foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra tam tesana header

ถ้าเราทำอย่างนี้ เราจะเห็นว่า หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร เราก็จะเข้าใจว่าอะไรคือการเข้าถึงพุทธศาสนา อะไรคือการเข้าถึงธรรมะเมื่อความชั่วทั้งหลายไม่มีในใจเรา โทษทั้งหลายจึงหมดไป เมื่อโทษทั้งหลายหมดไปความเย็นมันก็เกิดขึ้นมา ใจก็สบาย นั่งอยู่ที่ไหนก็สบาย เดินอยู่ที่ไหนก็สบาย เพราะเรารู้ตัวเราอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นตัวสมาธิแล้ว คือมันสงบ เพราะเรารักษาศีลตัวเดียวเท่านั้นแหละ ให้มันก้าวขึ้นไป มันก็จะเป็นสมาธิเอง กุสะลัสสูปสัมปะทา จิตจะเป็นบุญเป็นกุศลเพราะเราละได้ เมื่อจิตเป็นบุญเป็นกุศล จิตนั้นก็สงบ จิตนั้นก็จะระงับ ถ้าจิตสงบระงับแล้วก็เบิกบานเกิดปัญญา

kobtao fao korbua

มันจะรู้จักละจิตตะปริโยทะปะนัง รู้จักทำจิตของตนให้ผ่องใส อะไรชั่วเราก็ปล่อยไป อะไรผิดเราก็วางไป อะไรๆต่างๆที่เข้ามาก็จะเอามาพิจารณาแล้วก็วางไป ปล่อยไป คล้ายๆกับน้ำในตุ่มนั่นแหละ ถ้าเราเอาขันไปตักออกมาขันหนึ่ง แล้วก็เททิ้ง ตักออกมาขันที่สองแล้วก็เททิ้ง ตักแล้วก็เททิ้งอยู่อย่างนั้น น้ำที่อยู่ในตุ่มมันก็ต้องมีเวลามีโอกาสที่จะแห้งหมดไปได้ เพราะจิตเข้าไปปฏิบัติอย่างนั้น

wave handทีนี้ถ้าหากเรายังไม่เห็นอย่างนั้น มันก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่มแล้วก็ตักออกไป ตักใส่เข้าในตุ่มหนึ่งขัน แล้วก็ตักออกไปหนึ่งขัน ตักเข้าไปเพิ่มหนึ่งขัน แล้วตักออกไปหนึ่งขัน อย่างนี้เรียกว่าบุญๆ บาปๆ ผิดๆถูกๆ ดีๆ ชั่วๆ เราทุกคนทำอย่างนี้ มันถึงเป็นเรื่องยาก เพราะกรรมอันนี้เอง จึงต้องพูดว่า "ฉันนี้มันเป็นเพราะอะไรก็ไม่รู้ บางทีก็สบายๆ บางทีก็เป็นทุกข์ บางทีก็สุข บางทีก็ไม่สบาย ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร?" ทำไมถึงจะไม่รู้ ก็เพราะทำเหตุไว้อย่างนั้น ผลมันจึงออกมาเป็นอย่างนี้บางทีก็ตักออกไปเสีย คือการละบาป บางทีก็ตักเพิ่มเข้ามา คือการทำบาป บางทีก็ละบาปออกไป บางทีก็นำบาปเข้ามา เมื่อนำบาปออกไปมันก็สบาย นำบาปเข้ามามันก็เป็นทุกข์ มันก็เป็นอยู่อย่างนี้

"ฉันไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร บางวันมันก็สบ๊าย สบาย บางครั้งมันก็เป็นทุกข์เป็นร้อน   ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะอะไร?" ทำไมมันถึงจะไม่รู้ นี่แหละคือคนไม่รู้จักการภาวนา มันก็ไม่มีปัญญา

