foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon tamnong lam header

3diamondการฟ้อนตังหวาย

การฟ้อนตังหวาย ฟ้อนตังหวายนั่นมีที่มาอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่

fon tang wai2.1 ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีความเชื่อและยึดมั่นในการนับถือเทวดาฟ้าดิน ภูติผีวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวก งูใหญ่ หนองน้ำใหญ่ เป็นต้น และเข้าใจว่า สิ่งที่ตนให้ความนับถือนั้นสามารถจะบันดาลให้เกิดผลสำเร็จ หรือเมื่อเกิดอะไรที่ผิดจากธรรมดาขึ้นมาก็เข้าใจว่า สิ่งที่ตนนับถือโกรธจึงบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น

จึงจัดให้มีการบวงสรวงบูชา หรือจัดให้มีพิธีขอขมาขึ้นมาเพื่อขอให้มีโชคลาภ โดยมีหัวหน้าเป็นผู้บอกกล่าวกับสิ่งนั้นโดยผ่านล่ามเป็นผู้บอกขอขมา มีการฆ่าสัตว์ ไก่ หมู วัว ควาย และสิ่งอื่นๆ ตามกำหนดเพื่อนำมาบูชาเทพเจ้าหรือเจ้าที่เจ้าทางที่ตนเองนับถือ เท่านั้นยังไม่พอได้มีการตั้งถวาย ฟ้อนรำถวายเป็นการเซ่นสังเวย

พอถึงฤดูกาลชาวบ้านต่างจะนำเอาอาหารมาถวายเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยถือว่าปีใด "ขนไก่ ไม่ตก ขนนก ไม่หล่น" ก็ถือว่าปีนั้นดี เทวดาจะให้ความคุ้มครอง จะต้องมีการจัดฉลองใหญ่โดยมีการ "ตั้งถวาย ฟ้อนรำถวาย" แต่ต่อมาคำว่า "ตั้งถวายฟ้อนถวาย" คำนี้ได้สึกกร่อนไปตามความนิยมเหลือเพียงคำสั้นๆ ว่า "ตั้งหวาย" หรือ "ตังหวาย"

2.2 ฟ้อนตังหวายกับลำตังหวาย ลำตังหวายเป็นทำนองลำของหมอลำในแคว้นสวันนะเขต คำว่า ตังหวาย น่าจะมาจากคำว่า "ตั่งหวาย" ซึ่งในสูจิบัตรการแสดงศิลปวัฒนธรรม ของคณะศิลปินและกายกรรมแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ใช้คำว่า "ขับลำตั่งหวาย" คำว่า "ตั่งหวาย" ถ้าพิจารณาตามความหมายของคำแล้ว คำว่า "ตั่ง" หมายถึงที่สำหรับนั่งไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น "ตั่งหวาย" น่าจะหมายถึง ที่นั่งที่ทำมาจากหวาย

จึงสันนิษฐานว่า การลำตั่งหวาย เป็นทำนองลำที่นิยมลำของหมอลำ ในหมู่บ้านที่มีอาชีพผลิตตั่งหวายออกจำหน่าย แต่เมื่อทำนองลำนี้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย จึงกลายมาเป็น "ลำตังหวาย" ลำตังหวายเป็นทำนองลำที่มีความเร้าใจ สนุกสนาน และมีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะของกลอนลำ จะมีการยกย่องทั้งฝ่ายชายและหญิง กลอนลำมีลักษณะโต้ตอบกัน จะมีคำสร้อยลงท้าย เช่นคำว่า หนาคิงกลม คนงามเอย ซำบายดี และคำขึ้นต้นว่า ชายเอย นางเอย

font tang wai 3

การฟ้อนที่อ่อนช้อยของตังหวายนี้ นายประดิษฐ์ แก้วชิณ ได้พบเห็นการแสดงที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่ามีลีลาการแสดงอ่อนช้อยงดงาม น่าจะฟื้นฟูจึงได้นำมาทดลองฝึกให้เด็กรำ เห็นว่าเหมาะสมดี จึงได้นำชุดฟ้อนนี้ออกแสดงในงานปีใหม่ ที่ทุ่งศรีเมือง ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมา อาจารย์ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในปัจจุบัน) นำต้นแบบมาดัดแปลงท่ารำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แล้ววงโปงลางวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ได้นำออกมาแสดง จนเป็นที่นิยมและเป็นเอกลักษณ์ของวงมาจนบัดนี้

