foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra tam tesana header

วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ หรือที่พวกเราพุทธบริษัททั้งหลายเรียกกันว่าเป็นวันพระ เป็นวันชุมนุมผู้ที่มีศรัทธาและความเลื่อมใสมาประพฤติปฏิบัติธรรมะกัน ฉะนั้นต่อไปนี้จงพากันตั้งใจฟัง การฟังธรรมก็ให้รู้จักความหมายถ้าฟังธรรมไม่รู้จักความหมาย ก็เรียกว่าเป็นการเปล่าประโยชน์ ในการฟังธรรมของพวกเรา ธรรมะที่ฟังเป็นทางมรรคที่ทำให้เป็นสัมมาทิฏฐิพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเห็นผิด พระบรมครูของเรานั้นท่านให้เดินทางมรรค คือศีล สมาธิ ปัญญา

tam hi mun job

เรามาวัดในวันพระไม่ใช่ว่าเราต้องการอย่างอื่น เรามาวัดเพราะต้องการธรรมะ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะการมาฟังธรรมะนี้ประโยชน์มากตั้งแต่ต้นจนอวสาน เป็นเครื่องรู้จักทาง และไม่ใช่ทางตามสติกำลังของพวกเรา พระพุทธเจ้าทุกองค์และพระสาวกทุกองค์ ที่ดำเนินตามกันมาก็อาศัยการได้ฟัง เรามาฟังธรรมะเพราะว่าเรายังไม่รู้จัก เราจะรู้จักเพราะการมาฟังธรรมให้รู้ การแสดงธรรมก็คนอื่นนั่นแหละแสดงให้ฟัง ทีนี้มันยังเป็นปัญหาอยู่ว่า ท่านจะแสดงผิดหรือถูกนั้น พวกเราก็ยังไม่รู้จัก เพราะว่าเรายังไม่รู้ ยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูกเมื่อเราฟังเราก็ยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูก มีผู้อธิบายธรรมะให้เราฟังเราก็ฟังไป แต่ไม่รู้ว่ามันผิดหรือมันถูก เพราะเรายังไม่รู้จัก อันนี้มันก็เป็นปัญหาที่สับสนเรียนแม้กระทั่งตัวของเราเอง ถ้าหากว่าเรารู้แล้วคนอื่นจะพูดผิดหรือถูกเราก็รู้จัก แต่ในเมื่อเรายังไม่รู้ คนอื่นพูดผิดหรือถูกเราก็ยังไม่รู้จักแน่นอน เป็นแต่เพียงสำคัญว่าเห็นว่าจะถูกเท่านั้น เห็นแต่เป็นอย่างนั้นเท่านั้น มันจึงเป็นปัญหาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

wave handดังนั้นพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้แสวงหาโมกขธรรมความพ้นทุกข์ จึงเกิดความสงสัยลังเลอยู่เรื่อยไป สิ่งไหนก็ยังไม่แน่นอน อะไรก็ยังไม่แน่นอน เพราะอะไรถึงไม่รู้แน่นอน ได้ข่าวว่าอาจารย์องค์นั้นชื่อเสียงดีก็ไป ไปฟัง เดี๋ยวก็ได้ข่าวว่าอาจารย์องค์นี้ดีขึ้นอีกก็ไปอีก ไปทุกอาจารย์นั่นแหละ แต่ท่านก็มีความเห็นต่างกันไปคนละอย่าง คนละทาง เราเป็นผู้ฟังก็ลังเลสงสัยว่าอะไรผิดอะไรถูกกันแน่ อย่างนี้เราก็ยังผิดอยู่คือยังติดสินใจไม่ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นปัญหาอยู่ตลอดกาลอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรายังไม่รู้ถึงที่สุดเมื่อไรเราก็จะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ ปัญหามีอยู่ว่า การฟังธรรมนั้นเราควรจะทำอย่างไร จึงจะเป็นไปในทางที่ดี

เราจึงควรพูดกันให้ดี ฟังให้ดี แล้วก็คิดให้ดี ฟังไม่ดีคิดไม่ดีมันก็ยิ่งไม่เกิดประโยชน์ ฟังดีคิดดีมันก็เป็นประโยชน์ทั้งสองทาง เป็นปัญหาสับสนอยู่อย่างนี้ พระอริยเจ้าทุกๆ องค์จะเป็นผู้มีปัญญามาก หรือน้อยก็ตามก็ได้ตรัสรู้ทั้งนั้น แต่มีปัญญาไม่เท่ากัน เพราะคนเราจะมีปัญญาไม่เหมือนกัน ฟังธรรมอันเดียวกัน กัณฑ์เดียวกัน อาจารย์เดียวกัน แต่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันอันนี้ก็เพราะเครื่องรับของเรามันต่างกัน ดังนั้นการฟังธรรมเราควรเก็บหมด ท่านอธิบายมาก็เก็บหมด เก็บไว้แล้วก็อย่าเพิ่งไปเข้าใจว่ามันถูกหมด อย่าเพิ่งไปเข้าใจว่ามันผิดหมด เพราะมันเป็นความคิดหรือความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นในใจของเราเท่านั้น หมายความว่าความรู้ตามความเป็นจริงนั้นยังไม่มีในเรา เราถึงเป็นอยู่อย่างนั้น ดังนั้นการตรัสรู้ธรรมะมันถึงเป็นการเนิ่นช้า เพราะเราไม่รู้แน่นอน การไม่รู้แน่นอนนี้เป็นปัญหาที่สับสนเหลือเกิน ทีนี้ถ้าหากว่ามันเป็นปัญหาที่สับสนอย่างนี้เราก็ตกลงใจยังไม่ได้ในเรื่องของความเป็นจริง ดังนั้นเราจึงควรนำเอาอันนี้ไปพิจารณา เพื่อการภาวนานั่นเอง

เมื่อเราฟังไปนั้นก็เป็นเพียงสักแต่ว่าฟัง เราฟังเราก็พอรู้ แต่รู้ยังไม่ถึง มีทั้งการฟัง มีทั้งการรู้ แต่รู้ยังไม่ถึง มันก็ยังมีความสงสัยลังเลอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย จึงมีแต่ความลังเลสงสัยอยู่ตลอดกาล เมื่อยังมีการลังเลสงสัยอยู่ มันก็ยังไม่เห็นโทษในสิ่งที่ควรละ เพียงศีลสิบเท่านั้นก็ยังรับไม่ได้ มันก็ยังไม่เป็นประโยชน์การปฏิบัติของพวกเรานั้น ไม่ค่อยจะตั้งใจปฏิบัติให้เห็นตามความเป็นจริงกัน เปรียบเหมือนกับชาวประมงคนหนึ่ง ไปสุ่มปลาในหนองในคลองสุ่มไปๆ

ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีความรู้สึกว่ามีสัตว์ตัวหนึ่งเข้าไปติดอยู่ในสุ่มนั้น มันสัมผัสด้วยกายของเรา ทำให้เราพอจะรู้ได้ แต่เมื่อสัมผัสถึงใจเราก็ยังไม่รู้จัก เพียงแต่รู้ว่ามีตัวอะไรอย่างหนึ่งมาปรากฏอยู่ในสุ่มของเขา เขาก็กดสุ่มลงไปให้แน่น เพราะกลัวว่าถ้าเป็นปลาแล้วมันจะหนีออกไปเสีย กดลงไปให้แน่น แล้วก็เอามือล้วงลงไปก็ปะทะกับสัตว์ที่อยู่ในสุ่มนั้น คลำๆดูก็รู้สึกว่าตัวมันยาวๆ จะว่าเป็นงูก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นปลาไหลก็ไม่ใช่ สงสัยอยู่อย่างนี้ คนสุ่มปลาคนนั้นก็ไม่สบายใจไม่รู้ว่าจะทิ้งหรือจะเอามันดี อย่างนี้ก็เป็น "วิจิกิจฉา" ยังลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้น

cha 13ทำให้ชาวประมงนั้นลำบากใจ จะทิ้งหรือจะเอาก็ไม่แน่นอน อันนี้เรียก "วิจิกิจฉา" ถ้าจะปล่อยไปก็กลัวว่ามันจะเป็นปลาไหล หรือว่าจะกำเอามันขึ้นมาก็กลัวว่าจะเป็นงู กลัวมันจะกัดเอา มีความลังเลสงสัยอยู่ จึงเรียกว่าเป็นปัญหาสับสน ในที่สุดก็เลยล้วงลงไปจับเอามันชูขึ้นมาอย่างระมัดระวัง พอมันพ้นน้ำขึ้นมาคอลายๆ เป็นแฉกๆ ก็เห็นชัด รู้ชัดเจนว่ามันเป็นงูเท่านั้นแหละ ก็วางปุ๊บลงโดยไม่รู้ตัวเลย ตัวเรานี้มันก็เตือนตัวเอง มันก็รู้สึกของมันเอง มันแก้เองวางเอง

ทางมรรคก็ไม่ต้องคิดเช่นนั้น ง่ายเหลือเกิน เพราะเราเข้าใจ เราคิดได้ว่าถ้ามันกัดแล้วเราจะตาย มันกัดแล้วเราจะเป็นทุกข์ เห็นชัดเจนแล้วเช่นนี้มันก็วางได้ เพราะมันง่าย อันนี้มันทำกันได้ง่าย เราเห็นตัวตนทั้งหลายซึ่งเป็นที่สุดนั้น ถ้าหากว่าเราเห็นขนาดนั้น เห็นโทษมันอย่างนั้น เห็นอันตรายมันอย่างนั้น เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ใครมาพูด หรือมาบอกให้เว้น หรือจ้ำจี้จ้ำไชตัวของเราให้ปล่อยวางความชั่วอันนั้น มันจะปล่อยของมันเอง มันจะรู้มันเอง มันจะเป็นของมันเอง นี่มันเป็นลักษณะอย่างนี้

