foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

jole mamuad header

“การโจลมะม็วด” เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่คนในชุมชนเขมร ไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ หรือแม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย ยังคงถือปฏิบัติสืบต่อกันมา แม้ว่าสังคมโลกจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดปรากฏการณ์แปลกประหลาดกับคนในหมู่บ้าน หรือชุมชน และสมาชิกในชุมชนไม่สามารถหาคำตอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีคนในหมู่บ้านเกิดอาการเจ็บป่วยแบบไร้สาเหตุ และได้พยายามรักษาในทางวิทยาศาสตร์ จนถึงที่สุดแล้วก็ไม่สามารถรักษาได้ สิ่งสุดท้ายที่คนในชุมชนจะต้องนึกถึงก็คือ เกิดจากการกระทำของครูกำเนิด อาจถูกคุณไสย อาจเกิดจากการล่วงเกินสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือคนป่วยอาจเคยกระทำการใดๆ อันเป็นการล่วงเกิน หรือเป็นเหตุให้อำนาจเหนือธรรมชาติไม่พอใจ จะโดยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม (สำหรับบางคนอาจเจตนากระทำ เพราะไม่เชื่อหรือศรัทธา) โดยญาติจะต้องรีบเชิญคนดีมีวิชามา “ถอนคุณไสย” ให้ หรือแก้ไขโดยการขอขมาและทำให้ภูตผีเหล่านั้นพึงพอใจ

jole mamuad 01

ปกติคนในชุมชนเขมรมักจะมีความเชื่อร่วมกันว่า อะไรก็ตามที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ ก็น่าจะมาจากอำนาจที่มองไม่เห็นกระทำให้มีเหตุร้าย ดังนั้นเมื่อมีเหตุให้เป็นไปแล้ว คนส่วนใหญ่ในชุมชนเขมรก็มักนึกถึง 'ร่างทรง' หรือ 'แม่มะม็วด' เพราะเชื่อว่า สามารถทำนายทายทักและหาวิธีแก้ไขให้ทุกอย่างคลี่คลายลงได้ เหตุนี้ พิธีกรรมการโจลมะม็วด จึงเป็นสื่อกลางเพียงอย่างเดียว ที่คนในชุมชนเขมรจะนำมาใช้เป็นสื่อกลาง เพื่อติดต่อสื่อสารกับอำนาจเหล่านั้น อันจะนำไปสู่หนทางแก้ไขความผิดพลาดได้ทันท่วงทีและถูกทาง เช่น ขอขมาลาโทษ เซ่นสรวงบูชา หรือการทำสิ่งต่างๆ ตามที่ร่างทรง (แม่มะม็วด) แนะนำให้ปฏิบัติ ปัจจุบันพบว่า พิธีกรรมการโจลมะม็วด ยังคงอยู่ควบคู่กับคนในชุมชนเขมร จังหวัดสุรินทร์อย่างเหนียวแน่น ไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังคงอยู่คู่ หมู่บ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และชุมชนละแวกใกล้เคียง เห็นได้จากในชุมชนยังใช้พิธีกรรมนี้รักษาคนในครอบครัว และญาติที่เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุอยู่เนืองๆ แม้ว่าความเจริญทางวิทยาศาสตร์จะรุดหน้าไปมากก็ตาม ซึ่งก็ทำให้คิดได้ว่า นั่นน่าจะเป็นเพราะพิธีกรรมนี้ยังคงมีบทบาทหน้าที่บางประการต่อชุมชนนั่นเอง

ความหมายและความสำคัญ

พิธีกรรมการโจลมะม็วด (“โจล–มะ-ม๊วด” หรือ รำผีฟ้า หรือ แม่มด) หมายถึง การเข้าทรงเพื่อทำการรักษาโรค คำว่า โจล แปลว่า เข้า (ทรง) มะม็วด แปลว่า แม่มด ดังนั้น โจลมะม็วด จึงหมายถึง การเข้าทรงแม่มด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ทำการรักษาโรค ของสังคมชาวเขมรในแถบอีสานใต้ และเป็นการทำนายทายทัก หาสาเหตุการเจ็บป่วย ตามวิถีแบบดั้งเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการป่วยที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ แต่ชาวบ้านมักเชื่อว่า การที่หาสาเหตุไม่ได้อาจเป็นเพราะการกระทำของอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น เกิดจากการกระทำของ ครูกำเนิด (กรูกำเนิต) อาจถูกคุณไสย อาจเกิดจากการล่วงเกินสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งอาจเพราะมีวิญญาณร้ายสิงสู่ เป็นต้น ดังนั้นญาติพี่น้องจึงได้เชิญ “แม่มะม็วด” มาประกอบพิธีกรรม เพื่อหาที่มาและเป็นการขจัดปัดเป่าสิ่งเลวร้าย หรือขอขมาลาโทษสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วย (หมายรวมถึงคนในครอบครัว และญาติพี่น้อง) อาจล่วงเกินโดยไม่เจตนา ทั้งนี้จะใช้ดนตรีเป็นสื่อในการประกอบพิธี รวมทั้งเพื่อเป็นการบูชาและสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ป่วยทางหนึ่งด้วย

jole mamuad 02

คนในชุมชนเขมรนิยมรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการโจลมะม็วด เพราะมีความเชื่อว่า จะสามารถแก้ไขเรื่องร้ายกลายเป็นเรื่องดีได้ ซึ่งการรักษาด้วยพิธีนี้มักจะใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว อาการป่วยไม่ดีขึ้น โดยมีร่างทรงซึ่งเรียกว่า แม่มะม็วด หรือ ครูมะม็วด ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับอำนาจเหนือธรรมชาตินั้นๆ เพื่อแสวงหาวิธีการรักษาผู้ป่วย

โดยปกติแล้วคนในชุมชนเขมรซึ่งประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก จะยังคงเชื่อถือประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะเชื่อเรื่อง ฝนฟ้า จึงมีการจัดพิธีกรรมโจลมะม็วด เพื่อขอฝนในช่วงวาระการเข้าสู่ฤดูการทำนา ส่วนบางครอบครัวบางสายตระกูลเชื่อถือบรรพบุรุษมาก เชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีครูกำเนิดติดตัว จึงได้ทำ "จวมกรู" อันเป็นสัญลักษณ์แทน ครูกำเนิด ไว้ประจำบ้าน (เพื่อบูชา) เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้นในบ้านก็มักจะสันนิษฐานว่า ครูกำเนิดเป็นสาเหตุ ดังนั้นจึงจะต้องเล่นมะม็วดให้ครูกำเนิดได้สนุกสนาน (คนเขมรเชื่อว่า ครูกำเนิดชอบร่ายรำและเสียงดนตรี) ไม่มารบกวนบุคคลในครอบครัวในสายตระกูล หรือในหมู่บ้าน การโจลมะม็วด ที่นิยมกันในปัจจุบัน พบในแถบอำเภอเมืองเป็นส่วนใหญ่ และมีประปรายตามอำเภอต่างๆ ที่มีชาวสุรินทร์ที่พูดภาษาเขมรอาศัยอยู่

ระยะเวลาและการเตรียมการก่อนการประกอบพิธีกรรม

การกำหนดระยะเวลาประกอบพิธีโจลมะม็วดนั้น ปกติแล้วจะต้องเป็นไปตามหลักการของการประกอบพิธีกรรมคือ ระหว่างเดือนสาม คือ มาฆะ (ภาษาเขมร เรียกว่า แคเมี้ยกทม) เดือนสี่ คือ ผลาคุณ (ภาษาเขมร เรียกว่า แคปะกุล) และเดือนห้า (ภาษาเขมรเรียกว่า แคแจด) ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเสี่ยงทายที่เรียกว่า การโบล (การทำนายโรคภัย) ซึ่งหมายถึงวิธีการหาสาเหตุของการเจ็บป่วยของผู้ป่วย โดย ผู้เสี่ยงทาย (เนียะโบล) จะรับพานเครื่องยกครู แล้วใช้มือขวาจับเส้นด้ายที่แขวนเต้าปูน ส่วนมือซ้ายมีข้าวสารที่ฝ่ามือรองรับใต้เต้าปูน ซึ่งผู้เสี่ยงทายจะร่ายเวทมนตร์คาถา ถ้าสาเหตุการเจ็บป่วยเกิดจากผี เต้าปูนจะแกว่งไปมา ถือเป็นคำตอบ ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจะมี ผู้เสี่ยงทาย หรือ เนียะโบล ที่เป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน หากผู้เสี่ยงทายบอกว่า จะต้องประกอบพิธีกรรมโจลมะม็วดเพื่อจะได้ทราบสาเหตุการเจ็บป่วยที่แท้จริง ญาติพี่น้องของผู้ป่วยก็ต้องประกอบพิธีตามวันเวลาที่ผู้เสี่ยงทายระบุ ยกเว้นวันพระ

jole mamuad 03

ซึ่งก่อนวันได้ฤกษ์ต้องมีการเตรียมการจัดเเจงข้าวของ เชิญเเขก ญาติ คณะแม่มะม็วด ที่เคยผ่าน การโจลมะม็วด ในเครือญาติ ต้องเชิญมาให้หมดเท่าที่จะทำได้ และมีการเตรียม ปะรำพิธี หรือ ตะซาล (เป็นภาษาท้องถิ่นสุรินทร์อ่านว่า ตะ-ซาล แปลว่าโรงเรือนสำหรับประกอบพิธี) สำหรับการประกอบพิธีกรรม จากการสัมภาษณ์ทราบว่า แต่ก่อนหากจะสร้างปะรำพิธีขึ้นมา ชาวบ้านจะมาลงแรงช่วยกัน วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างก็สามารถหาได้ในท้องถิ่น การทำตะซาลนั้นได้มีการเอาเสาไม้ที่มีง่ามจำนวน 9 ต้น โดยจะมีเสาตรงกลางปะรำสำหรับผูก "ประต็วล" แล้วเอาไม้พาดเป็นขื่อบนง่าม หลังจากนั้นจะใช้ทางมะพร้าวสดผ่าเป็น 2 ซีกมุงหลังคาวางซ้อนๆ กัน แต่ปัจจุบันนี้ทางมะพร้าวเริ่มหายาก เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาเจ้าภาพก็จะใช้วิธีกางเต็นท์แทน อย่างไรก็ตามก็ต้องอาศัยความร่วมมือ และน้ำใจของผู้ชายในหมู่บ้านมาช่วยเตรียมสถานที่ นอกจากนี้ ด้วยระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมที่ค่อนข้างยาวนาน (ไม่ต่ำกว่า 7 ชั่วโมง) เจ้าภาพจึงมักจะขอแรงเพื่อนบ้าน (โดยเฉพาะผู้หญิง) มาช่วยทำบข้าวสำหรับเลี้ยงแขก ทั้งคณะแม่มะม็วด นักดนตรี ญาติพี่น้อง และชาวบ้านผู้มาร่วมในพิธี

jole mamuad 04

"ประต็วล" ซึ่งเป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ใช้สำหรับใส่เครื่องเซ่นสรวงเทพยดา ภายในประต็วลจะมีเครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ ไก่ต้ม 1 ตัว ขนมข้าวต้ม กรวยที่ใส่ดอกไม้ 5 อัน เทียน 2 เล่ม ส่วนด้านล่างที่อยู่ติดกับพื้นดินจะวางกระเชอใส่ข้าวเปลือก บริเวณที่นั่งทรงปูด้วยฟูกแบบครึ่งท่อน มีผ้าขาวปูทับไว้อีกชั้นหนึ่ง ข้างบนผ้าขาวมีบายศรีปากชามวางอยู่ด้านซ้ายและขวา มี "จวม" หรือ "จวมกรู" 2 คู่ เป็นกระทงบูชาครูต้นกำเนิด

องค์ประกอบของพิธีกรรม

ผู้ประกอบพิธี (ครูมะม็วด) ในจังหวัดสุรินทร์มีหลายคน ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งคือ แม่ณี (นางอรุณี นาคชาติ) ส่วนแม่มะม็วดในหมู่บ้านปรือเกียนที่เป็นที่รู้จักคือ นางเคลียง ดวงเดียว และนางสุคนธ์ ฉายกล้า แม่มะม็วด คือ ผู้ได้รับการสืบทอดมาจากครูมะม็วดคนก่อนที่ได้ล่วงลับไปแล้ว มีลักษณะคล้ายการสืบทอดวิชาเช่น กรณี นางสุคนธ์ ฉายกล้า ก่อนที่จะมีองค์เข้าสู่ร่าง ก็ไม่รู้ว่าตนเองเป็นอะไร เจ็บออดๆ แอดๆ บางครั้งก็ปวดหัว บางครั้งก็ปวดท้อง บางครั้งก็เจ็บหน้าอก บางครั้งก็เหนื่อยเพลีย ลุกไม่ไหว ไปหาหมอแผนปัจจุบันเพื่อตรวจอย่างละเอียด เอ็กซเรย์ และเจาะเลือดตรวจ ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ อาการที่หนักที่สุดคือรู้สึกว่าตนเองคล้ายเป็นประสาท บางคนก็หาว่าบ้า หัวเราะบ้าง ร้องไห้บ้าง ร้องเพลงบ้าง

jole mamuad 05

อยู่มาวันหนึ่งรู้สึกว่า ตนเองเจ็บหน้าอก และปวดท้องอย่างรุนแรง เหมือนมีคนเอามีดปลายแหลมมาแทงเข้าร่าง ไม่มีเรี่ยวแรง แม้แต่จะพูดกับใคร สามีและลูกๆ รวมทั้งชาวบ้านจึงได้พาไปส่งโรงพยาบาลอีกครั้ง หลังจากหมอฉีดยาให้เข็มหนึ่งก็ให้กลับบ้าน เพราะหมอเห็นว่าร่างกายปกติดีทุกอย่าง ไม่มีโรคภัยอะไร แต่นางสุคนธ์ก็ยังรู้สึกว่า ตัวเองกำลังจะตายทุกครั้งที่กลับมาที่บ้าน เมื่อทุกคนเห็นว่าอาการหนักก็พาไปโรงพยาบาลอีกเป็นอย่างนี้หลายครั้งแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จนในที่สุดก็ต้องหันไปพึ่งวิธีแบบชาวบ้านคือ การให้คนทรงทำนายทายทัก เพราะเห็นว่าเป็นหนทางสุดท้าย คนทรงได้ทำนายว่า มีองค์ลงมาประทับในร่างนางสุคนธ์ 2 องค์ และจะต้องทำพิธีรับองค์ จึงจะได้หายจากอาการเจ็บปวดดังกล่าว หลังจากทำพิธีรับองค์ นางก็หายจากการเจ็บป่วยทุกอย่าง และกลายเป็นร่างทรง (แม่มะม็วด) มาจนทุกวันนี้ ส่วนพิธีการรับองค์นั้นคล้ายกับการเล่นมะม็วด การจัดรับองค์นั้นก็คือ องค์เทพทุกองค์ ปู่ย่าตายาย และมีการจัดบูชาเจ้ากรรมนายเวรด้วย

