prawat header

tai rom

3. ต้ร่ธิ

หลังจากใช้ชีวิตทางโลกอยู่หลายปี วันหนึ่งในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2482 ขณะนั้นนายชา อายุ 21 ปี ได้ตัดสินใจบอกความในใจของตนต่อบุพการี พ่อมาและแม่พิมพ์ ต่างปลาบปลื้มยินดีในเจตจำนงของบุตรชายที่ประสงค์จะออกบวช เพราะชาวพุทธมีคติว่า "การบวชพระให้ลูกชายเป็นบุญกุศลอันประเสริฐยิ่ง" จึงบอกข่าวแก่ญาติมิตรบ้านใกล้เรือนเคียง มาร่วมตระเตรียมงานบวชบุตรชายของตน พร้อมทั้งนำนายชาไปฝากเป็นนาคฝึกหัด และเรียนรู้ความเป็นอยู่ของพระ

ตะวันบ่าย 13.55 นาฬิกา ของวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 นายชา ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็น พระภิกษุชา มีฉายาว่า สุภัทฺโท (ผู้เจริญด้วยดี) โดยมี ท่านพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดก่อนอก ถึงสองพรรษา

lp cha 06

หลวงพ่อเคยพูดถึงความรู้สึกของท่านตอนบวชใหม่ๆ เพื่อให้เป็นคติแก่บรรดาสานุศิษย์ว่า "เราบวชมา ก็ไม่ได้ปรารถนาว่าจะมาอยู่อย่างนี้ ไม่ได้คิดว่าจะมาเป็นครูอาจารย์ใคร ไม่ได้นึกจะหนีจากวัฏสงสารอันนี้ ก็บวชธรรมดาไปอย่างนั้นแหละ... แต่พอบวชเข้ามาแล้ว ได้เรียน ได้ปฏิบัติ ก็เกิดศรัทธาขึ้น ครั้งแรกก็เกิดวิตกถึงความเป็นอยู่ของสัตว์โลกทั้งหลาย... น่าสลด สังเวช... คนเราเกิดมาแล้วประเดี๋ยวก็ตายไปทั้งนั้น ทิ้งบ้าน ทิ้งข้าวของให้ลูกหลานแย่งกัน ทะเลาะกัน เมื่อเราเห็นแล้ว ก็เข้าถึงจิตใจเรา เกิดสลดสังเวชในความเป็นอยู่ทั้งของคนจน คนรวย ทั้งคนโง่ คนฉลาด อยู่ในโลกก็เป็นอย่างนี้

ธรรมะหรือความรู้สึกนี้เต็มอยู่ในใจของเรา ไม่รู้จะพูดให้ใครฟัง เมื่อจิตมันตื่นขึ้นมาแล้ว อะไรก็ตื่นตาม พบสิ่งต่างๆ ก็ตื่นอยู่เสมอ เราสำนึกอยู่เสมอว่า เราได้รู้จักธรรมะ เรียกว่ามันสว่างขึ้นแล้ว ทำให้มองเห็นอะไรหลายๆ อย่าง เวลานั้นก็มีธรรมะ มีปิติอิ่มใจ ... และเมื่อยิ่งศึกษาไป.. ปฏิบัติไป ก็ยิ่งมีศรัทธา ยิ่งอิ่มใจยิ่งสงบ และมีปัญหามากขึ้นทุกที

พอออกพรรษา พระเณรที่บวชพร้อมๆ กันก็พากันสึก เรามองเห็นว่า เอ..ไอ้พวกนี้ มันยังไงกันหนอ แต่ก็ไม่ได้พูดกับเขา เพราะยังไม่ไว้ใจความรู้สึกของตัวเอง พวกที่จะสึก พากันตื่นเต้น บางทีก็เอาเครื่องแต่งตัวมาใส่ เราเห็นว่าพวกนี้ บ้าหมดแล้ว แต่เขาว่ามันดี มันสวย สึกแล้วจะต้องไปทำอย่างนั้น อย่างนี้ ตอนนั้นภายในใจเราคิดว่า นี่มันโง่มาก บวชมันบวชยาก สึกมันสึกง่าย พวกนี้บุญน้อยเห็นทางโลกมีประโยชน์มากกว่าทางธรรมะ เราก็เห็นไป แต่ไม่พูด ได้แต่มองจิตของตัวเอง ไม่กล้าพูดให้เพื่อนเขาฟังว่า คิดอย่างนั้น มันผิด ไม่กล้าพูด เพราะว่าตัวเราก็ยังเป็นของไม่แน่เหมือนกัน ไม่รู้ว่าศรัทธาของเราจะ ยั่งยืนยาวไปถึงขนาดไหน...

