foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

moo hed ped kai

เมื่อได้ยินคนโบราณบอกว่า "มากิน หมู เห็ด เป็ด ไก่" ไม่ได้หมายความว่า "มีคนถูกหวยรวยเบอร์จึงสั่ง หมูหัน ซุปเห็ด เป็ดอบน้ำผึ้ง และไก่ตอนตัวใหญ่ มาเลี้ยงดูปูเสื่อ" กันอย่างยิ่งใหญ่นะ แต่มันหมายถึงภูมิปัญญาโบราณ "การใช้ยาสมุนไพรมารักษาอาการต่างๆ ทั้งปวดหัว ตัวร้อน โรคกษัย (กะ-สัย) ไตพิการ" ซึ่งทั้งหมดนั้นหมายถึง "สมุนไพร 4 ชนิด คือ หญ้าแห้วหมู ใบชุมเห็ด รากต้นตีนเป็ด และใบมะคำไก่" ซึ่งคนรุ่นใหม่ๆ อาจไม่เข้าใจดอกนะ วันนี้เลยนำมาขยายความกันหน่อย ด้วยการทำความรู้จักกับสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดนี้กันครับ

"หมู เห็ด เป็ด ไก่" เดิมเป็นชื่อเรียก "สมุนไพร" ความหมายเป็นดังนี้

  • หมู คือ หญ้าแห้วหมู
  • เห็ด คือ ใบชุมเห็ดเทศ
  • เป็ด คือ รากต้นตีนเป็ด
  • ไก่ คือ ต้นประคำไก่

โดยคนที่ป่วยเป็น โรคกษัย (กะ - สัย) คือ มีอาการ ผอมแห้ง ตัวเหลือง เท้าเย็น ร่างกายทรุดโทรม แพทย์แผนโบราณก็จะจัดยาสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นให้กิน จึงได้เรียกกันสั้นๆ ว่า "หมู เห็ด เป็ด ไก่"

หญ้าแห้วหมู

แห้วหมู (Cyperus rotundus Linn.) จัดเป็นอยู่ในกลุ่มวัชพืช (weed) ที่ยากแก่การควบคุม พบได้ทั่วไปในทุกภาค มักขึ้นตามข้างทุ่งนา สนามหญ้า และพื้นที่ว่างทั่วไป โดยจะพบขึ้นเป็นหย่อมๆ หรือกระจายเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากมีระบบรากเป็นเถาในดิน

แห้วหมู มีชื่อสามัญ Nut grass, Coco grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus L. จัดอยู่ในวงศ์กก (CYPERACEAE)

haew moo

สมุนไพรแห้วหมู มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), ซาเช่า (แต้จิ๋ว), ซัวฉ่าว (จีนกลาง) เป็นต้น

ต้นหญ้าแห้วหมู มักถูกมองเป็นวัชพืชที่ไร้ค่า หากขึ้นบ้านไหนก็เป็นได้ตัดถอนทิ้ง แถมมักแย่งสารอาหารในดิน ทำให้ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่เพาะปลูกลดลง และยังเป็นวัชพืชที่กำจัดยากมาก เนื่องจากมีหัวอยู่ใต้ดินและทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ในตำรายาแผนโบราณของไทยและต่างประเทศนั้น มีการใช้แห้วหมูเป็นยาสมุนไพรมานานมากแล้ว แถมยังเป็นยาดีที่มีราคาถูกอีกด้วย

แห้วหมู มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ แห้วหมูใหญ่ และ แห้วหมูเล็ก ซึ่งมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันในเรื่องของ ความสูงของลำต้น ลักษณะของดอก โดยสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ทั้ง 2 ชนิด เพราะมีสรรพคุณที่ใกล้เคียงกันมาก โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ปรุงเป็นยาก็ได้แก่ ส่วนของหัว ต้น ราก และใบแห้วหมู

