baisri sukwan

วิดฟาย

วิดฟาย เป็นภาษาหมอเฒ่าอีสาน หมายถึง การเอาดอกไม้จุ่มลงในน้ำมนต์ แล้วตวัด (ประพรม) ใส่ผู้จะรับการสู่ขวัญ ลักษณะของการวิดฟายจะแตกต่างจากการปะพรมน้ำพุทธมนต์ของพระสงฆ์ ตรงที่อุปกรณ์ในการสลัดน้ำมนต์เป็นดอกไม้ ไม่ใช้ใบหญ้าแฝก หรือ ใบมะยม ดังเช่น พระสงฆ์ การจับดอกไม้จุ่มลงในน้ำมนต์มือจะคว่ำลง แล้วยกขึ้นให้พ้นจากขอบภาชนะ ตวัดน้ำให้กระเด็นออกจากตัวผู้วิดฟาย (พราหมณ์) สู่ผู้รับการสู่ขวัญ พิธีนี้นิยมทำก่อนสูตรขวัญ โดยที่พ่อพราหมณ์เอาขันต์น้ำมนต์มาถือไว้ในมือซ้าย มือขวาเอาดอกไม้ 1 คู่ จุ่มลงในน้ำมนต์ ประพรมไป ยังผู้รับสูตรขวัญ พร้อมทั้งสวดคาถาว่า

sukwan 06

โอม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง อุทกัง น้ำอันนี้บ่แม่นน้ำธรรมดา พระยาแถนประทานมาแต่ฟากฟ้า ว่าให้เอามาหดให้คนใต้ลุ่มฟ้า ให้ได้ดังคำมักคำปรารถนา

กูจักซิดใส่คนถึกหว่านก้านหนา กูจักซิดใส่คนถึกยาก้านก่ำกะหาย กูจักซิดใส่คนถึกฝังหุ่น ฝังฮอยกะหาย กูจักซิดใส่คนผอมเหลืองเป็นพยาธิ กูจักซิดใส่คนเป็นเคราะห์คาดเถิงคีงกะหาย กูจักซิดใส่คนเห็นลางฟานเห่า กูจักซิดใส่คนที่นกเค้าฮ้องกูกเอาขวนกะหาย กูจักซิดใส่คนเห็นงูอยู่ในบ้าน กูจักซิดใส่คนเบิดบ้านนึ่งข้าวสีแดงกะหาย สัพพะโรคระงับ สัพพะภัยระงับ สัพพะเคราะห์ ระงับ สัพพะเข็ญระงับ

โอมพระพุทธัง อุทกัง กูจักซิดใส่คู่แต่งงาน คู่แต่งงานกะอายุยืนดอมกันเท่าเฒ่า มีลูกมีเต้าล้วนแต่ผู้ดี เป็นเศรษฐีมั่งมีบ่ไฮ้ กูจักซิดใส่คนทุกข์เกิดเป็นคนร่ำรวย กูจักซิดใส่ควาย ควายก็เป็นควายเขาแก้ว กูจักซิดใส่ฮ้านค้าเปิดใหม่แล้ว ก็มั่งมีเงินคำ กูจักซิดใส่ผู้นำก็จักเป็นหลักชัยของประเทศ กูจักซิดใส่นคเรศร์ก็จักเป็นเมืองหลวง กูจักซิดใส่ปวงนักเรียนก็ได้เป็นดีบ่น้อย กูจักซิดใส่ข่อยข้า ข้อยข่าก็กลับต่าวเป็นนาย กูจักซิดใส่ข้าราชการผู้น้อย ก็มาเกิดเป็นใหญ่เป็นโต กูจักซิดใส่ พระสังโฆและจัวน้อย ก็จักเป็นพระยอดแก้ว อมอ่านแล้วด้วยบาทพระคาถาว่า อุ อะ มุ มะ มูล มา มะหามูลมัง สวาหุมฯ

รายการนักข่าวพลเมือง ทางช่อง ThaiPBS : หมอพราหมณ์

พิธีกรรมวิดฟายนี้ ถ้าใช้แล้วก็ไม่ต้องใช้สูตรขวัญหลุ่มขวัญเทิง ถ้าใช้สูตรขวัญหลุ่มขวัญเทิงแล้ว ก็ไม่ต้องวิดฟาย หรือจะใช้ทั้งหมดก็ขอให้อยู่ในดุลพินิจของพ่อพราหมณ์เถิด

sukwan 01

“ขวัญ” ถือว่า เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว โดย “ในบรรดาความเชื่อทั้งหลายของคนไทย ความเชื่อเรื่องขวัญ น่าจะเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวไทยทุกสังคม รวมทั้งชาวไทยนอกประเทศด้วย เช่น ชาวไท-ลาวในประเทศ สปป.ลาว ชาวไทใหญ่ในประเทศพม่า ชาวไทลื้อในสิบสองปันนา และชาวไทดำในญวน เป็นต้น” (ธวัช ปุณโณทก, 2532. หน้า 25) 

