foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

siton manorah header

รรณกรรมอีสานเรื่อง "ท้าวสีทน" ก็คือเรื่อง "พระสุธน-มโนราห์" ที่แพร่กระจายไปทั่วในทุกภาคของประเทศไทย การกระจายไปยังท้องถิ่นต่างๆ จึงทำให้เกิดการประพันธ์ขึ้นด้วยภาษาถิ่นนั้นๆ และฉันทลักษณ์ในแบบของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ในภาคเหนือก็ประพันธ์เป็น "คร่าวซอ" ชื่อว่า "เจ้าสุธน" ภาคกลางประพันธ์เป็น "บทละครนอก" ชื่อว่า "นางมโนราห์" แต่แต่งได้ไม่จบเรื่อง พระยาอิสรานุภาพ จึงได้ประพันธ์เป็นคำฉันท์ชื่อว่า "พระสุธนคำฉันท์" ส่วนภาคใต้ก็ประพันธ์เป็น "กลอนสวด" (กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์) ชื่อว่า "มโนราห์รานิบาต" และมีสำนวนที่ใช้แสดงมโนห์รา หรือโนราอีกหลายสำนวน

ส่วนในภาคอีสานแต่งเป็น "โคลงสาร" ซึ่งบางคนเรียก "กลอนลำ" ชื่อว่า “ท้าวสีทน” หรือ "ท้าวสีทนต์" หรือ "สีทนมโนราห์" และยังพบว่า มีชาวไทยในสิบสองปันนา รัฐคุนหมิง ของประเทศจีน ก็มีวรรณกรรมเรื่อง พระสุธนมโนราห์ ด้วย แต่จะเรียกอีกชื่อว่า “นางมโนราห์” ซึ่งเมื่อครั้งที่ผู้เขียนไปเที่ยวเมืองสิบสองปันนาก็ได้ชมชุดการแสดงที่ศูนย์การแสดงชื่อ "พาราณสี" ที่มีการแสดงเรื่องราวต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ ชุดระบำนกยูง (สิบสองปันนา เมืองแห่งนกยูง มีสวนสัตว์นกยูงให้เราได้ชมด้วย) เมื่อสอบถามรายละเอียดจากไกด์ได้ความว่า เป็นการแสดง "ร่ายรำของเหล่ากินรี" ซึ่งก็คือ "นางมโนราห์" แบบจีนที่อ่อนช้อยสวยงามนั่นเอง

siton manorah 05

ส่วนต้นฉบับเรื่อง "ท้าวสีทน" ฉบับภาคอีสานแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะการประพันธ์เป็นโคลงสาร หรือกลอนลำ ซึ่งพระภิกษุนิยมนำมาเทศน์ เพราะชาวอีสานถือว่าเป็น "ชาดก" (คือชาดกนอกนิบาต) เพราะในต้นฉบับกล่าวว่า ท้าวสีทน (หรือ พระสุธน) เป็นชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า และตอนจบเรื่องก็มีการประมวลชาดกที่กล่าวว่า ตัวละครตัวใดบ้างกลับชาติมาเป็นพระพุทธเจ้าพระชาติในปัจจุบัน ที่ภาคอีสานเรียกกันว่า “ม้วนชาดก” เรื่อง "ท้าวสีทนมโนราห์" ฉบับภาคอีสาน ที่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปนั้น ต้นฉบับที่ใช้เรียบเรียงก็คือ การถอดมาจากต้นฉบับใบลานมาเป็นอักษรไทย ที่ได้มีการพิมพ์เผยแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ก็คือ งานปริวรรตของ พระอริยานุวัตร เขมจารี (2513) เป็นหนังสือที่พิมพ์ต้นฉบับภาคอีสานเรื่อง “สีทน มะโนราห์” เป็นสำนวนวรรณคดีเก่าแก่ที่นักปราชญ์แต่ก่อนได้แต่งเป็นค้ากลอนเอาไว้ เพียงแต่ไม่ทราบว่าแต่งขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้แต่ง แต่มีการสันนิษฐานว่า อาจแต่งในต้นสมัยอาณาจักรล้านช้าง เพราะมีทั่วๆ ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางฉบับสำนวนจะแตกต่างกันบ้างแต่ก็เล็กน้อย เพราะอาจเกิดจากจากคัดลอกต่อๆ กันมา รวมทั้งชื่อตัวละครที่อาจจะเขียนไม่เหมือนกัน แต่ท้ายที่สุดก็สรุปความอย่างเดียวกัน

Dai Lue Movie : เจ้าสุธุน - นางมโนรา
เป็นภาพยนตร์เรื่องราวของ "ท้าวสุทน-นางมโนรา" สำนวนไตลื้อ

ในบทความที่จะเล่าต่อไปนี้ จะนำเสนอเพียง 2 สำนวน คือ สีทน-มโนราห์ ฉบับปริวรรตจากอักษรธรรม 4 ผูก วัดบ้านแดงหม้อ กับอีกสำนวนหนึ่งจากการศึกษาวิจัยเรื่อง ท้าวสีทน-มโนราห์ : ชาดกพื้นบ้านอีสานกับการสร้างพื้นที่ทางสังคมในชุมชนลุ่มน้าโขง ดังนี้

สำนวนที่ 1 สีทน-มโนราห์

ปริวรรตจาก อักษรธรรม 4 ผูก วัดบ้านแดงหม้อ ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
จาก การศึกษา รวบรวม และจัดสร้างฐานข้อมูลใบลานจังหวัดอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยังมีนครเป็งจาล (เปงจาน) มีกษัตริย์ชื่อ ท้าวอาทิตราช พระโพธิสัตว์ได้จุติในครรภ์พระเทวีของพระองค์ เมื่อประสูติแล้วทรงพระนามว่า "สีทนต์" ในตอนประสูติมามี "ธนู" อาวุธประจำพระองค์ติดตัวมาด้วย แสดงถึงความเป็นผู้มีบุญบารมี

มีนายพรานคนหนึ่งไปล่าสัตว์ที่ป่าหิมพานต์ ไปช่วยกิตตินาคราชให้พ้นจากการคุกคามของยักษ์ นายพรานไปพบนางกินรี ชื่อ มโนราห์ และพี่ของนางรวม 7 คน มาเล่นน้ำในสระริมเขาไกรลาส นายพรานจึงยืมเอา "บ่วงบาศ" จากพระยานาคที่ตนช่วยชีวิตไว้ แล้วนำนางไปถวายท้าวสีทนต์ ท้าวสีทนต์ยกนางไว้ในตำแหน่งมเหสี

ต่อมามีโจรมารุกรานนอกเมือง ท้าวสีทนต์จึงลานางมโนราห์ไปปราบโจร ท้าวอาทิตราชได้พระสุบินว่า ไส้ได้ไหลออกจากท้อง จึงให้หมอโหรมาทายดู หมอโหรทายว่า จะต้องเอาเนื้อนางมโนราห์เซ่นผีบ้านผีเมือง นางจึงทำอุบายขอปีกหางจะรำให้ดู แล้วนางก็บินหนีไปยังเขาไกรลาส เมืองภูเงิน

siton manorah 06

ท้าวสีทนต์ไปปราบโจร 3 เดือน จึงสำเร็จ กลับมาไม่พบนางมโนราห์จึงออกตามหา ท้าวสีทนต์ไปตามหานางด้วยความยากลำบาก ไปพบพระฤาษีที่นางมโนราห์ฝากแหวนไว้ พระฤาษีชี้ทางไป และแนะนำเช่น การกินผลไม้ให้กินตามนก จะพบเส้นทางยากลำบาก ให้ปราบด้วยมะนาวเสก ต่อมาพบยักษ์สูงเจ็ดชั่วลำตาลให้ใช้ปืนยิง และข้ามแม่น้ำที่มีงูจงอาง งูเหลือม งูทำทาน เป็นแม่น้ำที่มีพิษ พ้นจากตรงนั้นจะต้องเกาะหลังนกอินทรีย์ ไปจนกว่านกอินทรีย์จะพนบินไปถึงป่าหิมพานต์ของนาง ในที่สุดท้าวสีทนต์ก็ได้พบกับนางมโนราห์ดังปรารถนา

siton manorah 11

สำนวนที่ 2 จากนิทานชาดกลุ่มน้ำโขง

จากงานวิจัย : ท้าวสีทน-มโนราห์ : ชาดกพื้นบ้านอีสานกับการสร้างพื้นที่ทางสังคมในชุมชนลุ่มน้าโขง
วิทยานิพนธ์ ของ ประณิตา จันทรประพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มืองอุดรจัญจาล มี ท้าวอาทิจจวงศ์ เป็นผู้ครองเมือง มีมเหสีนามว่า จันทาเทวี มีพระโอรส 1 องค์ นามว่า สุธนกุมาร เมื่อสุธนกุมารเจริญวัยได้ศึกษาศิลปศาสตร์จนเชี่ยวชาญ ทิศตะวันตกของเมืองอุดรปัญจาลมีพญานาคชื่อ ชมพูจิตร อาศัยอยู่ในสระใหญ่ และเป็นที่สักการะของชาวเมือง เพราะเชื่อว่าด้วยอำนาจของพญานาคจึงทำให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ปราศจากอันตราย

siton manorah 09

เมืองมหาปัญจาล อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองอุดรปัญจาลได้เกิดเภทภัยแห้งแล้ง ชาวเมืองจึงพากันอพยพไปอยู่ที่เมืองอุดรปัญจาล ทำให้กษัตริย์ของเมืองมหาปัญจาลเกิดความสงสัย จากนั้นจึงทราบว่าต้นเหตุนั้นมาจาก พญานาคชมพูจิตร ที่ชาวเมืองเชื่อกันว่า เหตุที่ปัญจาลนครอุดมสมบูรณ์เป็นเพราะอำนาจของพญานาค จึงได้ประกาศหาพราหมณ์ผู้มีเวทมนตร์ไปฆ่าพญานาคชมพูจิตร