ประโยชน์ของแห้วหมู

แม้ว่าหัวแห้วหมู จะมีรสขมแต่ก็มีคุณค่าทางอาหาร ซึ่งในทวีปแอฟริกาใช้หัวรับประทานเป็นอาหารในช่วงขาดแคลน หัวแห้วหมูสามารถนำมาใช้เป็นอาหารนกได้ มีการนำมาใช้ผสมใยลูกหมากแห้ง หรือแป้งเหล้าในการทำเป็นแอลกอฮอล์ เพราะมีคุณสมบัติทำให้เกิดแก๊สเร็ว

haew moo 2

สรรพคุณทางยาของแห้วหมู

แห้วหมู เป็นสมุนไพรที่มีการวิจัยพบว่า มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้หัวนำมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาเคี่ยวกิน หรืออีกวิธีเป็นสูตรของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งในสูตรจะประกอบไปด้วย หัวแห้วหมู 10 หัว, ดีปลี 10 หัว และพริกไทยดำ 10 เม็ด นำทั้งหมดมาบดให้เป็นผงแล้วใช้ชงกับน้ำผึ้งดื่มก่อนนอน ตามตำรานี้กล่าวว่า ให้ทำเฉพาะวันเสาร์และรับประทานให้หมดในวันเดียว ไม่ให้เหลือทิ้งไว้ แล้วเสาร์ต่อไปค่อยทำใหม่ ผู้ใช้สูตรยาตำรับนี้ร่างกายจะปราศจากโรคภัยและมีอายุยืนยาว ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงกระชุ่มกระชวย ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน หูตาสว่างไสว หัวและรากใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย

หัวแห้วหมู นำมาแช่น้ำเกลือแล้วผัดกิน มีสรรพคุณช่วยปรับลมปราณให้สมดุล ช่วยแก้ธาตุพิการ กินน้อยเป็นยาบำรุงหัวใจ แต่ถ้าหากกินมากเกินไปจะมีฤทธิ์บีบหัวใจทำให้หัวใจหยุดเต้น ช่วยลดไขมัน ด้วยการใช้แห้วหมูทั้ง 5 ส่วน ตั้งแต่รากจนถึงต้น จำนวนตามต้องการ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่วไฟให้เหลือง แล้วใช้ชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชา

ใช้เป็นยาลดความอ้วน ทำให้น้ำหนักตัวลดลง ด้วยการใช้หัวแห้วหมู 5 บาท, บอระเพ็ด 4 บาท, กระชาย 5 บาท, เหงือกปลาหมอ 10 บาท, พริกไทยอ่อน 10 บาท, และมะตูมอ่อนแห้ง 4 บาท นำมาบดให้เป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเม็ดพุทรา ใช้รับประทานก่อนนอนวันละ 1 เม็ด สูตรนี้ยังช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงและช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดีอีกด้วย

ช่วยลดความดันโลหิต โดยใช้หัวแห้วหมูนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม ในอัตราส่วนหัว 1 ส่วน ต่อน้ำร้อน 10 ส่วน

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush) เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ต้น ใบ ดอก ฝัก เมล็ด และราก ใช้เป็นยาขับพยาธิ รักษาผิวหนัง กลากเกลื้อน รักษาหูด ขับปัสสาวะ

ชื่อสามัญ : Acapulo, Candelabra bush, Candle bush, Candlestick senna, Christmas candle, Empress candle plant, Impetigo bush, Ringworm bush, Ringworm senna, Ringworm shru, Seven golden candlestick
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alata (L.) Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia alata L., Cassia bracteata L.f., Herpetica alata (L.) Raf.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ส้มเห็ด (เชียงราย), จุมเห็ด (มหาสารคาม), ขี้คาก, ลับมืนหลวง, ลับหมื่นหลวง, ลับมืนหลาว, หญ้าเล็บมือหลวง, หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ), ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ชุมเห็ดเทศ (ภาคกลาง), ตะสีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตุ๊ยเฮียะเต่า ฮุยจิวบักทง (จีน), ตุ้ยเย่โต้ว (จีนกลาง) เป็นต้น

chum hed tes

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

รากชุมเห็ดเทศใช้ผสมยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ใช้ใบชาชุมเห็ดเทศนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ หากดื่มยาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ชาชุมเห็ดเทศใช้ชงกับน้ำดื่ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

ใบช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที ใช้แบ่งน้ำมาดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือจะใช้ชงเป็นชาดื่มต่างน้ำวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดเป็นปกติดีแล้วก็ให้ต้มใบยอดื่มอีก 3 สัปดาห์ ก็จะหายขาดจากโรคเบาหวาน ช่วยแก้เส้นประสาทอักเสบ

ใบ, ราก, ต้น ช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ เมล็ดช่วยแก้ตานซาง ถ่ายพิษตานซาง ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรับประทานตอนท้องว่าง ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ

ต้นตีนเป็ด

ต้นตีนเป็ดที่จะกล่าวถึงนี้ มีการเข้าใจสับสนกันอยู่มากนะครับ โดยทั่วไปถ้ากล่าวขึ้นมาลอยๆ เราจะหมายถึง ต้นตีนเป็ด (Alstonia scholaris) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พญาสัตบรรณ ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ขนาดกลางถึงใหญ่มาก รูปทรงคล้ายดอกบัวใหญ่ยักษ์ จึงเรียก พญาสัตบรรณ จะมีผลจะเป็นฝักยาวๆ กับอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า ต้นตีนเป็ดน้ำ หรือ ต้นตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam) ซึ่งไม่เหมือนกัน ต้นตีนเป็ดน้ำจะมีลำต้นเล็กกว่า และพบอยู่ริมน้ำ ริมคลอง หรือป่าชายเลน มีดอกสีขาวพร้อมกลิ่นอ่อนๆ ผลเป็นรูปกลมๆ หากลูกหลุดจากต้นแล้วแห้ง สามารถนำมารดน้ำปลูกเป็นต้นใหม่ได้

พญาสัตบรรณ

ต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ เมื่อลมหนาวพัดมาทีไรบ้านใครที่ปลูกต้นตีนเป็ดไว้ หรืออยู่ใกล้ๆ ที่เขาปลูกต้นตีนเป็ด ก็คงได้กลิ่นจากดอกของต้นนี้อย่างชัดเจน บ้างก็ว่า "หอมชื่นใจ" บ้างก็ว่า "เหม็นจนเวียนหัว" แต่ไม่ว่าอย่างไรต้นตีนเป็ดก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ลมหนาว” ไปโดยปริยาย

ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ มีชื่อสามัญว่า Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree (ดูจะเป็นชื่อที่อันตรายน่ากลัวอยู่นะเนี่ย)

และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หัสบัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด เป็นต้น

paya satabun

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

ประโยชน์ของพญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ด

พญาสัตบรรณ เป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี (Allelopathy) สารสกัดจากใบพญาสัตบรรณสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ส่วนสารสกัดจากเปลือกของลำต้นก็จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้ ในบอร์เนียว ชาวบ้านนิยมนำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวนได้ เนื้อไม้หยาบ อ่อน แต่เหนียว สามารถใช้ทำหีบใส่ของ หีบศพ ทำโต๊ะ เก้าอี้ ฝักมีดของเล่นสำหรับเด็ก รองเท้าไม้ หรือไม้จิ้มฟันได้ ใช้ทำฟืน หรือนำใช้ทำโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน เป็นต้น สารสกัดจากน้ำมันหอมระเหยของดอกพญาสัตบรรณสามารถใช้ไล่ยุงได้

ต้นพญาสัตบรรณ นอกจากจะปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงาแล้ว ยังเป็นไม้มงคลนามที่นิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่า การปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ที่บ้านจะทำให้มีเกียรติยศ จะทำให้ได้รับการยกย่อง และการนับถือจากบุคคลทั่วไป ซึ่งความหมายของต้นก็มาจากคำว่า "พญา" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่องและเคารพนับถือ ส่วนคำว่า "สัต" ก็มีความหมายว่า สิ่งที่ดีงาม ความมีคุณธรรมนั่นเอง และตามความเชื่อจะนิยมปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือ และผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ แต่ถ้าอยากให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นไปอีก ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น

paya satabun 2

สรรพคุณทางยาของพญาสัตบรรณ

เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ ใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ ใบอ่อนใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ เปลือกต้น,ใบ, ดอก ช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย ดอก ช่วยแก้โลหิตพิการ

ต้นตีนเป็ดน้ำ

ต้นตีนเป็ดน้ำ ชื่อสามัญ Pong pong มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ตุม ตูม พะเนียงน้ำ (กาญจนบุรี), สั่งลา (กระบี่), ตีนเป็ด ตีนเป็ดทะเล (ภาคกลาง), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cerbera odollam Gaertn. (คาร์เบอรา โอดอลลาม) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

teen ped nam

ประโยชน์ของตีนเป็ดน้ำ

เมล็ด มีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาเบื่อปลา ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าแมลง ผล เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ดใช้ทำเป็นยาใส่ผมแก้ผมหงอก น้ำมันจากเมล็ดใช้ใส่ผมเป็นยาแก้เหา โดยใช้ส่วนผสมของเมล็ดตีนเป็ดน้ำกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 เมื่อนำไปฆ่าเหาให้ใช้ชโลมผมทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จะทำให้เหาทั้งหมดตายและไข่ฝ่อทั้งหมด โดยเมล็ดจากลูกตีนเป็ดน้ำจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดีกว่ายาฆ่าเหาที่ใช้สารเคมีที่มีวางขายตามท้องตลาด และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้ใบน้อยหน่า เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการชโลมผมน้อยกว่า อีกทั้งยังมีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย เมล็ดใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง

ต้นตีนเป็ดน้ำ มีทรงพุ่มสวยงาม ผลและดอกสวย ดอกมีกลิ่นหอม ใบไม่ค่อยหลุดร่วง จึงใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามลานจอดรถหรือริมถนนได้ หรือจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมสระว่ายน้ำ ริมทะเล ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน แต่ยางจากต้นเป็นอันตรายจึงไม่ควรปลูกใกล้กับสนามเด็กเล่นหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่

สรรพคุณของตีนเป็ดน้ำ

เมล็ดมีฤทธิ์ต่อหัว ช่วยบำรุงหัวใจ รากช่วยแก้ลม แก้ลมให้กระจาย แก่นมีรสเฝื่อน ช่วยกระจายลม กระจายเลือด กระจายลมอันฑพฤกษ์ แก้ลมอัณฑพฤกษ์ (ลมที่ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้) ดอกช่วยแก้โลหิตพิการ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน ใบมีรสเฝื่อน ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกต้นและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัด แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้หวัด ส่วนน้ำมันจากเมล็ดใช้ทามีสรรพคุณแก้หวัด

รากมีรสเฝื่อน ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยขับผายลม ผล เมล็ด ใบ เปลือกต้น และทั้งต้นมีสรรพคุณทำให้อาเจียน แก้หลอดลมอักเสบ

มะคำไก่

มะคำไก่ บางพื้นที่เรียก ประคำไก่ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน บ้านเรานิยมปลูกตามวัด เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาเย็น เริ่มจากใบตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายกระษัย ส่วนราก แก้เส้นเอ็น แก้วัณโรค ฝีหรือมะเร็งในตับ เป็นต้น

มะคำไก่ มีชื่ออื่นๆ เช่น ประคำไก่ มะคำไก่ มะคำดีไก่ (ภาคกลาง) หมากค้อ มักค้อ (ขอนแก่น), ปะอานก, ยาแก้, โอวนก, มะองนก (เหนือ), ทะขามกาย (ตะวันออก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Drypetes roxburghii (Wall.) Hurusawa ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE

ma kam kai

มะคำไก่ เป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านสีขาวนวล กิ่งทอดห้อยลง เปลือกเรียบสีเทา ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ระนาบเดียว รูปขอบขนานแกมรูป หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่มเบี้ยว ขอบหยักมน หรือจักซี่ฟัน เป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกแบบช่อกระจุก ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ดอกแยกเพศต่างต้นหรือบ้างครั้งอาจสมบูรณ์เพศ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากันมี ขนที่ขอบเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอก เพศเมีย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากัน ผลรูปทรงกลม รูปรี หรือรูปไข่ สีขาวอมเทา เมื่อสุกมีสีดำ

ชาวสวนใช้ใบประคำไก่และใบขี้เหล็กช่วยบ่มมะม่วง น้ำมันจากเมล็ดใช้จุดตะเกียงได้

สรรพคุณทางยาของมะคำไก่

  • ต้น - เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
  • ราก - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายในทั้ง 5 หรือมะเร็ง แก้วัณโรค ขับปัสสวะ
  • ใบ - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย
  • ใบ ผล และเมล็ด - กินเป็นยาลดไข้ แก้หวัด และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

พอมาถึงตรงนี้หลายๆ คนคงจะบอกว่า "ไม่อยากกินดอก หมู เห็ด เป็ด ไก่ แบบนี้ ให้อาวทิดหมูเลาแซบอยู่ผู้เดียวสา" เหอๆ ถ้าบ่มีโรค มีภัย กะบ่มีไผอยากชิมดอกครับ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคปลอดภัยกันครับ

อ่านเพิ่มเติม : สมุนไพร ผักพื้นบ้านอีสานที่น่าสนใจ

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)