foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

trip LP Man header

การเดินทางท่องเที่ยวสายธรรมะของเพื่อนอาวทิดหมู จากทางกรุงเทพมหานครที่ขอมา คือ เส้นทางตามรอยบูรพาจารย์แห่งภาคอีสาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต โดยมีเวลาได้หยุดพักผ่อนมา 3 วัน 2 คืน ต้องการให้อาวทิดหมูจัดทริปให้ เพื่อจะได้ไปทำบุญในสถานที่ต่างๆ ที่เคยเป็นที่แสวงหาความสงบ สบาย ได้พิจารณาธรรมะของหลวงปู่มั่น โดยเพื่อนบอกว่า ช่วยหาพาหนะในการเดินทางให้ด้วยสำหรับกรุ๊ปทัวร์ 5 คน รวมอาวทิดหมูด้วยก็เป็น 6 คนพอดี จึงจัดตารางรถตู้ 1 คัน เพื่อการเดินทางให้เพื่อน ตามเส้นทางตามรอยบูรพาจารย์แห่งภาคอีสาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เริ่มต้นที่ อุบลราชธานี – อำนาจเจริญ – มุกดาหาร – นครพนม – สกลนคร – อุดรธานี เผื่อจะเป็นแนวทางของท่านอื่นๆ ที่สนใจจะไปเที่ยวอีสานกันในช่วงหมดฤดูฝน ต้นฤดูหนาวกัน

สารคดีชุด “ตามรอยธุดงควัตรและปฏิปทาใน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ตอนที่ ๑

trip LP Man map

วันที่ 1 : กทม.-อุบลฯ-มุกดาหาร

  • คณะแสวงบุญออกเดินทางจาก สนามบินดอนเมือง สู่ อุบลราชธานี รถตู้ไปรับที่สนามบิน เพื่อออกมารับประทานอาหารเช้า (ก๊วยจั๊บ-โจ๊ก-เกาเหลาเลือดหมู-ไข่กระทะ-กาแฟ-ชาร้อน-น้ำส้มคั้น) ตามชอบ

วัดเลียบ อุบลราชธานี

  • เดินทางไป วัดเลียบ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของวัดธรรมยุตินิกาย ของจังหวัดอุบลราชธานี วัดนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่มาของชื่อวัดนั้นสันนิษฐานไว้ว่า น่าจะเป็นการสร้างวัดเลียบคันคูเมืองเดิม หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ทำการปั้น “พระพุทธจอมเมือง” ขึ้น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 1.99 เมตร สูง 2.99 เมตร ประดิษฐานเป็นพระประธานในศาลาการเปรียญ (หอแจก) เป็นสถานศึกษาและเป็นแหล่งประสิทธิประสาทวิชาความรู้ด้านพระธรรม ที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะยุคต้นของการสร้างวัดเลียบที่มี พระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้ฝึกอบรมการปฏิบัติธรรมในสายวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งหลวงปู่มั่นเริ่มศึกษาธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดแห่งนี้
  • แล้วเดินทางต่อไปที่ วัดบูรพาราม ซึ่งสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2436-2453 เป็นวัดที่หลวงปู่มั่นเคยจำพรรษาขณะมาร่ำเรียนธรรม ที่นี่จะได้ชมสิมทึบโบราณ (โบสถ์) รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2 ห้อง หันหน้าออกสู่แม่น้ำมูล ภายในสิมเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนของพระอาจารย์ด้านวิปัสสนา 5 องค์ ได้แก่ หลวงปู่สีทา ชยเสโน หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต พระญาณวิศิษฏ์ (ทอง จนฺทสิริ) และพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร)

trip LP Man wat burapa

หอไตรวัดบูรพา (หอพัก) เป็นอาคารไม้ 2 หลังคู่ยกพื้นสูงด้วยเสาไม้กลม หลังละ 8 ต้น มีชานเชื่อมตรงกลางหลังคาทรงจั่ว หน้าจั่วทำลวดลายรัศมีพระอาทิตย์ ฝาผนังไม้ลายก้างปลา ด้านข้างมีหน้าต่างข้างละ 3 บาน รองรับด้วยหย่องลายแข้งสิงห์ ทั้งสิมและหอไตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อ พ.ศ. 2544