เมื่อเมืองมหาปัญจาลส่งพราหมณ์ผู้มีเวทมนตร์มาที่อุดรปัญจาล ก็ทำพิธีเพื่อฆ่าพญานาคชมพูจิตร ฝ่ายพญานาคชมพูจิตรก็ทนอยู่เมืองบาดาลไม่ได้จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์ แล้วไปซ่อนตัวอยู่ที่ขอบสระ จากนั้นได้เจอกับ พรานบุณฑริก และเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟัง และขอให้พรานบุณฑริกช่วยเหลือตนให้พ้นจากเวทมนตร์ของพราหมณ์แห่งเมืองมหาปัญจาล

siton manorah 04

ขณะที่พราหมณ์แห่งเมืองมหาปัญจาลทำพิธี เพื่อจะจับพญานาคชมพูจิตร พรานบุณฑริกจึงยิงพราหมณ์ด้วยธนู จากนั้นจึงบังคับให้คลายมนตร์ และฆ่าพราหมณ์ ณ ที่นั่น หลังจากที่พรานบุณฑริกได้ฆ่าพราหมณ์แล้ว พญานาคชมพูจิตรก็พานายพรานไปยังเมืองบาดาล และบำรุงบำเรอให้มีความสุข พรานบุณฑริกอยู่ที่เมืองบาดาลได้เพียง 7 วันก็ลากลับ พญานาคชมพูจิตรจึงตอบแทนด้วยแก้วแหวนเงินทองจำนวนมาก พร้อมกับสั่งว่า หากพรานบุณฑริกต้องการความช่วยเหลือก็ให้มาบอก

วันหนึ่ง นายพรานบุณฑริกไปล่าสัตว์ในป่า ได้พบกับ พระกัสสปฤษี ซึ่งมีอาศรมอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง และทราบจากฤาษีว่า ในวันขึ้น 15 ค่่ำ จะมีบรรดานางกินรีมาอาบน้ำในสระ เมื่อนายพรานทราบเช่นนั้นจึงไปแอบซุ่มดูอยู่ที่ริมสระ ฝ่ายนางกินรีทั้ง 7 ธิดาท้าวทุมราช พร้อมบริวารก็พากันมาอาบน้ำในสระ จนบ่ายคล้อยจึงบินกลับ นายพรานเมื่อเห็นรูปร่างของนางกินรีก็คิดพาอยากจะได้ไปถวายพระสุธน จึงกลับมาปรึกษาพระฤาษี พระฤาษีจึงแนะนำว่า มีแต่นาคบาศของพญานาคเท่านั้นที่จะจับกินรีได้

siton manorah 03

นายพรานไปอ้อนวอนขอยืมบ่วงนาคบาศจากพญานาคชมพูจิตร ด้วยเหตุที่นายพรานเคยช่วยชีวิตตนเอาไว้ จึงให้บ่วงนาคบาศแก่นายพราน เมื่อได้บ่วงนาคบาศจากพญานาคมาแล้ว ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เหล่านางกินรีพาอาบน้ำที่สระแห่งนั้นอีก พรานบุณฑริกจึงแอบซุ่มอยู่ริมสระ จากนั้นเมื่อได้โอกาสจึงปล่อยบ่วงนาคบาศไปคล้องนางมโนราห์ ทำให้บรรดากินรีนางอื่นๆ แตกตื่นบินหนีกลับเมืองไกรลาศ และทูลเท้าทุมราชและนางเทพกินรีให้ทราบเหตุ เมื่อนางเทพกินรีทราบเช่นนั้นก็พาบริวารออกตามหานางมโนราห์

กล่าวถึงพรานบุณฑริกเมื่อเก็บปีกและหางนางมโนราห์แล้ว ก็เปลื้องนาคบาศจากตัวนาง และพานางเดินจากป่าหิมพานมาจนถึงเมืองอุดรปัญจาล ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระสุธนเสร็จประพาสอุทยาน พระสุธนทอดพระเนตรเห็นนางมโนราห์ก็เกิดความรักใคร่ จากนั้นจึงเรียกนายพรานมาถาม พรานเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้พระสุธนฟัง และถวายนางแก่พระสุธน หลังจากที่พระสุธนรับนางมโนราห์ไว้ ได้ให้คนสนิทไปทูลบิดามารดาให้ทรงทราบ เมื่อบิดามารดาทราบเช่นนั้นจึงเสร็จออกไปจัดพิธีอภิเษกให้ ณ ตำหนักอุทยาน แล้วรับพระสุธนกับนางมโนราห์กลับเข้าพระนคร

siton manorah 07

มเหสีท้าวทุมราชและบริวารบินตามหานางมโนราห์มาจนถึงสระโบกขรณี พบแต่แหวนที่นางถอดวางไว้ จึงเก็บกลับไปเมืองไกรลาศ

ในราชสำนักของพระสุธนมีพราหมณ์ผู้หนึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระสุธน พระสุธนได้ให้คำมั่นสัญญากับพราหมณ์ว่า เมื่อพระองค์ได้ครองราชย์จะให้พราหมณ์ผู้นั้นดำรงตำแหน่งปุโรหิต เป็นเหตุให้ปุโรหิตที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงอาฆาตพระสุธน ถึงขั้นใส่ความว่า พระสุธนคิดกบฏ แต่ท้าวอาทิจจวงศ์ไม่เชื่อ

มีข้าศึกยกมาตีเมืองอุดรปัญจาล ปุโรหิตยุยงท้าวอาทิจจวงศ์ให้พระสุธนไปรบ พระสุธนสารารถปราบฆ่าศึกและได้ชัยชนะ ในวันที่พระสุธนได้รับชัยชนะนั้น ท้าวอาทิจจวงศ์ทรงพระสุบินว่า พระอันตะไหลออกมากองรอบจักรวาลได้ 3 รอบ แล้วหดหายเข้าไปในพระอุระดังเดิม

ท้าวอาทิจจวงศ์ให้ปุโรหิตมาทำนายความฝัน ปุโรหิตเห็นโอกาสที่จะแก้แค้นพระสุธนจึงทำนายว่า เป็นฝันร้ายจะเกิดภัยอันตรายใหญ่หลวง และทูลให้ทำพิธีบูชายัญด้วยสัตว์ 2 เท้าและสัตว์ 4 เท้า รวมทั้งนางกินรี และทูลว่า ต้องนำตัวนางมโนราห์มาบูชายัญด้วย แต่เท้าอาทิจจวงศ์ไม่ยอม ปุโรหิตจึงกราบทูลถึงความจำเป็นโดยอ้างเหตุผลต่างๆ จนท้าวอาทิจจวงศ์ต้องยอม เมื่อนางมโนราห์ทราบข่าวร้ายจากสาวใช้ก็ตกใจ รีบไปทูลนางจันทาเทวีให้ช่วย นางจันทาเทวีจึงทูลทัดทานท้าวอาทิจจวงศ์แต่ก็ไม่เป็นผล

siton manorah 02

เมื่อใกล้ถึงเวลาทำพิธีนางมโนราห์คิดอุบายขอปีกหางและเครื่องประดับ อ้างว่าจะทำการร่ายรำถวาย เมื่อนางจันทาเทวีดูจนเพลิน ขณะนั้นราชบุรุษจะเข้ามาจับตัวนาง นางก็บินหนีออกไปทางช่องพระแกล นางมโนราห์บินไปถึงป่าหิมพานต์ก็แวะไปหากัสสปฤษี แล้วสั่งความไว้ว่า ถ้าพระสุธนตามถึงที่นี่ให้ทัดทานไว้ เพราะหนทางข้างหน้าทุระกันดารเต็มไปด้วยภัยอันตราย นางจึงฝากภูษาและธำรงค์ไว้ให้พระสุธน

จากนั้นเมื่อนางนึกได้ว่า พระสุธนคงไม่ฟังคำทัดทานและจะออกติดตามหานางให้จงได้ นางจึงบอกทางแก่ฤาษีให้บอกพระสุธนว่า ทางไปเมืองไกรลาศนั้นเต็มไปด้วยภัยอันตรายต่างๆ พร้อมวิธีแก้ไขโดยละเอียดว่า เมื่อพ้นทางที่มนุษย์จะไปได้แล้วจะถึงป่าไม้ที่มีผลเป็นพิษให้พระสุธนจับลูกวานรไปด้วย เพื่อจะได้เลือกกินผลไม้ที่ไม่เป็นพิษ จากนั้นจะถึงป่าหวายทึบให้พระสุธนใช้ภูษาคลุมกาย และนอนให้ "นกหัสดีลิงค์" มาโฉบข้ามป่าไป เมื่อข้ามไปได้แล้วให้ทำเสียงดังให้นกตกใจบินหนี และเดินทางต่อไปจะพบช้างสารต่อสู้กันขวางทางอยู่ ให้พระสุธนใช้ผงยาทาให้ทั่วกายแล้วร่ายมนตร์เดินลอดระหว่างขาช้างไป จากนั้นจะถึงภูเขา 2 ลูก โน้มยอดกระทบกัน ให้พระสุธนใช้มนตร์เพื่อภูเขาจะได้แยกเป็นช่อง แล้วให้รีบเดินผ่าน จากนั้นจะผ่านไปถึงที่อยู่ของหมู่ผีเสื้อน้ำ ให้ร่ายมนตร์ก็จะผ่านไปได้ เมื่อเดินทางต่อไปจะผ่านป่าหญ้าคา ภูเขาทอง ภูเขาเงิน ป่าหญ้า ป่าไม่ไผ่ ป่าดงอ้อ และจะถึงป่าทึบที่มีสระน้ำลึกเต็มไปด้วยงูพิษ ริมสระนั้นก็เป็นภูเขายากที่จะผ่านไปได้ แต่ถ้าพระสุธนผ่านไปได้ก็จะถึงดงดอนใหญ่ที่นั่นจะมียักษ์สูงใหญ่ ให้พระสุธนใช้ยาผงโรยที่ลูกศรยิงให้ถูกอกยักษ์ เมื่อยักษ์ล้มให้เดินไปทางหัวยักษ์ก็จะพบแม่น้ำ ที่มีงูเหลือมทอดกายเหมือนสะพานทอดข้ามแม่น้ำ จากนั้นก็ถึงป่าหวายจะมีพญานกทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่ในป่าหวาย ให้พระสุธนไปซ่อนอยู่ในรังนก เพื่อจะได้อาศัยเกาะขนนกพามาจนถึงเมืองไกรลาศ เมื่อสั่งความทุกสิ่งอย่างแล้ว นางมโนราห์ก็จดมนตร์ลงบนใบไม้ฝากไว้พร้อมกับห่อยา และนางก็ลาพระกัสสปฤษีบินกลับเมืองไกรลาศ

