foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

ารละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1. เพลงพื้นบ้าน
    2. ละครพื้นบ้าน
    3. การฟ้อนพื้นบ้าน
    4. เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

    bulletเอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

    3diamondดูอย่างไรว่าเป็นการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

    การฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่ผู้ชมสามารถแยกแยะได้ทันทีว่า "ต่างจากภาคอื่นๆ" แม้จะไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนการแสดง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

    1. ท่วงทำนองของดนตรี จังหวะ ลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความสนุกสนานเร้าใจแตกต่างจากภาคอื่นๆ ของไทย
    2. การแต่งกายของผู้แสดง ทั้งนักแสดงหญิงและชายจะมีความเด่นชัด ในฝ่ายหญิงจะนุ่งซิ่นมัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบหรือแพรวา ผมเกล้ามวย ฝ่ายชายจะสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่งผ้าลายเป็นตาๆ ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นการแสดงของอีสาน
    3. เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาคอีสานอบ่างชัดเจน พิณ แคน โปงลาง โหวด ไหซอง กลองตุ้ม ถึงแม้จะยังไม่มีการบรรเลงก็พอจะบอกได้ว่า การแสดงต่อไปนี้จะเป็นการแสงของภาคอีสาน
    4. ภาษาอีสาน แน่นอนว่าเป็นภาษาเฉพาะถิ่นที่มีสำเนียงที่แตกต่าง เป็นการชี้ชัดว่าเป็นการแสดงของภาคอีสาน

    3diamondท่าฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

    ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีความเป็นอิสระสูง ไม่มีข้อจำกัดตายตัว ทั้งมือและเท้า ส่วนใหญ่ท่าฟ้อนจะได้มาจากท่าทาง หรืออริยาบทตามธรรมชาติ และมีท่าพื้นฐานที่แตกต่างกันไปเฉพาะถิ่น เช่น ฟ้อนผู้ไท ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทยดำ เรือมอันเร เป็นต้น

    fon isan

    ถึงแม้จะมีความคิดที่จะพยายามกำหนดท่าฟ้อนของภาคอีสาน ให้เป็นแบบฉบับขึ้น มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับนาฏศิลป์ภาคกลางที่มี "ท่าแม่บท" เป็นพื้นฐานในการฟ้อนรำนั้น เป็นแนวคิดหนึ่งที่ต้องการให้การฟ้อนภาคอีสานมีระบบ และหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขึ้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นแนวคิดที่ถูกต้องนัก เพราะจะเป็นการตีกรอบให้ตัวเองมากเกินไป ซึ่งตามจริงแล้ว ท่าฟ้อนของอีสานมีความเป็นอิสระ ไม่มีการกำหนดท่าแน่นอนตายตัวว่าเป็นท่าอะไร ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์ท่ารำ จะตั้งชื่อว่าเป็นท่าอะไร ความเป็นอิสระนี่เองที่ทำให้เกิดท่าฟ้อนชุดใหม่ๆ ที่แปลกตา สวยงามยิ่งขึ้น

    ท่าฟ้อนที่เป็นแม่แบบส่วนใหญ่นำมาจากกลอนลำ ซึ่งเรียกว่า "กลอนฟ้อน" เป็นกลอนยาว ใช้กลอนเจ็ด แปด หรือกลอนเก้า แล้วแต่ผู้แต่งถนัดแบบใด การฟ้อนเป็นศิลปะอันหนึ่งที่มาพร้อมกับการลำ การฟ้อนจะมีกี่แบบไม่ปรากฏแน่ชัด แต่หมอลำจะแต่ง กลอนฟ้อนแบบต่างๆ ไว้ ในขณะที่ลำหมอลำจะฟ้อนแสดงท่าทางตามกลอนที่แต่ง ดูแล้วเป็นการสนุกสนาน เช่น กลอนฟ้อน ของหมอลำเปลี่ยน วิมลสุข

    มีความพยายามในการแบ่งท่ารำภาคอีสานออกมาให้ชัดเจนซึ่งมีหลายสำนัก เช่น จิราภรณ์ วุฒิพันธ์ (นาฏศิลป์อีสาน) ได้แบ่งออกเป็น 32 ท่า ดังนี้