  • แล้วไปที่ วัดศรีอุบลรัตนาราม (ชื่อเดิมคือ วัดศรีทอง) ตามตำนานเล่าสืบกันมาว่า พระวรราชภักดีหรือพระวอ พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตา คือ ท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม และท้าวก่ำ บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้อัญเชิญ พระแก้วบุษราคัม มาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เดิมทีพระแก้วบุษราคัม คงจะประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนมดแดง และได้อัญเชิญมาประดิษฐาน อยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนารามในเวลาต่อมา โดยได้ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ เป็นวัดที่หลวงปู่มั่นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่นี่

trip LP Man wat sriubon

  • จากนั้นเดินทางออกจากตัวเมืองอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลราชธานี-ตระการพืชผล) แล้วเลี้ยวขวาไปทาง 2134 (ตระการพืชผล-ศรีเมืองใหม่) ถึงอำเภอศรีเมืองใหม่ แล้วตรงไป วัดศรีบุญเรือง บ้านคำบง ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่มั่น และท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณรที่นี่

อนุสรณ์บ้านเกิดหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บ้านคำบง
ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

  • แล้วเดินทางต่อไป วัดภูหล่น ปฐมสมถวิปัสสนากัมมัฎฐาน หรือสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมแห่งแรกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านเกิดของท่านด้วย ตามประวัติกล่าวว่า ในราวปี พ.ศ. 2440 หลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน ได้นำท่านมาอบรมสมาธิบนภูหล่นแห่งนี้ ซึ่งมีลักษณะลานหินกว้างมีเพิงหิน เต็มไปด้วยไข้ป่าและสัตว์ร้าย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ขณะนั้นท่านยังเป็นฆราวาส) ท่านจึงได้นำชาวบ้านมาช่วยขนหิน ดินโคลน ขึ้นมาก่อเป็นถ้ำพอเป็นที่อยู่อาศัย กันสัตว์ร้ายมารบกวนเวลาทำความเพียร เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะนั่งวิปัสสนาอยู่นั้น ได้มีเสือจะเข้ามาทำร้ายแต่ก็ไม่สามารถจะทำอะไรท่านได้ ปัจจุบันนี้ยังมีรอยเท้าเสือปรากฏอยู่ ณ สำนักสงฆ์ภูหล่นแห่งนี้ เป็นรอยเท้าเสือที่ไม่มีเล็บบนผนังเพิงพักนั้น
    หลังจากหลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล พระอาจารย์ของท่านได้อบรมจนรู้ชัดว่า กำลังสมาธิอันแน่วแน่ ได้เกิดขึ้นแล้วในหลวงปู่มั่น ท่านจึงได้เเยกจากไป หลวงปู่มั่น ท่านได้บำเพ็ญภาวนาอยู่บนภูหล่น ประมาณ 5 ปี ท่านจึงได้จากสถานที่แห่งนี้ไป หลังจากท่านได้แสดงธรรมเทศนาอบรมโยมมารดาจนเกิดศรัทธา ออกประพฤติศีลพรหมจรรย์ตามท่านไป ในราวปี พ.ศ. 2449 หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้ย้อนกลับมาที่ภูหล่นอีก ที่แห่งนี้จึงเป็นปฐมสมถวิปัสสนากัมมัฎฐานของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดภูหล่น ตั้งอยู่ที่ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

  • จากนั้นเดินทางย้อนกลับมาที่อำเภอศรีเมืองใหม่ ไปตามเส้นทาง 2134 ศรีเมืองใหม่-ตระการพืชผล-พนา-ลืออำนาจ แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง 212 มุ่งหน้าไปพักนอนที่ จังหวัดอำนาจเจริญ วันนี้เดินทางเป็นระยะทางประมาณ 204 กิโลเมตร

วันที่ 2 :  อำนาจเจริญ-มุกดาหาร-นครพนม-สกลนคร

  • รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม หรือร้านอาหารเช้าตามสะดวก แล้วเดินทางตามเส้นทาง 212 มุ่งหน้าไปอำเภอนิคมคำสร้อย แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางหมายเลข 2370 ไปอำเภอคำชะอี เพื่อแวะชมสักการะ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดของ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ที่มีพระเจดีย์ปู่ทองกิตติ ข้างในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้