ผู้ร่วมพิธีกรรม

ในที่นี้จะมีสองส่วน ส่วนแรกคือ คนในครอบครัว ญาติพี่น้องในตระกูล และเพื่อนบ้านในชุมชน ซึ่งมักจะนับถือผีบรรพบุรุษเดียวกันเป็นผู้มาร่วมพิธีกรรม โดยอาจนำ "จวมกรู" ของตนเอง และเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น มะพร้าว ผัก พริก ปลาแห้ง หอม กระเทียม ข้าวสาร เงิน ฯลฯ มาช่วยเจ้าภาพ เพื่อใช้ประกอบอาหารหรือทำสิ่งของเพื่อเซ่นบวงสรวงผีบรรพบุรุษในการโจลมะม็วด ส่วนที่สองคือ ผู้ป่วย ผู้ป่วยนั้นจะถูกกำหนดให้นั่ง หรือนอนอยู่ในบริเวณปะรำพิธี หรืออยู่ในที่พักอาศัยตามความเหมาะสม

นักดนตรี

นักดนตรี ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่ก่อนเจ้าภาพจะเชิญ หรือขอความอนุเคราะห์คนในหมู่บ้าน ที่มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรี มาช่วยเล่นดนตรีให้ แต่ปัจจุบันนักดนตรีมักจะได้รับการว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น บางครั้งก็เป็นทีมงานมาพร้อมกับแม่มะม็วดอยู่แล้ว เจ้าภาพไม่ต้องไปทาบทาม หรือเชิญมาเอง แต่ว่าเจ้าภาพจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด เครื่องดนตรีและท่วงทำนองเพลงที่ใช้ มีดังนี้

  • เครื่องดนตรี หากเป็นชุดใหญ่ จะประกอบด้วย มีโทน 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ และ กรับ 1 คู่ ซึ่งต้อง ใช้ผู้เล่นดนตรี 8 คน ถ้าเล่นธรรมดาเป็นวงเล็กมีเพียง 4 คน คือ กลอง 2 คน ซออู้ 1 คน และคนตีกลองก็ทำหน้าที่ร้องด้วย จากการสัมภาษณ์ทราบเพิ่มเติมว่า สมัยก่อนเครื่องดนตรีมีเพียงแค่ กลอง ฆ้อง คนเจรียง (คนร้อง) อย่างละคนเท่านั้น แต่แถบจังหวัดสุรินทร์มีการใช้ ซอ (ตรัว) ปี่อ้อ เข้ามาประสมวง และได้นำ "แคน" ในวัฒนธรรมของชาวอีสานตอนบนมาใช้ด้วย จึงเกิดการผสมผสานด้านเครื่องดนตรี แต่บทเพลงที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นทำนองดั้งเดิมในวัฒนธรรมเขมรแถบอีสานใต้เป็นสำคัญ

jole mamuad 06

  • ทำนองและจังหวะดนตรี ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมจะเป็นท่วงทำนองมาตรฐานตามลำดับดังนี้ ทำนองและจังหวะไหว้ครู ดนตรีจะใช้ทำนอง “ซแร็ยซเติว” บรรเลง ทำนองและจังหวะไหว้ครูผู้เข้ามะม็วด เรียกว่า “โจลมะม็วด” ใช้ทำนองเพลง “เพลียง” บรรเลง ทำนองและจังหวะออกรำตามลีลาของแม่ครู มักใช้เพลง “บันแซร” บรรเลง ทำนองและจังหวะรำดาบ ใช้ทำนองเพลง “กาบเป” บรรเลง ทำองและจังหวะรำที่เป็นรูปแบบ ใช้ทำนองเพลง “เซียม มลบโดง อันซอง ซแนญนูบ” บรรเลง ทำนองและจังหวะเบ็ดเตล็ดประกอบท่ารำของมะม็วด ใช้ทำนองเพลง “ตัมเรีย ทม็วนพลุ ตระเทาะทม็วลแพล” บรรเลง และจบด้วยจังหวะ “ซาปดาน” คือ การเลิกรา และจบการประกอบพิธีกรรม

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม

ในพิธีกรรมโจลมะม็วดนั้น จากการสังเกตการณ์ 3 ครั้ง พบว่า กรณีที่ นางอรุณี นาคชาติ เป็นผู้นำหรือเจ้าพิธี จะเริ่มต้นพิธีด้วยการกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยในเบื้องต้นแล้ว จากนั้นก็จะบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ อาทิ เทพเจ้าทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพรหม พระศิวะ พระอิศวร พระแม่ลักษมี พระอินทร์ พระแม่อุมา แม่โพสพ นางกวัก ฯลฯ หากเทพเจ้าบางองค์เป็นองค์เดียวกับที่ผู้ป่วย และคนในครอบครัวนับถือ ก็จะมีการนำสัญลักษณ์ของเทพเหล่านั้นมาร่วมร่ายรำในพิธีด้วย ซึ่งการบูชาเช่นนี้อาจมองได้ว่า เป็นการขอพรขอขวัญกำลังใจให้การประกอบพิธีกรรมเป็นไปด้วยดี และยังเป็นการขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ได้ตามปกป้องคุ้มครอง ตัวแม่มะม็วด ผู้ป่วย คนในครอบครัว ญาติ และ ผู้เข้าร่วมในพิธีกรรมทุกคนด้วย

jole mamuad 07

ทั้งนี้หากขณะที่มีการประกอบพิธีกรรมปรากฏว่า ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย ยกแขนขาไม่ขึ้น แม่มะม็วดจะทำพิธี “เฮาปลึง” หรือ เรียกขวัญ เพราะเชื่อว่าขวัญของคนป่วยคนนั้นไม่อยู่ในตัวตน จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับมา ในการ เรียกขวัญ (เฮาปลึง) นั้น แม่ครูมะม็วดจะเชิญเทพมาเข้าร่าง ซึ่งมักจะอ้างอิงเทพแห่งการแพทย์และพยาบาล (พระโพธิสัตว์) ช่วงเวลาของการประทับร่างทรงจะเห็นว่า ครูมะม็วดจะร้องเพลง เชิญชวนให้ขวัญที่หายไปจากร่างผู้ป่วยกลับมา (ร้องเป็นภาษาเขมร) ซึ่งการร้องเรียกขวัญของแม่ครูมะม็วดจะใช้เวลานานมาก มีการพรรณนาถึงความทุกข์ร้อน อาการเจ็บไข้ของผู้ป่วย พรรณนาถึงสถานที่ที่ขวัญไปอยู่แล้วไม่สบาย ให้กลับมาคืนรูปเดิมเพื่อความสบายใจทุกฝ่าย เมื่อแม่ครูร้องจบลง ดนตรีที่บรรเลงหยุดลงเช่นกัน ผู้ร่วมพิธีทั้งหลายก็ร่วมกันตะโกนอย่างแซ่ซ้องเรียกหา “ขวัญ” ให้คืนร่างตามแม่ครูมะม็วด แล้วก็ผูกข้อมือให้คนป่วย ต่อจากการพรรณนาหาขวัญ เรียกขวัญมาแล้ว

อนึ่ง ขณะที่แม่ครูมะม็วดประกอบพิธีกรรมให้องค์มาประทับร่าง (องค์ที่ว่าอาจจะเป็นครูกำเนิด ผีบรรพบุรุษ สิ่งอื่นใดที่มาทำให้เกิดการเจ็บป่วย) นั้น คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และคนเฒ่าคนแก่ที่นั่งอยู่ในปะรำพิธีจะตั้งคำถามเป็นระยะๆ ว่า เหตุใดผู้ป่วยจึงเจ็บไข้และมีอาการเช่นนี้ (ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่ามีอาการอย่างไรก็จะช่วยกันพูดออกมา) และถามต่อว่าต้องทำอย่างไรจึงหายดี เช่น กรณีของผู้ป่วยรายหนึ่ง ก็ได้รับคำตอบว่ามีผีปู่ตาประจำหมู่บ้านมาประทับร่าง ท่านก็จะบอกว่า คนป่วยเคยพูดจาลบหลู่ท่าน บางรายก็ไปปัสสาวะรดอาณาบริเวณที่ท่านพำนักโดยไม่ให้ความยำเกรง ท่านโกรธจึงบันดาลให้เจ็บป่วย เมื่อได้ยินเช่นนั้นร่างทรงบริวาร ญาติและชาวบ้านที่นั่งอยู่ในพิธีก็จะถามว่า แล้วจะต้องแก้ไขอย่างไร ในบางรายผู้ที่ประทับร่างก็บอกวิธีแก้ไขโดยการต้องถวายของเซ่นให้ ณ ขณะนั้น ได้แก่ หมาก พลู ยาสูบ เหล้าขาว หรือ น้ำหวาน เป็นต้น ส่วนใหญ่ญาติๆ ผู้ป่วยมีการเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้แล้ว ก็สามารถยกถวายได้ทันที หากท่านได้สูบยา เคี้ยวหมาก ดื่มเหล้า หรือ หรือรับประทานสิ่งที่ต้องการ ก็จะตอบว่า พอใจแล้วก็จะออกจากร่างทรงไป แต่ในบางรายผู้ที่มาประทับร่างแม่ครูมะม็วดอาจต้องการที่จะร้องรำทำเพลงร่วมกับคนป่วยและญาติ

jole mamuad 08

ฝ่ายนักดนตรีก็ต้องบรรเลงเพลงที่องค์ชอบ และเล่นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งท่านพอใจ ในบางรายหากองค์ต้องการให้ญาติพี่น้องลุกรำด้วยกัน ทุกคนก็ต้องลุกรำตามที่ขอ ในขณะที่บางรายกุมารทองมาประทับร่างก็บอกว่า อยากทานขนม อยากดื่มน้ำแดง ก็ต้องถวายให้ หรือหากต้องการให้เจ้าของบ้านตั้งศาลให้ได้ประทับอยู่ในอาณาบริเวณบ้านของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยก็ต้องทำทันทีหลังเสร็จสิ้นพิธีกรรม จากการร่วมสังเกตการณ์และสัมภาษณ์ผู้ร่วมในพิธีกรรมทราบว่า องค์ที่มักเข้ามาประทับร่างแม่ครูมะม็วด ได้แก่ ครูกำเนิดของผู้ป่วย ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน ผีไร่ผีนา ฤาษี นางกวัก แม่โพสพ กุมารทอง หรือญาติของผู้ป่วยที่เสียชีวิตไปแล้ว เป็นต้น

จากการสัมภาษณ์อดีตผู้ป่วยรายหนึ่ง ได้บอกว่า ตอนที่ป่วยนั้นก็ไม่ทราบว่า ไปทำอะไรผิดมา แต่เมื่อแม่ครูมะม็วดได้รับการประทับร่างและบอกว่า ตนไปฟันจอมปลวกใหญ่ในที่นา โดยไม่ได้มีการบอกกล่าว ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ที่จอมปลวกนั้นไม่พอใจ จึงบันดาลให้เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อได้ทราบวิธีแก้ไขว่าต้องมีการเซ่นไหว้ขอขมา หลังจากประกอบพิธีกรรมเสร็จ ญาติพี่น้องก็ได้เตรียมเครื่องเซ่นไหว้ไปขอขมาบริเวณที่เคยเป็นจอมปลวกทันที จากนั้นไม่นานผู้ป่วยก็อาการดีขึ้น และหายเป็นปกติในที่สุด จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยป่วยไข้หลายราย ก็ได้รับคำตอบในทำนองเดียวกันว่า หลังประกอบพิธีแล้วอาการป่วยก็จะทุเลาขึ้น หลายรายก็หายจากอาการป่วยอย่างเหลือเชื่อ