    1. ท่าแฮ้งตากขา
    2. ท่ากาตากปีก
    3. ท่าหลีกแม่ผัว
    4. ท่าคว้าหำปู่
    5. ท่าไกวอู่กล่อมหลาน
    6. ท่าหนุมานคลุกฝุ่น
    7. ท่าตุ่นเข้าอู่
    8. ท่าหนุมานถวายครูพิเภก
    9. ท่าหนุมานถวายแหวน
    10. ท่าแห่บั้งไฟแสน
    11. ท่าเมาเหล้า
    12. ท่าลำเจ้าชู้หยิกหยอกตาหวาน
    13. ท่านักเลง
    14. ท่ากวยครูมวยซิต่อย
    15. ท่ากินรีเที่ยวชมดอกไม้
    16. ท่านกยูงรำแพน
    1. ท่าผีไท้ลงข่วง
    2. ท่าพายเฮือส่วง
    3. ท่าลำเกี้ยวกันพวกหมอลำคู่
    4. ท่าลำหมู่ออกท่าลำเพลิน
    5. ท่ามโนราห์เหาะเหิรบินบนขึ้นเลิ่น
    6. ท่ารำโทนสมัยก่อน
    7. ท่าเสือออกเหล่า
    8. ท่าเต่าลงหนอง
    9. ท่าปลาชะโดลงคลอง
    10. ท่าแอะแอ่นแหงงมือให้เรียบ
    11. ท่านักมวย
    12. ท่างัวชนกัน
    13. ท่าคนโบราณเลื่อยแป้น
    14. ท่าสาวเตะกล้า
    15. ท่าผู้เฒ่าจับอู่โหย่นหลาน
    16. ท่าแม่ลูกอ่อนกินนม

    ส่วนวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดได้คิดประดิษฐ์ชุดฟ้อนขึ้น โดยกำหนดว่าท่าแม่บทอีสานมีอยู่ 48 แม่ท่า เช่น ท่าพรหมสี่หน้า ท่าทศกัณฑ์เกี้ยวนางมณโฑ ท่าช้างเดินตามแม่ ท่าช้างชูงวง ท่ากาเต้นก้อน ท่ากากางปีก ท่าหลีกแม่เมีย ท่าลมพัดพร้าว ท่าท่าเสือออกเหล่า ท่าเต่าลงหนอง ท่าคนขาแหย่ง ท่าปู่สิงหลาน ท่าผู้เฒ่าฟังธรรม ท่าเกียจับไม้ ท่าบินนางมโนราห์ เป็นต้น [ อ่านเพิ่มเติม : ฟ้อนแม่บทอีสาน ]

     ฟ้อนแม่บทอีสาน

    3diamondลักษณะท่ามือและท่าเท้าการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

    1. ท่ามือ ถ้าพิจารณาการเคลื่อนไหวของมือ คงเหมือนกับคำกล่าวที่ว่าท่าฟ้อนของอีสานเหมือน "ม่อนท่าวใย" คงเห็นภาพพจน์ได้ดีจากการฟ้อนของหมอลำที่หมุนมือพันกัน คล้ายกับตั่วม่อนชักใยพันตัว ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นได้มาจากธรรมชาติคือ มีความเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับลีลาของผู้ฟ้อนที่จะขยับมือเคลื่อนกายไปอย่างไร
      • การจีบมือ ของชาวอีสานนั้นนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ไม่จดกัน จะห่างกันเล็กน้อยซึ่งแตกต่างจากการจีบของภาคกลาง ไม่สามารถเอาหลักนาฏศิลป์ของภาคกลางมาจับท่าฟ้อนของชาวอีสานได้ เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าจะจีบหงาย จีบคว่ำตอนไหน
    2. ท่าเท้า ท่าเท้าของการฟ้อนแบบอีสานมีลีลาแตกต่างจากภาคกลางเช่นเดียวกัน ซึ่งพอจำแนกท่าเท้าที่ใช้ในการฟ้อนได้ดังนี้
      • ท่าซอยเท้า เช่น การรำเซิ้ง การซอยเท้าให้เข้าจังหวะกลอง โดยเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่ายกส้นเท้าขึ้นไปด้านหลังให้มากที่สุด ซอยเท้าอย่างสม่ำเสมอ การรำเซิ้งนั้นมิใช่ยกเท้าให้ส้นเท้าสูง หรือยืนโดยอาศัยปลายเท้าคล้ายการเต้นบัลเล่ย์ซึ่งดูแล้วตลกผิดธรรมชาติ แต่เป็นการเปิดส้นเท้าเพียงเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการซอยเท้า ซึ่งท่านี้ก็ไม่ใช่การย่ำเท้าอยู่กับที่โดยเหยียบเต็มฝ่าเท้า
      • ท่าเท้าของผู้ไทเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทเรณูนครนอกจากจะมีการก้าวเดินตามธรรมดาแล้ว ยังมีอีกท่าหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของเรณูนครเท่านั้น คือมือบนจีบข้างหูโดยปลายนิ้วที่จีบจะหันเข้าข้างหู แล้วส่งจีบผ่านใต้รักแร้ไปด้านหลัง แทงปลายมือไปด้านหน้าในลักษณะคว่ำมือม้วนมือมาจีบไว้ข้างหูดังเดิม สลับกันไปทั้งมือซ้ายและมือขวา คือ ถ้ามือซ้ายจีบไว้ข้างหู มือขวาก็จะส่งไปข้างหลัง
        ส่วนท่าเท้าก็จะใช้ 4 จังหวะ คือ ขย่มตัว 2 จังหวะ ถ้ามือไหนส่งหลังกำลังจะแทงไปข้างหน้า ก็ใช้เท้าด้านนั้นแตะพื้น 4 ครั้ง อีก 2 จังหวะ โดยครั้งที่ 4 จะเหยียบขย่มตัว 2 จังหวะ ใช้เท้าอีกข้างหนึ่งแตะพื้น 4 ครั้ง แล้วเหยียบกันไปมาซึ่งจะสอดคล้องกับท่ามือที่เคลื่อนไหวไปมา
      • ท่าเท้าของผู้ไทกาฬสินธุ์ ท่าเท้าของการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์และการฟ้อนโปงลาง จะใช้ท่าก้าวเท้าเช่นเดียวกันคือ การก้าวไขว้เท้าโดยเตะเท้าไปข้างหน้าก้าวไขว่ขย่มตัว ชักเท้าหลังเตะไปด้านหน้าไขว่เท้าขย่มตัวสลับกันไป ลักษณะคล้ายกับการเต้นควิกสเต็ป ที่แตกต่างกันก็คือการเตะเท้าไปข้างหน้า นอกนั้นใช้หลักการก้าวเท้าเช่นเดียวกับการเต้นควิกสเต็ป
      • ท่าสืบเท้าหรือกระถดเท้าไปด้านข้าง ท่านี้จะใช้ในการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่นกัน เป็นการก้าวชิดก้าว แต่เป็นการก้าวเท้าไปทางด้านข้าง มีลักษณะเช่นเดียวกับการสไลด์เท้าไปทางด้านข้างนั่นเอง

