isan governance 2

ในสมัยโบราณอีสานนั้น การปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ผู้ปกครองจะต้องปฏิบัติตามจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมดั้งเดิม คนอีสานจะมี "ฮีต 12 คอง 14" ซึ่งมีความหมายคือ "ฮีต" คือ จารีตประเพณี ส่วน 12 หมายถึงเดือนในหนึ่งปีมี 12 เดือน ส่วน "คอง" คือ ครรลอง คลอง แบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งคำหนึ่งว่า "Way of life" ซึ่งมีจำนวน 14 ข้อ แต่คองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียง คลอง เป็น คอง ไม่มีกล้ำ เช่น ถ้าทำไม่ถูกไม่ต้อง ผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" (ทำไม่ถูกต้องตามครรลอง) หรือว่า "เฮ็ดยังให้ถืกให้ถือฮีตถือคอง" (ทำอะไรให้ถูกต้องให้ถือตามจารีตตามครรลอง) เป็นธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติได้ไม่ล้าสมัย

bulletคองสิบสี่ (ครรลอง 14)

องสิบสี่ คือ ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของ บ้านเมือง 

ฮีตสิบสอง | คองสิบสี่

alert2ครอบ ๑๔ ข้อสำหรับพระสงฆ์

ข้อหนึ่ง ให้พระสังฆะเจ้าสูตรเฮียน ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและฮักษาศีล 227 อย่าให้ขาด
ข้อสอง ให้บัวละบัตรกูฏิวิหาร ปัดตากวาดถู อย่าให้วัดเศร้าหมอง
ข้อสาม ให้ปฏิบัติจัดทำไปตามศรัทธา ชาวบ้านนิมนต์มีการทำบุญให้ทาน บวชหด เป็นต้น
ข้อสี่ เถิงเดือนแปด ให้เข้าวัสสา ตลอดสามเดือน จนถึงเดือนสิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่ง แต่เดือนสิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่งไปหาเดือนสิบสองเพ็ง ให้ฮับผ้ากฐินฮักษาคองผ้าเถิงสี่เดือน
ข้อห้า ออกวัสสาแล้ว ฤดูเหมันตะ (ฤดูหนาว) ภิกขุสังฆะเจ้าเข้าปริวาสกรรม ฯลฯ
ข้อหก ให้เที่ยวไปบิณฑบาตร ตามบ้านน้อยบ้านใหญ่ อย่าให้ขาด
ข้อเจ็ด ให้สูตร ภาวนา ทุกคืน วัน อย่าขาด ฯลฯ
ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็ง ให้ประชุมกันทำอุโบสถ สังฆกรรม อย่าขาด
ข้อเก้า เถิงเทศกาลปีใหม่ ทายกไหว้ขี่วอ แห่น้ำไปสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ ฯลฯ
ข้อสิบ สังกาช ปีใหม่ พระเจ้ามหาชีวิต ไหว้พระ ให้สรงน้ำในวันพระราชวัง และบาสี พระสังฆะเจ้า
ข้อสิบเอ็ด ศรัทธาชาวบ้านนิมนต์สิ่งใด อันบ่ผิดคองวินัย ก็ให้ปฏิบัติตาม
ข้อสิบสอง เป็นสมณะให้พร้อมกันสร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์
ข้อสิบสาม ให้ฮับทานของทายก คือ สังฆะภัตร สลากภัตร เป็นต้น
ข้อสิบสี่ พระเจ้ามหาชีวิต เสนาข้าราชการ มีศรัทธานิมนต์ มาประชุมกันในสิมแห่งใด แห่งหนึ่งในวันเดือนสิบเอ็ดเพ็ง เป็นกาละอันใหญ่อย่าได้ขัดขืน
หมายเหตุ คอง ๑๔ ประการสำหรับพระสงฆ์นี้ เป็นหลักใหญ่ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และได้สะท้อนให้เห็นท่วงทำนองการดำรงชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธ ศาสนา เป็นชีวิตที่เสียสละเพื่อประโยชน์คนส่วนมาก และเป็นคุณให้แก่ทางฝ่าย บ้านเมือง อย่างไม่มีข้อขัดแย้งที่จะเป็นศัตรูกันได้เลย ถ้าสองฝ่ายยึดมั่นในหลัก พระพุทธศาสนาอย่างเข้าร่วมกันจริงๆ
 
sang karat 
ทุกศาสนาล้วนสั่งสอนให้เป็นคนดี รักและเคารพในความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน

ข้อหนึ่ง เมื่อเข้ากล้าหมากเป็นฮวง เป็นหมากแล้ว อย่าฟ้าวกินก่อน ให้เอาทำบุญให้ทาน แก่ผู้มีศีลกินก่อน แล้วจงกินภายลุน
ข้อสอง อย่าโลภตาส่าย อย่าจ่ายเงินแดง แปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบซ้ากล้าแข็งต่อกัน
ข้อสาม ให้พร้อมกันเฮ็ดฮั้วต้าย และกำแพงอ้อมวัดวา อาฮาม และบ้านเฮือน
ข้อสี่ เมื่อเจ้าขึ้นเฮือนนั้น ให้สว่ายกล้างตีน เสียก่อนจิ่งขึ้น
ข้อห้า เมื่อเถิงวันศีล 7-8-14-15 ค่ำ ให้สมมา (ขอขมา) ก้อนเส้า แม่คีไฟหัวคันได และ ประตูที่ตนอาศัยซู่ค่ำคืน
ข้อหก เมื่อจักนอนให้เอาน้ำส่วนล้างตีนก่อน จิ่งนอน
ข้อเจ็ด เถิงวันศีล ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน สมมาผัวแห่งตน และเถิงวันอุโบสถให้แต่งดอกไม้ ธูปเทียนไปเคนพระสังฆเจ้า
ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็งมานั้น ให้นิมนต์พระสังฆเจ้ามาสูตรมุงคุลเฮือน และทำบุญ ใส่บาตรถวายทาน
ข้อเก้า เมื่อพระภิกขุมาบิณฑบาตรนั้น อย่าให้เพิ่นคอยถ้า และเวลาใส่บาตรก็อย่าซุนบาตร และยามใส่บาตรนั้นอย่าใส่เกิบ (รองเท้า) กั้งฮ่มผ้าปกหัว อุ้มหลาน หรือถือเครื่องศาสตราอาวุธ
ข้อสิบ เมื่อพระภิกขุเข้าปริวาสกรรม ซำฮะเบื้องต้นแล้ว ให้แต่งขันดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องอรรถบริขารไปถวายท่าน
ข้อสิบเอ็ด เมื่อเห็นพระภิกขุสังฆะเจ้ากายมา ให้นั่งลงยอมือไหว้ก่อน และจั่งค่อยเจรจา
ข้อสิบสอง อย่าเหยียบย่ำเงาเจ้าพระภิกขุตนมีศีลบริสุทธิ์
ข้อสิบสาม อย่าเอาอาหารเงื่อนกินตนแล้วไปทานให้แก่พระสังฆะเจ้า และเอาไว้ให้ผัวกินจะกายเป็นบาปได้ อันใดในชาติหน้าก็มีแต่แนวบ่ดี
ข้อสิบสี่ อย่าเสพเมถุน กามคุณ ในวันศีล วันเข้าวัสสา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ถ้าดื้อ เฮ็ดได้ลูกได้หลานมา จะบอกยากสอนยาก

wai pra

ชาวอีสานประพฤติปฏิบัติตามฮีตคองประเพณีไม่เสื่อมคลาย

 

ฮีตสิบสอง คองสิบสี่

 ผู้ปกครอง | พระสงฆ์ - บุคคลทั่วไป


ฮีตสิบสอง | คองสิบสี่ | ระบบการปกครองของชาวอีสานโบราณ