปยัดเยียดตรงไหน อันนี้ก็เหมือนกัน เราอบรมจิตของเรานี้ ตัวเราพิจารณาตัวเห็นสัจธรรมจริงๆ คือเรื่องของจิตใจของเรานี้ เราจะเห็นชัด

ถ้าหากว่าใครสงสัยอะไรตรงไหนก็ดี ก็คือให้กำหนดรู้จิตของเรา ความรู้สึกของเรา นี่ให้เป็นที่พึ่งรู้จัก อันอื่นก็เป็นเรื่องผิวเผิน เช่นว่า พูดง่ายในวาระหนึ่ง เราเป็นผู้ปฏิบัติให้มันถูกอะไรขึ้นมาหลายอย่าง มีทั้งกลัว มีทั้งอะไรหลายๆ อย่างอันนี้เราจะอาศัยอะไรไหม ไม่มีเรื่องจะอาศัย อันนี้เรื่องเคยเป็นมาแล้ว เรื่องตัวก็เคยผ่าน ไอ้เรื่องจิตที่มันหลงมันกลัว กลัวจนหาที่พึ่งไม่ได้ จะพึ่งอะไรตรงไหน ไม่มีที่พึ่งแล้วมันจะมาจบอยู่ตรงไหน มาจบอยู่ที่มันเกิดขึ้นมานั่นเอง มันเกิดตรงไหน มันก็ดับตรงนั้น มันกลัวตรงไหน มันก็หายกลัวอยู่ตรงนั้น

พูดง่ายๆ ว่ามันกลัวที่สุดแล้ว มันจะไปหยุดอยู่ตรงไหน มันก็กลับมาหยุดที่มันกลัว ไอ้ที่มันไม่กลัวมันก็อยู่ตรงนั้น ตรงที่มันกลัว จิตใจของเรานี้มันจะเป็นอะไรก็ช่างมันเถอะ เรื่องที่เราภาวนามันจะเกิดนิมิต เกิดความรู้ ความเห็นสารพัดอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม จิตใจในเวลานี้ท่านให้เพ่งรู้จิตที่อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นเครื่องหมายอย่าวิ่งออกไปตามอารมณ์ข้างนอกอย่างอื่น เรื่องราวที่เราพิจารณาอันใด สารพัดอย่างที่มันเป็นมานั้นมันก็จบอยู่ที่มันเกิด เพราะเหตุมันอยู่ตรงนี้

sit abroadอันนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากว่าเรามีความกลัว พูดง่ายเห็นง่ายตรงกลัวของเรา กลัวกระทั่งมันหมดกลัวก็เลยไม่กลัว เพราะว่ามันหมดฤทธิ์ของมัน มันก็ไม่กลัว ไอ้ที่ไม่กลัวของมันคือว่ามันวาง มันจะเป็นอะไรๆ มันยอมรับทั้งนั้น มันก็เลยหายกลัว คือเรื่องมันยอมรับ

ทุกอย่างก็เหมือนกันฉันนั้น ที่เรื่องเราปฏิบัตินี้ ความเป็นจริงนั้น พระพุทธองค์ท่านให้เชื่ออย่างนี้ ไม่ให้เชื่ออย่างนั้น เชื่อว่าอย่าไปติดความเห็นของเราเอง อย่าไปติดความเห็นของคนอื่น ให้วางโดยเฉพาะ อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราจะพยายามเอาความรู้ ซึ่งมันเกิดจากความจริง จริงๆ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของเรา แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของคนอื่น แต่ว่าเอาเรื่องของเราเรื่องของคนอื่น กระทบกันเข้ามา มันจะเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นมาตรงนั้น ให้ดูตรงนั้นที่มันกระทบขึ้นมาตรงนั้น ก็ดูเอาตรงนั้น ไอ้เรื่องที่มันมีอยู่

ฉะนั้น การกำหนดจิตนี้ บางทีมันก็เข้าใจผิดหลายอย่าง เช่น การภาวนา เราบางคนก็ไปกำหนดตรงที่ว่า อาการของจิตนั้นเป็นอย่างไร ก็เลยไปกำหนดทุกอย่าง ทุกประการเลยวุ่นไป เช่นว่า

เราได้พิจารณาขันธ์ ๕ ขยายขันธ์ ๕ เป็นอาการ ๓๒ หลายอย่าง สารพัดอย่าง ครูบาอาจารย์ว่าให้พิจารณาทั้งหมด อาตมาค้นคิดทั่วไปนะ ๕ แล้วก็ยังไม่จบ อาการ ๓๒ ๓๓ สารพัดอย่าง ค้นไปแล้วก็อย่างนั้น