    ชุดฟ้อนของภาคอีสานส่วนใหญ่จะใช้การก้าวเท้าลักษณะเดียวกับการรำเซิ้ง จะมีพิเศษอีกแบบหนึ่งคือ ท่าเท้าของผู้ชายในการฟ้อนผู้ไท จะใช้ลีลาการก้าวเท้าของการรำมวยที่เรียกว่า การรำมวยลาว หรือรำมวยโบราณ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกแบบหนึ่ง

     การแสดงรำมวยโบราณ

    next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนแบบต่างๆ

     

    redline

    backled1

    dance header

    bulletการแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

    ารละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

      1. เพลงพื้นบ้าน
      2. ละครพื้นบ้าน
      3. การฟ้อนพื้นบ้าน
      4. เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

      3diamondการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

      การฟ้อนรำของมนุษย์จะเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์มีความเจริญทางอารมณ์และจินตนาการ ความสร้างสรรค์พอสมควร ดังนั้นมนุษย์ในทุกๆ หมู่จะมีการเต้นรำหรือฟ้อนรำเป็นของตนเอง และพัฒนารูปแบบขึ้นมาตามลำดับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการฟ้อนรำว่า

      การฟ้อนรำย่อมเป็นประเพณีในเหล่ามนุษยชาติทุกภาษาไม่เลือกว่าจะอยู่ ณ ประเทศถิ่นสถานที่ใด
      ในพิภพนั้นคงมีวิธีฟ้อนรำตามวิสัยชาติของตนด้วย ทั้งนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ถึงแม้สัตว์เดรัจฉาน
      ก็มีวิธีฟ้อนรำ ข้อนี้สังเกตเห็นได้ง่าย เช่น สุนัข และไก่กา เป็นต้น "

      fon isan

      ในการที่จะวินิจฉัยว่า มนุษย์หมู่ใดมีความเจริญก้าวหน้าหรือล้าหลังหมู่อื่น โดยใช้แบบหรือศิลปะการแสดงมาเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ โดยเฉพาะการฟ้อนรำของชนในชาตินั้น การฟ้อนรำจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

      • การฟ้อนรำของชาวบ้าน (folk dance) คือ การฟ้อนรำอันเกิดจากความรู้สึกของชนธรรมดาสามัญ โดยไม่ต้องมีการฝึกหัด หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อย จะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน มีชีวิตชีวา
      • การฟ้อนรำตามแบบแผน (classical dance) คือ การฟ้อนรำที่ต้องอาศัยการฝึกหัดกันตามแบบฉบับ มีครู-อาจารย์ มีการตั้งกฎเกณฑ์แบบแผนต่างๆ เช่น การรำละครของไทย ซึ่งยกย่องว่าเป็นของสูง การฟ้อนรำตามแบบแผนไม่สามารถแสดงอารมณ์กับคนดูได้ จึงเป็นความงามที่ปราศจากชีวิต คล้ายหุ่นที่ร่ายรำเท่านั้น

