foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pin 01

การขึ้นสาย/ตั้งสายพิณ

การขึ้นสายพิณ หรือการตั้งสายพิณ หรือการตั้งเสียงพิณ นั้นจะพบว่ามีความแตกต่างกันตามลักษณะของพิณว่า มีกี่สาย และใช้เล่นเพลงแบบใด พบว่ามีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้

  1. แถบอีสานกลาง ในแถบบริเวณจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ จะใช้พิณแบบ 2-3 สาย โดยมีการตั้งสายดังนี้

lai pin 3sai

สายที่ 1 สายล่างเสียง ม (E) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายบนเสียง ม (E)
  1. แบบโบราณดั้งเดิม จะใช้พิณแบบ 2 สายหรือ 3 สาย จะมีการตั้งสายและเฟรตไม่ค่อยแน่นอน แล้วแต่ลายเพลงที่เล่น โดยมีการตั้งสายดังนี้

lai pin boran

สายที่ 1 สายล่างเสียง ม (E) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายบนเสียง ล (A)
  1. แบบ 2 สายทางอุบลราชธานี จะใช้พิณแบบ 2 สายหรือ 3 สาย จะมีการตั้งสายครั้งเดียว นิยมเล่นกับขบวนแห่ หมอลำเพลิน หมอลำหมู่ ดนตรี หมอลำซิ่ง โดยมีการตั้งสายดังนี้

lai pin 2sai

สายที่ 1 สายล่างเสียง ร (D) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A)
  1. แบบพิณ 4 สาย พิณชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดยลูกหลานเมืองอุบลราชธานี นายคณาวิจก์ โถตะบุตร เมื่อปี 2524 ซึ่งสามารถเล่นได้หลายระดับเสียง รวมทั้งเล่นคอร์ดได้คล้ายกับกีตาร์ จึงสามารถเล่นร่วมกับเพลงลูกทุ่ง หมอลำ หรือเพลงสากลอื่นๆ โดยไม่ต้องใช้กีตาร์ มีการตั้งสายดังนี้

lai pin 4sai

สายที่ 1 สายล่างเสียง ร (D) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายกลางบนเสียง ม (E) สายที่ 4 สายบนเสียง ล (A)

ซึ่งการตั้งสายพิณแบบ 4 สายนี้จะทำให้ได้เสียงที่ตรงกับเสียงเครื่องดนตรีสากล สามารถร่วมบรรเลงไปด้วยกันได้ มีเสียงครบตั้งแต่ โด (ด = C), เร (ร = D), มี (ม = E), ฟา (ฟ = F), ซอล (ซ = G), ลา (ล = A), ที (ท = B) และยังมีครึ่งเสียงทั้งสูงกว่าเสียงเดิม ชาร์ฟ (#) และที่มีเสียงต่ำกว่าเสียงเดิมครึ่งเสียง แฟท (b)

หลักการเล่นพิณ

  1. จับที่ดีด (หรือปิ๊ก) ตามถนัด แล้วฝึกดีดขึ้นลงในแต่ละสายให้คล่องโดยการสลัดข้อมืออย่างสม่ำเสมอ (ควบคุมจังหวะในการดีดให้สม่ำเสมอ)
  2. เมื่อดีดคล่องแล้วให้ใช้นิ้วกดสายลงบนเฟรตที่ดีดให้ตรงกับสายที่ดีด
  3. ฝึกไล่ลำดับเสียงตามตัวโน๊ตและตามชนิดของพิณ (ต้องทราบว่าพิณที่เราใช้ตั้งสายแบบใด)
  4. รายละเอียดลูกเล่นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือฝึกจากการฟังเสียงจากต้นฉบับต่างๆ ให้แม่นยำ
  5. ถ้าเป็นพิณไฟฟ้า สามารถต่อเข้ากับเครื่องปรับแต่งเสียง (Effect) ได้เหมือนกับกีตาร์ ให้ทดลองปรับแต่งเพื่อหาเอกลักษณ์ตามที่ต้องการ

รายการ แทนคุณแผ่นดิน ตอน มือพิณถิ่นอีสาน #2

ตัวอย่างลายพิณ (โน๊ต) เพื่อการฝึกฝน

ตัวอย่างลายพิณเหล่านี้ใช้สำหรับการฝึกฝน เมื่อมีความชำนาญอาจจะปรับปรุงระดับเสียงใส่ลูกเล่นเข้าไปได้อีกมากมาย

ลายนกไส่บินข้ามทุ่ง
* / ม ซ ล ล ด ซ ล / ม ซ ล ล ด ซ ล / ด ร ม ม ซ ร ม / ด ร ม ม ซ ร ม / ม ซ ล ล ด ซ ล /
ม ซ ล ล ด ซ ล / ม ร ด ล ด ซ ล / ม ร ด ล ด ซ ล / ล ซ ม ม ซ ร ม / ล ซ ม ม ซ ร ม /
ด ม ร ด ล ซ ล / ด ร ม ร ด ล ซ ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