ฝ่ายพระสุธนเมื่อมีชัยแก่ฆ่าศึกก็ยกทัพกลับอุดรปัญจาล เมื่อถึงพระนครก็ทรงทราบเรื่องราวจากนางจันทาเทวีว่า นางมโนราห์จะถูกจับบูชายัญนางจึงบินหนีไป พระสุธนให้นายพรานบุณฑริกนำทางไปที่อาศรมฤาษี เมื่อถึงอาศรมแล้วให้นายพรานกลับ ส่วนพระองค์เองเข้าไปถามถึงนางมโนราห์ กัสสปฤษีมอบธำรงและภูษาที่นางมโนราห์ฝากไว้แก่พระสุธน พร้อมบอกความตามที่นางสั่งห้ามไม่ให้ตามไป แต่พระสุธนยังยืนยันที่จะติดตาม ฤาษีจึงบอกอุบายแก้ภัยอันตรายต่างๆ และมนตร์ที่นางมโนราห์ฝากและจดไว้ให้พระสุธน ดังที่นางบอกไว้ทุกประการ จากนั้นฤาษีมอบยาแล้วชี้เส้นทางที่นางไป เมื่อทราบความสิ้นแล้วพระสุธนจึงจับลูกวานรมาตัวหนึ่ง แล้วลากัสสปฤษีเดินทางตามเส้นทางและสถานที่ต่างๆ ที่นางบอกไว้

siton manorah 01

พระสุธนได้เดินทางตามทางทุรกันดารพบภัยอันตรายต่างๆ และสามารถรอดพ้นด้วยอุบายที่นางมโนราห์บอกไว้ทุกประการ พระสุธนใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้นเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน และ 7 วัน พระสุธนเดินทางถึงป่าหวายที่มีหนามแหลมคม จึงห้อยโหนขึ้นไปบนต้นไม้ที่อยู่ระหว่างป่าหวาย ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำ ไม่รู้ว่าจะเดินทางต่อไปแห่งหนใด ก็เกิดความรันทดท้อพระทัยนึกถึงตนเองที่ได้ละทิ้งบิดามารดา จึงต้องมาทนทุกข์ยากลำบาก เพราะหลงรักผู้หญิงจึงรำพันออกมาว่า “เราอาศัยอีผู้หญิงจึงมาละทิ้งบิดามารดาผู้มีบุญคุณได้มาเสวยทุกข์ลำบากอย่างใหญ่คราวนี้ เราจะไปทางไหนได้"

ขณะพระสุธนกันแสงอยู่ ก็ได้ยินเสียงพญานกซึ่งอาศัยอยู่บนต้นไม้พูดคุยกันว่า "พรุ่งนี้ ที่เมืองไกรลาศจะมีพิธีชำระมลทินล้างกลิ่นสาบมนุษย์ให้แก่นางมโนราห์ เนื่องจากถึงกำหนดวันคำรบ 7 ที่นางหนีกลับมาจากเมืองมนุษย์ จะมีงานสมโภชทำขวัญนาง เราจะพากันไปกินเครื่องพลีกรรมในเมืองนั้น" เมื่อพระสุธนได้ยินเช่นนั้น ก็คลานเข้าไประหว่างซอกขนพญานก ผูกตนไว้กับขนปีกอย่างมั่นคง และคอยอยู่จนรุ่งเช้าพญานกก็พากันบินไปเมืองไกรลาศ เมื่อใกล้จะถึงเมืองไกรลาศก็ร่อนลงยังขอบสระใหญ่ พระสุธนได้โอกาสรีบแก้มัดออกแล้วแอบเข้าไปซ่อนตนอยู่ริมสระแห่งนั้น

สาวใช้ของนางมโนราห์พากันมาตักน้ำที่สระและสนทนากัน พระสุธนซึ่งแอบอยู่ริมสระได้ยินเข้าก็ปรารถนาจะทราบเรื่อง จึงอธิษฐานว่า ขออย่าให้นางกินรีคนสุดท้ายยกหม้อน้ำขึ้นได้ ด้วยอำนาจแรงอธิษฐานทำให้กินรีนางสุดท้ายไมสามารถยกหม้อน้ำขึ้นได้ เมื่อเหลียวมาพบพระสุธนจึงขอความช่วยเหลือ พระสุธนจึงไต่ถามจึงทราบว่า นางมาตักน้ำเพื่อจะไปสรงนางมโนราห์ชำระกลิ่นสาบมนุษย์ พระสุธนจึงถอดธำรงค์หย่อนลงในหม้อน้ำ แล้วยกให้นางกินรีผู้นั้นรับไป

ฝ่ายนางมโนราห์ถึงเวลาเข้าที่สรง ก็รับหม้อน้ำมารด ครั้นถึงหม้อที่มีธำรงค์สาวใช้ได้รดลงที่ศีรษะนางมโนราห์ พระธำรงค์ก็เลื่อนมาสวมอยู่ที่นิ้วก้อยของนาง นางจึงรู้ว่า พระสุธนติดตามมาถึงแล้ว

siton manorah 06

เมื่อเสร็จพิธีสรง ก็เรียกนางสาวใช้มาถาม สาวใช้ก็ทูลให้ทราบ นางมโนราห์จึงจัดผ้าทรงกับเครื่องกระยาหารให้นำไปถวายพระสุธน แล้วนางมโนราห์ก็ไปทูลนางมารดาและบิดาให้ทราบ ท้าวทุมราชผู้เป็นบิดาทราบเรื่องราวจึงรับสั่งถามถึงพระสุธน นางมโนราห์ทูลถึงความเก่งกล้าสามารถของพระสุธน ท้าวทุมราชจึงถามด้วยความสงสัยว่า ทำไมนางจึงหนีมา นางมโนราห์ก็เล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทรงทราบ ท้าวทุมราชจึงถามต่อว่า หากพระสุธนเป็นผู้ที่มีความเก่งกล้าสามารถจริง เหตุใดจึงไม่ติดตามนางมา นางมโนราห์จึงได้โอกาสทูลว่า ขณะนี้พระสุธนได้ติดตามมาถึงเมืองไกรลาศแล้ว ท้าวทุมราชจึงให้ไปรับพระสุธนเข้ามาในเมือง และถามถึงการเดินทาง พระสุธนก็เล่าถวายให้ทรงทราบทุกประการ

ท้าวทุมราชให้ประชุมเทวดาและคนธรรพ์แล้วให้พระสุธนทดลองธนูฤทธิ์ โดยยิงธนูทะลุผ่านเครื่องกีดขวาง คือ ต้นตาล กระดานไม้มะเดื่อ เสาหิน แผ่นเหล็ก แผ่นทองแดง และเกวียนบรรทุกทราย ที่วางซ้อนกัน 7 ระยะ และให้ยกศิลาแท่งใหญ่ ซึ่งบุรุษพันหนึ่งจะยกไหว พระสุธนก็สารารถกระทำได้ พวกเทวดา คนธรรพ์ กินนร ที่มาประชุมก็แซ้ซ้องสาธุการชมฤทธิ์พระสุธน ท้าวทุมราชก็ประสงค์จะลองใจพระสุธน จึงให้แต่งธิดาทั้ง 7 องค์ มานั่งเรียงกัน และให้พระสุธนเข้าไปชี้ว่า มเหสีของพระองค์คนไหน หากเลือกถูกจะให้อภิเษก พระสุธนเมื่อเห็นรูปร่างนางทั้ง 7 เหมือนกันหมดจึงไม่อาจเลือกได้

ด้วยอ้านาจความสัตย์ของพระสุธนร้อนถึงพระอินทร์ พระอินทร์จึงจ้าแลงเป็นแมลงวันทองมาจับที่ผมของนางมโนราห์ พระสุธนจึงชี้ตัวถูก ท้าวทุมราชจึงจัดงานอภิเษกให้ อยู่มาวันหนึ่งพระสุธนปรารถนาจะกลับไปยังเมืองอุดรปัญจาล นางมโนราห์จึงขอติดตามไปด้วย จึงได้ไปกราบทูลท้าวทุมราชให้ทราบ ท้าวทุมราชก็ใคร่จะไปยังโลกมนุษย์ด้วย

siton manorah 10

ท้าวทุมราชจัดเตรียมไพร่พลเหาะไปยังอุดรปัญจาล เมื่อไปถึงก็ตั้งพลับพลาใกล้อุดรปัญจาล ฝ่ายท้าวอาทิจจวงศ์ครั้งเห็นพลับพลาและไพร่พลมากมายเช่นนั้นก็คิดว่า มีข้าศึกมาล้อมเมือง จึงตกพระทัยไม่รู้จะคิดอ่านอย่างไร พระสุธนเกรงว่า พระบิดาจะเข้าพระทัยผิด จึงพาบริวารเข้าไปกราบทูลให้ผู้เป็นพ่อทรงทราบทั้งหมด ตลอดจนพานางมโนราห์กลับมา

