foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon sen suang bucha

สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

bulletการฟ้อนเพื่อเสี่ยงทาย

สภาวะทางธรรมชาติเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเองพร้อมกับมนุษย์ เช่น ป่าเขา แมกไม้ สายลม แสงแดด สายธาร พืชพันธ์ธัญญาหาร และสัตว์โลกทั้งหลาย สรรพสิ่งเหล่านี้มีลักษณะอันให้คุณให้โทษเป็นวิสัยธรรมดา ภาคอีสานได้รับโทษจากธรรมชาติมาเป็นเวลาช้านาน แต่คนอีสานและชุมชนก็ยังคงอยู่เพื่อท้าทายลมแล้ง

ชาวอีสานมีความเชื่อดั้งเดิมว่า ธรรมชาติทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ผืนน้ำ พืช สัตว์ มนุษย์ อุบัติขึ้นในโลกด้วยอำนาจแห่งผีฟ้าหรือผีแถน ผีจึงให้ชีวิต คุ้มครองชีวิต และทำลายชีวิตด้วย ผู้ที่หวังความสุขหรือเมื่อประสบปัญหาเจ็บป่วยทางกาย และทางใจจึงมีพิธีกรรมอัญเชิญผีฟ้าลงมาขจัดเหตุแก้ไขให้ชีวิตเป็นปกติสุข ดังนั้น เมื่อเกิดความแปรปรวนทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด ฯลฯ จึงเชื่อว่าเป็นอำนาจของผีฟ้า ผีแถน โดยเฉพาะชาวอีสานมีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าเกิดภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง จึงมีพิธีกรรมเพื่อขอคำพยากรณ์ขึ้นเพื่อเสี่ยงทายว่าในปีนั้นๆ ฟ้าฝนจะดีหรือไม่?

ชุดฟ้อนเพื่อเสี่ยงทาย จึงสืบเนื่องมาจากพิธีกรรมในการเสี่ยงทาย หรือการขอฟ้าขอฝนของชาวอีสาน ชุดฟ้อนเพื่อเสี่ยงทายมีอยู่ 4 ชุด ได้แก่

เซิ้งบั้งไฟ | เซิ้งนางด้ง | รำดึงครกดึงสาก | เซิ้งเชียงข้อง

3diamondเซิ้งบั้งไฟ

ประเพณีอีสานมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งมีฮีต 12 คอง 14 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกเป็นประเณีที่มีส่วนในการสร้างเสริมกำลังใจแก่ชาวบ้าน และเป็นการเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน จุดประสงค์ใหญ่ของการมีงานบุญบั้งไฟ ก็เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะได้ใช้น้ำในการทำนา เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ การจุดบั้งไฟโดยมีความเชื่อว่า

  • การจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระยาแถน เพื่อบอกกล่าวให้ท่านดลบันดาลให้ฝนตกลงมาสู่โลกมนุษย์ตามนิทานพื้นบ้าน เรื่อง พญาคันคาก
  • จุดบั้งไฟเพื่อบูชาอารักมเหสักข์ หลักเมือง เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การจุดบั้งไฟทุกครั้งโดยเฉพาะในจังหวัดยโสธรจะต้องมีการบอกกล่าว หรือคารวะเจ้าพ่อมเหสักข์หลักเมืองเสียก่อน
  • เพื่อเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศและพืชพันธุ์ธัญญาหารว่าในปีนั้นๆ จะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็ทำนายว่าปีนี้ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

ารเซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์ กาพย์เซิ้งบั้งไฟมีทั้งกาพย์เซิ้งเล่านิทานหรือตำนาน เช่น ตำนานผาแดงนางไอ่ ตำนานพญาคันคาก หรือเล่านิทานท้องถิ่น เช่น นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ และกาพย์เซิ้งประเภทคำสอน เช่น กาพย์เซิ้งพระมุณี นอกจากนี้ยังมีกาพย์เซิ้งขอบริจาคจตุปัจจัย กาพย์เซิ้งอวยพร กาพย์เซิ้งประเภทตลกหยาบโลน เป็นต้น

ระยะเวลาในการเซิ้งบั้งไฟแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ การเซิ้งบั้งไฟบอกบุญ ช่วงเตรียมงาน การเซิ้งบั้งไฟในวันงาน การเซิ้งบั้งไฟในวันจุดบั้งไฟ และการเซิ้งบั้งไฟหลังจุดบั้งไฟแล้ว

การฟ้อนเซิ้งบั้งไฟ นั้นอาจจะเป็นผู้หญิงล้วน หรือหญิงและชายก็ได้ ท่าฟ้อนเซิ้งบั้งไฟนั้นมีมากมายหลายท่า เช่น ท่าฟ้อนของคุ้มบ้านใต้สามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มี 6 ท่าคือ ท่าไหว้ครู ท่านาคพ่นน้ำ ท่าม้วนเชือก ท่าแงงคีง (ท่าชมโฉมตัวเอง) ท่าส่อนฮวก (การช้อนลูกอ๊อด ลูกกบ) ท่ายูงรำแพน

ส่วนท่าฟ้อนเซิ้งบั้งไฟของบ้านท่าศรีธรรม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มี 13 ท่า คือ ท่าไหว้ครู ท่าเกี่ยวข้าว ท่าทวยเทพ ท่าแหวกม่านเข้าหอ ท่าเอิ้นบ่าว - แหลวเสิ่น (ลักษณะของหญิงสาวเรียกชายหนุ่ม) ท่าปะแป้ง ท่าเสือขึ้นภู ท่าปอบผีฟ้า-กาตบปีก ท่าบัวหุบ-บัวบาน ท่าสามก้าว ท่างามเดือน ท่าแผลงศร

เครื่องแต่งกาย

  1. ใช้ชุดศรัทธา คือ ใส่เสื้อย้อมคราม นุ่งโสร่งหรือผ้าถุงไหม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระโจม แขวนกระดิ่งหรือกระพรวน ใส่หมวกกาบหรือหมวกเวิ้ง ใช้ผ้ามัดเอว สวมเล็บ บางครั้งถือร่มกระดาษ
  2. ใช้ชุดพื้นเมือง คือ นุ่งผ้าซิ่นสั้น ใส่เสื้อแขนกระบอก โดยเอาชายเสื้อออกข้างนอก ห่มผ้าสไบ เกล้าผมมวยทัดดอกไม้

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบไปด้วย กลองตุ้ม พังฮาด กลองยาว รำมะนา ฆ้องเหม่ง ฉิ่ง ฉาบ กั๊บแก๊บ ซึ่งจะเล่นลายเซิ้งบั้งไฟ

เซิ้งบั้งไฟ
 
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง "บั้งไฟ" ประเพณีขอฝนของฅนอีสาน

 

3diamondเซิ้งนางด้ง

พิธีเต้าแม่นางด้ง หรือ แห่แม่นางด้ง เป็นพิธีการทางไสยศาสตร์เพื่อขอฝน เมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล โดยใช้กระด้งเป็นอุปกรณ์สำคัญ จัดเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ ใช้กระด้ง 2 ใบ ไม้คาน 2 คู่ แว่น หวี ข้าวปั้น กำไลมือ แหวนของหญิงหม้ายลงในกระด้ง แล้วเอากระด้งอีกใบหนึ่งครอบเข้าข้างบน มัดติดกับไม้คานเป็นรูปกากบาท เตรียมหาหลักมา 2 หลัก สมมุติให้หลักหนึ่งเป็นหลักแล้ง อีกหลักหนึ่งเป็นหลักฝน

หัวหน้าผู้ทำพิธีจะเตรียมขันธ์ 5 และเหล้าก้อง ไข่หน่วย ป่าวสัคเค อัญเชิญเทวดามาชุมนุมอธิษฐานขอให้ฝนตก ให้สองคนจับไม้คาน ซึ่งผู้จับจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ หัวหน้าผู้ทำพิธีจะนำชาวบ้านกล่าวคำเวิ้งแม่นางด้งเป็นวรรคๆ ไป ถ้าว่าจนจบแล้วกระด้งยังไม่เคลื่อนไหวก็อาจจะเปลี่ยนผู้จับไม้คาน ถ้าหากกระด้งเคลื่อนที่ไปตีหลักแล้งก็จะแล้ง หากแม่นางด้งเคลื่นที่ไปตีหลักฝน ฝนก็จะตกในเร็ววัน การเต้าแม่นางด้งนี้นอกจากจะทำเพื่อขอฝนแล้ว ก็สามารถทำเพื่อขับภูติผีปีศาจก็ได้ หรือของใครหายไม่รู้ว่าใครเอาไปก็เต้าแม่นางด้งเพื่อหาของก็ได้ ตัวอย่างคำเซิ้งแม่นางด้ง

