thamma alphabet header

อักขรวิธีของอักษรธรรมอีสาน

อักษรวิธีหรือการผสมอักษรธรรมอีสาน แตกต่างจากอักษรวิธีของอักษรไทยโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อักษรไทยกำหนดให้วางพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกันหมด ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดและตัวควบกล้ำ ส่วนสระวางไว้รอบพยัญชนะต้น หรือวางไว้บน ล่าง หน้า หลังพยัญชนะได้

ส่วนอักขรวิธีของอักษรธรรมอีสานมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไป แต่คล้ายคลึงกับอักษรวิธีของอักษรขอม โดยวางพยัญชนะต้นซึ่งใช้พยัญชนะตัวเต้มไว้บนบรรทัด ส่วนพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลีซึ่งใช้รูปของพยัญชนะตัวเต็มบ้าง ตัวเฟื้องบ้างนั้นอาจวางไว้บนล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง และหลังพยัญชนะได้

พยัญชนะของอักษรธรรมอีสาน

พยัญชนะของอักษรธรรมอีสานแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ คือ

  1. พยัญชนะตัวเต็ม คือ รูปของพยัญชนะที่เขียนเต็มรูปตามรูปแบบของอักษรธรรมอีสานซึ่งมี 38 รูป ใช้เขียนบนบรรทัด ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น หรือบางตัวอาจทำหน้าที่เป็นตัวสะกดหรือตัวควบกล้ำได้ และในบางกรณีมีบางตัวใช้เขียนใต้บรรทัดซ้อนใต้พยัญชนะโดยทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลี
  2. ตัวเฟื้อง บางครั้งเรียกว่า ตัวห้อย หรือ ตีน ซึ่งเหมือนกับเชิงในพยัญชนะขอม โดยนิยมเขียนใต้บรรทัด (ยกเว้นตัวเฟื้องของพยัญชนะ และแบบหนึ่งของ เฟื้อง) ตัวเฟื้องที่พบในอักษรธรรมอีสานมีทั้งหมด 19 ตัว ซึ่งตัวเฟื้องเหล่านี้มีหน้าที่เป็นพยัญชนะตัวต้นไม่ได้ จะใช้เขียนในกรณีที่พยัญชนะเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด หรือตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตามในหลักสังโยคของภาษาบาลี

ลักษณะของตัวอักษรธรรมดังภาพด้านล่างนี้ เป็นฟอนต์ที่อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบสร้างขึ้น มี 2 แบบสำหรับการพิมพ์บนโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป (word) เรียกชื่อฟอนต์ว่า UbWManut และอักษรสำหรับโปรแกรมกราฟิก (PhotoShop) เรียก UbPManut ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อัษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่

thamma alphabet 1

อยากได้ฟอนต์อักษรธรรมโบราณอีสานดาวน์โหลดได้เลย [ Download Font Dhamma here! ]

อักษรธรรมอีสาน-ไทยน้อย

รายละเอียดเกี่ยวกับการอ่านและเขียนตัวอักษรธรรมมีเนื้อหาค่อนข้างมาก อาจารย์มนัส สุขสาย ท่านได้ทำตำราไว้ค่อนข้างละเอียด และตอนนี้ผู้ทำเนื้อหาเว็บไซต์กำลังพยายามศึกษาตำแหน่งของฟอนต์อักขระบนแป้นพิมพ์อยู่ครับ เมื่อช่ำชองแล้วจะนำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามปณิธานของท่านอาจารย์มนัส สุขสาย ครับ

การเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น วรรคกะ (ก ข ค ฆ ง)

ในช่วงที่ทำการอัพเดทข้อมูลไปเจอ ฟอนต์ตัวอักษรธรรมไทย หรือ ขอมไทย ซึ่งน่าสนใจมากทีเดียว ได้มาจากสำนักเรียนวัดพระเชตุพน เลยนำเอาเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ดพร้อมไฟล์ฟอนต์ดังกล่าวมาให้ดาวน์โหลดกันครับ สนใจคลิกดาวน์โหลดในลิงก์ด้านล่างของภาพคีย์บอร์ดเลย์เอาท์นะครับ

keyboard layout khomthai

ดาวน์โหลดฟอนต์อักษรธรรมไทยได้ที่นี่ [ Download TumThai here! ]

การเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น วรรคจะ (จะ ฉะ ชะ ฌะ ญะ)

การเขียนอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น เศษวรรค (ยะ ระ ละ วะ สะ หะ ฬะ อะ ฮะ ออยอ)

คำควบกล้ำและการประสมคำควบกล้ำในอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น

เครื่องหมายและวรรณยุกต์ในอักษรธรรมอีสานเบื้องต้น

 

 อักษรขอม | อักษรธรรมโบราณอีสาน | อักษรไทยน้อย | วรรณกรรมอีสาน

redline

backled1