foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon wannakam

morlum zing 02ในภาคอีสานมี หมอลำ ซึ่งเป็นการแสดงดั้งเดิมของชาวอีสาน หากแบ่งขั้นตอนตามวิวัฒนาการ และลักษณะพิเศษเฉพาะอย่างแล้ว พอจะจัดแบ่งหมอลำออกได้ 5 ประเภทคือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน และหมอลำผีฟ้า

หมอลำหมู่ เป็นการแสดงลำชนิดหนึ่งใช้ตัวละครแสดงเป็นหมู่ คณะ และแสดงเป็นเรื่องราวอย่างลิเก หรืองิ้ว ตัวละครจะเป็นชายจริงหญิงแท้ ซึ่งบางครั้งจะถูกเรียกว่า ลิเกลาว เพราะการแต่งกายของตัวเอกนั้น จะแต่งตัวแบบเดียวกันกับลิเกทั้งชายและหญิง ในตอนแรกใช้หมอแคนหนึ่งคนเป่าประกอบทำนอง ต่อมามีการดัดแปลงนำเครื่องดนตรีสากล อย่างวงดนตรีลูกทุ่งเข้ามาผสม ทำนองที่ใช้ลำมี 3 ทำนอง คือ ลำทางยาว ลำเดิน และลำเต้ย ในระยะแรกๆ นิยมนำนิทานชาดกมาแสดงเช่น เรื่อง สินไชย การะเกด นางผมหอม สุธน-มโนราห์ นางแตงออ่อน ท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เป็นการฟ้อนที่ได้แนวคิดมาจากวรรณกรรมพื้นบ้านเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่นิยมของหมอลำหมู่คณะต่างๆ

3diamondฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ

ram ponglang2เป็นการนำเนื้อเรื่องจากวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน เรื่อง ท้าวสีทน หรือ ศรีธน หรือ พระสุธน มโนราห์ ซึ่งโครงเรื่องได้มาจาก สุธนชาดก แต่มีความแตกต่างไปจากเดิมบ้าง วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ได้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนนี้ขึ้น ในอันที่จริงแล้ว เรื่อง พระรถเมรี และพระสุธน-มโนราห์ เป็นนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันโดยทั่วไปในประเทศไทย ที่เรื่องทั้งสองโดดเด่นกว่านิทานพื้นบ้านเรื่องอื่นๆ คงอยู่ที่ผู้แต่งหรือผู้รวบรวมได้ทำให้เห็นว่า เนื้อหาที่ดำเนินมาตลอดเป็นเรื่องคู่กัน หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นเรื่องของการเกิดแต่ละชาติที่ต่อเนื่องกัน

เรื่องพระรถเมรีจะมีกระจายอยู่ตามท้องถิ่น ทั้งในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาคอีสานของไทย ส่วนเรื่องพระสุธน-มโนราห์เป็นการแสดงของท้องถิ่นภาคใต้ เรื่อยไปจนตลอดแหลมมลายู ผู้คนส่วนใหญ่จึงรู้จักว่า การรำมโนราห์ หรือโนรา เป็นการแสดงซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้

fon manorahแต่เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ เป็นเรื่องที่มีเค้ามาจากชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนา จึงแพร่หลายทั่วไปในทุกๆ ภาคของประเทศไทย

การฟ้อนชุดมโนราห์เล่นน้ำ จึงจับเอาตอนที่มโนราห์และพี่ๆ ทั้งหก มาเล่นน้ำที่สระโบกขรณี เมื่อนายพรานป่ามาพบเห็นกินรีเล่นน้ำอยู่ จึงอยากจะจับไปถวายแก่ท้าวสีทน การฟ้อนชุดมโนราห์เล่นน้ำ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบการฟ้อน ซึ่งแตกต่างจากการรำมโนราห์บูชายันต์ของภาคกลาง หรือการรำโนราของทางภาคใต้ การฟ้อนชุดนี้จะแสดงให้เห็นถึงกริยาอาการของกินรี ในการอาบน้ำ ขัดถูตัว ซึ่งมีท่าฟ้อนที่อ่อนช้อยสวยงาม และเร้าใจไปพร้อมๆ กัน จะจบลงเมื่อนายพรานจับตัวมโนราห์ได้แล้ว

การฟ้อนชุดมโนราห์เล่นน้ำ นี้ ได้นำท่าฟ้อนของเก่าทั้งหมด ที่ใช้อยู่ในท่าฟ้อนของหมอลำเพลิน หรือลำกกขาขาว และการลำสังข์ศิลป์ชัยมาปรับปรุง ให้สอดคล้องกับการเล่นน้ำของนางมโนราห์ โดยอาจารย์ฉวีวรรณ ดำเนิน ออกแบบเครื่องแต่งกาย จัดท่าทำนองโดย อาจารย์ทองคำ ไทยกล้า และ อาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ปรับปรุงตกแต่งความกลมกลืนของท่าฟ้อน ลายทำนองเพลงเครื่องแต่งกายโดย อาจารย์จีรพล เพชรสม

เครื่องแต่งกาย

  • ชุดการแสดงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ใส่เสื้อรัดอกไม่มีแขน ใส่กรองคอสีดำขลิบทอง ใช้ผ้าสีทองรัดเอว คาดเข็มขัดสีทองทับ ใส่ปีกและหาง ผมเกล้ามวยใส่เกี้ยวยอดแหลมครอบทับมวยผม
  • ชุดการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ ใช้ผ้าถุงลายทางลง ใส้เสื้อแขนสั้นสีเหลืองเดินเส้นสีทอง คาดเข็มขัดทอง ใส่ปีกผ้าแก้วเดินเส้นทองเป็นลายปีก ใส่หาง ผมเกล้ามวยใส่มงกุฏ

 

ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ

เครื่องดนตรี

  • ชุดการแสดงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานโปงลางลายนกไซบินข้ามทุ่ง
  • ชุดการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ ใช้ลายลำเพลินซึ่งเป็นทำนองการขับร้องอยู่ในหมอลำเรื่อง แต่เป็นทำนองลำเพลิน