   
        เต้าอิแม่นางด้ง
มาเวียนนี้ได้สองสามฮอบ
ตักตุลี่แมงมี่ตุลา
มาสู้แดดหรือมาสู้ฝน
เสียงเคียงแม่นเขียดจ่อง อ่องล่องแม่นเขียดจ่านา
เชิญทั้งคกไม้บาก มาสูญด้งเยอ
ด้งน้อยๆ ฮ่อนข้าวกินขาวอีสาวก็มี
มีทั้งหวีเขาควายป่ายเกล้า
มีทั้งเหล้าไหใหญ่ฮับแกน
เต้นเยอด้ง เป่อเคอเยอด้ง
ฝนบ่ตกข่าวไฮ่ตามคาเหมิดแล้ว
แฮ้งอยู่ป่าโฮมโครงเหมิดแล้ว
น้ำใสขาวให้สูพากันอาบ
ฝนตกลงแต่เทิงภูค่อย
กลิ้งกันลงสูพันกันลง เสมอดังพันสาด
เสมอกันแล้วฝนแก้วเลียนลำ
สาวไทเวียงเต่าแม่นางด้ง
เต้นเยอด้ง เป่อเคอเยอด้ง
มาเป่งน้ำเดือนเก้าใส่นา
 
 
โล้งโค้งเสมอดั่งกงเกวียน
มาคอบนี้ได้สองสามที
พาสาวหลงเข้าดงกำแมด
มากำฮนนำแม่เขียดไต้ ซักไซ้แม่เขียดเหลือ
หลังชาแม่นพญาคันคาก
เชิญทั้งสากไม้แดงมาสูญด้งเยอ
มีทั้งหวีเขาควายป่ายปลาย
มีทั้งเหล้าไหหลวงฮับไถ่
แขนวงมาแต่เถิงวีด้ง
มาปิ่นวัดปิ่นเวียนเดี๋ยวนี้
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
หมากม่วยสุกคาเครือเหมิดแล้ว
เห็นหอยตาบกี้มขึ้นเมือบก
น้ำย้อยลงภูหอภูโฮง
ตาดแต่นี้เท่าฮอดเสอเพอ
มานำกูนี้ให้ฝนฮวยลง
เต้นเยอด้งเป่อเสอเยอด้ง
มาเป่งน้ำเดือนหกใส่เข้า
กุ๊ก กุ๊ กุ๊ก กุ๊
 

เซิ้งนางด้ง จึงเป็นการนำเอาพิธีขอฝนขอฟ้าดังกล่าว มาจัดทำเป็นชุดแสดง โดยเลียนแบบการแสดงคงได้แบบอย่างมาจากชุดรำแม่นางด้งของภาคกลาง

เครื่องแต่งกาย

ผู้ชายสวมเสื้อคอกลม นุ่งโสร่งใช้ผ้าขาวม้ามัดเอว ผู้หญิงที่เป็นนางด้ง 1 คน จะใช้ผ้าขิดรัดหน้าอก นุ่งซิ่น ผู้หญิงที่ฟ้อนประกอบจะใช้ผ้าขิดรัดหน้าอกและนุ่งซิ่นเช่นเดียวกัน

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ใช้ทำนองเซิ้งบั้งไฟ

อุปกรณ์สำหรับการแสดง

มีกระด้ง 2 ใบคว่ำประกบใส่กัน แล้วเอาไม้คานมัดเป็นรูปกากบาท

ลำดับขั้นตอนการแสดง

ผู้แสดงจะออกมาพร้อมกัน โดยให้นางด้งเดินตามผู้ชายซึ่งถือไม้คานและกระด้งออกมา มีการตอกหลักขอฝนและหลักแล้ง พร้อมกับฟ้อนประกอบการเซิ้งนางด้งเพื่อขอฝน

ฟ้อนแม่นางด้ง

3diamondรำดึงครกดึงสาก

พิธีดึงครกดึงสาก หรือ โยนครกโยนสาก เป็นพิธีทางไสยศาสตร์ที่กระทำเพื่อขอฝน โดยมีครกและสากที่ใช้ในครัวเป็นอุปกรณ์สำคัญ พิธีดึงครกดึงสากเป็นพิธีที่มีลักษณะง่ายๆ ไม่ซับซ้อน คือเอาครกและสากผูกด้วยเชือกอย่างละเส้นแบ่งผู้ดึงให้เท่ากัน จะเป็นหยิงหรือชายก็ตาม โดยให้มีจำนวนเท่าๆ กัน จับปลายเชือกคนละด้าน แต่งเครื่องคายขันธ์ห้า สักการะบูชาเทวดาขอน้ำฝน ป่าวสัคเคเทวดาแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าฝนจะตกขอให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้แพ้ (แพ้ ในภาษาอีสานหมายถึง ชนะ) ถ้าฝนจะแล้งขอให้ฝ่ายชายเป็นผู้แพ้  จากนั้นเริ่มดึงครกดึงสากจนปรากฏผลว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้หรือชนะ ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ฝนฟ้าในปีนั้นจะเป็นไปตามการตั้งจิตอธิษฐาน

การฟ้อนดึงครกดึงสาก ได้แรงบันดาลใจในพิธีกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตของคนอีสาน ที่มีอาชีพทางเกษตรกรรม ที่ต้องอาศัยฝนฟ้าจากธรรมชาติ ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด โดย อาจารย์ทองคำ ไทยกล้า และ อาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ คิดลายทำนองเพลง อาจารย์ฉวีวรรณ ดำเนิน สร้างเครื่องแต่งกาย โดยมีอาจารย์ทองจันทร์ สังฆะมณี ปรับปรุงตกแต่งจัดฟอร์ม คัดเลือกลาย บรรจุเพลง การแต่งกาย และความกลมกลืนในรูปแบบศิลปะโดยอาจารย์จีรพล เพชรสม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2526 ท่าฟ้อนได้จากท่าธรรมชาติและผสมกับแม่ท่าของหมอลำ ซึ่งได้ลีลาเร้าใจและงดงามไปอีกแบบหนึ่ง

เครื่องแต่งกาย

ผู้แสดงชาย จะสวมเสื้อม่อฮ่อมนุ่งโสร่ง จำนวน 4 คน ผู้แสดงหญิง แต่งตัวชุดพื้นเมืองโดยใช้ขิดรัดหน้าอก นุ่งซิ่นพื้นเมือง ใช้ผ้าพันรอบเอว 1 คน แสดงเป็นจุดศูนย์กลางของเชือก และผู้แสดงหญิงที่แสดงเป็นผู้ดึงเชือกแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ประมาณฝ่ายละ 5-6 คนอสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งโจงกระเบนผ้ามัดหมี่ ใช้ผ้าแถบพันเอว ใช้ผ้าขาวม้าสอดใต้ระหว่างขามาผูกไว้ที่เอวทางด้านหน้าและหลัง ส่วนผมเกล้ามวยใช้ผ้าพันรอบมวย

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองผู้ไท (กาฬสินธุ์) ทำนองคอนสวัน

ลำดับขั้นตอนการแสดง

  1. ผู้แสดงชาย 4 คน ออกมาพร้อมกับผู้แสดงหญิงที่แสดงเป็นจุดศูนย์กลางของเชือก
  2. ผู้แสดงชายจะตอกหลัก
  3. ผู้แสดงหญิงออกมาทั้ง 2 ฝ่ายๆ ละ 5-6 คน จะแสดงการดึงเชือกที่จุดศูนย์กลางจะโอนเอนไปตามแรงดึง ขั้นสุดท้ายจะมีฝ่ายหนึ่งชนะที่สามารถดึงจนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งถ้าเอียงไปด้านใดก็ถือว่าด้านนั้นชนะ

ฟ้อนดึงครกดึงสาก

3diamondเซิ้งเชียงของ

พิธีเต้าแม่นางข้อง หรือ พิธีเต้าเชียงของ เป็นพิธีโบราณพิธีหนึ่งใช้ขับไล่ภูติผีปีศาจ โดยอาศัยข้องซึ่งเป็นเครื่องจักสานไม้ไผ่ชนิดหนึ่งใช้สำหรับบรรจุสัตว์น้ำ เช่น ปลา กบ หรือแมลง ส่วน "เชียง" เป็นคำในภาษาอีสาน หมายถึง ผู้ที่เคยบวชเป็นสามเณรแล้วลาสิกขาบทออกมา ซึ่งภาคกลางเรียกว่า "ทิด" แต่ชาวอีสานเรียกว่า "เชียง" (ความรู้เพิ่มเติม)

พิธีทำเชียงข้อง เริ่มต้นจากการนำเอาข้องมาตกแต่งให้มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคน โดยเอากะลามะพร้าวครอบลงบนปากข้อง จัดการมัดกะลาให้ติดแน่นกับข้องใช้ไม้ 2 - 4 อันมัดข้างๆ เพื่อใช้เป็นที่จับเรียกว่า ขา ใช้ผ้าแดงผุกที่ปากข้องทำเป็นเสื้อผ้า เขียนหน้าเขียนตาและปากที่กะลามะพร้าว