พอเพื่อนสึกไปแล้วก็ทอดอาลัย ไม่มีใครอยู่ด้วย ก็เอาหนังสือปาฏิโมกข์มาท่องสบาย ไม่มีใครมาล้อเลียนก็ตั้งใจว่า จะพยายามปฏิบัติ ให้มีความนึกคิดเห็นโทษเห็นภัยของโลก อยู่เสมอ ไม่ให้คลายความเพียร ไม่ให้เปลี่ยนศรัทธา จะให้มันสม่ำเสมออย่างนี้....... แต่ การบวช.... ไม่ใช่ทุกข์นะ ยิ่งพรรษาหนึ่งพรรษาสอง หรือเป็นพระหนุ่มเณรน้อยนี่ ยิ่งทุกข์ มาก ผมนี่มันเคยทุกข์มามาก ทุกข์กับอาหารการกิน นี่ก็ยิ่งทุกข์ อยากกินตำส้มมะละกอ อยากกินนั่น กินนี่ อยากกินทุกอย่างนั่นแหละ น้ำลายนี่ไหลยืดเลย คนกำลังกินกำลังนอน กำลังสนุก เอามายึด มาขังเอาไว้ มันก็ทุกข์มาก เหมือนกับน้ำกำลังไหลไปขวางเอาไว้ ยิ่งไปกันใหญ่ เอาได้ก็ดี เอาไว้ไม่ได้ก็พัง

บวชปีแรกไม่คอยได้อะไร มีแต่อยากกินนั่นกินนี่ วุ่นวายไปหมดแย่เหลือเกิน บางครั้ง นั่งคิดอยู่ เหมือนกับได้กินกล้วยจริงๆ รู้สึกเหมือนได้หักกล้วยเข้าปากอยู่อย่างนั้น.. มัน เป็นของมันเอง แต่ถ้าเราพิจารณาดีๆ เรื่องเหล่านี้ คือเรื่องของการปฏิบัติทั้งนั้น ยิ่งยาก ยิ่งลำบาก นั่นแหละดี สิ่งไหนไม่ยากไปทำมันทำไม ใครๆ ก็ทำได้หรอก... สิ่งที่ยากๆ คือการปฏิบัตินี่ต้องทำให้มันได้.. บางคนมาพูดว่า ถ้าออกบวชตั้งแต่อายุน้อยๆ ไม่ได้ สร้างครอบครัวเหมือนหลวงพ่อคงปฏิบัติง่าย ไม่ต้องคิดอะไรมาก ว่าไปนั่น คนพูดอย่างนี้ อย่ามาพูดอยู่ใกล้ๆ นะเดี๋ยวโดนไม้ตะพดหรอก... แหม พูดยังกับว่าเราไม่มีหัวใจ เรื่อง การปฏิบัติฝืนจิตใจตน ไม่ใช่เรื่องย่อยๆ นะ มันเรื่องของชีวิตทั้งชีวิตนั่นแหละ... "

sit stick relax

การจำพรรษาอยู่ที่วัดก่อนอก หลวงพ่อได้ศึกษาปริยัติธรรม และสอบนักธรรมตรีได้ในปีนั้น การเล่าเรียนทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ศรัทธาในพุทธประวัติและพระธรรมคำสอนยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ท่านตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า จะมอบชีวิตไว้ใต้ร่มโพธิญาณ หลวงพ่อเล่าถึงความรู้สึก ก่อนจะตัดสินใจอย่างนี้ว่า

ก่อนที่ผมจะปฏิบัติ ผมมีความคิดว่า ศาสนาตั้งอยู่ในโลกทำไม ? บางคนทำตาม บางคนไม่ทำ บางคนทำแบบนิดๆ หน่อยๆ แล้วเลิก หรือผู้ไม่เลิกก็ไม่ประพฤติปฏิบัติเต็มที่ นี่เป็นเพราะอะไร ก็ความไม่รู้นั่นเอง....

ผมจึงอธิษฐานในใจว่า เอาละชาตินี้ เราจะมอบกายใจอันนี้ให้มันตายไปชาติหนึ่ง แล้วจะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเลย จะทำให้มันรู้แจ้งในชาตินี้ แม้ว่าจะทุกข์ยากลำบากขนาดไหน ก็ต้องทำ... ไม่เช่นนั้นก็จะสงสัยอยู่เรื่อยไป ทำไมมันยุ่งยากนัก วัฏสงสารนี้... "

redline

arr 1larr 1uarr 1r