foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pook siew header

ผูกเสี่ยว

ผูกเสี่ยว เป็นประเพณีเก่าแก่และสำคัญของชาวอีสาน โดยพ่อแม่จะนำลูกหลานที่รักกันมาผูกแขนป็นเพื่อนกัน คำว่า "เสี่ยว" ในภาษาอีสานมีความหมายว่า "เพื่อนรัก หรือ เพื่อนตาย" ประดุจมีชีวิตเดียวกัน จึงต้องมีความซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน มีความผูกพันกันด้านจิตใจอย่างจริงจังและเต็มใจ ไม่มีสิ่งใดจะมาพรากจากกันได้แม้แต่ความตาย ในพิธีผูกเสี่ยวจะมีผู้อาวุโสที่เป็นที่เคารพนับถือมาเป็นสักขีพยาน หลังผู้ทำพิธีกล่าวคำว่า "สักเค" ให้จองเกลอ (คู่ที่ผูกเสี่ยว) กล่าวคำสาบานโดยมีความหมายว่า "เราทั้งสองมาสาบานต่อกันว่าจะซื่อสัตย์ต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ถ้าใครคิดคดทรยศต่อกันขอให้คนนั้นต้องมีอันเป็นไป" จากนั้นจะดื่มน้ำสาบานต่อหน้าผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส ผู้ประกอบพิธีก็ผูกข้อมือให้แก่คู่จองเกลอก็เป็นอันเสร็จพิธี

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เป็นประเพณีเก่าแก่และเป็นภูมิปัญญาที่ทำให้สังคมของชาวอีสานเข้มแข็ง เป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเสี่ยวหรือเพื่อนรักเพื่อนตาย และเครือญาติของทั้งสองฝ่าย

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม การมีเพื่อนตายที่มีความรัก ความจริงใจ ความเข้าใจต่อกันเป็นอย่างดี

ประเพณีผูกเสี่ยว

pook siew 02ประเพณีผูกเสี่ยว เป็นประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาว การผูกเสี่ยว คือ การสัญญาที่จะเป็นเพื่อนรัก ร่วมเป็นร่วมตาย โดยมีสักขีพยาน การผูกเสี่ยวนิยมกระทำระหว่างชายกับชาย หรือหญิงกับหญิงที่วัยใกล้เคียงกัน และลักษณะนิสัยใจคอที่คล้ายคลึงกัน โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่จะเป็นผู้ทาบทาม ขอผูกเสี่ยวกัน เรียกว่า "แฮกเสี่ยว" เมื่อตกลงก็จะผูกเสี่ยวโดยใช้ฝ้ายมงคล ผูกข้อมือของแต่ละคนเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่คู่เสี่ยว บางแห่งก่อนจะผูกเสี่ยวจะจัดพิธีสู่ขวัญ ให้ศีล ให้พร อบรมสั่งสอนให้แก่คู่เสี่ยวฮักนับถือกัน ตลอดถึงพ่อแม่ พี่น้อง และวงศาคณาญาติของกันและกัน ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันตลอดไป ตอนนี้เรียกว่า "ขอดเสี่ยว" หลังจากนั้นก็จะมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารกันตามสมควรแก่ฐานะ

เสี่ยว หมายถึง สหาย, มิตร, เพื่อน, เกลอ (friend, buddy, comrade.) คนที่มีรูปร่างหรือ นิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียกว่า "ผูกเสี่ยว" ซึ่งเขาทั้งสองจะผูกสมัครรักใคร่ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลจนวันตาย หรือจะเรียกว่า "เป็นเพื่อนตาย" ก็ยังได้

เสี่ยว น. สหาย มิตร เพื่อน เกลอ คนที่มีรูปร่างหรือนิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียก เสี่ยว อย่างว่า โขโนเจ้าพรานสวงสองเสี่ยว (กาไก). friend, buddy, comrade. "

สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง

คำว่า "บักเสี่ยว" ที่คนในภาคอื่นๆ นำมาใช้เรียกคนอีสานอย่างดูถูกดูแคลน (ในความหมาย ไม่เป็นท่า เด๋อๆ ด๋าๆ) จึงไม่ถูกต้อง เพราะ คำว่า "บัก" เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกัน หรือต่ำกว่ากันว่า บักสี บักสา บักมี บักมา (นายสี, นายสา, นายมี, นายมา) ถือเป็นคำพูดพื้นๆ ไม่หยาบคายแต่อย่างใด คำว่า "บักสี่ยว" จึงหมายถึงการเรียกว่า ไอ้เพื่อนเกลอ เท่านั้นเอง

pook siew 04

มูลเหตุของพิธีกรรมผูกเสี่ยว

ความเป็นมาของประเพณีผูกเสี่ยวไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า การผูกเสี่ยวเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อใด จากหลักฐานที่ปรากฎพอจะสืบค้นหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับผูกเสี่ยวมีอยู่ 2 ทาง คือ

1. ด้านวรรณคดี พบข้อความในวรรณคดีอีสานกล่าวถึงคำ "เสี่ยว" อยู่หลายแห่ง เช่น

อันว่าบิดาพระพ่อพญาภายพุ้น ฮ้อยว่าจักไปหาเจ้าสหายแพงเป็นเสี่ยว"
                                                                                          (พระลักพระลาม)

สั่งเล่ามาล่วงม้างพญากล้าพ่อพระองค์กุมพลเจ้าสุริวงเป็นเสี่ยว"
                                                                                           (สุริยวง)

2. ด้านประวัติศาสตร์ อาจารย์จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้กล่าวไว้ว่า

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้มีการสำรวจประชาชนไทยที่มี วัน เดือน ปี เกิดตรงกับวันพระราชสมภพ เพื่อขึ้นบัญชีเป็น "สหชาติ" โดยเฉพาะรัชกาลที่ 7 นั้น ได้พระราชทานเหรียญมงคลเป็นที่ระลึกแก่ "สหชาติ" คือเพื่อนร่วมวันเกิดด้วย"

ในพงศาวดารล้านนาไทย ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนงำเมือง ได้จัดให้มีพิธีกรรมปฏิญาณตนเป็น "สหาย" หรือ "เสี่ยว" กัน โดยกรีดเลือดลงในจอกสุรา แล้วทรงดื่มเลือดของกันและกัน พร้อมกับกราบไหว้เทพาอารักษ์ให้เป็นพยาน จึงนับเป็นหลักฐานสำคัญของการผูกเสี่ยว

ฟ้อนผูกเสี่ยว สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

pook siew 01

พิธีกรรม การผูกเสี่ยวทำให้เกิดมิตรภาพต่อเนื่องกันยาวนาน และไม่ขาดสาย ในหมู่บ้านต่างๆ อาจมีวิธีผูกเสี่ยวแตกต่างกันออกไป แต่มีจุดประสงค์ตรงกันคือ "มิตรภาพที่ยั่งยืน" วิธีผูกเสี่ยวประมวลได้ 5 ลักษณะ คือ