อาตมาจึงเห็นว่า ถ้าว่าก้อนๆ นี้ ขันธ์ ๕ ที่เรานั่งอยู่นี้ มันจะ ๕ จะ ๖ จะ ๗ จะ ๘ ก็ช่างมันเถอะ ก้อนที่เราเห็นอยู่นี้ เราเบื่อมันแล้ว เพราะว่าไม่ได้ตามปรารถนาของเรา เท่านั้น ก็เห็นจะพอ ถึงแม้ว่าจะอยู่ไป ก็ไม่ค่อยดีใจจนมันหลง ถึงแม้ว่า มันจะทำลายไป ก็ไม่จำเป็นต้องเสียใจในก้อนนี้ เราเห็นขนาดนี้ก็พอละมัง ไม่ต้องไปฉีกเอาเนื้อเอาหนังอะไรออกมาหมด

อาตมาเคยเปรียบเรื่อยๆ อยู่เสมอว่า บางคนไม่ต้องการให้มันรู้อย่างนั้น ให้มันเห็นอย่างนั้นแต่ว่ายกต้นไม้ขึ้นมาให้ดู โดยมากนักศึกษาอยากจะรู้บุญก็อยากจะรู้ตัวว่ามันเป็นยังไง บาปอย่างนั้นก็รู้ตัวว่ามันเป็นยังไง อันนี้ตัวมันไม่มีหรอก ตัวมันคือความพอใจของเราที่ถูกต้อง เท่านั้นแหละ เขาอยากจะรู้แจ้งขนาดนั้น

เช่นว่า ต้นไม้ต้นหนึ่ง อาตมาเคยเทียบให้ฟังว่า มันมีราก มันมีใบ มันอยู่ด้วยรากของมัน นักศึกษาจะต้องรู้ว่ารากมันมีกี่ราก รากน้อยๆ รากฝอยมีกี่ราก ใบมันมีกี่ใบ เขาจึงจะรู้ว่า เขารู้ชัดรู้แจ้งว่าในต้นไม้นั้นมีกี่ราก พระพุทธองค์ท่านเห็นว่า อยากจะรู้อย่างนั้น ท่านว่าเป็นคนโง่ ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นที่จะรู้อย่างนั้น รู้ว่ารากไม้ก็พอแล้ว ใบมันก็พอแล้ว ว่ารากอันเดียวกัน ใบมันเต็มต้นจะไปนับมันได้ไหม ดูใบๆ หนึ่งก็แล้วกัน ก็เป็นใบก็พอแล้ว รู้แล้วว่าใบประดู่ต้นนี้มันมีใบเดียวเช่นนี้ รากประดู่ก็มีรากเดียวเท่านี้เป็นรากของมัน รากอื่นๆ นอกไปก็เหมือนรากนี้ ใบอื่นๆ นอกไปก็เหมือนใบนี้

peopleคนเรานี้ก็เหมือนกัน ฉันนั้น รู้เราคนเดียวเท่านั้น ก็รู้คนหมดทั้งโลกทั้งจักรวาลนี้ ไม่ต้องไปดูใคร พระพุทธองค์ให้ดูตนเท่านี้แหละ มันก็เห็นตนอันเดียวเท่านี้แหละ ใครๆ ก็เป้นอย่างนี้ ก้อนนี้ก็เป็นอย่างนี้ สามัญลักษณะ ธรรมะท่านก็กล่าวว่า มันมีลักษณะเสมอกันอย่างนี้ สังขารทั้งปวงมันเป็นอย่างนี้

อันนี้วกมาพูดว่าเราทำสมาธิกัน เพื่อจะละกิเลส เพื่อจะเกิดความรู้ให้เกิดความเห็นเพื่อจะละขันธ์ ๕ มี ๒ อย่าง บางทีก็เรียกสมถะ นี่แบ่งกันเสีย ๒ ก็วิปัสสนา ก้เลยมาทำให้มันยุ่งมากที่สุดตามความรู้สึกอย่างนี้