จากนั้นก็ประกอบพิธีกรรมตามลำดับขั้นคือ แม่ครูมะม็วดจะทำหน้าที่เป็นเจ้าพิธี เป็นผู้รำดาบเรียกว่า รำกาบเป (กาบ มาจากภาษาเขมร แปลว่า ฟัน, เป แปลว่า กระทงกาบกล้วย) เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร ไม่ให้เข้ามาขัดขวางการประกอบพิธีกรรม และหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ต้องทำหน้าที่เข้าทรงครั้งสุดท้ายก่อนเสร็จพิธีโจลมะม็วดในครั้งนั้น ซึ่งเรียกว่า การซาปดาน ทั้งนี้จะต้องมีผู้ประกอบพิธีกรรมคนอื่นๆ ที่เรียกว่า บริวาร ซึ่งสามารถเข้าทรงได้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้อาวุโส เช่น ครูมะม็วด มาเข้าทรงร่วมกันในพิธีกับครูมะม็วดด้วย ส่วนคนที่ร่วมในพิธีก็จะนำด้ายสายสิญจน์มาผูกข้อมือคนป่วย และร่วมเรียกขวัญไปพร้อมด้วยอีกครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี

jole mamuad 09

พิธีกรรมการโจลมะม็วด นับว่าเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของคนในชุมชน เพราะสามารถสร้างความอบอุ่นและปลอดภัยแก่คนในหมู่บ้านได้ ในยามที่คนเราต้องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดด้านร่างกาย ทางใจ และความตาย อาจกล่าวได้ว่า พิธีกรรมการโจลมะม็วด สามารถช่วยให้ชาวบ้านได้หนีจากความเจ็บปวดทางใจได้ทางหนึ่ง กล่าวคือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจในยามที่มีปัญหา และไม่สามารถหาทางออกได้ จากการสัมภาษณ์คนในชุมชนได้ทราบว่า คนในชุมชนมีความแตกต่างหลายด้านทั้งในแง่ความคิด ความเชื่อ และสิ่งของที่บูชา แต่คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านต่างมีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างเดียวกัน คือ การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยดูแลรักษาตนเองและหมู่บ้าน ดังปรากฏว่า มีการบูชาศาลปู่ตาประจำหมู่บ้านร่วมกัน ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี การเคารพต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน หรือการร่วมกันมาให้กำลังใจผู้ป่วย เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมการโจลมะม็วดในครอบครัวใด ครอบครัวหนึ่ง การกระทำเช่นนี้สามารถสะท้อนให้เห็นว่า ชาวบ้านในชุมชนมีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจร่วมกัน ทั้งการยอมรับนับถือในสิ่งที่มีตัวตน เช่น พระสงฆ์ และในสิ่งที่ไม่ตัวตน เช่น ผี เทวดา ศาลปู่ตา (ตาจ้ะเสราะ) ประจำหมู่บ้าน เป็นต้น

ไม่ว่าจะมีเหตุผลหรือไม่ก็ตาม แต่ถือได้ว่า พิธีกรรมการโจลมะม็วด สามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เป็นที่ยอมรับกันในชุมชนเขมรหมู่บ้านปรือเกียนได้เป็นอย่างดี และจากความเชื่อความศรัทธาต่อสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ชาวบ้านก็จะหาทางแสดงออกมา จนเกิดเป็นพิธีกรรมที่สอดคล้องกับความเชื่อของตน เช่น ประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ประจำปี หรือประกอบพิธีกรรมการโจลมะม็วดในก่อนถึงฤดูการดำนา หรือในยามที่เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้สามารถเป็นเครื่องชี้บอกถึงความเชื่อของชาวบ้านได้ โดยการส่งผ่านมาสู่พิธีกรรมการขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ตนอาจจะทำการลบหลู่ดูหมิ่น จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม รวมไปถึงการได้มีโอกาสตอบแทนโดยการเซ่นไหว้ รวมทั้งการขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นช่วยประทานพรให้ตนเองและชาวบานอยเย็นเป็นสุข พิธีกรรมการโจลมะม็วดจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน อย่างน้อยการที่แม่ครูมะม็วด (เจ้าพิธี) และแม่มะม็วดคนอื่นๆ รับองค์มาประทับในร่าง ชาวบ้านก็รู้สึกอุ่นใจว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาคอยปกป้องคุ้มครอง ส่วนผู้ป่วยที่ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุรวมไปถึงญาติก็รู้สึกอุ่นใจที่พิธีกรรมดังกล่าว สามารถช่วยไขข้อข้องใจในอาการเจ็บป่วยได้ ทำให้ญาติและผู้ป่วยมีกำลังใจว่าอาการเจ็บป่วยจะดีขึ้น จึงนับว่า พิธีกรรมการโจลมะม็วด ได้แสดงบทบาทหน้าที่ในฐานะที่เป็นเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

บทบาทหน้าที่ เครื่องมือในการรวมความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน

การประกอบพิธีกรรมการโจลมะม็วด เพื่อรักษาคนป่วยแต่ละครั้งนั้น ลูก หลานที่ทำงานอยู่ในที่ห่างไกล จะต้องเดินทางกลับมาร่วมในพิธีด้วยเสมอ เพื่อเป็นการให้กำลังใจคนป่วย และมาร่วมรับฟังสาเหตุเพื่อจะได้แก้ไขร่วมกัน จากการสัมภาษณ์คนในครอบครัวของผู้ป่วยรายหนึ่ง ทำให้ทราบความรู้สึกของคนที่เป็นพ่อแม่ว่า “มีความสุขที่ได้เห็นลูกหลานกลับมาร่วมงานกันอย่างพร้อมหน้า มาให้กำลังใจพ่อ และมาปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากตนเอง ตลอดจนคนในครอบครัวด้วย เพราะมีโอกาสไม่มากนักที่จะได้พบลูกหลานของตนเอง นอกจากวันหยุดสำคัญประจำปี”

ส่วนลูกหลานก็กล่าวว่า “จำเป็นต้องมา เพราะหากไม่มา อาจทำให้ผีปู่ย่าตายายไม่พอใจได้ ที่สำญคืออยากให้พ่อหายจากอาการเจ็บป่วยที่เป็นมานานแล้ว เมื่อแพทย์สมัยใหม่รักษาไม่หาย ก็คงต้องพึ่งพาวิธีการแบบโบราณ ซึ่งปฏิบัติกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ แม้ใครไม่เชื่อก็ไม่ควรลบหลู่ ไม่หายก็ไม่เป็นไรถือว่าได้ลองแล้ว หากหายขึ้นมาก็นับเป็นความโชคดีที่สุด”

โจลมะม็วด (โจน-มะ-ม็วด) พิธีกรรมความเชื่อรักษาโรค

พิธีกรรมการโจลมะม็วด นอกจากจะทำให้ลูกหลานได้กลับมาานอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อสร้างกำลังใจแก่ผู้ป่วยแล้ว ความร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านหรือผู้ที่มาร่วมงาน ก็ทำให้เห็นถึงพลังความสามัคคี ความห่วงใยในสุขทุกข์ของคนในชุมชนเดียวกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การที่ชาวบ้านต่างก็นำปัจจัยมาช่วยอาจเป็นเงินทอง ข้าวสาร อาหารแห้ง พืช ผัก ผลไม้ ติดมือมาให้บ้านเจ้าภาพ ก็แสดงให้เห็นถึงน้ำใจอันงดงามของชาวบ้าน ซึ่งข้าวสารที่ชาวบ้านนำมานั้นส่วนใหญ่จะใช้ในการประกอบพิธี ส่วนหนึ่งก็นำใช้ในการขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากตัวผู้ป่วย และผู้ที่ร่วมอยู่ในพิธีกรรมก็จะร่วมทำไปพร้อมกันด้วย (เรียกว่า การปจีร)

นอกจากนี้คนอื่นๆ ยังได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ต้องการมาให้กำลังใจผู้ป่วย ในขณะเดียวกันก็อยากให้แม่มะม็วดขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากตน และคนในครอบครัวด้วยจึงเต็มใจมาร่วมงาน ซึ่งแต่ละคนก็ตั้งใจที่จะร่วมพิธีกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ก่อนทราบว่าจะใช้เวลาประกอบพิธีกรรมตั้งแต่บ่ายจนกระทั่งรุ่งเช้าของอีกวัน (ไม่นับช่วงเตรียมงาน) แต่ปัจจุบันลดลงเหลือประมาณ 7-8 ชั่วโมง โดยเริ่มจาก 6 โมงเย็น หรือ 1 ทุ่ม และเสร็จสิ้นประมาณ 2 หรือ 3 นาฬิกาของอีกวัน เท่าที่สังเกตทุกคนที่ร่วมงานไม่มีผู้ใดแสดงทีท่าว่าเบื่อหน่าย หรือรีบกลับไปนอน ยิ่งดึกยิ่งพบว่าหลายคนลุกขึ้นมาร่วมรำไปพร้อมกับแม่มะม็วดอย่างสนุกสนาน ซึ่งการแสดงออกของชาวบ้านทำให้เห็นว่า พิธีกรรมการโจลมะม็วด ได้แสดงบทบาทในด้านการเป็นเครื่องมือในการรวมตัวกันของลูกหลาน และเป็นแหล่งรวมความสามัคคีของคนในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี เหนือสิ่งอื่นใด การปฏิบัติและการเสียสละของชาวบ้านสามารถสะท้อนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของกลุ่มชน และเป็นเสมือนแหล่งรวมคนให้มีกิจกรรมร่วมกันอย่างชัดเจน

ข้อมูล : อาจารย์สารภี ขาวดี
อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาไทยและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : เรือมม็วด (การรำบวงสรวงบูชา) | ความเชื่อเรื่องผีในชุมชนอีสาน

redline

backled1

isan ghost header

ด้วยอาณาเขตที่กว้างขวางของภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนในภาคอีสานนั้น มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และสภาพวิถีชีวิต ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ ส่วนที่มีวัฒนธรรมภาษา กูย เขมร ในพื้นที่บริเวณกลุ่มจังหวัดอีสานใต้ (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และส่วนที่มีวัฒนธรรมภาษาไทลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนมากบริเวณกลุ่มจังหวัดในเขตอีสานตอนเหนือ (ซึ่งในพื้นที่นี้ ก็ยังมีชาติพันธุ์กลุ่มย่อยออกไปอีกหลายกลุ่ม เช่น ภูไท ไทญ้อ ไทโส้ แสก เหวียดเกี่ยว ฯลฯ)

ภูติ ผี เทพาอารักษ์ กับความเชื่อ

ชาวอีสานกับความเชื่อเรื่อง "ผี" มีความสัมพันธ์กันในลักษณะการพึ่งพาอาศัย ตามบทบาทหน้าที่ของผีแต่ละประเภท ด้วยการขอพรและต่อรองในสิ่งที่ต้องการหรือการบนบาน ชาวอีสานเรียกการบนบานว่า “การบ๋า” เป็นการขอให้ผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือให้ได้รับความสำเร็จในเรื่องต่างๆ มักจะบนบานในเรื่องลาภยศชื่อเสียง ความสำเร็จในหน้าที่การงาน ความเป็นอยู่ที่ปลอดภัย โดยต้องแจ้งเวลา สถานที่ และสิ่งที่จะนำมาตอบแทนแลกเปลี่ยน หากประสบความสำเร็จ นอกจากนั้น โดยทั่วไปชาวอีสานมักจะบนบานเกี่ยวกับ ฝน ปริมาณน้ำ อากาศในฤดูทำนา บนเพื่อไม่ให้ติดทหารเกณฑ์ การบนเพื่อให้การค้าขายได้กำไร บนเพื่อให้สอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบบรรจุข้าราชการได้ การกล่าวขอพรในโอกาสที่จะต้องมีการเดินทาง ย้ายถิ่นฐาน หรือย้ายเข้ามาในหมู่บ้าน การแต่งงานมีครอบครัวใหม่ เป็นต้น เมื่อประสบผลสำเร็จตามความประสงค์ก็จะตอบแทนผี ด้วยการแสดงความเคารพผ่านเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ หรือมอบสิ่งของ อาหาร หรือมหรสพให้ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งถ้าไม่ทำตามที่บ๋าหรือบนบานก็จะ "ผิดผี" ทำให้เกิดเหตุร้ายต่างๆ ตามมาได้

isan ghost 01

ความเชื่อเรื่อง "ผี" เกิดขึ้นจากความไม่รู้ของมนุษย์ และความไม่รู้นั่นเองที่เป็นที่มาของ 'ความกลัว' มนุษย์กลัวความมืดมิด เพราะไม่รู้ว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในความมืดนั้น และสิ่งที่มนุษย์กลัวมากที่สุดในความมืดก็คือ ดวงวิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว ที่พวกเราเรียกกันว่า "ผี" นั่นเอง ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคนในชุมชน เป็นศูนย์รวมจิตใจ ความรักสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนจากการเคารพนับถือ ผีปู่ย่า-ตายาย บรรพบุรุษ เกิดการเซ่นสรวงบูชาร่วมกันขึ้น

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและภาษา แต่วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในภาคอีสานก็ยังคงเป็น 'ชุมชนเกษตรกรรม' มาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นภูมิภาคที่มีปฏิสัมพันธ์กับระบบชีวภาพ ภูมิภาคอีสานมีความผูกพันกับธรรมชาติ และมีการถ่ายทอดแนวคิด ภูมิปัญญา คติ ความเชื่อ จนเป็นแบบแผนการดำรงชีวิตที่สำคัญของชุมชน หลักฐานสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีปฏิบัติของชาวอีสานคือ การประกอบพิธีกรรมที่เคร่งครัด อาทิ การบูชาสิ่งลี้ลับตามความเชื่อ เทวดาอารักษ์ ตลอดจนผีสางนางไม้ อย่างจริงจัง โดยมีการเซ่นสรวงบูชาตามฤดูกาลของความเชื่อ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติภารกิจทางศาสนา ด้วยมีความเชื่อว่าการกระทำนี้จะส่งผลให้เกิดความคุ้มครองจากภยันอันตราย เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อธรรมชาติ รวมทั้งบรรพบุรุษ

isan ghost 02

ความเชื่อเรื่อง 'ผี' ของชาวอีสาน เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อเรื่องผีที่ฝังรากลึกอยู่ในจิตใจมาช้านาน ผีสำหรับชาวอีสานนั้นจะดำรงอยู่ในทุกสภาวะของการมีชีวิต บางครั้งก็กระตุ้นให้เกิดความสนใจในฐานะผู้พิทักษ์ หรือผู้ช่วยเหลือ บางครั้งก็มุ่งร้ายหมายขวัญ ชาวอีสานเชื่อว่า ผีเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจ มีฤทธิ์สามารถบันดาลทั้งความทุกข์ความสุข ความสมหวังและความสิ้นหวังให้แก่มนุษย์ได้ การบวงสรวงและการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ จึงเป็นรูปแบบของการสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการปลูกฝัง การบอกต่อ การขัดเกลาทางสังคม และผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผนวกเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมที่ติดแน่นอยู่กับวิถีชีวิตของชาวอีสาน พิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีจึงได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ด้วยความสำนึกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องส่งต่อแก่บุตรหลาน เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามประเพณีและความเชื่อที่มีมาแต่อดีต