      fon bucha

      การฟ้อนรำตามแบบฉบับของชาวอีสานนั้น ผู้ฟ้อนมิได้เป็นช่างฟ้อนหรือช่างขับลำ แต่เป็นชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้าน การฟ้อนรำอาจจัดให้มีขึ้น เพื่อการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสต่างๆ เช่น หลังฤดูการเก็บเกี่ยว หรือฟ้อนรำเพื่อการทรงเจ้าเข้าผี เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เครื่องแต่งกายก็เป็นไปตามท้องถิ่น ข้อสำคัญต้องมีดนตรี มีจังหวะชัดและทำนองง่ายๆ ประกอบเพื่อให้การฟ้อนรำพร้อมเพรียงกัน

      serng pa mee

      เมื่อเป็นการฟ้อนของชาวบ้าน และเป็นการฟ้อนประจำของท้องถิ่น จึงมีผู้สืบทอดและสนใจในกลุ่มเล็กๆ ในท้องถิ่น และสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัยครู (สถาบันราชภัฏ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปัจจุบัน) จนกระทั่งมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ขึ้น 2 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์

      isan fon ram 03

      จึงมีการจัดรวบรวมฟื้นฟูดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน ทั้งในวิทยาลัยครู และสถานศึกษาอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นการฟ้อนชุดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย มีการพัฒนารูปแบบ เช่น การแปรแถว การจัดขบวนฟ้อนที่งดงามยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาการฟ้อนทั้งชุดเก่าและใหม่ที่พัฒนาเพิ่มเติมในปัจจุบัน พอจะจัดกลุ่มการฟ้อนชุดต่างๆ ได้ 8 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

        1. การฟ้อนเลียนกริยาอาการของสัตว์
        2. การฟ้อนชุดโบราณคดี
        3. การฟ้อนประกอบทำนองลำ
        4. การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ
        5. การฟ้อนอันเนื่องมาจากวรรณกรรม
        6. การฟ้อนเพื่อเซ่นบวงสรวงบัดพลีหรือบูชา
        7. การฟ้อนศิลปาชีพ
        8. การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง

        kanop tingtong 4

        next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนแบบต่างๆ

         

        redline

        backled1

        dance header

        bulletการแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

        ารละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

          1. เพลงพื้นบ้าน
          2. ละครพื้นบ้าน
          3. การฟ้อนพื้นบ้าน
          4. เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน
           
          pramothai 08

          3diamond ละครพื้นบ้านอีสาน

          การแสดงพื้นบ้านอีสานในลักษณะของการเล่าเรื่อง หรือมีการดำเนินเรื่องนั้นพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

          morlum 01

          1. หมอลำหมู่ หมอลำกลอน หมอลำซิ่ง

          หมอลำเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของอีสาน ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ และยังคงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน จนมีผู้กล่าวว่า "หมอลำ ไม่มีวันตายจากลมหายใจของคนอีสาน" การลำจะแบ่งออกเป็นหลายแบบหลายสำเนียง และพัฒนาเรื่อยมา รายละเอียดต่างๆ คลิกดูที่นี่ครับ

          morlum klon 01

          2. หนังปราโมทัย หรือหนังปะโมทัย หรือหนังบักตื้อ

          pramothai 11หนังปราโมทัยหรือหนังตะลุงอีสานนั้น มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น หนังประโมทัย หนังปราโมทัย หนังปะโมทัย หนังบักตื้อ และหนังบักป่องบักแก้ว คำว่า หนังปราโมทัย น่าจะมาจากคำว่า ปราโมทย์ ซึ่งหมายถึงความบันเทิงใจ ความปลื้มใจ ส่วนคำว่า ประโมทัยและปะโมทัย สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อของคณะหนังตะลุงก็ได้ ส่วนหนังบักตื้อ และหนังบักป่องบักแก้ว มาจากชื่อตัวตลก (ตัวหนัง) ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวบ้าน ซึ่งหนังปราโมทัยเป็นการละเล่นซึ่งผสมผสานกันระหว่างหนังตะลุงกับหมอลำ โดยตัวที่เป็นตัวเอก ตัวพระ ตัวนาง หรือเป็นเจ้าจะพูดภาษากลาง ตัวตลก เหล่าเสนาอำมาตย์ จะเป็นภาษาอีสาน เรื่องที่นำมาแสดงก็จะเอาวรรณกรรมพื้นบ้านมาแสดง เช่น สังข์ศิลป์ชัย จำปาสี่ต้น การะเกษ ผาแดงนางไอ่ ท้าวก่ำกาดำ รวมทั้งวรรณคดีเอกอย่าง รามเกียรติ์