 

3diamondฟ้อนสังข์ศิลป์ไซ

ฟ้อนสังข์ศิลป์ไซ ประดิษฐ์ขึ้นโดยวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด สังข์ศิลป์ชัย เป็นนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายในภาคอีสานของไทย ในชื่อเรื่อง สินไชย หรือ ศิลป์ชัย หรือ สินไซ และยังเป็นนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายในท้องถิ่นอื่นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย เรื่องมีอยู่ว่า "ท้าวกุศราชครองเมืองปัญจาล มีมเหสีชื่อ นางจันทาเทวี และมีน้องสาวชื่อสุมณฑา เมื่อนางสุมณฑาอายุได้ 17 ปี ได้ถูกยักษ์ชื่อ กุมภัณฑ์ แห่งเมืองอโนราชลักพาตัวไป ท้าวกุศราชจึงได้ปลอมตัวเป็นพระภิกษุออกไปสืบหานางสุมณฑาไปจนถึงเมืองจำปา และได้ลูกสาวทั้ง 7 ของเศรษฐีเมืองจำปามาเป็นมเหสีต่อจากนางจันทา แล้วได้จัดการประชุมมเหสีทั้ง 8 ว่า ต้องการมีลูกชายผู้มีฤทธิ์เดช เพื่อจะไปปราบยักษ์ชิงเอาตัวน้องสาวกลับคืนมา

fon sang sin chaiพระอินทร์จึงให้เทวดาตนหนึ่งมาเกิดในท้องของนางจันทา ซึ่งเมื่อคลอดออกมาเป็นราชสีห์ใช้ชื่อว่า ท้าวสีโห และให้เทวดาอีก 2 ตนไปเกิดในท้องของมเหสีคนที่ 8 เมื่อคลอดออกมาเป็นฝาแฝดชื่อว่า สินไชและหอยสังข์ ส่วนมเหสีทั้งหกคนมีลูกเป็นคนธรรมไม่มีฤทธิอะไร มเหสีทั้งหกจึงตัดสินบนโหรให้ทำนายว่าลูกของนางจันทาและมเหสีคนที่ 8 เป็นลูกกาลิณี ท้าวกุศราชจึงเนรเทศออกไปจากเมือง

ต่อมากุมารลูกมเหสีทั้งหกโตเป็นหนุ่ม แล้วออกไปเรียนวิชา ได้พบสินไชเข้า และกลับมาโกหกพ่อว่า พวกตนเรียนวิชาสำเร็จแล้ว ท้าวกุศราชจึงสั่งให้ทั้งหกคนไปตามหานางสุมณฑา กุมารทั้งหกจึงไปโกหกสินไชว่า พ่อให้ไปตามอา สินไชเชื่อจึงออกเดินทางโดยมีสีโหเดินทางตามไปอารักขา บนบกผ่านดงดอนและภูเขา ส่วนสังข์ทองไปทางน้ำเพื่ออารักขาสินไช การเดินทางไปนั้นสินไชต้องทำศึกกับงูซวง และยักษ์ตามทาง และไปเที่ยวชมป่าหิมพานต์ ซึ่งเรียกว่า ตอนสินไชเดินดง มีกลอนอยู่ว่า

"เว้าท่อนี้กลอนใหม่มาสับ เอาเดินดงมารับเบิ่งแดนดอกไม้ ศิลป์ชัยเจ้าสีโหอ้ายพี่สังข์ทองน้อยตามก้นบ่ไกล ชมเบิ่งไม้ต้นต่ำลำหนา วาโยพัดแก่งมาเชยก้าน นานหลายมื้อหลายวันล้ำล่วง สังข์กะเป็นห่วงเจ้าองค์เหง่าอยู่ไส หยับเข้ามาใกล้ถึงด่านกินรี ศิลป์ชัยมาเล่าซบนางน้อย กินรีสร้อยสาวงามฟ้อนแอ่น แขนเนือดน้าวในน้ำแก่งหาง น้ำฟาดป้างบาเล่าเชยชม โจมนางงามกอดมาชมกั้วมัวมิ่นหน้าสีโหยังอยู่ บากะคอยแต่น้องเดินได้ไต่ตาม ฮอดแม่น้ำศิลป์เล่าแปงขัว แล้วจึงพากันยกฝั่งชลเลยมั้น ลมใส่ต้องตองแกดังควก ต้นไม้แห้งขลู้มใส่ดิน ใบไม้ปิ้นลมปีนตีนตบ ใบตลบตามลมแก่งใบนวยค้อม คอมกวยน้าวกานกวยแก่ง เป็นละแห่งแตงเต้าถั่วงา

หน่อยบ่ช้าถึงด่านงูซวง ศิลป์ชัยแปลงดาบลงเทียมข้าง งูซวงม้างพาชีเลยฟาด มาขจัดตามกล้าเป็นถิ่นเคิ่งกลาง งูซวงม้างหลดชั่วชีวา สามบกดัดล่วงเลยไปหน้า มาเถิงแล้วหอปางยักษ์ใหญ่ สุมณฑาหน่อไท้นอนนิ่งอยู่ใน ยักษ์นั้นได้เดินเที่ยวหากิน ศิลป์ชัยดักล่วงเถิงผาแก้ว ไปเถิงแล้ววาจาเชิงหลอก บอกว่าขอเข้าซ้นเทียมได้บ่ดาย อาเคืองฮ้ายอ้ายบ่าวทางได๋สิมาเสียชีวีบ่ดีนาท้าว ศิลป์ชัยห้าวผญาตอยเต้ยใส่ อากะเลยใคร่รู้ศิลป์ท้าวว่าหลาน หลานบ่ย้านหรือจึ่งเดินเถิง ศิลป์ชัยพระกล่าวจายอต้าน หลานสิมาเอาเจ้าเอ้ยให้กลับต่าง ขอให้กลับต่างบ้านเมืองก้วงแต่หลัง อายั่งย้อยน้ำตาหลั่งโฮมไหล โจมเอาหลานกอดมาดมแก้ม อาบ่คืนเมื่อแหล่วเบ็งจาญบ้านเก่า ศิลป์กะเลยจากเว้าควมกล้าด่าผลาญ ถ้าหากเจ้าอามิ่งขืนคำ บอกว่าชีวามุดมอดไปวันนี้ พอดีได้ศิลป์ชัยยอดาบเหลือบมาบโม้งผ่าฝืน คันบ่คืนเมืองพร้อมสิฟันอาขาดท่อง"