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในวิถีชีวิตของชุมชนชาวอีสานนั้น มีลักษณะของความเชื่อที่เป็นการผสมผสานระหว่าง พุทธศาสนาแบบชาวบ้าน และความเชื่อเรื่องผี ซึ่งแสดงออกในรูปของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ และตัวบุคคล โดยพิธีกรรมและประเพณีที่เกี่ยวกับผี จะแสดงออกในลักษณะของการเซ่นสรวง ไม่ว่าจะเป็นผีแบบดีหรือผีแบบร้าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสุข สงบ ในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการบำบัดรักษาโรค แต่พิธีกรรมและประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา จะแสดงออกในรูปของสัญลักษณ์แห่งความดีงาม เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นหนทางแห่งการหลุดพ้น อันเป็นส่วนสำคัญที่คนในชุมชนยึดถือและปฏิบัติ อาทิ การทำบุญตามหลักพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา และการฟังธรรม แต่ในอีกมุมหนึ่งของพิธีกรรมและประเพณีจะเป็นการผสมผสานของความเชื่อระหว่างผี พราหมณ์ พุทธ โดยมักเป็นความเชื่อในอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ ความเชื่อในพระพุทธรูป พระธรรม โดยมีพระสงฆ์เป็นสื่อกลางในการส่งผ่านความเชื่อนี้สู่คนในชุมชน ความเชื่อผสมผสานในลักษณะนี้แสดงออกในรูปการสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ สวดมนต์คาถา เป็นต้น

ความเชื่อเรื่อง 'ผี' ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไร แต่ในบริบทของสังคมอีสานเชื่อว่า มีคู่กับสังคมมาอย่างช้านาน และได้กลายเป็นวัฒนธรรมร่วมระหว่างความเชื่อ และความสัมพันธ์ของการดำรงชีวิต เสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน โดยเฉพาะความเชื่อของชาวอีสานที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ภายใต้ระบบอำนาจทางธรรมชาติ หรืออำนาจที่เหนือธรรมชาติ ในวัฒนธรรมอีสานความเชื่อเรื่องผี จึงกลายเป็นสัญลักษณ์เชิงอำนาจ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและความสัมพันธ์ทางสังคมที่สร้างสมและสืบทอดมาจนเป็น “วัฒนธรรมแห่งความเชื่อ” ความเชื่อเรื่องผีของชุมชนอีสาน เป็นผีที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ผีเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ที่เกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นและศรัทธา ในวิถีการดำรงชีวิตของชาวอีสานมีความเชื่อเรื่องผีเข้าไปปะปนอยู่มาก อาทิ ผีนา ผีป่า ผีเขา ผีบ้าน ผีหมู่บ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีดอนเจ้าปู่ ผีตาแฮก ผีฟ้า ผีแถน และผีอื่นๆ หรือแม้กระทั่งผีที่เกิดจากการกระทำของบุคคล อาทิ ผีปอบ เป็นต้น

isan ghost 03

ในบริบทสังคมอีสาน ความเชื่อเรื่องผี ได้ผสานร่วมกับ ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จนบางครั้งไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ชัดเจนว่า การประกอบพิธีกรรมของชาวอีสาน พิธีกรรมใดเป็นพิธีกรรมของผี และพิธีกรรมใดเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความเชื่อเรื่องผีของชาวอีสานดำรงไปพร้อมๆ กับการประกอบอาชีพตามวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน ที่อ้างอิงกับสภาพของธรรมชาติดินฟ้าอากาศ ซึ่งกระบวนการผลิตทางการเกษตรจะได้ผลดีหรือไม่นั้น ขึ้นกับการดลบันดาลของผี อาทิ การเชื่อว่า 'ผีแถน' เป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดน้ำในการเกษตรหรือการทำนา ดังนั้นก่อนที่ชาวอีสานจะลงมือในการเพาะปลูกข้าว จะต้องมีการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงผีพญาแถน และก่อนลงมือหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว ชาวอีสานจะประกอบพิธีกรรมไหว้ผีนา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันในชุมชนว่า 'ผีตาแฮก' โดยมีความเชื่อว่า ผีตาแฮกจะช่วยดลบันดาลให้ข้าวมีความเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ และต่อมาเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวบ้านชุมชนอีสานก็จะทำพิธีกรรมสู่ขวัญลานนวดข้าว หรือสู่ขวัญข้าวเพื่อเป็นสิริมงคล ก่อนที่จะถึงฤดูกาลทำนาในรอบปีต่อไป

แม้ว่าสังคมโลกจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดปรากฏการณ์แปลกประหลาดกับคนในหมู่บ้าน หรือชุมชน และสมาชิกในชุมชนไม่สามารถหาคำตอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีคนในหมู่บ้านเกิดอาการเจ็บป่วยแบบไร้สาเหตุ และได้พยายามรักษาในทางวิทยาศาสตร์ (กินยาแผนปัจจุบันตามหมอสั่ง) จนถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาได้ สิ่งสุดท้ายที่คนในชุมชนอีสานจะต้องนึกถึงก็คือ เกิดจากการกระทำของภูติผี อาจถูกคุณไสย อาจเกิดจากการล่วงเกินสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือคนป่วยอาจเคยกระทำการใดๆ อันเป็นการล่วงเกิน หรือเป็นเหตุให้อำนาจเหนือธรรมชาติไม่พอใจ จะโดยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม (สำหรับบางคนอาจเจตนากระทำ เพราะไม่เชื่อหรือศรัทธา) โดยญาติจะต้องรีบเชิญคนดี มีวิชามา “ถอนคุณไสย” ให้ หรือแก้ไขโดยการขอขมาและทำให้ภูตผีเหล่านั้นพึงพอใจ

ความเชื่อแบ่งตามกลุ่มชาติพันธุ์

ถ้าลองแบ่งกลุ่มความเชื่อเรื่องผีออกไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ ก็จะมองเห็นความเชื่อมโยงในความเชื่อของแต่ละกลุ่ม ที่มีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน รวมทั้งวิธีปฏิบัติตามความเชื่อต่อผีเหล่านั้น แยกออกมาได้พอสังเขปดังนี้

กลุ่มชาติพันธุ์คะแมร์ หรือเขมร

ชาวไทยเชื้อสายคะแมร์ หรือเขมร ที่อาศัยในบริเวณอีสานใต้ จะมีความเชื่อเรื่องผี และนับถือผีมาก่อนที่จะนับถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ โดยเรียกผีว่า "โขมจ" และแบ่งผีออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  • ผีดี ผีในกลุ่มนี้ ถ้า เซ่นดี พลีถูก ก็จะให้คุณ แต่ถ้าทำไม่ดีก็จะให้โทษ เช่น ผีฟ้า (เทพหรือเทวดา) ผีเมือง (หลักเมือง) ผีบรรพบุรุษ (โฎนตา) หรือผีเนียะตา (ผีปู่ตา) ผีเจ้าที่เจ้าทาง หรือผีตารักษ์ (พระภูมิ) เป็นต้น
  • ผีร้าย ผีกลุ่มนี้มีแต่ให้โทษแก่มนุษย์ เช่น ผีกระสือ หรือผีอ๊าบ ผีปอบ หรือผีทฺมบ (อ่านว่า ทะ-มบ) ผีหมาดำ หรือผีจอแตฺวง (อ่านว่า จอ-ตะ-แวง) เป็นต้น
  • ผีไม่ดีไม่ร้าย เช่น ผีกระจอกงอกง่อย ผีอากาเซ (ผีตายโหง หรือสัมภเวที) เป็นต้น

ผีเหล่านี้ทำให้คนได้รับผลกระทบจากผีทำร้ายในหลายลักษณะ ได้แก่ ความเจ็บป่วย (คมอจเทอ) ผีเข้า (คมอจโจล) หรือ ผิดผี (ค็อฮคมอจ) ซึ่งถ้าถูกผีทำให้เจ็บป่วยต้องทำพิธีเซ่นไหว้เรียกว่า “แซนคมอจ” โดยใช้อาจารย์เจ้าพิธีกรรมเป็นผู้ช่วยเหลือดำเนินการ ถ้าผีสิงในร่างก็ต้องใช้อาจารย์ที่มีเวทมนตร์คาถามาขับไล่ผีที่เรียกว่า “หมอผี” เป็นต้น

วิถีชีวิตคนไทยเชื้อสายคะแมร์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ 'ผี' ตั้งแต่เกิดจนตาย ความเชื่อเรื่องผีทำให้สายสัมพันธ์ในครอบครัวสนิทแนบแน่นขึ้น เพราะในช่วงเดือนสิบตามจันทรคติของทุกปี เหล่าคนไทยเชื้อสายเขมรจะทำพิธี "แซนโฎนตา" เพื่อแสดงกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพชนผู้ล่วงลับ (ผีดี) ลูกหลานไม่ว่าจะไปทำหน้าที่การงานอยู่แห่งหนใด ก็จะพากันกลับบ้านเพื่อเข้าร่วมพิธีนี้ให้จงได้

isan ghost 04

ความเชื่อเรื่องผีทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เพราะในแต่ละชุมชนในช่วงเข้าสู่ฤดูทำนาในเดือน 6 ก็จะทำพิธี "แซนเนียะตา" เพราะมีความเชื่อกันว่าต่างก็มีเนียะตาคนเดียวกัน เป็นศูนย์รวมจิตใจ ความเชื่อเรื่องผีช่วยสร้างบ้านแปงเมือง เห็นได้จากการยกวีรบุรุษผู้เก่งกล้าในท้องถิ่นขึ้นเป็นผีบ้าน ผีเมือง เช่น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง หรืออีกนามคือ เชียงปุม อดีตเจ้าเมืองสุรินทร์ เป็นต้น ซึ่งมีการเซ่นสรวงกันทุกปีมิได้ขาด

ส่วนการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่ทำตามแพทย์แผนปัจจุบันแล้วไม่หาย ชาวเขมรเชื่อว่า ก็น่าจะมาจากอำนาจที่มองไม่เห็นกระทำให้มีเหตุร้าย ดังนั้นเมื่อมีเหตุให้เป็นไปแล้ว คนส่วนใหญ่ในชุมชนเขมรก็มักนึกถึง 'ร่างทรง' หรือ 'แม่มะม็วด' เพราะเชื่อว่า สามารถทำนายทายทักและหาวิธีแก้ไขให้ทุกอย่างคลี่คลายลงได้ เหตุนี้จึงต้องจัดให้มี พิธีกรรมการโจลมะม็วด จึงเป็นสื่อกลางเพียงอย่างเดียว ที่คนในชุมชนเขมรจะนำมาใช้เป็นสื่อกลาง เพื่อติดต่อสื่อสารกับอำนาจเหล่านั้น อันจะนำไปสู่หนทางแก้ไขความผิดพลาดได้ทันท่วงทีและถูกทาง

กลุ่มชาติพันธุ์กูย กวย ส่วย เยอ

ความเชื่อเรื่องผีของคนไทยเชื้อสายกูย (หรือ กวย หรือ ส่วย หรือเยอ) ที่อาศัยอยู่ในเขตอีสานใต้เช่นเดียวกับชาวคะแมร์หรือเขมร ก็เชื่อในเรื่องผีเช่นเดียวกัน โดยเรียกผีว่า "กะโมจ" "มาร" หรือ "คอล" และยังแบ่งผีออกเป็น 3 กลุ่มเช่นเดียวกันง

  • ผีดี เช่น ผีมอ หรือผีหมอ ผีปะกำอะจึง เป็นต้น
  • ผีร้าย เช่น ผีมะนะห์ (คล้ายผีปอบ ผีกระสือ) ผีจฺราบ (ผีจอมปลวก) ผีนางไม้ เป็นต้น
  • ผีไม่ดีไม่ร้าย เช่น ผีอะตุ๊บอะตั๊บ (สัมภเวสี) เป็นต้น

เช่นเดียวกับคนไทยเชื้อสายเขมรมีการจัดพิธี "แซนยะจุ๊" เหมือนกับพิธีแซนเนียะตา มีการเล่นผีมอ หรือแกล มอ เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เหมือนกับคนไทยเชื้อสายเขมรมีการทำพิธีรำมม็วด แต่มีผีอยู่ชนิดหนึ่งที่มีเฉพาะในกลุ่มชาวไทยกูยเท่านั้นคือ "ผีปะกำอะจึง" ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในกลุ่มที่เลี้ยงช้างเท่านั้น ไม่พบในกลุ่มชาวกูยที่ทำนาหรือตีเหล็กแต่อย่างใด (คำว่า "ปะกำ" หมายถึง เชือกหนัง ที่ทำมาจากหนังควาย ส่วนคำว่า "อะจึง" นั้นเป็นภาษากูยแปลว่า ช้าง ปะกำอาจึง จึงแปลว่า เชือกคล้องช้าง)

isan ghost 05

ซึ่งชาวกูยจะกระทำพิธีไหว้ผีปะกำอาจึงก่อนออกไปคล้องช้าง หรือเมื่อคล้องช้างได้แล้วก็จะเซ่นไหว้อีกครั้ง หรือเมื่อต้องนำช้างออกไปจากหมู่บ้านไปทำงานที่อื่นๆ ก็ต้องทำการเซ่นไหว้ก่อน ปัจจุบันมีการเซ่นไว้ในพิธีแต่งงานด้วย จึงทำให้ความเชื่อเรื่องผีปะกำจึงยังดำรงอยู่ แม้ว่าคนไทยเชื้อสายกูยหลายๆ ครอบครัวจะเลิกเลี้ยงช้างไปแล้วก็ตาม และยังคงนิยมการทำพิธีแต่งงานบนหลังช้าง (พิธีซัตเต) กันอยู่ รวมทั้งการแห่นาคไปบวชด้วยช้าง [ อ่านเพิ่มเติม : หมู่บ้านช้าง ]