การปลุกเชียงข้องต้องใช้ หมอธรรม ซึ่งหมอธรรมจะจัดเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เงิน 6 สลึง เหล้าก้อง ไข่หน่วย ซวยสี่ ซิ่นผืน แพรวา เอาเครื่องสักการะลงในข้องแล้วตั้งจิตอธิษฐานป่าวสัคเค เชิญเทวดามาสิงในข้อง โดยหมอธรรมจะเลือกคนที่มีร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง สองคนทำพิธีเสกเป่าไปด้วย พร้อมกันนั้นก็ให้คนทั้งสองจับเซียงข้อง พอเซียงข้องได้รับการเสกเป่าก็จะเริ่มแสดงอาการดิ้น คือ จะแกว่งตัวไปมา โยนตัวไปซ้ายทีขวาที หรือพาคนจับลุกเดินหรือวิ่ง

ชาวบ้านต้องการทราบเรื่องอะไรก็จะซักถาม เช่น ฝนจะตกหรือไม่ หากตกขอให้สูญหรือสั่น หากไม่ตกให้สงบนิ่ง เชียงข้องจะมีอาการตามที่ผู้ถามบอก และถ้าต้องการให้เชียงข้องไล่ผีแม่แล้งให้พ้นไปจากหมู่บ้าน เชียงข้องจะนำคนที่จับไปยังสถานที่มีผีแม่แล้งอาศัย ชาวบ้านจะถืออาวุธต่างๆ เช่น มีด หอก ดาบ ตามไปเพื่อขู่ให้แม่ผีแล้งหนีไป

นอกจากนี้ เชียงข้องยังช่วยตามหาผีปอบ และขับไล่ผีปอบออกไปจากหมู่บ้าน หรือหาของหาย เชียงข้องสามารถหาของที่ถูกขโมยหรือของที่หายไปได้ ถ้าหาไม่พบก็จะบอกทิศทางหรือแนวทางที่จะตามหาของคืนมาได้ การทำพิธีเต้าเชียงข้องอาจจะใช้เวลานานเกือบตลอดวัน แต่ในบางครั้งก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น

การรำเชียงข้องได้แรงบันดาลใจจากพิธีกรรมดังกล่าว ซึ่งการเซิ้งเชียงข้องเป็นการสะท้อนภาพของพิธีกรรม ความเชื่อต่างๆ ของชาวอีสานออกมาในรูปแบบของการแสดง ประดิษฐ์ท่าฟ้อนโดยอาจารย์ฝ่ายนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ในปี พ.ศ. 2524

เครื่องแต่งกาย

ผู้แสดงใช้ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้ถือเชียงข้อง แต่งกายโดยใช้ผ้าแถบรัดอก นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าขาวม้าพาดสอดใต้หว่างขาไปผูกกับเอวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ใช้ผู้ชาย ๋ 1 คน แต่งชุดแสดงเป็นหมอธรรม

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายแมงตับเต่า

ลำดับขั้นตอนการแสดง

  1. จะมีหมอธรรมออกมาอัญเชิญเทวดา
  2. ผู้แสดงหญิงจะถือเชียงข้องออกมาเป็นคู่ๆ
  3. มีผีออกมา
  4. หมอธรรมจะปลุกเสกให้เชียงข้องขับไล่ผีออกจากหมู่บ้าน

เซิ้งเชียงข้อง

 

blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนศิลปาชีพ

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon sen suang bucha

สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

bulletการฟ้อนเพื่อบูชา

การฟ้อนเพื่อบูชา นั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่นับถือของคนโดยทั่วไป เช่น การฟ้อนผู้ไท เพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุมของชาวจังหวัดสกลนคร เพื่อบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนกลุ่มนั้น การฟ้อนเพื่อบูชา ได้แก่



 

3diamondฟ้อนแถบลาน

ฟ้อนแถบลาน เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีเชื้อสายลาว ฟ้อนแถบลานนี้ชาวบ้านอำเภอหล่มสักเรียกว่า "รำแขนลาน" เป็นการฟ้อนในเทศกาลเข้าพรรษาและงานทำบุญบั้งไฟ มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดง ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ผาแดง โดยมีความเชื่อกันว่า การฟ้อนแถบลานนี้ จะทำให้เจ้าพ่อผาแดงเกิดความพึงพอใจ แล้วบันดาลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ และทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ลักษณะเด่นของฟ้อนแถบลานอยู่ที่การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัดเย็บด้วยแถบใบลาน ที่มีสีสันลวดลายที่งดงาม

การแต่งกาย

ผู้แสดงหญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม ติดด้วยแถบใบลาน นุ่งผ้าซิ่น โพกศีรษะ สวมเล็บ ติดพู่แดง

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายศรีทันดร

ฟ้อนแถบลาน

3diamondฟ้อนบายศรี

บายศรีสู่ขวัญ หรือ บาศรีสูตรขวัญ เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ ที่นิยมกระทำกันสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ถือว่าเมื่อจัดทำพิธีนี้จะก่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งคำว่า บายศรี ก็หมายถึงการทำสิริให้กับชนผู้ดี สูตรเป็นคำเก่าแก่ หมายถึง การสวด ซึ่งในอันที่จริงแล้ว บาศรีสูตรขวัญนี้เป็นพิธีของพราหมณ์ ส่วนขวัญนั้นเราถือว่าเป็นของไม่มีตัวตน เห็นไม่ได้ จับต้องไม่ได้ แต่เชื่อว่า "ขวัญ" นี้แฝงอยู่ในตัวตนของคนและสัตว์มาตั้งแต่กำเนิด และขวัญนี้จะต้องอยู่ประจำตัวของตนตลอด เวลาตกใจ เสียใจ ป่วยไข้ ขวัญจะหนีไป ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นจึงต้องเรียกขวัญ หรือสูตรขวัญ เพื่อให้ขวัญหลับมาอยู่กับตัวจะได้สุขสบาย (อ่านเรื่อง การสูตรขวัญ ได้ที่นี่)

การทำพิธีสู่ขวัญนี้มีทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เหตุดี ได้แก่ หายจากการเจ็บป่วย จากไปอยู่บ้านอื่นกลับมา ไปค้าขายได้เงินทองมามาก เหตุเหล่านี้ก็มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ส่วนเหตุไม่ดี ได้แก่ การเจ็บไข้ได้ป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ ก็ทำพิธีบายศรีเช่นเดียวกัน ในวรรณกรรมอีสานหลายเรื่องที่กล่าวถึงพิธีบายศรีสู่ขวัญเช่น ในเรื่อง พญาคันคาก

                 "เมื่อนั้น ภูธรเจ้า พญาหลวงแถนเถือก
       เจ้าก็ เดินไพร่พร้อม แถนฟ้าซุพญา
                 บัดนี้ เฮาจักบาลีเจ้า บุญมีองค์ประเสริฐ จริงเทอญ
       เฮาจัก ตกแต่งพร้อม กวยช้างสู่ขวัญ ก่อนเทอญ
                 แต่นั้น ยาบๆ แส่ ฝูงหมุ่พญาแถน
       เขาก็ ปูนกันตก แต่งงัวควายช้าง"

หรือ

                  เขาก็ ยาบๆ พร้อม แตกต่างพาขวัญ
        เงินคำกอง เบิกบาสีเจ้า
                 บัดนี้ สิทธิเดชไท้ มาฮอดเมืองแถน
        ขวัญอย่าอ่อน อยู่ยืนยาวเทอญ
 

ram bai si

pan baisri 01การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ เนื่องมาจากพิธีบายศรีสู่ขวัญเมื่อมีแขกมาเยือน ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาวอีสานจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมี พานบายศรี หรือที่เรียกว่า "พาขวัญ" การจัดพาขวัญนี้ปกติต้องจัดด้วยพานทองเหลือง หรือขันสัมฤทธิ์หลายใบซ้อนๆ กัน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ชั้นถึง 9 ชั้น มีใบตองจัดเป็นกรวยเข้าช่อ ประดับดอกไม้สดดูสวยงาม

ชั้นล่างของพาขวัญ จะเป็นพานมีใบศรีทำด้วยใบตอง ดอกไม้สด ข้าวต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว มีดด้ามคำ ชั้นต่อไปจะตกแต่งด้วยใบศรีและดอกไม้สด ซึ่งจะเป็นดอกปาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า

ส่วนชั้นที่ 5 จะมีฝ้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว นอกจากพาขวัญแล้วจะต้องมีเครื่องบูชาอื่นๆ เช่น ขันบูชา ขันธ์ 5 ซึ่งมีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า 1 ผืน แพร 1 วา หวี กระจกเงา น้ำอบน้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ โดยจะมีพรารหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนองของชาวบ้าน ในคำเรียกขวัญนั้นมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลี และคำเรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า "สูตรขวัญ" ซึ่งคำสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดฟ้อนบายศรีขึ้น เพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจ เพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แต่งโดยอาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล และท่าฟ้อนประดิษฐ์ขึ้นโดยอาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์ แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ แต่เนื้อร้องอาจจะเพี้ยนจากเดิมไปบ้างดังนี้