ถ้าใครเห็นโทษในการกระทำผิดทางกายและทางวาจา หรือทุกอย่างนั้น มันก็ง่ายที่สุด ไม่ใช่ว่ามันยาก จะได้เลิกพูดว่า "แหม! การปฏิบัตินี้มันยากลำบาก" มันยากก็เพราะว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะไม่เห็นตามความเป็นจริง เพราะไม่เห็นโทษในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นตามความเป็นจริง มันถึงลำบาก เกิดปัญหาสับสนในการประพฤติปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย ถ้าเราเห็นชัดเจนเข้าไปจริงๆอย่างชาวประมงคนนั้น จับตัวงูชูพ้นน้ำขึ้นมา เห็นว่าเป็นงูจริงๆ แล้วก็วาง โดยที่ไม่ต้องมีใครไปบังคับบัญชามัน ตัวเราเมื่อเกิดความรู้สึก มันก็ปล่อยวางของมันเองอย่างนั้น นี่เรียกว่ามันง่ายดี

คือมันเป็นอย่างนี้ถ้าเราเห็นชัดแจ้ง มันง่ายที่สุด มันไม่ยาก ถ้าเราจะทิ้งขณะที่เรายังไม่เห็นชัด มันก็ลำบาก มันจึงเป็นวิจิกิจฉา มันลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้นตลอดกาลตลอดเวลา การฟังธรรมะให้รู้จักตามความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะรู้เฉพาะที่ท่านเทศน์ให้ฟังอย่างนี้ รู้ในเวลานี้เป็นการรู้ในสัญญาเท่านั้นท่านพูดไป เราก็ฟังไปพิจารณาไป พิจารณาไปเท่านั้นถ้าเราเชื่อ เชื่อเพราะอะไร? เชื่อเราก็เชื่อผู้อื่น ความเชื่อผู้อื่นนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่สรรเสริญ พระพุทธองค์นั้นสรรเสริญผู้ที่รู้ด้วยตนเอง เป็นสิกขีภูโตเอาตนเองเป็นพยานของตน ฟังธรรมจากพระองค์อื่น ฟังธรรมจากผู้อื่นแล้วรู้ รู้แล้วน้อมเข้ามาเป็นโอปนยิโก มาพิจารณาให้เกิดความรู้เกิดความฉลาดรู้ตามความเป็นจริง เห็นว่ามันเป็นโทษจริงๆ อย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย

arjhan cha 10

เหมือนชาวประมงคนนั้นรู้จักอสรพิษอย่างแท้จริง อันนี้มันก็ทำให้ปล่อยวางความเชื่อทุกอย่าง ไม่ต้องสงสัยลังเลแล้ว เรียกว่าพ้นวิจิกิจฉา ตัดกระแสของธรรมะอย่างแท้จริง ไม่มีใครจะต้องมาบังคับ ไม่มีใครจะต้องมาจ้ำจี้จ้ำไช ไม่มีใครจะต้องพูดให้ฟังร่ำรี้ร้ำไร คือเข้าถึงธรรมะแล้ว ตัวธรรมะก็เข้าไปถึงใจ ใจก็เข้าไปรู้ตัวธรรมะคือรู้อารมณ์ เมื่อธรรมะเข้าไปถึงใจ ใจนั้นก็รู้จักธรรมะ ธรรมะนั้นก็อยู่ในใจ เมื่อดูใจก็เห็นธรรมะ เมื่อดูธรรมะก็เห็นใจ ทั้งใจ ทั้งธรรมะ เมื่อเราพิจารณาใจเราเมื่อไร เราจะเห็นธรรมะเมื่อนั้น เราพิจารณาธรรมะเมื่อไรเราก็เห็นใจเมื่อนั้น อันนี้เป็นการรู้อย่างแท้จริงที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติด้วยตนเอง

เมื่อความรู้สึกชนิดปรากฏขึ้นกับเราแล้ว จะนั่งอยู่มันก็พูดอยู่พูดอยู่ รู้อยู่ คิดอยู่ ปฏิบัติอยู่ มีสติอยู่ มีความสังวรสำรวมอยู่ทุกคนจะเป็นอย่างนี้ เมื่อฉลาดแล้วจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าเอาตัวของตัวเองเป็นพยานแล้ว จะไปทำความชั่วที่ไหนก็ไม่ต้องมีใครบอกหรอกตัวเองก็ไม่กล้าทำด้วย เพราะเข้าใจแล้วว่า ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว จะทำดีทำชั่วก็มีผู้ตามรู้ จะไปทำอยู่ที่ไหนแม้จะไม่มีใครรู้ แต่เราก็ต้องรู้ จะไปทำอยู่ในน้ำก็มีคนรู้ ไปทำอยู่บนบกก็มีคนรู้ หรือใครจะไปทำอยู่บนอากาศก็จะต้องมีคนเห็นอยู่รู้อยู่อย่างนั้น อันนั้นเป็นเพราะอะไร? เพราะพระธรรมมันเกิดจากใจ เราปฏิบัติธรรมะทำความเพียรอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีการประมาท เป็นผู้สังวร เป็นผู้สำรวม เป็นผู้ระวังอยู่ อันนี้เรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติจนเป็นวงกลมติดต่อกันอยู่

cha 4เมื่อบุคคลยังไม่รู้จักตัวเอง ธรรมะไม่เข้าถึงใจ ใจไม่เข้าถึงธรรมะ จะทำความชั่วอะไรก็กลัว กลัวคนอื่นจะเห็น กลัวพ่อแม่จะเห็น กลัวครูบาอาจารย์จะเห็น กลัวคนอื่นจะรู้ คือคนยังไม่เห็นธรรมก็ต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อไปในสถานที่ใดๆ ที่ว่างจากผู้คน ว่างจากพ่อแม่ว่างจากครูบาอาจารย์ เห็นว่าไม่มีเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีใครอยู่ในที่นั้น ก็พยายามทำความชั่วอยู่ที่ตรงนั้น ด้วยความประมาท เพราะความโง่เขลาเบาปัญญานั่นเอง การกระทำเช่นนั้นเขาก็คิดว่าเขาทำถูกแล้ว พ้นภัยแล้ว เพราะว่าไม่มีใครเห็นเขา ไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นเขาอย่างนี้ ก็กระทำอย่างสนิทใจเลย แต่คนคนนั้นในทางธรรมถือว่าเป็นคนโง่ที่สุด คือเป็นคนดูถูกตัวเองที่สุด

ความเป็นจริงนั้นเมื่อจิตมันเป็นธรรมะ เมื่อธรรมะเป็นจิต มันจะกลมกลืนเป็นอันเดียวกันเลย จะไปทำผิดอะไรที่ตรงไหนเป็นต้น ก็ต้องมีคนเห็น คนอื่นไม่เห็นเราก็เห็นคนอื่นไม่รู้เราก็รู้ ดังนั้นถึงจะไปอยู่ตรงไหนก็เป็นอยู่อย่างนั้น จึงเป็นธรรมะ ไม่กล้าทำ เพราะใจมันเป็นธรรมะแล้ว พระอริยสาวกทุกๆ องค์เมื่อใจเป็นธรรมะแล้วก็ต้องเป็นอย่างนั้นทุกๆองค์ ที่ลับไม่มี ที่แจ้งไม่มี อะไรๆ มันก็ไม่มี รู้แต่ว่าท่านประพฤติปฏิบัติถึงที่แล้ว

นี่คือผลที่ได้รับจากการไปฟังธรรมจากคนอื่น แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติ น้อมเข้ามาในใจของเราจนเห็นตามความจริงอย่างนั้นคำสอนของผู้อื่นได้เข้าถึงจิตใจของเรา ใจเราจะรู้ธรรมะ ธรรมะก็จะถึงใจเรา ถ้าใครมาเห็นถนัดชัดเจนอย่างนี้ ก็จะพ้นจากความสงสัย อันนี้ก็เท่ากับเราได้รู้จักฐานะที่ควรหรือไม่ควรแล้ว และถูกต้องตามพระธรรมที่ท่านได้ตรัสบอกเอาไว้ว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั่นแหละ เอตัง พุทธานะ สาสะนัง อันนี้เป็นคำสอนของพระศาสดา อันนี้เป็นหัวใจของพระศาสนา เมื่อจิตเราเป็นอย่างนั้น อันนี้ไม่ใช่คำพูดเฉยๆ แต่จิตมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ อะไรที่ขึ้นชื่อว่ามันผิด มันบาป ใจของเรามันจะไม่รับ ไม่รับนั้นเรียกว่า สัพพะปาปัสสะ