          pramothai 12หนังปราโมทัยอีสานนั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางแห่งแรก คณะหนังปราโมทัยคณะเก่าแก่ที่สุดคือ คณะฟ้าบ้านทุ่ง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 คณะหนังประโมทัยที่เก่าแก่รองลงมาได้แก่ คณะบุญมี ซึ่งมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และมาตั้งคณะขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2476   คณะประกาศสามัคคี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490   นอกจากนี้ยังมีคณะ ช. ถนอมศิลป์ บ้านโคกไพลี ตำบลโพธิ์ทอง กิ่งอำเภอศรีสมเด็จ คณะ ป. บันเทิงศิลป์ บ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด คณะหนังปะโมทัยของผู้ใหญ่ถัง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

          คณะหนังปราโมทัยคณะหนึ่งมีประมาณ 5-10 คน เป็นคนเชิด 2-3 คน   ซึ่งจะทำหน้าที่พากย์และเจรจาด้วย   แต่ก็มีบางคณะที่ทำหน้าที่เชิดอย่างเดียว โดยมีคนเจรจาแยกเป็นชายจริงหญิงแท้ต่างหาก มีนักดนตรีประมาณ 3-5 คน

          เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย ระนาดเอก 1 ราง ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ ต่อมามีการนำเอา พิณ แคน กลอง ฉิ่งฉาบ เข้ามาเสริมเพื่อให้เกิดความไพเราะเร้าใจขึ้น ทุกอย่างแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาคล้ายกับหมอลำนั่นเอง คณะหนังตะลุงที่ผม (ผู้ทำเว็บไซต์) ได้รู้จัก และเคยเฝ้าดูการละเล่นมาตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันคือ คณะ ฟ.บันเบิงศิลป์ ถ้ามีโอกาสจะได้สัมภาษณ์มาบอกกล่าวกันต่อไป

          3. ลิเกเขมร

          ลิเกเขมรปรากฏในแถบอีสานใต้ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร เดิมชาวไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีการไปมาหาสู่ต่อกัน มีชายไทยคนหนึ่งชื่อ "ตาเปาะ" ได้ไปเที่ยวประเทศกัมพูชาและได้ภรรยาเป็นชาวเขมร ได้อาศัยอยู่ที่นั่นหลายปี จนมีความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นต่างๆ ในประเทศกัมพูชาเป็นอย่างดี

          like khamer

          ต่อมาได้กลับมาประเทศไทย ได้รวบรวสมัครพรรคพวกที่ชอบร้อง และรำตั้งเป็นคณะลิเกขึ้น ลักษณะการเล่นลิเกเขมรคล้ายลิเกไทย โดยใช้บทร้องและเจรจาเป็นภาษาเขมร ไม่มีการรำอย่างละครแต่รำประกอบพองาม หรืออาจจะมีระบำสลับฉาก หรือสอดแทรกในเรื่อง เช่น รำอาไย หรือกระโนบติงตอง เป็นต้น เรื่องที่นำมาแสดงเอามาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น เจ็ดยอดกุมาร กดามซอ (ปูขาว) ก่อนการแสดงจะมีการไหว้ครู แล้วแนะนำตัวละคร จึงเข้าสู่เรื่องราว

           
          รายการ รอบแดนสยาม ตอน : ลิเกเขมร

          เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอตตรัวเอก กลองรำมะนา 2 ลูก กรับ ฉิ่ง และฉาบ ผู้แสดงส่วนใหญ่ใช้ผู้หญิงแสดงเป็นตัวผู้หญิงและชาย ส่วนผู้ชายจะแสดงเป็นตัวตลกเท่านั้น การแต่งกายเป็นแบบพื้นบ้าน แต่มีมงกุฏสวมทั้งตัวพระตัวนาง ในราวปี พ.ศ. 2503 นายเปรม รัตนดี ได้จัดตั้งคณะลิเกขึ้นที่ บ้านดงเค็ง ตำบลเมืองลิง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ชื่อว่า "คณะเปรมปรีดิ์สามัคคีศิลป์" ซึ่งมีอยู่เพียงคณะเดียวและมีผู้ว่าจ้างไปแสดงน้อยเต็มที (ปัจจุบันไม่ปรากฏอีกแล้ว หากท่านผู้ใดมีข้อมูลจะช่วยเสริมก็ขอบพระคุณครับ)