อย่างผู้ที่นั่งสมาธิ ก็สรรเสริญในสมาธิ นั่งสมาธิ เพื่อให้จิตสงบ ก็เพื่อให้มันรู้อันนั้น บางคนก็เห็นว่าฉันไม่ต้องนั่งสมาธิหรอก ฉันว่าภาชนะใบนั้นมันต้องแตกตรงเบื้องหน้าเท่านี้ไม่ได้หรือ ไม่ต้องนั่งหลับตาหรอก ภาชนะมันต้องแตกข้างหน้ามันก็ต้องแตกข้างหน้า ฉันไม่ต้องนั่งขนาดนั้น ฉันรู้แล้วว่าภาชนะอันนี้ข้างหน้ามันต้องแตก ความแตกของภาชนะอันนี้เป็นเบื้องหน้า จะต้องเป็นอย่างนี้อันนี้ฉันจะไปไม่ได้เหรอ สมาธิฉันไม่เป็นละ แต่ฉันรู้ว่าภาชนะใบนี้มันเป็นอย่างนั้น เมื่อรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นแล้ว ฉันก็รักษามันไว้ กลัวมันจะแตกเหมือนกัน รักษาไว้ กลัวมันจะไม่ได้ใช้ ถ้าถึงคราวมันแตกจริงๆ มันก็ไม่มีอะไร เพราะฉันเห็นว่า ภาชนะใบนี้มันแตกอยู่แล้ว เดี๋ยวมันมีความแตกเป็นเบื้องหน้าอยู่แล้ว มันก็ไม่มีอะไรขึ้นมา ทุกข์ฉันก้ไม่มีแล้ว เพราะฉันเห็นอย่างนี้

อันนั้นฉันปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือ ไม่ต้องนั่งสมาธิให้มันมากจนเกินไป ท่านนั่งสมาธิเพื่อเห็นอันนั้นเท่านั้นแหละ อันนี้ฉันก็ไปเห็นอันนั้นแล้วว่า อันนั้นมันเป็นอย่างนั้น ทุกข์ฉันก็ไม่เกิดขึ้นมา เพราะว่ามันเป็นอย่างนั้น คนที่นั่งสมาธิเห็นภาชนะเช่นนี้ว่า มันจะเป็นไปอย่างนั้นในเบื้องหน้า ภาชนะอันนนี้ก็เป็นอย่างนั้นก็ไม่เห็นทุกข์ คนก็ไม่มีทุกข์ เพราะคนนั่งสมาธิอบรมจิตใจ ให้เห็นแล้วอย่างนั้น ฉันไม่นั่งสมาธิ แต่ฉันมีความมั่นใจว่ามันเป็นอย่างนั้น ไอ้สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามสภาวะของมัน ฉันว่าไม่มีอะไร เพราะเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นแล้ว

อันนี้มันเป็นปัญหาของนักปฏิบัติของเรา บางทีก็ทำสมาธิสารพัดอย่าง อย่างที่อาจารย์เขาทำกัน อย่างเราได้ยินมา วุ่นไปหมด ไอ้ความเป็นจริงเรื่องที่เห็นอันนั้นตามความเป็นจริงเท่านั้นแหละ เกิดไม่สงสัยอะไรทั้งนั้น

ฉะนั้น อาตมาจึงเห็นว่า เมื่อเรารู้จักอยู่อย่างนี้ ทำจิตของเราอยู่ใต้บังคับบัญชาของเราอย่างนี้ บังคับบัญชาอะไร บังคับบัญชาเรื่องที่ว่าอนิจจังมันไม่เที่ยง มันจะไปแง่ไหน มันก็รวมกันอยู่ตรงนี้ มันไม่ไปไหนมันอยู่ตรงนี้ ถ้าเห็นมันชัด เป็นเหตุให้เราปล่อยวาง

ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติแล้วหากว่ามันถึงที่ๆ มันสมควรให้ปล่อยมันไว้ตามธรรมชาติของมัน จะมีอะไรหรือไม่มีอะไร ไม่มีอะไรก็เฉยๆ อยู่ ถ้ามีอะไรก็พิจารณามัน ถ้าไม่มีก็วางไว้ตามธรรมดาธรรมชาติ มันอยู่ไปตามธรรมดาเรานี้แหละจะให้มันเกิดขึ้นมามันทุกข์มั๊ย อย่างนั้น มันยึดมั่นถือมั่นมั๊ย ไอ้เครื่องประคับประคองมันมีอยู่แล้ว ถ้าหากว่าไปถึงจุดอันเดียวกัน เห็นว่ามีความสงบเรียบร้อยทุกคน