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนเครื่องแต่งกายนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ

  1. สวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้าถุงมัดหมี่คาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวย ใช้ฝ้ายสีขาวมัดผมคล้ายอุบะ
  2. ใช้ผ้าแพรวารัดอกทิ้งชายทั้งสองข้าง นุ่งผ้าถุงมัดหมี่ยาวครึ่งแข้ง เกล้าผมมวยใช้ผ้ามัดหรือใช้ดอกไม้ประดับรอบมวยผม

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (โปงลาง) ทำนองลำตังหวาย

ฟ้อนตังหวาย

ลำตังหวาย

            โอ.... วาสนาอีน้องน้อย (บ่คอยได้ ฮ่วยพี่ชาย) ออ.... เอ้ย
        ตังหวายนี้มีมาแต่โบราณ
ของเขาดีมีไว้อย่าทำลาย
       เขมราฐอำเภอถิ่นบ้านเกิด
ท่าร่ายรำต่างๆ ช่วยเพิ่มพูน
        บัดนี้ข้าจักยอนนอแม้นมือน้อม
ถวายให้ดอกผู้อยู่เทิง
        ชายเอย จุดประสงค์นอแม่นหมายแม้ง
ตั้งแต่ครั้งโบราณผู้ให้เฟื่องฟู
        คำนางปูเป็นทางนอเพื่อเดินแต้ม
แม่นพวกพ้องนำมาร้องออกโฆษณา
ชาวอีสานบำรุงไว้อย่าให้หาย
ขอพี่น้องทั้งหลายจงได้ชม
ช่วยกันเถิดรักษาไว้อย่าให้สูญ
อย่าให้สูญเสียศิลปะเรา
ธุลีกรนอแม้นก้มกราบ ชูสลอนนอแม้นนบนิ้ว
หล้าพี่คนงามนี่นา หนาคิงกลม
เพื่อเผยศิลปนอแม้นพื้นบ้านเก่าของไทยเฮา
อ้ายพี่ ของน้องนี่นา หนาคิงกลม
ทางอีสานบ่ให้หลุดหล่น นอเฮานอ
เหล่าพี่คนงามนี่เอย หนาคิงกลม
        ชายเอย คันจบๆ หนอแม่นจั่งน้อง
กินข้าว หัวมองนอแม่นนำไก่
บ่ายปลา ท้ายล่ามคนงามนี่นา
        ชายเอย คิดเห็นคราวนอแม่นเฮาเว้า
แม่สิย้อนนอแม่นไม่แส้ ดีน้องนั่นแต่ผู้เดียวๆ ๆ
        นางเอย ไปบ่เมือนอแม่นนำอ้าย
ค่าเฮียอ้ายนี่บ่ให้จ้าง
เอราวัณหนอให้น้องขี่
ให้นางน้องออกแม่นขี่เมือ
        ชายเอย ย้านบ่จริงนอแม่นจั่งว่า
ดำนาแล้วตอกเหยียบใส่ตมๆ ๆ
        บัดนี้ขอส่งพระ สะละแม่นไปให้
ทั้งชายแดนและตำรวจน้ำ
ขอให้สุขนอแม่นถ้วนหน้าประชาทุกคืนวัน
งามๆ หนอแม่นจั่งน้อง สังบ่ไปนอแม่น
คันขี้ล่ายเด๊อแม่นจั่งอ้าย กินข้าวดอกแม่น
หนาคิงกลม
ในเถียงนาคันบ่มีฟ้า แม่สิลากนอแม้นไม้ค้อน
บุญน้องนั่นบ่สมอ้ายนา หนาคิงกลม
เมือนำนอแม่นอ้ายบ่ ค่ารถนี่บ่ให้เสีย
อ้ายสิกลายนอแม่นเป็นช้าง
กลายเป็นรถนอแม่นแท็กซี่
ชู้พี่คนงามนี่เอย หนองหมาว้อ
สีชมพูเจ้าจึงว่า ย้านเป็นตอกนอแม่นมัดกล้า
อ้ายพี่ น้องบ่ลืมอ้ายนา หนองหมาว้อ
ทหารไทยคันผู้กล้าแก่น
อ.ส.กล้าคันจงเจริญ สรรเสริญภิญโญเจ้านอ
(หล่าพี่, อ้ายพี่) คนงามน้องนี่นา ซำบายดี
        เอ้าลาลาลาที ขอให้โชคดีเถิดนะแฟนจ๋า
ถ้าหากสนใจละหนูขอขอบคุณ คันไกลคันไกลกันแล้ว
จากต้น ผู้จากต้น ผู้จากต้น บ่ได้แม่กลิ่นหอม
ดินของขอลาไปแล้ว (ซ้ำ) เจ้าไปแล้ว
เสียงจากลูกทุ่งบ้านนา โชคดีเถิดหนาลองฟังกันใหม่
เรือแจวมันไกลจากฝั่ง ดอกสะมัน มันไกลผู้จากต้น
นั่นละหนานวลนา ละนาพี่นวลนา หางตาผู้ลักท่าลา