หลังจากที่ท้าวทุมราชลากลับไปยังนครไกรลาศแล้ว ท้าวอาทิจจวงศ์ก็มอบราชสมบัติแก่พระสุธน ส่วนพระองค์เองเสด็จออกบรรพชาเป็นดาบส พระสุธนก็ครอบครองราชย์สมบัติเป็นสุขสืบต่อมา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลก

thongkam pengdee 05

นอกจาก 2 สำนวนนี้ก็มีสำนวนอื่นๆ อีกหลายสำนวนซึ่งมีเค้าโครงเรื่องเหมือนกัน แต่ชื่อเมือง ตัวละคร อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง อาจจะคล้ายคลึงแต่ก็เขียนแตกต่างกัน สำหรับผู้เขียนเองนั้นชินกับสำนวนที่เป็นหมอลำของคณะดังแห่งภาคอีสาน คือ หมอลำคณะรังสิมันต์ ของพระเอกทองคำ เพ็งดี และนางเอกฉวีวรรณ ดำเนิน และนางเอกบานเย็น รากแก่น มากกว่าครับ

หมอลำคณะรังสิมันต์ - ศรีธนมโนห์รา

new1234สนใจกลอนลำยาวศรีธนมโนห์รา คลิกไปอ่านที่นี่ครับnew1234

redline

backled1

 

isan thai words

ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

คำที่น่าสนใจนำมาเสนอในวันนี้คือ...

แล้ง-ฮน-อนธการ-นางสังขาร-โจก-ป่อง-ปล่องเอี้ยม

แล้ง

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "แล้ง"

บ่มีไผถามดอกคำนี้ แต่อากาศกระท่อมฮิมมูลของอ้ายทิดหมู (ณ เวลาที่เขียน) นั่นมันฮ้อนฮนหลาย ภาษาลาว ຮ້ອນ (ฮ้อน) ลมพัดมากะมีแต่ไอแดดฮ้อน ย้อนว่าเป็นยามแล้งละเนาะ

แล้ง ว. แห้ง ไม่มี เปล่า นอนไม่มีคู่เคียง เรียก นอนแล้ง อย่างว่า ภูวนาถท้าวเนาแล้งต่างแลง (ฮุ่ง) ข้าวขาดแลง แกงขาดหม้อ เรียก อยู่แล้ง อย่างว่า พี่ก็อดอยู่แล้งลืมเข้าขาดแลง (ฮุ่ง) ฤดูที่ฝนไม่ตกเรียก ระดูแล้ง ยามแล้ง ก็ว่า. dry, parched, lacking, bereft.

ฮ้อนฮน ก. ร้อนรน ทุรนทุราย ฮ้อนฮน อนธการ ก็ว่า อย่างว่า เยียวจักอนธการฮ้อนฮนแถมเถิงเดือด (สังข์) เมื่อนั้นราชาฮ้อนฮนกระหายแสนแสบ (กา). to be impatient, zealous, passionate, restless.

ฮนฮ้อน ก. ร้อนรน อย่างว่า ชาวเมืองมวลป่วงวินฮนฮ้อน (กา). to be fervent, zealous, anxious.

laeng

เว้าละกะสิไปโตนน้ำมูลคลายฮ้อนก่อนซั่นแหล่ว ทนบ่ไหวแล้ว

ฮน

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ฮน"

อากาศฮ้อนๆ จั่งซี้กะสิได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่จ่มออกมาว่า "โอย... คือมา ฮ้อนฮน อนธการ แท้น้อ" ฮ้อน คือ ร้อน พอเข้าใจ แต่ "ฮน" นี่แม่นหยังน้อ? อาวทิดหมูเอามาไขให้ฮู้กันครับ

hon hon 2
ฮ้อนหลายแท้น้อ ยิงให้ดับสะบ้อหือ?

ฮน ก. ดิ้นรน กระวนกระวาย อย่างว่า ฝูงบ่าวย้องพวงเพธมาลา ตาไซซอนเสียดสาวสงวนชู้จอมเมืองเจ้าใจฮนฮักไพร่ สนุกอยู่หลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์) เค็งเค็งฮ้อนฮนตายเต็มแผ่น (กาไก). to struggle to do, writhe, be anxious.

ฮนเฮ ก. กระสับกระส่าย ทุรนทุราย อย่างว่า คื่นคื่นก้องกงแม่สมุทรหลวง ชาวนาคาตื่นเฮฮนย้าน พระก็กลัวตายแท้มีขืนขัดอยู่ เลยเล่าเตินแต่งพร้อมพงศ์เชื้อป่าวไป (สังข์). to be restless, agitated.

อนธการ น. ความมืด ความมืดมัว ความมืดมน เวลาค่ำ ความเขลา อันธการ ก็ว่า (ป.). darkness, lack of or low visibility, nighttime, ignorance, stupidity.

hon hon 1

ภาษาอีสานเฮานี้เว้าแล้วแจ้งจ่างป่าง เห็นภาพเลยว่าเป็นจั่งใด๋ อากาศฮ้อนกะขอให้ฮ้อนแต่กาย ใจอย่าฮ้อนตามครับ เดี๋ยวสิมีเรื่องราวบ่ดีเกิดขึ้น เดือดร้อนกันไปเบิด ไปโตนน้ำมูลเล่นแบบอาวทิดหมูเลาดีกว่า หากินในน้ำพุ้นหล่ะ บ่ได้ปลากะได้เย็นซั่นดอกวา

นางสังขาร

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "นางสังขาร"

sang kan2

หยุดไปหลบลมฮ้อน ไปอยู่บ่อนใด๋กะบ่ม้มครับ ฮ้อน ไหม้ คือกันสู่บ่อน ตอนเช้าเปิดอีแมว โอ๊ะ อีเมล์ จดหมายน้อยจากสาวบ้านต้อง (จักแม่นจังหวัดใด๋เพิ่นบ่บอกมา) ถามว่า "ไปเที่ยวทางฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาวมา เขามีการแห่ 'นางสังขาร' แม่นอันเดียวกับ 'นางสงกรานต์' บ้านเฮาบ่ อาวทิดหมู บอกนางแหน่"

สังขานต์ น. สงกรานต์ นักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่ วันขึ้นปีใหม่โบราณนับเอาวันขึ้นหนึ่งคำเดือน ๕ เรียก วันสังกาศสังขานต์ คือวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง อย่างว่า ฮื่นฮื่นข้าหลายส่ำโยธา เพ็งสมภารทั่วดินแดนฟ้า เถิงเมื่อสังขานต์ขึ้นระดูปีฟ้าใหม่ เมื่อใดทุกประเทศท้าวมาเต้าซู่เมือง (ฮุ่ง). Thai New Year (traditionally was first day of fifth lunar month).

สงกรานต์ น. โบราณถือเดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ เดือน ๕ อากาศร้อนจัด โบราณจึงให้มีพิธีสงกรานต์ รดน้ำเมื่อเทศกาลเดือน ๕ มาถึง นับตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ถึงวันเพ็ญเดือน ๖ ชาวอีสานจะนำน้ำอบน้ำหอมไปสรงพระพุทธรูปที่ทางวัดจัดให้ สรงพระสงฆ์ สรงผู้เฒ่าผู้แก่ สรงแข้วเขานองา ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องค้ำของคูณ และมีการสรงน้ำกันพอเป็นพิธี. Thai New Year.

sang kan

ตอบได้เลยว่า แม่นอันเดียวกันครับ แต่ตามรูปศัพท์ภาษาไทยเฮาเขียน "สังขานต์" ส่วนทางฝั่งลาวเขียนเป็น นางสังขาร, นางสังขาน (เลียนเสียง) แต่อักษรลาวจะเป็น ນາງສັງຂານ ความหมายเดียวกันข้างต้นนั่นเอง ประเพณีสงกรานต์นี่เป็นวัฒนธรรมร่วมแห่งอุษาคเนย์ ประเทศใกล้เคียงบ้านเฮาทั้งเขมร พม่า เวียดนามก็มีเหมือนกัน เพราะสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน แต่บางประเทศใช้ "ผงสี" มาสาดกันแทนน้ำ เพราะแล้งขาดน้ำอย่างประเทศอินเดีย เป็นต้น 😍🥰😘 [ อ่านความรู้เพิ่มเติม : ตำนานนางสงกรานต์ทั้งเจ็ด ]

มืดซุ้มล้าว

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอว่า "มืดซุ้มล้าว"

ได้รับข้อความถามมาทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คว่า "ได้ยินยายบอกหลานว่า 'สูกะสิมาเล่นกันอีหยังแท้ มันมืดซุ้มล้าวแล้ว ไปหาส่อยอีแม่เฮ็ดแนวอยากแนวกินพุ้นเป็นหยัง?' คำว่า 'มืดซุ้มล้าว' มันคืออีหยังอาวทิดหมูบอกน้องแหน่?"

ภาษาอีสานค่อนข้างเก่าอยู่ ในปัจจุบันเอาคำทางภาษากลางมาใช้แทนจนแทบจะไม่ได้ยินกันอีกแล้ว "มืดซุ้มล้าว" มาจากคำ 2 คำ คือ

มืด ว. ไม่มีแสงสว่าง มองไม่เห็น เช่น เวลาพลบค่ำ เรียก มืดซุ้มล้าว มืดจนมองไม่เห็นเรียก มืดอื้อตื้อ อย่างว่า มืดอื้อตื้อคือฟ้าเง่าฝน (กาไก). dark.

