foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

heet m 01

บุญเดือนอ้าย

ฮีหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล) สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว "

บุญเข้ากรรม ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทานรักษาศีลฟังธรรม เกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพราะเหตุกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึง เรียกว่า บุญเดือนเจียง นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่างๆ

ดังคำกล่าวที่ว่า

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้า ก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล) สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว "

บุญเข้ากรรม เป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด คือพระสงฆ์ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว บอกพระสงฆ์ด้วยกันให้ทราบไว้ ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป

อาบัติสังฆาทิเสส ของสงฆ์ มีอยู่ 13 ข้อ ได้แก่

  1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
  2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
  3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
  4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
  5. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือ แม้แต่หญิงขายบริการ
  6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
  7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
  8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
  11. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
  12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
  13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

ถือเป็นครุกาบัติ (โทษหนัก) แต่แก้ไขได้โดยคณะสงฆ์ คือ จะปลงอาบัติกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติเพื่อการออกจากอาบัตินั้น เช่น การให้ปริวาส ให้มานัต ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย 4 รูปขึ้นไป แต่ถ้า "การอัพภาน" คือ การเรียกเข้าหมู่เป็นผู้พ้นจากอาบัติหนัก และเป็นผู้บริสุทธิ์ ต้องอาศัยพระสงฆ์ 20 รูปขึ้นไป

ด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ บุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย (เดือนเจียง) จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือ พิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติ หนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรม การเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำ และเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วย บางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม (อยู่ไฟหลังคลอด) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว

boon kao kaam 01

โดยมากงานบุญในเดือนอ้ายนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่า ผู้คนมีความเชื่อกันว่า หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสสงฆ์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรมของแม่ลูกอ่อน หรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

ส่วนการเข้ากรรมของพระภิกษุสงฆ์นั้น เป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติที่หนักรองลงมาจากปราชิก ทำพิธีวุฏฐานพิธี ซึ่งเป็นระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัติ อันเป็นพิธีกรรมที่ทำให้จิตใจไม่หมองมัว หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อระลึกถึงการกระทำอันเป็นบาปที่ทำมาตลอดเข้าพรรษา หรือตั้งแต่กำเนิด บ้างก็ว่า การคร่ำเคร่งในการเข้ากรรมของพระสงฆ์ เพื่อเป็นการทดแทนการอยู่กรรมของมารดาที่แสนจะทรมาน

มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า "ในสมัยพุทธกาล ในช่วงที่พระภิกษุสงฆ์จะเข้าปริวาสกรรม มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเพียงเล็กน้อย การทำลายชีวิตในครั้งนั้นเข้าใจว่าเป็นเพียงบาปเล็กน้อย เป็นอาบัติอย่างเบา จึงไม่แสดงอาบัติ

แต่เหตุในครั้งนั้นก็ยังคงค้างคาอยู่ในใจของภิกษุรูปนั้นอยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาในช่วงเวลาที่ปฏิบัติธรรมในป่าและคงอยู่เป็นเวลานาน แต่เมื่ออยากแสดงอาบัติในการทำใบตะไคร่น้ำขาดในครั้งนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดรับฟัง เมื่อภิกษุรูปนี้ได้มรณภาพลง บาปกรรมก็ยังติดตัวไปยังภพใหม่ด้วย" จะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วช่วงระยะเวลาการเข้ากรรมของพระสงฆ์นั้น เป็นช่วงที่ท่านแสดงซึ่งอาบัติที่เคยกระทำมา และยอมรับในการทำผิดนั้น มิได้บริสุทธิ์กว่ากาลที่ผ่านมา แต่เป็นความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในปัจจุบัน ชาวอีสานก็ยังให้ความสำคัญกับงานบุญในเดือนเจียงนี้อยู่ แม้จะมีจำนวนลดน้อยลงบ้างตามกาลเวลา

boon kao kaam 02

พิธีกรรมที่ทำส่วนใหญ่ก็จะทำขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันสร้างความสมัคสมานสามัคคี และหล่อหลอมให้เป็นคนรู้จักสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโสในชุมชน รู้จักการแยกแยะรู้จักการให้อภัยแก่กัน ก็คือให้คนในชุมชนอยู่ด้วยการอย่างมีคุณธรรมไม่โลภ โกรธ หลง ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ถือชั้นวรรณะ และเป็นการสืบทอดศิลปะขนบธรรมเนียมประเพณีต่างให้สังคมเกิดความเป็นสุข นั่นคือจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่ของประเพณีพิธีกรรมของชาวอีสาน ซึ่งเป็นความสำคัญและงดงามมากในอดีตกาล

ขั้นตอนในการปฏิบัติ

สถานที่ สถานที่สำหรับเข้ากรรมนั้น จะต้องเป็นสถานที่เงียบไม่พลุกพล่าน อาจเป็นบริเวณวัดตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ มีกุฏิหรือกระต๊อบชั่วคราวเป็นหลังๆ สำหรับพระภิกษุอยู่อาศัยระหว่างเข้ากรรมตามลำพังผู้เดียว ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ดอนปู่ตาของหมู่บ้าน จำนวนพระพระสงฆ์เข้ากรรมคราวหนึ่งๆ มีจำนวนเท่าใดก็ได้ ก่อนจะเข้ากรรม พระภิกษุรูปใดต้องอาบัติแล้วต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปให้รับทราบไว้ก่อน ได้เวลาแล้วจึงเข้ากรรม

พิธีกรรม ในหนังสือวินัยมุขกล่าวว่า พระสงฆ์ผู้เข้ากรรมต้องประพฤติมานัตต์ แปลว่า "นับราตรี" ครบหกราตรี แล้วสงฆ์จึงจะสวดระงับอาบัติเรียกว่า "อัพภาน" แปลว่า "เรียกเข้าหมู่" แต่พระต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ล่วงเลยนานวันเท่าใดต้องอยู่ปริวาส ซึ่งแปลว่า "อยู่ใช้ให้ครบวันเท่านั้น" ก่อนจึงควรประพฤติมานัตต์ได้ต่อไป ถ้าในระหว่างอยู่ปริวาสต้องครุกาบัติอีก จะต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์ใหม่ เรียกว่า "ปฏิกัสสนา" แปลว่า กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม สำหรับประเพณีนิยมกันในภาคอีสานเกี่ยวกับการเข้ากรรมนี้ปกติอยู่ เก้าราตรี คือ ตอนสามราตรีแรกเรียกว่า "อยู่ปริวาส"

boon kao kaam 03

เมื่อจะเข้าปริวาสให้กล่าวคำสมาทานต่อสงฆ์ โดยกราบพระภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ซึ่งสามารถสวดให้ปริวาสได้รูปหนึ่งว่า “ปริวาสัง สมาทิยามิ หรือ วัตตัง สมาธิยามิ” 3 หนก็ได ้และถ้าไม่อาจอยู่ปริวาสต่อไปได้จะเก็บปริวาสก็กล่าวว่า ”ปริวาสัง นิกขิปามิ หรือวัตตังนิกขิปามิ” 3 หน ต่อหน้าพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และตอนหกราตรีต่อมาเรียกว่า “อยู่มานัตต์” ซึ่งมีคาถาสวดเพื่อเข้ามานัตต์ต่อหน้าสงฆ์ โดยกราบพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้แก่พรรษา ซึ่งสามารถสวดให้มานัตต์ได้ โดยกล่าวขอสมาทานมานัตต์ก่อน แล้วจึงสมาทานวัตตังดังนี้ “มานัตตัง สมาทิยามิ วัตตังสมาทิยามิ” 3 หน แล้วประพฤติให้ครบหกราตรี

แต่ถ้ามีเหตุอันจำเป็นต้องพักเก็บมานัต จะกล่าวคำเก็บมานัตต่อหน้าพระภิกษุผู้แก่พรรษาโดยว่าวัตต์ก่อนแล้วจึงว่าเก็บมานัตต์ ดังนี้ “วัตตัง นิกขิปามิ มานัตตัง นิกขิปามิ” 3 หน ถ้าต้องการเข้ามานัตต์ต่ออีก ก็ขอสมาทานมานัตต์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเข้ากรรมครบกำหนดคืออยู่มานัตต์ครบหกราตรีแล้ว จึงอัพภาน คือออกจากรรมได้แก่การออกจากอาบัติสังฆาทิเสสหรืออาบัติหนักขนาดกลาง (ครุกาบัติ)