          "มาเถิดเย้อ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
หมู่ชาวเมืองมาเบื้องขวานั่งซ่ายล่าย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
ยอพาขวัญ ไม้จันทร์เพริศแพร้ว
ขวัญมาแล้ว มาสู่คีงกลม
เกศเจ้าหอมลอยลม ทัดเอื้องชวนดม เก็บเอาไว้บูชา
ยามเมื่อฝนเจ้าอย่าคลาย ยามแดดสายเจ้าอย่าคลา
อยู่ที่ไหนจุ่งมารัดด้ายไสยา มาคล้องผ้าแพรกระเจา

        อย่าเพลินเผลอ มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
อยู่แดนดินใด หรือฟากฟ้าไกล ขอให้มาเฮือนเฮา
เผืออย่าคิดอาศัยซู้เก่า ขออย่าเว้าขวัยเจ้าจะตรม
หมอกน้ำค้างพร่างพรม ขวัญอย่าเพลินชม ป่าเขาลำเนาไพร
เชิญมาทัดพวงพยอม ทาน้ำหอมให้ชื่นใจ
เหล่าข้าน้อยแต่งไว้ ร้อยพวงมาลัยมาคล้องให้สวยรวย"

หลังจากฟ้อนบายศรีเรียกขวัญแล้ว จะมีการผูกข้อมือด้วยฝ้าย ซึ่งผ่านพิธีกรรมแล้ว ถือว่าเป็นฝ้ายมงคลทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

ram bai si 2

การแต่งกาย

ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ใส่เสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่นห่มสไบเฉียง เกล้าผมมวย ทัดดอกไม้

 

ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ

3diamondเรือมมม๊วต

เรือมมม๊วต หรือ โจลมม๊อต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เรือมมม๊วต จะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้คนกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยให้มีอาการทุเลาลงได้ แม้ว่าจะเป็นพิธีกรรมที่มีมานานมากแล้วก็ตาม ก็ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวสุรินทร์มีความเชื่อว่า ดนตรีนั้นสามารถรักษาคนป่วยให้หายไข้หรือโรคภัยไข้เจ็บได้ อุปกรณ์ประกอบการเซ่นไหว้เหมือนกับการไหว้ครูดนตรี

การเล่นเรือมมม๊วต จะไม่จำกัดจำนวน ในจำนวนผู้เล่นจะต้องมีหัวหน้า หรือครูมม๊วตอาวุโส ทำหน้าที่เป้นผู้นำพิธีต่างๆ เป็นผู้จัดระเบียบแนะนำสั่งสอนทั้งมม๊วตเก่าและมม๊วตใหม่ และเป็นผู้รำตามทำนองเพลง "กาปเป" ไล่เสนียดจังไรทั้งปวง นอกจากนี้ต้องมีพี่เลี้ยงของมม๊วตอีกเท่าจำนวนผู้เล่น เพื่อคอยรับใช้และซักถามม๊วตที่เข้าทรงแล้ว เช่น ถามเรื่องคนป่วย ซึ่งเป็นคนที่เป็นพี่เลี้ยงของมม๊วตนั้น จะต้องเข้าใจภาษาพูดของผู้ทรงมม๊วตเป็นอย่างดี

โอกาสการเล่นมักจะเป็นการเล่นตามประเพณี คือ เป็นการเล่นไหว้ครูหรือตามสัญญาที่ได้กล่าวบนเอาไว้ มักจะเล่นวันที่เป็นสิริมงคล ยกเว้นวันพระ ส่วนเวลาไหนนั้นก็แล้วแต่สะดวกอาจเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ได้ การเล่นมม๊วตอีกอย่างหนึ่งเมื่อมีผู้ป่วยเป็นกระทันหันญาติๆ ต้องให้เล่นเรือมม๊วต ทำนองและจังหวะดนตรีมีดังนี้

  1. ทำนองและจังหวะไหว้ครูดนตรีใช้ทำนอง ซแร็ยซเติร
  2. ทำนองและจังหวะไหว้ครูผู้เข้ามม๊วต เรียกว่า โจลมม๊วต ใช้ทำนองเพลงเพลียง
  3. ทำนองและจังหวะออกรำ ซึ่งท่ารำหรือฟ้อนนั้นก้แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน ใช้ทำนองเพลงบันแซร
  4. ทำนองและจังหวะรำตามใช้ทำนองเพลงกาปเป
  5. ทำนองและจังหวะรำ ใช้ทำนองเพลงเซียม มลปโดง อันซอง ซแนญนบ ฯลฯ
  6. ทำนองและจังหวะเบ็ดเตล้ดประกอบท่ารำของมม๊วต ใช้ทำนองเพลงตัมแร๊ย หม๊วนพลุ ตระเนาะทม็วนแพล และจบลงด้วย จังหวะซาปดาน

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีประกอบไปด้วย โทนอย่างน้อย 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่

การแต่งกาย

จะใช้ชุดพื้นเมืองของชาวอีสานใต้

 

เรือมมะม็อต

3diamondเชิ้งตูมกาอธิษฐาน

ชาวอีสานมีประเพณีที่สืบทอดกันโดยเฉพาะในวันออกพรรษา คือ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกๆ ปี ชาวอีสานจะมีพิธี จุดน้ำมันตูมกา โดยใช้ลูกตูมกา ฟักทอง หรือกระบอกไม้ไผ่บรรจุน้ำมันมะพร้าว จุดตั้งไว้จนสว่างไสวไปทั่วบริเวณวัดและในหมู่บ้าน ประเพณีการจุดน้ำมันตูมกานี้เป็นการบูชาและระลึกถึงพระพุทธเจ้า และในวันนี้จะมีการกวนข้าวทิพย์ด้วย จากแรงศรัทธาและความประทับใจในประเพณีการจุดน้ำมันตูมกานี้ ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสกลนคร จึงได้นำมาประยุกต์เป็นรูปแบบของการแสดงที่สวยงามชุดหนึ่ง

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบ กลองกิ่ง ลายผู้ไท

การแต่งกาย

ผู้แสดงหญิงล้วนแต่งกายพื้นเมืองชาวผู้ไท คือ นุ่งผ้าซิ่นดำมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อดำขลิบแดงเข้ารูปแขนกระบอกผ่าหน้า ติดกระดุมเงินหรือกระดุมสีขาวตลอดแนว สวมเล็บยาวที่ทำจากกระดาษสีติดพู่ที่ปลายเล็บ ห่มสไบเฉียงทิ้งชายด้านขวา ผมเกล้ามวยสูงผูกผ้าแดง

ฟ้อนพุทธบูชา (ตูมกาถวาย)

 

blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนศิลปาชีพ

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon sen suang bucha

สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

bulletการฟ้อนเพื่อบูชา

การฟ้อนเพื่อบูชา นั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่นับถือของคนโดยทั่วไป เช่น การฟ้อนผู้ไท เพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุมของชาวจังหวัดสกลนคร เพื่อบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนกลุ่มนั้น การฟ้อนเพื่อบูชา ได้แก่



 

3diamondเชิ้งผีหมอ

ผีหมอ นั้นเป็นเทวดาที่ลงมาสิงสถิตย์อยู่ในร่างของมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น เช่น มีหญิงกลางคนเกิดล้มเจ็บลงอย่างกระทันหัน แล้วเพ้อว่า "ตัวเอง เป็นเทวดาต้องการมาอาศัยอยู่กับลูกที่กำลังป่วยนี้ ถ้าไม่ให้อาศัยอยู่ก็จะเอาชีวิตผู้ป่วยเสีย" เมื่อญาติๆ ยินยอมตามคำเพ้อของผู้ป่วยๆ เริ่มทุเลาในที่สุดก็หายป่วย ประเพณีบูชาผีหมอจะทำเป็นประจำในราวเดือนสี่ของทุกๆ ปี โดยทำกันในเวลาข้างขึ้น เมื่อจะมีพิธีผีหมอประจำหมู่บ้านก็จะไปบอกข่าวการทำพิธี ณ บ้านต่างๆ ที่สังกัดเข้าผีหมอด้วยกัน

หลังจากนั้น ผีหมอที่อยู่ในหมู่บ้านอื่นเมื่อทราบข่าวก็จะเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ พวงมาลัย ดาบ ปลาแห้ง ให้พร้อม พอถึงวันนัดก็มาพร้อมกับแต่งตัวลงสู่ปะรำพิธี ที่จัดไว้ให้มีการเล่นเกม และฟ้อนรำเป็นที่สนุกสนานยิ่ง

เครื่องแต่งกาย

ผู้หญิงสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ใช้สไบสีแดงโพกศีรษะ ผู้ชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว

อุปกรณ์การแสดง

จานเล็กๆ ใส่ดอกไม้สีขาว 10 ดอก เทียน ไม้ขีดไฟ ไข่ต้ม มีดดาบ ผ้าสไบ พวงมาลัย ปลาแห้ง

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน

ขั้นตอนการแสดง

  1. ผู้แสดงหญิงจะเดินถือจานใส่ของออกมานั่ง แล้วหยิบผ้าคาดศีรษะ จุดเทียนเสี่ยงไข่ และเข้าทรง
  2. ผู้แสดงชายจะออกมาทีละคน แย่งพวงมาลัย ดาบ และปลาแห้ง
  3. ออกจากทรง

การแสดงฟ้อนเลี้ยงผีหมอ โดย วงสินไซ

3diamondฟ้อนผีฟ้า

ชาวอีสานเชื่อกันว่า มีเทพเจ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ มีนามว่า พระยาแถน เป็นผู้สร้างมนุษย์ให้เกิดมาบนโลก และควบคุมความเป็นไปของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เกิดมาแล้วจะมีความสุข ความทุกข์ หรือยากดีมีจนก็ขึ้นอยู่กับอำนาจของพระยาแถน และยังมีความเชื่อว่า บนผืนโลกอันกว้างใหญ่นี้ ท่ามกลางป่าสูง หรือป่าดงดิบ แม่น้ำลำคลอง ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ย่อมจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์อยู่ ใครจะทำอะไรก็จะต้องบนบานสานกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความไม่สบายเกิดขึ้นในครอบครัว รักษาไม่หาย พวกพี่น้องของผู้ป่วยก็เชิญผู้มีวิชาอาคมมาลำ และฟ้อนขับกล่อม เพื่อให้ผู้ป่วยหายขากการป่วยนั้นๆ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ชาวบ้านเรียกว่า "ผีฟ้า" การลำผีฟ้ามีอยู่ 2 ลักษณะคือ

liang pee fah

  • ลำเพื่อบวงสรวงบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า ผีโคตร หรือ ผีต้นตระกูล ซึ่งจะอาสัยอยู่ตามบ้าน ตามเล้า ตามตุ่มน้ำ หรือตามครกมอง ปีหนึ่งๆ จะต้องเลี้ยงครั้งหนึ่งในราวเดือนหก หรือเดือนเจ็ด ดังกลอนลำว่า
              เดือนหกตั้งสังขารดอกไม้ใหญ่
    มาชมดวงดอกไม้สเลเตชมพั๊วดอกหุ่ง
    ลงมาเล่นผามเพียงเย็นเลี้ยงข่วง
    เอาเดอ เอาเดอ เฮาเอย
    ลงมาเล่นกันตำบักหุ่งติ่ง
    หัวค่อยๆ ย่านแอวมองหัก
    หัวแฮงๆ ย่านแอวมองขาดเคิ่ง
    ดึกดื่นแล้วแมลงภู่หาบ่อนนอน
    แมงซอนหาบ่อนซ้นคนจนหาบ่อนเพิ่ม เอาเดอ
  • ลำเพื่อรักษาคนป่วย ซึ่งเป็นการลำเพื่อสอดส่องหาสาเหตุแห่งความเจ็บป่วย ผู้ลำหรือหมอลำที่ชาวบ้านสามารถติดต่อกับภูติผี วิญญาณหรือเทวดาได้ หมอลำจะเริ่มพิธีด้วยการคุกเข่าตรงหน้าเครื่องบูชา กราบลงแล้วเชิญผีฟ้าให้มารับเครื่องบูชา หมอลำผีฟ้าก็จะลำจนทราบสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย ถ้าสาเหตุนั้นเกิดจากผีฟ้า หมอลำผีฟ้าก็จะขับลำนำอ้อนวอนให้ผีฟ้าออกจากร่างของผู้ป่วย ในขณะที่หมอลำผีฟ้าลำอยู่นั้น บริวารผีฟ้าก็จะฟ้อนบูชาผีฟ้าไปด้วย หมอแคนก็จะเป่าแคนประกอบการลำ ผู้ป่วยบางรายก็จะลุกขึ้นฟ้อนตามบริวารผีฟ้า และเมื่อรักษาจนหายการเจ็บป่วยแล้ว จะต้องเป็นบริวารของผีฟ้าต่อไป ตัวอย่างกลอนลำอ้อนวอนผีฟ้า
              ขอนำฮ่องคองคูมาฮอดพ่อ
    รินทองท้าวนางกองคำให้เจ้านำส่งพ่อเด้อนางเอย
    มาเดอแก้วกองคำพวงหมากหล่ำ
    มาฮอดแล้งบ่อนไข้กะให้ลง
    บ่อนโพงกะให้แวบ
    กินเข้ากะให้ตกท้องหนา
    กินปลาก็ให้ตกท้องน้อง
    คันเจ้าให้แซบซ้อนเมือหน้าสิบ่เอา
    วันผัดอย่าให้กลายวันหมายอย่าให้ชุด
    ผัดหมายให้วันลุนฮอดมื้ออื่น
    ตื่นมื้อเช้าเมือหน้าให้ส่วงเซา
    หมอว่านให้หาว่านมาทา
    ยาฮากไม้ทางไว้ให้ส่วงหาย

การลำผีฟ้า เพื่อรักษาคนป่วยนั้นจะต้องมีลำดับขั้นตอนดังนี้

  1. เมื่อครอบครัวใดเกิดมีผู้ป่วยซึ่งรักษาไม่หาย ญาติของผู้ป่วยก็จะไปหาหมอลำผีฟ้า เพื่อเชิญมาดูอาการว่าจะมีเทิง (ผีฟ้า) มาสิงอยู่หรือไม่ หรือถ้าไม่มีใครมาสิงก็จะดูอาการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากอะไร จะใช้วิธีใดในการรักษา
  2. การทำพิธีจะต้องกระทำบนบ้านของผู้ป่วย โดยมีญาติผู้ป่วยอยู่ในพิธีนั้นด้วย หมอลำผีฟ้าจะมากับบริวารของหมอลำผีฟ้า (คือ คนที่หมอลำผีฟ้ารักษาหายแล้ว) และหมอแคน
  3. หมอลำผีฟ้าจะเริ่มต้นด้วย การตั้งเครื่องบูชาพระยาแถน ด้วยเครื่องบูชาที่มีอุปกรณ์ดังนี้ บายศรีหมากเบ็ง 1 ต้น เหล้า ไข่ ขัน 5 ผ้าแพรวา เงิน แล้วแต่หมอจะเรียก โดยปกติ 6 บาท หรือหนึ่งตำลึง ด้ายผูกแขน
  4. การประกอบพิธีมีดังนี้ ให้คนป่วยนั่งอยู่ซ้ายสุดนั่งพับเพียบ พนมมือ ถือกรวยดอกไม้ หมอลำผีฟ้ากราบลง 3 ครั้ง แล้วจะทำพิธีเสี่ยงทายไข่ว่า พระยาแถนจะลงมาเข้าทรงหรือไม่ โดยจะนำไข่มาวางลงในมือคนป่วย แล้วหมอลำผีฟ้าจะลำอัญเชิญพระยาแถนลงมา หากท่านลงมาสู่พิธีไข่ไก่จะค่อยๆ กระดกตัวขึ้น แต่ถ้าพระยาแถนไม่ลงมาไข่ไก่จะนอนอยู่อย่างนั้นตลอดไป วิธีอัญเชิญนั้นจะมีการลำเพื่อขอร้องและการฟ้อนประกอบ

    พระยาแถนเข้าทรงจะสังเกตได้จากการที่หมอลำขนลุก แล้วหมอลำก็จะ "ลำส่อง" เป็นการลำเพื่อหาสาเหตุของการป่วย เมื่อทราบสาเหตุแล้วจะมีการ "ลำปัว" หรือลำรักษาดังเนื้อหาของกลอนลำข้างต้น โดยจะกล่าวถึงการขอโทษที่ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงแต่งคายเพื่อขอขมา และขอให้คนป่วยหาย ช่วงนี้จะมีการฟ้อนประกอบ โดยหมอลำผีฟ้าจะฟ้อนก่อน แล้วบริวารของผีฟ้าก็จะฟ้อนตาม ในบางครั้งผู้ป่วยก็จะลุกขึ้นฟ้อนตาม สุดท้ายคือการ "ลำส่ง" คือให้สัญญาว่าจะทำทุกอย่างที่ผีต้องการ เสร็จแล้วหมอลำผีฟ้าจะให้น้ำมนต์แก่ผู้ป่วยดื่ม เอาด้ายผูกแขนให้เป็นอันเสร็จสิ้นการฟ้อนผีฟ้า และวันถัดไปญาติของคนป่วยอาจทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้อีกก็ได้
ฟ้อนผีฟ้า