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว

ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว เมื่อกล่าวถึง ผี หรือวิญญาณ จะมี 2 ความหมาย ความหมายแรก ผี คือ วิญญาณผู้ที่ล่วงลับไปแล้วแต่ยังไม่ได้ไปเกิดในภพใหม่ เพราะต้องคอยปกปักรักษา คุ้มครองลูกหลานและคนในสายตระกูล ส่วนความหมายที่สอง หมายถึง วิญญาณที่ปรากฏทั่วไปซึ่งมีทั้งให้คุณและโทษแก่มนุษย์ มีการจำแนกผีออกเป็น 3 ประเภท เช่นเดียวกัน

  • ผีชั้นสูง หรือผีดี จัดเป็นกลุ่ม "เทพ" หรือ "เทวดา" ซึ่งมักจะให้คุณมากกว่า เช่น ผีแถน ผีฟ้า เป็นต้น
  • ผีชั้นกลาง หรือผีกึ่งดีกึ่งร้าย แบ่งได้หลายกลุ่ม เช่น ผีปู่ตา ผีนางตะเคียน ผีประจำหมู่บ้าน ผีประจำเมือง ผีบรรพบุรุษ (ผีเชื้อ) เป็นต้น
  • ผีชั้นต่ำ หรือผีร้าย แบ่งเป็นผีร้ายที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป เช่น พวกผีพราย ผีร้ายที่ปรากฏทั่วไป เช่น ผีกระสือ ผีปอบ ผีแม่หม้าย และพวกผีที่อยู่ในนรกภูมิ เช่น ผีเปรต

ความเชื่อเรื่องผีของคนในกลุ่มไทยลาวนี้ ก่อให้เกิดพิธีกรรมมากมาย เพื่อการเซ่นสรวง บูชา บัดพลี และวิงวอน ให้ผีที่ตนนับถือได้ช่วยเหลือให้พ้นจากเหตุร้ายต่างๆ และดลบันดาลให้ชีวิตประสบแต่ความสุข ความเจริญ สมหวังในสิ่งที่มุ่งมาดปรารถนา ซึ่งพิธีกรรมทั้งหลายเหล่านี้จะสามารถแยกย่อยเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

isan ghost 06

  • พิธีกรรมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ เช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนา แฮกนา บูชาเจ้าปู่ บูชาแม่โพสพ หรือพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการอยู่อาศัย เช่น การยกเสาเรือน การทำขวัญเกวียน รถ เรือ เป็นต้น
  • พิธีกรรมเกี่ยวกับการดำรงชีวิต เช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค การสะเดาะเคราะห์ เป็นต้น

กลุ่มชาติพันธุ์ญวณหรือเหวียดเกี่ยว

ในภาคอีสานยังมีกลุ่มชาติพันธุ์คนไทยญวณ หรือไทยเชื้อสายเวียดนาม (เหวียดเกี่ยว) อพยพเข้ามาอยู่อาศัยด้วยทางอีสานเหนือหลายจังหวัด เช่น หนองคาย อุดรธานี นครพนม สกลนคร มุกดาหาร และอุบลราชธานี ก็พบว่า มีความเชื่อเกี่ยวกับผี ภาษาเวียดนามเรียกว่า มา (ma) มีการให้ความเคารพกราบไหว้บูชามากที่สุดคือ "ผีบรรพบุรุษ" เนื่องจากมีความเชื่อว่า การมีหิ้งบูชาเพื่อไหว้บรรพบุรุษในบ้านเ ป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว การกราบไหว้บนบานก็เพื่อให้ท่านช่วยปกปักรักษา และดูแลลูกหลานให้ปลอดภัย มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า และยังมีการไหว้ผีอื่นๆ เช่น ผีบ้าน ผีเรือนหรือเทพธรณี (คนไทยเรียก พระแม่ธรณี) จะมีไหว้เพียงบางกลุ่มเท่านั้น (ซึ่งแตกต่างจากในประเทศเวียดนามที่ยังคงไหว้กันอยู่) ส่วนพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีอื่นๆ เช่น ผีประจำหมู่บ้าน ก็มักจะทำตามความเชื่อแบบกลุ่มคนไทย รวมทั้ง การทรงเจ้า ก็จะมีทำเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น เรียกว่าวัฒนธรรมเลื่อนไหลไปตามชุมชนรอบข้าง

isan ghost 07

แต่ในส่วนพิธีกรรมที่ชาวเหวียดเกี่ยวอนุรักษ์ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นคือ พิธีฌาปนกิจศพ นั้นยังคงกระทำอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งการทำพิธีศพของชาวเวียดนามจะไม่มีการเผา แต่ใช้การฝังแทน เพราะต้องการให้วิญญาณกลับไปบ้านเพื่ออยู่คุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนั้นก็ยังนับถือเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งพวกเขาเรียกว่า เถิ่น (thân) หรือ แถ็งห์ (thà'nh)

บทส่งท้าย

ในทุกกลุ่มชนชาติพันธุ์ในภาคอีสาน เวลาที่มีความทุกข์ทางกาย ทางใจ ก็มักจะไปพึ่งผี บนบานสารกล่าวขอให้ผีช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บทางกาย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กลุ้มรุมทำร้ายจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องเงิน หรือแม้กระทั่งความรัก โดยจะต้องมีสิ่งตอบแทนผีเล็กๆ น้อยๆ ตามที่คนได้สัญญาไว้กับผี (ติดสินบนผี) ทำให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ ขึ้น "

แต่ผีหลอกยังไม่น่าลัวเท่ากับคนด้วยกันหลอกกันเอง คนที่อาศัยความไม่รู้ สร้างความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อกดคอมนุษย์ด้วยกันเองดังเช่นทุกวันนี้สิที่น่ากลัวเอามากๆ ยิ่งกว่าผีใดๆ โปรดมีวิจารณญาณกันด้วยนะครับว่า สิ่งใดน่าเชื่อถือ (เพราะสมัยโลกออนไลน์ สังคมก้มหน้า ขีดเขี่ยหน้าจอ นี่หลอกกันง่ายและมากมายสุดๆ กอร์ปกับความโลภก็ยิ่งทำให้เกิดความสูญเสียเป็นเงินแสน เงินล้าน ดังที่เป็นข่าวอยู่เนืองๆ ระวังกันให้ดี)

isan ghost 08

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ผีปอบ ผีแม่หม้าย | พิธีกรรมการโจลมะม็วด

redline

backled1

pa og pria kae

วามเชื่อเกี่ยวกับเรื่องราว "ความอาถรรพณ์ของคืนพระจันทร์เต็มดวง" ถือเป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่มีกันอยู่ทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ และความลี้ลับ หรือเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัว มักจะเกิดขึ้นในคืนพระจันทร์เต็มดวงแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ฝรั่ง แขก จีน ไทย หรือแม้กระทั่ง ขแมร์ ลาว กูย ก็ไม่ต่างกัน ในประเทศไทยก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า คนไทยเชื้อสายจีนและเวียดนามมีพิธีไหว้พระจันทร์กันเป็นประจําทุกปี แต่ไม่ค่อยมีใครได้ยินว่า มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการไหว้พระจันทร์ของชาวขแมร์ หรือเขมร ทั้งๆ ที่ความเชื่อเหล่านี้มีมาหลายชั่วอายุคนแต่โบราณกาล

pa og pria kae 02

พิธีปะออกเปรี้ยะแค

พิธีกรรมความเชื่อในการบูชาพระจันทร์ของชาวเขมร เป็นปรัชญาที่สอนให้คนรู้จักความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการแบ่งปัน รู้จักประมาณตน มีเหตุมีผล รู้จักสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองด้วยความไม่ประมาท ซึ่งล้วนแต่เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิต ที่จะนําไปสู่วิถีการพึ่งตนเองแบบพอเพียง และความเป็นศิริมงคลของพี่น้องชาวเขมรในพื้นที่อีสานใต้มานาน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าชุมชนชาวขแมร์ในเขตอีสานใต้ส่วนใหญ่ได้ละทิ้งพิธีกรรมนี้ไปนานกว่า 50-60 ปี มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ที่ชุมชนบ้านขนาดมอญ ตําบลตาตุม อําเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

“ปะออกเปรี้ยะแค” ตามการออกเสียงของชาวสุรินทร์ หรือ "ปังอ๊อกเปรี๊ยะแค" ชาวบ้านขแมร์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษเรียกขาน แปลตามตัวอักษรในภาษาเขมรถิ่นไทย คือ 'ปะอ๊อก' หรือ 'ปังอ๊อก' แปลว่า กรอก หรือ ป้อน 'เปรี้ยะ' แปลว่า พระ เขมรออกเสียงว่า เปรี๊ยะ เช่น พระพุทธ เขมรพูดว่า เปรี๊ยะปุทธ์ ส่วน 'แค' แปลว่า ดวงจันทร์ หรือ พระจันทร์ เมื่อรวมกันแล้ว "ปะออกเปรี้ยะแค" จึงแปลว่า “กรอกพระจันทร์” หรือ “ป้อนพระจันทร์” สิ่งที่ป้อนนั่นคือ "ข้าวเม่า" และจะป้อนในคืนพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12) และมีความเชื่อกันว่า ข้าวเม่า ที่กรอกเข้าปากผู้เข้าร่วมพิธีนี้ เป็นเหมือนอาหารทิพย์ ที่ใครได้กินจะมีความเป็นศิริมงคล แคล้วคลาดจากสิ่งเลวร้าย เป็นประเพณีสำคัญอีกหนึ่งประเพณีของทางประเทศกัมพูชา (เขมรต่ำ) ซึ่งเรียกว่า "บอน อม ตุก (ពិធីបុណ្យអុំទូក)" หรือเทศกาลน้ำ

pa og pria kae 01

ที่มาแห่งประเพณีป้อนพระจันทร์

จากเรื่อง "พออกพระแข" ของ นายสมฤทธิ์ สหุนาฬ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นกวีชนบท และคนดีศีขรภูมิ (ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ที่บันทึกไว้ในหนังสือ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูพิบูลวรการ (ปิ่น ที่ปคุโณ) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2532 ณ เมรุวัดปราสาท ตําบลระแงง อําเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ได้เขียนไว้ในหน้า 48-51 ความว่า

“เดือนสิบสอง ข้าวเหนียวพันธุ์เบาจําพวก 'ข้าวบังเอว' กําลังโน้มรวงเริ่มสุก เหลืองพอเหมาะกับการตําข้าวเม่า กรอบอร่อย การทําบุญตักบาตรข้าวเม่า จึงเกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมประเพณี สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่การตักบาตรข้าวเม่านั้น เขาทํากันในเวลากลางคืน เมื่อพระจันทร์วันเพ็ญเดือนสิบสองอยู่ตรงศีรษะพอดี

กลางลานวัดจะปักเสาสองต้น สูงท่วมศีรษะห่างกันราว 2 เมตร มีไม้กลมๆ เป็นราวสูงเพียงตา ที่ราวติดเทียนขี้ผึ้ง ผูกราวติดไว้กับเสาหลวมๆ พอหมุนได้ไม่ติดขัด ที่ทางเหล่านี้ มีมัคทายกร่วมกับพระในวัดช่วยกันตระเตรียมไว้แล้วตั้งแต่ช่วงบ่าย ฯลฯ

สามทุ่มล่วงแล้ว พระจันทร์เต็มดวงพ้นปลายไม้ สว่างไสวดุจกลางวัน ผู้เฒ่าผู้แก่ หนุ่มสาว และเด็กๆ ถือขัน แบกกระเฌอ หรือถ้วยโถ โอชาม ที่บรรจุข้าวเม่ากับกล้วยสุก มากันคนละหวีสองหวีตามมีตามเกิดไปชุมนุมกันที่ลานวัด หนุ่มสาวแต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยสดงดงามเพื่อประกวดประชันกัน

ห่างจากที่ตั้งเสาพิธีพอประมาณ จะปูด้วยเสื่อสาด ลาดด้วยผ้าขาว ตั้งบาตรไว้เรียงราย ได้เวลาใกล้เที่ยงคืน นิมนต์พระเข้าประจําที่ สมาทานศีล สวดมนต์ ผู้คนจะยกขันขึ้นอธิฐานขอให้กุศลผลบุญจงมีแก่บุพการี แล้วบรรจงใส่บาตรข้าวเม่ากันจนทั่วถึง ผู้คนจะกระจายกันนั่งรายรอบที่ตั้งเสาพิธีอยู่ห่างๆ ปล่อยเสาพิธีสถานให้เป็นลานกว้างวงกลมในเขตพิธีกรรม รอกําหนดประกอบพิธีกรรม”

pa og pria kae 03

การตระเตรียมข้าวเม่าของชาวบ้าน

พอถึงวันขึ้น 15 ค่ําเดือน 12 หนุ่มสาวจะพากันออกไปเกี่ยวข้าวใหม่ เอามาใส่กระดังแล้วย่ำด้วยเท้าให้หลุดจากรวง เพื่อให้ได้ข้าวเปลือกมาคั่วให้สุกทั่วเมล็ด แล้วเอามาใส่ครกไม้ ตํา-ควัก ด้วยไม้พายจนได้เป็น "ข้าวเม่า" เตรียมไว้สําหรับการตักบาตรเข้าเม่า อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษกันทุกบ้าน

เสร็จแล้วก็จะหากล้วย น้ําผึ้ง มะพร้าว น้ําตาล เท่าที่พอจะหาได้เพื่อเตรียมไว้ เมื่อได้ของครบ แล้วก็จะเอาขี้ผึ้ง (ต้องเป็นขี้ผึ้งแท้เท่านั้น) มาฝั้นทําเป็นเทียนคนละ 1 เล่ม วัดความยาวให้ได้รอบศีรษะของตัวเอง เป็นความเชื่อว่าเทียนแต่ละเล่มจะเป็นเหมือนดวงชะตา หรือตัวแทนของผู้เป็นเจ้าของ ที่จะจุดเพื่อบูชาพระจันทร์ และเป็นการเสริมดวงชะตาบารมีของตัวเองด้วย