 อ่านต่อ : ทำให้มันจบ ตอนที่ 2

redline

backled1

pra tam tesana header

ารมณ์นี้ก็สักว่าอารมณ์ จิตนี้ก็สักว่าจิตเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา ผลที่สุดแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรทั้งนั้น อารมณ์ก็เป็นเรื่องอนิจจัง จิตก็เป็นอนิจจัง ตัดผ่านไปเสียไม่ต้องข้องแวะไม่ต้องวิจัยมาก เพราะรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น เห็นอารมณ์ที่เกิดดับก็ดี เห็นอารมณ์ดีก็ตาม อารมณ์ชั่วก็ตาม ก็เรียกว่าเป็นอนิจจังทั้งนั้น ถ้าพูดให้ง่ายๆ ก็ว่า ตัวอนิจจังนี้แหละคือตัวพระพุทธเจ้าล่ะ

hen tam pen jing

ตัวสัจจธรรมล่ะตัวที่จะทำให้พระพุทธองค์ของเราให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า สาวกทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเห็นอนิจจังชัดเจน ก็เป็นพระสมบูรณ์นั่นเอง เห็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อุปาทาน มั่นหมายก็ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ คือมี ๕ กอง กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขารกองวิญญาณ เราไปยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาโดยใช่เหตุ ตามความเป็นจริงแล้วอันนี้มันเป็น ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เรียกว่ามันเป็นกอง กองรูปก็เป็นกองหนึ่ง กองเวทนาก็คือกองสุข...กองทุกข์ นี่เป็นกองหนึ่ง สัญญานี้ก็เป็นกองหนึ่ง สังขารนี้ก็เป็นกองหนึ่ง วิญญาณนี้ก็เป็นกองหนึ่ง คนคนหนึ่งมีอยู่ ๕ ก้อนหรือมีอยู่๕ กอง เราจะอยู่ไปได้ด้วยขันธ์ ๕ นี้

teach 1ผู้ที่จะมีความทุกข์มีความเดือดร้อน ก็เพราะยึดเอาก้อนนี้มาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา ใครมันเป็นทุกข์? ขันธ์ ๕ นี้แหละเป็นทุกข์ เพราะเห็นขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา คือไปยึดหมายสิ่งที่ไม่เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขานี้แหละ มาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา อันนี้มันตรงกันข้ามเลย สิ่งที่ไม่ใช่ตัวใช่ตน เราเข้าใจว่าตัวว่าตน สิ่งที่ไม่ใช่เราใช่เขา เราก็เข้าใจว่าเป็นเราเป็นเขา อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากหลักธรรมะ เมื่อผิดจากหลักธรรมะที่เกิดทุกข์ เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นก้อนเป็นกองเฉยๆ กองรูปก็เป็นกองหนึ่ง กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาให้เห็นว่า ขันธ์ ๕ นี้เกิดแล้วก็ดับ มันเกิด-ดับ เกิด-ดับเท่านั้น

หาอย่างอื่น นอกนั้นไม่มี ทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สุขเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ยั่งยืนถาวรอยู่ มันเป็นอยู่อย่างนั้น ท่านจึงสอนว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้ไม่เที่ยง แต่คนเราทั้งหลายมองไม่เห็น เราว่าเป็นของเที่ยง จึงขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา ที่ท่านเห็นธรรมะก็คือท่านเห็นตรงนี้ ที่ท่านตรัสรู้ธรรมะก็คือตรัสรู้ตรงนี้ ไม่ใช่รู้อย่างอื่น เห็นชัดเรื่องขันธ์ ๕ นี้ว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา จิตก็ปล่อยวางเห็นแต่ว่าขันธ์ ๕ เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น มันเกิด-ดับ เห็นสิ่งที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา เมื่อเห็นเช่นนี้ก็ไม่รู้จะไปทำอะไรมัน นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง

เห็นง่ายๆ คิดง่ายๆ ว่ามันเกิด-ดับเท่านั้นแหละ วูบเดียวก็เกิดขึ้นมา วูบเดียวก็ดับไป หาสิ่งใดจะมาเกิด-ดับไม่มีนอกจากสุขกับทุกข์ ทุกข์มันเกิดแล้วก็ดับไป สุขเกิดแล้วก็ดับไป มันเป็นเรื่องเท่านี้เอง ถ้าเราไม่รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็เหมือนว่าเราจะไม่รู้ธรรมะ ถ้าเรารู้ธรรมะ ก็เห็นเรื่องทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นอยู่อย่างนี้ หมดทางที่จะแก้ไข เรียกว่าเห็นโลก เห็นโลกเป็นอย่างนั้น ถ้าเห็นแล้วก็ไม่ต้องแก้ไข ถ้าเห็นแล้วใจสบาย เห็นโลกตามเป็นจริงอย่างนั้นก็เรียกว่าบรรลุธรรมะ คือเห็นรูปเห็นนามนี้เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็เห็นออกจากตัวของเรา ออกจากตนของเรา ก็เลยเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีแต่ขันธ์ ๕

cha 12ในสมัยหนึ่ง พระปุณมัณตนีบุตรจะออกไปธุดงค์ พระสารีบุตรซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระปุณมัณตนีบุตร ได้ถามปัญหาแก่ลูกศิษย์ของท่านว่า ถ้ามีคนมาเรียนถามท่านว่า พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร?พระปุณมัณตนีบุตรตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไป ท่านไม่เห็นว่า ท่านเกิดแล้วท่านดับไป ตรงนั้นไม่มีท่านไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ท่านก็เลยตอบคำถามพระอาจารย์ว่าพระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไร ท่านเห็นแต่เพียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไปเท่านั้นพระสารีบุตรก็พอใจในความเห็นของลูกศิษย์ ว่าอย่างนี้ไปได้แล้ว ท่านก็ปล่อยให้พระปุณมัณตนีบุตรไปธุดงค์ ท่านถามอย่างนั้นเพื่อสอบความเข้าใจของลูกศิษย์ เมื่อลูกศิษย์ตอบมาตามความเป็นจริงเช่นนั้นแล้ว มันหมด ตอบได้หมดที่จะเข้าใจว่าตัวว่าตนตรงนั้นไม่มี พระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไร พระขีณาสพก็คือผู้สิ้นไปแล้วสิ้นกิเลสทั้งหลายแล้ว ตายแล้วไม่เป็นอะไร พระปุณมัณตนีบุตรรู้แล้ว ท่านประสบมาแล้วว่าเป็นอย่างนั้น ท่านไม่เห็นว่ามีอะไร เห็นแต่เพียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไป ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย

อย่างพระโมกขราชเห็นสุญญตาธรรมเป็นธรรมที่ไม่ตาย ถ้าถึงจุดอันนั้นแล้วไม่ตาย ทำไมถึงไม่ตาย? มันไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ถ้าไม่มีคนก็ไม่มีใครจะตาย ไม่มีสัตว์ก็ไม่มีใครจะตาย เห็นชัดแล้วว่ามันพ้นจากตัวตนเราเขา เห็นแต่ธาตุ หรือกองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลมเห็นแต่ขันธ์ ๕ มีแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ตรงกับพราหมณ์ที่เข้าไปถามพระพุทธเจ้าว่า พระผู้เป็นเจ้าคนตายแล้วเกิดมีไหม? พระพุทธเจ้าท่านย้อนถามพราหมณ์ ใครจะมาเกิดมาตายอยู่ที่นี่ ถ้าพราหมณ์มีความเห็นเช่นนี้ ก็เหมือนกันกับที่ว่าลูกศรนั้นแทงหัวใจพราหมณ์ อยู่เท่านั้นแหละ ขวางอยู่ตลอดเวลาแต่ว่าเอามันออกยาก มันเห็นยาก คือมันติดสมมติ ถ้าเราเห็นสมมติเห็นวิมุตติตามความเป็นจริง แล้วมันก็สบายไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมันเป็นไปต่างหาก ถ้ามันเป็นเช่นนั้น อะไรจะเกิดที่ไหนมีไหม? ความโลภจะเกิดขึ้นมีไหม? ความโกรธจะเกิดขึ้นมีไหม? ความหลงจะเกิดขึ้นมีไหม?

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาได้เพราะคน เพราะสัตว์ ถ้าท่านเห็นว่าพ้นไปจากสัตว์ พ้นไปจากคนแล้ว กิเลสจะเกิดกับอะไร? ไม่มีที่เกาะ ไม่มีกิเลส โลภ โกรธ หลง หมดไป เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับสัตว์ กับมนุษย์ กับตัวกับตน กับเรากับเขา ท่านเห็นว่าไม่มีตัวไม่มีตัว ไม่มีเราไม่มีเขาแล้ว มันจะเกิดกับอะไร ท่านจึงว่าผู้ถึงที่สุดของธรรมะ มัจจุราชตามไม่ทัน ท่านเป็นผู้ที่ไม่ตาย จะตายแต่คนหรือสัตว์ ถ้าพ้นไปจากคนหรือสัตว์แล้ว ก็ไม่มีอะไรที่จะตาย ไม่มีอะไรที่จะเกิดจะดับอยู่ตรงนั้น ไม่มีแล้ว พระพุทธเจ้าของเรามีพุทธประสงค์อยากจะให้เราเห็นอย่างนั้นที่ปฏิบัติมานี้ อยากจะให้รู้อย่างนั้น อยากจะให้เป็นอย่างนั้น ให้พ้นจากความเกิด ความแก่ความเจ็บ ความตาย ทุกข์ก็ไม่มี ไม่มีทุกข์ ทุกข์ก็หมด ทุกข์ก็ดับอันนี้ท่านจึงว่าให้ปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ ถ้าเราไม่ยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์เป็นบุคคลอยู่อย่างนี้ มันก็เกิด แก่เจ็บ ตายอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่พ้น พระพุทธองค์ท่านให้เห็นอย่างนั้นท่านสอนอย่างนั้น ท่านให้รู้อย่างนั้น

เดินไปก็ไม่มีอะไร มีแต่ขันธ์ ๕ มีแต่กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ มีแต่เรื่องขันธ์ ๕ เท่านั้น เป็นไปตามสภาวะของมัน อันนี้ท่านเรียกว่า ให้เห็นออกจากตัวตน ไม่มีอะไรจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ที่ปล่อยวาง จะได้เห็นว่าเป็นสภาวะธรรมอันหนึ่งเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีแต่เรื่องเกิด-ดับไปทั้งนั้น อันนี้เป็นจุดหมายปลายทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ต้องการให้พวกพุทธบริษัททั้งหลาย ปฏิบัติให้เข้าไปรู้อย่างนั้น ให้เข้าไปเห็นอย่างนั้น ถ้าเข้าไปรู้อย่างนั้นท่านก็เรียกว่าเราเข้าไปรู้ธรรมะ เห็นธรรมะ เมื่อเห็นธรรมะก็เห็นพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าก็เห็นธรรมะ อันนั้นเป็นเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ ทางจิตของเรา