trip LP Man wat pawiwek

  • จากนั้นเดินทางไปตามเส้นทาง 2042 มุ่งไปอำเภอเมืองมุกดาหาร อาจจะแวะช็อปปิ้งเล็กน้อยที่ตลาดริมโขง เมืองมุกดาหาร แล้วใช้เส้นทาง 212 อีกครั้งเพื่อเดินทางไปที่อำเภอพระธาตุพนม ก่อนถึงอำเภอพระธาตุพนมประมาณ 11 กิโลเมตรจะมีทางแยกเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง 3015 ไป แก่งกระเบา เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ที่นี่มีหมูหันอร่อยและอาหารปลาแม่น้ำโขง
  • จากนั้นเดินทางต่อตามเส้นทาง 3015 ไป วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอพระธาตุพนม เพื่อสักการะองค์พระธาตุพนม เสริมสิริมงคล
  • จากนั้นใช้เส้นทาง 223 พระธาตุพนม-นาแก-สกลนคร เดินทางไปยัง วัดป่านาคนิมิตร ตำบลหนองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่มั่นเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาจึงดำริสร้างวัดนี้และเคยเป็นเจ้าอาวาส
  • จากนั้นแวะไป วัดป่าวิสุทธิธรรม ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก ซึ่งเป็นวัดที่พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นเป็นเจ้าอาวาส และได้นิมนต์หลวงปู่มั่นมาจำพรรษาเมื่อปี 2487 โดยมีพระเณรมาจำพรรษาร่วมกับท่าน ได้แก่ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์หลอด ปโมทิโต (ปัจจุบันคือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา วัดสิริกมลาวาส กทม. ), พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม เป็นต้น
  • จากนั้นไป วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็นวัดที่ปกครองคณะสงฆธรรมยุตินิกายภาค 8 ได้แก่ จังหวัดสกลนคร อุดรธานี เลย นครพนม และมุกดาหาร ที่ซึ่งหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยมาปฏิบัติธรรมเป็นสถานที่วิเวกอีกแห่ง
  • จากนั้นเดินทางต่อไปที่อำเภอเมือง สกลนคร แวะสักการะที่ วัดป่าสุทธาวาส เป็นวัดทีหลวงปู่มั่นละสังขารที่นี่ ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์เครื่องอัฐบริขารจัดแสดงให้ชม และเราจะพักนอนที่นี่ในตัวเมืองสกลนคร วันนี้เดินทางเป็นระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร

 trip LP Man watpa suttawas

สารคดีชุด “ตามรอยธุดงควัตรและปฏิปทาใน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ตอนที่ ๒

วันที่ 3 : สกลนคร-อุดรธานี

  • หลังอาหารเช้าเราเดินทางไปตามเส้นทางหมายเลข 22 เพื่อแวะสักการะและเยี่ยมชมที่ วัดป่าภูริทัตตถิราวาส หรือวัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่มั่นเคยอยู่จำพรรษานานถึง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488-2492 ในอดีตองค์ท่านไม่เคยจำพรรษาซ้ำที่ไหนเป็นปีที่ 2 เลย การที่ท่านจำพรรษาที่นี่นานเป็นพิเศษนั้น ก็เพราะมีความประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่เข้ามาศึกษา เป็นการเปิดโอกาสแก่บรรดาพระภิกษุสามเณร ให้เข้าใจในธรรมยิ่งๆ ขึ้น กับทั้งการแสดงธรรมนั้นยังความชื่นชม และแก้ความสงสัยให้อย่างไม่มีข้อแย้ง ใคร่จะสอนให้แก่บรรดาศิษย์เป็นผู้เข้าใจในธรรมอันควรที่จะพึงรู้พึงเข้าใจ สืบแทนท่านได้ เป็นหลักฐานแก่คณะกัมมัฎฐานต่อไป

trip LP Man watpa puritat

  • จากนั้นไปยัง วัดป่ากลางโนนภู่ สถานที่หลวงปู่มั่นอาพาธในระยะสุดท้าย ภายหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2492 แล้ว อาการป่วยขององค์หลวงปู่มั่นหนักขึ้นทุกวัน องค์ท่านทราบถึงความเป็นไปในอนาคตแล้ว ปรารภที่จะไปมรณภาพที่ วัดป่าสุทธาวาส ในเมืองสกลนคร จึงได้มีการตระเตรียมการที่จะนำท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส โดยอาราธนาท่านพักบนคานหาม (สมัยนั้นเส้นทางทุรกันดาร เส้นทางเดินผ่านป่า ผ่านทุ่งนา มีทางเกวียนช่วงสั้นๆ ไม่มีถนนหนทางสะดวกอย่างทุกวันนี้) ได้แวะพักที่ศาลาหลังเล็ก วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ก่อนเป็นเวลา 11 วัน การที่ท่านมาพักที่วัดนี้ก็เพื่อโปรด "นายอ่อน โมราราษฎร์" ผู้สร้างวัดนี้ และยังเป็นโยมที่คอยช่วยเหลือองค์ท่านที่ วัดป่าบ้านหนองผือ ตลอดระยะเวลา 5 ปี
  • จากนั้นเดินทางไป วัดถ้ำขาม ซึ่งเป็นวัดที่ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นผู้สร้าง และหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เคยจำพรรษาอยู่ที่นี่ ทั้งสองท่านล้วนเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  มีเจดีย์หลวงปู่เทสก์อยู่ด้านในวัด
  • ออกจากวัดใช้เส้นทาง 22 แล้วมุ่งหน้าสู่จังหวัดอุดรธานี แวะไป วัดโพธิสมภรณ์ ในเมืองอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดสายกัมมัฏฐาน  ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์บูรพาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานในชั้นที่ 2 จัดแสดงภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องราวปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  สะท้อนภาพประวัติศาสตร์ของพระสงฆ์ในวัดโพธิสมภรณ์ที่มุ่งศึกษากัมมัฏฐาน  ปฏิบัติสืบต่อตามครูอาจารย์ ภายในวัดมีพระธรรมเจดีย์หลวงปู่จูม พันธุโล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น
  • หากมีเวลาก็อาจไป วัดป่าบ้านตาด เพื่อสักการะเจดีย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ก่อนที่จะเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ด้วยสายการบินที่มีเที่ยวบินช่วงเย็นวันนี้ (ระหว่างทำแผนการเดินทาง ยังอยู่ในสถานการณ์โควิด ที่เที่ยวบินไม่ได้มีมากเหมือนครั้งการบินเป็นปกติ โปรดตรวจสอบกับทางสนามบินอีกครั้ง)