รำตังหวาย บ้านเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

อ่านเพิ่มเติม : ลำตังหวาย วัฒนธรรมสองฝั่งโขง newgreen1

3diamondฟ้อนสาละวัน

fon salawanฟ้อนสาละวัน เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยทาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน) การฟ้อนชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ อาจารย์เฉลิมชัย ชนไพโรจน์ และอาจารย์วาสนา ต้นสารี ได้เดินทางไปเยี่ยมศูนย์ลาวอพยพ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาทำนองลำชนิดต่างๆ ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และการไปครั้งนี้ก็ได้พบกับหมอลำที่มีชื่อเสียงของลาวคือ หมอลำบัวผัน แก้ววิเศษ และหมอแคนเข็มพร แก้ววิเศษ ซึ่งหมอลำบัวผันได้ลำเพลงพื้นเมืองทำนองต่างๆ พบว่ามีทำนองลำพื้นเมืองหลายทำนอง เช่น ลำมหาชัย ลำผู้ไท ลำสาละวัน ลำคอนสวัน ลำบ้านซอก ซึ่งในทำนองลำแต่ละทำนอง ก็จะมีลีลา ท่วงทำนองแตกต่างกันออกไป

ในปี พ.ศ. 2525 ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ พร้อมนิสิตชมรมดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมือง จึงร่วมกันประดิษฐ์ท่าฟ้อนประกอบการลำสาละวัน ซึ่งมีท่วงทำนองที่เร้าใจ เนื้อหาของลำสาละวันนั้น นอกจากจะสะท้อนให้เห็นการเกี้ยวพาราสีของชายหญิงแล้ว โวหารเปรียบเทียบที่ใช้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความงามของภาษา ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และศึกษาต่อไปยิ่งนัก การฟ้อนสาละวันนับเป็นการฟ้อนตีบทตามกลอนลำสาละวัน คำว่า "สาละวัน" คงได้ชื่อมาจากแหล่งกำเนิดและนิยมขับร้องทำนองพื้นเมืองชนิดนี้ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในแถบเมืองสาละวัน จึงได้ชื่อว่า "ลำสาละวัน"

เครื่องแต่งกาย ผู้หญิงแต่งชุดผ้าฝ้ายพื้นเมือง เสื้อแขนกระบอกสีขาวขลิบสีชมพู ผ้าถุงมัดหมี่ฝ้ายสีดำ เก็บชายเสื้อห่มสไบผ้าขิดสีชมพู คาดเอวด้วยสายเข็มขัดเงิน ผมเกล้ามวยสูง ผูกผ้าสีชมพูสด ผู้ชายแต่งผ้าฝ้ายล้วน เสื้อสีนวลคอกลม แขนสั้น กางเกงขาก๊วยสีเขียวสด คาดเอวด้วยผ้าขาวม้าไหม โพกผ้าด้วยผ้าขิดสีชมพู ลวดลายเหมือนกับผ้าสไบของฝ่ายหยิง สวมสร้อยคอเงินหรือใช้ฝ้ายคล้องคอ

fon salawan 2

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองลำสาละวัน

ฟ้อนสาละวัน

ลำสาละวัน

1. โอ...... โอละเดอชายเอย แต่บาดสิบปีล้ำ ซาวปีล้ำ มาเห็นกันเทื่อหนึ่ง เดออ้ายเอย ชายเอย
            พอแต่เข้าขึ้นเล้ามาพ้อเทื่อสองอ้ายเอย... คีงบางเอย
            โอยเด..... คันแม่นแฟนเพิ่นแล้วนางขอติตั้งแต่ผ่าน เดอ
            โอนอ..... คันแม่นซู้ต่างบ้าน นางขอต้านตั้งแต่ละความอ้ายเอย.... คีงบางเอย