เรื่องการปฏิบัติที่เราแนะนำพร่ำสอนกันนี้ก็เรียกว่าเป็นศีลธรรม สอนเรื่องศีลธรรมนี้ สอนเรื่องตัวเรื่องตน เรื่องเราเรื่องเขา อย่าไปเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นตัวเราเป็นตัวเขา ถ้าสอนธรรมะล้วนๆ ก็เรียกว่า ไม่มีเราไม่มีเขา สอนเรื่องศีลธรรมนี้ก็ต้องมีเรามีเขาความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธประสงค์อยากจะให้สาวกทั้งหลายเป็นอย่างนั้น ให้รู้อย่างนั้น ให้เห็นอย่างนั้น ให้เป็นอยู่อย่างนั้น สงบจากสัตว์ สงบจากบุคคล จากตัว จากตน จากเรา จากเขา หมดกันแค่นั้น ในทางพุทธศาสนาของเราท่านสอนอย่างนั้น

arjhan cha 09

แต่ว่าพุทธบริษัทจะมีศรัทธา จะมาประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามทำนองนั้นลำบาก ยาก ไม่มีศรัทธาเพียงพอ ความเป็นจริงอย่างนักบวชเรา อย่างพวกเรานี้น่ะ ละฆราวาสวิสัยมาแล้ว ละบ้านละช่องมาแล้ว อะไรทั้งหมดๆ เราก็ทิ้งมาแล้ว อยู่ในวิสัยของสมณะ จุดนั้นเป็นที่หมาย เป็นเป้าหมายของพวกเราทั้งหลาย เป็นเป้าหมายของผู้ประพฤติ เป็นเป้าหมายของผู้ปฏิบัติ ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้ละทิฏฐิมานะ ทิฏฐิคือความเห็น มานะคือความยึดในตน ฯลฯ การละนี้แหละคือทางที่จะสงบจริง เย็นจริง

redline

backled1

pra tam tesana header

รามาปฏิบัติกันตามสบายนะ ตามสบายใจ คนมีปัญญาได้ประโยชน์หลายมีประโยชน์มาก สมัยก่อนการสวดมนต์ทำวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอุบายฝึกหัดผู้ใหม่นั่นเอง ถ้าเราเข้าใจในการปฏิบัติทุกคนแล้วก็ไม่มีอะไรโดยมากอยู่ตามป่าไม่ค่อยได้ทำวัตรกันหรอก สมัยท่านอาจารย์ทองรัตน์ปฏิบัติอยู่น่ะอยู่กันไปเฉยๆ เรื่อยๆ วันพระรวมกันทำวัตรและก็มีการประชุมกัน กิจวัตรนี้ถ้าหากว่าเราทำอะไรมากไปแล้วมันยุ่ง แต่ถ้าอยากจะทำประจำ เจ้าของอยู่กุฏิของเราก็ทำได้ สวดมนต์ทำวัตรฝึกตัวเองตอนเช้าก็ดีตอนเย็นก็ดี เราทำของเราเองทำเป็นส่วนตัวเรา

hen tam pen jing

pp 7ผู้ปฏิบัตินี่ก็ไม่เหมือนกัน บางองค์นานๆ พูดทีหนึ่งก็เข้าใจ บางองค์ก็ชอบจ้ำจี้จ้ำไชตอนเช้าตอนเย็น ชอบอย่างนั้น บางองค์ชอบเรียบๆ บางองค์ก็ชอบขู่เข็ญกิเลส สารพัดอย่าง การปฏิบัตินี้จึงเป็นอุบายเพื่อจะสั่งสอนจิตของเราให้สงบคำสอนของพระล้วนแล้วแต่เป็นอุบาย ให้เรารู้จักความประสงค์ของพระพุทธเจ้าของเรา ที่เรามาบวชในพุทธศาสนานี้ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธประสงค์ อยากจะให้พุทธบริษัทนี้รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติ เพื่อทรงพระธรรมวินัย คำสอนของท่านไว้ ให้พระศาสนาของท่านยืนยงคงทนอยู่ตลอดกาลนานนั่นเอง ผู้ปฏิบัติทุกคนทุกท่านก็ต้องอาศัยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาเป็นกำลัง ท่านกล่าวว่าเป็นกำลังทั้ง ๕ สิ่ง ๕ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพละ เป็นกำลังหรือพลัง พลังของจิต

"ศรัทธา" แปลว่า ความเชื่อ ถ้าพูดง่ายๆ ก็ว่า ศรัทธานี้มีกันทุกคน แต่ว่ามันไม่ถึงศรัทธา ศรัทธามันเชื่อ แต่จิตเราไม่ค่อยจะเชื่อ มนุษย์ทั้งหลายไม่ค่อยจะเชื่อกัน พูดง่ายๆ ก็เรียกว่า บวชมานี้ยังไม่มีศรัทธา ผู้มีศรัทธาจะต้องเคารพคารวะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่เสมอ ระวังสิ่งที่ผิดจากพระธรรมวินัย ถ้ารู้จัก ผู้ปฏิบัติย่อมไม่กล้าทำ เพราะเชื่อว่าอันนี้มันผิด อันใดที่ผิดก็เรียกว่าอันนั้นเป็นอาบัตินั่นเอง อาบัติก็แปลว่าผิดไม่ใช่เป็นอย่างอื่น

เรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความผิด ถ้าเรายังมีความผิดอยู่ ก็ยังไม่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ เมื่อยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ก็ให้เอื้อเฟื้อศึกษาให้รู้อะไรที่ยังไม่รู้เราจะเมินเฉยเสียก็ไม่ได้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เชื่อว่าผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก อย่างนี้ อะไรที่เรายังหลงผิดอยู่ ก็เรียกว่าอันนั้นเรายังไม่รู้จัก ไม่รู้จักเราก็เคารพอยู่ สังวรสำรวมอยู่ตลอดเวลา แล้วก็อาศัยคนอื่น อาศัยครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอน อาศัยความรู้สึกนึกคิดในการปฏิบัติของเราเองด้วยเทียบเคียงกันไป ท่านเรียกว่าศรัทธา อย่าไปเห็นว่าเรามีศรัทธาเราจึงจะบวช แต่บวชแล้วไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าศรัทธายังไม่ถึงที่สุดนะ ศรัทธาก็ต้องพยายามทำ อันนี้ยังไม่เรียบร้อยแต่ใจก็พยายามอยู่เสมอ นี่เรียกว่า ศรัทธา ความเชื่อ ต้นตอก็เรียกว่าต้องเป็นผู้มีศรัทธา ถ้าปราศจากศรัทธาแล้ว มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

ถ้ามีศรัทธาแล้วก็มีความเพียร เพียรเพื่ออะไร? เพียรเพื่อจะละข้อผิดอันนั้น พยายามแสวงหาทางที่ถูกอยู่เสมอ พระพุทธองค์ท่านสอนว่า เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ให้ทำตัวเป็นพระภิกษุใหม่อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าเก่า ให้เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ สยดสยองอยู่ต่อข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยใจ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จิตก็ปรารภอยู่ว่าเราจะทำให้อะไรที่ตรงนั้นเรียบร้อย ได้โดยวิธีอย่างไร? เราจะมีความมักน้อยโดยวิธีอย่างไร? จะปฏิบัติอย่างไรถึงจะเป็นอย่างนั้น ให้เรารำลึกอยู่อย่างนี้เสมอ ให้รู้จักความผิดชอบเฉพาะตัวเราอยู่ทุกเวลานั่นเอง ที่ท่านเรียกว่า อัตโนโจทยัตนัง...จงเตือนตนด้วยตนเอง อันนี้สำคัญกว่า เพราะว่าตนที่สมมตินั้นก็อยู่ที่เรา นั่งเราก็เอาตนนั่ง นอนเราก็เรียกว่าตน อะไรก็เป็นตนทั้งนั้นแหละ

เรานั่งอยู่เราคิดอย่างไร? ในเวลานี้เราทำอะไรอยู่? เรียกว่า เราตามดูตัวของเจ้าของเราพยายาม การกระทำเช่นนี้ท่านเรียกว่า "วิริยะ" คือเพียร เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี ไม่ใช่เพียรอย่างอื่น เพียรละสิ่งที่ผิดปฏิบัติให้ความผิดหมดไป...ก็เหลือแต่ความที่ไม่ผิด ความที่ไม่ผิดมีอยู่ก็เรียกว่า...ของที่บริสุทธิ์เรียกว่าเป็นผู้เพียร วิริยะรัมภะ ปรารภความเพียร เราจะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอนอยู่ก็ตามมีความปรารภอยู่เสมอ ทำอย่างไรความอยากของเรา ซึ่งมีล้นเหลืออยู่ในใจนี้จะเบาลงไป จะเบาลงไป จะมักน้อย...จะสันโดษ จะมีความเห็นชอบตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าปรารภความเพียรอยู่เสมอ...ไม่ลืม