ฟ้อนสังข์สินไซ

เรื่องสังข์ศิลป์ชัยนี้ หมอลำหมู่นิยมนำเรื่องราวไปแสดง ท่าฟ้อนชุดสังข์ศิลป์ชัยได้ปรับปรุงมาจากท่าฟ้อนของหมอลำหมู่ หรือที่เรียกว่า ลำกกขาขาว ซึ่งในตอนชมดงจะใช้ทำนองคล้ายทำนองลำเพลิน ซึ่งเป็นตอนที่มีทำนองเร้าใจแตกต่างจากการลำเล่าเรื่องธรรมดา และตอนชมดงจะเป็นตอนที่สนุกสนานที่สุดของเรื่อง จึงได้นำทำนองชมดงมาจัดทำเป็นชุดฟ้อน

เครื่องแต่งกาย

การแต่งกายจะแบ่งผู้แสดงหญิงออกเป็น 2 ฝ่าย ใช้ผ้าแพรวาบ้านโพน และผ้าถุงมัดหมี่ไหมใช้ผ้าขิดผูกเอว เกล้าผมมวยคาดผ้าแพรมน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งใช้ผ้าสไบเวียงและผ้าถุงเวียงลายใหญ่ใช้ผ้าขิดผูกเอว เกล้าผมมวยคาดด้วยผ้าขิด

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายสังข์ศิลป์ชัย

ฟ้อนสังข์ศิลป์ชัย วงโปงลางวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด

 

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนเพื่อเซ่นบวงสรวงบัดพลีหรือบูชา

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon chumnum pao header

3diamondรวมเผ่าไทยบุรีรัมย์

prasat panom roongจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตอีสานใต้ มีประชาชนหลายกลุ่มอาศัยอยู่ภายในจังหวัด ซึ่งแต่ละกลุ่มมีภาษาถิ่นเป็นของตนเอง คือ ภาษาไทยโคราช ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่พูดสำเนียงภาษาไทยโคราช ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบอำเภอนางรอง หนองกี่ ส่วนกลุ่มที่ใช้ภาษาลาว อาศัยอยู่แถบอำเภอพุทไธสง กลุ่มที่ใช้ภาษาเขมร อาศัยอยู่ในแถบอำเภอประโคนชัย อำเภอบ้านกรวด และอำเภอละหานทราย และกลุ่มที่ใช้ภาษาส่วย คือกลุ่มที่อาศัยอยู่แถบอำเภอสตึก

ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ เห็นว่า ชนทั้ง 4 กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ถ้าสามารถนำมาผสมผสานให้อยู่ในรูปของการแสดงโดยอาศัยเพลง คำร้อง และท่าทางด้านนาฏศิลป์ เป็นเครื่องชักจูงให้เกิดการรวมกลุ่มและความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนทั้ง 4 กลุ่มอีกด้วย การแสดงชุดรวมเผ่าไทยบุรีรัมย์จะใช้ผู้หญิงแสดงล้วนเผ่าละ 2 คน การแต่งกายของแต่ละเผ่าดังนี้

  1. กลุ่มพูดภาษาไทยโคราช ใช้เสื้อคอกลมแขนสั้นนุ่งโจงกระเบน มีผ้าขาวม้าคาดเอว เกล้าผมสูง ไม่ใส่เครื่องประดับ
  2. กลุ่มพูดภาษาลาว ใช้ผ้าขาวม้ารัดอก ปล่อยชาย นุ่งซิ่นมีเชิง เกล้าผมสูงทัดดอกไม้
  3. กลุ่มพูดภาษาเขมร ใช้เสื้อคอกลมแขนกระบอก ห่มผ้าสไบสีสด นุ่งโจงกระเบนคาดเข็มขัดทับ
  4. กลุ่มพูดภาษาส่วย ใช้เสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งซิ่นยาวมีเชิง มีผ้าสไบเฉียงบ่าผูกเป็นโบว์ และทัดดอกไม้ขาว 2 ข้าง

เพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อน ของกลุ่มที่พูดภาษาโคราชจะใช้ทำนองเพลงโคราช กลุ่มที่พูดภาษาลาวใช้ทำนองเพลงโปงลาง กลุ่มภาษาเขมรใช้ทำนองแกวนอ กลุ่มที่พูดภาษาส่วยใช้ทำนองเพลงโมเวยงูดตึก และเพลงรวมใช้ทำนองเพลงอาไยจ๊ะส์ บทร้องการแสดงชุดรวมเผ่าไทยบุรีรัมย์แต่งโดย สงบ บุญคล้าย และพิเชษ ชัยพร (ผกา เบญจกาญจน์. ม.ป.ป. : 11-15)