ระหว่างเข้ากรรม การสารภาพความผิดต้องมีพระสงฆ์ 4 รูป เป็นผู้รับรู้ ส่วนการออกจากกรรม ต้องมีพระสงฆ์ 20 รูป ให้อัพภาน ในจำนวนนี้จะนับพระภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเข้าด้วยไม่ได้ การรับพระภิกษุผู้ต้องอาบัติหนักและได้ถูกทำโทษ คือ อยู่ปริวาสหรือมานัตต์ แล้วให้กลับเป็นผู้บริสุทธิ์โดยพระสงฆ์สวดระงับอาบัตินี้เรียกว่า “สวดอัพภาน” ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้วถือว่าเป็นผู้หมดมลทิน เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง

boon kao kaam 04

สำหรับชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับพิธีบุญเข้ากรรม จะต้องเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์ด้วยจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์ตลอดเวลาที่เข้ากรรม และในวันที่พระภิกษุออกจากกรรมจะต้องมีการทำบุญให้ทานเช่น มีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และฟังเทศน์ เป็นต้น คฤหัสถ์ผู้ใดได้ทำบุญแด่พระภิกษุสงฆ์ในบุญเข้ากรรม ถือว่าได้กุศลหรืออานิสงส์แรงมาก บุญเข้ากรรมในปัจจุบันมักจะมีจัดทำเฉพาะบางตำบลหมู่บ้านที่ชาวบ้านยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิมจริงๆ เท่านั้น

ในปัจจุบันนี้ บุญเข้ากรรม หรือ เข้าปริวาสกรรม นี้ มีวัตถุประสงค์ที่ผิดแผกไปจากในอดีต เป็นการเชิญชวนผู้คนให้เข้าไปทำบุญมากมาย เพื่อแสวงหาทรัพย์ให้วัดหรือสำนักสงฆ์ โดยอ้างว่าจะได้บุญมากกว่าปกติ เพราะพระที่มาร่วมพิธีมีความขลัง จะเป็นไปได้อย่างไรกัน ก็ในเมื่อพระที่มาเข้ากรรมนั้นจริงๆ แล้วคือ "พระที่ทุศีล" มาปลงอาบัติเพื่อให้หมู่คณะให้อภัยรับเข้ากลุ่มใหม่ (ฟอกขาว) ก็โปรดพิจารณากันนะครับ เดี๋ยวนี้พุทธพาณิชย์มันเยอะจนไกลไปจากแก่นของหลักพุทธศาสนา เหลือแต่กระพี้ประโลมโลก

รายการ "ร้อยเรื่องเมืองไทย" ตอน "บุญเข้ากรรม"

คติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสาน นอกจากจะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้น

 

redline

backled1 

isan governance 2

ในสมัยโบราณอีสานนั้น การปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ผู้ปกครองจะต้องปฏิบัติตามจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมดั้งเดิม คนอีสานจะมี "ฮีต 12 คอง 14" ซึ่งมีความหมายคือ "ฮีต" คือ จารีตประเพณี ส่วน 12 หมายถึงเดือนในหนึ่งปีมี 12 เดือน ส่วน "คอง" คือ ครรลอง คลอง แบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งคำหนึ่งว่า "Way of life" ซึ่งมีจำนวน 14 ข้อ แต่คองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียง คลอง เป็น คอง ไม่มีกล้ำ เช่น ถ้าทำไม่ถูกไม่ต้อง ผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" (ทำไม่ถูกต้องตามครรลอง) หรือว่า "เฮ็ดยังให้ถืกให้ถือฮีตถือคอง" (ทำอะไรให้ถูกต้องให้ถือตามจารีตตามครรลอง) เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติได้ไม่ล้าสมัย

bulletคองสิบสี่ (ครรลอง 14)

องสิบสี่ คือ ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของ บ้านเมือง 

ฮีตสิบสอง | คองสิบสี่

alert2ครอบ ๑๔ ข้อสำหรับพระสงฆ์

ข้อหนึ่ง ให้พระสังฆะเจ้าสูตรเฮียน ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและฮักษาศีล 227 อย่าให้ขาด
ข้อสอง ให้บัวละบัตรกูฏิวิหาร ปัดตากวาดถู อย่าให้วัดเศร้าหมอง
ข้อสาม ให้ปฏิบัติจัดทำไปตามศรัทธา ชาวบ้านนิมนต์มีการทำบุญให้ทาน บวชหด เป็นต้น
ข้อสี่ เถิงเดือนแปด ให้เข้าวัสสา ตลอดสามเดือน จนถึงเดือนสิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่ง แต่เดือนสิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่งไปหาเดือนสิบสองเพ็ง ให้ฮับผ้ากฐินฮักษาคองผ้าเถิงสี่เดือน
ข้อห้า ออกวัสสาแล้ว ฤดูเหมันตะ (ฤดูหนาว) ภิกขุสังฆะเจ้าเข้าปริวาสกรรม ฯลฯ
ข้อหก ให้เที่ยวไปบิณฑบาตร ตามบ้านน้อยบ้านใหญ่ อย่าให้ขาด
ข้อเจ็ด ให้สูตร ภาวนา ทุกคืน วัน อย่าขาด ฯลฯ
ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็ง ให้ประชุมกันทำอุโบสถ สังฆกรรม อย่าขาด
ข้อเก้า เถิงเทศกาลปีใหม่ ทายกไหว้ขี่วอ แห่น้ำไปสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ ฯลฯ
ข้อสิบ สังกาช ปีใหม่ พระเจ้ามหาชีวิต ไหว้พระ ให้สรงน้ำในวันพระราชวัง และบาสี พระสังฆะเจ้า
ข้อสิบเอ็ด ศรัทธาชาวบ้านนิมนต์สิ่งใด อันบ่ผิดคองวินัย ก็ให้ปฏิบัติตาม
ข้อสิบสอง เป็นสมณะให้พร้อมกันสร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์
ข้อสิบสาม ให้ฮับทานของทายก คือ สังฆะภัตร สลากภัตร เป็นต้น
ข้อสิบสี่ พระเจ้ามหาชีวิต เสนาข้าราชการ มีศรัทธานิมนต์ มาประชุมกันในสิมแห่งใด แห่งหนึ่งในวันเดือนสิบเอ็ดเพ็ง เป็นกาละอันใหญ่อย่าได้ขัดขืน
หมายเหตุ คอง ๑๔ ประการสำหรับพระสงฆ์นี้ เป็นหลักใหญ่ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และได้สะท้อนให้เห็นท่วงทำนองการดำรงชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธ ศาสนา เป็นชีวิตที่เสียสละเพื่อประโยชน์คนส่วนมาก และเป็นคุณให้แก่ทางฝ่าย บ้านเมือง อย่างไม่มีข้อขัดแย้งที่จะเป็นศัตรูกันได้เลย ถ้าสองฝ่ายยึดมั่นในหลัก พระพุทธศาสนาอย่างเข้าร่วมกันจริงๆ
 
sang karat 
ทุกศาสนาล้วนสั่งสอนให้เป็นคนดี รักและเคารพในความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน

ข้อหนึ่ง เมื่อเข้ากล้าหมากเป็นฮวง เป็นหมากแล้ว อย่าฟ้าวกินก่อน ให้เอาทำบุญให้ทาน แก่ผู้มีศีลกินก่อน แล้วจงกินภายลุน
ข้อสอง อย่าโลภตาส่าย อย่าจ่ายเงินแดง แปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบซ้ากล้าแข็งต่อกัน
ข้อสาม ให้พร้อมกันเฮ็ดฮั้วต้าย และกำแพงอ้อมวัดวา อาฮาม และบ้านเฮือน
ข้อสี่ เมื่อเจ้าขึ้นเฮือนนั้น ให้สว่ายกล้างตีน เสียก่อนจิ่งขึ้น
ข้อห้า เมื่อเถิงวันศีล 7-8-14-15 ค่ำ ให้สมมา (ขอขมา) ก้อนเส้า แม่คีไฟหัวคันได และ ประตูที่ตนอาศัยซู่ค่ำคืน
ข้อหก เมื่อจักนอนให้เอาน้ำส่วนล้างตีนก่อน จิ่งนอน
ข้อเจ็ด เถิงวันศีล ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน สมมาผัวแห่งตน และเถิงวันอุโบสถให้แต่งดอกไม้ ธูปเทียนไปเคนพระสังฆเจ้า
ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็งมานั้น ให้นิมนต์พระสังฆเจ้ามาสูตรมุงคุลเฮือน และทำบุญ ใส่บาตรถวายทาน
ข้อเก้า เมื่อพระภิกขุมาบิณฑบาตรนั้น อย่าให้เพิ่นคอยถ้า และเวลาใส่บาตรก็อย่าซุนบาตร และยามใส่บาตรนั้นอย่าใส่เกิบ (รองเท้า) กั้งฮ่มผ้าปกหัว อุ้มหลาน หรือถือเครื่องศาสตราอาวุธ
ข้อสิบ เมื่อพระภิกขุเข้าปริวาสกรรม ซำฮะเบื้องต้นแล้ว ให้แต่งขันดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องอรรถบริขารไปถวายท่าน
ข้อสิบเอ็ด เมื่อเห็นพระภิกขุสังฆะเจ้ากายมา ให้นั่งลงยอมือไหว้ก่อน และจั่งค่อยเจรจา
ข้อสิบสอง อย่าเหยียบย่ำเงาเจ้าพระภิกขุตนมีศีลบริสุทธิ์
ข้อสิบสาม อย่าเอาอาหารเงื่อนกินตนแล้วไปทานให้แก่พระสังฆะเจ้า และเอาไว้ให้ผัวกินจะกายเป็นบาปได้ อันใดในชาติหน้าก็มีแต่แนวบ่ดี
ข้อสิบสี่ อย่าเสพเมถุน กามคุณ ในวันศีล วันเข้าวัสสา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ถ้าดื้อ เฮ็ดได้ลูกได้หลานมา จะบอกยากสอนยาก

wai pra

ชาวอีสานประพฤติปฏิบัติตามฮีตคองประเพณีไม่เสื่อมคลาย

 

ฮีตสิบสอง คองสิบสี่

 ผู้ปกครอง | พระสงฆ์ - บุคคลทั่วไป


ฮีตสิบสอง | คองสิบสี่ | ระบบการปกครองของชาวอีสานโบราณ

isan governance 2

ในสมัยโบราณอีสานนั้น การปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ผู้ปกครองจะต้องปฏิบัติตามจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมดั้งเดิม คนอีสานจะมี "ฮีต 12 คอง 14" ซึ่งมีความหมายคือ "ฮีต" คือ จารีตประเพณี ส่วน 12 หมายถึงเดือนในหนึ่งปีมี 12 เดือน ส่วน "คอง" คือ ครรลอง คลอง แบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งคำหนึ่งว่า "Way of life" ซึ่งมีจำนวน 14 ข้อ แต่คองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียง คลอง เป็น คอง ไม่มีกล้ำ เช่น ถ้าทำไม่ถูกไม่ต้อง ผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" (ทำไม่ถูกต้องตามครรลอง) หรือว่า "เฮ็ดยังให้ถืกให้ถือฮีตถือคอง" (ทำอะไรให้ถูกต้องให้ถือตามจารีตตามครรลอง) เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติได้ไม่ล้าสมัย

bulletคองสิบสี่ (ครรลอง 14)

องสิบสี่ คือ ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกันของ ผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของบ้านเมือง 

  1. ฮีตเจ้าคองขุน เป็นแนวทางของเจ้าเมือง ขุนนางผู้ใหญ่ในการปกครองบ้านเมือง เช่น การพิจาณาคดีความให้พิจารณาตามที่ผิดที่ถูก ไม่เห็นแก่ญาติ พี่น้อง หรือคนสนิท ให้ยึดความยุติธรรมเป็นหลัก
  2. ฮีดเจ้าคองเพีย เป็นแนวทางปฏิบัติของท้าวพระยา เช่น ในการคัดเลือกบุคคลเข้ามารับราชการให้กระทำอย่างรอบคอบ เพื่อจะได้คนดีเข้ามารับราชการบริหารบ้านเมืองให้ราษฎรมีความสุข
  3. ฮีตไพร่คองนาย เป็นแนวปฏิบัติของนายกับไพร่ เช่น ไพร่ดีก็ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ไม่ประจบสอพลอ ส่วนนายที่ดีต้องไม่ลืมตน ให้ปฏิบัติต่อไพร่ฟ้าอย่างสม่ำเสมอยุติธรรม เสมอต้นเสมอปลาย ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ ทุจริตคอรัปชั่น ถ่อมตนไม่แบ่งชั้นวรรณะ เพื่อจะได้เข้าถึงทุกข์สุขของประชาชนได้ทั่วถึง
  4. ฮีตบ้านคองเมือง เป็นแนวทางหลักหรือปฏิบัติของบ้านเมือง กำหนดขึ้นมาเพื่อให้คนในหมู่บ้านในเมืองปฏิบัติต่อกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกัน ไม่เห็นแก่ตัว เช่น ไม่ถมบ่อน้ำที่ชาวบ้านใช้ร่วมกันแม้อยู่ในที่ของตน หรือล้อมรั้วกั้นทางเดินของคนทั่วไป ฯลฯ
    นอกจากนี้ยังมีหลักปฏิบัติเพื่อความสงบสุขตามจารีตประเพณีที่เคยมีมา เช่น การไม่ปลูกบ้านคร่อมตอ บ่อน้ำ หรือจอมปลวก เพราะถือว่าเป็นการเข็ดขวง (ไม่เจริญ) การรวมบ้านสองหลังมาปลูกเป็นหลังเดียว หรือนำเอาบ้านไปปลูกเป็นกระท่อมหรือฉางข้าว ก็เป็นสิ่งไม่ดี เพราะผู้กระทำเช่นนั้นจะทำให้การประกอบอาชีพค้าขาย ทำไร่นา ไม่เจริญ ผู้อยู่อาศัยไม่มีความสุข เป็นต้น
  5. ฮีตปีคองเดือน แนวทางปฏิบัติตามจารีตที่กำหนดไว้ตลอด ๑๒ เดือนในหนึ่งปี ซึ่งทุกสังคมต้องไม่ละเลย หรือ ฮีตสิบสอง
  6. ฮีตไฮ่คองนา แนวทางปฏิบัติตามจารีตประเพณี เกี่ยวกับไร่นาให้ถูกต้องตามที่สังคมกำหนด เช่น ก่อนทำนาต้องบอกผีนา ผีไร่ก่อน เมื่อทำนาไร่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จก็ต้องเลี้ยงผีนา (ตาแฮก) หรือผีไร่ด้วย ฯลฯ
  7. ฮีตเฒ่าคองแก่ แนวทางปฏิบัติของคนเฒ่าคนแก่ (ผู้สูงอายุ) เพื่อสร้างสรรค์สังคมบ้านเรือนให้อยู่กันอย่างสงบสุข เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานในทางที่ดี เช่น เมื่ออายุมากขึ้นทำงานไม่ค่อยไหว ก็ให้หันไปยึดมั่นในธรรมะ ที่เรียกว่า "อยู่ในศีลกินในธรรม" ไม่ใช่เอาแต่บ่น ด่า ตำหนิติเตียนผู้อื่นหรือลูกหลาน หรือมัวหลงระเริงกับการเสพกามารมณ์ เป็นต้น
  8. ฮีตปู่คองย่า แนวทางปฏิบัติสำหรับปู่ย่าต่อลูกหลาน ให้สั่งสอนบุตรหลานให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี และทำตนเป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน
  9. ฮีตพ่อคองแม่ แนวทางปฏิบัติของผู้เป็นพ่อแม่ที่มีต่อลูก เช่น การเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนลูกให้มีความรู้ในการประกอบสัมมาอาชีพ ลูกชายเมื่อมีอายุสมควรก็ให้บวชเรียนในบวรพระพุทธศาสนา ลูกชาย-หญิงเมื่อสมควรก็สนับสนุนให้มีคู่ครองที่เหมาะสม แต่งงานตามจารีตประเพณี มีทรัพย์สมบัติก็มอบให้ลูกดูแลครอบครองแทนต่อไป
  10. ฮีตป้าคองลุง แนวทางปฏิบ้ติของลุง ป้า ต่อลูกหลาน ช่น มีความยุติธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกหลาน เป็นกำลังสำคัญในวงศ์ตระกูลช่วยดูแลความประพฤติของลูกหลาน เป้นดั่งเจ้าโคตรในตระกูล
  11. ฮีตใภ้คองเขย เป็นหลักปฏิบัติของเขย สะใภ้ ว่าควรประพฤติปฏิบัติอย่างไรจึงจะทำให้ครอบครัวมีความสุข เช่น เป็นสะใภ้ ต้องขยันทำงาน ไม่เกียจคร้าน เป็นเขยต้องไม่ลบหลู่ดูหมิ่นบิดามารดา ของภรรยา ฯลฯ
  12. ฮีตลูกคองหลาน เป็นแนวทางปฏิบัติของลูกหลานต่อพ่อแม่ พี่ ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย เช่น ลูกๆ หลานๆ ไม่ควรจะดื้อดึง หัวแข็ง หรือ ทำกริยาที่ไม่ดีต่อท่าน ควรเคารพ เชื่อฟังท่าน ทำตนให้เป็นคนดีเป็นที่ชื่นชมต่อวงศ์ตระกูล รักษาทรัพย์สมบัติที่พ่อแม่มอบให้ สร้างตนเองให้เป็นหลักเป็นฐานส่งต่อลูกหลานต่อไปในภายภาคหน้า
  13. ฮีตวัดคองสงฆ์ เป็นแนวทางปฏิบัติของคนในสังคมต่อวัดวาอาราม พระสงฆ์ และเป็นแนวทางของพระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นที่เลื่อมใสแก่คนในสังคม เช่น พระสงฆ์ จะต้องยึดมั่นในพระธรรมคำสอน ระเบียบ วินัยของสงฆ์อย่างเคร่งครัด ประชาชนทั่วไปจะต้องปฏิบัติวัฎฐากต่อพระสงฆ์และวัดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ช่วยปรับปรุงก่อสร้างวัดวาอาราม เตรียมข้าวปลาอาหารถวายพระสงฆ์อย่าได้ขาด หาดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระสงฆ์ ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา ทุกวันพระ และนำข้าวปลาอาหารผลผลิตที่ดีที่สุดไปถวายพระ และงดเสพกามาคุณในวันพระ เป็นต้น
  14. ฮีตสมบัติคูณเมือง หมายถึงเมืองที่จะมีความเจริญมั่นคงต้องประกอบไปด้วยสิ่งที่ดีต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ หูเมือง (ราชทูตผู้ฉลาด) ตาเมือง (นายหนังสือผู้รอบรู้) แก่นเมือง (พระสงฆ์ผู้ทรงวินัย) ประตูเมือง (เครื่องศัตราวุธที่ดีและทันสมัย) ฮากเมือง (รากเมือง - โหราจารย์ผู้สามารถ ฉลาดและหยั่งรู้) เง่าเมือง (เสนา ผู้เฒ่าผู้แก่ ในเมืองที่ฉลาด รอบรู้ กล้าหาญ มั่นคง) ขื่อเมือง (กรมการเมืองที่มีความสัตย์ซื่อ) ฝาเมือง (ทหารผู้กล้าหาญ) แปเมือง (ท้าวพระยาผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม) เขตเมือง (เสนาอำมาตย์ผู้ฉลาด) สติเมือง (พ่อค้า เศรษฐี ผู้มั่งคั่งและสัตย์ซื่อ) ใจเมือง (แพทย์ หมอยาที่มีความสามารถ) ค่าเมือง (ที่ตั้งเมืองที่ดีมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์) เมฆเมือง (เทวาอารักษ์ ผีมเหสักหลักเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์)