ฟ้อนผีฟ้า มีประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ยาวนาน ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เห็นว่า นิสิตปัจจุบันควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมสมัยโบราณ เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้

การแต่งกาย

การแต่งกายของหมอลำผีฟ้าจะสวมผ้าซิ่นไหม เสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบ บริวารก็แต่งตัวเรียบร้อยแบบชาวบ้านทั่วไป

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน โดยเฉพาะแคน

 

3diamondฟ้อนไทยดำ

ชาวไทดำ เดิมอาศัยอยู่แถบเมืองเชียงขวาง เมืองแถง เมืองไล และเมืองลอ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยในช่วงที่มีการปราบฮ่อ ราวรัชกาลที่ 5 ในปัจจุบันชาวไทดำ ตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

สำหรับชาวไทดำจะนับถือและบูชาพระยาแถน บรรพบุรุษและผีต่างๆ มาก ชาวไทดำมีความเชื่อว่า คนทุกๆ คนนอกจากประกอบไปด้วยร่างกายแล้ว ยังประกอบด้วยอีกส่วนหนึ่งก็คือ ขวัญ (วิญญาณหรือจิต) และเชื่อว่าคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเกิดจาก การที่ขวัญไม่อยู่กับตัวเองหรือขวัญได้หนีหายไป จะต้องมีพิธีตามหาขวัญหรือเรียกขวัญให้กลับคืนมา ในพิธีการเรียกขวัญนี้ต้องอาศัยหมอผี ซึ่งชาวไทดำเรียกว่า มด โดยหมอผีจะเชิญผีต่างๆ ให้ไปตามหาขวัญกลับมา

ในการเชิญผีชนิดใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าขวัญนั้นจะไปตกอยู่ที่ใด เช่น ขวัญไปอยู่ตามป่าตามเขาก็จะอัญเชิญผียะวาย ซึ่งเป็นผีเจ้าป่าเจ้าเขาเป็นผู้ตามหาขวัญให้กลับมา แต่ถ้าขวัญตกน้ำก็จะเชิญผีกองกอยตามหาขวัญ ซึ่งเมื่อตามหาขวัญกลับมาได้แล้ว คนไข้ก็จะหายจากการเจ็บป่วย และเมื่อถูกรักษาหายก็จะเป็นลูกเลี้ยงของหมอผีไป

ฟ้อนไทดำ เพลง แคน ย่าง

เมื่อครบรอบ 4 ปี หมอผีจะจัดพิธีเลี้ยงผีขึ้น ซึ่งชาว ไทดำเรียกพิธีนี้ว่า การแซปาง หรือ ชมปาง โดยหมอผีจะอัญเชิญเทพเจ้าต่างๆ ที่ชาวไทดำนับถือลงมาชมปางก่อน แล้วค่อยอัญเชิญผีชนิดต่างๆ ลงมาชมปาง ในพิธีนี้ชาวไทดำทุกคนจะต้องมาร่วมพิธี ซึ่งมีการจัดหาเครื่องดนตรี มีการจัดเลี้ยงและฟ้อนรำ

 

3diamondเรือมปัญโจล

ruam pan jolศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ นำโดย ผศ.ภูมิจิตร เรืองเดช และอาจารย์ผกา เบญจกาญจน์ ได้ไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมที่เรียกว่า "บองบ๊อด" ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งพิธีกรรมบองบ๊อด นี้เป็นพิธีกรรมที่จะใช้รักษาคนไข้ คำว่า "บองบ๊อด" แปลว่า รักษาคนไข้ ก่อนการรักษาตามพิธีการ จะเริ่มจากผู้ทำพิธีจะต้องเป็นผู้ที่ถือศีล และปฏิบัติตนในทางที่ดีงามอยู่เสมอ ในการรักษา เมื่อคนทรงเข้าสู่โรงพิธีก็จะจุดธูปเทียน ท่องคาถาอัญเชิญเทวดาให้มาประทับทรง เมื่อประทับทรงแล้วคนทรงก็จะฟ้อนไปรอบๆ ในลักษณะสี่ทิศ

เมื่อไหว้ครูแล้ว คนทรงซึ่งส่วนใหญ่มีอายุมากอาจเหนื่อย ก็มอบให้ศิษย์ต่อซึ่งเทพก็จะเข้ามาสิงสถิตย์ที่ตัวลูกศิษย์ ศิษย์ก็จะร่ายรำในลักษณะต่างๆ ที่ช่วยในการรักษาคนไข้ คนไข้ที่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดอารมณ์ร่วม ลุกขึ้นฟ้อนไปกับคนทรงก็ได้ การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการเข้าทรงนี้ มิได้มุ่งหมายให้คนป่วยนั้นหายขาดจากโรคภัย แต่เป็นการเพิ่มพูนกำลังใจให้กับผู้ป่วย

เรือมปัลโจล หรือ ฟ้อนเทพประทับทรง นี้ ผู้ทรงจะร่ายรำออกไปเอง โดยมิได้มีการฝึกซ้อมมาก่อน ทางวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จึงได้นำท่าฟ้อนมาประดิษฐ์เป็นชุดฟ้อน "เรือมปัลโจล" ขึ้น โดยอาสัยเค้าเดิม พร้อมปรับปรุงขบวนฟ้อน และท่าฟ้อนให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น

เครื่องแต่งกาย

ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน นุ่งผ้าวิ่นกรอมเท้า ห่มผ้าแถบพันรอบอก ห่มสไบทับด้านหน้าไว้หาง 2 ชาย ด้านหลังคาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ให้ผู้แสดงถือขันบายศรี หรือขันหมากเบ็ง

ลำดับขั้นตอนการแสดง

ท่าฟ้อน "เรือมปัลโจล" ผู้แสดงจะถือขันหมากเบ็งออกมานำหน้า คนทรงและลูกน้องจะเริ่มอัญเชิญเทวดาหรือเทพเพื่อประทับทรง เมื่อเทพประทับทรง หัวหน้าคนทรงก็จะมอบต่อไปยังลุกน้อง หรือศิษย์ ต่อไปก็เป็นการฟ้อนพร้อมๆ กัน โดยแสดงการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เท้า ข้อมือ ไหล่ หัวเข่า การใช้ลำตัว ฯลฯ

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้วงกันตรึม ทำนองเพลงกัญจังเจก อาไยกัด เชิ๊บจ๊ะซ์

เรือมโจลมะมด (รำเข้าทรง)

 

blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนศิลปาชีพ

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon sen suang bucha

สังคมและวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง ยังคงยึดมั่นกับความเชื่อในเรื่อง ภูติ ผี วิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ดังนั้น ลูกหลานที่สืบทอดความเชื่อนี้ จะต้องให้ความเคารพและเซ่นสังเวย เพื่อบูชาเป็นประจำทุกๆ ปี ซึ่งเชื่อว่า เมื่อได้ทำการเซ่นสังเวยตามพิธีกรรมแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติแล้วจะให้ร้ายแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ ดังนั้น จึงมีการฟ้อนเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผี วิญญาณ นั้นพึงพอใจ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การฟ้อนเพื่อเซ่นสรวงบัดพลีหรือบูชานั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

bulletการฟ้อนเพื่อบูชา

การฟ้อนเพื่อบูชา นั้น ส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ เพื่อบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่นับถือของคนโดยทั่วไป เช่น การฟ้อนผู้ไท เพื่อบูชาพระธาตุเชิงชุม ของชาวจังหวัดสกลนคร เพื่อบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนกลุ่มนั้น การฟ้อนเพื่อบูชา ได้แก่



3diamondฟ้อนภูไทหรือผู้ไท

พระธาตุเชิงชุม เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสกลนคร ซึ่งในสมัยโบราณนั้นต้องมีคนคอยเฝ้าดูแล รักษาทำความสะอาดอยู่ตลอดทั้งปี ซึ่งพวกที่ดูแลทำนุบำรุงพระธาตุเชิงชุมนี้ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรัษฏชูปการ ซึ่งมีหลายชนเผ่าด้วยกัน ซึ่งในกลุ่มผู้ดูแลนั้นมีชาวผู้ไทรวมอยู่ด้วย ในตอนนั้นมักจะมีงานบุญทอดผ้าป่าและฉลององค์พระธาตุเชิงชุม ชาวบ้านจะนำข้าวเม่า ปลาย่าง มาติดกัณฑ์เทศน์ ชาวผู้ไทซึ่งเป็นกลุ่มที่อาสาเป็นผู้ปฏิบัติรักษาองค์พระธาตุ โดยเฉพาะผู้ชายจะแต่งตัวนุ่งกางเกงขาก๊วย และนุ่งโสร่งทับ สวมเสื้อดำ จะฟ้อนด้วยลีลาอันอ่อนช้อยสวยงาม โดยร้องและฟ้อนกันเป็นหมู่ๆ แล้วจึงถวายผ้าป่า ต่อมาได้มีการดัดแปลงท่าฟ้อนให้สวยงามยิ่งขึ้น เปลี่ยนจากผู้แสดงชายมาเป็นหญิงล้วน