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็อาบน้ําชําระล้างเนื้อตัวให้สะอาด ตกค่ําทั้งหนุ่ม-สาว พ่อเฒ่าแม่เฒ่า เด็กๆ ในหมู่บ้านก็จะนําสิ่งของที่ตรียมไว้ไปวัด หนุ่มสาวก็จะนัดกันไปลอยกระทงริมสระน้ำ พระสงฆ์ร่วมกับพ่อเฒ่าแม่เฒ่าก็จะเอาเทียนขี้ผึ้งทั้งหมดมารวมกัน แล้วแบ่งออกเป็น 12 ส่วนเท่าๆ กัน แต่ละส่วนจะนำมาพันกันเป็น 1 แท่ง ก็จะได้เทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดสั้นบ้าง ยาวบ้าง เล็กบ้างใหญ่บ้าง จํานวน 12 แท่ง ที่จะใช้ในพิธีกรรม โดยจะมีตาพรมกับยายโสร สองผัวเมีย (สมมุติขึ้นมา) จะเป็นผู้นําในการประกอบพิธี

สาระสําคัญของพิธีปะอ็อกเปรี๊ยะแค

พิธีปะอ็อกเปรี๊ยะแค เป็นการเสริมสร้างสิริมงคลแก่ชีวิต และเสี่ยงทายว่า เดือนไหนจะมีฝน เดือนไหนจะแล้ง เพื่อให้ลูกหลานได้เตรียมตัวรับสถานการณ์ได้โดยไม่เดือดร้อนในวันข้างหน้า ส่วน 'ข้าวเม่า' ที่พากันนํามาตักบาตร เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะคลุกรวมกัน แล้วแบ่งปันกันกินคนละหนึ่งอุ้งมือ แต่สําหรับผู้หญิงที่กําลังตั้งครรภ์ จะได้รับส่วนแบ่งมากกว่าคนอื่นอีกเท่าตัว เพราะเราจะเผื่อแผ่ไปให้อีกคนที่อยู่ในท้องด้วย และจะมีอีกอย่างหนึ่งที่หนุ่มๆ ต้องการมากก็คือ น้ําตาเทียน ที่หยดลงบนใบตอง หลังจากการทําพิธีเสร็จแล้ว เพราะมีความเชื่อกันว่า ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง ที่ให้คุณในด้านเมตตามหานิยม ใครได้ไปเวลาจะออกจากบ้านก็นํามาสีปาก จะทําให้การเจรจาทุกอย่างสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีแต่คนรักคนหลง โดยเฉพาะเวลาจีบสาวๆ

พิธีการปะอ็อกเปรี๊ยะแค

เมื่อถึงเที่ยงคืน จะมีบุรุษผู้สูงอายุผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรม นุ่งขาวห่มขาว ถือไม้เท้ายาว มีบุรุษสะพายย่ามเป็นลูกศิษย์ติดตามมาด้วยผู้หนึ่ง เดินจากภายนอกเข้ามาในบริเวณพิธีสถาน กระทําซุ่มเสียงกระแอมกระไอ เดินสู่สถานพิธีตั้งเสา พอปรากฎเห็นโดดเด่นเป็นจุดสนใจ จึงหยุดยืนอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มาร่วมชุมนุม

แล้วผู้ใหญ่ในกลุ่มคนหนึ่ง (ซึ่งได้กําหนดตัวไว้แล้ว) จะถามร้องถามขึ้นว่า “นั่นใคร” บุรุษชีปะขาวจะตอบว่า “เราเอง” ผู้ถามก็จะถามอีกว่า “เราเองนะคือใคร มาจากไหน มีธุระอะไร” บุรุษชีปะขาวจะตอบว่า “เราคือ ตาพรหม** มาจากสํานักเขนาะตาพรหม มาที่นี่เพราะได้ยินเสียงเอะอะอึงคนึง ไม่รู้ว่าพวกท่านกระทําการสิ่งใดกัน ชะรอยจะพากันทําบาป ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอะไรกันขึ้นกระมังเราจึงเข้ามาดู”

ผู้เป็นใหญ่ในกลุ่มจะแจกแจงว่า “เราไม่ได้กระทําบาปหยาบช้า ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอะไร วันนี้เรามาชุมนุมกันทําบุญ จะประกอบพิธีไหว้พระจันทร์ ถ้าท่านเป็นตาพรหมท่านมีความรู้เรื่องนี้ไหม” ชีปะขาวจึงตอบว่า “เราพอจะรู้บ้าง” ผู้เป็นใหญ่จะกล่าวว่า “ถ้าท่านรู้ข้อธรรมในเรื่องนี้ จงแสดงธรรมให้พวกเราฟังก่อน เราจึงจะเชื่อถือ” ชีปะขาวจึงถามว่า จะให้แสดงธรรมข้อใด” ผู้เป็นใหญ่ตอบว่า "ว่านะโมให้เรา ฟังก่อนก็แล้วกัน”

ตาพรหมจะติดตลก แกล้งว่านะโมผิดๆ เพื่อแทรกบทตลกให้เป็นที่ฮือฮา ผู้เป็นใหญ่จะกล่าวว่า “ท่านว่าข้อธรรมไม่ถูก ท่านไม่ใช่ตาพรหมที่แท้จริง ชะรอยท่านจะเป็นผู้ประสงค์ร้าย ปลอมแปลงเข้ามาเพื่อทํามิดีมิร้าย” ได้เฮฮากันเป็นคํารบสอง เมื่อถึงรอบที่สาม จึงสวดนะโมได้ถูกต้องครบถ้วนกระบวนความ ผู้คนทั้งหลายจึงกล่าวรับรองว่า “จริงท่านคือตาพรหมตัวจริง” แล้วขอเชิญท่านเป็นประธานในพิธีพาพวกเราไหว้พระจันทร์ นําสวดคาถาบวงสรวงสังเวยแก่พระจันทร์เถิด

ตาพรหมจะบอกให้ทุกคนพนมมือ แล้วจุดเทียนชัย 12 เล่ม ที่ติดไว้บนราวพาดเสาพิธีกรรม นําใบตองกล้วยตานีที่ยังอ่อนๆ ปลอดตําหนิ ปราศจากริ้วรอยแตกปริ มาวางเรียงกับพื้นดินใต้ราวเทียนชัย เพื่อรองรับน้ําตาเทียนไว้เสี่ยงทาย บอกให้ทุกคนคอยกล่าวคําบวงสรวงสังเวยพร้อมกัน โดยตาพรหมนําสวดนะโม 3 จบกล่าวบวงสรวงให้ทุกคนว่าตาม ตามด้วยคาถาบูชาพระจันทร์ ดังนี้ “เนียง จันทรา เปรียะมหาอูด็อมเปรี้ยะเอ็นเซวย เซาะ เซวยอ็อบภิรมณ์เปรี้ยะมหาอุดอมก็วงเลอพิเมียน” (เจ้าแม่จันทรา พระมหาอุดม พระอินทร์เสวยสุย เสวยภิรมณ์ พระมหาอุดมสถิตเหนือพิมาน) กล่าวจบ 1 รอบ ตาพรหมจะให้กราบ ทุกคนจะหมอบกราบพร้อมกันสงบนิ่ง

**ตาพรหม หมายถึง พระพรหมผู้สร้างโลกและสรรพสัตว์ ตามคติศาสนาพราหมณ์ ที่เชื่อกันว่า พระพรหม จะลงมาดูแลปกป้องชาวโลกทุกปี เพื่อไม่ให้สรรพสิ่งที่ทรงสร้างถูกทําลาย ตาพรหม ในพิธี จึงเป็นตัวสมมุติแทนองค์พระพรหมผู้เป็นเจ้า ที่จะลงมาร่วมในพิธีไหว้พระ

pa og pria kae 04

การบูชาพระจันทร์เสร็จสิ้น ตาพรหมก็จะหมุนราวไม้ไผ่ให้เทียนที่กําลังติดไฟชี้ปลายลงดิน จากนั้นผู้ช่วยของตาพรหมก็จะยกใบตองกล้วยที่มีน้ําตาเทียนขึ้นมาทํานาย โดยถือเอาต้นใบเป็นต้นปี กลางใบ เป็นกลางปี และปลายใบเป็นปลายปี หยดเทียนหนาในตําแหน่งใด ก็เชื่อว่าฝนจะตกชุกในเดือนนั้นส่วน น้ําตาเทียนชายหนุ่มทั้งหลายจะแบ่งกันไปเก็บไว้เป็นสิริมงคล โดยเชื่อกันว่าให้คุณด้านเมตตามหานิยม

ทํานายเสร็จ ตาพรหมและลูกศิษย์ จะได้รับการถวายข้าวเม่า 1 ขัน กล้วย 1 หวี คนละ 1 ชุด ตาพรหมจะอวยพรให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข ประสบโชคลาภ ทํามาหากินได้อุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งกําชับให้ทุกคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เลี้ยงดูกันให้ดี มีความรักสมัครสมานสามัคคี มีความเห็นอกเห็นใจกัน เตรียมตัวเตรียมใจ พร้อมรับสถานการณ์ของดินฟ้าอากาศในแต่ละเดือน จะได้ไม่เกิดความอดอยากยากจน พร้อมกับบอกลาแล้วก็เดินจากไป

ฝ่ายพระสงฆ์จะบรรยายธรรมต่ออีกสักครู่ เมื่อสมควรแก่เวลาแล้วก็ถวายปัจจัยไทยทาน มัคทายกจัดบาตรเข้าเม่า พร้อมกับกล้วย มะพร้าว น้ําตาล น้ําผึ้ง ขึ้นกุฏิ แบ่งส่วนหนึ่งไว้เลี้ยงดูกันในหมู่ผู้ไปร่วมในพิธี ที่ยังคงนั่งรอกันอย่างเป็นระเบียบ ช่วงนี้มัคทายกและผู้ใหญ่จะช่วยกันแจกจ่ายข้าวเม่า และกล้วยน้ําว้าสุกให้กินกันอย่างถ้วนหน้า

โดยให้ผู้ร่วมในพิธี นั่งเงยหน้า หันเข้าหาพระจันทร์ คนแจกก็จะร้องบอกให้เงยหน้า อ้าปาก แล้วก็เอาข้าวเม่ากรอกเข้าปาก ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ โดยสตรีที่กําลังตั้งครรภ จะได้รับส่วนแบ่งเพิ่มอีก 1 ส่วน สําหรับอีก 1 ชีวิตที่อยู่ในท้อง การกระทํานี้เองที่เรียกว่า “ปะออกเปรี้ยะแค” ซึ่งแปลตามตัวอักษร คือ ปะอ๊อก แปลว่า กรอก หรือ ป้อน เปรี้ยะ แปลว่า พระ แค แปลว่า ดวงจันทร์ หรือ พระจันทร์ ปะออกเปรี้ยะแค จึงแปลว่า “กรอกพระจันทร์” หรือ “ป้อนพระจันทร์”

พิธีการบูชาพระจันทร์นี้ จะกระทำทุกๆ วันเพ็ญเดือน 12 ของแต่ละปี เป็นอารยธรรมที่ได้รับจากอินเดีย เข้าสู่ราชสํานักขอมโบราณ ก่อนจะแพร่หลายมาถึงภูมิภาคนี้นั่นเอง

ประเพณี 'ปังอ๊อกเปรี๊ยะแค' ศรีสะเกษ

ยังมีประเพณีนี้ในชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์เขมร บ้านพราน ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีความเชื่อแบบเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างในจำนวนของจำนวนเทียนที่ใช้จุดจะมีน้อยกว่าเพียง 8 เล่ม ซึ่งเทียนทั้ง 8 เล่ม เป็นสัญลักษณ์ของฤดูกาลในรอบเดือนที่สำคัญต่อการทำการเกษตรกรรมคือ

  • เล่มที่ 1 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 5 (เมษายน)
  • เล่มที่ 2 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 6 (พฤษภาคม)
  • เล่มที่ 3 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 7 (มิถุนายน)
  • เล่มที่ 4 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 8 (กรกฎาคม)
  • เล่มที่ 5 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 9 (สิงหาคม)
  • เล่มที่ 6 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 10 (กันยายน)
  • เล่มที่ 7 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 11 (ตุลาคม)
  • เล่มที่ 8 เป็นสัญลักษณ์แทนเดือน 12 (พฤศจิกายน)

การประกอบพิธีกรรมการเสี่ยงทายฤดูกาลจากน้ำตาเทียนนี้ จะสังเกตน้ำตาเทียนที่หยดออกจากเทียนที่มีการหมุน โดยสังเกตว่า หากน้ำตาเทียนค่อยๆ หยดจากเทียนเล่มไหนก็แสดงว่าช่วงของเดือนนั้น จะเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับ ลม ฟ้า (เมฆ) และ ฝน (น้ำ) อย่างไร ถ้าเทียนเล่มไหนมีน้ำตาเทียนหยดถี่ การกระพริบของไฟแรงหรือดับไป ก็แสดงว่าฝนจะตกมากและมีลมแรง ถ้าหากเทียนเล่มไหนมีน้ำตาเทียนหยดน้อย ไฟไม่กระพริบ ก็แสดงว่าฝนไม่ค่อยตก หรืออาจจะแล้งในช่วงเดือนนั้นและไม่มีลมพัด ขณะที่หากไส้เทียนเผาไหม้ตกลงเป็นประกายไฟ ก็หมายถึงจะมีฝนฟ้าคะนองมากจนอาจเกิดอุทกภัยขึ้นได้

pa og pria kae 05

ประเพณีปังอ๊อกเปรี๊ยะแค ที่ทำกันอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เขมร ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ในบางหมู่บ้าน ตำบล ของอำเภอไพรบึง และอำเภอขุนหาญ มีอุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมใช้ในการประกอบพิธี ดังนี้คือ

  • ชายหนุ่ม บริสุทธิ์ 4 คน
  • สาววัยรุ่น บริสุทธิ์ 4 คน
  • ครกซ้อมข้าวหรือครกตำข้าว 2 ลูก
  • สากไม้ซ้อมข้าว 1 อัน (ยาวประมาณ 1 วาเศษ)
  • เทียนขี้ผึ้งแท้ 8 เล่ม (ขนาดเท่าๆ กัน)
  • ข้าวเม่า 2 จาน
  • มะพร้าวอ่อน 2 ลูก
  • กล้วยสุก 8 ลูก
  • ใบตองกล้วย 2 ก้าน
  • ช้อน 2 คัน