(ฮีตในข้อที่ 8-12 เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติระหว่างคนในครอบครัว)

king rama9

 ผู้ปกครอง | พระสงฆ์ - บุคคลทั่วไป

alert2ครอบสิบสี่ข้อสำหรับผู้ปกครอง

ครอบสิบสี่ข้อ - กฎหมายสำหรับพระราชา ผู้ปกครองบ้านเมือง พึงปฏิบัติเพื่อไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีความสุขร่มเย็น (ถอดออกมาจากคำกลอนโดยไม่เปลี่ยนแปลงสำนวนเดิม)

ข้อหนึ่ง เป็นท้าวพระยาจัดตั้งแต่งซื่อซามนามกร เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พิจารณา สืบหา ผู้ซื่อผู้คด ผู้ฮ้ายผู้ดี ผู้ช่างแถลงแปงลิ้น มักสับส่อถ้อยคำอันหนักอันเบา อันน้อยอันใหญ่ ให้ไว้ในใจนั้นก่อ สมที่จะฟัง จิ่งฟัง บ่สมที่จะฟังอย่าฟัง สมตั้งใจซื่อ ให้เพียงใดจิ่งตั้งใจเพียงนั้น ให้แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริตให้หมั่นเที่ยง ผู้ฮู้จักราชการบ้านเมืองแต่ก่อนมา บ่มข่มเห็งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้หายใจเข้าออกได้ จิ่งตั้งให้เป็นเสนาอามาตย์
ข้อสอง เป็นท้าวพระยา ให้เนามุนตรี เป็นสามัคคีพร้อมเพียงกัน ให้หมั่นประชุมกัน อย่าให้ขาด อันใดอันหนึ่งจักให้อาณัติข้าเสิก (ข้าศึก) เกรงขาม และให้เขาอยู่ในเงื้อมมือเจ้าตน ด้วยยุทธกรรมปัญญา ให้บ้านเมืองก้านกุ่งฮุ่งเฮือง เป็นที่กว้างขวาง ให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอยู่เย็นเป็นสุข อย่ากดขี่ข่มเห็ง เทอญ
ข้อสาม เป็นท้าวพระยา เถิงวันขึ้นสังขารปีใหม่ ถ่ายสังวาสมาสเกณฑ์ ให้เชิญพระแก้ว พระบาง พระพุทธฮูป สรงน้ำอบ น้ำหอม ไว้ในสระพัง สักการะด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ฟังธรรมจำศีล คบงัน 7 วัน ทุกๆ วัดให้เป็นการซื่นซมยินดีแก่พระศาสนา ตบพระเจดีย์ทราย บูชาเทวดาทั้งหลายทางน้ำทางบก บ้านเมืองจิ่งวุฒิซุ่มเย็น น้ำฟ้าสายฝน เข้าไฮ่เข้านาบริบูรณ์
ข้อสี่ เป็นทางพระยา วันสังขารขึ้น ให้นิมนต์พระภิกขุ แห่น้ำฝ่ายใต้เมือฝ่ายเหนือ วันสังขารพักให้ฝ่ายเหนือมาวัดฝ่ายใต้ เพื่อบูชาเทวดา หลวงไปยามหัวเมือง ท้ายเมือง ของทุกๆ ฤดูปี บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ ให้ราษฎรอาบน้ำอบน้ำหอม หดสรงพระภิกษุสงฆ์บ้านเมือง จิ่งอยู่เย็นเป็นสุข ให้ราษฎรแต่งหม้ออุบัง เพื่อกั้งบังโพยภัยอันตรายแก่ราษฎรทั่วไป เทอญ
ข้อห้า เป็นท้าวพระยา วันสังขารปีใหม่ ให้เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พญาเพีย ท้าวขุน หัวบ้านหัวเมือง ตำหรวดอาสา มหาดเล็กสีพายใต้แจก มีเทียนคู่ขึ้นทูนเกล้า ทูนกระหม่อมถวายราชบาส เพียกะซักมุงคุลถวายพานหมากหมั้นหมากยืน ปุโรหิตถวายพร ให้มีอายุ วัณโณ สุขัง พะลัง แก่องค์พระเจ้ามหาชีวิต แล้วเอา น้ำมหาพุทธาภิเศก อันพระรัสสิไปสถาปนาไว้ ถ้ำนกแอ่นถ้ำนางอั่น อันชื่อว่า น้ำเที่ยงนั้น แห่มาสรงพระพุทธฮูปวัดหลวงในเมืองทุกวัด ในถ้ำติ่งทวารทวาราที่ปากน้ำอู ประตูเมืองฝ่ายเหนือ แล้วจิ่งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ นำบาลีพระพุทธฮูป ในพระราชวังตามธรรมเนียม จิ่งเป็นอันโครพย่ำแยง แด่พระสงฆ์เจ้าถืกต้อง ตามพระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้หั้นแล
ข้อหก เป็นท้าวพระยาในวันสังขาร เป็นวันเสี้ยงฤดูเก่า ปีใหม่จักมาเถิง ให้เจ้านาย เสนา ข้าราชการ มุนตรีผู้มีนามยศ และเพียหัวหลิ่งหัวพัน หัวบ้านหัวเมือง สิบเอ็ดฮ้อยน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นข้าน้อยขันฑสีมาตำบล เข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยานุศัตย์ต่อพระพักตร์ พระพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า ให้เป็นการซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน ป้องกันก่อให้ขบถคึดฮ้ายต่อแผ่นดิน
ข้อเจ็ด ท้าวพระยา คันเถิงฤดูเดือนเจ็ด ให้เลี้ยงเทพยดาอาฮักษ์ มเหศักดิ์ หลักเมือง ตาเมือง เสื้อเมือง ทรงเมือง ตามคองสิบสี่ แล้วให้เชิญเทพดาอาฮัก มเหศักดิ์ ให้เข้ามาซำฮะบ้านเมือง ป้องกันอันตราย ตามบูฮานราชประเพณีสั่งไว้ว่า เมืองชั่วบ่มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง ได้เอาไสยศาสตร์คือ ผีเมืองคุ้มครอง จิ่งมีฤทธิ์อันนี้สืบต่อมา เพื่อบ่ให้เกิดอันตรายโพยภัยด้วยผีสางคางแดง