สารคดีชุด “ตามรอยธุดงควัตรและปฏิปทาใน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ตอนที่ ๓

เป็นอันจบทริปการเดินทาง "ตามรอยบูรพาจารย์แห่งภาคอีสาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต" อาวทิดหมูกับคนขับรถตู้ก็มุ่งหน้าเดินทางกลับอุบลราชธานี ตามเส้นทาง หมายเลข 2 เลี้ยวซ้ายเข้า 2023 ไปอำเภอกุมภวาปี เลี้ยวขวาไปเข้า 2031 และต่อไป 2322 อำเภอกระนวนมุ่งไปอำเภอยางตลาด 2039 เข้าจังหวัดร้อยเอ็ดและใช้เส้นทาง ถนนหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดยโสธร ถึงอุบลราชธานี โดยสวัสดิภาพ (ด้วยรถตู้ สินะ) หอบบุญกลับบ้านครับ

redline

backled1

isan in winter

ดูหนาวเป็นช่วงเวลาที่คนไทยอยากออกไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะธรรมชาติของป่าเขาจะสวยงาม อากาศหนาวเย็น และบรรยากาศโรแมนติก ซึ่งแน่นอนว่าอากาศเย็นเมื่อไร หลายคนมักจะนึกถึงที่ท่องเที่ยวทางภาคเหนือ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ทางแถบภาคอีสานของไทยก็มีแหล่งท่องเที่ยวหน้าหนาวที่สวยงามไม่แพ้ทางภาคเหนือเลยทีเดียว วันนี้ อีสานเกตดอทคอม จึงขอเสนอที่ท่องเที่ยวหน้าหนาวในภาคอีสานนำมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับการจัดทริปท่องเที่ยวหน้าหนาวใหม่ๆ ที่จะทำให้คุณหลงรักภาคอีสานมากยิ่งขึ้น

isan december

การไปเที่ยวอีสานจะไปครั้งเดียวให้ครบคงเป็นไปได้ยาก จึงขอเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวทั้งแบบสั้นๆ สัก 1 คืน 2 วัน และแบบกลางๆ 3 วัน 2 คืน และแบบคนที่สามารถลาหยุดหรือมีเวลาพักผ่อนมากหน่อยอาจจะเป็น 5 - 7 วัน ก็สามารถรวมทริปสั้นๆ มารวบเป็นทริปยาวได้ ถ้าจะให้ได้ความสุขสมสัมผัสจริงๆ ก็แนะนำว่า เดินทางด้วยรถยนตร์ส่วนตัวจะดีที่สุด แต่ถ้ามีเวลาจำกัดจริงๆ การใช้การเดินทางด้วยเครื่องบินแล้วไปใช้บริการรถเช่า หรือรถตู้นำเที่ยวท้องถิ่นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ (สมมุติฐานของบทความคือ ท่านเริ่มต้นการเดินทางจากเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร ถ้าท่านเดินทางจากที่อื่นก็โปรดคำนวณระยะเวลาการเดินทางให้เหมาะสมนะครับ)

ทริปสั้นๆ 1 คืน 2 วัน

ทริปที่ 1 อีสานใต้ (อุบลราชธานี - ผามออีแดง)