การสู่ขวัญตามแบบ สปป.ลาว จากเอกสารลายลักษณ์ที่เผยแพร่ในปัจจุบันพบบทสู่ขวัญ ได้แก่

  • บทสู่ขวัญคนธรรมดา (คำสู่ขวันคนทำมะดา : ຄໍາສູ່ ຂວັນຄົນທໍາມະດໍາ)
  • บทสู่ขวัญน้อย (คำสู่ขวัญน้อย : ຄໍາສູ່ ຂວັນນ້ ອຍ)
  • บทสู่ขวัญแต่งงาน (ຄໍາສູ່ຂວັນແຕ່ງດອງ)
  • บทสู่ขวัญหญิงอยู่ไฟ (คำสู่ขวันแม่ออกกำ : ຄໍາສູ່ຂວັນແມ່ອອກກໍາ)
  • บทสู่ขวัญเด็กน้อย (บทสู่ขวัญเด็กน้อย : ຄໍາສູ່ຂວັນເດັກນ້ອຍ)
  • บทสู่ขวัญคนป่วย (คำสู่ขวัญคนป่วย : ຄໍາສູ່ຂວັນຄົນປ່ວຍ)
  • บทสู่ขวัญนาค (คำสู่ขวันนาก : ຄໍາສູ່ຂວັນນໍາກ)
  • บทสู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ (คำสู่ขวัญขึ้นเฮือนใหม่ : ຄໍາສູ່ຂວັນຂຶ້ນເຮືອນໃຫມ່)
  • บทสู่ขวัญข้าว (คำสู่ขวันเข้า : ຄໍາສູ່ຂວັນເຂົ້ໍາ)
  • บทสู่ขวัญควาย-วัว (คำสู่ขวัญควายงัว : ຄໍາສູ່ຂວັນຄວໍາຍງົວ)
  • บทสู่ขวัญเกวียน-รถ (คำสู่ขวันเกวียน – ลด : ຄໍາສູ່ຂວັນກວຽນ - ລົດ)
  • บทสู่ขวัญเรือน (คำสู่ขวัญเฮือน : ຄໍາສູ່ຂວັນເຮືອນ)
  • บทสู่ขวัญหลวง (คำสู่ขวันหลวง : ຄໍາສູ່ ຂວັນຫຼວງ)
  • บทบายศรีพระสงฆ์ (คำบาสีพะสง : ຄໍາບໍາສີພະສົງ)
  • บทสู่ขวัญปีใหม่ (คำสู่ขวันขึ้นปีใหม่ : ຄໍາສູ່ຂວັນປີໃຫມ່)
  • บทสู่ขวัญผู้อาวุโส (คำสู่ขวันผู้อาวุโส : ຄໍາສູ່ຂວັນຜູ້ອໍາວຸໂສ)
  • บทสู่ขวัญผู้ที่จะไปเรียนต่างประเทศ (คำสู่ขวันคนจะไปเฮียนประเทดนอก : ຄໍາສູ່ຂວັນຄົນຈະໄປຮຽນປະເທດນອກ)
  • บทสู่ขวัญผู้ที่เรียนสำเร็จจบมาจากต่างประเทศ (คำสู่ขวันผู้ที่กับมาแต่เฮียนต่างปะเทด : ຄໍາສູ່ຂວັນຜູ້ທີ່ກັບມໍາແຕ່ຮຽນຕ່ໍາງປະເທດ)

 

ເລາະລຸຍລາວ : ໝໍສົ່ງພອນ
รายการ เลาะลุยลาว ตอน หมอส่งพร (การบายศรีสู่ขวัญแบบลาว)

พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีกรรมที่สำคัญในประเพณีไทยภาคอีสาน และในประเทศ สปป. ลาว ที่จัดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อันหมายถึงการรับเอาขวัญที่หลงทางอยู่ข้างนอกให้กลับเข้าสู่ตัวตน และเพื่ออวยพรให้เกิดความสุขในชีวิต คำอวยพรที่นิยมให้แก่กัน ได้แก่ ขอให้มีอายุมั่นขวัญยืนและให้มีสุขภาพแข็งแรง อันเป็นการแสดงถึงจิตใจที่กว้างขวาง เอื้ออารีย์ แสดงออกซึ่งความรัก ความเคารพและนับถือ ไม่ว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ก็มักจะเต็มไปด้วยความศรัทธาและมิตรภาพอย่างอบอุ่นของผู้เข้าร่วมงาน

redline

backled1