เมื่อมีความเพียรอยู่ก็มี "สติ" สติคือความระลึกได้เมื่อเราพูดอะไร ทำอะไรอย่างไรอยู่ เป็นผู้มีสติตื่นอยู่สะดุ้งอยู่เสมอ เมื่อเรามีสติรู้ง่าย มันก็รู้เร็ว เมื่อมีสติอยู่ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกันกับสัตว์บางอย่าง เช่น แมลงมุมที่มันทำรังในอากาศ ใยมันผ่านไปผ่านมาเป็นรังขึงอยู่ เมื่อเสร็จแล้วตัวมันก็หมกอยู่ตรงจุดกลางของรังอันนั้น เฉยอยู่ นิ่งอยู่สงบอยู่ด้วยมีสติอยู่ ถ้าแมลงวัน แมลงผึ้ง แมลงต่างๆ มาผ่านใย มันก็มีความสัมผัสสะดุ้งรู้จัก แมลงมุมก็จะตื่นขึ้นรีบไปจับสัตว์นั้นไว้เป็นอาหาร เมื่อจับเสร็จแล้วก็รีบมาอยู่ยังจุดเก่า ทำความสงบระงับ มีสติ รู้อะไรจะมาถูกเข้าสัมผัส เมื่อไรแมลงมุมก็ตื่น เพราะว่าแมลงมุมอยู่ด้วยสติ ก็เพราะมันจ้องกินอาหาร มันระมัดระวังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เมื่อจับแล้วก็วิ่งมาอยู่ที่เก่า อย่างนี้เป็นวิสัยของแมลงมุมที่จับสัตว์กิน

sit stickแมลงมุมนั้นก็เหมือนกันกับจิตของเรา จิตของเรานั้นอยู่จุดกลางของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต มีความรู้สึกตื่นอยู่ไม่ว่าอะไรจะมาสัมผัสทางตา ตาเห็นรูป...ก็รู้สึก มีสติอยู่ หูฟังเสียงก็รู้สึก มีสติอยู่ ได้กลิ่นเหม็นหอมอะไร ก็มีความรู้สึก ลิ้นสัมผัสโอชารสต่างๆ ก็รู้สึก ธรรมารมณ์ที่เกิดกับใจ ก็รู้สึก นี่เรียกว่าสัมผัสสัมผัสครั้งแรกก็รู้สึกเฉยๆ รูปก็ดี รสก็ดี กลิ่นก็ดี เสียงก็ดี โผฏ-ฐัพพะก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี เมื่อกระทบก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น พอกระทบแล้วมีความรู้สึกต่อไปอีก ซึ่งมันจะเกิดกิเลส เกิดตัณหา เกิดราคะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ ผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเราระมัดระวังอยู่สังวรสำรวมอยู่ด้วยอินทรีย์ จะรู้จักตัวของเจ้าของรู้จักจิตของเจ้าของว่า จิตเจ้าของนี้เป็นไปในลักษณะอันใด? ก็รู้จักเมื่อเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว เราก็จักสั่งสอนจิตของเจ้าของเท่านั้นแหละ ฉะนั้น ตัวสตินี้จึงเป็นตัวที่สำคัญมากที่สุด เมื่อมีสติแล้วเราสังวรสำรวมอยู่ ก็ดึงเอาปัญญามาพิจารณาว่า รูปนี่เป็นอย่างไร เสียงนี่เป็นอย่างไร มีอะไรไหม? ปัญญามาช่วยพิจารณา อันนี้เรียกว่าสติมีคุณค่า

"สมาธิ" คือความตั้งใจมั่น สมาธินั่นก็เกิดมาจากสตินั่นแหละสติ-สมาธิ ถ้าพูดเรื่องสมาธิ ตามศัพท์สมาธิท่านหมายถึงความตั้งใจมั่น อย่างเราจะละอารมณ์สิ่งที่ชั่วสิ่งที่ไม่ดีน่ะ ไม่คืนคลายมันมั่นในข้อประพฤติของเราในข้อปฏิบัติของเรา สมาธิมีหลายขนาด ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ สมาธิที่นั่งแล้วหลับตากำหนดอันใดอันหนึ่งขึ้นมาเป็นอารมณ์ อย่างอานาปานสติที่เราอบรมกันนี้เอาลมหายใจเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องหมาย เอาเป็นจุดเด่นที่สุด ทำไมถึงเอาเป็นอารมณ์เพราะว่าจิตนี้มีอารมณ์หลายอย่าง หูฟังเสียงก็เป็นอารมณ์หนึ่ง จมูกดมกลิ่นก็เป็นอารมณ์หนึ่ง มันหลายอารมณ์ สิ่งที่มันหลายๆ อารมณ์มันฟุ้งซ่านดังนั้นท่านจึงรวมจุดมากๆมาเป็นอารมณ์เดียว เราจะเลือกอันใดอันหนึ่งก็เอา

ที่วัดเรานี้ก็สอนอานาปานสติ อานาปานสตินี้เป็นของง่าย เพราะอะไร เพราะมีอยู่แล้ว เรานั่งอยู่เราก็หายใจอยู่ เรายืนอยู่ก็หายใจอยู่นอนเราก็หายใจของเราอยู่ ดังนั้นก็กำหนดเอาสิ่งที่มีอยู่ใกล้ๆ เป็นอารมณ์ หายใจเข้าหายใจออกเอาอันนี้เป็นอารมณ์ เพื่อจะให้จิตมั่นในอารมณ์ คืออานาปานสตินี้ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปหลายอย่าง อารมณ์มันมากแต่เราจะทำให้มันน้อย คือเป็นอารมณ์เดียว เราจึงยกลมขึ้น หายใจเข้า-ออกกำหนดว่า พุทโธ พุทโธ ไว้ในใจของเราเสมอ มีความระลึกอยู่ รู้อยู่ ตื่นอยู่ในพุทโธอันนั้น นี่เรียกว่าเป็นอารมณ์ เมื่อเราทำไป หายใจเข้าก็เป็นพุท หายใจออกก็เป็นโธ พุทโธนั่นก็หมายความว่าผู้รู้อยู่นั่นเอง เรารู้อยู่ด้วยสติของเราที่ตื่นอยู่ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของ มีสติอยู่ เราก็รู้จักว่าจิตของเจ้าของคิดอะไร? อะไรเป็นจิตก็เข้าไปเห็นชัด

ผู้ที่มีอำนาจปรับเอาอารมณ์ทั้งหลายนั่นแหละเรียกว่าตัวจิต สมมติว่าจิตหรือใจ ตัวที่กำหนดรู้ ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จักคนที่รู้ลมมันเข้ามันออกนั่นแหละคือตัวจิต เราสมมติว่าเป็นตัวจิตใครตามรู้อยู่เสมอ เราก็รู้จักว่าใครตามรู้อยู่ ผู้ตามรู้อยู่ก็เรียกว่าจิตอารมณ์นั้นก็เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็นตัวจิต นั่นคือผู้รู้ก็เป็นผู้รู้ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ เป็นคนละตอนคนละท่อน ท่านจึงให้ทำเป็นสมาธิ เมื่อเป็นสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแล้ว จะเห็นจิตของเจ้าของว่า เออ! จิตนี้เป็นอย่างหนึ่ง อารมณ์นี้เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ที่รู้สึกอารมณ์มากระทบเป็นอย่างนั้นก็อย่างหนึ่ง สองอย่างนี้ถ้าหากว่าเราไม่เป็นสมาธิ ไม่ทำสมาธิให้มีอารมณ์เดียวยืนยันอยู่ เราก็ไม่รู้จักจิตของเจ้าของ จิตเจ้าของเศร้าหมองก็ไม่รู้เรื่อง จิตผ่องใสก็ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เพราะอะไร? เพราะเราไม่ได้สั่งสอนจิตของเรา

pra farang 03

พระพุทธองค์ท่านบอกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครตามดูจิตของตนคนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร บ่วงของมารนั้นคืออะไร? คือรูปหนึ่ง เสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่ง รสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่ง ธรรมารมณ์หนึ่งอันนี้แหละเป็นบ่วงที่จะผูกจิตผู้ที่ไม่รู้ ให้เข้าไปในอำนาจของมัน เข้าไปในอำนาจของความเกลียด หรือความรัก ถ้าหากว่าเรารู้จิตของเจ้าของเช่นนั้น ทั้งเรามีสติอยู่ เราก็รู้ว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต ถ้าเรามองเห็นว่าอารมณ์เป็นอารมณ์ จิตเป็นจิต เราก็แยกมันออกเป็นสองอย่าง เราก็รู้จักว่าจิตไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ อารมณ์นั้นท่านเรียกว่าโลก หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก หลงโลกก็คือหลงอารมณ์ ใครเป็นคนหลง? จิตผู้รู้นั่นแหละมันหลง หลงตามอารมณ์ ที่ดีก็หลงไป ชั่วก็หลงไปตาม สุขก็หลงไป ทุกข์ก็หลงไป เอาตัวไปแทนเสียว่าเป็นตัวทุกข์ ความเป็นจริงนั้น จะทุกข์ก็เพราะมีอุปาทานยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เลยไปเป็นเจ้าของอารมณ์

ความเป็นจริงนั้นอารมณ์ก็เป็นอารมณ์ จิตก็เป็นจิต มันคนละอย่างกัน เมื่อเราเข้าไปยึดว่าอันนั้นดี อันนั้นสวยอย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่ว่าเห็นเฉยๆ เห็นแล้วมีอุปาทานมั่นหมาย ไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขานั้นเรียกว่าบ่วงของพญามารผูกไป ความพอใจก็ผูกไป ความไม่พอใจก็ผูกไป ความสุขก็ผูกไป ความทุกข์ก็ผูกไป ชั่วก็ผูกไป ดีก็ผูกไปอย่างนี้ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักจิต ไม่รู้จักอารมณ์ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว อารมณ์มันก็เป็นอารมณ์ จิตมันก็เป็นจิต เป็นคนละอย่างถ้าเราไม่รู้จักอันนี้ เราก็เข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์อันนั้น เราก็ต้องรับรองอารมณ์อันนั้นอยู่ ติดตามอารมณ์อันนั้นอยู่ ถ้าเราเห็นเช่นนี้ว่าอันนี้เป็นจิต อันนี้เป็นอารมณ์ เราก็ต้องรู้จักสอนจิตของเจ้าของ เมื่อเรามีความสงบอยู่ ถูกอารมณ์ขึ้นมาเราก็รู้จักว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต เปรียบง่ายๆคือมันอยู่ใกล้ชิดกัน เหมือนน้ำมันกับน้ำถ้ามันมีน้ำหนักต่างกัน จะเอาใส่ในขวดเดียวกันก็ได้ แต่ว่ามันไม่แทรกซึมเข้าหากัน จิตกับอารมณ์ก็เป็นอย่างนั้น ถ้ารู้จักว่าอันนั้นเป็นอารมณ์ อันนั้นเป็นจิต จะเห็นจิตเป็นจิต เห็นอารมณ์เป็นอารมณ์ สักแต่ว่าอารมณ์เท่านั้น

