foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

sanu wao header

ช่วงเดือนธันวาคม หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ หนุ่มนาบ้านทุ่งก็จะเตรียมทำ "ว่าวสะนู" เพื่อปล่อยขึ้นให้ล่องลอยบนท้องฟ้า "สะนูว่าว" หรือในท้องถิ่นบ้านทุ่งบางแห่งเรียกว่า "ธนูว่าว, ทะนูว่าว, อูด" หรือ "หมากตื้อ" ทางใต้เรียกว่า "แอก" มีลักษณะคล้ายคันธนู ที่ติดอยู่บนหัวว่าว เมื่อว่าวล่องลอยอยู่บนท้องฟ้ามีลมพัดผ่านใบสะนู เมื่อว่าวติดลมบนลมจะสะบัดสะนูทำให้เกิดเสียง ตื๊อตึ่ง ตื๊อตือ ตื๊อตึ่ง คล้ายเสียงดนตรี จึงเรียกว่าวที่ติดสะนูนี้ว่า “ว่าวสะนู” จะเกิดเสียงฟังดูแล้วให้ความรู้สึกวังเวง ท่ามกลางความเงียบสงบแห่งราตรีกาล เป็นเหมือนดนตรีที่ขับกล่อมบ้านทุ่ง ฝากความฮัก ความคึดฮอด คึดถึง ไปยังสาวนาที่หมายปองในอีกหมู่บ้านหนึ่งให้ได้ยินในยามค่ำคืน

สะนู น. เครื่องทำเสียงชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายหน้าจ้าง ใบสะนูทำด้วยใบตาล ใบลาน ติวไม้ไผ่ หรือทำด้วยแผ่นเงินแผ่นทอง ถ้าได้แผ่นเงินแผ่นทองเสียงจะไพเราะนัก สะนูนี้ใช้ติดที่หัวว่าว ปล่อยว่าวขึ้นไปในอากาศ ลมพัดสะนูเสียงจะดัง ฟังแล้วเกิดความเพลิดเพลินเจริญใจ ชาวนาที่ต้องใช้หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินหากินมาแต่ดึกดำบรรพ์ ได้รับความทุกข์ทรมาน เมื่อได้ยินเสียงสะนูดังก็จะลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ลืมกระทั่งความทุกข์ยากปากหมอง... "

จากหนังสือ : สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง

ช่วงปลายปีในภาคอีสานจะอยู่ในช่วงฤดูหนาว จะมีลมหนาวพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศเย็นลง หรือบางครั้งชาวบ้านจะบอกว่า "ลมว่าว"  มาแล้ว ซึ่งจะอยู่ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา ชาวอีสานจึงนิยมเล่นว่าวกันในช่วงนี้ คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี

sanu wao 03

ว่าว ที่คนอีสานนิยมเล่นกันนั้น คือ ว่าวสองห้อง หรือ ว่าวดุ๊ยดุ่ย ถือเป็นว่าวพื้นเมืองอีสาน รองมาคือ ว่าวอีลุ้ม ว่าวจุฬา ว่าวประทุน และเมื่อถึงเทศกาลงานบุญ เช่น งานบุญกุ้มข้าวใหญ่ ประชาชนมักจะจัดให้มีการแข่งขันว่าว โดยมีการกำหนดการตัดสินที่หลากหลายกันไป เช่น ความสวยงาม หรือว่าวที่ขึ้นลมได้สูงที่สุด ว่าวที่มีเสียงดังและไพเราะที่สุด เป็นต้น

สะนู หรือ ธนูว่าว

สำหรับ สะนูว่าว หรือ ทะนูว่าว (ตามการออกเสียงแบบชาวอีสาน) หรือ ธนูว่าว คือ เครื่องไม้หรือของเล่น ที่ทำไว้ใช้ในช่วงเวลาว่างจากการทำงานของคนไทยในสมัยโบราณ โดยจะใช้ติดอยู่บนหัวของว่าวที่ทำให้ว่าวมีความสมดุล และติดลมได้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งอัศจรรย์อย่างยิ่งที่สามารถทำให้เกิดเสียงดนตรีบรรเลงได้อย่างไพเราะจับใจ ทางภาคกลางเรียก "ว่าวหง่าว" หรือ "ดุ๊ยดุ่ย"

sanu wao 01

คนไทยโดยเฉพาะทางภาคอีสานมีความเชื่อว่า ว่าวที่มีแอกหรือสะนูประกอบว่าว ถือเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการเสี่ยงทายเรื่องต่างๆ เช่น การเสี่ยงทำนายฟ้าฝนในแต่ละฤดูกาล ถ้าว่าวติดลมลอยอยู่บนท้องฟ้าตลอดทั้งคืน มีความเชื่อว่าปีนั้นฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล ไร่นาและการทำมาหากินจะอุดมสมบูรณ์