เพราะเราทั้งหลายทำอยู่อย่างนั้น เหตุมันเป็นอย่างนั้น ผลมันจึงเกิดเป็นอย่างนั้น เราเป็นคนไม่มีปัญญา ถ้ามีปัญญาเมื่อเห็นผลอันนี้ขึ้นมาแล้ว เราก็พิจารณาไปถึงเหตุว่ามันเกิดมาจากอะไร มันจึงเป็นอย่างนี้ คือเห็นเหตุมันก็เห็นผล เห็นผลแล้วก็เห็นเหตุ เหมือนคนจับไม้ยาวประมาณ ๒ เมตรขึ้นมาวัดดู โดยใช้มือกำมาจากทางปลายไม้กำมาๆ เรื่อยๆ ไปจนถึงทางด้านต้นไม้ ก็จะรู้ว่าไม้นั้นยาวเท่าไร อีกคนหนึ่งมาจับทางต้นไม้ จับกำมาๆจนถึงทางด้านปลายไม้ ก็จะรู้ว่าไม้นั้นมันสั้นมันยาวเท่ากันนั่นแหละ ต่างกันแต่คนหนึ่งวัดจากต้นไม้ไปหาปลาย อีกคนหนึ่งวัดจากปลายไปหาต้น มันก็ท่อนไม้ท่อนเดียวกันนั่นเอง ความสั้นความยาวมันก็เสมอกันเท่ากันอยู่นั่นแหละอันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเรารู้จักพิจารณาเหตุผล เมื่อเห็นผลมันเกิดขึ้นมาเป็นอย่างนี้ เราก็จะรู้ว่าเพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุมันเป็นอย่างนี้ ผลมันจึงเกิดอย่างนั้น เมื่อเราทำเหตุอย่างนี้ เราก็รู้จักว่าผลมันจะเกิดอย่างไร เราทำเหตุอย่างไร ผลมันก็เกิดอย่างนั้น ผลมันเกิดอย่างไรเหตุมันก็เป็นอย่างนั้นอันนี้เราจะพิสูจน์ด้วย กาลเวลา

ผู้ประพฤติปฏิบัติเมื่อเห็นความรู้แจ้งชัดอย่างนี้ มันก็เบากายสบายใจ รู้แบบที่ว่าเรามองเห็นธรรมะโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องมาทนทุกข์ทรมาน เพราะผลมันชัดแจ้ง ถ้าหากเห็นว่ามันสุขเป็นบางครั้งเป็นบางคราว ก็จะรู้ว่าอย่างนี้มันเป็นไปได้ยังไง เป็นเพราะการกระทำของเรา การกระทำของเรานั่นแหละคือกรรม ถ้าไม่อย่างนั้นก็โยนให้คนโน้นคนนี้มันก็ลำบาก ไม่มีใครยอมรับ ถ้าไม่มีใครยอมรับก็โยนให้กรรมเสีย อย่างเช่นเกิดเป็นโรคขึ้นมา ไปรักษาที่โรงพยาบาล ก็ไม่หายจะไปเอาอะไรกับหมออีก ยาก็หมดแล้วจะทำอย่างไร เราก็คิดเสียว่าโยนให้กรรมเสีย อันเจ้าของกายก็เป็นของสมมติเท่านั้นเอง อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น โยนให้กรรมแล้วมันก็หมดเท่านั้นแหละ มันจะไปตรงไหนล่ะ มันสุดอยู่ตรงนั้น ต้องไปคิดอะไรให้มันมากมาย เรื่องของการปฏิบัติมันจะต้องเป็นดังนี้

lp cha 04

สำหรับการปฏิบัติภาวนาของเราทุกวันนี้ คนเรานั้นมันอยากจะรู้ง่าย อยากเห็นง่าย จึงคิดว่ามันปฏิบัติยาก ที่มันปฏิบัติยาก เพราะเราไม่มีการละ ฉะนั้นการสร้างบุญกุศล การประพฤติปฏิบัตินี้ อาตมาเห็นว่า การทำบุญทำกุศลกันนี้ใครๆ ก็ทำกันได้ และก็ไปทำกันเป็นส่วนมาก แต่ว่าการละบาปนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการทำบุญ แต่คนไม่ค่อยจะเอาใจใส่ ไม่ค่อยจะรู้เรื่องของมัน การละบาป คือการตัดราก การทำบุญ คือการเด็ดยอด เด็ดเอายอดไปใช้ เด็ดเอายอดไปกิน มันก็แตกยอดขึ้นมา แตกใบขึ้นมาอีก แตกขึ้นมาเรื่อยๆ ตราบใดที่รากมันยังอยู่ มันก็ยังได้กินอาหารอยู่ ยังมีอาหารหล่อเลี้ยงอยู่ ยอดมันก็เจริญเติบโตขึ้นมาอีก ก็เด็ดมันอีก ก็โผล่ขึ้นมาอีกอย่างนั้น ความลำบากทั้งหลายมันมีอยู่นี่

ก็เพราะอะไร ก็เพราะว่ารากมันยังอยู่ คือการกระทำบาปมันยังอยู่ ดังนั้นการละบาป และการบำเพ็ญบุญจึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่ท่านกล่าวว่า "การไม่กระทำบาปทั้งปวง" นั่นแหละเป็นหัวใจของพุทธศาสนาแล้ว เมื่อเราละบาปแล้วบำเพ็ญบุญเพิ่มเข้ามาทีละน้อย ก็มีหวังที่บารมีจะเต็มได้ถ้าหากว่าทำบุญแต่ไม่หยุดทำบาป อันนี้ก็ไม่มีเวลาจบ เหมือนกะละมังที่ตั้งหงายอยู่กลางแจ้ง ถึงแม้ฝนจะตกลงมาใส่ทีละหยดๆ มันก็มีโอกาสที่จะเต็มได้ เมื่อเราทำบุญแล้ว เรายังไม่ได้ละบาป