          ของดีประเทศไทย : ลิเกเขมรโบราณ

           next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนแบบต่างๆ

           

          redline

          backled1

          dance header

          bulletการแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

          ารละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

            1. เพลงพื้นบ้าน
            2. ละครพื้นบ้าน
            3. การฟ้อนพื้นบ้าน
            4. เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

            bullet3เพลงพื้นบ้านอีสาน

            เพลงพื้นบ้าน (Folk Song) คือ เพลงของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง และเป็นที่รู้จักกันดีเฉพาะถิ่นนั้นๆ ลีลาการขับร้อง หรือการฟ้อนรำจึงมีอิสระทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา จึงเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ด้วยสาเหตุที่เพลงพื้นบ้านใช้ภาษาถิ่น ใช้ทำนองที่สนุก จังหวะที่เร้าใจ เนื้อหาถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ ความเป็นอยู่และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้

            1. กลุ่มอีสานเหนือ

            ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในภาคอีสาน

            • เพลงพิธีกรรม กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ในกลุ่มไทยลาวนี้มี "ฮีตสิบสองคองสิบสี่" เป็นบทบัญญัติในการควบคุมสังคมอีสานเพื่อให้ประชาชนได้ประพฤติปฏิบัติตามเมื่อถึงเวลา ลักษณะของจารีตประเพณีที่ปรากฏอยู่ในฮีตสิบสอง อันเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น งานบุญต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางจิตวิญญาณตั้งแต่เกิดจนตาย แบ่งได้เป็น

            serng bangfai 02 

            1. เพลงเซิ้งต่างๆ เป็นเพลงที่ใช้ร้องประกอบพิธีตามความเชื่อของชาวอีสาน เช่น
              • เพลงเซิ้งบั้งไฟ
              • เซิ้งนางแมว
              • เซิ้งนางด้ง
              • เซิ้งผีโขน
              ใช้ร้องโดยมีจุดมุ่งหมายในการร้องเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ดึงดูดให้คนไปร่วมพิธี และการร้องเพลงเซิ้ง ยังเป็นสื่อกลางในการขอความร่วมมือในพิธีนั้น เช่น ขอเงิน ขอสิ่งของ หรือขอความร่วมมืออื่นๆ ตามแต่จะต้องการ การร้องเพลงเซิ้งจะประกอบด้วย คนขับกาพย์นำ และจะมีลูกคู่คอยร้องรับ ลักษณะบทเพลงจะเป็นเพลงแบบด้นกลอนสด รายละเอียดเกี่ยวกับ การเซิ้งแบบต่างๆ
            • เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน เป็นเพลงร้องเล่นสำหรับหนุ่มสาว หรือผู้ให ญ่ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานเทศกาล หรือวาระพิเศษอื่นๆ เช่น งานสงกรานต์ ผ้าป่า กฐิน งานบวชนาค ได้แก่ หมอลำหรือการลำแบบต่างๆ
              1. หมอลำพื้น คือ หมอลำเป็นชายที่ลำเกี่ยวกับเรื่องนิทานต่างๆ
              2. หมอลำกลอน คือ หมอลำชายหญิงที่ลำเกี่ยวกับเรื่องราวของความรักโต้ตอบกัน
              3. หมอลำหมู่ เป็นกลุ่มของหมอลำที่ลำเป็นเรื่อง และใช้ทำนองเศร้า
              4. หมอลำเพลิน เป็นคณะหมอลำที่ลำเรื่องใช้ทำนองสนุกสนาน
              5. หมอลำผีฟ้า คือ การลำรักษาคนเจ็บไข้ ซึ่งเราจัดอยู่ในกลุ่มของเพลงพิธีกรรม
              รายละเอียดของกลอนต่างๆ ดูได้ในเรื่อง หมอลำ : ศิลปะพื้นบ้านที่ไม่มีวันตาย

            2. กลุ่มอีสานใต้

            แบ่งออกเป็นกลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร-ส่วย หรือเรียกว่า กลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือเรียกว่า กลุ่มเพลงโคราช