ซุ้มล้าว น. เวลาช่วงโพล้เพล้ ใกล้มืด ใกล้สว่าง เช่น เวลาพลบค่ำ พระอาทิตย์จะตกดินเรียก มืดซุ้มลาว เวลาจวนสว่างก็เรียก มืดซุ้มล้าว อย่างว่า มืดซุ้มล้าวพอไก่ลงลก (น.). nightfall, dawn.

soom lao

จากคำพูดของยายข้างต้นจึงแปลความได้ว่า "พวกแกจะมาเล่นอะไรตอนนี้ มันค่ำมืดแล้วไปช่วยแม่ทำกับข้าวกับปลา ไป" ตามนี้แหละน้องเอย

โจก

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "โจก"

มื้อนี้ได้รับคำถามมาจากลูกหลานเกิดใหม่ใหญ่ลุนส่งอีแมว เอ้ย! อีเมล์มาถามอาวทิดหมูว่า "ตอนปลายเดือนพฤศจิกายนกลับบ้านไปเอาบุญกฐินทางบ้านปู่-ย่า ไปถึงวัดพ่อบอกให้ไปประเคนน้ำถวายญาท่าน (ปู่) เพิ่นเมตตาลูกหลานเลยบอกว่า 'ไปเอา "โจก" อยู่ทางตู้ข้างศาลาโรงโรงธรรมออกมาเพิ่มแหน่ไป สิได้กินน้ำกินในครบสู่คน' อยากให้อาวทิดหมูอธิบายแหน่ว่า 'โจก' คืออีหยังครับ พอดีมื้อนั้นผมบ่ทันได้ลุกไป ทางผู้ใหญ่บ้านเพิ่นบอกว่า เอาออกมาใช้เบิดแล้ว"

คำว่า "โจก" ในภาษาอีสานบ้านเฮานั้นมีหลายความหมายดังนี้

โจก น. ชื่อปลาเกล็ดชนิดหนึ่ง คล้ายปลาจอกแต่ตัวใหญ่กว่า เรียก ปลาโจก. type of scaly freshwater fish.

โจก น. หัวหน้า คนผู้เป็นหัวหน้าเรียก โจก หัวโจก ก็ว่า อย่างว่า แต่นั้นออระม่อยหน้าแมนโจกชมคดี ยอมือทูลเหนือหัวกล่าวทางทุกค้าย (ฮุ่ง). leader.

โจก น. แก้วน้ำ กระบอกสำหรับใส่น้ำเรียก โจก ทำด้วยไม้ไผ่เรียก โจกไม้ไผ่ ทำด้วยแก้วเรียก โจกแก้ว จะใช้ตักน้ำหรือตักเหล้ากินก็ได้. cup, glass.

โจก ว. ทีหลัง หลังสุด ล่าสุด ใช้สำหรับเล่นการพนัน คนผู้มีสิทธิ์เล่นคนสุดท้ายเรียก โจก. last, most recent.

joke

จากที่ถามมา ดูในรูปประโยคแล้ว "โจก" ในความหมายที่ญาท่านเพิ่นกล่าวถึงนั้น หมายถึง "แก้วน้ำ" นั่นเอง ให้เอาใส่น้ำจะได้แจกจ่ายดื่มกันได้ทั่วถึง

เรื่องของ โจก จอก แก้ว นี่ความหมายทางอีสานบ้านเฮาคืออันเดียวกัน สิ่งเดียวกันเป็นภาชนะใส่น้ำ แต่ถ้าไปเที่ยวทางฝั่ง สปป.ลาว ต้องใช้ให้ถูกต้อง เพราะมีความหมายเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไปดังนี้

"เอาเบียร์มาจัก 3 แก้วแหน่" เมาแน่นอนเพราะในความหมายนี้ พนักงานเสิร์ฟจะนำเบียร์มาให้ท่านถึง 3 ขวด ถ้าไปกัน 3 คนจะดื่มเบียร์กันคนละแก้วต้องบอกน้องพนักงานว่า "น้องหล้า เอาเบียร์มาให้อ้ายเบิ่ง 3 จอกเด้อ" ท่านจะได้มา 3 แก้วสำหรับดื่มกันคนละแก้วนะขอรับ คนลาวเวลาเชิญชวนยกแก้วดื่มเป็นเกียรติจึงได้กล่าวว่า "มาตำจอกกัน" นั่นเอง

 tam jog

ป่อง

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "ป่อง"

ได้รับข้อความมาทาง Inbox ทักท้วงมาจากการโพสท์ใน Facebook Fanpage ก่อนหน้าว่า "เว้าบ่ป่อง" ไม่น่าจะตรงกับคำแปลที่ผมบอกว่า "พูดไม่คิด" ก็เลยขอมาสรุปให้ฟังเข้าใจตรงกันดังนี้

ป๋อง น. รู แผ่นพื้นไม้มีรู เรียก ป่อง หรือ รู ไม้ที่ไม่มีโกน (โพรง) ข้างใน ได้แก่ พวกไม้ไผ่เรียก ไม้ป่อง. hollow (of wood like bamboo).

เว้า ว. พูด พูดเรียก เว้า พูดด้วยเรียก เว้านำ อย่างว่า เว้านำหมาหมาเลียปาก เว้านำสากสากวัดหัว (ภาษิต) พูดเกี้ยวพาราสี เรียก เว้าชู้ พูดไพเราะเรียก เว้าม่วน พูดหยาบเรียก เว้าเพอะ พูดประจบประแจงเรียก ปากเกลี้ยง อย่างว่า ปากเกลี้ยงเว้าเป็น หีเหม็นเว้าม่วน (ภาษิต). to talk.

เว้าบ่ป่อง

ดังนั้นเมื่อนำเอาคำว่า เว้า+บ่+ป่อง มารวมกันจึงมีความหมายตรงๆ คือ พูดไม่ตรง(ประเด็น) พอดูในเนื้อหาของเพลงตามมิวสิกวีดิโอ ก็หมายถึง พูดไม่คิด (หน้าคิดหลัง) ว่าตัวเองเคยทำอะไรไว้ก่อนหน้า ยังจะมีหน้ามาขอคืนดี ตามนี้นะครับ ขอบคุณที่สอบถามเข้ามา คนอื่นๆ จะได้เข้าใจตรงกันครับ

ปล่องเอี้ยม

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ปล่องเอี้ยม"

ได้รับจดหมายก้อมจากผู้สาวน้อยรุ่นใหม่ พ่อแม่พาไปอยู่ไทดน กลับมายามบ้านแล้วถูกย่าดุในตอนเช้าวันหนึ่งว่า "อีหล้าเอย เป็นสาวเป็นนางแล้ว สิแต่งเนื้อแต่งโตในห้องหับ กะ 'อัดป่องเอี่ยม' แหน่ อายผู้อายคนเขา" อาวทิดหมูนางบ่ฮู้จัก "ป่องเอี้ยม" บอกนางแหน่สิได้เฮ็ดให้ถืกใจย่า

ป่อง น. ไม่มีโกน (โพรง) ข้างใน ได้แก่ พวกไม้ไผ่เรียก ไม้ป่อง. hollow (of wood like bamboo).

ปล่อง น. ช่องทะลุเรียก ปล่อง เช่น ปล่องเฮือน ปล่องชาน ปล่องเอี้ยม. opening, doorway, window.

ปล่องเอี้ยม น. หน้าต่าง หน้าต่างเรียก ปล่องเอี้ยม ปล่องลม ก็ว่า อย่างว่า ภายในเจาะปล่องลมเลียงไว้ (กา) แม่เถ้าเอยลูกเขยมาแล้ว ไขปล่องเอี้ยมเยี้ยมเบิ่งลูกเขย (บ.). window.

เยี้ยม น. หน้าต่าง หน้าต่างเรียก ปล่องเยี้ยม ปล่องเอี้ยม ก็ว่า. window.

"ป่องเอี้ยม" ที่นางหล้าถามมาoyho น่าจะเพี้ยนไปตามสำเนียงของแต่ละถิ่นที่ครับ ความหมายเดียวกันกับคำว่า "ปล่องเอี้ยม" ที่ปรากฏใน "สารานุกรมอีสาน-ไทย-อังกฤษ" ของคุณพ่อ ปรีชา พิณทอง ที่นำมาบอกกล่าวข้างบน

ความหมายที่ย่าบอกน้องหล้า ก็คือ "นางหนูโตเป็นสาวแล้ว เวลาแต่งเนื้อแต่งตัวในห้องหับก็ให้ปิดประตู-หน้าต่าง อย่าให้ไอ้หนุ่มหน้าไหนมาแอบมอง" นั่นเอง

มาที่คำว่า "ป่อง" ก็คือ รู ที่มองลอดทะลุได้ อย่างแผ่นกระดานที่มีรูก็เรียกว่า "แป้นมีป่อง" ในสมัยโบราณนั้นการสร้างบ้านเรือนยังไม่มีเทคโนโลยีทันสมัยอย่างปัจจุบัน จึงไม่ได้มีการทำบานหน้าต่างบานเปิดปิดได้อย่างปัจจุบัน มีเพียงการเจาะช่องเล็กๆ พอที่จะส่องออกมาดูภายนอกเพื่อระแวดระวังภัยเท่านั้น จึงเรียกว่า "ปล่องเอี้ยม" หรือ "ป่องเอี้ยม" นั่นแล แม้ใน "สิม" หรือ "โบสถ์" ในวัดวาอารามก็เช่นกัน เจาะช่องเพื่อระบายอากาศ ให้เป็นช่องแสงเท่านั้นเอง

 plong iam

 

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

backled1

isan thai words

ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

คำที่น่าสนใจนำมาเสนอในวันนี้คือ...