เครื่องแต่งกาย

ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำขลิบแดง นุ่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อสีดำขลิบแดง หรือแดงขลิบดำก็ได้ แต่ขลิบคอ แขนและชายเสื้อ สวมเล็บมือแปดเล็บ ติดพู่สีแดง ผมเกล้ามวยผูกผมด้วยผ้าสีแดง

ฟ้อนภูไทสกลนคร

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายผู้ไท ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีลีลาและจังหวะเร็วกว่าลายผู้ไทของจังหวัดอื่นๆ

เพลงประกอบการฟ้อนผู้ไท

เพลงประกอบการฟ้อนผู้ไทของจังหวัดสกลนครจะมีเนื้อร้องประกอบ แต่งโดย คุณคมคาย ณ หนองคาย ซึ่งมีเนื้อเพลงดังนี้

เพลงฟ้อนผู้ไท (สกลนคร)
          ไปเยอเฮาไป
ไปโฮมพี่และโฮมน้อง
เทิงเขาแสนจน
ข้อยสู่ทนยาก
มีโชคมีชัย
พ้นภัยไร้ทุกข์
หลับไปให้ได้เงินหมื่น
อิ่มใจเหมือนแป้น
มาเน้อเฮามา
มาให้พรทั้งพี่และน้อง
ไปให้เอาชัยเอาช่อง (ซ้ำ)
ไปโห่เอาช่องเอาชัย
หนทางก็ลำบาก (ซ้ำ)
มาฟ้อนรำให้เพิ่นเบิ่ง
ให้ท่านมีสุขสมใจ
ตื่นให้ได้เงินแสน
มีคู่มีแฟนคู่ใจเงินทองไหลมาไวไว
มาโห่มาลาพี่น้อง
มาโห่เอาช่องเอาชัย

แต่เนื้อร้องที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปนั้น แต่งโดย คุณครูบัวผัน วงศ์เทพ โรงเรียนบ้านหนองศาลา ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และเพลงฟ้อนภูไทนี้ทางกรมศิลปากรได้นำไปเผยแพร่ จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ซึ่งมีเนื้อเพลงดังนี้

เพลงฟ้อนผู้ไท
          ไปเย้อเฮาไป
ไปโฮมพี่โฮมน้อง
เพิ่งเขาแสนจน
ข้อยสู้ทนยาก
ข้อยอยู่เทิงเขา
พวกข้อยขออำนวย
ขออำนาจไตรรัตน์
ชาวไทยทั่วหน้า
เวลาก็จวน
ขอความมีชัย
ข้อยลาละเน้อ
ไปโห่เอาชัยเอาช่อง (รับ)
ไปช่วยแซ่ฮ้องอวยพร
หนทางก็ลำบาก (รับ)
มาร้องรำให้เพิ่นซม
เอาใจมาช่วย (รับ)
อวยชัยให้ละเนอ
จงปกปักฮักษา (รับ)
ให้วัฒนาสืบไป
ข้อยสิด่วนไป (รับ)
แต่ทุกท่านเทอญ
ข้อยลาละเน้อ

การฟ้อนภูไทของจังหวัดสกลนครนี้ จะมีการฟ้อนใน 2 ลักษณะ คือ

  1. ฟ้อนตีบทตามเนื้อเพลง ให้เหมาะสมกับเนื้อเพลงในแต่ละท่อน
  2. ฟ้อนประกอบทำนองเพลง ซึ่งก็คือเพลงรับนั้นเอง เมื่อขับร้องเนื้อเพลงจบในแต่ละท่อนก็จะมีดนตรีรับ ซึ่งท่าฟ้อนนั้นจะใช้ท่ามาตรฐานที่ชาวผู้ไทประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าหลักที่ใช้ในการฟ้อนซึ่งได้แก่

ท่าดอกบัวตูม มีลักษณะคล้ายฟ้อนเล็บของภาคเหนือ ใช้สองมือจีบกรีดนิ้วออกหลังมือชนกันหมุนสลับไปสลับมา เป็นท่าเริ่มต้นของการฟ้อน

ท่าดอกบัวบาน มีลักษณะคล้ายท่าสร้อยมาลาแปลง คือ มีการตั้งวงบนสลับกับการจีบหงายระดับหัวเข็มขัด สลับกับการคลายจับไปตั้งวงบน

ท่าแซงแซวลงหาด มือซ้ายและขวาจีบหงายพร้อมกันที่ระดับเอว เริ่มจากจีบด้านซ้ายแล้วเปลี่ยนมาด้านขวา คล้ายจีบส่งมือไปด้านหลังในท่ายูงฟ้อนหาง ลากมือกลับจีบระดับหน้าแล้วม้วนมือคลายจีบในระดับศีรษะ

ท่าบังแสง คล้ายท่าชักแป้งผัดหน้า หงายมือทั้ง 2 ข้าง มือขวาปะที่แก้ม มือซ้ายเหยียดตึงไปข้างหน้า

ท่านางไอ่เลาะดอนหรือนางไอ่เลียบหาด มือขวายกสูงจีบและคลายมือแบหงาย มือซ้ายจีบส่งไปด้านหลัง หมุนตัวอยู่กับที่ 2 ครั้ง หมุนครั้งที่สองสลับมือสูงมาต่ำ มือต่ำไปสูงเดินสลับแถว หมุนตัว 2 ครั้ง แล้วกลับมาแถวเดิม

ท่านาคีม้วนหาง มือทั้งสองจีบเข้าหาตัวพร้อมกันในระดับเอว แล้วกรีดมือทั้งสองออกพร้อมกัน มือหนึ่งคลายจีบออกด้านนอก ตั้งวงบน มือหนึ่งคลายจีบส่งมือไปด้านหลังแล้วกลับมาเริ่มด้านใหม่เป็นท่าจบ

 

3diamondแสกเต้นสาก

ชาวแสก มีถิ่นฐานเดิมอยู่ใกล้กับญวณแถบเมืองรอง ซึ่งขึ้นอยู่กับกรุงเว้ ในตอนกลางของประเทศเวียตนาม จากนั้นค่อยๆ อพยพเข้ามาอยู่ตามลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศลาว และอพยพเข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในราวสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา และอพยพครั้งใหญ่อีกครั้งในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวส่งกองทัพไปปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ ได้กวาดต้อนผู้คนจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทย โดยเริ่มตั้งถิ่นฐานที่บ้านอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในปัจจุบัน นอกจากที่บ้านอาจสามารถแล้ว ยังมีชาวแสกที่ บ้านมะหว้า บ้านดอนส้มมอ บ้านท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และยังกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดสกลนคร และมุกดาหารอีกด้วย

ชาวแสก ซึ่งยังคงดำรงรักษาขนบธรรมเนียมและความเชื่อดั้งเดิม ดังนั้นในเดือนสามข้างขึ้น 1-3 ค่ำของทุกปี ชาวแสกจะมีประเพณีตรุษแสก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อบวงสรวงบูชาศาลเจ้าองมู่ ซึ่งชาวแสกเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษ ซึ่งคุ้มครองรักษาให้ชาวแสกปราศจากภยันตรายทั้งปวง โดยมี หมอเหยา หรือ เจ้าจ้ำ หรือที่ภาษาแสกเรียกว่า ก๋วนจ้ำ เป็นผู้ทำพิธี เมื่อทำพิธีบวงสรวงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะร่วมรับประทานอาหารดื่มสุรา และร้องรำทำเพลงกัน การละเล่นที่นิยมเล่นในวันตรุษนี้ก็คือ การเต้นสาก ซึ่งชาวแสกเองเรียกว่า แสกแซงสาก ซึ่งในคราวที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปตรวจราชการมณฑลอุดรและมณฑลอีสานในปี พ.ศ. 2449 นั้นได้ทรงเล่าถึงการเต้นสากไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดีไว้ว่า

"เขาพาพวกผู้หญิงแสกมา มีการเล่นให้ฉันดูอย่างหนึ่งเรียกว่า "เต้นสาก" มีผู้หญิง 10 คู่นั่งหันหน้าหากันเรียงเป็นแถว แต่ละคนถือปลายไม้พลองมือละอันทั้งสองข้าง วางไม้พลองบนไม้ขอนที่ทอดไว้ตรงหน้า 2 ท่อน มีทางอยู่ตรงกลาง เวลาหญิงทั้งสิบคู่นั้นขับร้อง แล้วเอาไม้พลองที่ถือลงกระทบไม้ขอนพร้อมๆ กัน เป็นจังหวะ 1 กับจังหวะ 2 คือ ไม้พลองให้ห่างกัน ถึงจังหวะ 3 รวบไม้พลองเข้าชิดกัน มีหญิงสาว 4 คน ผลัดกันเต้นทีละคู่ เต้นตามจังหวะไปในระหว่างช่องไม้พลองทั้ง 10 คู่นั้น ต้องระวังเมื่อถึงจังหวะ 3 อย่าให้ถูกไม้พลองหนีบข้อเท้า กระบวนการเล่นมีเท่านั้น"