วันแรก เดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินตอนเช้าวันเสาร์ (มีเที่ยวบินจากหลายสายการบิน หลายเที่ยวต่อวัน) หรือเดินทางด้วยรถไฟนอนอีสานวัฒนา (กทม.-อุบลฯ) ในคืนวันศุกร์ ถึงอุบลราชธานีเช้าวันเสาร์ เช่ารถนำเที่ยว (ในอุบลราชธานีมีหลายรายครับ ติดต่อล่วงหน้าให้เขาไปรับเราที่สนามบินหรือสถานีรถไฟได้) เริ่มต้นกันที่รับประทานอาหารเช้ากันก่อน ซึ่งมีก๋วยจั๊บอุบลฯ โจ๊ก ต้มเลือดหมู ไข่กระทะ กาแฟโบราณ กาแฟสด ฯลฯ สอบถามจากคนขับรถนำเที่ยวได้ (แนะนำถ้ามาถึงเช้าๆ ก็ร้านเจียวกี่ (เจ้าเก่า เจ้าเดิมของเมืองอุบลฯ) ร้านกาแฟสามชัย และอีกหลายร้านครับ) จากนั้นแนะนำสถานที่เที่ยวในวันแรกเป็น 2 สายครับ

2

  • สายธรรมะ เที่ยวชมวัดวาอาราม ไหว้พระทำบุญ เริ่มจากในตัวเมืองกันก่อนครับ ไหว้พระแก้วบุศราคัมที่วัดศรีอุบลรัตนาราม (อุโบสถของวัดได้รูปแบบมาจากวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ) ไปชมหอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมือง แล้วไปไหว้พระธาตุวัดหนองบัว ก่อนออกเดินทางออกเส้นรอบเมืองไปวัดหนองป่าพง หรือจะไปวัดป่านานาชาติที่อำเภอวารินชำราบ (ตามเวลาที่มี) จากนั้นไปนั่งแพชมธรรมชาติริมน้ำที่เขื่อนสิรินธรรับประทานอาหารเที่ยง (แนะนำแพของตำรวจน้ำดี จอห์นนี่กองปราบ ครับ) จากนั้นจะข้ามไปช็อบปิ้งที่ด่านช่องเม็กก็ได้ครับ (ท่านที่มีพาสปอร์ตมาด้วยก็สะดวก แต่ถ้าไม่มีก็สามารถทำใบผ่านแดนได้ที่จุดบริการก่อนถึงด่าน ขอให้มีบัตรประชาชนตัวจริงมาด้วย)

    ห้าโมงเย็นใกล้ค่ำ กลับมาชมความงามของ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว (วัดเรืองแสง) บันทึกภาพความประทับใจในมุมต่างๆ แล้วเดินทางมาพักที่ตัวเมืองอุบลราชธานี รับประทานอาหารเย็นตามชอบครับ มีทั้งร้านข้าวต้มขึ้นชื่อ อร่อย ราคาย่อมเยาสบายกระเป๋า หรือห้องอาหารที่บริการอาหารจีน อาหารท้องถิ่นอีกมากมาย แล้วเข้าที่พักในตัวเมืองอุบลฯ หรืออำเภอวารินชำราบ (ติดกันแค่แม่น้ำมูลกั้นเหมือนกรุงเทพฯ กับธนบุรี) ซึ่งท่านสามารถหาที่พักทั้งโรงแรมชั้นหนึ่ง อพาร์ทเมนต์ หรือรีสอร์ตได้มากมายราคาไม่แพงด้วย

4

  • สายธรรมชาติ เที่ยวชมเกาะแก่ง น้ำตก มี 2 ส้นทางให้เลือก เส้นทางที่หนึ่ง เริ่มต้นไปที่แก่งสะพืออำเภอพิบูลมังสาหาร แล้วเดินทางต่อไปชมแก่งตะนะ แม่น้ำสองสีที่อำเภอโขงเจียม รับประทานอาหารเที่ยง (อาหารประเภทปลาจากลำน้ำมูล ลำน้ำโขง) ที่ห้องอาหารริมฝั่งโขงซึ่งมีหลายร้าน อิ่มหนำสำราญแล้วไปเที่ยวอุทยานผาแต้ม ชมเสาเฉลียง และภาพเขียนยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือจะไปเที่ยวน้ำตกในบริเวณใกล้เคียงก็ตามสะดวก

    เส้นทางที่สอง
    เดินทางไปเส้นทางอำเภอเดชอุดม มุ่งสู่อำเภอนาจะหลวย ไปอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ไปเดินป่าเที่ยวชมน้ำตกห้วยหลวง ชมธรรมชาติความงดงามของกล้วยไม้ป่า กลับเข้าเมืองรับประทานอาหารเย็นและเข้าที่พักเหมือนกับสายธรรมะ