  • แบบที่ 1 เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้ว ประธานในพิธีจะนำ "มีดสะนาก" (มีดหนีบหมาก หรือหนีบสีเสียด) มาตั้งไว้กลางขันหมาก โดยถือเอามีดสะนากเป็นหลัก และเปรียบเทียบให้เห็นว่า มีดจะใช้ประโยชน์ได้ต้องมี 2 ขา และจะต้องติดกัน เหมือนคนเราจะมีชีวิตปลอดภัยต้องมีมิตรเป็นมิตรในทุกแห่ง คนจะต้องมีเพื่อนคอยช่วยเหลือกันและกันเหมือนมีดสะนาก จะอยู่คนเดียวโดดเดี่ยวไม่ได้ แล้วทำพิธีผูกแขนให้แก่คู่เสี่ยว
  • แบบที่ 2 เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้ว ก่อนจะผูกเสี่ยวผู้เป็นประธานจะนำ เกลือ พริก มาวางไว้ต่อหน้าในพิธี โดยให้เกลือกับพริกเป็นตัวเปรียบเทียบ เกลือมีคุณสมบัติไม่จืดจาง พริกเผ็ดไม่เลือกที่ เสี่ยวจะต้องมีลักษณะรักษาคุณสมบัติคือ รักกันให้ตลอดไปเหมือนเกลือรักษาความเค็ม พริกรักษาความเผ็ด แล้วก็ทำพิธีผูกแขนให้คู่เสี่ยว
  • แบบที่ 3 แบบง่ายๆ คือ เมื่อคู่เสี่ยวพร้อมแล้ว ผู้เป็นประธานก็จะผูกแขนให้คู่เสี่ยว และอวยชัยให้พร ใช้คำพูดเป็นหลักในการโน้มน้าวให้คู่เสี่ยวรักกันและกันตลอดไป
  • แบบที่ 4 เป็นแบบที่มีการจองคู่เสี่ยวไว้ก่อน หรือพิจารณาดูเด็กที่รักกันไปด้วยกัน ทั้งๆ ที่เด็กไม่รู้ว่าเป็นคู่เสี่ยวกัน แล้วนำเด็กมาผูกเสี่ยวกันโดยการเห็นเห็นดีเห็นงามของผู้ใหญ่ ประธานในพิธีจะนำฝ้ายผูกแขนมาผูกให้คู่เสี่ยว ต่อหน้าบิดามารดาของทั้งคู่ให้รับรู้ความรักของเด็กทั้งสอง
  • แบบที่ 5 เป็นพิธีผูกเสี่ยวแบบผู้ใหญ่ คือ ผูใหญ่ที่รักกันมาแต่เด็ก หรือมาชอบพอกันเมื่อโตแล้ว มีใจตรงกันจะผูกเสี่ยว ก็ขอให้ผู้หลักผู้ใหญ่ผูกแขนให้เป็นเสี่ยวกัน หรือผูกแขนในพิธีผูกเสี่ยวที่จัดขึ้นเป็นกิจลักษณะก็ได้

อุปกรณ์ที่สำคัญมี พานบายศรี อาจเป็นบายศรี 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น และมีเครื่องประกอบภายในพานอีกหลายอย่าง คือ สุรา 1 ขวด ไข่ไก่ต้ม 1 ฟอง ข้าวต้มมัด 4 ห่อ กล้วยสุก 4 ผล ข้าวเหนียวนึ่ง 1 ปั้น ใบพืชที่เป็นมงคล เช่น ใบคูน ใบเงิน ใบทอง ใบยอ ดอกรัก และที่ขาดไม่ได้คือ ฝ้ายผูกแขน

เชิญแขกมงคลมาร่วมพิธี คู่เสี่ยว นั่งล้อมพานบายศรี หมอพราหมณ์เริ่มพิธีด้วยการจุดเทียนที่พานบายศรี อัญเชิญเทวดาลงมาเป็นสักขีพยาน กล่าวถึงงานบายศรีสู่ขวัญเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส มีบุตรใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ การเลื่อนยศ การผูกเสี่ยว การบวชนาค ฯลฯ แล้วกล่าวคำอัญเชิญขวัญตามโอกาส เมื่อถึงบทเชิญขวัญ ผู้ร่วมพิธีจะตะโกนเรียกขวัญของผู้ร่วมพิธีให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวว่า "มาเยอขวัญเยอ มาเยอขวัญเอย"

สู่ขวัญจบแล้ว หมอพราหมณ์และแขกจะนำด้ายมงคลผูกข้อมือของคู่เสี่ยว พร้อมทั้งให้ศีลให้พร ให้รักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต่อจากนั้นคู่เสี่ยวก็จะผูกข้อมือซึ่งกันและกัน เป็นอันเสร็จพิธี

ประโยชน์ของการผูกเสี่ยว

การผูกเสี่ยว เป็นการสร้างความเป็นเพื่อน สร้างความรัก ความผูกพัน ความนับถือกันให้เกิดขึ้นในหมู่ชน ความรักความผูกพันดังกล่าวไม่จำกัดอยู่เฉพาะผู้เป็นเสี่ยวกันเท่านั้น แต่แผ่กระจายไปถึงพ่อ-แม่ ญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายด้วย

pook siew 03

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา "พิธีผูกเสี่ยว" ได้ถูกกำหนดให้มีขึ้นในงาน "เทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว แะงานกาชาด" ของจังหวัดขอนแก่น จนถึงปัจจุบัน

ประเพณีผูกเสี่ยว วัฒนธรรมอีสาน

นิทานกลอนลำ (ลำเพลิน) ตอน ผูกเสี่ยว

เรื่องราวอีสานที่น่ารู้ : อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)