เมื่อหากว่า เรามาทำภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนาธุระ สมถะธุระ มันก็มีเรื่องเท่านี้เอง ๒ อย่างก็เพื่อให้เห็นว่า อันนั้นมันเป็นอย่างนั้น เท่านั้น

pp 7แต่เรื่องภาวนาของพวกเราทั้งหลาย ซึ่งเป็นเรื่องพุทธบริษัททุกวันนี้ ถ้าหากพูดตามลักษณะมันฟั่นเฝือกันจนเกินไป อาตมาจึงเห็นว่า มาค้นคว้าเบื้องต้นดีกว่า ออกจากกำเนิดจิตของเรานี้ ดี ไม่มาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย ย่อๆ ซึ่งเป็นของจริงอยู่แล้ว จะพูดไปที่ไหนมันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น ให้มันเห็นชัดเข้าไป ให้มันยอมรับ

ถ้ามันยอมรับแล้ว มันก็จะวางของมัน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข นินทา สารพัดอย่างมันก็วางเพราะว่ามันยอมรับอยู่แล้ว ถ้าหากว่า เรามาถึงสัจธรรมที่มันเป็นความจริงอยู่อย่างนี้ เราจะเป็นคนที่อยู่ง่าย กินง่าย นอนง่าย พูดง่าย ทำง่าย อะไรง่ายๆ ไม่ได้เป็นของยากลำบาก ประพฤติเบาดีสบาย นี่คือที่คนภาวนา ที่มีความสงบแล้ว มันก็ต้องไปในทำนองอันนี้

ฉะนั้น การที่เราทำจิตทุกวันนี้ ที่พระพุทธองค์ของเราท่านทำอยู่ สาวกท่านทำอยู่ ที่ท่านสำเร็จไปแล้วก็ดี อย่างพระพุทธเจ้าของเรา หรือสาวกของท่านก็ดี แม้ท่านดำรงพระชนม์อยู่นั้น แต่ท่านก็ต้องทำของท่าน ประโยชน์เราก็หมดแล้ว ประโยชน์คนอื่นก็หมดแล้ว แต่ท่านก็ต้องทำประโยชน์ตนโดยปริยาย แล้วก็สร้างประโยชน์คนอื่นโดยปริยายไม่ได้ขาดเลย ถึงท่านทำเสร็จแล้ว ท่านก็ยังทำอยู่ ยังเป็นอยู่

อาตมาว่าคงให้ถือเอาอย่างนั้น ที่เราทำปฏิบัติกันอย่างนี้ เรียกว่ามันไม่พอ มันเป็นสันดานอย่างนั้นเสีย ท่านไม่เคยทอดทิ้งความเพียรของท่าน จะเพียรก็เพราะเพียรนั้นเอง ก็มันเป็นอย่างนั้น เป็นลักษณะอย่างนั้น คือนิสัยของปราชญ์ นิสัยของผู้ประพฤติ นิสัยของผู้ปฏิบัติ จะเปรียบประหนึ่งว่า คนเศรษฐีกับคนจน เศรษฐีก็ยิ่งขยัน ยิ่งขยันกว่าคนจน ไอ้คนจนยิ่งไม่ขยัน ไม่เป็นเศรษฐี เศรษฐีเคยรู้จักมาหลายๆ อย่าง ก็ยิ่งขยัน ก็ยิ่งรอบคอบกว่าคนจน มันเป็นซะอย่างนั้น

ฉะนั้น การที่พักผ่อนเรื่องปฏิบัติของเรานี้ มันก้พักผ่อนอยู่ในการปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราถึงจุดแล้วก็รู้จุด แล้วก็เป็นจุดอันนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว เราจะเดินไป ก็ไม่มีทางที่จะเสียหาย เราจะนั่งอยู่ ก็ไม่มีทางอะไรจะเสียหาย จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ไม่มีอะไรจะเสียหาย

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันก็เกิดขึ้น เต็มอยู่มันถึงจุดมันแล้ว ที่ว่าวันนี้ไม่ได้นั่งสมาธิ ใจเขาก็สบายอยู่ สมาธิไม่ใช่ว่ามันนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดิน ก็เป็นสมาธิของมันอยู่ได้ ถ้าผู้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถทั้ง ๔ การยืน เดิน นั่ง นอนแล้ว มันเสมออยู่อย่างนั้น มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมา ในระยะนี้ฉันขาดสติไปแล้ว ฉันไม่ได้ทำความเพียร ไม่มีอย่างนั้น ความรู้สึกอย่างนั้นไม่มี ความคิดอย่างนั้น มันไม่มีในที่นั้น เรียกว่า มันสมบูรณ์ บริบูรณ์อยู่ มันเป็น อยู่อย่างนั้น ความที่เป็นอย่างนั้นไม่ได้สงสัยอะไร ควรจะหยุดอยู่ตรงนั้น พิจารณาอยู่ตรงนั้น

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)