sor isan

ตำนาน ซอ

"ซอ" เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยอาศัยคันชักสีเข้ากับสาย มีส่วนสาคัญ 2 ส่วนคือ ตัวสั่นสะเทือน (Vibrator) และตัวขยายเสียง (Resonator) และมีการสันนิษฐานว่า เครื่องสายนี้น่าจะเกิดหลังเครื่องดนตรีประเภทดีด เราเรียกเครื่องสายประเภทนี้ด้วยคำในภาษาไทยว่า "ซอ" แม้แต่เครื่องสีของฝรั่งที่เรานำมาใช้ในตอนหลังนี้ เราก็เรียกว่า "ซอ" เช่นกัน

"ซอ" สันนิษฐานน่าจะเป็นคำยืมมาจากภาษาอินเดีย เพราะซอสามสายของอินเดียในแคว้นแคชเมียร์เรียกว่า "ซาซ์" หรืออาจจะมาจากคำ "ซะโร" ซึ่งเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของซอ "ซารินดา" ของอินเดีย แม้ในภาคเหนือของเราก็็เรียกว่า "ซอลอ" หรือ "สะล้อ" หรือ "ตะล้อ" หรือ "ทะลอ" ซึ่งเขมรก็เรียก "ซอ" วา "ตะรอ" หรือ "ตะรัว" หรือ "ตรัว" เป็นชื่อเรียกในแถบจังหวัดอีสานใต้ของไทย

sor international

การพัฒนาของเครื่องสายไทย หากตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับวงเครื่องสาย ไม่ว่าจะเป็น วรรณคดี ประวัติศาสตร์ จะพบว่า ลักษณะของวงเครื่องสายเป็นวงที่เก่าแก่ที่สุดวงหนึ่ง แต่มิได้ใช้มาเป็นวงหลักสำหรับการบรรเลงในงานต่างๆ คงเป็นแต่เพียงวงพื้นเมืองที่บรรเลงตามบ้าน และไม่มีหลักฐานอันใดที่จะทราบว่า ในสมัยสุโขทัยก็ดี สมัยกรุงศรีอยุธยาก็ดี วงเครื่องสายเหล่านั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง แหล่งที่ให้กำเนิดวงเครื่องสายน่าจะเป็นไทยลานนา หรือไทยพายัพมากกว่าถิ่นอื่นของไทย เพราะจากการสังเกตวงดนตรีพื้นเมือง ชาวไทยพายัพยังคงรักษาสภาพมาจนถึงปัจจุบัน จะพบว่า เครื่องดนตรีหลักของเขาเน้นหนักไปในทางเครื่องมีสาย เช่น ซึง สะล้อ กระจับปี่ เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏแต่ชื่อ "มโหรี" ไม่มีชื่อว่า "เครื่องสาย" หากจะอ้างหลักฐานของคำว่า "ดนตรี" ที่ปรากฏใน ราชานุกิจของพระมหากษัตริย์ว่า "...หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี.." จะแปลคำว่า “ดนตรี” ว่า “เครื่องดนตรีที่มีสาย” อย่างภาษาบาลีสันสกฤต ก็ยังอ่อนหลักฐานนัก ด้วยเหตุนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงเรียกว่า “มโหรีเครื่องสาย”

อันการพัฒนาของวงเครื่องสายไทย น่าจะเริ่มมาแต่การ “บรรเลงพิณ” คือ การบรรเลงด้วยพิณน้ำเต้ามาก่อน หรืออาจจะเป็นเครื่อง “มีสาย” ก็ไม่ทราบได้ จากหลักฐานในสมัยสุโขทัยปรากฏแต่คำว่า “พิณ” เป็นส่วนใหญ่ คือ เครื่องดีดหรือเครื่องสี ในสมัยอยุธยา ลักษณะของวงเครื่องสายชัดเจนขึ้น เพราะมีการกล่าวถึงเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสาย เช่น ซอ ขลุ่ย เป็นต้น ดังสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คงมีการเล่นดนตรีจนเกินขอบเขต ถึงกับมีบทบัญญัติกำหนดสำหรับผู้ที่เล่นเกินขอบเขตเข้าไปใกล้พระราชฐาน กำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาล ตอนที่ 15 ว่า

 .......แลร้องเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ตีทับ ขับราโห่ร้อง นี่นั่น ไอยการ หมื่นโทวาริก ถ้าจับได้โทษ 3 ประการ... "

เครื่องดนตรีต่างๆ ที่กล่าวถึงล้วนอยู่ในวงเครื่องสาย คำว่า “สีซอ” ที่กล่าวถึงนั้นไม่น่าจะเป็น ซอสามสาย น่าจะเป็น ซออู้ ซอด้วง มากกว่า เพราะซอสามสายเสียงเบา ไม่เหมาะที่มาเล่นในกลางแจ้ง และมักถือว่าเป็นซอระดับสูงกว่าซออู้ ซอด้วง นอกจากนี้ ซออู้ ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีที่หาง่ายและเล่นง่ายกว่าซอสามสาย