ขั้นตอนพิธีกรรม

เมื่อใกล้เที่ยงคืน กรรมการวัดและมัคทายกจะนำเอาครก สาก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เตรียมไว้ไปตั้งสนามกลางแจ้ง ซึ่งจะมีบริเวณที่คนดูได้มากๆ (พิธีนี่ต้องทำกลางแจ้ง) โดยตั้งครกลูกหนึ่งทางทิศเหนือ อีกลูกหนึ่งตั้งทางทิศใต้ ระยะห่างกันประมาณหนึ่งเมตรเศษๆ เอาสากตำข้าววางพาดที่ปากครก แล้วเอาเทียนขี้ผึ้งแท้ (ขนาดใหญ่–ยาวเท่ากัน) จำนวน 8 เล่ม ติดกับสากตำข้าวโดยให้ตั้งฉากขึ้น แล้วเอาใบตองกล้วย 2 ก้าน วางกับพื้นใต้สากระหว่างครกทั้งสอง (เพื่อรองรับน้ำตาเทียนซึ่งจะหยดลง) จัดหนุ่มสาว 8 คน จัดเป็นจำนวน 4 คู่ โดยให้จับสากด้านทิศใต้ 2 คู่ และจับสากด้านทิศเหนืออีก 2 แล้วให้ชายหญิงแต่ละคู่เอาช้อนตักข้าวเม่าในจานป้อนซึ่งกันและกัน (ชายป้อนหญิง หญิงป้อนชาย) ป้อนข้าวเม่าเสร็จแล้วป้อนกล้วยสุข สุดท้ายจึงเอาน้ำมะพร้าวอ่อนให้ดื่มร่วมกัน

ปังอ๊อกเปรี๊ยะแค ประเพณีป้อนข้าวพระจันทร์

ชาวบ้านจะมีการสังเกตพระจันทร์ หรือดวงจันทร์บนท้องฟ้าว่า ใกล้จะตรงศีรษะแล้วหรือยัง ถ้าเห็นว่าใกล้จะตรงแล้ว ก็ให้พิธีกรหรือมัคทายกกล่าวสวดชุมนุมเทวดา (สัคเค กาเม จะ รูเปฯ) เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธ์ยิ่งขึ้น

เมื่อมองดูท้องฟ้าเห็นพระจันทร์อยู่ตรงศีรษะ ให้จุดเทียนชนวน 8 เล่ม ยื่นให้หนุ่มสาวทั้ง 8 คน (ข้างละ 4 คน) ให้หนุ่มสาวเอาเทียนชนวน จุดเทียนขี้ผึ้งที่ติดสากไว้แล้วพร้อมๆ กัน เมื่อเห็นว่าเทียนทุกเล่มติดไฟแล้ว ให้หนุ่มสาวหมุนสากโดยเริ่มหมุนเวียนขวา ขึ้น–ลง ช้าๆ เทียนแต่ละเล่มจะลุกไหม้ ขณะที่หมุนสากลงด้านล่าง เทียนก็จะเกิดหยดน้ำตาเทียนลงบนใบตองกล้วย ให้หนุ่มสาวหมุนสากตำข้าวที่มีเทียนชนวนติดอยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าเทียนจะลุกไหม้หมด

pa og pria kae 06

เทียนที่ติดบนสากตำข้าวทั้ง 8 เล่มนั้น เป็นเครื่องหมายของเดือนที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลที่มีฝนตก และช่วงก่อนที่จะเข้าสู่การเก็บเกี่ยวรวมจำนวน 8 เดือน เริ่มนับเอาเดือน 5 (ปีใหม่โบราณ หรือเดือนเมษายน) ถึงเดือน 12 (เดือนพฤศจิกายน) โดยนับจากทิศใต้เป็นเล่มที่ 1 (เริ่มจากเดือน 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12) ตามลำตับ ที่ต้องนับจากด้านทิศใต้ เพราะฤดูฝน ลมมรสุมจะพัดจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ

ขณะที่เริ่มหมุนสาก ขึ้น–ลง พระสงฆ์สามเณรจะมีการสวดชัยมงคลคาถา (ชยันโต) สวดไปจนกว่าเทียนจะลุกไหม้หมด จึงหยุดหมุนสาก พระสงฆ์สวดต่อด้วย ภะวะตุ สัพพะมังคะลังฯ เสร็จพิธีก็จะมีการทำนายให้ผู้ร่วมพิธีทราบ ส่วนน้ำตาเทียนที่หยดลงบนใบตองกล้วย ถือว่าเป็นของดี เอาไปทำเป็นสีผึ้งเสน่ห์ (นวดเสน่ห์) ผสมน้ำมันจันทน์ทาสีปาก ทาหน้า เป็นเสน่ห์ให้คนรักดีนักแล (แต่ต้องให้อาจารย์หมอเสน่ห์ทำให้) ชาวบ้านอยากได้กันมาก เมื่อเสร็จพิธีต้องยื้อแย่งกันชุนละมุนวุ่นวายไปหมด เพื่อให้ได้น้ำตาเทียนที่หยดลงใบตอง

ในยุคที่ยังไม่มีเทคโนโลยี พยากรณ์ฝนฟ้าอากาศ ชาวบ้านตลิ่งชัน ที่จังหวัดสุพรรณบุรี พึ่งพาพิธีเสี่ยงทายเทียน ซึ่งจัดเพียงครั้งเดียวในรอบปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีไหว้พระแข (พระจันทร์) ในค่ำคืนเดียวกัน ปัจจุบันพิธีกรรมโบราณนี้ยังอยู่ สะท้อนความเชื่อของชุมชนที่สืบเชื้อสายเขมรแต่มาอยู่อาศัยในภาคกลางของประเทศไทย

เสี่ยงทายฝนผ่านพิธีไหว้พระแข ชาวบ้านตลิ่งชัน ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

redline

backled1

heet pai kong koei

ครอบครัว ถือว่าเป็นระดับปฐมภูมิของสังคม การสร้างครอบครัวให้มีความสุข นอกจากจะยึดเอาหลักธรรมในการครองเรือนแล้ว จำต้องมีกฎระเบียบสังคมในการดูแลและควบคุม รวมถึงต้องมีผู้ดูแลการปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้นๆ เมื่อมีการละเมิดกฎขึ้น ในสังคมอีสานมีกฎประจำครอบครัวที่เรียกว่า "คองเฮือน" เป็นสิ่งที่ต้องทำตามเพื่อให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข เป็นปึกแผ่น ที่ทุกคนจะต้องทำตามกฎนี้อย่างเคร่งครัด ถ้าสนใจเรื่องของ "ฮีตคอง" ที่ทำให้สังคมเป็นสุขอ่านเพิ่มเติมได้จากเรื่อง : คองสิบสี่

ฮีตใภ้คองเขย

จากคองสิบสี่นั้นจะมีเรื่องของ "ฮีตใภ้คองเขย" อยู่ด้วย และมีท่านที่ปรารถนาอยากเป็นเขยอีสานถามกันมาว่า "มีรายละเอียดเพิ่มเติมหรือไม?" ก็เลยจัดมาให้อ่านกันในวันนี้

คำว่า “ใภ้” หมายถึง ลูกสะใภ้ รวมถึงหลานสะใภ้ ส่วน “เขย” หมายถึง ลูกเขย รวมทั้งหลานเขยด้วย แต่ตามปรกติหมายเอาเพียงตัวลูกสะใภ้และลูกเขยเท่านั้น

การเป็น "เขยอีสาน"

การจะเป็น "ลูกเขย" ในสังคมของชาวอีสานนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  • เขยสู่ หมายถึง การเป็นลูกเขยที่เข้าตามตรอกออกตามประตู คือ การไปมาหาสู่ ติดต่อกับครอบครัวฝ่ายหญิงจนเป็นที่รับรู้ของญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย และมีการสู่ขอจัดงานแต่งงานตามธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม จะเป็นงานแต่งเล็กๆ ให้รับรู้กันเพียงคนในครอบครัวทั้งสอง หรือจะเป็นการจัดงานใหญ่โตมีแขกเหรื่อนับพัน ก็ถือว่าเป็น "เขยสู่" ทั้งสิ้น
  • เขยซู หมายถึง เขยที่เข้าสู่ครอบครัวฝ่ายหญิงด้วยการได้เสียกันก่อน แล้วจึงมาสู่ขอตามประเพณีในภายหลัง ซึ่งเป็นนัยรับรู้กันว่า "ค่าดอง" หรือค่าสินสอดจะลดลงมากกว่าปกติ แต่ "เขย" ทั้งสองประเภทก็มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกัน หากเจ้าโคตรหรือพ่อตา แม่ยาย ไม่อคติหรือรังเกียจที่มาของเขยซู

kong koei 01

อ่านเพิ่มเติม : พิธีกรรมประจำชีวิต | การแต่งงาน

การเข้าสู่ครอบครัวของชาวอีสานนั้น นิยมให้ฝ่ายชายเข้าสู่บ้านฝ่ายหญิง คือ เอาลูกเขยมาอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย เพราะค่านิยมในการถ่ายโอนมรดกในวัฒนธรรมอีสานนั้นจะโอนผ่านฝ่ายหญิง และการนำชายเข้าสู่ครอบครัวมาเป็นเขยนั้น เป็นการนำแรงงานชั้นดีเข้าสู่ครอบครัว ที่จะมีผู้ชายมาแบ่งเบาภาระงาน จึงมีภาษิตอีสานว่า "เอาลูกเขยมาเลี้ยงพ่อเถ้าแม่เถ้า ปานได้ข้าวมาใส่เล้าใส่เยีย" ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายหญิงก็สามารถที่จะไปสู่ครอบครัวของฝ่ายชายได้เช่นกัน แต่กรณีนี้จะมีภาษิตที่ย้อนแย้งว่า "เอาลูกใภ้มาเลี้ยงแม่ย่า ปานเอาห่ามาใส่เฮือน" หรือ “เอาย่าไปอยู่กับลูกสะใภ้ ปานเอาไข้ไปใส่เฮือน” การแต่งงานนำสะใภ้เข้าบ้านจึงไม่เป็นที่นิยมมากนักในสังคมอีสาน

เหมือนกันกับเรื่องเล่าในสมัยครั้งพุทธกาล ที่ลูกๆ ต้องทิ้งพ่อแม่ของตนเพราะฟังความฝ่ายภรรยาตนเองมาก พระพุทธเจ้าจึงต้องสอนวิธีการให้พราหมณ์เอาชนะลูกๆ ของตนเองมาแล้ว หรือจากประวัติของท่านโมคคัลลานะก็เช่นเดียวกัน ฟังความเมียก็เลยเสียพ่อแม่ จะด้วยอิทธิพลของวรรณกรรมเหล่านี้ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ชาวอีสานไม่นิยมนำลูกสะใภ้ไปอยู่กับปู่ย่า แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไปอาจจะมีน้อยหรือไม่มี ถ้าหากลูกสะใภ้ที่ดีย่อมทำตนให้เข้ากับพ่อแม่ของฝ่ายชายได้ด้วยความราบรื่น เช่นเดียวกับลูกเขยที่อยู่กับพ่อตาแม่ยาย แต่ถ้ามีลูกสะใภ้ดีๆ ก็จะเป็นดังเช่น นางวิสาขา มหาอุบาสิกาก็ได้

sukor sao isan

การเข้าสู่ครอบครัวอีสานจะมีสิ่งห้ามที่เป็นจารีตประเพณีในลักษณะมุขปาฐะ (บอกเล่าสืบต่อกันมา) ก่อน เช่น ลูกเขยห้ามนอนเปิง (ห้องพระห้องผี) แต่ก็มีกฎระเบียบที่จะต้องปฏิบัติตามเรียกว่า "คองเขย" (การครองตนเป็นเขยที่ดี) ซึ่งตลอดการเป็นเขยต้องปฏิบัติตามคองเขยนี้ไปตลอด จนกระทั่งเลื่อนขึ้นสู่ความเป็นลุง ปู่ ตา และเป็นเจ้าโคตร (ผู้อาวุโสที่สุดในตระกูล) นี่จึงเป็นการเตรียม "คน (เขย)" เข้าสู่การเป็นเสาหลักของตระกูล (โคตรวงศ์) ในอนาคต

ดังนั้น "ลูกเขย" แม้ในช่วงแรกจะมาอยู่อาศัยกับพ่อตา-แม่ยาย เพื่อช่วยด้านแรงงานสร้างครอบครัว แต่เมื่ออยู่ไปสักระยะหนึ่งจนมีเงินเก็บออมได้พอประมาณ หาไม้สำหรับการสร้างบ้านเฮือนของตนเองได้ ก็จะต้องออกเรือน คือ การไปสร้างครอบครัวใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้น้องสาวภรรยา (น้าสาว) ได้มีคู่ครอง และนำแรงงานใหม่เข้ามาสู่ครอบครัวอีกครั้ง จนกระทั่งเหลือลูกคนหนึ่งที่จะดูแลพ่อแม่ยามแก่ชรา (ส่วนใหญ่จะเป็นน้องสาวคนสุดท้าย) ได้แต่งงานและอยู่เลี้ยงดูพ่อ-แม่ ซึ่งมักจะได้รับการแบ่งปันมรดกมากกว่าพี่น้องคนอื่นๆ คนอีสานจึงมักกล่าวว่า "ลูกสาวหล่า มูนข่อน" (ลูกสาวคนสุดท้องมรดกเยอะ)

แม้ว่าเขยจะแยกไปสร้างเรือนใหม่แล้ว จนกระทั่งสิ้นพ่อตาแม่ยายแล้วก็ตาม เขยก็ยังต้องอยู่ภายใต้ "คองเขย" เพราะยังมีญาติผู้อาวุโสฝ่ายหญิง เช่น ลุง หรือเจ้าโคตรคอยเป็นเสาหลักให้ เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในครอบครัว ต้องมีการประชุมญาติพี่น้อง เจ้าโคตร เพื่อชำระความภายในครอบครัว [ อ่านเพิ่มเติม : การออกเรือนใหม่ ]