เอดเลด-เอดเปด-งัดถั่งงัด-คา-ซาว-เจ้งเพ้ง-เฟ้งเฟ้ง-งอย-วิน

เอดเลด

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เอดเลด"

มีน้องสาวข้างบ้านเพิ่นไปอยู่ไทดน (อยู่ภาคกลางนานไปหน่อย) กลับมาบ้านได้ยินเสียงของยายดุหลานว่า "มึงกะบ่เบิ่งลูกน้อ พุ้นขี้มูกติดแก้มเอดเลด" กะเลยอยากฮู้ว่า "เอดเลด" มันแปลว่าหยัง

เอดเลด ว. เรียกขี้มูกติดอยู่ตามแก้มเด็กว่า ติดเอดเลด ถ้าจำนวนเล็กน้อยเรียก ติดแอดแลด. snot-smeared, describes child's face with mucus smeared on cheeks.

เอดเปด ว. เรียกสิ่งของที่มีลักษณะใหญ่และแบน ติดอยู่ตามแข้งขาหรือที่ใดที่หนึ่งว่า ติดเอดเปด ถ้าเล็กเรียกว่า ติดแอดแปด. describes large flat things (sticking to something), plastered to.

ตามความหมายข้างบนนั่นหล่ะ ก็เลยแถมมาอีกคำหนึ่งคือ "เอดเปด" อย่างว่า "จั่งแม่นสูโตติดกันแอดแปดน้อ ไปไสกะมาชวนกันไปบ่เคยห่าง บ่ได้เวียกอีหยังเลย" (พวกแกตัวติดกันจัง ไปไหนมาไหนก็ไม่ห่างกัน ไม่ได้งานการอะไรเลย)

aed led

ขี้มูกติดแก้มเอดเลด อย่าแคะขี้ดังเล่นเด้อ
(ภาพประกอบอาจสิชวนให้กินเข้าบ่ลงแหน่เด้อพี่น้อง)

งัดถั่งงัด

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "งัดถั่งงัด"

แฟนานุแฟนของเว็บเฮา คือสิมักฟังเพลงอีสานกันหลายเนาะ มื้อนี้มีคำถามมาจากหนุ่มเมืองสุราษฎร์ธานีแดนใต้ว่า "ชอบฟังเพลงอีสาน ได้ฟังเพลงชื่อ 'งัดถั่งงัด' แล้วอยากรู้จักความหมายของคำนี้ จังหวะดีแต่งงไม่เข้าใจครับ"

งัด ก. คัดให้เผยอ คัดให้เคลื่อน เช่น งัดตะปู งัดท่อนไม้ งัดเฮือ งัดแพ เป็นต้น. to pry.

ถั่ง ก. กระทุ้ง กระแทก กระทุ้งโปง เรียก ถั่งโป่ง. to jab (usually with blunt object), hit sharply.

ถั่ง ก. หลั่ง ไหล พุ่ง ซัด อย่างว่า เมื่อนั้นอาคั่งแค้นทูลทอดชุลีหลาน ยอมความขอขอดโดยดอมน้อย เซ็นเซ็นน้ำชลธาร์แถวถั่ง เยื้อนบ่ได้เฮให้สั่งผัว (สังข์) เมื่อนั้นเวราฮ้ายจำจวนภูวนาถ เขาก็ปัดกึ่งก้อนคำล้านใส่เหว คีงกลมกลิ้งนำแปวน้ำถั่ง ภูวนาถกลั้นใจน้อยมอดมัว (สังข์). to gush, flow.

ในเพลงมีเนื้อหาที่กล่าวถึง ชายหนุ่มที่ชอบพอหญิงสาว จะไปคุยที่บ้านก็กลัวว่าที่พ่อตา เลยอยากชวนสาวไปหาขุดหน่อไม้มาต้มแกง เพื่อจะได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกัน เมื่อไปขุดหน่อไม้ก็มีบางหน่อใหญ่ๆ อ่อนๆ น่ากินแต่มันลึกขุดยากหน่อย ก็ต้องออกแรงขุด งัดหน่อไม้ให้ขึ้นมา ยังไม่ออกก็กระทุ้งแรงๆ (ภาษาอีสานเรียก ถั่ง) ให้มันเคลื่อนจะได้ดึงออกมาได้

tang ngad

แต่เจตนาของคนเขียนเพลงกับคนฟังจะเหมือนกันไหมไม่ทราบได้ กลัวว่าผู้ฟังจะคิดไปไกลไม่ได้ขุดหน่อไม้ กลายเป็นใช้หน่อไม้ขุดสาวไปซะงั้น ก็ดูใน MV มันสื่อที่นมหย่ายๆ นั่นแหละ 😀😃😁🤫

คา

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "คา"

มีคำถามมาจากน้องคนภาคกลางแถวราชรี (สงสัยสิฟังเพลงฮิตของหมู่วัยรุ่น "คารถแห่" มาเลยสงสัย บ่เข้าใจ) ถามมาว่า "ท่านพี่! อยากรู้ความหมายของสองคำนี้. “คารถแห่” กับอีกคำ “คาคอ” มีความหมายว่ายังไง" จัดไปครับ

คา ก. ติด, ขัด ทำงานไม่เสร็จเรียก คาเวียก ใช้หนี้ไม่หมดเรียก คาหนี้ ก้างติดคอเรียก ก้างคาคอ อย่างว่า กินหนังแห้งคาคอแค้นคั่ง ใผสะเดาะออกได้ชิเอาช้างใส่คาย (ผญา). to stick, get stuck, not be finished.

คา น. เครื่องจองจำคนทำความผิดต่อบ้านเมือง เรียก คา อย่างว่า ให้จับหมูใส่คา หมาใส่คอก วอกผูกแอว แมวใส่หับ กับใส่หนู ปูใส่ข้อง จ้อกแจ้ก จับไก่ใส่ยาง ฝูงหมู่คนเทียวทางผูกคล้อง ฝูงเขามีโทษต้องสูเจ้าแต่ภายหลัง อันได้ใส่คอกฮังฮิงแฮบ ติดจิบแจบจำจอง (เวส). pillory, cangue.

คา น. หญ้าคา ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง คล้ายแฝกใบคายแข็ง เอามากรองเป็นตับมุงหลังคา เรือนที่มุงหญ้าคา ฝาลายคุมอากาศถ่ายเทได้มีความชุ่มชื่นรื่นรม ราคาค่าสร้างก็ไม่แพง อย่างว่า เฮือนมุงหญ้าฝาเฮือนแอ้มไม้ไผ่ แม่นหลังใหญ่แลน้อย บ่พอฮ้อยค่ามัน (บ.). type of grass used for thatch roofing.

ka

"คารถแห่" ความหมายคือ มีรถแห่ (เครื่องเสียงดังตู้มๆ และขบวนดิ้นถูกน้ำร้อนลวก กิ้งกือหลงทางเข้ากองไฟ) ขวางทาง ไปโรงเรียนหรือไปทำงานไม่ได้ไม่ทัน (ความจริง คือ ถูกมนต์สะกดจากเสียงเพลงลงไปดิ้นกับเขา หนีเรียน หนีงานนั่นเอง)

"คาคอ" ก็คือ ติดคอ อย่างกินปลาไม่ระวังก้างติดคอ หรือรู้ความลับบางอย่างไว้แล้วเขาใช้เงินจ้างปกปิด นี่ก็ "เงินคา(ติด)คอ" พูดไม่ได้

ka kor

โอเคเนาะ คือสิพอเข้าใจ เบิ่งเอาตามฮูปที่แนบให้มาโลด ยังมีประโยคหนึ่งที่มักได้ยินออกมาจากปากคุณครูทางภาคอีสานว่า "นี่เธอ อย่ามาอวดเก่ง เอามาส้อให้ครูคานะ" (ความหมาย เธออย่าอวดเก่ง เอาแต่โจทย์ยากๆ มาถามให้ครูตอบไม่ได้นะ) จั่งซี้ กะว่าสอยเด้อครับ 😂😃😀😁🤫

ซาว

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "ซาว"

20
Cr. ภาพนี้มาจาก การ์ตูน บั่นทอน

ในภาพประกอบนี้มีคำว่า "มื่น" หรือ "ลื่น" ที่ได้ให้ความหมายอธิบายไว้แล้ว และมีคำถัดมาในการ์ตูนช่องที่ 3 ว่า "ซาว" อธิบายได้ดังนี้

ซาว ว. จำนวนยี่สิบเรียก ซาว อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ลางเฮ่งถิ้มผิดชั่วซาววา เป็นคนสะเทินห่างการไกลชู้ ลางคนถิ้มแควนดายดูยาก เที้ยนไก่ผู้ขันชั้นซู่ตัว (ฮุ่ง). twenty

ซาว ก. คว้าจับ คว้าจับเรียก ซาว อย่างว่า มือซาวใกล้ไปมาโลมลูบ (ผาแดง) นางบ่รอนำท้าวมือซาวเอิ้นใส่ (โสวัจ). to grab.