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงได้เกิดรูปวงเครื่องสายที่แท้จริง แต่คงแบบที่ชาวจีนเขานิยมเล่นกัน วงเครื่องสายของจีนที่สาคัญคือ ซออู้ ซอด้วง ขิม ม้าล่อ กลอง ฯ จะเห็นได้ว่าลักษณะของวงเครื่องสายจะอยู่ในรูปแบบประสม 2 แบบ คือ ประสมด้วยเครื่องดนตรีด้วยกัน เช่น ประสมด้วยขิม เปียโน เป็นต้น และประสมด้วยวงดนตรี เช่น ประสมด้วยวงกลองแขก ปัจจุบันวงเครื่องสายถือว่าเป็นวงดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย ซออู้ ซอด้วง จะเข้ ขลุ่ย ฉิ่ง โทน รามะนา และฉาบ

ຫຼວງພະບາງແດນງາມ | หลวงพะบางแดนงาม | ລາວຈະເລີນ Feat ຕິ່ງນ່ອຍໆ

ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีซอชนิดหนึ่งเรียกวา “ซอโอ” มีลักษณะที่คลายคลึงกับซออู้ของไทย ซอชนิดนี้มีสาย 2 สาย คันทวนทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ดู่ไล ไม้กะยูง บางครั้งทำจากงาชาง ในบางครั้งอาจแกะสลักเป็นรูปพระยานาคที่ปลายคันทวน คันทวนนี้มีความยาวประมาณ 80-90 เซนติเมตร กล่องเสียงหรือกะโหลก คนลาวเรียกว่า “กระบอกซอ” ทำจากกะลามะพร้าว โดยด้านหน้าของซอขึงดวยหนังแบ้ (แพะ) หรือหนังลูกวัว ส่วนด้านหลังนิยมแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ลูกบิดที่ใช้ขึงสายปรับเทียบระดับเสียง มีความยาวประมาณ 17-18 เซนติเมตร สายของซอทั้งสองสายทำจากเชือกไหมขวั้นเป็นเกลียว คันชักมีรูปทรงคลายคันธนู มีความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ขึงด้วยขนหางม้าจำนวน 160-200 เส้น ซอโอ เทียบเสียงในระยะขั้นคู่ 5 โดยเสียงของสายทุ้มอยูที่ระดับเสียง โด และสายเอกอยู่ที่ระดับเสียง ซอล

ซออีสาน

“ซอ” เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้คันชักสีเข้ากับสาย ปกติซอของไทยมี 3 ชนิด คือ ซอสามสาย ซอด้วง และซออู้ แต่ยังมีซออีกประเภทหนึ่งในภาคอีสาน ซึ่งทำจากวัสดุในท้องถิ่น ซอเหลานี้จึงตั้งชื่อตามวัสดุที่นำมาทำกะโหลกซอ เช่น ซอบั้ง เป็นซอที่ใช้บั้งไม้ไผ่ทำกะโหลก ซอปี๊บ เป็นซอที่ใชปี๊บน้ำมันทำกะโหลก และซอกระป๋อง เป็นซอที่ใชกระป๋องนมหรือกระป๋องสีทำกะโหลก ส่วนประกอบของซอโดยทั่วไปได้แก่ กะโหลกซอ คันทวนซอ สาย ลูกบิด และ คันชักสี ซอที่นิยมเล่นตามคณะหมอลำหรือมหรสพทั่วไปเป็นชนิด ซออู้

sor bang peep

เนื่องจากมหรสพทางภาคอีสานใน "กลุ่มวัฒนธรรมดนตรีอีสานเหนือ" นั้น ซอ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้สีคลอไปกับคนร้องหรือลำ ทำให้คนร้อง หรือลำไม่หลงเสียง หรือเสียงเพี้ยน และยังช่วยให้คนร้องหรือลำเบาแรงอีกด้วย นอกจากจะใช้บรรเลงคลอไปกับคนร้องหรือลำแล้ว ยังใช้บรรเลงรวมกับวงดนตรีบางประเภทด้วย แต่ทั้งนี้ต้องพยายามสีให้กลมกลืน และมีเสียงลอดออกมาได้ตามความเหมาะสม

บุญมา กาละกุล มือซอกะปี๊บ : จากรายการ ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ThaiPBS

เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานประเภทเครื่องสี คือ ซอที่มี 2 สาย ได้แก่ ซอกะโป๋, ซอกะปี๊บ, ซอกระป๋อง, ซอบั้งไม้ไผ่ (กะโหลกซอ ทำจากบั้งไม้ไผ่บ้านปอกผิวให้บาง 2 มิลลิเมตร คันชักซอบั้งไม้ไผ่จะสีนอกสาย)