อารมณ์นี้แหละท่านเรียกว่าโลก เราหลงโลกก็คือหลงอารมณ์ หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก เอาจิตกับอารมณ์ไปพัวพันกันจนแยกกันไม่ได้ แยกไม่ออกว่าอะไรเป็นจิต... อะไรเป็นอารมณ์ อารมณ์นี้ก็สักแต่ว่าอารมณ์ เห็นจิตก็สักแต่ว่าจิต เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเป็นอยู่อย่างนั้น เขาเป็นอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น ถ้าหากว่าเราไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็ไปสำคัญมั่นหมายว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ทำไมมันเป็นอย่างนี้ความเป็นจริงอันนี้เป็นของเก่าแก่ มันตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

cha 11ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติ ให้พิจารณา ที่ท่านสอนว่า ให้ท่านทั้งหลาย หรือสูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันน่าตระการดุจราชรถ อันพวกคนเขลาทั้งหลายหมกอยู่แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ท่านพูดตรงเข้าไปเลย เห็นโลกที่มันวุ่นวาย มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น โลกนี้ไม่ใช่ว่ามันวุ่นวายมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ที่เราเข้าไปหมายมั่นไม่พอใจกับมัน มันก็วุ่นวายซิ ถ้ารู้ตามเป็นจริงด้วยปัญญาแล้ว ก็เห็นว่าไม่วุ่นวาย แต่คนไม่มีปัญญาแล้ว ก็เข้าใจว่าที่นั่นมันวุ่นวาย พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสอย่างนั้น

ให้มาดูโลกอันนี้...อันน่าตระการดุจราชรถ เพราะคนเขลาคือคนโง่ คือคนไม่รู้จัก คือคนหลงหมกอยู่ แต่ผู้รู้ทั้งหลายรู้แล้วไม่ข้องอยู่ ที่นั่นไม่วุ่นวาย ที่นั่นไม่ขัดข้อง ก็เพราะเห็นว่า ของเขา เป็นของเขา อยู่อย่างนั้น พื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติ พื้นฐานของความเห็นก็ต้องเป็นอย่างนั้น ให้รู้ ถ้าเราไม่รู้มันก็เป็นทุกข์ ไม่รู้ ก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นตลอดกาลตลอดเวลา

อารมณ์มาทางตาก็มี หูก็มี จมูกก็มี ลิ้นก็มี กายก็มี เกิดมาทางจิตเฉยๆ ก็มี คือมีความรู้สึกเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนั้น ทั้งๆ ในเวลานั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สัมผัสถูกต้องอะไร แต่ว่ามันเป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมเก่าที่เก็บไว้ ในเวลานั้นมันระเบิดขึ้นมาอยู่ที่ใจเพราะว่าในเวลานั้นไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็น ไม่อะไรก็ตามทีเถอะ แต่ว่าอันนั้นมันมีอยู่เป็นของเก่า เป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมะ + อารมณ์นั่นเอง มันฝังแน่นอยู่ในใจเรียกว่า "อุปธิธรรม" เมื่อได้ช่องเมื่อไร มันก็ระเบิดขึ้นมา เกิดความยินดีเกิดความยินร้ายขึ้นมา อันนี้คือของเก่าที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันนั้น ตาก็ไม่ต้องเห็น หูก็ไม่ต้องได้ยิน จมูกก็ไม่ได้กลิ่น ลิ้นก็ไม่ได้รส กายก็ไม่ถูกต้อง แต่ว่ามีอารมณ์ทางจิตเกิดขึ้นมาเฉยๆ ที่เกิดขึ้นมาที่จิตนั้น จิตก็ยังหลงของมันอยู่เรื่อยๆ ยังไปหลงรัก ยังไปหลงใคร่อยู่ในสถานที่นั้นอีก ถ้าเราเห็นเช่นนี้ ถ้าเราดูเช่นนี้ เราทำสมาธิเห็นชัดอยู่อย่างนี้ เราก็พยายามดูซิว่า เกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น

พระโยคาวจรท่านเห็นชัดว่า อันนี้เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า ธรรมะ เกิดแล้วก็ดับไป ดับแล้วก็เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป พระผู้มีพระภาคท่านให้เห็นจิตอันนี้เป็นของเกิดดับอยู่เท่านั้นมันไม่เป็นไปอย่างอื่นอีกถ้ารู้ชัดแล้ว มันก็เกิดดับของมันอยู่อย่างนั้นก็เหมือนโลกน่ะแหละ ถึงเวลาสว่างมันก็สว่าง ถึงเวลามืดมันก็มืด มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น แต่คนที่ยุ่งก็ไปให้โทษมันว่า มันมืดเร็วไปหรือมันสว่างเร็วไปอย่างนี้ ถ้ารู้ตามเป็นจริงแล้ว ก็เป็นเรื่องของมันเป็นอยู่อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าเราหลง พระพุทธเจ้าให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อให้หายหลง พระโยคาวจรคือใคร? ก็คือพวกเรานี่เองแหละ ให้ศึกษาเข้าไปเห็นความจริง เมื่อจิตสงบมีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่ เป็นสมาธิมันก็เห็น ในที่สงบระงับ เมื่อเห็นอาการทั้งหลายเป็นเช่นนั้น ก็เกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ขึ้นมา เพ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาอยู่นั้น เป็นอย่างนั้นอยู่เสมอ เมื่อเห็นอาการตามความเป็นจริงของมัน ก็รู้ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อเห็นชัดเช่นนั้น เราก็ไม่ต้องไปเพิ่มอะไรขึ้นอีก ไม่ต้องไปถอนอะไรมันอีก ปล่อยมันอยู่ตามเช่นนั้นเสมอ คนที่ไปเพิ่มอะไรเข้ามา ไปถอนอะไรออกไป ก็คือคนหลงอารมณ์ จึงเกิดยุ่งเกิดวุ่นวายเกิดความไม่สงบ

cha 1พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้เห็นโลก คือเห็นโลกนี้ตามเป็นจริงอยู่ ท่านให้เห็นชัดด้วยปัญญาว่า มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีทางจะแก้ไข ท่านให้แก้ไขตัวเราเอง ไม่ใช่ไปแก้ไขอย่างอื่น ถ้าเราไปแก้ไขอย่างอื่นนั้นก็เรียกว่า มันเป็นภายนอก นึกว่าเหตุมันเกิดมาจากนั้นเช่นเรามองดูรูปหรือเราฟังเสียง ก็เห็นว่ารูปนั้นเราไม่ชอบ หรือเสียงนั้นเราไม่ชอบ ก็นึกว่ารูปนั้นเป็นเหตุ เสียงเป็นเหตุ ความเป็นจริงเหตุไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น

เหตุอยู่ที่จิตของเจ้าของนี่เอง เพราะเราเข้าไปสำคัญมั่นหมายว่า มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนี้ ความจริงนั้นเหตุเกิดที่เรา แต่เราไปเข้าใจว่าเหตุเกิดอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น เมื่อมันกระทบถูกต้อง มันเกิดจากความเห็นนี้เอง อันนั้นมันก็อยู่สภาพของมันอย่างนั้น มิแปรเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสให้พุทธบริษัททั้งหลายมาดูโลกอันนี้ให้แจ้ง ให้รู้เรื่องตามความเป็นจริงของมัน ถ้ารู้ตามความเป็นจริงของมัน

แล้วก็ไม่มีทางอะไรจะแก้ไขเห็นตามมันเสีย ปัญญารู้เท่าสังขาร ว่าสังขารนั้นเป็นจริงอย่างไร ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างนั้นทุกอย่าง หูเราได้ยินก็ดี อายตนะทั้งหลายที่รวมอยู่นี้ มันเป็นสัจจธรรมทั้งนั้น คือความจริงทั้งนั้น แต่เราไม่รู้จักความจริงก็เลยกลายเป็นของปลอมไปเสีย เข้าไปปรุง ปรุงให้มันเป็นอย่างนั้น ปรุงให้มันเป็นอย่างนี้ ไปแต่งให้มันเป็นอย่างนั้น แต่งให้เป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ ปรุงไปอย่างอื่นก็ไม่เป็น มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าเราเห็นสั้นๆ เช่นนี้ เราก็รู้จักสั่งสอนจิตของเจ้าของแล้วว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้มันเป็นจิต

 อ่านต่อ : เห็นตามเป็นจริง ตอนที่ 2

redline

backled1

pra tam tesana header

ราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์หลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย ฉะนั้นควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ "มรรค ผล ไม่พ้นสมัย"

kan ploy wang

samati2มีคนถามว่า การทำภาวนานี้ ต้องอธิษฐานหรือไม่ว่าจะทำเวลานานเท่าไร 5 หรือ 10 นาที อาตมาเลยบอกว่า ไม่แน่นอน บางทีอธิษฐานว่าฉันจะนั่งสามชั่วโมง นั่งไปได้สิบนาทีก็เดือดร้อนแล้ว ไม่ถึงชั่วโมงก็หนีไปแล้ว เมื่อหนีไปแล้วก็มานั่งคิดว่า แหม เรานี้พูดโกหกตัวเราเอง เอาแต่โทษตัวเองอยู่ ไม่สบายใจ บางทีก็เอาธูปสักดอกหนึ่งมาจุด อธิษฐานจิตใจว่า ไฟจุดธูปดอกนี้ไม่หมด ฉันจะไม่ลุกหนี ฉันจะพยายามอยู่อย่างนี้ พอท่านพูดอย่างนี้ พญามารก็มาแล้ว นั่งเข้าไปสักนิด นั่นทุกข์หลายเหลือเกิน เดี๋ยวมดกัด เดี๋ยวยุงกัด มันวุ่นไปหมด จะลุกหนีไปก็อธิษฐานแล้ว นี่มันตกนรก นึกว่านานเต็มทีแล้ว ลืมตามองดูธูปยังไม่ถึงครึ่งเลย