แต่ถ้าว่าวขาดหรือเชือกขาด เสียงแอกไม่ดัง ก็มีความเชื่อว่า ในปีนั้นน้ำจะแล้ง ส่วนการเสี่ยงเพื่อเลือกคู่ครอง ถ้าใครเก็บว่าวได้จะถือว่าเป็นคู่ครองอยู่กินกันอย่างมีความสุข (ตำนานในนิทานเรื่อง แก้วหน้าม้า ที่คุ้นเคยกันดีนั่นเอง) นอกจากจะเป็นการละเล่นแล้ว ยังใช้ประกอบพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อและวัฒนธรรม เช่น การเสี่ยงทาย สะเดาะเคราะห์ เป็นต้น

ว่าวที่จะติดสะนูได้ต้องมีขนาดใหญ่ ทำจากไม้ไผ่นำมาเหลาให้ได้ขนาด จากนั้นจึงมัดเป็นรูปสัตว์ตามจินตนาการของผู้เป็นเจ้าของ แต่ที่บ้านทุ่งจะนิยมทำว่าวจุฬากัน เมื่อทำโครงร่างจากไม้ไผ่เสร็จสมบูรณ์แล้วใช้เชือกมัดให้แข็งแรง ยึดด้วยกระดาษแข็งหรือวัสดุที่ทนต่อการเสียดสีของอากาศ ในขณะที่ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้า (กระดาษถุงปูนซีเมนต์ จะเหมาะสมที่สุดเพราะทนทานแม้โดนไอน้ำจากหมอกก็ไม่ขาดทะลุง่าย) ในอดีตกาวที่ใช้ติดกระดาษคือ ยางมะตูม ที่ได้มาจากลูกตูมกา สมัยปัจจุบันกาวลาเทกซ์หาได้ง่ายและสะดวกกว่า

ส่วนหูและหางของว่าวนำมาจากวัสดุที่อ่อนพริ้วเช่น กระดาษย่นสีสันต่างๆ หรือพลาสติกจากถุงก็อบแก็บก็ได้ โดยเฉพาะส่วนหาง ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดความสมดุลย์ในขณะที่อยู่บนอากาศ เมื่อตอนเด็กๆ พวกเราจะลงทุนไปขอจีวรเก่าๆ ของพระที่วัดที่ท่านไม่ได้ใช้แล้ว มาทำเป็นหางว่าวได้ตามขนาดที่ต้องการ (ตามภาพประกอบด้านบน เพราะทนทานจริงๆ ลมแรงเพียงใดก็ไม่ขาดง่ายๆ)

เมื่อได้ว่าวตามขนาดที่ต้องการแล้ว ก็จะถึงขึ้นตอนการทำสะนู ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับธนูที่ใช้ล่าสัตว์ เพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากสายเชือกมาเป็น ใบลาน หรือใบตาล ยึดด้วยเชือกติดกับปลายสะนูทั้งสองข้าง จากนั้นจึงใช้ขี้สูดยึดประกบรอยของเชือกเพื่อมิให้หลุดเมื่ออยู่บนท้องฟ้า

เมื่อประกอบเสร็จแล้ว จะนำมาแกว่งเพื่อทดสอบเสียง จนได้เสียงเป็นที่พอใจ แล้วจึงนำมามัดไว้บริเวณส่วนหัวของว่าว ก่อนที่ปล่อยว่าวจะต้อง "แต่งเคาว่าว" เพื่อเชื่อมโยงระหว่างตัวว่าวกับเชือกว่าว เพื่อให้เกิดความสมดุลย์กัน จากนั้นจึงโยงด้วยเชือกจากเคาว่าวเป็นระยะกว่า 100 เมตร

sanu wao 02

จากนั้นเจ้าของว่าวจะเตรียมวิ่ง โดยมีผู้ช่วยจับว่าวหนึ่งคน แต่ถ้าเป็นว่าวขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้ช่วยไม่น้อยกว่า 2 คน เมื่อเริ่มวิ่งทำให้เชือกตึง จะฉุดให้ตัวว่าวล่องลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า แล้วคลายเชือกให้ได้ระยะตามที่ต้องการ ผูกไว้กับต้นไม้ที่แข็งแรง ส่วนพื้นที่สำหรับการปล่อยว่าวสะนู ก็จะเป็นบริเวณทุ่งนาหลังการเก็บเกี่ยวเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมนักแล ในสมัยก่อนยังไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูง ทำให้สะดวกต่อการปล่อยว่าว แต่ในยุคนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