            • เพลงพิธีกรรม
              1. เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นมม็วตไม่จำกัดจำนวน ในจำนวนผู้เล่นนั้นจะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโส ทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
            • เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน
              1. กันตรึม กันตรึมเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของอีสานใต้ กันตรึม หรือ โจ๊ะกันตรึม ยังเป็นที่นิยมและมีบทบาทสำคัญตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันสำหรับชาวอีสานใต้ เช่นเดียวกับหมอลำของชาวอีสานเหนือ ประวัติของการเล่นกันตรึมนี้ไม่มีผู้ทราบที่มาอย่างแน่นอน แต่เชื่อว่าการละเล่นกันตรึมนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากขอม วงกันตรึมยังใช้แสดงในงานต่างๆ เสมอ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพหรืองานพิธีกรรมอื่น แต่จังหวะลีลาในการแสดงจะแตกต่างกันออกไป ตามพิธีของแต่ละงาน โดยเฉพาะเครื่องดนตรีประกอบการแสดงกันตรึม ก็จะแตกต่างกัน เช่น การแสดงในงานศพ จะใช้ปี่อ้อมาบรรเลง แต่ถ้าเป็นงานแต่งงานก็จะใช้ปี่เตรียงหรือปี่เญ็นแทนปี่อ้อ ส่วนเนื้อร้องก็เปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับแต่ละงาน บทเพลงและทำนองเพลงกันตรึมมีหลากหลาย แต่พอจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
                • บทเพลงชั้นสูงหรือเพลงครู เป็นเพลงที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มักจะนำมาบรรเลงก่อนเพลงอื่นๆ ส่วนมากมีท่วงทำนองช้า
                • บทเพลงสำหรับขบวนแห่ ใช้บรรเลงในขบวนแห่ต่างๆ มีท่วงทำนองสนุกสนาน และใช้บรรเลงประกอบการขับร้องและการฟ้อนรำ
                • บทเพลงเบ็ดเตล็ด เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนองลีลารวดเร็ว สนุกสนาน มักจะใช้บรรเลงบนเวที
              2. เจรียง หรือจำเรียง ซึ่งเป็นคำภาษาเขมร แปลว่า ร้อง เป็นการขับร้องเป็นทำนองเสนาะ แบบการอ่านทำนองเสนาะ ใช้ในการเล่าเรื่องโบราณวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และประเพณี หรือเล่านิทาน เป็นการสั่งสอนให้คนทำความดี ลักษณะของเจรียงจึงคล้ายกับหมอลำและเพลงโคราช ดนตรีที่ใช้ประกอบคือ แคน การแสดงประกอบด้วยผู้ร้องฝ่ายชาย 1 คน และฝ่ายหญิง 1 คน คนเป่าแคนอีก 1 คน การแสดงอย่างเดียวกันนี้ในประเทศกัมพูชา เรียกว่า "โอะกัญโตล"

                การเจรียงจะเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู เป็นการรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ แล้วเริ่มบทปฏิสันฐานกับผู้ฟัง บอกเล่าถึงความสำคัญของการแสดงว่า งานนั้นๆ มีการบำเพ็ญกุศลอะไร บางครั้งก็ยกนิทานประกอบ การเจรียงอาจจะเจรียงเป็นกระทู้ถามตอบ ในช่วงหลังๆ จะเพิ่มความสนุกสนานโดยใช้บทหยอกล้อ กระทบกระเทียบในลักษณะตลกคะนอง การเจรียงแบ่งออกได้หลายแบบเช่น
                • เจรียงซันตรูจ เป็นการร้องเล่นในเทศกาลต่างๆ โดยชายหนุ่มจะหาคันเบ็ดมาหนึ่งคัน แล้วใช้ขนมต้มหรือผลไม้ผูกไว้ที่เชือกเบ็ด แล้วนำเบ็ดไปหย่อนล่อหญิงสาวถ้าหญิงสาวผู้ใดรับเหยื่อก็แสดงว่ารัก
                • เจรียงกันกรอบกัย (เพลงปรบไก) เป็นการเล่นเจรียงคนเดียว ไม่มีดนตรีเป็นแบบแผน ส่วนใหญ่ใช้วิธีตบมือหรือสีซอเป็นการเจรียงแบบตลก
                • เจรียงตรัว เป็นการขับร้องเดี่ยวเป็นนิทาน ประกอบซอ คล้ายการ ลำพื้น ของชาวอีสานเหนือ ผู้ขับร้องจะสีซอไปด้วย
                • เจรียงจะเป่ย เป็นการขับร้องเดียวเป็นนิทาน ประกอบพิณกระจับปี่ มีผู้เล่นคนเดียวเป็นผู้ขับร้องและดีดจะเป่ย
                • เจรียง-จรวง แปลว่าขับร้องโดยปี่จรวงเป่าประกอบ เป็นการขับร้องโต้ถามกันเป็นเรื่องตำนาน สุภาษิตต่างๆ เดิมใช้ปี่จรวงประกอบแต่ปัจจุบันใช้ซอแทน
                • เจรียงนอรแก้ว มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 2 คน หญิง 2 คน เป็นการเล่นโต้ตอบระหว่างชายหญิง โดยแต่ละฝ่ายจะมีพ่อเพลงและแม่เพลงร้องนำและมีลูกคู่ร้องตาม ต่อจากนั้นชาย-หญิงแต่ละฝ่ายจึงร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ๆ โดยไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ
                • เจรียงปังนา เป็นการขับร้องคล้ายกับเจรียงนอรแก้ว แต่มีจังหวะเร็วกว่า มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 1 คน หยิง 1 คน กลองโทน 1 คน ขับร้องโดยบรรยายเรื่องราวตามต้องการ
                • เจรียงเบริน เป็นการร้องเพลงคลอกับซอแบบร้องคู่ชาย-หญิง คล้าย "หมอลำกลอน" ของชาวอีสานเหนือ เป็นทำนองขับลำนำเรื่องราวหรือโต้ตอบซักถามนิทานชาดก
                • เจรียงตรุษ เป็นการร้องรำเป็นกลุ่มในวันขึ้นปีใหม่ (13 เมษายน) โดยมีพ่อเพลงร้องนำแล้วลูกคู่ก็ร้องตาม หรือร้องรับเดินทางเป็นคณะไปร้องอวยพรตามบ้านต่างๆ เมื่ออวยพรเสร็จก็จะขอบริจาคเงินเพื่อไปทำสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ลักษณะการร้องรำอันนี้คล้ายกับการเซิ้งบั้งไฟของชาวอีสานเหนือ
                • เจรียงกันตรึม ใช้ในงานมงคลโดยเฉพาะ เช่น กล่อมหอ ในงานแต่งงานขึ้นบ้านใหม่ มีผู้เล่นประกอบ 4 คน เป็นชายทั้งหมด เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ 1 คน ซอด้วง 1 คน กลองโทน 2 คน คนตีกลองจะเป็นผู้ขับร้อง
             