ข้อแปด เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนแปด ให้สูตรซำฮะบ้านเมือง สืบซะตาเมือง บูชา เทวดาอาฮักษ์ทั้งแปดทิศ บูชาพระรัสสีทั้งแปด สองพี่น้องพระยานาค 15 ตระกูล สูตรเถิงสามวันเจ็ดวัน แล้วให้ราษฎรฮอบเมืองยิงปืน หว่านหินแห่และทราย เพื่อให้หายพยาธิโรคา โพยภัยอันตราย ให้อยู่เย็นเป็นสุขแก่บ้านเมือง ทุกประการ
ข้อเก้า เป็นท้าวพระยาคันเถิงเดือนเก้า จำเริญ (ดับ) ให้ป่าวเตินราษฎรบ้านเมืองท่าน ห่อเข้าประดับดิน ไปหาปู่ย่าตายาย ลูกเต้า หลานเหลน อันเถิงแก่อนิจกรรม ไปสู่ปรโลกทั่วทุกแห่งแล้ว ให้เจ้านายเสนาข้าราชการ ทั่วบ้านเมืองสิบฮ้อย น้อยใหญ่ ลงมือถือน้ำพระพิพัฒนิสัยานุศัตย์อีกเทื่อหนึ่ง แล้วซ่วงเฮือฉลองอุสุภนาคราชปากดงและปากคาน กับพระยานาคสิบห้าตระกูล อันฮักษาบ้านเมือง จิ่งจะอยู่เย็นเป็นสุข เข้าก้าไฮ่นาบริบูรณ์
ข้อสิบ เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบเพ็งให้ป่าวราษฎร ให้ทานสลากภัตร หยาดน้ำ อุทิศไปหาเทพดาอาฮักษ์เมือง อันฮักษาพระพุทธศาสนา กับทั้งพ่อแม่เผ่าพงษ์ วงศาแห่งตนเทอญ
ข้อสิบเอ็ด เป็นท้าวพระยา เถิงฤดูเดือนสิบเอ้ดเพ็ง ให้ฉลองพุทธาภิเศก พระธาตุจอมศรี ทุกๆ ปีอย่าขาด ด้วยเป็นศรีบ้านศรีเมือง แล้วให้ไปไหว้พระภิกษุสังฆะเจ้า มาขอดสิม (ผูกพัทธสีมา) ในสนามแล้วให้สังฆเจ้าปวารณาในที่นั้น คันแล้วกิจสงฆ์ ให้สูตรถอนสิมนั้นเสีย บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ เสนาอามาตย์จิ่งจักเป็นสามัคคี พร้อมเพียงกันจัดราชการบ้านเมือง จิ่งบ่ขัดข้องแก่กันและกัน คันเถิง แฮมค่ำหนึ่ง ให้ป่าวเตินราษฎรไหลเฮือไฟ บูชาพระยานาคสิบห้าตระกูล บ้านเมืองจิ่งจักอยู่สุขเกษมเติมครองแล
ข้อสิบสอง เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบสองขึ้นหนึ่งค่ำ ให้เตินหัวบ้านหัวเมือง สิบฮ้อย น้อยใหญ่ในขอบขันฑะสีมา เข้ามาโฮมพระนครหลวงพระบาง เป็นต้นว่า ข้าลาว ชาวดงดอย เพื่อแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต ไปลงพ่วง (ด่วง) ส่วงเฮือ และนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโสกราช คือ เดือนสิบสองขึ้นสามค่ำ ถือน้ำ ขึ้นสี่ค่ำ สิบสามค่ำ ซ่วงเฮือ ฉลองอุสุภนาคราช วัดหลวงให้เพียวัด มีเฮือวันละลำ อัครมหาเสนาบดีตั้งแต่เมืองแสนเมืองจันทน์ ลงไปเถิงศรีสะคุตเมืองแก นาใต้นาเหนือ ให้ตั้งเป็นผามทุกตำแหน่ง เป็นเทศกาลบุญส่วงเฮือ ฉลองพระยานาค 15 ตระกูล และพระเสื้อเมือง ทรงเมือง อาฮักษ์เมือง และมีเครื่อง กิยาบูชา เป็นต้นว่า โภชนะอาหาร ดอกไม้ ธูป เทียน สวายไปหาเทพยดา ทั้งทางน้ำและทางบก จิ่งจักอวยพรแก่บ้านเมืองอยู่เย็นเป็สุข

และเดือนสิบสองเพ็ง เสนาอามาตย์ และเจ้าราชคณะสงฆ์ ราษฎร พร้อมกันแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต และเจ้าย่ำขม่อมทั้งห้าพระองค์ ไปนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโศกราช พร้อมทั้งเครื่องบูชา มีต้นเทียนและดอกไม้ บั้งไฟดอก ไฟหาง กะทุน ว่ายกองปิด กองยาวฮูปหุ่นละคอน ลิงโขนและเครื่องเล่นมหรสพต่างๆ ไปเล่น อยู่ที่เดิ่นหน้าพระลาน พระธาตุถ้วนสามวัน สามคืน แล้วจิ่งเสด็จคืนมาเทอญ เพื่อให้เป็นที่ชื่นชมยินดีซึ่งกันและกัน ข้าลาวชาวดอยทั้งหลาย ก็จักได้เห็นกันและกัน และจักได้เว้าโลมกัน เป็นมิตรสหายแก่กันและกัน จิ่งจักเป็นเกียรติยศ ฤชา ปรากฏแก่หัวบ้านเมืองน้อยใหญ่ อันอยู่ใกล้เคียงนั้นซะแล
ข้อสิบสาม เป็นท้าวพระยา ให้แต่งแปงทาวทุกอย่าง เป็นต้นว่า ถวายผ้ากะฐินและบวช พระหดเจ้า ตั้งมะไลไขมหาชาติ ฮักษาศีลห้าศีลแปดเป็นนิจกาล ทุกวันอุโบสถ และมีหัวใจอันเต็มไปด้วยพรหมวิหารทั้ง 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เสนาอามาตย์ ราษฎร ข้าน้อยใหญ่ ในขอบเขตขัณฑะสีมา อย่ามีใจอันกระด้างกระเดื่อง เคืองไปด้วยพาล เป็นต้นว่า ไปหลิ้นป่าล่าเนื้อ จุ่งเลี้ยงนักปราชญ์ผู้อาจให้แก้วยังกิจการเอาไว้ และให้มีเสนาอามาตย์ผู้ฉลาดกล้าหาญ กับทั้งสมณะชีพราหมณ์ ผู้ดีมีศีลบริสุทธิ์และความฮู้ สั่งสอนทายก อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเทอญ และให้ประกอบด้วย ทศพิธราชธรรมสิบประการ บ้านเมืองจิ่งจะวุฒิจำเริญ แล
ข้อสิบสี่ เป็นท้าวพระยาให้มีสมบัติ อันประเสริฐ 14 ประการ คือ หูเมือง ตาเมือง แก่น เมือง ประตูเมือง ฮากเมือง เหง้าเมือง ขื่อเมือง ฝาเมือง แปเมือง เขตเมือง สติเมือง ใจเมือง ค่าเมือง และเมฆเมือง