อธิบายภาพ ช่องที่ 1 "หากเอาคนอีสาน 10,000 คนมายืนเรียงกันที่ขอบหน้าผา" หมื่นคือจำนวนนับ ช่องที่ 2 "คนที่ 10,000 จะตกหน้าผา" มื่น (ไม่ใช่หมื่นที่เป็นจำนวนนับ) คือลื่น ดังนั้นคนที่ลื่นจึงตกหน้าผา ช่องที่ 3 "คนที่ 20 จะช่วยเอาไว้" ซาว ในที่นี้ไม่ใช่จำนวนนับแต่เป็นกริยาของคนที่คว้ามือเพื่อนเอาไว้ได้ นั่นเอง แก็กของการ์ตูนที่คนอีสานแปลได้ง่ายสุดล่ะ

เจ้งเพ้ง

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสอคำว่า "เจ้งเพ้ง"

อ้ายแอดมินส่อยบอกน้องแหน่ "มื้อเซ้าอีแหม่ฮ้ายน้องว่า เสื้อผ้าหน้าแพกะบ่ฟ้าวซัก เบิ่งพุ้นกองเจ้งเพ้ง" น้องอยากฮู้ว่า "เจ้งเพ้ง" หมายความว่าจั่งใด๋น้อ น้องบ่เข้าใจอีหลี

เจ้งเพ้ง ว. มาก มูน สิ่งของที่รวมกันมากเรียก กองเจ้งเพ้ง. much, very much or large.

ความหมายที่แม่ว่าให้น้องหล้าคือ กองเสื้อผ้ากองใหญ่ กองมหึมา บ่เอามาซัก มับ่เหม็นบ่น้องหล้า สิ่งของที่นำมากองรวมกันมากๆ เรียกว่า "กองเจ้งเพ้ง" น้องกะเลยถืกแม่ "ฮ้ายเฟ้งเฟ้ง" ซั่นแหล่ว

เฟ้งเฟ้ง ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงดุด่าว่ากล่าวของคนโทสะจริต ดัง เฟ้งเฟ้ง. scolding, hollering.

jeng peng

เลยได้ไปสองคำเลยน้อมื้อนี้ จำเอาไว้เด้อคำเก่าๆ อีสาบ้านเฮา🤣😀😁🤔

งอย

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "งอย"

จากแฟนนานุแฟนขาประจำที่มักเพลงของสาวเสียงพิณ จินตหรา พูนลาภ โดยเฉพาะ "เต่างอย" ฟังกะม่วนเต้นกะมัน แต่กะยังบ่เข้าใจว่า "งอย" อันเต่าเป็นหยังจัง "งอย" หือม์...อ้ายแอดมิน

งอย ก. เกาะ จับ นกที่เกาะหรือจับกิ่งไม้เรียก งอยคอน อย่างว่า มาเซาจับง่าแงวงอบฮ้อง (หน้าผาก) ลางตัวพลัดพรากชู้งอยไม้กูกหา (ขูลู) ฟังยินสักกุณาเค้างอยคอนฮ้องค่อน พุ้นเยอ บางพ่องฮักฮ่วมชู้ชมก้อยเกี่ยวกอย (สังข์). to cling to, perch on.

tao ngoy

อ้าย@มินกะบ่ฮู้คือกันว่า เต่า เพิ่นเป็นหยังจั่งไปงอยเทิงหิน งอยเทิงขอนไม้ งอยเทิงภูเขาจั่งซั้น อาจสิขึ้นไปชะเง้อคอยรอเต่าสาวๆ กะเป็นได้ แต่น้องจิน คือ พากันเต้นคักแท้ บ่แม่นพวกเต่าเต้นแบบนี้เด้อ โอยย้านแอวขาดเคิ่ง ฮ่าๆๆๆ

วิน

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "วิน"

วิน ก. อาการหน้ามืดตาลาย เรียก วินหัว อย่างว่า ตาเหลือกค้างเป็นม้าป่วงวิน (กา). to be dizzy, feel faint.

win

ความหมายกะเบิ่งเอาเองความหมายตามภาพประกอบเด้อ ส่วน อ้าย@มิน กะรู้สึกวินวินคือกัน หิวเข้า อยากกินซกเล็กขมๆ ต้มแซบๆ คือสิส่วงวาบอยู่ 🤣😀😁

 

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

backled1

isan thai words

ภาษาพูดของผู้คนในภาคอีสานนั้นมีหลายสำเนียงที่แตกต่างกันไป ไม่มี "ภาษาอีสาน" นะครับ มีแต่เป็นภาษาพูดดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ซึ่งมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ [ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสาน ] ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางไปท่องเที่ยวอีสาน ท่านจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด คำที่เสนอในที่นี่รวบรวมมาจากที่กระผมอาวทิดหมู มักหม่วน ได้ตอบไว้ใน Facebook Fanpage มาแล้วแต่ค้นหาย้อนหลังยาก ท่านเว็บมาดเซ่อเลยขอร้องแกมบังคับให้นำมารวบรวมไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง แฟนนานุแฟนที่ต้องการทราบความหมายของคำ หรือประโยคใดก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้นะขอรับ ยินดีนำมาตอบให้ทราบทั้งในเว็บไซต์และเฟซบุ๊คต่อไป

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

คำที่น่าสนใจนำมาเสนอในวันนี้คือ...

พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก-เปิด-เอ้-โหยด-โปด-หอยขัว-แปนเอิดเติด

พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก

ภาษาการเลือกตั้งวันละประโยค ขอเสนอคำว่า "พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก"

เมื่อ ว่าที่ "ส.ส." หรือ "สจ." หรือ "สท." หรือ "ส.อบต." ไปหาเสียงแถวหมู่บ้านในภาคอีสาน ได้แนะนำตัวต่อพ่อใหญ่แม่ใหญ่ ไหว้งามๆ พร้อมน้อมส่งใบแนะนำตัวและซองผ้าป่าใส่มือพ่อใหญ่ พร้อมเอ่ยวาจาว่า "ผมอาสามาเป็นตัวแทนครับ เลือกผมแหน่เด้อครับ"

พ่อใหญ่ยิ้มกว้างพร้อมก้มหน้าแง้มดูในซอง แล้วยิ้มที่มุมปาก เอ่ยตอบว่า "พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก" ว่าที่ ส.ส. คนนั้นก็ยิ้มโค้งคำนับด้วยความมั่นอกมั่นใจ

คำพูดของพ่อใหญ่ที่ว่า "พ่อบ่ถิ่มเจ้าดอก" (พ่อไม่ทิ้งลูกดอก) มีความหมายเป็น 2 นัยยะ

  • พ่อไม่ทอดทิ้งแน่ต้องเลือกลูก (เลือกแน่นอน เพราะรับซองมาแล้ว)
  • พ่อไม่หย่อนบัตรให้ลูกดอก (ซองรับได้ไม่จำกัด แต่ไม่เลือก)

bor tim

ภาษาอีสานนี่สุดๆ ไปเลยพี่น้อง บ่ฮู้ว่ามื้อหย่อนบัตรลงคะแนนพ่อใหญ่เลาใช้ความหมายในข้อแรก หรือข้อที่สอง เอาไว้มื้อวันที่พ่อแม่พี่น้องไปกาบัตรแล้วนี่ละ สิได้ฮู้ว่า ไผเป็นหมู่หรือจ่า กันแน่ (หนาวๆ แบบนี้ ในมือถือแก้วเบียร์เย็นๆ แต่เหงื่อแตกพลั่กๆ กันทุกรายแน่นอน)

เปิด

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เปิด"

เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ทั้งในสภา-นอกสภา ช่างวุ่นวายกันเหลือเกิน จนชาวบ้านที่ทำมาหากินกันตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน็อต ต่างเกิดอาการแหนงหน่าย เกิดอาการ "เปิด" การเมือง

เปิด ก. เบื่อหน่าย ระอา การระอาเบื่อหน่าย เรียก เปิด อย่างว่า เอี่ยนเปิดน้ำหนีจากวังตม มันไปแปลงฮวงฮังอยู่เทิงปลายไม้ (ปัสเสน) นกเขาเปิดเข้า นกกาเวาเปิดไข่ นกใส่เปิดด้วง โงเงี้ยวตอดโกน (ภาษิต). to get sick and tired of.

แบบว่า ทิดหมูกะเบื่อหลายคือกันกับข่าวสารจากบรรดาเกรียนคีย์บอร์ดที่พ่นสำรอกคำออกมา ให้คนไทยผิดใจกัน แบ่งพรรคแบ่งพวก

แม่นไผสิได้เป็นนายก พวกสูกะสิ 'งกงกหากิน' ด้วยลำแข้งเจ้าของ คือเก่านั่นหล่ะ "

ผิดใจเจ้าของกะว่าเขาโกง ถืกใจกะว่าเพิ่นยุติธรรมแฮง คันฮู้ว่า "เขาโกง" กะฟ้าวไปแจ้งความเอาหลักฐานไปจัดการกับคนผิด อย่าสิจ่มสื่อๆ กูขิว กูเปิด กูหน่ายหลาย ว่าแหม่นบักลาอิ่มข้าวหลามเอาโลด [ อ่านเพิ่มเติมที่นี่ ]

perd

เอ้

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "เอ้"

เป็นคำถามของเพื่อนทางภาคกลาง ที่จะมาเที่ยวงาน บุญบั้งไฟ ที่เมืองบั้งไฟโก้-ยโสธร ซึ่งได้ดูคลิปโฆษณษทาง Youtube มาเจอคำบรรยายว่า "ให้ไปดูขบวนแห่อันสวยงามก่อนวันจุดบั้งไฟหนึ่งวัน ท่านจะได้พบขบวนฟ้อนรำอันสวยงาม การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ 'บั้งไฟเอ้' อันสวยงาม" เลยสงสัยว่า "บั้งไฟเอ้" นี่มันต่างจากบั้งไฟอื่นๆ อย่างไรกัน

เอ้ ก. ประดับตกแต่งให้สวยงาม เรียก เอ้ เช่น จะไปในงานก็ตกแต่งด้วยเสื้อผ้าที่ใหม่ อย่างว่า ยามหนึ่งสาวหนุ่มพร้อมงดอยู่ฟังถวิล เขาก็เชิญภูมีแกว่งแพนประสงค์หลิ้น ฝูงข้าขอดูน้อยนงเยาว์เอ้อาดดูถ้อน ปุนดั่งผลแผ่ยู้ฝูงข้าเพิ่งบุญ เจ้าเอย (สังข์) มาแต่งเอ้ย้องหยั่นยูถนิม ยามเมื่อลีลาคือคู่หงษ์ยัวรย้าย นางแสนสร้อยบุญโฮมเฮียงพ่อ ใจฉลาดฮู้ทังค้ายย่อมยำ (ฮุ่ง). to decorate, adorn, dress up.