หลับตาอธิษฐานต่อไปอีก สามทีสี่ทีธูปก็ยังไม่หมด เลยก็มาคิด เรานี่มันไม่ดีเหลือเกิน โกหกตัวของตัวอยู่ เลยวุ่นยิ่งกว่าเก่าอีก เรานี้เป็นคนไม่ดี เป็นคนอัปรีย์จัญไร เป็นคนโกหกพระพุทธเจ้า โกหกตัวเราเอง เกิดบาปขึ้นมาอีก อาตมาเห็นว่า ต้องพยายามทำไปเรื่อยๆ พอสมควรที่จะเลิกก็เลิก เหมือนกันกับเราทานข้าว เราอธิษฐานมันเมื่อไร ทานไปทานไป มันจวนจะอิ่ใจะพอ เราก็เลิกมันเมื่อนั้น กินมากไปมันก็อาเจียรออกเท่านั้นแหละ ให้มันพอดีอย่างนั้น

เราเหมือนพ่อค้าเกวียน ต้องรู้จักกำลังโคของเรา ต้องรู้จักกำลังเกวียนของเรา โคของเรามีกำลังเท่าไร เกวียนของเรารับน้ำหนักได้เท่าไร ต้องรู้จัก ต้องเอาตามกำลังโค ต้องเอากำลังเกวียนของเรา

อย่าเอาตามความอยากของเราสิ เรามีเกวียนลำเดียว อยากจะบรรทุกหนักให้ขนาดรถสิบล้อ มันก็พังเท่านั้นก็ตายนะซิ มันต้องค่อยๆ ไป ค่อยๆ ทำ อย่างนี้ให้รู้จักของเราปฏิปทาเราทำไปเรื่อยๆ ก็สบาย มันวุ่นวายก็ตั้งใหม่ มันวุ่นวายไปก็ตั้งใหม่ ถ้ามันวุ่นวายนักก็ลุกเดินจงกรมเสียซิ เดินมันจนเหนื่อย พอเหนื่อยก็มานั่ง นั่งกำหนด มันเหนื่อยมันจะสงบระงับ ถ้าเดินก็พอแรง นั่งก็พอสมควรแล้ว อยากจะพักผ่อนก็พักผ่อนเสีย แต่ว่า จิตใจอย่าลืม มีสติอยู่ทั้งเดิน ทั้งนั่ง ทั้งนอน อยู่ให้สม่ำเสมออย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น

การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องไม่ย่อหย่อน จะต้องทำความพยายามอย่างนั้น ความอยากจะเร็วของเรา อันนี้ไม่ใช่ธรรมะ มันเป็นความอยากของเรา ใจอยากจะเร็วที่สุด แต่มันทำไม่ได้ ธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนั้น เราก็กำหนดจิต ปฏิบัติตามธรรมชาติของมันอย่างนั้น อยากจะให้มันเร็วที่สุดนั้นไม่ใช่ธรรม มันคือความอยากของเรา เราจะทำตามความอยากของเรานั้นไม่จบ

ให้รู้จักดูประวัติของพระอานนท์ พระอานนท์นั้นมีศรัทธามากที่สุด พรุ่งนี้เขากำหนดให้พระอรหันต์ทำปฐมสังคายนาแล้ว และคณะสงฆ์ก้กำหนดพระอานนท์องค์หนึ่งว่าจะเอาไปร่วมทำสังคายนา แต่จะเอาเฉพาะพระอรหันต์ทั้งนั้น พระอานนท์เหลือเพียงคนเดียวเท่านั้น ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ไม่รู้จะทำอย่างไร พระอานนท์ก็อาศัยความอยาก นึกว่า เราจะต้องทำอะไรหนอ จึงจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พรุ่งนี้เขาจะนับเข้าอันดับแล้ว จะประชุมสงฆ์ทำสังคายนา ตอนกลางคืนก็ตั้งใจนั่ง ไม่ได้นอนทั้งคืน นั่งทำอยู่อย่างนั้น อยากจะเป็นพระอรหันต์ กลัวจะไม่ทันเพื่อนเขา ทำไปทุกอย่าง คิดไปทางนี้ก็มีแต่ปัญญาหยาบ คิดไปทางโน้นก็มีแต่ปัญญาหยาบ คิดไปทางไหนก็มีแต่ปัญญาหยาบทั้งนั้น วุ่นวายไปหมด คิดไปก็จวนจะสว่าง เรานี่แย่ เราจะทำอย่างไรหนอ เพื่อนสหธรรมิกทั้งหลายจะทำสังคายนาแล้ว เรายังเป็นปุถุชนจะทำอย่างไรหนอ

arjhan cha 08

ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านแสดงไว้ เราพิจารณาทุกอย่างไม่ขัดข้อง แต่เรายังตัดกิเลสยังไม่ได้ ยังไม่เป็นพระอริยเจ้า ทำอย่างไรหนอ เลยคิดว่าเราก็ทำความเพียรมาตั้งแต่ย่ำค่ำจนถึงบัดนี้ หรือมันจะเหนื่อยไปมากกระมัง คิดว่าควรจะพักผ่อนสักพักหนึ่ง เลยเอาหมอนมาจะทำการพักผ่อน เมื่อจะพักผ่อน ก้ปล่อยวางทอดธุระหมดเท่านั้น ศีรษะยัง ไม่ทันถึงหมอนเลย พอเท้าพ้นพื้นเท่านั้น ตอนนั้นขณะจิตเดียว พอดีจิตมันรวมได้ ที่ตั้งใจว่าจะพักผ่อน มันปล่อยวางทอดธุระ ตอนนั้นเองพระอานนท์ได้ตรัสรู้ธรรม ตอนที่ว่าอยากจะให้มันเป็นอย่างนั้น อยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ ไม่มีเวลาที่จะพักผ่อน ไม่ปล่อยวาง ก็เลยไม่มีโอกาสที่จะตรัสรู้ธรรม

ให้เข้าใจว่าการที่จะตรัสรู้ธรรมนั้น มันพร้อมกับการปล่อยวางด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะเร่งมันให้มันเป็นอย่างนั้น แต่ด้วยเห็นว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น พอพักผ่อน พอวางเข้าปุ๊บ ตรงนั้นไม่มีอะไรเข้ามายุ่ง ไม่มีความอยากเข้ามายุ่ง เลยสงบตรงนั้นเลย พอจิตตอนนั้นรวมดี ก็เป็นโอกาสพบตรงนั้น พระอานนท์เกือบจะไม่รู้ตัว รู้ตัวว่ามันเป็นอย่างนั้นเท่านั้น ที่พระอานนท์อยากจะตรัสรู้ให้มันเป็นอย่างนี้ไม่ได้ นี่คือความอยาก แต่พอรู้จักวาง ตรงนั้นแหละคือ การตรัสรู้ธรรมะ

cha 3คนไม่รู้จักมันก็ทำยาก เช่นว่า ตรงนั้นไม่ใช่ที่อยู่ของคน ความวิตกของปุถุชนจะไปวิตกตรงนั้นก็ไม่ได้ เช่นว่า นี่พื้น นั่นหลังคา ตรงนี้ (ระหว่างหลังคากับพื้น) ไม่มีอะไร เห็นไหม ตรงนี้ไม่มีภพ ภพคือหลังคากับพื้น ระยะกลางนี้เรียกว่าไม่มีภพ ถ้าคนจะอยู่ก็ต้องอยู่ข้างล่าง หรือข้างบน ตรงนี้ไม่มีคนที่จะอยู่ไม่มีใครที่จะอยู่ เพราะว่ามันไม่มีภพ ตรงนี้คนไม่สนใจ การปล่อยวางอย่างนี้คนไม่สนใจ การปล่อยวางอย่างนี้คนไม่สนใจว่า การปล่อยวางมันจะเกิดอะไรไหม เมื่อขึ้นไปถึงโน้นเป็นภพเคยอยู่ ลงมาทางนี้ก็เป็นภพเคยอยู่ ขึ้นไปข้างบนนี้หน่อยก็สุขสบาย หล่นลงมาตูมก็เจ็บ แล้วเป็นทุกข์ มีแต่ทุกขืกับสุข แต่ที่มันจะวางให้เป็นปกติไม่มี เพราะว่าที่ภพนั้นคนไม่สนใจ แต่จิตจะวิตกก็ให้วิตกไปในปกติไม่มีภพ

ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ไม่มีภพไม่มีชาติ คือไม่มีอุปาทานนั่นเอง อุปาทานเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ถ้าอุปาทานนั้นเราปล่อยไม่ได้ เราอยากจะสงบมันก็ไม่สงบ คนเราอยู่กับภพ ถ้าไม่มีภพ คิดไม่ได้ เพราะนิสัยของคนมันเป็นอย่างนั้น กิเลสของคนเป็นอย่างนั้น พระนิพพานที่พระพุทธองค์ท่านว่า พ้นจากภพชาติ ฟังไม่ได้ ไม่เข้าใจ มันเข้าใจแต่ว่าต้องมีภพชาติ ถ้าไม่มีภพถ้าไม่มีที่อยู่ ฉันจะอยู่อย่างไร ยิ่งคนธรรมดาๆ อย่างเราแล้ว ฉันจะอยู่อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ อยากจะเกิดอีกแต่ก็ไม่อยากตาย มันขัดกันเสียอย่างนี้ ฉันอยากเกิดแต่ฉันไม่อยากตาย มันพูดเอาคนเดียวตามภาษาคน แต่การเกิดแล้วไม่ตายนั้นมีไหมในโลกนี้ เมื่อคนอยากเกิดก็คือคนนั้นอยากตายนั่นเอง แต่เขาพูดว่าฉันอยากเกิด แต่ฉันไม่อยากตาย มันคิดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เขาก้ไปคิดให้มันทุกข์