 

14

มบัติอันประเสริฐ 14 ประการ สำหรับผู้ปกครองบ้านเมือง มีความหมายดังต่อไปนี้

หูเมือง ได้แก่ ราชฑูต ผู้ฉลาดอาจนำเข้าออกต่างประเทศ
ตาเมือง ได้แก่ ทางหนังสือ ผู้ฉลาดอาจสอนอักขระบาลี
แก่นเมือง ได้แก่ พระสังฆะเจ้า ฉลาดทรงธรรมทรงวินัย
ประตูเมือง ได้แก่ เครื่องศาสตราวุธทั้งหลายต่างๆ สั่งสมไว้
ฮากเมือง ได้แก่ โหราศาสตร์ อาจฮู้เหตุฮ้ายและดี
เหง้าเมือง ได้แก่ เสนาผู้เฒ่าแก่ กล้าหาญมั่นคง
ขื่อเมือง ได้แก่ กวนบ้านและตาแสง ราษฎรผู้ซื่อสัตย์
ฝาเมือง ได้แก่ ทแกล้วทหาร ผู้สามารถอาจทำยุทธกรรมกับข้าศึกชนะได้
แปเมือง ได้แก่ ท้าวพระยาองค์ประกอบด้วยศีลธรรมอันดีล้วน
เขตเมือง ได้แก่ เสนาอามาตย์ ผู้ฉลาดฮู้เขตบ้านเมืองดินเมือง ว่าที่นั่นดีหรือบ่อ มีคุณ หรือมีโทษ ฯลฯ
สติเมือง ได้แก่ เศรษฐีและพ่อค้าผู้มั่งมีเป็นดี ฯลฯ
ใจเมือง ได้แก่ หมอยาวิเศษ ฮู้พยาธิใช้ยาถืก ฯลฯ
ค่าเมือง ได้แก่ ภาคพื้นภูมิประเทศและพลเมือง ฯลฯ
เมฆเมือง ได้แก่ เทพยดาอาฮักษ์ทั้งหลายเขตบ้านเมือง

ดังมีคำบรรยายไว้เป็นกลอนดังนี้

หูเมืองนั้น ได้แก่ ทูตาผู้คนดีฉลาด อาจนำความนอกพุ้นมาเข้าสู่เมือง ตาเมืองนั้น ได้แก่ นายหนังสือ เว้าคนดีผู้ฉลาด สามารถสอนสั่งให้บาลีก้อม คู่ซู่แนว สอนหมู่แถวพันธุ์เซื้อวงศ์ วานน้อยใหญ่ อันแก่นเมือง ได้แก่ สังฆะเจ้าผู้ทรงธรรม วินัยสูตรนี้ละเป็นแก่นแท้เมืองบ้านแห่งเฮา ประตูเมือง ได้แก่ ปืนหรือหน้าลาหลาว ง้าวหอก เครื่องอาวุธทุกชั้น ให้หั้นแหม่นประตู ที่พวกเสนา ข้ามนตรีฮักษาอยู่

ฮากเมือง นั้นได้แก่ โหราเจ้าหมอโหรผู้ฉลาด ฮู้เหตุดีและฮ้ายสิมาเข้าสู่เมือง เหง้าเมืองนั้น ได้แก่ เสนาผู้คนหาญเฒ่าแก่ เป็นผู้คงเที่ยงหมั้น บ่ผันลิ้นเปลี่ยนแปร อันขื่อเมือง ได้แก่ ตากวนบ้าน ตาแสงผู้สัตย์ซื่อ ราษฎรก็หากสุขอยู่ด้วยดอมเจ้าคู่ซู่กัน ฝาเมืองนั้น ได้แก่ พลาหาญกล้า โยธาทแกล้วเก่ง กับทหารผู้กล้าอาจฟันข้าหมู่เขา กับข้าเสิกสิเข้ามายาดชิงเมือง

แปเมืองนั้น ได้แก่ คุณพระยาเจ้า ผู้ทรงธรรมทศราช เป็นผู้อาจเก่งกล้าผญาล้ำลื่นคน ผู้ตั้งในธรรม พร้อมและศีลธรรมสัตย์ซื่อ เป็นผู้ดียิ่งล้ำ พลข้าอยู่เกษม เขตเมืองนั้น ได้แก่ เสนา ข้ามนตรี ผู้อามาตย์ ผู้ฉลาดอาจรู้เขตบ้านและเขตเมือง บ่อนนั้นดีหรือฮ้ายมีคุณหรือบ่ นี้ละเป็นเขตบ้าน เมืองแท้อย่างดี สติเมือง ได้แก่ เศรษฐีเจ้า ผู้เป็นดีมีมั่ง และ ผู้ตั้งตลาดซื้อค้า หาซื้อจ่ายของ ผู้ที่ ทำถืกต้องครองราชธรรมเนียม บ่แม่นแนวโจโรหลอกหลอนลวงต้ม นี้ละเจ้าสติเมืองเกินมันแม่น อันใจเมือง ได้แก่ แพทย์ผู้ฮู้ยาแก้ใส่คน อันไทเฮาเรียกว่า หมอกล้า ผู้หายามาปัวปิ่น ฮู้จักพยาธิ ฮ้ายยาแก้ถืกกัน นี้ละเป็นใจแท้เมืองคนเจริญยิ่ง

อีกค่าเมือง ได้แก่ ภูมิภาคพื้นดินฟ้าค่าแพง ภูมิประเทศ บ่อนแล้งหรือชุ่มดินงามอีกทั้งชาวพลเมืองก็ดั่งเดียวกันแท้ ผู้สิทำคุณให้เมืองตน เจริญเด่นและดินฟ้าหมู่นั้นสำคัญแท้กว่าเขา นี้ละสินำผลมาหลายอย่าง ของต่างๆ หมากไม้ ก็มี ด้วยแผ่นดิน เมฆเมืองนั้น ได้ เทพดาเจ้า มหาศักดิ์ตนอาจ อาฮักขาอยู่เฝ้าแถวนั้นเขตเมือง นี้กะ ดีเหลือล้นฮักษาสุขยิ่ง นี้กะเป็นมิ่งบ้านเมืองแท้อย่างดี มันหากเหมิดท่อนี้ครองราชราชาฯ

บทกลอนนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเฟื่องฟูรุ่งเรืองทางวรรณคดีของชาวอีสานว่า มีอัจฉริยะ หรือเป็น เจ้าบทเจ้ากลอน เพียงใด แม้แต่จารีตประเพณีอันเป็นกรอบสำหรับประพฤติปฏิบัติของแต่ละบุคคล ตลอดจนกระทั่งกติกาในการปกครองบ้านเมือง สำหรับชนชั้นปกครอง ประดุจรัฐธรรมนูญ จารีตประเพณีของประเทศอังกฤษ ก็ยังจารึกไว้เป็นบทกลอน เพื่อที่จะให้เป็นภาษาที่สละสลวย แพร่หลาย จนซึมซาบเข้าถึงจิตใจของสมาชิกในสังคมทุกคนได้ง่าย

 ผู้ปกครอง | พระสงฆ์ - บุคคลทั่วไป


ฮีตสิบสอง | คองสิบสี่ | ระบบการปกครองของชาวอีสานโบราณ

isan governance 2

บุญประเพณีอีสานในรอบปี ฮีต ๑๒

บุญฮีต ๑๒ มาจากคำว่า "ฮีต" หรือ "จารีต" หมายถึง ความประพฤคิดี ธรรมเนียม ประเพณี ส่วน "๑๒" หมายถึง จำนวนเดือน ดังนั้น "ฮีต ๑๒" จึงหมายถึง ประเพณีที่ในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้ง ๑๒ เดือนในรอบปี ได้แก่ เดือนอ้าย-บุญเข้ากรรม เดือนยี่-บุญคูณลาน เดือนสาม-บุญข้าวจี่ เดือนสี่-บุญผะเหวด เดือนห้า-บุญสงกรานต์ เดือนหก-บุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ-บุญข้าวสาก เดือนสิบเอ็ด-บุญออกพรรษา เดือนสิบสอง-บุญกฐิน