เมื่อว่าวล่องลอยอยู่บนท้องฟ้า เจ้าของว่าวจะมองเห็นลิบๆ มองผลงานอย่างชื่นชม และกลับไปนอนฟังเสียงสะนูของตนเองในยามค่ำคืน เจ้าของว่าวแต่ละคนจะจำเสียงสะนูของตนเองได้เป็นอย่างดี หากคืนไหนเสียงสะนูหายไป นั้นหมายความว่า ว่าวได้ร่วงหรือเชือกขาดไปแล้ว เขาจะเกิดความกระวนกระวายใจเป็นอย่างมาก รุ่งเช้าจึงต้องเป็นภาระที่จะต้องตามเก็บว่าวคืนมาให้ได้ บางครั้งตามไปพบบนต้นไม้สูง หรือปลายต้นไผ่ ต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงจะตามเก็บคืนได้ หรือบางครั้งบางคราวตกไปไกลถึงในบริเวณป่าช้า ก็ต้องทำใจกล้าชวนเพื่อนฝูงไปเป็นเพื่อนเพื่อตามเก็บคืนมาจนได้

การทำสะนูว่าว

สะนู หรือ ทะนู (เขียนอย่างภาษาอีสาน) เป็นเครื่องเล่นประกอบว่าว ในภาคอีสานมาแต่โบราณ โดยมีส่วนประกอบหลักคือ คัน เคา เปิ้น

คันสะนู ทำมาจากไม้ไผ่ซางไพ หรือไผ่บ้าน อายุตั้งแต่ 3-4 ปีขึ้นไป เพราะจะได้มีความแข็งเหนียว ยืดหยุ่นดี ไม่หักง่าย

เคา หมายถึง ส่วนที่เป็นสายระหว่างเปี้น (ปื้น) สะนู กับปลายคันทั้งสองข้าง แต่ก่อนนิยมใช้เส้นไหมมาทำ (หาง่ายในยุคสมัยนั้น) แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ด้ายไนล่อนอ่อนแทนเพราะหาง่ายกว่าและมีราคาถูก

sanu wao 04

เปี้น (ปื้น) หรือใบ (พัด) เป็นตัวที่ทำให้เกิดเสียงเวลาถูกลมพัด เปี้นจะหมุนไปมาโดยมีเคาเป็นตัวยึด เกิดเป็นเสียงสูงต่ำ เปี้นสะนู อย่างพื้นฐานจะใช้ ใบลาน ใบตาล ใบเกด (การะเกดหรือต้นลำเจียก) มาทำ สำหรับว่าวที่เด็กๆ เล่นกัน ถ้าเป็นสะนูมาตรฐานของหนุ่มๆ ก็จะทำจากหวาย เครือหมากแตก หรือทองเหลืองตีเป็นแผ่นแบนหลาบยาวๆ แต่โดยทั่วไปนิยมใช้หวาย เพราะเหนียวและให้เสียงดี ส่วนเครือหมากแตกให้เสียงนุ่มนวล แต่ก็ไม่ค่อนทนทาน โดนลมไปนานๆ มักเปี้นขาดหรือหัก สมัยใหม่นี่สะดวกมากหันไปใช้แถบพลาสติกแบนๆ (ที่ใช้รัดกล่องพัสดุสิ่งของในการขนส่ง)

อุปกรณ์ในการทำสะนู

  • ไม้ไผ่ซาง หรือไม้ไผ่บ้าน ความยาว 3-4 ปล้อง ตามความเหมาะสม สำหรับนำมาผ่าเหลาทำคันสะนู
  • หวายแก่ปล้องเท่าๆ กัน ขนาดนิ้วก้อย ยาว 4 ปล้อง หรือตั้งแต่ 9 กำมือขึ้นไป
  • พร้าสำหรับผ่าไม้ไผ่ มีดตอกสำหรับปาด เหลาเปี้นสะนู และคันสะนู
  • เหล็กซี (เหล็กหมาด) ขนาดเล็ก ประมาณซี่ก้านร่ม ตีปลายแล้วฝนปลายให้แหลม สำหรับเจาะรูหัวใบเปิ้นสะนู
  • ด้ายสำหรับทำสายต่องหรือสายยน (ห่วงหัวสะนูเพื่อร้อยเคายึดกับคันธนู)