ลายแมลงภู่ตอมดอกไม้
(เกริ่น) ด . . . . ./ ร . . . . ./ ม . . . . ./
*/ ล ล ล / ล ม / ม ซ ม / ร ม ซ ม / ล ล ล / ล ร / ด ร ม ร ด / ล ด ล ม / ม ซ ม /
ร ม ซ ม / ล ด ล ร / ด ร ม ด ร / ล ซ ม / ซ ร ม ด / ร ซ ร ม / ซ ม / ล ซ ม / ซ ร ม ด /
ร ซ ม / ซ ม / ล ซ ม / ซ ล ซ ล / ด ร ด ล ซ ล / ล ซ ม / ซ ล ซ ล / ด ร ด ล ซ ล/
ด ร ม ร ม / ซ ล ซ ม ร ม / ด ร ม ร ม / ซ ล ซ ม ร ม / ล ด ร / ม ร ด ร / ด ร ม ร ด ร /
ด ล ด ร ด ร / ด ร ม ร ด ร / ล ซ ม / ซ ร ม ด / ร ซ ร ม ซ ม / ล ซ ม / ซ ร ม ด /
ร ซ ร ม ซ ม / ล ด ร / ด ล ด / ร ซ ร ม ซ ม / ล ด ร / ด ล ด / ร ซ ร ม ซ ม / (กลับไปซ้ำ *)
(ท่อนจบ) ล ม / ร ซ / ร ม ล ด / ล ม ซ ร / ด ร ม ซ / ล . . . . / (ช้า)

 

ลายเต้ยโขง
* / ล ซ ม ล / ซ ด ล ซ ล ม / ล ซ ม ล / ซ ด ม ล / ซ ด ล ซ ม ล / ซ ม ร ด ม / ร ซ ม ร ด ล /
ด ร ม / ร ด ซ ล / ด ร ม / ร ด ซ ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

ลายเต้ยพม่า
* / ล ท / ล ซ ล ซ / ล ซ ท ล / ซ ร ม / ล ท / ล ซ ล ซ / ล ซ ท ล / ซ ร ม / ม ซ ล ซ / ม ร /
ด ร ล ด / ร ม ร ด / ล ด ร ม / ซ ล ซ ม / ซ ร ร / ล ร / ล ท / ล ซ ล ล / ร ด ท ล /
ล ซ ล ล / ร ด ท ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

ลายโปงลาง
* / ม ซ ล ซ ล / ล ด ล ซ ล / ด ร ม ร ม / ล ซ ม ร ม / ม ซ ล ซ ล / ร ด ล ซ ล / ซ ม ล ซ ม /
ด ร ซ ม ร ม / ซ ม ล ซ ม / ด ร ซ ร ม / ม ร ด ล ซ ล / ด ร ม ร ด ล ซ ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

ลายเซิ้งบั้งไฟ
* / ล ด ล ด ล ด ล / ล ด ล ด ล ด ล / ล ด ล ด ร ด ล / ร ด ร ด ร ด ล / ร ด ร ด ร ด ล /
ม ร ม ร ม ด ร / ม ร ม ร ม ด ร / ม ร ม ล ด ร ม ร ม / ม ร ม ล ด ร ม ร ม / ม ร ม ด ม ร ล ด /
ม ร ม ด ม ร ล ด / ด ม ร ด ม ร ด ล ล / ด ม ร ด ม ร ด ล ล / ม ร ม ด ม ร ด ล ด / ม ร ม ด ม ร ด ล ด /
(ซ้ำ * 5 รอบ)

 

ลายลำเต้ย
* / ล ด ร ม ด / ม ด ม ร ล ด / ล ซ ล ด ร ม / ล ม ซ ล ซ ม ซ / ร ล ด ร ม ซ /
ด ร ม ซ ร ม ด / ซ ม ร ซ ร ม ด / ซ ม ร ด ล ซ / ซ ม ร ด ร ม ซ ล / (ซ้ำ * 5 รอบ)

 

ลายศรีโคตรบูรณ์
* / ด ล ด / ร ม ซ ม / ล ม ซ ด / ร ม ซ ม / ด ล ด / ร ม ซ ม / ล ม ซ ม / ร ม ซ ล /
ด ล ซ ม ล / ด ล ซ ม ล /ร ด ล / ซ ม ล / ด ล ซ ม ล / ด ล ซ ม ล / ด ซ ด ล / ซ ม ร ม /
ด ร ม / ซ ร ม / ด ร ม / ซ ร ม / ด ร ม / ร ล ด / ม ร ด ล / ม ร ด ร / ด ร ม ร ด ร /
ด ล ด ร ด ร / ม ซ ม / ร ด ท ล / ม ร ด ท ล / ม ร ด ท ล / ท ล ร / ล ด ท ล / ท ล ซ ล /
ท ล / ร ล ท ล / ซ ล ท ล / ท ล ซ ล ท ล / (ซ้ำ * 3 รอบ)

การฝึกฝนการเล่นพิณนั้นคงต้องอาศัยทักษะเช่นเดียวกับดนตรีชนิดอื่นๆ คือฝึกให้สามารถจดจำทำนอง (ลาย) พิณให้ได้ จึงจะสามารถสอดแทรกใส่ลูกเล่นต่างๆ ลงไปในลายให้เกิดความไพเราะ สนุกสนาน

ทำนอง (ลาย) ข้างบนนั้น นอกจากใช้เล่นกับพิณแล้ว ยังใช้กับการเป่าแคน โปงลาง ได้ด้วย ผู้ที่ชำนาญในการเล่น จะสามารถดัดแปลงใส่เสียงประสาน ทำให้เล่นร่วมกันเกิดความไพเราะ ยิ่งขึ้นได้

 

"ลำเพลินโบราณ แบบอีสานบ้านเฮา" บรรเลงพิณ : พ่อทองใส ทับถนน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)