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เป็นงานบุญประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของทางภาคอีสานที่สืบทอดมาจากบรรพกาล เช่น บุญข้าวจี่ บุญบั้งไฟ บุญเข้าพรรษา เป็นต้น

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม เป็นการผสมผสานพิธีกรรมเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นอีสานปฏิบัติสืบต่อกันมา

heet 12

ในสมัยโบราณอีสานนั้น การปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ผู้ปกครองจะต้องปฏิบัติตามจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมดั้งเดิม คนอีสานจะมี "ฮีต 12 คอง 14" ซึ่งมีความหมายคือ "ฮีต" คือ จารีตประเพณี ส่วน 12 หมายถึงเดือนในหนึ่งปีมี 12 เดือน ส่วน "คอง" คือ ครรลอง คลอง แบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิต คล้ายๆ กับคำฝรั่งคำหนึ่งที่ว่า "Way of life" ซึ่งมีจำนวน 14 ข้อ แต่คองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียง คลอง เป็น คอง ไม่มีกล้ำ เช่น ถ้าทำไม่ถูกไม่ต้อง ผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" (ทำไม่ถูกต้องตามครรลอง) หรือว่า "เฮ็ดหยังให้ถืก ให้ถือฮีตถือคอง" (ทำอะไรให้ถูกต้องให้ถือตามจารีตตามครรลอง) เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติได้ไม่มีล้าสมัย

bulletฮีตสิบสอง (ประเพณี 12 เดือน)

นบธรรมเนียมประเพณีของอีสานแตกต่างจากภาคกลางตรงที่ ขนบธรรมเนียมประเพณีของภาคกลาง ได้รับอิทธิพลจาก ศาสนาฮินดู และ คัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ ส่วน ขนบธรรมเนียมของอีสาน ได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง เข้าใจว่า วัฒนธรรมล้านช้างได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน นั่นคือ การเคารพบรรพบุรุษ ผีปู่ตา ผีแถน ผีฟ้า ผีตาแฮก (ผีนา ผีไร่) ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางจึงมีลักษณะเป็นแบบพราหมณ์มากกว่าพุทธศาสนา

ฮีตสิบสอง หรือ จารีตประเพณี ประจำสิบสองเดือน ที่สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วมชุมนุมกันทำบุญ เป็นประจำเดือนในทุกๆ เดือนของรอบปี "ฮีต" มาจากคำว่า "จารีต" ถือเป็นจรรยาของสังคม ถ้าฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง ผิดจารีต ซึ่ง ฮีตสิบสอง มีรายละเอียดดังนี้

3diamondเดือนเจียง (เดือนอ้าย)

นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแกนและผีต่างๆ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรม มันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็นสิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว "

บุญเข้ากรรม เป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ เพราะถือว่าได้บุญมาก

[ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]

 

3diamondเดือนยี่ (เดือนสอง)

ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้ อย่าได้ไลคองนี้ มันสิสูญเสียเปล่า ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง จงให้ฟังคองนี้แนวกลอนเฮาบอก อย่าเอาใด ดอกแท้เข็นฮ้ายแล่นเถิงเจ้าเอย "

หลังการเก็บเกี่ยวจะทำบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลาน นิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้ว ก็จะทำพิธีสู่ขวัญข้าว นอกจากนี้ ชาวบ้านจะเตรียม เก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน ดังคำโบราณว่า

.... เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้ว ให้นิมนต์พระสงฆ์ องค์เจ้ามาตั้งสวดมุงคูณเอาบุญคูณข้าว เตรียมเข้าป่าหาไม้เฮ็ดหลัว เฮ็ดฟืนไว้นั่นก่อน อย่าได้ หลงลืมถิ่น ฮีตของเก่าเฮาเดอ... "

3diamondเดือนสาม

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลยัง สินำค้ำตามเฮามื้อละคาบหากธรรมเนียมจั่งซี้มันแท้แต่นาน ให้ทำบุญไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อ เอย คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า บ้านเมืองเฮาสิเศร้า ภัยฮ้ายสิแล่นตาม "

ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ เดือนสาม) จะมีการทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา การทำบุญข้าวจี่ จะเริ่มตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นใส่น้ำอ้อย นำไปจี่บนไฟอ่อนแล้วชุบด้วยไข่ เมื่อสุกแล้วนำไป ถวายพระ ดังความว่า

.... พอเถิงเดือนสามคล้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ปั้นข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา..."

[ เรื่องที่เกียวข้อง การแห่มาลัยข้าวตอก ] [ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]

3diamondเดือนสี่

ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผา มาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้ อย่าได้ไลหนีเว้น แนวคอง ตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงซาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน มันสิหมองเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จนแท้แหล่ว "

ทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะพบพระศรีอริยะเมตไตย หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว จงอย่าฆ่าบิดามารดา สมณะ พราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุตส่าห์ฟังเทศนาเรื่อง พระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดียว เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำของมาถวายพระผู้เทศนาในช่วงเวลานั้น (ไม่เฉพาะเจาะจง) ซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มา หรือเคารพเลื่อมใสเป็นการเฉพาะ ก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจง หรือไม่? นั่นเอง

 [ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]

 

3diamondเดือนห้า

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ซาวเมือง จงพากันสรงน้ำขัดสีพุทธรูป ให้ทำทุกวัด แท้อย่าไลม้างห่างเสีย ให้พากันทำแท้ๆ ไผๆ บ่ได้ว่า ทุกทั่วทีปแผ่นหล้าให้ทำแท้สู่คน จั่งสิสุขยิ่งล้น ทำถืกคำสอน ถือฮีตคองควรถือแต่ปฐมพุ้น "

ตรุษสงกรานต์ หรือ บุญสรงน้ำ การสรงน้ำมีการสรง หรือรดน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้หลักผู้ใหญ่ ด้วยน้ำอบน้ำหอม เพื่อขอขมาและขอพร เป็นประเพณีอันดีงามควรรักษาไว้ มีการทำบุญถวายทาน การทำบุญสรงน้ำกำหนดเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า บางทีเรียกว่า บุญเดือนห้า ถือเป็นเดือนสำคัญ เพราะเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไทย (และใน สปป.ลาว ด้วย)

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ตำนานนางสงกรานต์ทั้งเจ็ด ] [ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]

 

3diamondเดือนหก

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนหกแล้วให้นำเอาน้ำวารีสรงโสก ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า เอาบุญไปเรื่อยๆ อย่าถอยหน้าหากสิเสีย "

เดือนหกทำบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน และจะมีงานบวชนาคพร้อมกันด้วย การทำบุญเดือนหกเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา หมู่บ้านใกล้เคียงจะนำ เอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยงโดยไม่คิด มูลค่า เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและรำเซิ้งออกไป ณ ลานที่จุดบั้งไฟ การเซิ้งจะกระทำด้วย ความสนุกสนาน ไม่มีการทะเลาะวิวาท คำเซิ้งและการแสดงประกอบจะออกไปในเรื่องเพศ แต่ก็ไม่ถือสา หรือคิดเป็นเรื่องหยาบคายแต่อย่างใด (ไปชมประเพณียิ่งใหญ่นี้ได้ที่จังหวัดยโสธร ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ส่วนการทำบุญวิสาขบูชานั้น ก็มีการทำบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ช่วงเย็น มีการเวียนเทียนเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง พิธีการขอฝนของฅนอีสาน ] [ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]

3diamondเดือนเจ็ด

ฮีตหนึ่งนั้น พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย ตลอดไปฮอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก ทั้งหลักเมืองสู่หนบูชาเจ้า พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า นิมนต์สังฆเจ้าขำระแท้สวดมนต์ ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกันอย่าได้ห่าง สูตรชำระเมืองอย่าค้างสิเสีย เศร้าต่ำศูนย์ ทุกข์สิแล่นวุ่นๆ มาโฮมใส่เต็มเมือง มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้า ให้เจ้าทำตามนี้ แนวเฮาสิกล่าว จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน ทุกข์หมื่นฮ้อยซั้นบ่มีว่าพาน ปานกับเมืองสวรรค์ สุขเกิ่งกันเทียมได้ "

