dance header

bulletการแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

ารละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1. เพลงพื้นบ้าน
    2. ละครพื้นบ้าน
    3. การฟ้อนพื้นบ้าน
    4. เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

3diamondการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

การฟ้อนรำของมนุษย์จะเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์มีความเจริญทางอารมณ์และจินตนาการ ความสร้างสรรค์พอสมควร ดังนั้นมนุษย์ในทุกๆ หมู่จะมีการเต้นรำหรือฟ้อนรำเป็นของตนเอง และพัฒนารูปแบบขึ้นมาตามลำดับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการฟ้อนรำว่า

การฟ้อนรำย่อมเป็นประเพณีในเหล่ามนุษยชาติทุกภาษาไม่เลือกว่าจะอยู่ ณ ประเทศถิ่นสถานที่ใด
ในพิภพนั้นคงมีวิธีฟ้อนรำตามวิสัยชาติของตนด้วย ทั้งนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ถึงแม้สัตว์เดรัจฉาน
ก็มีวิธีฟ้อนรำ ข้อนี้สังเกตเห็นได้ง่าย เช่น สุนัข และไก่กา เป็นต้น "

fon isan

ในการที่จะวินิจฉัยว่า มนุษย์หมู่ใดมีความเจริญก้าวหน้าหรือล้าหลังหมู่อื่น โดยใช้แบบหรือศิลปะการแสดงมาเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ โดยเฉพาะการฟ้อนรำของชนในชาตินั้น การฟ้อนรำจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • การฟ้อนรำของชาวบ้าน (folk dance) คือ การฟ้อนรำอันเกิดจากความรู้สึกของชนธรรมดาสามัญ โดยไม่ต้องมีการฝึกหัด หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อย จะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน มีชีวิตชีวา
  • การฟ้อนรำตามแบบแผน (classical dance) คือ การฟ้อนรำที่ต้องอาศัยการฝึกหัดกันตามแบบฉบับ มีครู-อาจารย์ มีการตั้งกฎเกณฑ์แบบแผนต่างๆ เช่น การรำละครของไทย ซึ่งยกย่องว่าเป็นของสูง การฟ้อนรำตามแบบแผนไม่สามารถแสดงอารมณ์กับคนดูได้ จึงเป็นความงามที่ปราศจากชีวิต คล้ายหุ่นที่ร่ายรำเท่านั้น

fon bucha

การฟ้อนรำตามแบบฉบับของชาวอีสานนั้น ผู้ฟ้อนมิได้เป็นช่างฟ้อนหรือช่างขับลำ แต่เป็นชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้าน การฟ้อนรำอาจจัดให้มีขึ้น เพื่อการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสต่างๆ เช่น หลังฤดูการเก็บเกี่ยว หรือฟ้อนรำเพื่อการทรงเจ้าเข้าผี เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เครื่องแต่งกายก็เป็นไปตามท้องถิ่น ข้อสำคัญต้องมีดนตรี มีจังหวะชัดและทำนองง่ายๆ ประกอบเพื่อให้การฟ้อนรำพร้อมเพรียงกัน

serng pa mee

เมื่อเป็นการฟ้อนของชาวบ้าน และเป็นการฟ้อนประจำของท้องถิ่น จึงมีผู้สืบทอดและสนใจในกลุ่มเล็กๆ ในท้องถิ่น และสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัยครู (สถาบันราชภัฏ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปัจจุบัน) จนกระทั่งมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ขึ้น 2 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์

isan fon ram 03

จึงมีการจัดรวบรวมฟื้นฟูดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน ทั้งในวิทยาลัยครู และสถานศึกษาอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นการฟ้อนชุดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย มีการพัฒนารูปแบบ เช่น การแปรแถว การจัดขบวนฟ้อนที่งดงามยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาการฟ้อนทั้งชุดเก่าและใหม่ที่พัฒนาเพิ่มเติมในปัจจุบัน พอจะจัดกลุ่มการฟ้อนชุดต่างๆ ได้ 8 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

    1. การฟ้อนเลียนกริยาอาการของสัตว์
    2. การฟ้อนชุดโบราณคดี
    3. การฟ้อนประกอบทำนองลำ
    4. การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ
    5. การฟ้อนอันเนื่องมาจากวรรณกรรม
    6. การฟ้อนเพื่อเซ่นบวงสรวงบัดพลีหรือบูชา
    7. การฟ้อนศิลปาชีพ
    8. การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง

kanop tingtong 4

เพลงพื้นบ้าน | ละครพื้นบ้าน | การฟ้อนพื้นบ้าน | เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน blueline

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนแบบต่างๆ

 

redline

backled1