ก็เหมือนกับเราเอากะละมังไปครอบคว่ำไว้กลางแจ้ง ฝนตกลงมาถูกก้นกะละมังเหมือนกัน แต่ว่ามันถูกข้างนอกไม่ได้ถูกข้างใน เมื่อมันถูกข้างนอกน้ำ ก็ไม่มีโอกาสที่จะเต็มในกะละมังนั้นได้ อันนี้เรียกว่า "ทำบุญไม่ละบาป"

cha 14ดังนั้นการละบาปจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อันนี้พระพุทธองค์ท่านก็ตรัสว่า "สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง" การไม่กระทำบาปทั้งปวงนั้นแหละเป็นหัวใจของพุทธศาสนา นั่นเป็นเบื้องต้น ต่อไปๆ มันก็มีเวลาหมด หมดไปเหมือนกับเราเดินไปทีละก้าวๆ หลายๆก้าวเข้า ระยะทางมันก็สั้นเข้ามาๆ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ คือเดินไปก้าวหนึ่งก็ถอยกลับมาก้าวหนึ่ง เดินไปอีกก้าวหนึ่งแล้วก็ถอยกลับมาอีกก้าวหนึ่ง มันก็จะไปไม่พ้นจากศาลาได้ คือเทียบเอาจากศาลานี้ก็ได้ ถึงแม้เราจะก้าวไปอย่างช้าๆ แต่เราก้าวไปเรื่อยๆ เราก็ยังมีโอกาสที่จะพ้นประตูวัดออกไปได้ มันต่างกันอย่างนี้ ฉะนั้นการละบาปนี้ ท่านบอกว่า ไม่ให้กระทำบาป แล้วก็บำเพ็ญบุญปิดช่องมันเสีย เช่น หม้อมันรั่ว ปิดช่องที่มันรั่ว แล้วจึงเทน้ำใส่ กระทะมันรั่วก็อุดรูรั่วมันเสีย แล้วจึงเทน้ำใส่เรียกว่า ก้นกระทะไม่ดี ก้นหม้อไม่ดี การละบาปของเรายังไม่ดีทำบุญลงไปใส่มันก็รั่ว ก้นกระทะ ก้นกระถางไม่ดี เทน้ำใส่ลงไปมันก็รั่วออกไปหมด จะเทใส่ลงไปทั้งวันมันก็ซึมรั่วออกไปทีละน้อย น้ำก็เหือดแห้งหมดไป ไม่สำเร็จประโยชน์สมความต้องการของเราได้

ดังนั้นหัวใจของพุทธศาสนาคือการกระทำอย่างนี้ คือความเป็นจริงอย่างนี้ คือการละบาปอย่างนี้ คือการบำเพ็ญบุญอย่างนี้ อันนี้มีทางจบที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ธรรมสามอย่างนี้คือละบาปกับการบำเพ็ญบุญ การสมาทานศีลนี้ ก็คือการละบาปนั่นเองไม่ใช่อื่นไกลพวกเราทั้งหลายชาววัดหนองป่าพง จะรู้ถึงความจริงแล้วหรือเปล่าก็ไม่รู้

ศีลและอำนาจของศีล สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะโภคะสัมปะทา สีเลนะ แปลว่าโดยปกติ โดยปกติกาย ปกติวาจาปกติใจ ไม่ฝ่าฝืนอะไรต่างๆ เป็นศีลที่ปกติ เป็นศีลเดิม เป็นของเดิมเป็นของเก่า เป็นคำเก่า เป็นของที่ยังสะอาด เป็นของที่ไม่เศร้าหมองเป็นของที่ยังไม่สกปรก เรียกว่า "ปกติ" ของใหม่ๆ มันก็ปกติ คือว่ามันยังไม่เก่า ไม่เสื่อม ไม่ผิด อันนี้ท่านเรียกว่าปกติ ปกติของเดิมของเก่า อย่างน้ำที่ใสสะอาดนี้ เดิมเป็นของปกติ แต่เมื่อนำเอาสีแดงสีเหลืองมาใส่มันก็ผิดปกติ คือความสะอาดกาย สะอาดใจ สะอาดวาจา สะอาดตา เป็นของที่สะอาดอยู่เป็นปกติ ดังนั้นศีลนั้นเป็นปกติคือศีลเดิม อย่างที่เรียกว่าจิตเดิม จิตที่ไม่มีอะไร จิตไม่เป็นอะไร จิตเป็นปกติ คือจิตมันว่างๆ อยู่อย่างนั้น