เพลงรวมเผ่าไทยบุรีรัมย์

โดย : สงบ บุญคล้าย และพิเชษ ชัยพร
เพลงที่ 1 จะเอื้อนเอ่ยคำเป็นทำนองไทยเบิ้ง ให้คึกคักร่าเริง บันเทิงอารมณ์ กลุ่มไทยนางรอง ปรองดองสุขสม พรักพร้อมเกลียวกลม ป่านิยมสมไทย
เพลงที่ 2 ในภาคพื้นเมืองใหญ่บุรีรัมย์ ซุมไทยลาวอยู่เนานานวัน (ซ้ำ) ซ่อยกันสร้างนาสวนฮัวไฮ่ เฮาทุกคนไม่แล้งน้ำใจ อยู่กันไปตามลำน้ำมูล
เพลงที่ 3 บอง ป โอนโกนเจา
สัจเซียมเผ่าพงศ์
แจ๊ะเทอแจ๊ะดำ
รวมขลวนเดนียเกิด
สรกราว สรกกน็อง
กือเซียมเจือบเจ็ด
ยูรฉนำกำเนิด
เสราะแซร์ยแซมร์เซียม
เพลงที่ 4 นุเพะแซมซายไฮมวง
กูเปอเวาเบอเจอปนาย
มอไฮกูลาปะซากุย
แนคือมอไฮไทกวย
ตะโปนคลวงกวยเทาเนาปาย
จังฮายฮือซัลระคัลคะเนีย
ดิงจูย ดึงจา ดิงบาย
บางคนเรียกว่าส่วยก็มี
เพลงที่ 5 ชุมชนเผ่าไทย
ผ้าไหมงามล้ำ
งามประสาทหิน
จึงเสริมส่งให้
เมืองใหญ่บุรีรัมย์
วัฒนธรรมงามวิไล
ถิ่นภูเขาไฟ
ชาติไทยพัฒนา

 

 รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

3diamondเผ่าไทยโคราช

การแสดงชุดนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดย วิทยาลัยครูนครราชสีมา (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบัน) ซึ่งมีคนเชื้อสายต่างๆ อาศัยอยู่ ลักษณะของคนไทยในโคราชหรือในจังหวัดนครราชสีมามีเชื้อสายที่สำคัญๆ 4 เผ่า คือ เขมร มอญ ลาว ไทย

  • กลุ่มคนที่พูดภาษาลาว อาศัยอยู่ในแถบอำเภอบัวใหญ่ ประทายและสูงเนิน
  • กลุ่มคนที่พูดภาษามอญและเขมร อาศัยอยู่ในแถบอำเภอปักธงชัย
  • และคนที่พูดภาษาไทยโคราช กระจายอยู่ทั่วไปทุกๆ อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา

thai korat 4

ฟ้อนไทโคราช ห้วยเกิ้ง

 

 ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า - ฟ้อนเผ่าไทยภูพาน | รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ - เผ่าไทยโคราช
blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนอันเนื่องมาจากวรรณกรรม

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon chumnum pao header

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ในภาคต่างๆ ของประเทศเป็นจำนวนมาก นอกเหนือไปจากชาวจีน ชาวเขา ชาวไทยมุสลิม ชาวมอญ และชาวญวณอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ยังมีชนกลุ่มน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก เช่น ภูไท กะเลิง ย้อ แสก โส้ โย้ย ฯลฯ

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จไปตรวจราชการมณฑลอุดร และอีสาน ในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งกล่าวถึงคนต่างจำพวกไว้ว่า

"พวกพลเมืองในมณฑลอุดรและมณฑลอีสาน ที่ฉันไปพบมีไทยลานช้างเป็นพื้น แต่ยังมีคนจำพวกอื่นที่ผิดกับไทยลานช้าง และมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นๆ ต่างหากอีกหลายจำพวก ฉันได้ลองไถ่ถามดูได้ความว่ามี 8 จำพวกต่างกันคือ

  1. พวกผู้ไท ถิ่นเดิมอยู่ทางเมืองพวนข้างฝ่ายเหนือพูดภาษาไทย ใช้ถ้อยคำผิดกับไทยลานช้างบ้าง และเสียงแปร่งไปอย่างหนึ่ง ฉันพบตามเมืองต่างๆ ในสองมณฑลนั้นหลายแห่ง แต่ที่เรณูนคร ขึ้นเมืองสกลนครดูจะมีมากกว่าที่อื่นๆ
  2. พวกกะเลิง พบในแขวงจังหวัดสกลนครมีมากกว่า ถิ่นเดิมอยู่เมืองกะตาก
  3. พวกย้อ พบที่เมืองท่าอุเทน พูดภาษาไทยได้แต่สำเนียงแปร่งไปอีกอย่างหนึ่ง ถามถึงถิ่นเดิมว่าอยู่เมืองชัยบุรี ใกล้กับเมืองท่าอุเทนนั่นเอง
  4. พวกแสก อยู่ที่เมืองอาจสามารถ ขึ้นเมืองนครพนมว่าถิ่นเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายใกล้เชิงเขาบรรทัดต่อแดนญวณ
  5. พวกโย้ย อยู่ที่เมืองอากาศอำนวย ขึ้นเมืองสกลนครถามไม่ได้ความว่าถิ่นเดิมอยู่ที่ไหน
  6. พวกกะตาก พบที่เมืองสกลนคร ว่ามีแต่แห่งละเล็กละน้อย สืบไม่ได้ความว่าถิ่นเดิมอยู่ที่ไหน
  7. พวกกะโซ้
  8. พวกเขมรป่าดง สอบได้ความว่าอาศัยอยู่เมืองสุรินทร์ เมืองสังคะ เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และอำเภอประโคนชัย จังหวัดนครราชสีมา"

ชุดฟ้อนชุมชนเผ่าต่างๆ จึงได้มีการประดิษฐ์ขึ้นโดยได้แนวคิดมาจาก การฟ้อนชุดชุมชนเผ่าไทยของทางภาคกลาง ชุดฟ้อนชุมชนเผ่าต่างๆ ชุดแรกเป็น เซิ้งเก้าเผ่า ซึ่งเป็นการประดิษฐ์โดย อาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์ วิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งประกอบไปด้วยเผ่าต่างๆ 9 เผ่า ดังนี้ ไทยพวน ข่าสาละวัน แม้ว ผู้ไท ล้านช้าง ไทยดำ ไทยย้อ ไทยเวียงจันทน์ และข่ากะโส้

