foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pin 01

พิณ ซุง ซึง : กีตาร์แบบฅนอีสาน

พิณพื้นเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ทางจังหวัดอุบลราชธานี เรียกพิณว่า "ซุง" น่าจะเรียกมาจากท่อนไม้ที่นำมาทำ ทางจังหวัดชัยภูมิเรียกว่า "เต่ง" หรือ "อีเต่ง" หนองคายเรียกว่า "ขยับปี่" นอกจากนั้นยังมีเรียกแตกต่างออกไปอีก เช่น ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน (ไม้บักมี่) เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน การขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้น (Fret) ที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่า ลาย โดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน

pinลักษณะของพิณอีสาน

พิณอีสาน มีส่วนประกอบหลักๆ 7 ส่วนดังนี้

  1. ตัวพิณ หรือเต้าพิณ ส่วนใหญ่ทำจากไม้ที่มีน้ำหนักเบา เนื้อไม้ที่นิยมกันมากคือ ไม้ขนุน (ไม้บักมี่) เพราะให้เสียงที่ทุ้มกังวาน มีน้ำหนักเบา ถ้าเป็นแก่นที่นำมาจากต้นที่มีอายุมากจะให้สีสัน เมื่อเคลือบด้วยแชลแลคหรือยูรีเทนแล้วสวยงามดี ไม้ที่นำมาทำเต้าพิณจะขุดให้เป็นโพรงเพื่อให้เกิดการก้องกังวาลของเสียง เสียงที่ได้จากพิณขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาผลิต เต้าพิณที่มีขนาดใหญ่และลึกจะมีเสียงดังกว่าเต้าพิณที่มีขนาดเล็กและตื้น
  2. คอพิณ ทำจากไม้เนื้อแข็ง เหลาผิวให้เกลี้ยง คล้ายกับคอของกีตาร์ ส่วนต้นต่อเข้ากับตัวเต้าพิณ ตกแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน (หากได้ไม้ที่เหมาะสม อาจทำเต้าพิณและคอพิณเป็นชิ้นเดียวกันตลอดได้) ส่วนปลายทำเป็นร่องสำหรับใส่ลูกบิดขึ้นสาย
  3. pin 03ขั้นแบ่งเสียง ทำจากซี่ไม้ไผ่แบนๆ หันด้านติว (ด้านผิว) ขึ้นรองรับสาย ยึดติดกับคอพิณด้วย ขี้สูด (เป็นขี้ผึ้งเหนียวสีดำ ได้จากรังของผึ้งป่าตัวเล็กๆ สีดำ มีปลายปีกสีขาว ทำรังในโพรงไม้ใต้ดิน รังผึ้งชนิดนี้มีน้ำหวานน้อยมาก แต่มีประโยชน์ในการทำแคนและทำโหวดมาก เพราะเหนียวไม่ติดมือและไม่แห้งกรอบแม้จะใช้เวลาสิบๆ ปีก็ตาม)
  4. pin 04หย่อง ทำจากซีกไม้ไผ่เหลาให้แบน มีติวด้านหนึ่ง แต่งรูปให้โค้งนิดหน่อยและปาดความสูงให้พอเหมาะกับการพาดสาย ติดให้ห่างจากระดับคอพอที่ที่จะกดนิ้วได้สะดวก
  5. ลูกบิดขึ้นสาย ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ ปัจจุบันมีการนำเอาลูกบิดขึ้นสายของกีตาร์มาใช้แทน เพราะสะดวกในการขึ้นสายและปรับแต่งเสียงมากกว่า
  6. สายพิณ ทำจากลวดเส้นเล็กๆ แต่แข็ง เช่น สายเบรกจักรยาน สายคลัชรถยนต์ หรือลวดสลิงอ่อน ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์เหล็กมาทำแทน ตามขนาดดังนี้
    • สายที่ 1 ขนาด 009
    • สายที่ 2 ขนาด 011 หรือ 012
    • สายที่ 3 ขนาด 0016
    • สายที่ 4 ขนาด 022 หรือ 024 (เฉพาะพิณ 4 สาย)
  7. ปิ๊ก หรือ ที่ดีดสายพิณ แต่ก่อนทำจากเขาควาย ปัจจุบันหายาก จึงใช้ขวดน้ำพลาสติกแทน โดยนำมาตัดตกแต่งให้เหมาะมือ มีปลายด้านหนึ่งแหลมมนและอ่อน มีสปริงใช้สำหรับดีด (เพราะสายเบรกจักรยานจะแข็งมากๆ) เมื่อพัฒนามาใช้สายกีตาร์แทนก็เลยนำเอาปิ๊กดีดกีตาร์มาแทนด้วยเสียเลย