cha 3เรื่องการรักษาศีลนี้ บางคนก็บ่นว่า จะให้ทานกันสักทีก็หาพระที่จะไปให้ศีลก็ไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร บางทีให้ทานแล้ว ไปหาน้ำที่จะมากรวดอุทิศให้ก็ไม่มี เลยโง่อยู่ตลอดเวลา เลยโง่เรื่องศีล โง่เรื่องทาน โง่จนตาก็บอด หูก็หนวก ขาก็เป๋ทั้งหมด เสียหมดเลย ศีลนี้เป็น "สัมปัตตวิรัติ" อย่างนี้เป็นศีลให้เรารู้จักมัน ที่เราทำกันมาเป็นปีๆ เป็น "สมาทานวิรัติ" ต้องให้พระบอกความจริง คนที่ให้คนอื่นบอกนั้นคือคนไม่รู้จัก ฉันไม่รู้ว่าศีลนั้นน่ะเป็นอย่างไร? พวกดิฉันทั้งหลายนี่ พวกกระผมทั้งหลายนี่จึงได้กล่าวขอขึ้นว่า มะยัง ภันเตติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ...ฯลฯ พวกข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ยังไม่รู้จักอันนี้เลยเป็นข้อวัตรของพระภิกษุ เมื่อบวชเข้ามาและจะต้องกระทำต่อๆ ไป ความเป็นจริงนั้นเป็นสัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยตนเอง เมื่อเรารู้แล้ว เมื่อเรารู้แล้วว่าศีลนั้นมันเป็นอย่างนั้นๆ เมื่อเราต้องการศีลเมื่อไรเราก็มีอยู่แล้ว งดเว้นด้วยตนเองก็ได้ ไม่ต้องมีใครมาบอก นี่คือ สัมปัตตวิรัติ

อย่างเรามาทำกันวันนี้เรียกว่าเป็น "สมาทานวิรัติ" คือเรายังไม่รู้จัก จึงต้องให้พระบอก บอกขนาดนั้นก็ยังไม่รู้จักนะ ต้อง บอกเป็นภาษามคธด้วยนะก็ยังไม่รู้จักอีก บอกแล้วก็ยังไม่รู้จัก นี่ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเป็น "สมุจเฉทวิรัติ" ไม่ต้องสมาทานกับใครไม่ต้องขอกับใคร เพราะมันเป็นของมันเองแล้ว คือมันเป็นของที่ขาวสะอาดแล้ว ไม่ต้องทำสะอาดอีก จะไปทำสะอาดที่ไหนอีกล่ะ ก็เพราะตรงนั้นมันสะอาดแล้วไม่ต้องไปทำสะอาดอีก คือหมายความว่าจิตของพระอริยบุคคล ศีลของพระอริยเจ้าไม่ต้องไปรับไม่ต้องไปส่ง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องขัดอะไรอีก เพราะมันสะอาดอยู่แล้ว เป็นสมุจเฉทคือตัดไปเลย ขึ้นชื่อว่าการกระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงแล้วเราไม่ทำเลยดังนั้นท่านจึงไม่มีเจตนาที่จะไปกระทำบาป เรื่องกระทำบาปเมื่อไรก็ไม่เป็นบาป

อย่างเช่นท่านเดินไป บังเอิญไปเหยียบสัตว์ตาย เหยียบปูตาย เหยียบมดตาย อย่างนี้ตัวท่านก็ไม่เป็นบาป เพราะเจตนาที่จะกระทำบาปนั้นไม่มี มันเป็นไปอย่างนี้ อันนั้นเป็นสมุจเฉทวิรัติ ตัดไปเลย ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว รักษาจิตอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ต้องดูอื่นไกลแล้ว สมมติว่าเกิดมีอะไรขึ้นมาก็มีผู้รับผู้รู้ ใครเป็นคนที่รับรู้? คนที่เป็นผู้รับรู้นั้นเราเรียกว่า "จิต" ของเรา

ความเป็นจริงแล้ว จิตของปุถุชนเรานี้ ก็เป็นจิตที่มีการกำหนดรู้ตัวของตัวเองเหมือนกัน แต่ยังเป็นจิตที่ยังไม่ได้อบรม เป็นจิตที่ยังไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ยังต้องอบรม ต้องประพฤติปฏิบัติอีก