ต่อมา ได้มีการพัฒนาชุดฟ้อนขึ้นใหม่อีก 5 ชุด ได้แก่ ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า เผ่าไทยภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ รวมเผ่าไทยมุกดาหาร และเผ่าไทยโคราช

fon poo tai

3diamondฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า

fon poo tai renuชาวผู้ไท เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แต่เดิมนั้นชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่แถบสิบสองจุไทย คือ บริเวณลาวตอนเหนือ บางส่วนของเวียตนามเหนือ และทางตอนใต้ของจีน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไล เมืองแถง เรียกว่า ผู้ไทดำ ชาวผุ้ไทสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ถึงแม้จะมีผู้แบ่งเป็นกลุ่มผู้ไทแดงและผู้ไทลาย แต่ก็ไม่มีประวัติชัดเจน (ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. 2526 : 2) ชาวผู้ไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่มาจากเมืองวัง และเมืองตะโปน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน และแยกย้ายกันตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเทือกเขาภูพานในเขต 3 จังหวัด คือ

  1. ชาวผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอคำม่วง
  2. ชาวผู้ไทจังหวัดสกลนคร อยู่ในอำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ
  3. ชาวผู้ไทจังหวัดนครพนม อยู่ในอำเภอเรณูนคร อำเภอคำชะอี อำเภอหนองสูง

fon poo tai sakol 1การฟ้อนผู้ไทนั้น เริ่มมีมาในสมัยที่เริ่มสร้าง พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ผู้ไทเป็นชนเผ่าที่รับอาสาที่จะเป็นผู้ปฏิบัติรักษา หาเครื่องสักการะบูชาพระธาตุทุกๆ ปีเมื่อถึงฤดูข้าวออกรวงกำลังแก่ จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวบางส่วนมาทำข้าวเม่า ชาวผู้ไทจะนำข้าวเม่ามาถวายสักการะบูชาพระธาตุเชิงชุม การนำข้าวเม่ามาถวายพระธาตุนั้น เรียกว่า "แห่ข้าวเม่า" จะมีขบวนฟ้อนรอบๆ พระธาตุ ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน ผู้หญิงแต่งตัวพื้นเมือง ใส่เล็บยาว ผู้ชายเล่นดนตรี เช่น กลองเส็ง กลองยาว ตะโพน รำมะนา ฉิ่งฉาบ เป็นต้น (พนอ กำเนิดกาญจน์. 2519:38)

ต่อมาชาวผู้ไทในท้องถิ่นอื่นได้มาเห็น จึงได้นำไปประยุกต์ท่าฟ้อนให้สวยงาม และมีการแต่งเนื้อร้องประกอบการฟ้อนขึ้น การฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า ประกอบด้วย

  1. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ การฟ้อนผู้ไทของอำเภอเรณูนคร จนถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้นได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย โดยมีนายคำนึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอำเภอเรณูนคร ได้ปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร

    ได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อมา ท่าฟ้อนผู้ไทได้แก่ ท่าเตรียม ท่านกกระบาบิน ท่าลำเพลิน ท่ากาเต้นก้อน ท่ารำม้วน ท่าฉาย ท่ารำส่าย ท่ารำบูชา ท่าก้อนข้าวเย็น ท่าเสือออกเหล่า ท่าจระเข้ฟาดหาง ซึ่งการฟ้อนจัดเป็นคู่ๆ ใช้ชายจริงหญิงแท้ตั้งแต่ 10 คู่ขึ้นไป เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกิ่ง กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ

    สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงินเข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุง ผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สีขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมขลิบผ้าแดงนุ่งกางเกงขาก๊วยมีผ้าคาดเอวและโพกศีรษะ เครื่องแต่งกาย จะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดง ห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้าสีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทน

  2. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะการแต่งกายแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในถิ่นอื่น จะสวมเสื้อสีดำขลิบด้วยผ้าขิด ห่มผ้าแพรวา นุ่งผ้าถุงมัดหมี่มีเชิง ลีลาการฟ้อนได้รับการผสมผสานจากท่าฟ้อนผู้ไท และเซิ้งบั้งไฟ ท่าฟ้อนจะเริ่มจากท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว โดยใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ฟ้อนผู้ไทของกาฬสินธุ์จะมีการขับลำประกอบเรียกว่า "ลำภูไท" ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าเป็นการประยุกต์การฟ้อนผู้ไทของทั้ง 3 ถิ่น ให้เห็นถึงลีลาการฟ้อนที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละถิ่น ซึ่งการฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าจะแสดงให้เห็นถึงลักษณะร่วมกันของชาวผู้ไททั้ง 3 เผ่า

ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าจะเริ่มจากฟ้อนผู้ไทกาฬสินธุ์ ผู้ไทสกลนคร และผู้ไทเรณูนคร ในการฟ้อนผู้ไท 3 เผ่านี้จะเพิ่มผู้ชายฟ้อนประกอบทั้ง 3 เผ่า มีการโชว์ลีลาของรำมวยโบราณต่อสู้ระหว่างเผ่า และ/หรือการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง

การฟ้อนภูไทสามเผ่า

3diamondฟ้อนชุดเผ่าไทยภูพาน 

บริเวณเทือกเขาภูพานซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนมและอุดรธานี นับเป็นเทือกเขาภูพานที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายเผ่าด้วยกัน