ทำไมเขาจึงคิดอย่างนั้น เพราะเขาไม่รู้จักทุกข์ เขาจึงคิดอย่างนั้น พระพุทะองค์ท่านว่า ตายนี้มาจากความเกิด ถ้าไม่อยากตายอย่าเกิดสิ แต่นี่อยากเกิดอีก แต่ว่าไม่อยากตาย พูดกับกิเลสตัณหานี้มันก็ยาก มันก็ลำบาก มันถึงมีการปล่อยวางได้ยาก มีการปล่อยวางไม่ได้อย่างนี้ กิเลสตัณหามันเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้นที่พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า ไม่มียางต้นเสาอันนี้ อะไรไปเกาะ ไม่มีที่เกาะ ก็จึงไม่มีภพไม่มีชาติ ถ้าพูดถึงว่าเราไม่มีภพมีชาติ เราฟังไม่ได้ จนกระทั่งท่านย้ำเข้าไปถึงตัวตนนี้ว่า ไม่มีตัวมีตน ตัวตนนั้นเป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น มันจริงอยู่มันก็จริงโดยสมมุติ ถ้าพูดถึงวิมุติ ตัวตนก็ไม่มี เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเพราะเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมาเท่านั้น เราก้ไปสมมุติว่ามันเป็นตัวเป็นตนเกิดขึ้นมา เมื่อสมมุติเป็นตัวเป็นตน ก็ยึดตัวยึดตนนั้นอีก เลยเป็นคนมีตน ถ้ามี "ตน" ก็มี "ของตน" ถ้าไม่มี "ตน" "ของตน" ก็ไม่มี ถ้ามี "ตน" มันมีสุขมีทุกข์ ถ้ามี "ตน" มันก็มี "ของตน" พร้อมกันขึ้นมาเลย เราไม่รู้เรื่องอย่างนั้น ฉะนั้นคนเราจึงคิดไปว่า อยากเกิดแต่ไม่อยากตาย

พูดถึงเรื่องกระแสพระนิพพานแล้ว ถ้าไม่รู้ปัจจัตตังแล้ว ก็ไม่มีใครที่จะปรารถนาอะไร ถึงพระนิพพานนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องปรารถนาอีกด้วย พระนิพพานปรารถนาไม่ได้เหมือนกัน อย่างนี้มันเป้นลักษณะที่เข้าใจยาก ถึงเราจะเข้าใจในเรื่องพระนิพพาน แต่จะพูดให้คนอื่นฟัง ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน มันไม่เข้าใจ เพราะธรรมอันนี้ ถ้าแบ่งให้กันได้มันก็สบายละซิ แต่ธรรมนี้มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้เฉพาะตัวของเราเอง บอกคนอื่นได้ แต่มีปัญหาอยู่ว่าคนอื่นจะรู้ไหม

ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา" แปลว่า พระตถาคตเป็นแต่ผู้บอก นั่นก็เหมือนกับเราทุกวันนี้แหละ เป็นผู้บอกไม่ใช่ผู้ทำให้ บอกแล้วให้เอาไปทำ จึงจะเกิดความมหัศจรรย์ขึ้น เกิดความเป็นจริงขึ้นเฉพาะตน เป็น "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" วิญญูชนรู้เฉพาะตัวเอง ทั้งนั้น อย่างพูดวันนี้ จะมาเชื่ออาตมานั้นก็ยังไม่ใช่ของดี มันยังไม่ใช่ของแท้ คนที่เชื่อคนอื่นอยู่ พระพุทธองค์ท่านว่ายังโง่อยู่ พระพุทธองค์ท่านให้รับรู้ไว้ แล้วไปพิจารณาให้มันเกิดขึ้นมาโดยเฉพาะตัวเราเอง ธรรมนี้มันจึงเป็นปัจจัตตังอย่างนั้น

ทีนี้ในเรื่องการฟังธรรม ก็ให้ทำความเข้าใจว่าต้องไม่ปฏิเสธ รับฟังไม่เชื่อก้พิจารณาดู ไม่เชื่อก็ไม่ว่า เชื่อก้ไม่ว่า วางไว้ก่อน เราจะรู้โดยให้เกิดปัญญา อะไรทุกอย่างถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอในใจของเราเอง ก็ยังไม่ปล่อยวาง คือว่า มีสองข้าง นี่ข้างหนึ่ง นี่ก็ข้างหนึ่ง คนเรานั้นจะแอบเดินมาข้างนี้ หรือแอบเดินไปข้างนั้น ที่เดินไปกลางๆ ไม่ค่อยเดินหรอก มันเป็นทางเปลี่ยว เดี๋ยวรักก็ไปทางรัก พอชังก้ไปทางชัง จะปล่อยการรักการชังนี้ไป มันเป็นทางเปลี่ยว มันไม่ยอมไป

เมื่อพระพุทะองค์ตรัสรู้ธรรมะ ทรงเทศน์เป็นปฐมเทศนาเลยตรงนี้ ทางหนึ่งมันเป็นทางสุขของกาม ทางหนึ่งมันเป็นทางทุกข์ทรมานตน สองอย่างนี้ไม่ใช่ทางที่สงบ ท่านพูดว่าไม่ใช่ทางของสมณะ สมณะนี้คือความสงบ สงบจากสุขทุกข์ ไม่ใช่มีความสุขแล้วมันสงบ ไม่ใช่มีความทุกข์แล้วมันสงบ ต้องปราศจากสุขหรือทุกข์ มันจึงเป็นเรื่องความสงบ ถ้าเราทำอย่างนั้นแล้วมีความสุขใจเหลือเกิน อันนี้ก็ไม่ใช่ธรรมะที่ดีนะ แต่เราต้องวางสุขหรือทุกข์ไว้สองข้าง ความรู้สึกต้องไปกลางๆ เดินผ่านมันไปกลาง เราก็มองดู สุขก็เห็น ทุกขืกเห็น แต่เราไม่ปรารถนาอะไร เดินมันเรื่อยไป เราไม่ต้องการสุข เราไม่ต้องการทุกข์ เราต้องการความสงบ จิตใจของเราไม่ต้องแวะไปหาความสุข ไม่ต้องแวะไปหาความทุกข์ ก็เดินมันไปเรื่อย เป็นสัมมาปฏิปทา เป็นมรรคมีองค์แปด มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเกิดขึ้นแล้ว สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริวิตกวิจารมันก็ชอบทั้งนั้น อันนี้เป็นสัมมามรรคเป็นมรรคปฏิปทา ถ้าจะทำอย่างนี้ให้เกิดอย่างนั้น

pra farang 02

ทีนี้เราได้ฟังเราก้ไปคิดดู ธรรมะทั้งหมดนี้ท่านต้องการให้ปล่อยวาง ปล่อยวางจะเกิดขึ้นมานั้นต้องรู้ความเป็นจริง มันถึงจะปล่อยวางได้ ถ้าความรู้ไม่เกิด ก็ต้องมีการอดทน มีการพยายาม มีการปฏิบัติธรรมอยู่ มันต้องใช้ทุนอยู่เสมอทีเดียวเรียกว่าต้องปฏิบัติธรรม

แต่ เมื่อมันรู้เห็นหมดแล้ว ธรรมะก็ไม่ได้แบกเอาไปด้วย อย่างเลื่อยคันนี้เขาจะเอาไปตัดไม้ เมื่อเขาตัดไม้หมดแล้ว อะไรก็หมดแล้ว เลื่อยก็เอาวางไว้เลย ไม่ต้องไปใช้อีก เลื่อยคือธรรมะ ธรรมะต้องเอาไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุมรรคผล ถ้าหากว่ามันเสร็จแล้ว ธรรมะที่มีอยู่ก็วางไว้ เหมือนเลื่อยที่เขาตัดไม้ ท่อนนี้ก็ตัด ท่อนนี้ก็ตัด ตัดเสร็จแล้ว ก็วางไว้ที่นี่ อย่างนั้นเลื่อยก็ต้องเป็นเลื่อย ไม้ก็ต้องเป็นไม้ นี่เรียกว่าถึงหยุด แล้วถึงจุดของมันที่สำคัญแล้ว สิ้นการตัดไม้ ไม่ต้องตัดไม้ ตัดพอแล้ว เอาเลื่อยวางไว้

การประพฤติปฏิบัติต้องอาศัยธรรมะ ถ้าหากว่าพอแล้วไม่ต้องเพิ่มมัน ไม่ต้องถอนมัน ไม่ต้องทำอะไร มันปล่อยวางอยู่อย่างนั้น เป็นไปตามธรรมชาติอันนั้น ถ้าไปยึดมั่นหมายมั่น สงสัยอันนี้เป็นอย่างนั้น มันอยู่ไกลเหลือเกิน อยู่ไกลมากทีเดียว ยังเป็นเด้กๆ อยู่ ยังเป็นเด้กอมมืออยู่นั่นแหละ ทำอะไรไม่ถูกอยู่นั่น ไม่เอาแล้วอย่างนั้น มันเป็นทุกข์ ต้องดู ต้องดูออกจากจิตใจของเรา ดูมัน ปล่อยมัน ดูว่ามันอะไรเกิดขึ้น ก็รู้ว่าอันนี้ไม่แน่ อันนี้เกิดไม่จริง อันนี้มันปลอม ความจริงมันก็อยู่อย่างนั้น ที่เราอยากให้อันนั้นเป็นอันนี้ อันนี้เป็นอันนั้น นั่นไม่ใช่ทาง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ก็วางมันเสีย ความสงบเกิดขึ้นได้ เราข้ามไปข้ามมามันไม่รู้เรื่อง ก็เป็นทุกข์ตลอดเวลา หายสงสัยเสีย อย่าไปสงสัยมัน เลิกมันเถอะ อย่าไปเป็นทุกข์หลาย พอแล้ว ปล่อยวางมันเสีย (หัวเราะ)

smile1หมายเหตุปิดท้าย

การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า "อานาปานสติภาวนา" คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออก ให้กำหนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่นหรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า พยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆ ติดต่อกันไป

อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่าปัญญา การทำอานาปานสติภาวนาจึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญาให้ครบก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอก ประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)