คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
นายเฉลิม นาคีรักษ์ เกิดวันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2460 ที่ บ้านขุหลุ ตำบลขุหลุ อาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายแดง นาคีรักษ์ และ นางค่า นาคีรักษ์ บิดามีอาชีพรับราชการ ส่วนมารดามีอาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 8 คน โดย นายเฉลิม นาคีรักษ์ เป็นคนสุดท้อง
นายเฉลิม นาคีรักษ์ ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษา จนจบชั้นประถม 3 ตามเกณฑ์ (ขณะนั้นได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาแล้ว) ที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลขุหลุ อาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2472 จากนั้นได้เข้าเรียนระดับมัธยมที่ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี และสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายในเวลาเพียง 5 ปี (เพราะสอบเลื่อนชั้นกลางปีได้ตอนเรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2) เมื่อ พ.ศ. 2476 และได้เข้าศึกษาต่อในระดับต่างๆ ดังนี้
นายเฉลิม นาคีรักษ์ ได้สมรสกับ นางสาวบรรจง ทวีพงษ์ เมื่อเดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2487 มีบุตรและบุตรีด้วยกัน 3 คน คือ นางสาวชมพูนุท นาคีรักษ์ นายธานี นาคีรักษ์ และนายนิมิต นาคีรักษ์
นายเฉลิม นาคีรักษ์ เป็นอาจารย์สอนวิชาศิลปะ ที่ วิทยาลัยเพาะช่าง เป็นเวลา 37 ปี มีลูกศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ได้รับราชการโดยตลอดมา จนได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่าง และได้เป็น คณบดีคณะศิลปกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเพาะช่าง เป็นคนแรก เมื่อเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ ในสถาบันดังกล่าว
นายเฉลิม นาคีรักษ์ เป็นครูผู้สอนวิชาศิลปะ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านจิตรกรรม ศิลปะสมัยใหม่ และแบบประเพณีประยุกต์ โดยยึดของเก่าเป็นหลัก จนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นต้นธารจิตรกรรมสีน้ำและสีน้ำมัน ในยุคแรกๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะจิตรกรรมสีน้ำ ภาพทิวทัศน์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสีม่วงอยู่ในบรรยากาศของภาพจิตรกรรมเสมอ
ได้รับการยอมรับนับถือในวงการศิลปะ และศิลปศึกษาโดยทั่วไป มีผลงานดีเด่นทั้งในแบบศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะแบบประเพณีประยุกต์ ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตและประเพณีไทย มีความยึดมั่นและศรัทธาในศิลปะ ได้สร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานเกือบ 50 ปี มีผลงานแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เคยได้รับรางวัลในการประกวดศิลปกรรมหลายครั้งและหลายแห่ง
งานศิลปะของ นายเฉลิม นาคีรักษ์ โดยหลักนั้นคือ งานจิตรกรรม ซึ่งมีทั้งแนวสากลสมัยใหม่ และแนวประเพณีประยุกต์ ส่วนเทคนิคที่ใช้มีทั้งสีน้ำมัน สีน้ำ สีฝุ่น และสีพลาสติก ส่วนเนื้อหาและเรื่องราวที่เขียนนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพหุ่นนิ่ง ภาพทิวทัศน์ ภาพบุคคล และภาพเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งผลงานเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานที่ดีเด่นเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ผลงานสำคัญที่ได้สร้างสรรค์ไว้ได้แก่ พระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระมหากษัตริย์ และเจ้านายในราชวงศ์จักรีอีกหลายพระองค์ ซึ่งประดิษฐานไว้ในสถานที่สำคัญต่างๆ หลายแห่ง เช่น ชุดพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ และที่กองบัญชาการทหารสูงสุด
ผลงานที่เป็นสีน้ำมันและสีน้ำที่ประชาชนทั่วไปได้พบเห็น (แต่อาจจะไม่รู้จักว่าใครเขียน) อีกมากมาย เช่น ภาพชุดประเพณี แรกนาขวัญ สงกรานต์ ลอยกระทง บุญบั้งไฟ แห่เทียน ฯลฯ ภาพชุดวิถีชีวิตสามัญชน เช่น การทำนา เกี่ยวข้าว ตำข้าว ทำกับข้าว กินข้าว ตักบาตร ทำบุญ ขบวนเกวียน ฯลฯ ภาพชุดการละเล่น เช่น แม่งู ตีวงล้อ ขี่ม้าก้านกล้วย รำเหย่ย รำกลองยาว ฯลฯ ภาพจินตนาการ เช่น ไทรโยค นางตานี หญิงสาว ภาพจากวรรณกรรม เช่น พระลอ ขุนแผน-นางพิม หนุมาน-สุพรรณมัจฉา ฯลฯ
นอกจากนั้น ยังเป็นผู้วาดภาพประกอบ และภาพหน้าปกหนังสือแบบเรียน เช่น หนังสือชุดนิทานร้อยบรรทัด ชุดนิทานนกกางเขน วารสารทางวิชาการอีกจำนวนมาก เช่น วารสารวิทยาศาสตร์ ดรุณสาร ชัยพฤกษ์ มิตรครู สารประชาชน และวิทยาจารย์ หนังสือชุดพุทธประวัติ ชุดเวสสันดรชาดก ขวัญใจ...ฉันรักเธอ หนังสือวรรณคดี เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ และอิเหนา และยังเขียนตำราศิลปะคือ "แบบเรียนวิชาศิลปศึกษาระดับประถม และมัธยม"
ภาพซ้าย "ไม่มีชื่อ" สีน้ำมันบนผ้าใบ 2499 ภาพขวา "สะพานโกลเดนเกต" สีน้ำมันจากสถานที่จริง 2523
ในฐานะศิลปินได้ร่วมในการแสดงผลงานมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น แสดงภาพศิลปินเดี่ยว ที่ ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา (2523) แสดงภาพกลุ่ม 4 ศิลปิน ที่ ลอสแองเจลิสและเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา (2525) แสดงภาพกลุ่มศิลปินอาวุโสไทยในญี่ปุ่น (2541) และการแสดงในประเทศอีกมากมายหลายครั้ง
นายเฉลิม นาคีรักษ์ ได้ให้หลักในการดำเนินชีวิต เพื่อบรรลุความสำเร็จของผู้หวังความก้าวหน้าไว้ 8 ประการ ซึ่งมีตัวย่อ 8 ตัวด้วยกัน คือ K A P I D E N G (กาปีเดง) จำยากเลยเรียกกันเพี้ยนๆ ไปว่า กาปิแดง เป็น กะปิแดง ของ อาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ จำได้ว่า ท่านนำมาสอนในตอนเรียนวิชาครู ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา ส่วนการพัฒนาการชีวิตและการอาชีพ เมื่อปีการศึกษา 2506 ท่านได้บอกให้ทราบว่า กะปิแดง คืออะไร ดังนี้
นอกจากท่านมีหลักในการดำเนินชีวิตแล้ว นายเฉลิม นาคีรักษ์ ยังมีอุดมการณ์ในการทางาน คือ “ชีวิตมุ่งมั่น สร้างสรรค์ งานศิลป์”
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)