2. โอ...... โอนอ ชายเอย พอแต่เหลียวเห็นหน้าขาวมายิ้มป่อยหล่อยแท้นอ
            โอ เด .... คันบ่ให้น้องน้อยนำอ้ายบ่แม่นคนอ้ายเอย คีงบางเอย
            โอ นอ.... เชิญอ้ายมาลำเตี้ยสาละวันให้มันคล่องเด้ออ้ายเอย
            โอย เด ..... พอฟังอ้ายและน้องมาลำเตี้ยให้มันค่องกัน แน่ก่อน โอ... เอย
            โอย เด ..... เตี้ยลงสาละวันเตี้ยลง (ซ้ำ) เตี้ยต่ำๆ ผู้เตี้ยลงต่ำๆ
            เตี้ยลงแล้วฟังข่อยสิเดี่ยวกลอน ฟ้อนอ่อนๆ สาวสาละวันเอย
            ฟ้อนอ่อนๆ เด้อสาวสาละวัน เฮามาฟ้อนนำกันผู้เตี้ยลงต่ำๆ เตี้ยต่ำๆ เตี้ยลงต่ำๆ
            เตี้ยลงแล้วลุกขึ้นสาละวัน สาละวันลุกขึ้น ลุกขึ้นสาละวัน ลุกขึ้นแล้วกะฟ้อนยืนตรงๆ (ซ้ำ)
            มารำวงนำกันเป็นหมู่ เดินเป็นคู่สอดสายมาลัย จักแฟนไผกะซังมางามแท้น้อ
            รูปหล่อๆ ให้น้องขอเมือนำ ตาดำๆ ซิฮักน้องบ่อนอ (ซ้ำ) นออ้ายเอ้ย

3. โอ...... โอนอ ชายเอย นางบ่เคยลำเตี้ยสาละวันจักเทื่อ เด้ออ้ายเอย
            โอ เด .... มาพบพุ่มหมากเขือ มาพบเครือหมากแข้ง มาพบแซงหมากพร้าว
            มาพบบ่าวผู้ฮู้ มาพบซู้ผู้นี้อยากลำเกี้ยวใส่กันแท้นออ้าย เอย
            เดินหน้าแล้วเชิญยิ้มหวานๆ (ซ้ำ) เดินหน้าสาละวันเดินหน้า (ซ้ำ)
            ถ้าบ่สงสารสาวหมอลำบ่ (ซ้ำ) บ่ฮักน้องบ้อ บ่เอาน้องบ่ (ซ้ำ)
            ถอยหลังสาละวันถอยหลัง (ซ้ำ) หูคอยฟังเสียงกลองเขาแหน่
            หูคอยฟ้องเสียงแคนเขาแน ต้อยแลนแตรผู้ต้อยแลนแตร่ (ซ้ำ)
            คันบ่ฮักเจ้าแน น้องกะบ่มาลำ (ซ้ำ)

4. โอย...... พอแต่เหลียวเห็นหน้าอยากคืนมาฟ้าใหม่แท้ เด
            โอย เด พออยากขยับเข้าใกล้เฮือนเพิ่น ตั้งแต่คนอ้ายเอยคนงามเอย
            โอย.... ชายเอยคั่นแม่นนางน้องนี้แล้ว โอ เด ..... น้องนี้มาเสียจิตตั้งแต่บ้านน้องนี้อยู่ไกล
            โอ เด ..... น้องนี้มาเสียใจตั้งแต่บ้านน้องอยู่ห่างเด้
            โอเดพออยากย่อแผ่นพื้นโนนบ้านเข้าใส่กันอ้ายเอย คีงบางเอย...
            โอเดเชิญอ้ายมาลำเกี้ยวสาละวันให้มันคล่อง เด้ออ้ายเอย
            โอนอ พอฟังอ้ายและน้องมาละเตี้ยให้คล้องกันหย่าง เอยคนงามเอย
            เกี้ยวกันสาละวันเกี้ยวกัน (ซ้ำ) โอยละพี่ชายเอย จังหวาละพี่ชายเอย
            การที่มาลำเตี้ยนางบ่เคยเต้ยจักเทื่อ แนวใด๋มันคือเอ้อ เอย....
            มาพบพุ่มกะละแม่นหมากเขือ นางมาพบเดื่อหมากแข้ง มาพบแซงกะละแม่นหมากพร้าว
            มาพบบ่าวกะละแม่นผู้ฮู้ นางมาพบชู้ผู้นี้อยากลำเกี้ยว ลำเกี้ยว เข้าใส่กัน
            นั่นละหนานางนา ละหนาหน้านวลนำผู้หนาลำคีงบางเอย ผู้หนาลำคีงเจ้าบางเอย เจ้าบางเอย
            โอย.... ชายเอย น้องสิไลลาแล้วสาละวันสิโค้งอ่วยก่อนเด้อ
            โอยเด นางสิลาพี่น้อง อันนี่ค่อยอยู่ดีแน่ท่อนลาลงละเด้อ... ลาลง สาละวันลาลง (ซ้ำ)