 
ฟ้อนแสกเต้นสาก

การเต้นสากของชาวแสกนี้นับว่า เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวอีสานที่เก่าแก่ และยังคงรูปลักษณ์ของการละเล่นพื้นบ้านไว้คงเดิมมากที่สุด การแสดงเต้นสากนี้ถ้าเป็นการแสดงของชาวบ้านจริงๆ จะไม่มีดนตรีประกอบ จะใช้เสียงกระทบไม้พลองเป็นจังหวะที่เร้าใจ การเต้นสากนี้ผู้เต้นไม่จำกัดเพศและวัย แต่ส่วนใหญ่ผู้หญิงยังคงนิยมเต้นมากกว่าผู้ชาย ในสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ การแสดงแสกเต้นสากนี้มีการร้องประกอบ แต่ในปัจจุบันไม่มีการขับร้องแต่อย่างใด ส่วนท่ารำก็ไม่มีแบบแผนมาตรฐาน มีเพียงการเต้นเข้าสากตามจังหวะกระทบของสากเท่านั้น มือก็จีบขึ้นลงแบบง่ายๆ

เครื่องแต่งกาย

การแสดงแสกเต้นสากนี้ถ้าเป็นการแสดงของชาวบ้านแท้ๆ จะใช้ผู้แสดงหญิงล้วน สวมชุดสีดำแขนกระบอก ผ้าซิ่นดำห่มสไบแดง ส่วนการแสดงแสกเต้นสากที่วิทยาลัยครูสกลนครนำไปประยุกต์นั้น จะใช้ผู้แสดงชายและหญิง ผู้แสดงหญิงจะสวมชุดสีดำ แขนกระบอก ผ้าถุงดำห่มสไบแดงเช่นกัน แต่ผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงขาก๊วย ดพกผ้าขาวม้า และใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว

เครื่องดนตรี

อาศัยจังหวะของการกระทบไม้ เครื่องดนตรีจึงประกอบด้วยไม้กระทบ 5 - 6 คู่ กลอง ฉิ่ง ซึ่งจังหวะในการกระทบไม้จะมี 2 จังหวะ จังหวะช้าและเร็ว การแสดงจะเริ่มต้นด้วยจังหวะช้าเพื่อเป็นการเริ่มต้น จากนั้นจะเริ่มเร็วขึ้น การกระทบไม้ในจังหวะเร็วจะทำให้เกิดความสนุกสนานมีชีวิตชีวา ดังนั้นผู้ที่มีความสามารถหรือเป็นผู้ชำนาญเท่านั้น ที่จะเข้าออกตามจังหวะของการกระทบไม้ได้ ในขณะเดียวกันจะต้องฟ้อนประกอบให้เกิดความสวยงามกลมกลืนกับลีลาการเต้นสากด้วย โดยทั่วไปการเต้นสากจะมี 3 ลีลาคือ ลีลาการเต้นเดี่ยว ลีลาการเต้นคู่ในทิศทางเดียวกัน และลีลาการเต้นคู่สลับสวนทิศกัน การเต้นสากของวิทยาลัยครูสกลนครจะใช้เพลง บ้งไต่ขอน ประกอบการกระทบสาก

 

3diamondโส้ทั่งบั้ง

ชาวโส้ เป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ที่ ตำบลนาโพธิ์ ตำบลโพธิ์ไพศาล ตำบลนาเพีย อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร และยังกระจัดกระจายอยู่ที่อื่นๆ เช่น ตำบลล้านค้อ ตำบลขมิ้น อำเภอท่าอุเทน อำเภอปลาปาก อำเภอศรีสงคราม กิ่งอำเภอดงหลวง และกิ่งอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ในคราวสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสานในปี พ.ศ. 2449 ซึ่งกล่าวถึงคนต่างจำพวกไว้ว่า

"พวกกะโซ้ เป็นข่าผิวคร้ามกว่าชาวเมืองพวกอื่น และพูดภาษาของตนต่างหาก มีในมณฑลอุดรหลายแห่ง แต่รวมกันอยู่มากเป็นปึกแผ่นที่เมืองกุสุมาลย์มณฑลในจังหวัดสกลนคร เจ้าเมือง กรมการเมือง และราษฎรล้วนเป็นข่ากะโซ้ทั้งนั้น บอกว่าถิ่นเดิมอยู่ ณ เมืองมหาชัยกรองแก้วทางฝ่ายซ้าย" ชาวโส้มีการอพยพถิ่นฐานหลายครั้งด้วยกัน ส่วนใหญ่การอพยพเกิดขึ้นหลังจากไทยส่งกองทัพไปปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ ในปี พ.ศ. 2369 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการละเล่นของชาวโส้ในนิทานโบราณคดี ไว้ว่า

"ฉันเห็นการเล่นอย่างหนึ่ง ซึ่งพระอรัญอาษาเจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑลเอามาให้ดูเรียกว่า "สะลา" คนเล่นล้วนเป็นชายเปลือยตัวเปล่า นุ่งผ้าขัดเตี่ยวหรือมีชายห้อยข้างหน้ากับข้างหลังอย่างเดียวกับเงาะนุ่ง "เลาะเตี๊ยว" ลักษณะเล่นนั้นมีหม้ออุตั้งอยู่ตรงกลางหม้อหนึ่ง คนเล่นเดินเป็นวงรอบหม้ออุ มีต้นบทนำขับร้องคนหนึ่ง สะพายหน้าไม้คนหนึ่งมีฆ้องเรียกว่า "เพนาะ" คนหนึ่ง ถือไม้ไผ่ 3 ปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะ 2 คน คนรำ 3 คน ถือชามติดเทียน 2 มือคนหนึ่ง ถือตะแกรงคนหนึ่ง ถือมีดกับสิ่วเคาะกันเป็นจังหวะคนหนึ่ง รวม 8 คนด้วยกัน กระบวนการเล่นไม่มีอะไรนอกจากเดินร้องรำเวียนเป็นวง เล่นพักหนึ่งแล้วก็นั่งลง กินอุ แล้วก็ร้องรำไปอีกอย่างนั้น เห็นได้ว่าเป็นการเล่นของพวกข่าตั้งแต่ยังเป็นคนป่า เมื่อมาเล่นให้ดู ดูคนเล่นก็ยังสนุกกันดี"

การฟ้อนโส้ทั้งบั้งได้มีการปรับปรุงขึ้นใหม่โดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน ซึ่งแตกต่างจากการแสดงดั้งเดิม มีดนตรีประกอบทำนองลำผู้ไทของสกลนคร การฟ้อนโส้ทั้งบั้งประกอบด้วย

1. ล่ามผู้ชาย
3. เพื่อนนางเทียม
5. คนทั่งบั้ง
7. นางรำ
1 คน
3 คน
6 คน
10-12 คน
   2. นางเทียม
   4. นักดนตรีชาย
   6. ผู้แสดงประกอบ
 
1 คน
6 คน
6 คน
 

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองเส็ง 1 คู่ ฉาบ แคน ฉิ่ง กระจับปี่ ซอ บั้งไม้ไผ่ และพะเนาะ การแสดงจัดรูปขบวนโดยล่ามนางเทียม เพื่อนนางเทียม พร้อมด้วยนักดนตรี 3 คน นั่งเป็นวงกลมล้อมรอบคายขนาบด้วยนางรำ 3-5 คู่ ปิดท้ายด้วยคนตีกลองข้างหลังของพวกตีกลองจะเป็นนักดนตรีและคนทั่งบั้ง

 
ฟ้อนโส้ทั่งบั้ง

เมื่อเริ่มการแสดง ล่ามจะสะเหน็ดโส้ เชิญผีฟ้าให้เข้าทรงนางเทียม ล่ามพร้อมนางเทียม เพื่อนนางเทียม และนักดนตรีจะลุกขึ้นร่ายรำไปรอบๆ คาย เมื่อเสร็จพิธีจะนั่งลง คนตีกลองจะเริ่มรัวกลองเป็นสัญญาณ ให้นางรำลุกขึ้นฟ้อน ดนตรีจะเริ่มบรรเลงเพลงผู้ไท ล่ามจะสะเหน็ดโส้ไปเรื่อยๆ พร้อมกับทิ้งจังหวะให้พวกทั่งบั้งเปล่งเสียง เออเลอะ เออเลอะ เออเลอะ เออเลอ ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจบท่าฟ้อนซึ่งมีท่าต่างๆ ดังนี้ ท่าเชิญผีฟ้า ท่าส่งผีฟ้า โส้ทั่งบั้ง ถวายแถน และเลาะตูบ

 

blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนศิลปาชีพ

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)