mor e daeng 1

วันที่สอง ตื่นแต่เช้า นัดรถเดินทางตอนตีสี่ มุ่งหน้าไปอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้ทันได้ชมทะเลหมอกที่ผามออีแดง ถ่ายภาพสวยๆ เป็นที่ระลึก สายหน่อยก็ชมภาพแกะสลักนูนต่ำบนผนังหินทราย รับประทานอาหารเช้าแล้วเดินทางไปเที่ยวน้ำตกสำโรงเกียรติ (ประมาณ 10 กิโลเมตร) จะไปน้ำตกใกล้ๆ กันอีกที่ก็ได้ คือ น้ำตกห้วยจันทร์ อิ่มหนำแล้วก็เดินทางกลับอุบลราชธานี

samrong kiat waterfall

แวะซื้อของฝากกันก่อนกลับ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ แหนมกระดูกหมู แหนมใบมะยม เส้นก๋วยจั๊บญวณ (เส้นจะมี 2 แบบ คือ เส้นสด เก็บได้ไม่นานต้องรีบต้มรับประทาน (ใส่ตู้เย็นเก็บได้ 3 วัน) กับ เส้นแห้ง เก็บได้นานไม่ต้องเข้าตู้เย็นก็ได้ แล้วจะมีเครื่องปรุงพวกพริกเผา กระเทียมเจียว ผงปรุงน้ำซุป ด้วยนะครับ) เค็มบักนัด เสื้อผ้ากาบบัว ผ้าฝ้าย ผ้าไหมลายเอกลักษณ์ท้องถิ่น ซื้อจำนวนมากให้เขาแพ็คลงกล่องโหลดขึ้นเครื่องได้ครับ

เที่ยวไทยไม่ตกยุค - ปลายทางแห่งความสุข เขมราฐ

ทริปที่ 2 อีสานใต้ (อุบลราชธานี - เขมราษฎร์ธานี - สามพันโบก)

khemmarat thani

วันแรก เหมือนกันกับทริปแรกตรงการเดินทางมาถึง และรองท้องด้วยอาหารเช้ากันก่อน จากนั้นเดินทางไปอำเภอเขมราฐกัน ไปได้หลายเส้นทางนะครับ แต่ขอแนะนำให้ไปตามเส้นทางอุบลราชธานี-ตระการพืชผล-เขมราฐ  สะดวกและใกล้สุด (ประมาณ 105 กิโลเมตร) แนะนำไปเที่ยวกันในวันเสาร์ครับ เพราะจะมีกิจกรรมถนนคนเดินให้ท่านได้ร่วมชมศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมของชุมชนท้องถิ่น และรับประทานอาหารอร่อย

ถนนคนเดินเขมราฐ

เขมราฐ เป็นอำเภอเล็กๆ อำเภอหนึ่งที่มีความสงบร่มเย็น เงียบสงบ (ถ้าใครเคยไปเชียงคาน จังหวัดเลย บรรยากาศที่นี่ก็จะแบบนั้น) แต่ที่นี่ยังมีความสดใหม่ ไม่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ใครๆ ก็มุ่งไปอย่างเชียงคาน มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย และมีชายแดนติดริมแม่น้ำโขงความยาวเกือบ 40 กิโลเมตร เช่น หาดทรายสูง, แก่งช้างหมอบ, ภูอ่าง, แก่งพลาเหล็ก, ภูรัง, ภูพนมดี, ภูยอ และที่เป็นไฮไลท์ของที่นี่คือ ถนนคนเดิน ตลาดต้องชมเขมราษฎร์ธานี ซึ่งจะมีทุกเย็นวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป

wat pak saeng

ช่วงกลางวันเราสามารถไปเที่ยวไหว้พระทำบุญกันที่ "วัดบุ่งขี้เหล็ก" อยู่ห่างจากตัวเมืองเขมราฐ ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยจำนวนมาก แล้วเลยไปเที่ยวหาดทรายสูง (หาดทรายริมแม่น้ำโขง) จากนั้นไปไหว้พระขอพรกันต่อที่ "วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ (วัดปากแซง)" ที่นี่มีความเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ ขอสิ่งใดได้ดั่งประสงค์ มีผู้คนมากราบไหว้ บ้างก็มาแก้บนกันเยอะทีเดียว ค่อยย้อนกลับมาถนนคนเดินและพักค้างคืนที่เขมราฐ

had chomdao

วันที่สอง ตื่นแต่เช้าออกเดินทางไปตามถนนทางหลวงชนบทหมายเลข อบ.4076 ไปทางอำเภอนาตาล ถึงแยกตัดกับถนนสาย 2112 ให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 12 กิโลเมตรมีทางแยกขวามือถนนลูกรังไปอีก 2 กิโลเมตร ถึง หาดชมดาว มีลักษณะใกล้เคียงกันกับสามพันโบก แต่หาดชมดาวจะมีโบกมากกว่าและใหญ่กว่า หรือที่เรียกว่า บิ๊กโบก