  1. เผ่าผู้ไท ซึ่งเดิมอาศัยอยู่แถบเมืองแถง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สิบสองเจ้าไทย หรือ สิบสองจุไทย หรือสิบสองภูไท ต่อมาได้เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนมาในคราวที่ไทยกวาดต้อนผู้คนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงในคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ ปัจจุบัน ชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่ในท้องที่อำเภอวาริชภูมิ และอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม และอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. เผ่าแสก เดิมอาศัยอยู่แถบเทือกเขาบรรทัดต่อแดนญวณ ต่อมาชาวแสกเห็นว่าที่อยู่เดิมไม่ค่อยจะอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทย ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แต่ก็มีพวกพ้องพอใจกับความอุดมสมบูรณ์ก็เลยตั้งรกรากตามระยะทางที่อพยพมา จึงมีชาวแสกบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศลาว พวกที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และในคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ไทยได้กวาดต้อนชาวแสกเข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง เดิมชาวแสกมีเจ้าเมืองปกครองตนเอง และไม่ได้ขึ้นต่อหัวเมืองต่างๆ แต่ก็ต้องส่งส่วยให้กับกรุงเทพฯ ปัจจุบันชาวแสกอาศัยอยู่มากที่ บ้านอาจสามารถ บ้านไผ่ล้อม บ้านมะหว้า และบ้านดอนส้มมอ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
  3. เผ่าโส้ ถิ่นเดิมอาศัยอยู่แถบเมืองมหาชัยกรองแก้ว ในประเทศลาว อพยพและถูกกวาดต้อนเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสานของไทย มีภาษาพูดคล้ายภาษามอญปนเขมร อาศัยอยู่มากที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร อำเภอศรีสงคราม กิ่งอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
  4. เผ่าย้อ เดิมตั้งถิ่นฐานแถบเมืองคำเกิด คำม่วง ขึ้นอยู่ในความปกครองของนครเวียงจันทน์ ต่อมาเวียงจันทน์ตกเป็นของไทย ราวปี พ.ศ. 2379 เจ้าเมืองคำเกิดจึงสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ และอพยพราษฎรจากเมืองคำเกิด คำม่วน มาตั้งถิ่นฐานในประเทสไทย พวกที่มาถึงก่อนก็ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อุดรธานี กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม
  5. เผ่ากะเลิง มีถิ่นฐานเดิมอยู่เมืองกะตาก แต่ไม่รู้ว่าเมืองกะตากอยู่ที่ไหน ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร ที่บ้านเชิงชุม ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม

นอกจากนี้ ยังมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ พวกโย้ย และกะตาก ซึ่งมีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การฟ้อนชุดเผ่าไทยภูพานจึงได้นำเอาชนกลุ่มน้อยพวกต่างๆ 5 กลุ่ม ข้างต้นมาจัดทำเป็นชุดฟ้อน พร้อมมีเนื้อร้องประกอบอธิบายให้ทราบถึงที่มาของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ พร้อมหลักแหล่งอาศัยในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันชนกลุ่มน้อยต่างๆ เหล่านี้ก็มีลักษณะไม่แตกต่างจากชาวอีสานโดยทั่วๆ ไป การฟ้อนชุดนี้ใช้ผู้แสดงเป็นหญิง 10 คน โดยใช้ผู้แสดงเผ่าละ 2 คน

 

ฟ้อนเผ่าไทยภูพาน

เครื่องแต่งกายชุดฟ้อนเผ่าไทยภูพาน

กลุ่มแรกชุดผู้ไท สวมเสื้อแขนกระบอกเข้ารูปสีดำ ขลิบสีแดง เสื้อผ่าอกตลอด ติดกระดุมสีขาวเรียงเป็นแถว ตั้งแต่คอจนถึงเอว ชายเสื้อด้านหน้าแยกจากกัน ผ้านุ่งสีดำยาวต่อเชิงด้วยผ้าขิด สวมเล็บมือทั้งสิบเล็บ ปลายเล็บมีพู่ เกล้าผมสูงเอียงซ้าย คาดผ้าสีแดงปล่อยชายลงข้าง ห่มสไบผ้าขิด

กลุ่มที่สองชุดกะเลิง สวมเสื้อแขนสั้น คอรูปตัวยู จีบรูดรอบๆ คอ นุ่งผ้าหมี่สั้นยาวกรอมเท้า คาดเข็มขัดเงิน เกล้าผมมวย สวมเครื่องประดับเงิน

กลุ่มที่สามชุดย้อ ใช้ผ้าขาวม้าคาดอกเก็บชาย นุ่งผ้าซิ่นหมี่สั้นมีเชิง ผ้าขาวม้าคาดเอวห้อยชายข้างซ้าย เกล้าผม เครื่องประดับทำด้วยเงิน เช่น กำไล ตุ้มหู

กลุ่มที่สี่ชุดโส้ เสื้อสีแดงทรงตรง ยาวแค่ตะโพก แขนยาวแค่ข้อศอก คอเสื้อแหลมป้ายข้างขลิบชายเสื้อด้วยสีดำ ติดกระดุมเรียงกัน นุ่งผ้าซิ่นหมี่มีเชิง ห่มสไบตวัดลงข้างหน้า เกล้าผมคาดด้วยสีขาว เครื่องประดับทำด้วยเงิน ได้แก่ สร้อยคอ ตุ้มหู กำไลแขน กำไลเท้า

กลุ่มที่ห้าชุดแสก เสื้อขาวแขนกระบอกขลิบดำหรือน้ำเงิน ติดกระดุมเรียงถี่ๆ นุ่งผ้าซิ่นหมี่ทับเสื้อ คาดเข็มขัดเงิน เกล้าผม มีเครื่องประดับทำด้วยเงินที่ข้อมือข้อเท้า

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน เพลงผู้ไท เพลงเต้ยโขง เพลงแมงตับเต่า เพลงบ้งไต่ขอน เพลงลำเพลินและเพลงลำยาว

เพลงรำเผ่าไทยภูพาน

ผู้แต่ง : วิรัช บุษยกุล (วิทยาลัยครูสกลนคร)

     (ผู้ไท) ซุมข้าน้อยเป็นชาวภูไท ถิ่นอยู่ไกลอีสานบ้านเกิด แสนประเสริฐอุดมสมบูรณ์ ศูนย์โอมใจคือองค์พระธาตุ สาวน้อยนางเอย สาวภูไทเอย

     (กะเลิง) ซุมข้าน้อยสาวกะเลิงน้อยอ่อน มาอยู่สกลนคร บ่อนดินดำน้ำซุ่ม แถบที่ลุ่มน้ำใหญ่แม่นหนองหารนี้ละนา