จารีตเขยอีสาน

เจ้าเป็นเขยให้เจ้าทำใจกว้าง    อย่ากล่าวอ้างสรรพสิ่งอันใด
ไล่ไก่ให้เจ้าว่า โซ                    ไล่หมาให้เจ้าว่า เส่
ไล่ควายให้เจ้าว่า ฮือ               เจ้าอย่าดื้อเตะเตี่ยวชุยชายต่อหน้าเจ้าโคตร
อย่าปากโพดพางาน               ให้มีใจเลื่อมใสต่อนางนงคราญแก่นไท้ "

(สำลิด บัวสีสะหวัด, 2544 : 165)                                                      

กระบวนการเรียนรู้ในเรื่อง "คองเขย" ในอีสานนั้น มีการถ่ายทอดต่อกันผ่านทางครอบครัว เช่น ตัวอย่างจากพี่เขย ลุงเขย จากการบวชเรียนหรือคำสอนว่าด้วยหน้าที่ของสามีตามหลักพุทธศาสนา จากเอกสารเรื่องฮีตคองในใบลาน คำกล่าวสู่ขวัญของพ่อพราหมณ์ในการบายศรีแต่งงาน ทำให้ทุกคนได้รับการกระตุ้นเตือนให้สำเหนียกในหน้าที่ และการประพฤติตนเป็นเขยตามฮีตคองอยู่เสมอ ดังคำสอนข้างบนนั่นแล

sukor sao isan 2

การกระทำผิดต่อ "คองเขย" นั้นไม่ได้มีบทลงโทษทางกฎหมายบ้านเมืองกำหนดไว้ แต่จะมีการลงโทษตามจารีต คอง หรือครรลอง ที่เคยเป็นมา ตามระเบียบวิธีของครอบครัว หรือเจ้าโคตรกำหนด ซึ่งค้นคว้าแล้วพบว่า มี 8 ข้อ/กรณี ดังนี้

  • กรณีที่ 1 เขยประพฤติดีมาตลอด แล้วพลั้งเผลอกระทำผิด กรณีเช่นนี้ ควรให้อภัย หากกระทำผิดซ้ำถึง 3 ครั้ง ให้มีเงินเบี้ย เหล้าแกลบ (สาโท หรือเหล้าอุรสหวาน) และหมู ขอขมาต่อลุง ตา เจ้าโคตร
  • กรณีที่ 2 เขยขี้เกียจ ไม่ขวนขวายทำไร่ทำนา เจรจาเชิงชู้สาวกับหญิงอื่น ทำตัวเหมือนชายหนุ่ม กล่าวจะเลิกกับภรรยาถึง 3 ครั้ง เตือนแล้วไม่ฟัง ให้ปรับเงิน 100 (ไม่บอกหน่วย น่าจะเป็น บาท) ควาย 1 ตัว และหากไม่พอใจ เกิดหนีไป ความเป็นผัวเมียขาดกันตามพระราชอาญา
  • กรณีที่ 3 เขยตีลูกหลาน ด่า/ตีหมา แมว หมู สัตว์เลี้ยงในบ้านที่พ่อแม่เลี้ยงดู เป็นการไม่ยำเกรง ให้ปรับขันไหม เงิน 100 (ไม่บอกหน่วย น่าจะเป็น บาท) ควาย 1 ตัว หากผิด 2-3 ครั้ง ถ้าเขยจะหนี ให้มีเงิน 1 บาท ดอกไม้ธูปเทียนขอขมาต่อเจ้าโคตร ลุง ตา ก่อนแล้วจึงหนี
  • กรณีที่ 4 เขยที่เป็นญาติฝ่ายลุง/ป้า ถือเป็นเขยศักดิ์สูงกว่า (เชื้อพี่) เกิดความไม่ยำเกรงลุง ตา เจ้าโคตรฝ่ายหญิง ให้ปรับเงิน 2 บาท และขอขมาต่อเจ้าโคตร
  • กรณีที่ 5 เขยที่มีความประพฤติดีมาตลอด จนได้สืบทอดสมบัติพ่อแม่ (แทนมูน) และตลอดเวลาได้ช่วยเหลือญาติพี่น้องฝ่ายหญิงมาด้วยดี ภายหลังเกิดเป็นโทษ อย่าให้คุณที่ทำมาเสียเปล่า ให้โผด (โปรด) ยังเขย ให้เผย (เปิดเผย) ความงาม ความดี ให้มีเพียงดอกไม้ธูปเทียนขอขมา และให้อยู่ตามปกติสุขต่อไป
  • กรณีที่ 6 เขยบอกยากสอนยาก พูดอวดเก่ง อ้างทรัพย์สมบัติ ไม่ขวนขวายเลี้ยงครอบครัว เที่ยวเล่นบ้านนั้นลงบ้านนี้ บ่ฮู้จักแลงงาย (ไม่สนใจเวลากินข้าว เอาใจใส่ครอบครัว) กลายบ้านแม่ บ่แวเฮือนเมีย (ไม่เข้าบ้าน) ให้สมมาเจ้าโคตร แล้วให้ปรับปรุงความประพฤติเสียใหม่
  • กรณีที่ 7 เขยเป็นข้าราชการ ดื่มสุราเป็นอาจิณ เป็นนักเลงการพนัน ขายลูกขายเมียกิน ทำร้ายลูกเมีย ปรารภจะเลิกกับภรรยาถึง 3 ครั้ง หากพูดถึง 3 ครั้งแล้วไม่หนี เป็นโทษ (ถือว่าเป็นคนไม่แน่จริง กระมัง)
  • กรณีที่ 8 พ่อแม่ตายจาก เหลือเพียงครอบครัวเดี่ยว ตีลูกตีหลานด้วยไม้ท่อน ก้อนหิน ควรให้สมมาต่อเจ้าโคตร

จะสังเกตว่า ประเด็นที่เป็นความผิดของเขยนั้นไม่ใช่ความผิดอาญาแผ่นดินในสมัยนั้น แต่เป็นความผิดในครอบครัวเท่านั้น ประเด็นความผิดได้แก่ การไม่ตั้งใจทำมาหากิน เล่นการพนัน ชู้สาว ไม่เคารพยำเกรงผู้อาวุโสในตระกูล ทำร้ายร่างกายบุตร ภรรยา การลงโทษเขยจึงไม่ได้ลงโทษรุนแรงถึงขั้นทุบตี แต่เป็นลงโทษด้านเศรษฐกิจ เช่น การปรับไหม เป็นเงิน เป็นสัตว์เลี้ยง วัว ควาย และให้ขอขมาต่อเจ้าโคตรด้วยเงินหรือดอกไม้ธูปเทียนเท่านั้น

การลงโทษเช่นนี้เป็นการลงโทษที่แยบคาย เพราะในขณะนั้นเขยมักจะยังไม่มีทรัพย์สินเพียงพอในการตั้งตัว เพื่อออกเรือน การปรับไหมเป็นเงินหรือสัตว์เลี้ยงจึงทำให้เขยยังต้องพึ่งพิงพ่อตาแม่ยายอีกคำรบ (ต้องหยิบยืมข้าวกล้า พันธุ์พืช หรือสัตว์เลี้ยง วัว ควาย มาใช้งาน) จนกว่าจะสามารถสะสมสร้างตัวแยกเป็นครอบครัวใหม่ได้นั่นเอง ทำให้เขยไม่อยากทำผิดอีก เพราะจะขาดอิสระจนสร้างครอบครัวที่เข้มแข็งไม่ได้

marry isan 01

การขอบเขิงเขย

การลงโทษลูกเขยจะกระทำด้วยการพิจาณาจาก "เจ้าโคตร" ทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่พอตาแม่ยายเท่านั้น แต่รวมถึงลุงป้า ญาติผู้ใหญ่คนอื่นๆ ทำให้มีการกลั่นกรอง พิจารณา ให้โอกาสตามสมควร เจ้าโคตรจะทำ "การขอบเขิงเขย" ทุกครั้งไป

"เขิง" เป็นภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระด้งแต่มีตาห่างกว่า ริมเขิงจะมีไม้เนื้อแข็งเหลาขดเป็นวงทำขอบ เพื่อให้มีความคงทน ถาวร ไม่โย้เย้เวลาใช้งาน ประโยชน์ของเขิงคือ ใช้ร่อนเอาแต่สิ่งที่ต้องการ เช่น ร่อนทองคำ ร่อนรำ หรือตักเอากุ้ง ปลาในน้ำ ร่อนให้ตมหลุดออกเหลือแต่ตัวปลา

kong koei 02

การขอบเขิงเขย จึงเป็นพิธีกรรมในการตักเตือนลูกเขย ลูกสะใภ้ หรือญาติพี่น้อง โดยเปรียบว่า "เป็นการร่อนเอาแต่สิ่งที่ดีๆ ตามต้องการไว้ ส่วนที่ไม่ดี (การกระทำผิด) ให้หลุดหายไปนั่นเอง"

บางถิ่นที่อาจจะใช้คำว่า "คอบเขิง" แทน "ขอบเขิง" ซึ่งความหมายก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก คำว่า

ขอบ ก.
บอก, เล่า การบอกให้รู้เรียก ขอบ อย่างว่า ท้าวขอบน้องแล้วลวดเลยเซา (สังข์) เชื้อเชิญ เรียก ขอบ อย่างว่า เขาก็ปูนศาลสูงขอบเชียงเชิญยั้ง (สังข์) คอบก็ว่า อย่างว่า ไปให้ลามาให้คอบ (ภาษิต). to tell, invite.
คอบ ก.
บอกเล่า อย่างว่า นำคำไหว้ภูธรทูลคอบ พระบาทเจ้ามีฮู้ฮ่อมคนิง (สังข์). to tell.

สารานุกรมอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง            

เช่น เมื่อมีแขกของลูกมาบ้าน ลูกได้ไปบอกพ่อแม่ เรียก คอบพ่อแม่ หรือตามสำนวนอีสานที่ว่า "ไปให้ลา มาให้คอบ" เวลาเดินทางไปไหนมาไหนให้บอกลา เมื่อกลับมาแล้วให้บอกกล่าว

ส่วนคำว่า เขิง หมายถึง ขึ้งเคียด, โกรธจัด ดังนั้นคำว่า คอบเขิง หรือ ขอบเขิง หรือ เขิงขอบ จึงหมายถึง การบอกกล่าวถึงความไม่ถูกต้อง ทำให้ขุ่นข้องหมองใจกัน ให้ปรับความเข้าใจกันเสีย เป็นกระบวนการไกล่เกลี่ยภายในครอบครัวโดยเจ้าโคตร ทำการปรับไหม หรือขอขมา หรือสมมาญาติผู้ใหญ่ตามสมควร นั่นเอง

kong koei 03

ทั้งลูกเขยและลูกสะใภ้ก็ตาม ถ้าปฏิบัติตามครรลองของตนย่อมผ่อนหนักเป็นเบาได้คือ มีความเคารพปู่ย่า เลี้ยงดูปู่ย่าด้วยดีดุจท่านเป็นพ่อแม่ของตนเอง ปัญหาต่างๆ ก็ย่อมไม่ตามมาอย่างแน่นอน แต่เมื่อใดทั้งสะใภ้และเขยต่างก็เมินเฉยต่อวัตรปฏิบัติของตนเองนั้นแหละ ปัญหาย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทำอย่างไรจึงจะทำให้ท่านทั้งสองฝ่ายมีความรักและเอ็นดูตนนั้น คำสอนโบราณอีสานสอนไว้อย่างนี้ว่า

วัตรปฏิบัติของสะใภ้

       คันว่านางมีผัวแล้ว       อย่าลืมคุณพ่อแม่
คุณเพิ่นมีมากล้น                เพียรเลี้ยงให้ใหญ่มา
มารดาฮ้ายให้นาง               อดทนอย่าเคียดต่อ
คุณพ่อฮ้าย                        ให้นางน้อยอย่าติง
คันว่าผัวฮ้าย                      ให้เอาดีสู้ใส่
ปู่ย่าฮ้ายให้นาง                  ก้มหมอบฟัง
ทั้งฝ่ายพุ้นฝ่ายพี้                ใจนั้นพร่ำเสมอ
เถิงยามเดือนห้า                 กาลฤดูปีใหม่
จัดหาดอกไม้                     เทียนพร้อมใส่ขัน
ไปวันทาไหว้                      ตายายปู่ย่า
ทั้งสมมาเฒ่าแก่ใน            หมู่บ้านซู่คนได้ยิ่งดีเจ้าเอย

Krong Rak

วัตรปฏิบัติของลูกเขย

      อันหนึ่งแนวเป็นเขยนี้    แนวนามเชื้อตายายพ่อแม่
ควรซินบน้อมไหว้               ยอไว้ที่สูง
ผลบุญตามมาค้ำ                แนนนำยู้ส่ง
ปรารถนาอันใด                  ซิลุลาภได้โดยด้ามดั่งประสงค์
เฮาเป็นเขยเขานั้น              ควรมีใจฮักห่อ
ฝูงพ่อแม่ชาติเชื้อ               ของเมียเจ้าทั่วกัน
มีหญิงให้ฮู้จักปันแบ่งให้     ใจเหลื่อมทางดี
มีงานการซ่อยกัน               ฮีบไวบ่มีช้า
ซิไปมาก้ำทางใด                ให้เจ้าคอบ
เวนมอบให้                         เมียไว้แก่พ่อตา
ทั้งแม่ยายพร้อม                 เจรจาเว้าม่วน
ควรบ่ควรให้เจ้า                  คะนิงฮู้ซู่แนว เจ้าเอย

เรียบเรียงจาก : คองเขย : วิถีปฏิบัติของเขยภาคอีสาน โดย บุญชู ภูศรี

ฮีตใภ้ คองเขย : ข้อพึงปฏิบัติของใภ้และเขยอีสาน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)