ท่องเที่ยวสามพันโบก อุบลราชธานี

จากนั้นเดินทางย้อนกลับตามถนนหมายเลข 2112 ไปอำเภอโขงเจียม ตามเส้นทางจะผ่านน้ำตกสร้อยสวรรค์ อุทยานผาแต้ม เขื่อนปากมูล แก่งตะนะ แวะด่านช่องเม็ก ข้ามไปเหยียบแผ่นดินเพื่อนบ้าน แล้วกลับมาผ่านเขื่อนสิรินธร แวะชมตามเวลาที่มีนะครับ เข้าแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร แวะซื้อของฝากซาละเปาขึ้นชื่อ กล้วยเบรคแตก ปลาตากแห้ง ปลาส้ม ฯลฯ เดินทางกลับเข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี เพื่อเดินทางกลับตามสะดวกครับ

soi sawan

redline

backled1

kung parade

นช่วงกลางเดือนสิงหาคมเรื่อยไป จนกระทั่งเดือนกันยายนของทุกปี ที่ ลานพันรู ในน้ำตกแก่งลำดวน สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งของอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี (ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า อุบลราชธานี) มี ขบวนพาเหรดกุ้ง เดินฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากมุ่งสู่ต้นน้ำของลำโดมใหญ่ ในเทือกเขาพนมดงรัก มหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่น่าชม นี่ถ้าเกิดขึ้นทุกวัน ในทุกเดือน ของทุกปี คงเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของ พาเหรดนกเพนกวิน ที่ผมถูกฝรั่งหลอก ให้นั่งหนาวรอชมในออสเตรเลียมาแล้วแน่ๆ เลย 

kung parade 1

กุ้งเดินขบวนอยู่ที่ไหน?

กุ้งเดินขบวนอยู่บริเวณลานพันรู น้ำตกแก่งลำดวน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า อุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 บ้านหนองขอน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

กุ้งมาเดินขบวนทำไม?

เนื่องจากกุ้งเป็นสัตว์น้ำ รับยีนส์ (Genes) และแรงผลักดันจากพ่อ/แม่ ให้เดินทางกลับสู่ต้นน้ำอันเป็นบ้านเกิด เพื่อมาสืบพันธุ์และวางไข่ การที่กุ้งเหล่านี้มาเดินบนพลาญหิน ลานพันรู มีสาเหตุมาจากการที่จะเดินทางมายังแหล่งต้นน้ำที่เป็นบ้านเกิด บนยอดเขาพนมดงรัก มันต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มากมาย นี่ก็เป็นบนพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งคือ การเดินทางผ่านน้ำตกแก่งลำดวน ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว จำเป็นต้องหลบความรุนแรงของกระแสน้ำ โดยการขึ้นมาเดินบนโขดหิน จนกลายเป็นเหตุการณ์ที่เห็นแล้วต้องบอกว่า ทึ่ง (Unseen Thailand) ดังกล่าว

กุ้งจะเดินขบวนช่วงเดือนไหน?

ช่วงฤดูน้ำหลากคือกลางเดือนสิงหาคมจนถึงสิ้นเดือนกันยายน ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและความเชี่ยวของกระแสน้ำ บริเวณน้ำตกแก่งลำดวน โดยจะขึ้นมาเดินบนพลาญหิน ลานพันรู อย่างน่ามหัศจรรย์ ในเวลากลางคืน ช่วงเวลาประมาณ 19.00 - 05.00 น. ของอีกวันหนึ่ง แต่คืนไหนจะเดินขึ้นมามากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติตามฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำลำโดมใหญ่ ซึ่งมีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ถ้าฝนตกหนักติดต่อกันหลายๆ วัน ป่าไม้ต้นน้ำก็จะปล่อยน้ำลงมามากส่งผลให้ระดับน้ำสูงกระแสน้ำเชี่ยว กุ้งก็จะพากันมาเดินขบวนเป็นแถวยาว

kung parade 2

กุ้งอะไร? ที่มาเดินขบวน

กุ้งชนิดที่มาเดินขบวนที่น้ำตกแห่งนี้คือ กุ้งฝอย จัดว่าเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก มักอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยตามผิวน้ำริมตลิ่ง แหล่งน้ำต่างๆ ชอบกินจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 2-7 ซม. มีเปลือกห่อหุ้มตัวโดยเปลือกหุ้มแยกออกเป็นสองตอน ตอนหน้าจะห่อหุ้มหัวและอก ส่วนตอนหลังจะเป็นลำตัวกุ้ง ส่วนหนวดกุ้งจะทำหน้าที่รับความรู้สึก กุ้งจะมีขาสำหรับเดินและจับอาหาร 5 คู่ และรยางค์สำหรับว่ายน้ำอีก 5 คู่ ซึ่งรยางค์เหล่านี้ นอกจากจะใช้ว่ายน้ำแล้วตัวเมีย ยังทำหน้าที่เป็นที่เก็บไข่ผสมน้ำเชื้อและฟักไข่อีกด้วย สำหรับการหายใจนั้นกุ้งจะหายใจด้วยเหงือกและเลือดกุ้งจะไม่มีสี ที่นิยมเอามาทำกุ้งเต้นรสแซบนั่นแหละ