ລຳສາລະວັນ" ເລື່ອງລາວສິລະປະວັນນະຄະດີພື້ນເມືອງທີ່ມາໃນຮູບແບບຂັບລຳທ້ອງຖິ່ນ ທີ່ສະທ້ອນໃຫ້ເຫັນເຖິງຫົວຄິດປະດິດສ້າງຂອງປະຊາຊົນລາວ,​ ຄວາມສວຍງາມທາງວັດທະນະທຳອັນເປັນເອກະລັກໂດດເດັ່ນ.
ປັດຈຸບັນລຳສາລະວັນ ຍັງເປັນຫນຶ່ງໃນກອນລຳອຳມະຕະທີ່ບໍ່ໄດ້ເປັນສະເພາະຊັບສົມບັດຂອງຄົນສາລະວັນ ແຕ່ຍັງເປັນຂອງຄົນລາວທັງຊາດ,​ ການຟ້ອນປະກອບລຳສາລະວັນໄດ້ກາຍເປັນຫນຶ່ງໃນທ່າລຳວົງມາດຕະຖານອັນເປັນທີ່ນິຍົມຊົມຊອບ ຈົນຖືກຂະຫນານນາມໃຫ້ວ່າເປັນ ''​ລຳມະຫາອຳນາດ''​ ແລະກ້າວສູ່ການເປັນມໍລະດົກໂລກ.​ "

"ลำสาละวัน" ในฝั่งทาง สปป.ลาว นั้นเป็นศิลปะขับลำท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงการคิดประดิดประดอย ความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ปัจจุบัน ลำสาละวัน ไม่ได้เป็นสมบัติของคนในเมืองสาละวัน ทางตอนใต้ของ สปป.ลาว เท่านั้น แต่เป็นสมบัติของคนลาวทั้งชาติ เพราะการฟ้อนประกอบท่ารำสาละวันได้กลายเป็นหนึ่งในท่ารำวงมาตรฐานของลาวที่ผู้คนนิยมชมชอบ ถึงกับขนานนามให้ว่าเป็น "ลำสาละวัน-ลำมหาอำนาจ" และกำลังถูกเสนอให้เป็นมรดกโลกทางด้านศิลปวัฒนะธรรมจากองค์การยูเนสโกด้วย

เหตุใด? จึงเรียกว่า "ລຳມະຫາອຳນາດ'' ท่วงท่าในการรำวงสาละวันนั้นจะมีท่อนร้องที่ให้ผูร่วมในการร่ายรำต้องทำตาม เช่น "สาละวันจับหู จับหูสาละวัน" หรือท่อนที่บอกว่า "สาละวันเตี้ยลง เตี้ยลงสาละวัน สาละวันลุกขึ้น ลุกขึ้นสาละวัน" ผู้ลำต้องทำตามที่สั่งเสมอ ไม่ว่าผู้ร่ายรำในขณะนั้นจะเป็นใคร ชาวบ้าน หนุ่ม-สาว เด็กน้อย เจ้าแขวง เจ้าเมือง หรือแม้แต่รัฐมนตรี ก็ต้องทำตามทั้งสิ้น นี่จึงเป็น "​ລຳມະຫາອຳນາດ'' อย่างแท้จริงนั่นเอง

ดูเพิ่มเติม : ເລາະລຸຍລາວຕອນ: ລຳສາລະວັນ-ລຳມະຫາອຳນາດ

 

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)