เดือนเจ็ดทำบุญซำฮะ (ล้าง) หรือ บุญบูชาบรรพบุรุษ มีการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ปู่ตา ผีตาแฮก ผีเมือง เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ผีตาแฮกและดอนปู่ตา ] [ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]

 

3diamondเดือนแปด

ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนแปดได้ล้ำล่วงมาเถิง ฝูงหมู่สังโฆคุณเข้าวัสสาจำจ้อย ทำตาม ฮอยของเจ้าพระโคดมทำก่อน บ่ทะลอนเลิกม้างทำแท้สู่ภาย แล้วจงพากันผ่ายหาของไปเททอด ทำทานไปอย่าได้คร้านเอาไว้หมู่บุญ สิเป็นของหนุนเจ้าไปเทิงอากาศ สู่สวรรค์บ่ฮ้อนด้วยบุญนี้ส่งไป เพิ่นจึงตรัสบอกไว้ฮีตเก่าคองหลัง อย่าขาดได้ไปแท้สู่คน โอกาสนี้เพิ่นให้เที่ยวซอกค้นขุดก่นขุมบุญ เอาทุนไปภายหน้า เมื่อตายไปแล้วเป็นแนวนำเฮาขึ้นบันไดทองเทียวท่อง ขึ้นสู่ห้องชั้นฟ้าสวรรค์พุ้น อยู่เย็น ฝูงหมู่วิบากเว้นบ่มีว่าสิมาพาน เนาว์วิมานแสนทุกข์หายบ่มาใกล้ "

เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนาโดยตรง จึงคล้ายกับทางภาคอื่นๆ ของประเทศไทย เช่น มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร มีการฟังธรรมเทศนาตอนบ่าย ชาวบ้านหล่อเทียนใหญ่ถวายเป็นพุทธบูชา และเก็บไว้ตลอดพรรษา การนำไปถวายวัดจะมีขบวนแห่ฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความคึกคักสนุกสนาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ที่ยิ่งใหญ่แน่นอนต้องเป็นที่ จังหวัดอุบลราชธานี

[เรื่องที่เกี่ยวข้อง ประเพณีแห่เทียนพรรษา ] [ อ่านความรู้เพิ่มเติม

 

3diamondเดือนเก้า

ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนเก้าแล้วเป็นกลางแห่งวัสสกาล ฝูงประชาชนชาวเมืองก็เล่า เตรียมตัวพร้อม พากันทานยังเข้าประดับดินกินก่อน ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมอยู่ภาย ทำ จั่งซี้บ่ย้ายเถิงขวบปีมา พระราชาในเมืองก็จงทำแนวนี้ ฮีตหากมามีแล้ววางลงให้ถือต่อ จำไว้เด้อ พ่อเฒ่าหลานเว้ากล่าวจา "

ทำบุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษและผีไร้ญาติ โดยชาวบ้านจะทำการจัดอาหาร ประกอบด้วยข้าว ของหวาน หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองกล้วย ร้อยเป็นพวง เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล บางพื้นที่อาาจะนำห่อข้าวน้อย เหล้า บุหรี่ แล้วนำไปวางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้หรือที่ใดที่หนึ่ง พร้อมทั้งกล่าวเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษ และญาติมิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลในครั้งนี้ ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ำหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทน

[ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]  

 

3diamondเดือนสิบ

ฮีตหนึ่งนั้น เมื่อเทิงเดือนสิบแล้วทายกทอดบวยบาน เบิกพลีทำทานต่อมาสองซ้ำ ข้าว สลากนำไปให้สังโฆทานทอด พากันหวังยอดแก้วนิพพานพุ้นพ้นที่สูง ฝูงหมู่ลุงอาว์ป้าคณาเนือง น้อมส่ง ศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต พากันโมทนานำสู่คนจนเกลี้ยง "

เดือนสิบ ทำบุญข้าวสาก หรือ ข้าวสลาก (สลากภัตร) ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบ ผู้ถวายจะเขียนชื่อของตนลงในภาชนะที่ใส่ของทาน และเขียนชื่อลงในบาตร ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของใคร ผู้นั้นจะเข้าไปถวายของ เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว มีการฟังเทศน์ เป็นการอุทิศให้แก่ ผู้ตายเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน

[เรื่องที่เกี่ยวข้อง ประเพณีวันสาร์ทของชาวสุรินทร์ ] [ อ่านความรู้เพิ่มเติม

 

3diamondเดือนสิบเอ็ด

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็เป็นแวทางป่อง เป็นช่องของพระเจ้าเคยเข้าแล้ว อย่าเซา "

เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ทำการปวารณา คือการเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่ จะให้โอวาทเตือนพระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตนอย่างผู้ทรงศีลเป็นอันเสร็จพิธี พอตกกลางคืนมีการจุดประทีป โคมไฟ นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในวัดหรือตามริมรั้ววัด จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญจุดประทีป ในจังหวัดนครพนมจะมีประเพณีการไหลเหลือไฟ ซึ่งตกแต่งด้วยตะเกียงน้ำมันก๊าดเป็นรูปต่างๆ สวยงามกลางลำน้ำโขง

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง แห่ปราสาทผึ้ง ]  [ อ่านความรู้เพิ่มเติม ]

 

3diamondเดือนสิบสอง

ฮีตหนึ่งนั้น เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น เดือนนี้หนาวสะบั้นบ่คือแท้แต่หลัง ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ ซ่วงกันบูชา ฝูงนาโค นาคเนาว์ในพื้น ชื่อว่าอุชุพะนาโค เนาว์ ในพื้นแผ่น สิบห้าสกุลบอกไว้บูชาให้ส่งสะการ จงทำให้ทุกบ้านบูชาท่านนาโค แล้วลงโมทนาดอม ชื่นชมกันเล่น กลางเว็นกลางคืนให้ระงมกันขับเสพ จึงสิสุขอยู่สร้างสบายเนื้ออยู่เย็น ทุกข์ทั้งหลาย หลีกเว้นหนีห่างบ่มีพาน ของสามานย์ทั้งปวงบ่ได้มีมาใกล้ ไผผู้ทำตามนี้เจริญขึ้นยิ่งๆ ทุกสิ่งบ่ไฮ้ ทั้งข้าวหมู่ของ กรรมบ่ได้ถึกต้องลำบากในตัว โลดบ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้ มีแต่สุขีล้นครองคน สนุกยิ่ง อดในหลิงป่องนี้เด้อเจ้าแก่ชรา "

เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำบุญทอดกฐินกัน ตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบสอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่า บุญเดือนสิบสอง สำหรับประชาชนที่อาศัย อยู่ตามริมฝั่งน้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี จะมีการจัดส่วงเฮือ (แข่งเรือ) เพื่อระลึกถึง อุสุพญานาค ดังคำกลอนข้างต้น

บางแห่งทำบุญดอกฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าห่มกันหนาว ถวายพระเณร จะมีพลุตะไล จุดด้วย บางแห่งทำบุญโกนจุกลูกสาวซึ่งนิยมทำกันมากในสมัยก่อน

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ความหมาย ตำนาน ประเภทบุญกฐิน ] [ อ่านความรู้เพิ่มเติม

 

ประเพณีที่กล่าวมานี้ถือว่า เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่ เดือนอ้ายจนถึงเดือนสิบสอง ใครที่ไม่ไปช่วยงานบุญก็จะถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจ และยังไม่คบค้าสมาคมด้วย การร่วมประชุมทำบุญเป็นประจำเช่นนี้ จึงทำให้ชาวอีสานมีความสนิทสนมรักใคร่กัน ไม่เฉพาะแต่ในหมู่บ้านของตนเท่านั้น แต่ยังสร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย เพราะจะมีการบอกบุญที่จะเกิดขึ้นไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

new1234[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ผญาโบราณอีสาน : ฮีตสิบสอง ]

 สารคดีน่ารู้ "ฮีตสิบสอง"


ระบบการปกครองอีสานโบราณ | ฮีตสิบสอง | คองสิบสี่

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)