    (ย้อ) ซุมข้าน้อยกะคือไทยย้อ บ่อนอยู่ม่อเมืองท่าอุเทน มาหลายเซ่นหลายซั่วลูกหลาน ข้าวปลาอาหารบ่อึดบ่อยาก มาได้มากพออยู่พอมี ของแซบอีหลี่แม่นปลาแดกอึ่ง

     (โส้) หมู่ข้าน้อยไทยโส้กุสุมาลย์ เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ที่ฮาบลุ่มเขาภูพาน ติดเขตแดนหนองหาร อยู่สำราญกันตลอดมา

     (แสก) สาวน้อยแสกเพิ่นหากงามแท้น้อ แม้นไผได้พ้อกะจิตต่อใจฝัน แต่ก่อนนั้นอยู่ฝั่งซ้ายน้ำของ แล้วจึงล่องลงมาสู่อีสานคู่มื้อนี้

(เผ่าไทยภูพาน)
        (1) เหมือนแคว้นดินแดนอีสาน
ที่ตั้งของเมืองทั้งหลาย
ขุนเขาเป็นถิ่นอำนวย
หนองหารหนองใหญ่หนึ่งนั้น
เทือกภูพานตระการสูงใหญ่
ทั้งน้อยใหญ่อยู่ใกล้เคียงกัน
บึงหนองห้วยน้ำใหญ่หลายพัน
น้ำภูพานไหลลงมาห่ง
        (2) น้ำพุงกับน้ำสงคราม
ที่ฮาบเป็นป่าเป็นทุ่ง
พี่น้องคนไทยในถิ่น
เผ่าไทยภูพานท่านว่า
ไหลล่องตามทางลงน้ำโขง
ได้เฮ็ดอยู่เฮ็ดกินสืบมา
พออยู่กินบ่อนาถา
ตามสมญาขุนเขาสำคัญ
        (3) ภูไทยนั้นอยู่หลายบ่อน
ไทยภูพานฮักหมู่พวกพ้อง
ไทยภูพานฮักหมู่พวกพ้อง
หากินเฮ็ดนาเฮ็ดไฮ่
เมืองนครแสกย้อมีอยู่กัน
กะเลิงนั้นมีอยู่กะบ่หลาย
เป็นพี่น้องแบบเฮาคนไทย
มีหนองใหญ่ปูปลากะได้กิน
        (ลำล่อง) โอ้......
ความสำคัญมีหลายต่อคนอีสานนั้น
ซุ่มหมู่ผลหมากไม้ปลูกได้คู่สู่อัน
ชาวภูพานหากินปูปลาอยู่ในน้ำ
เป็นที่ฮู้ภูพานราชนิเวศน์
แผ่บารมีท่วมท้าวมาปกเกล้า
ขุนเขานั้นเทือกใหญ่ภูพาน
นัยหนึ่งหั้นดินดำน้ำซุ่ม
ที่สองนั้นหนองใหญ่คือหนองหาร
นัยที่สามตำหนักเนาพระเจ้าอยู่หัวอยู่
ไท้เสด็จสู่หม่องหั้นเนาว์อยู่คู่ปี
แม้นชาวไทย.... ละนา
 

 

ฟ้อนเผ่าไทยภูพานต้นฉบับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

 ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า - ฟ้อนเผ่าไทยภูพาน | รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ - เผ่าไทยโคราช
blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนอันเนื่องมาจากวรรณกรรม

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon tamnong lam header

3diamondฟ้อนมหาชัย

fon maha chaiฟ้อนมหาชัย ก็เช่นเดียวกับฟ้อนสาละวัน ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เห็นว่าควรอนุรักษ์ทำนองลำพื้นเมืองที่แพร่หลาย และเป็นที่นิยมอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งในปี พ.ศ. 2525 ทาง มหาวิทยาลัยได้จัดทำชุดฟ้อนประกอบทำนองล้ำขึ้นชุดหนึ่งแล้วคือ ชุด "ฟ้อนสาละวัน" และเห็นว่าเพื่อเป็นการสืบทอดทำนองลำพื้นเมืองต่อไป จึงได้นำทำนองลำมหาชัยซึ่ง อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ และอาจารย์เจริญชัย ชนไพโรจน์ ได้บันทึกเทปไว้ เมื่อคราวไปเยี่ยมศูนย์ลาวอพยพ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และคำว่า "มหาชัย" ยังเป็นนามที่สอดคล้องกับชื่อผู้สร้างเมืองมหาสารคาม คือ ท้าวมหาชัย (กวด)

อาจารย์ชัชวาลย์ ทองประเสริฐ จึงได้นำทำนองลำมหาชัย มาให้นิสิตชมรมดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองฝึกซ้อม โดยใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานเป็นหลัก พร้อมประยุกต์ท่าฟ้อน ซึ่งคณะนาฏศิลป์ลาวได้นำมาเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2529 คำว่า "ลำมหาชัย" นั้นเป็นทำนองลำที่นิยมขับร้องของหมอลำในแถบเมืองมหาชัย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และในภาคอีสานของประเทศไทย 

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน แต่งกายโดยใช้เสื้อคอกลม แขนกระบอก เอวระบาย นุ่งผ้าถุงเวียงลายลงมีเชิง และห่มสไบผ้าเวียงเช่นกัน คาดเข็มขัดยืดสีทอง ผมเกล้ามวยคาดผ้าปักดิ้นสีทองใส่สร้อยคอดินเผาด่านเกวียน และตุ้มหู

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองลำมหาชัย

ฟ้อนมหาชัย

ลำมหาชัย

        บัดนี้ เฮียมซิไขแม่นคำข้อ มหาชัยจะได้กล่าว ก่อนนา
มาพบกันแม่เทื่อนี้ เฮียมขอเว้าแม่นกล่าวโลม คีงกลมผู้งามเอย
ท่านเอย ท่านผู้เนาแม่นอยู่พี้ ศรีสยามนครใหญ่ ท่านเอย
ยังค่อยสุขแม่นอยู่เรื่อย สบายบ้างแม่นดั่งเดิม เสริมสร้างบ้านเมืองเดอ