3 ajarnฉะนั้นการภาวนาท่านจึงสอนให้กำหนดพุทโธๆ เพื่อให้เกิดพุทโธ ให้เกิดความรู้ชั้นที่สองขึ้นมาชัดเจนขึ้นไปอีก เมื่อเจ้าของจิตเอาความรู้จากพระบรมครู คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านได้ตรัสรู้แจ้ง รู้แล้วก็ตื่น รู้แล้วก็เบิกบาน ความรู้อันนี้มันจะเกิดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งเหนือกว่าจิตของเรา ความรู้อันนี้ที่มาจากการกำหนดพุทโธๆ นี้ ตัวนี้แหละจะเป็นความรู้แจ้ง รู้เลิศ รู้ประเสริฐ ที่จะแนะนำพร่ำสอนจิตของเรา ซึ่งยังเป็นผู้รู้ที่ยังไม่ได้อบรมนั้น คือเรารู้อย่างไรก็เป็นไปตามอย่างนั้น ตามภาษาบ้านนอกเราเรียกว่า เป็นไปตามอารมณ์ ยายของฉันชอบตามอารมณ์ สามีของฉันชอบตามอารมณ์ ภรรยาของฉันชอบตามอารมณ์ เป็นผู้รู้อยู่แต่ก็ยังหลงอยู่ ผู้รู้คนนี้เรียกว่าผู้รู้ยังไม่ได้อบรม ผู้รู้ยังไม่ได้ฝึก รู้ตัวนี้จะเอาเป็นประมาณไม่ได้

ฉะนั้นจึงนำคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นมาภาวนา คือสมมติ"พุทโธ" ๆ ให้มันรู้ขึ้นไปกว่านี้ รู้ให้มันเหนือ เหนือความรู้สึกอันเดิมนี้เหนือรู้ในจิตอันเดิมนี้ขึ้นไปอีก จนมีอำนาจสูงกว่า สูงกว่าจิตเดิมของเรานี้ จึงจะเป็นเหตุที่ทำให้รู้จิตอันนี้ สั่งสอนจิตอันนี้ ผู้รู้อันเก่านี้ได้อบรมตามที่ท่านสั่งสอนไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงตามดูจิตของตน ใครตามดูจิตของตน

คนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร ก็ใครล่ะ จะไปตามดูจิตของตนน่ะ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" ผู้รู้ผู้ตื่นฉะนั้นเรื่องการฟังธรรมะมันก็ยุ่งยาก ผู้เบิกบาน นี่แหละเป็นผู้ตามดูจิต รู้คนเก่านั้น มันเป็นการรับรู้เฉยๆ รู้ไม่ตื่น รู้ไม่แจ้ง และก็ไม่เบิกบาน ดังนั้นเราจึงน้อมเอาคำสอนนำเอาพระนามของพระพุทธเจ้านี้มากำหนดเป็นอารมณ์ เรียกว่า "พุทโธ ๆ" นี่มันเป็นไปอย่างนี้

สับสน สำหรับพวกเราที่ยังไม่รู้จักตามความเป็นจริง ถ้ารู้จักตามความเป็นจริงแล้ว เราจะนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ต้นไหนก็ได้ฟังธรรมะ ก็เพราะธรรมะนั้นมันอยู่ในใจของเรานี่ เราเก็บความรู้เช่นนี้ พระพุทธเจ้าก็อยู่ในตัวของเราแล้ว เป็นหลักธรรมที่ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจของท่าน พระธรรมอยู่ที่ใจของท่านพระสงฆ์อยู่ที่ใจของท่าน ถ้าเป็นดังนั้นก็เรียกว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงพระรัตนตรัย

คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว คนคนนั้นเมื่อถึงกาลดับสลายวายชนม์ไปแล้ว ก็จะไม่ตกนรก ยืนยันได้ทีเดียวว่าไม่ตกนรก ทำไมจึงไม่ตกนรก? เพราะในเมื่อปัจจุบันนี้ยังไม่ทำให้มันตกนรกแล้ว ใครจะไปตกนรกที่ไหนเมื่อไรอีกล่ะ ในเมื่อปัจจุบันนี้เรายังทำผิดไม่ได้ ทำไมมันจะผิดได้อีกล่ะ ที่ตกนรกก็เพราะไปทำความผิด สัตว์ตกนรกก็คือคนเป็นทุกข์ คนผู้ทำผิดนั้นคือสัตว์นรก นี่เราเห็นกันง่ายๆ อย่างนี้ เห็นในปัจจุบันแล้วมันก็เห็นอนาคตด้วย นี่เรียกว่าเหตุมันมีอยู่ตรงนี้

 lp cha 07

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)