การขึ้นสายของพิณอีสาน

พิณอีสานนั้นมีทั้งแบบพิณ 2 สาย 3 สาย และ 4 สาย

  • พิณ 2 สาย
    • สาย 1 เป็นสายเอก ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง มี
    • สาย 2 เป็นสายทุ้ม ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง ลา
  • พิณ 3 สาย
    • สาย 1 เป็นสายเอก ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง มี
    • สาย 2 เป็นสายทุ้ม ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง ลา
    • สาย 3 จะขึ้นสายเป็นเสียงประสาน
  • พิณ 4 สาย
    • สองสายล่าง เป็นเสียง โด เป็นเสียงคู่แปด (สายแรก โดต่ำ สายสอง โดสูง)
    • สองสายบน ขึ้นเสียงเป็น ซอล เป็นเสียงคู่แปด (สายสอง ซอลต่ำ สายหนึ่ง ซอลสูง)

การติดขั้นแบ่งเสียงของพิณอีสาน

การติดขั้นแบ่งเสียงลงบนคอพิณ ทำได้หลายสเกล (Scale หมายถึง ขั้นของเสียง) ตามแต่ชนิดของเพลงที่จะใช้พิณบรรเลง เพราะขั้นของพิณนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากการใช้ขี้สูดติด ขั้นแบ่งเสียงเข้ากับคอพิณ แต่ส่วนใหญ่นักดนตรีอีสาน จะแบ่งสเกลเสียง โด เร มี ซอล ลา เป็นพื้นฐาน เพราะเพลงที่เล่นมักจะเป็นเพลงที่มาจากลายแคนเป็นส่วนใหญ่ มีช่างทำพิณหลายคนแบ่งสเกลเสียงตามแบบไมเนอร์อยู่บ้าง คือ ในชั้นเสียงที่ 3 และ 6 เป็นครึ่งเสียง นอกนั้นเต็มเสียง และเนื่องจากเครื่องดนตรีตะวันตกจำพวก 'กีตาร์' เข้ามาได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีรุ่นใหม่ นักดนตรีเหล่านั้นปรับปรุงการแบ่งสเกลเสียงของพิณให้เหมือนสเกลของกีตาร์ไปเลย ก็ย่อมได้เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้เหมาะกับการเล่นร่วมกับเพลงสากล

 pin sum
พิณอีสานหลังจากผ่านระยะเวลามาเนิ่นนานรูปแบบก็พัฒนาไปจากเดิมอย่างนี้
พิณทั้งหมดนี้เป็นผลงานของศิลปินพื้นบ้าน : นายสงวน ทรัพย์เตี้ย
95 หมู่ 2 บ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

วิธีดีดพิณอีสาน

  1. มือซ้ายคุมคอซอง ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กดเสียงที่ต้องการตามลายพิณและการแบ่งเสียงตามแบบต่างๆ นิ้วโป้งออกแรงกดรับกับนิ้วทั้ง 4
  2. มือขวาดีดสายตรงลำโพงเสียง อาจดีดด้วยนิ้วโป้งหรือใช้ปิ๊กดีดก็ได้ เวลาดีดสาย 1 และสาย 2 เพื่อเล่นทำนอง ให้ดีดสาย 3 เป็นเสียงประสานด้วย ซึ่งเสียงของสาย 3 นี้ จะทำหน้าที่เหมือนกับการเคาะลูกเสิบของโปงลางหรือลูกติดสูดของแคน คือทำหน้าที่เป็นเสียงประสานไปตลอดเพลง

pin 02ลายพิณอีสาน

คำว่า ลาย หมายถึง ท่วงทำนองเพลงที่ใช้เป่า หรือบรรเลง ด้วยเครื่องดนตรีอีสาน ซึ่ง ลาย ก็คือ เพลง นั่นเอง เพลงที่ใช้กับ พิณ เป็นเพลงที่มาจากลายแคน มีหลายลาย เช่น ลายใหญ่ ลายน้อย ลายลำเพลิน ลายนกไทรบินข้ามทุ่ง ลายแมลงภู่ตอมดอก ลายลมพัดไผ่ ลายกาเต้นก้อน ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายไล่งัวขึ้นภู ลายโป้ซ้าย ภูไทเลาะตูบ เต้ยหัวดอนตาล ลายสร้อยสีกซิ่น เซิ้งขิก มโนราห์ ศรีโคตบูรณ์ สังข์ศิลป์ชัย ลมพัดพร้าว เซิ้งกลองยาว ทองสร้อย เป็นต้น

เพื่อให้ท่านได้รับฟังความงาม ของลายพิณอีสาน จึงได้นำเอาตัวอย่างของลายพิณที่ดีดโดยศิลปินพื้นบ้าน มาทำเป็นไฟล์ MP3 ให้ท่านดาวน์โหลดไปฟัง ต้องขออภัยในคุณภาพเสียงครับ เพราะเป็นแค่ระบบโมโนเท่านั้น แต่ก็ชัดเจนพอควรครับ บันทึกจากคาสเซ็ทธรรมดา ณ ลานบ้าน (ไม่มีห้องอัดครับ) เลือกเอาที่โหลดได้นะครับ

การประยุกต์ใช้

พิณใช้เล่นกับวงซอ โปงลาง แคน หมอลำ กลองยาว และจะมีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กลอง กรับ ฉิ่ง ฉาบและไหซอง เป็นต้น

 

รายการ แทนคุณแผ่นดิน ตอน มือพิณถิ่นอีสาน #1

next green อ่านต่อ ตอนที่ 2

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)