        โอ... คำเอย อันหนึ่งอีกทั้งพงษ์พันธุ์เชื้อ พี่น้องไทยทุกๆ ส่ำ เฮียมเอย
ยังถาวรแม่นเที่ยงมั่น สบายแท้แม่นทุกคน
เฮียมนี้ แสนที่ดีแม่นใจล้น ในมโนเจ้าช้อยเชื่อง
ย้อนว่า โอกาสดีแม่นเลิศล้ำ ได้มายื้อแม่นย่องยาม พี่น้องพวกเฮาเอย
คีงกลมผุ้งามเอย ท่านเอย ย้อนเฮามีแม่นมูลเชื้อ สายสัมพันธ์มาแต่ก่อน พู้นแล้ว
หมุ่เฮาเป้นแม่นพี่น้อง ถนอมไว้อย่าได้ลืม พี่น้องพวกเฮาเอย คีงกลมผู้งามเอย

 
fon maha chai 2

 fon maha chai 5

 

3diamondฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล 

เป็นการแสดงฟ้อนรำ ประกอบทำนองลำเต้ยหัวโนนตาล มีลักษณะเป็นการฟ้อนเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างชายหญิงทางภาคอีสาน โดยได้แรงบันดาลใจจากวงหมอลำพื้นบ้าน จาก อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งตัวหมอลำหนุ่มสาว หรือตัวพระเอก-นางเอก จะมีการการลำ และฟ้อนเกี้ยวพาราสี มีการพูดผญา ลำภูไท หรือก็ร้องเพลงเป็นเต้ยเกี้ยวกัน เป็นต้น

ดนตรีที่ใช้ในชุดการแสดง ฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล จะใช้ทำนองเต้ยหัวโนนตาลดั้งเดิม ส่วนท่าฟ้อนและเนื้อร้อง อาจารย์พรสวรรค์ พรดอนก่อ อาจารย์สอนนาฏศิลป์พื้นเมือง จากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นใหม่ โดยอาศัยเค้าโครงการฟ้อน ของหมอลำหมู่ หรือหมอลำเรื่องต่อกลอน ส่วนเพลงเร็วท่อนสุดท้าย ได้นำเอาท่าฟ้อนของหมอลำ เข้ามาผสมด้วย โดยได้ปรึกษา อาจารย์ช่วง ดาเหลา และ อาจารย์ทองเจริญ ดาเหลา หมอลำกลอนคู่

fon teuy hua dontal

ลักษณะ ท่าฟ้อนจึงมีทั้งความอ่อนช้อย และรวดเร็วสนุกสนานอยู่ในชุดเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงศิลปะการฟ้อนรำ และการร้องลำที่สวยงาม ของกลุ่มชนชาวอีสานแถบนี้

การแต่งกาย

  • ชาย สวมเสื้อแพรแขนสั้นสีเขียว นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าสไบขิดมัดเอว สวมสร้อยคอและกำไลเงิน
  • หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีแดง ห่มสไบขิด นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้ สวมเครื่องประดับเงิน

ฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล

เพลงเต้ยหัวโนนตาล

ชาย : โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย น้องนี้เนาอยู่ทางแคว้นๆ แดนใด๋ละน้องพี่ ปูปลามีบ่ละน้อง ทางบ้านหม่อมพระนาง
หญิง : โอเดพี่ชายเอย… พี่ชายเอ้ย น้องนี้เนาอยู่ทางก้ำๆ กะสินคำดำนาห่าง โอเดพี่ชายเอย ปู ปลา เต็มอยู่น้ำ ชวนอ้ายไปเที่ยวชม
ชาย : โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย อ้ายมีจุดประสงค์แน่น หาแฟนเมืองน้ำก่ำ เมืองดินดำนี้ละน้อง ทางอ้ายอยากเกี่ยวดอง กะจั่งว่าแก้มอ่องต่อง ไสยองยองเอย
หญิง : โอเดพี่ชายเอย….พี่ชายเอ้ย เขาส่าว่านกเขาตู้ บ้านอ้ายมันขันหอง เขาส่าว่านกเขาทองบ้านอ้าย มันขันม่วน โอเดพี่ชายเอย บัดเทือมาฮอดแล้ว คู่ค้างซ่างบ่โตน คันบ่โตนเจ้าคอนใต้ โอซ่างบ่โตนเจ้าคอนต่ำ โอเดพี่ชายเอย
ชาย : โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย คันว่าสิบแหนงไม้ คันว่าซาวแหนงไม้ บ่คือแหนงดอกไม้ไผ่ โอเดพระนางเอย อยากเป็นเขยบ้านน้องทางอ้ายจังต่าวมา
หญิง : โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย อ้ายอย่าตั๋วอีนางให้เซไซบ้าป่วง อย่ามาตั๋วให้น้อง นางน้อยล่ะ จ่อยโซ
ชาย : โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย อ้ายบ่ตั๋วพระนางน้อง คำนางดอกน้องพี่ ฮักอีหลีตั๋วละน้อง ทางอ้ายจั่งด่วนมา
หญิง : โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย คันบ่จริงอ้ายอย่าเว้า คันบ่เอาอ้ายอย่าว่า ทางปู่ย่าเพิ่นบ่พร้อม ยอมเอาน้องขึ้นสู่เฮือน
ชาย : โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย คันว่าเฮือนซานอ้าย นอซานอ้ายดีหลายคันได้อุ่น นับเป็นบุญพี่อ้ายคันน้องเข้าฮ่วมเฮือน
หญิง : โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย น้องนี้คิดฮอดอ้ายๆ คืนเดือนหงายสิแนมเบิ่งๆ โอเดพี่ชายเอย ใจซิเถิงหม่อมอ้ายคืนนั้นให้พี่คอย
ชาย : โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย อ้ายสิขอรำเกี้ยวๆ คำนางให้มันม่วน อ้ายซิชวนหมู่เพื่อนลำเกี้ยวเข้าใส่กัน

 

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)