โนนสาวเอ้ น. สถานที่ที่ชายหนุ่มหญิงสาวหยุดพักแต่งตัวให้สวยงาม ก่อนจะถึงบริเวณงาน เรียก โนนสาวเอ้ ที่อีสานมีโนนสาวเอ้อยู่หลายแห่ง ซึ่งก็แสดงว่าที่ที่นั่นเป็นสถานที่ที่ชายหนุ่มหญิงสาวหยุดพักแต่งตัวนั่นเอง. place where young people stop to dress up before arriving at a festival.

bung fai

บั้งไฟเอ้ คือ บั้งไฟที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเพื่อนำมาใช้ประกอบในขบวนแห่เท่านั้น ไม่ได้นำไปจุดให้ทะยานขึ้นท้องฟ้าแต่อย่างใด เพราะถึงจะจุดได้ก็คงไม่ขึ้นทะยานด้วยแรงต้าน หนักที่หัวขนาดใหญ่ และหนักหางมากนั่นเอง ส่วนบั้งไฟที่ใช้จุดขึ้นฟ้าจะเป็นบั้งไฟที่ไม่ได้ตกแต่งให้สวยงามแต่อย่างใด มีเพียงตัวกระบอกบั้งไฟที่บรรจุดินประสิว (อีสานเรียกว่า ดินหมื่อ) มัดเข้ากับหางไม้ไผ่ที่ทำมาถ่วงให้สมดุลย์ให้แน่นหนาไม่หลุดออกเท่านั้นเอง

โหยด

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "โหยด"

ดูข่าวโทรทัศน์ "รายการช่วยชาวบ้าน" ของโทรทัศน์ช่องหนึ่ง มีนักข่าวสาวไปสัมภาษณ์คุณยายเรื่อง "รถบรรทุกดินขนาดใหญ่ที่วิ่งผ่ากลางหมู่บ้าน" ว่ามีความรู้สึกอย่างไรบ้าง

คุณยายตอบว่า "เดือดฮ้อนหลาย รถกายมาดินกะโหยดลงเต็มถนน ไหง่ง่อง ทางดีๆ กะเปดเบิด รัฐบาลส่อยยายแหน่"

นักข่าวสาวคงจะเป็นคนภาคอื่นถึงกับทำหน้าเลิ่กลักไปไม่เป็นเลยทีเดียว มาดูกันว่าที่ยายพูดนั้นหมายถึงอะไรบ้าง

โหยด ว. หลั่งไป ไหลไป เช่น คนหลั่งไหลกันไปฟังลำ หรือฟังเทศน์ เรียก โตดโหยด อย่างว่า นะโมโตดโหยดแม่ออกโปดแล่นมาฟัง แกะขี้ดังให้ผู้ละก้อน ผู้มาก่อนได้หลาย ผู้มาลุนได้น้อย แม่เถ้าจ้อยนำก้นบ่ได้สัง (กลอน). streaming together.

โปด ก. หลั่งไหลไปเรียก โปด อย่างว่า นโมโตดโหยดแม่ออกโปดมาฟัง แกะขี้ดังให้ผู้ละก้อน ผู้มาก่อนได้หลาย ผู้มาลุนได้น้อย แม่เถ้าจ้อยนำก้นบ่ได้สัง (บ.). to flock together.

yode 1

ในคำตอบยายมีหลายคำที่เป็นภาษาอีสาน เช่น กาย = ผ่าน, เคลื่อนผ่าน, ผ่านมา ไหง่ง่อง = ฟุ้งกระจาย (คำนี้นำไปเขียนเป็นเพลงร้องสนุกกันเลยทีเดียว) เปด = ไหล, พังทลาย, ขยายออก การที่ถนนชำรุดพังดินหินไหลออกด้านข้างเป็นร่องลึก (คำอธิบาย ดูในภาพเลยครับ)

yode 2

รถกายมาไหงง่อง = รถวิ่งผ่านมาฝุ่นฟุ้งกระจาย

yode 3

ถนนเปเปด = ถนนทรุด ดินไหล พังทลาย กระจายออกไป

หอยขัว

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้ขอเสนอคำว่า "หอยขัว"

วันนี้ได้คำถามมาจากคุณหมอ (คนภาคกลาง) ที่มาทำงานอยู่โรงพยาบาลในอีสานบ้านเฮา ถามคนไข้ด้วยความเป็นห่วงว่า "เมื่อเช้า ทานข้าวมาหรือยัง ทานกับอะไรครับ" คนไข้ตอบว่า "กินแล้วครับ กับอ่อมหอยขัว" ทำเอาคุณหมอถึงกับอึ้งคิดไม่ออกว่าคือ "หอยอะไรน๊า" ไม่เคยได้ยินมาก่อน นึกถึงรูปร่างมันก็ไม่เคยเห็นมาก่อน อาวทิดหมูเฉลยด่วนเลย...

ทิดหมูก็เลยบอกว่า "มันบ่มีดอกหอยขัว มันคือหอยขมนั่นเอง แต่ชาวบ้านเขาได้มาจากการไปหา (ขัว) ในริมหนอง คลองบึงที่น้ำแล้ง" มาจากคำนามว่า "หอย" และกริยา "ขัว" ซึ่งจริงๆ ต้องออกเสียงว่า "ขัวะ" ดังนี้

ขัวะ ก. แกะ เช่นเอามีดแกะเปลือกไม้เรียก ขัวะเปลือกไม้ เอาเสียมแคะหาหอยที่ฝังอยู่ในดิน เรียก ขัวะหอย เอามีดกระเทาะเกล็ดปลา เรียก ขัวะเกล็ดปลา. to peel.

ขัว น. สะพาน สะพานที่ทำด้วยไม้ ด้วยเหล็กหรือปูน พอที่จะข้ามน้ำข้ามเหวได้ เรียก ขัว สะพาน ตะพาน ก็ว่า อย่างว่า ขอพ่อแปลงขัวข้ามสะเภาทองเทียวทีป เมืองใหญ่สองฝ่ายฟ้ากะไดแก้วก่ายกัน แท้แล้ว (สังข์). bridge.

ขัว น. ไก่ฟ้า ไก่ป่าชนิดหนึ่ง เรียก ไก่ขัว นกขัว ก็ว่า อย่างว่า ขัวข่อขุ้มกะทากี้ก่างตอง (สังข์). wild chicken.

หอย น. ชื่อสัตว์จำพวกหนึ่ง ไม่มีกระดูก มีเปลือกแข็งหุ้มห่อตัว มักอาศัยอยู่ในน้ำ มีหลายชนิด เช่น หอยจูบ หอยกีบกี้ หอยกว้าง หอยโข่ง หอยคัน หอยเดื่อ หอยปัง หอยทาก หอยเล็บม้า หอยหอม หอยนา เรียก หอย. snail, shellfish: oyster, clam, etc..

hoy kua

คุณหมอคงจะกระจ่างนะครับ ถ้าไปเที่ยวทาง สปป.ลาว ก็จะต้องข้ามขัวมิตรภาพเสียก่อนเด้อ ส่วนหอยขมนั้นอาวทิดหมูมักคักคือ เอามาตัดก้นออก อ่อมใส่ผักอีเลิด ผักชีลาว ใส่ข้าวคั่วและปลาแดกนัวๆ เอิ้นว่า "อ่อมหอยจูบ" จูบปากหอยนี่แซบหลายครับ มาลองกินเด้อหมอ แซบลืมตายพุ้นได๋ 😀🤣😁🤫

แปนเอิดเติด

ภาษาอีสานวันละคำ มื้อนี้เสนอคำว่า "แปนเอิดเติด"

มีปี้ (จดหมาย) น้อยๆ ฝากส่งมาถามว่า "แปนเอิดเติด" นี่มันคืออีหยัง ใช้จั่งใด๋น้อ อ้ายทิดหมูเฉลยด่วน...

"แปนเอิดเติด" มาจาก 2 คำซ้อนกัน ขยายความได้ว่ามันเกลี้ยงเกลาหลาย คือ แปน + เอิดเติด

แปน ว. โล่ง เตียน อย่างว่า มันก็ดั่นดั่นดิ้นศรคลาดคลาหนี ฟางตายหนีผ่อเห็นแปนข้าง (สังข์). flat, wide open, clean and empty.

เอิดเติด ว. ราบ เรียบ โล่ง เรียก ที่นาที่น้ำแก่งท่วม ว่า แปนเอิดเติด เรียกหัวที่ไม่มีเส้นผมแม้แต่เส้นเดียวว่า แปนเอิดเติด. completely flat, smooth, wide-open (space), covered with floodwaters, hairless.

pan erd terd

อย่างว่า "ป๊าด! คือหัวแปนเอิดเติดแท้ล่ะอ้าย" แสดงว่า หัวล้านเหลื่อมหม่องๆ บ่มีผมจักเส้นเทิงหัว นั่นเอง 🤣😀😁🤫

 

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14

redline

backled1

Subcategories

รวมผญา สุภาษิต และคำสอย

กลอนลำ

song word

เพลงลูกทุ่งอีสาน มาเข้าใจความหมายของคำภาษาอีสานในเพลงลูกทุ่ง

ภาษาอีสานแยกตามหมวดอักษร

กลอน ภาษิตโบราณอีสาน

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)