            เพลง กันตรึม เจรียงเงินล้าน
              1. อาไย เป็นเพลงปฏิพากษ์ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว คล้ายเพลงอีแซวหรือลำตัดของภาคกลาง จะเล่นประกอบกับเครื่องมโหรี วิธีเล่นจะแบ่งเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจำนวนเป็นคู่เท่าๆ กัน ไม่เกิน 4 คู่ แต่ละคู่จะยืนหันหน้าเข้าหากันและร้องโต้ตอบกัน เปลี่ยนคู่เวียนไปเรื่อยๆ ในระหว่างที่ร้องจบดนตรีก็จะรับเป็นท่อนๆ และในช่วงดนตรีรับนี้ทั้งฝ่ายหญิงและชายจะรำต้อนกัน

              2. เพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่มีอายุเก่าแก่มาก และเป็นเพลงครูของเพลงพื้นบ้านอื่นๆ เช่น เพลงฉ่อย ซึ่งใช้กลอนเพลงโคราชเป็นบทไหว้ครู เพลงโคราชเป็นกลอนปฏิพากย์ คือเป็นการใช้ปฏิภาณในการแก้ปัญหาร้องโต้ตอบกัน ว่าแก้กันทันควันทันทีไม่ต้องอาศัยบทใดๆ เลย ลักษณะเป็นกลอนด้นนิยมเล่นอักษรสัมผัส ทำให้มีความไพเราะขึ้น ภาษาที่ใช้ในกลอนเพลงโคราชจะใช้ภาษาโคราช ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาไทยภาคกลางแต่เพี้ยนหรือแปร่งไป เพลงโคราชจะเล่นในโอกาสงานมงคลต่างๆ เช่น งานบวช งานโกนจุก งานทำบุญ หรือแม้แต่งานศพก็เล่นเพลงโคราชได้เช่นกัน

                เพลงโคราชคณะหนึ่งๆ มีผู้เล่นเพลงประมาณ 6 คน แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอย่างละเท่าๆ กัน สถานที่เล่นเดิมเล่นตามลานบ้าน ต่อมามีการยกเวทีขึ้น 4 เสามีหลังคา เริ่มเล่นโดยผู้เล่นที่มีอาวุโสหรือหมอเพลงจะออกมาร้องก่อน แล้วฝ่ายหญิงจะว่าบทไหว้ครู ตามด้วยการร้องเกริ่นโต้ตอบกันไปทั้งสองฝ่าย ลักษณะการเล่นเพลงโคราชแบ่งได้อย่างกว้างๆ 3 ประเภทคือ
                • เกี้ยวพาราสี เนื้อร้องจะเป็นคำเกี้ยวพาราสีระหว่างหญิงชาย ในบางครั้งอาจมีคำเสียดสี ถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบ ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงพื้นบ้านทั่วไป
                • ลองปัญญา เป็นการนำเอาปัญหาหรือปรัชญาพุทธศาสนา หรือตำนานเรื่องต่างๆ มาซักถาม ฝ่ายใดที่ตอบไม่ได้ก็จะถูกว่าให้ได้อาย
                • เล่าเป็นเรื่อง เช่น ยกนิทานที่มีคติสอนใจ หรือจับเรื่องราวตามธรรมเนียมของเพลงพื้นบ้านอื่นๆ โดยสมมติตัวละคร

            เพลงโคราชกับการสร้างสรรค์ของ "กำปั่น บ้านแท่น"

             

            next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนแบบต่างๆ

             

            redline

            backled1

            isan word tip

            isangate net 345x250

            ppor blog 345x250

            adv 345x200 1

            นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

            ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)