สอนทำสะนูว่าวจากหวาย ร่วมอนุรักษ์สืบสานประเพณีอีสานพื้นบ้าน

วิธีทำสะนู

  • นำไม้ไผ่มาผ่าซีกให้ได้ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เหลาให้กลมเหลือขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร แล้วเหลาตกแต่งส่วนปลายทั้งสองด้านให้เรียวสมดุลย์กัน เพื่อจะได้คล้องสายเคา/เปิ้นสะนูได้ตึง อย่าให้เล็กนักเดี๋ยวจะหักเสียก่อน อาจต้องมีการลนไฟเพื่อดัดแต่งเล็กน้อยให้มีความโค้งสวยงาม
  • นำหวายตัดให้เกินขนาดความยาวที่กำหนด (คันสะนู) ไปสัก 1 ฝ่ามือ นำไปลนไฟถ่าน หรือแก๊ส อ่อนๆ ดัดให้ตรงด้านใดด้านหนึ่ง พอดัดได้ที่แล้วรีบเอาผ้าชุบน้ำเย็นลูบหรือแช่น้ำสักครู่หนึ่ง เพื่อไม่ให้หวายคืนตัว
  • ปาดเอาเปี้นและหัวสะนู โดยเล็งเอาด้านที่ตรงเป็นหลักเพื่อทำเปิ้นเริ่มปาดจากข้อหวายด้านหนึ่งไปพอประมาณช่วงกลาง ก็เปลี่ยนไปปาดจากข้อหวายอีกด้านหนึ่ง เพื่อจะได้เล็งหาเอาความตรงของเปิ้นสะนูไปด้วย ใช้คมมีดตอกปาดขูดให้ได้พอประมาณก่อน อย่าเพิ่งปาดลงจนลึก จากนั้นก็พลิกกลับด้านตรงข้ามกับที่ปาดไว้แล้ว ทำเหมือนกันกับด้านที่แล้ว
  • เมื่อปาดหัวปาดท้ายได้พอประมาณแล้ว (ปกติความหนาบางของเปี้นสะนู 1/16 นิ้ว หรือครึ่งหุน) แต่อย่าเพิ่งให้บางเท่าขนาดที่จะเอาจริง เพราะอาจจะลำบากในการแต่งใบ
  • นำไปแช่น้ำไว้ ประมาณ 6-12 ชั่วโมง เพื่อง่ายต่อการเหลาเปิ้น พอเห็นสมควรว่าเกือบได้ความบางตามต้องการแล้ว นำไปถ่วงเพื่อให้เปี้นสะนูเหยียดตรงดี หาของหนักๆ ถ่วงไว้ ประมาณ 3-5 วัน ค่อยนำมาเหลา แต่งต่ออีกทีอาจขัดด้วยกระดาษทราย (สมัยก่อนใช้ขวดแก้วทุบให้แตก เอาคมแก้วค่อยๆ ปาดเบาๆ จนเรียบเสมอกัน แต่บางคนชำนาญใช้มีดตอกก็ค่อยๆเหลาแต่งได้เรียบเนียนเหมือนกัน)
  • จากนั้นก็จะเอาเหล็กซีเผาไฟให้แดงเจาะรูที่หัว ตรงใต้ข้อหวาย ประมาณรอยบากเปี้น เจาะให้ได้ตรงกลางทั้งสองข้างทะลุกัน อีกด้านหนึ่งของหัวสะนูก็ทำเหมือนกัน เมื่อเจาะเสร็จทั้งสองด้าน ก็มาหั่นเหนือข้อหวายเพื่อบากเอาหัวสะนู หั่นตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก แล้วจะได้หัวสะนู นำไปเจียน ไปตัดขัดกระดาษทรายให้กลมกลึง
  • ส่วนหัวสะนูนี้เป็นส่วนสำคัญเกี่ยวกับเสียงที่เกิดจากการสั่นของใบสะนู ถ้าเล็กไปเสียงอาจจะแหลมเพราะสั่นด้วยความเร็ว สมัยก่อนช่างสะนูจะใช้ขี้สูด (ชันโรง หรือชำมะโรง) หุ้มให้ใหญ่มีน้ำหนักขึ้น เสียงก็จะทุ้มนุ่มนวลขึ้น สมัยปัจจุบันใช้เศษพลากติกลนไฟหุ้มแทนเพราะหาง่ายดี

การปรับแต่งเสียงสนูด้วยขี้สูด หรือขี้ผึ้ง (ชันโรง)

  • การทำใบเปิ้นหรือใบสะนูในปัจจุบัน ผู้เขียนพบว่ามีช่างทำสะนูยุคใหม่ใช้วัสดุพลาสติกแทนหวาย โดยใช้พลาสติกรัดของเส้นยาวๆ ที่ชาวบ้านนำไปสานเป็นตะกร้านั่นแหละมาทำ ส่วนหัวสะนูก็หุ้มด้วยพลาสติก (ด้ามแปรงสีฟัน) มาลนไฟหุ้ม ก็ได้เสียงแปลกๆ ดีเหมือนกัน

เพลง สะนูว่าวข่าวรัก ศิลปิน : เอกพล มนต์ตระการ

new1234อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : นิทานพญาคันคาก เมื่อได้ยินเสียงสะนูว่าว

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)