kung parade 3 

รู้จักกับน้ำตกแก่งลำดวนกันหน่อย

แก่งลำดวน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย (ถูกจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530) เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 53 ป่าภูจองนายอยเป็นอุทยานที่กว้างใหญ่ ติดต่อกับ 3 อำเภอได้แก่ อำเภอบุญฑริก นาจะหลวย และน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และที่สำคัญที่ยังทำให้ป่าภูจองนายอยยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ทั้งยังถูกซ่อนเร้นจากนักท่องเที่ยว ยังรักษาความบริสุทธิ์ของสภาพได้ ก็เพราะว่ามีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา และประเทศลาวนั่นเอง พื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม สัตว์ป่าที่ชุกชุม เนื้อที่ประมาณ 428,750 ไร่

น้ำตกแก่งลำดวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้นิยมมาเที่ยวมากอีกแห่งหนึ่ง มีความสวยงามของแก่งหิน และรูหิน มีความใสสะอาดของลำน้ำลำโดมใหญ่ สามารถเล่นน้ำตกได้เกือบทั้งปี ยกเว้นช่วงกุ้งเดินขบวน เนื่องจากน้ำมากและกระแสน้ำเชี่ยว จัดได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากน้ำตกแก่งลำดวน เป็นแก่งหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีเกาะแก่งที่สวยงามกลางลำโดมใหญ่ ถึง 3 เกาะ

kung parade 4

การเดินทางไปแสนสะดวก จากจังหวัดอุบลราชธานี เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินที่ 24 ไปถึงอำเภอเดชอุดม แล้วเดินทางต่อไปทางเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2192 ไปทางอำเภอน้ำยืน ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดิน 2171 เลี้ยวซ้ายไปเส้นทางไปอำเภอน้ำยืน ก่อนจะถึงตัวอำเภอน้ำยืนจะพบทางแยกทางหลวงหมายเลข 2248 ให้เลี้ยวซ้ายอีกที มุ่งไปตามเส้นทางเข้าสู่อำเภอนาจะหลวย ประมาณ 16 กม. จะถึงหมู่บ้านหนองขอน ให้ตรงเข้าไปยังสถานีพัฒนาและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี และตรงไปยังน้ำตกแก่งลำดวน ระยะทางประมาณ 2.5 กม. การคมนาคมสะดวกรถยนต์ส่วนบุคลเข้าถึงสถานที่ได้โดยสะดวก

ติดต่อสอบถามเรื่องท่องเที่ยวในบริเวณนั้น/ที่พักได้ที่ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี ตู้ ปณ 10 บ้านหนองขอน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทร 0-1977-9902

kung parade 5
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก Choochat Banlue

redline

backled1

isan tour header

redline
ปฏิทินเทศกาลงานประเพณีอีสาน | แหล่งท่องเที่ยว 20 จังหวัด | บันทึกหลังการเดินทาง

isan tour patam 1

น้านี้มีไว้เพื่อบันทึกการเดินทางของผู้เขียนเอง ได้พบเห็นอะไรที่น่าสนใจก็นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ใช่การทำโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวแต่เป็นความรู้สึกและข้อคิดเห็นหลังจากการได้ไปเยือนที่ต่างๆ เหล่านั้นมาครับ เผื่อท่านใดที่เดินทางผ่านไปทางนั้นจะลองแวะเยี่ยมดูบ้างก็น่าสนใจ ผมเน้นเพื่อการพักผ่อน รับประทานอาหารอร่อย และอาจมีสินค้าพื้นเมืองเป็นของฝากบ้างเล็กน้อย ตามความน่าสนใจครับ

บันทึกการเดินทางท่องเที่ยว

 isan tour loei 1

patam 04 

น้ำตกสร้อยสวรรค์ และน้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู)

 wat sirindhorn pooprao 01

วัดเรืองแสง (วัดสิรินธรวราราม ภูพร้าว)

samrong kiat waterfall

เที่ยวน้ำตกที่ศรีสะเกษกันเถอะ

redline
ปฏิทินเทศกาลงานประเพณีอีสาน | แหล่งท่องเที่ยว 20 จังหวัด | บันทึกหลังการเดินทาง | อุทยานประวัติศาสตร์ในอีสาน

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)