ซอกะโป๋ (กะโป๋ หมายถึง กะลามะพร้าว) มีลักษณะคล้ายซออู้ กะโหลกทำจากกะลามะพร้าว คันชักใช้สีข้างใน ซอกะโป๋เล่นมาแล้วหลายชั่วอายุคน ผู้บรรเลงซอที่มีความเชี่ยวชาญ คือ นายทองฮวด ฝ่ายเทศ ชาววาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และนายอุ่น ทมงาม ชาวอำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด ซอกะโป๋ ใช้บรรเลง ประกอบการแสดงหมอลำ และประกอบเพลงลูกทุ่งหมอลำในปัจจุบัน ส่วนซอปี๊ป และซอกระป๋อง เพิ่งมีใช้สมัยที่มีกระป๋องน้ามันก๊าดและกระป๋องโลหะต่างๆ พบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

sor kapo 01

ส่วนประกอบซอกะโป๋

  1. กะโหลกซอ ทeจากกะลามะพร้าว
  2. คันชัก ใช้ยางสนถูให้เกิดความหนืด คันชักซอสีในสาย
  3. ลูกบิด มี 2 อัน
  4. คันทวน
  5. หย่อง
  6. รัดอก
  7. หน้าซอ หุ้มด้วยหนังงูหรือหนังลูกวัว
  8. หางม้า
  9. สายซอ มี 2 สาย คือ สายเอก (สาย 1) กับ สายทุ้ม (สาย 2) สายซอเดิมทีใช้สายไหมฝั้นให้เหนียว ปัจจุบันใช้สายเบรครถจักรยาน

ระบบบเสียงซออีสาน

ระบบเสียงของซออีสานตั้งสายเป็นคู่ 5 คล้ายซอด้วง ที่ตั้งเสียงสายทุ้มเสียง ซอล สายเอกเสียง เร และซออู้ที่ตั้งเสียง สายทุ้มเสียง โด สายเอกเสียง ซอล โดยซออีสานตั้งเสียงสายนอกหรือสายที่ 1 ตั้งเสียง มี ส่วนสายในหรือสายที่ 2 ตั้งเสียง ลา (คู่ 5) ไล่ลำดับเสียงเป็นมาตราเสียงสากล คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด สามารถทำครึ่งเสียงได้

หงษ์ทองคะนองรำ - สีซอโดย บุญฮวด ฝ่ายเทศ

ลายที่นิยมบรรเลงเป็นลายประเภทลำเต้ย ลำเพลิน ลำหมู่ และการบรรเลงประกอบการร้องเพลงที่โด่งดังในอดีต คือเพลง "หงษ์ทองคะนองรำ" ขับร้องโดยศิลปินชื่อ หงษ์ทอง ดาวอุดร บรรเลงซอโดย นายบุญฮวด ฝ่ายเทศ ซออีสาน นิยมใช้บรรเลงประกอบการแสดงหมอลำ บรรเลงในวงมโหรีอีสานและเพลงลูกทุ่งหมอลำในปัจจุบัน พื้นที่ที่นิยมเล่นในอดีตพบทั่วไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะอำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ตำแหน่งเสียงของซอ

ซออีสานมีสองสาย โดยมี สายที่ 1 และสายที่ 2 ตั้งเสียง คู่ 5 คือตั้งสายที่ 2 เป็นเสียง ลาต่ำ สายที่ 1 เป็นเสียง มี ตามตารางตาแหน่งเสียงดังต่อไปนี้

sor kapo 02

การสีซอพื้นบ้านอีสาน ไม่จำกัดท่าทางในการสี เพื่อให้การบรรเลงดูสง่างาม ผู้ฝึกควรปฏิบัติดังนี้

ลักษณะท่าทางการสีซออีสาน

  1. นั่งท่าขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบตามความถนัด เก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย
  2. จับซอด้วยมือซ้าย ที่คันทวนใต้รัดอกเล็กน้อย โดยคันทวนอยู่ง่ามมือระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ กระชับไว้เพื่อไม่ให้มือเลื่อนต่ำลงมา
  3. ยกข้อศอกซ้ายขึ้นพอสมควร ไม่ยกศอกขึ้นจนตั้งฉาก เพราะจะทำให้เมื่อยแขน
  4. มือขวาจับคันชักให้อยู่ในลักษณะที่ฝ่ามือเกือบหงาย ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่บนคันชัก ส่วนนิ้วชี้และนิ้วอื่นอยู่ใต้คันชัก นิ้วกลางอยู่ระหว่างหางม้ากับคันชักเพื่อใช้เหนี่ยวหางม้าเมื่อดึงคันชักออก และคันชักเข้า
  5. นั่งตัวตรง มือที่จับคันทวนและคันชักซอ ควรให้ได้ฉากโดยคันทวนตั้งตรงและคันชักอยู่ในแนวนอนกรณีท่านั่งสีบนเก้าอี้ ควรปฏิบัติดังนี้
        5.1 นั่งชิดพนักเก้าอี้ ในท่าสุภาพเรียบร้อย จับคันทวนและคันชัก เช่นเดียวกับการนั่งพับเพียบกับพื้น
        5.2 การนั่งเก้าอี้สีซอ ทำให้ท่าทางสง่างามในการบรรเลง กรณียืนสี จะมีอุปกรณ์ช่วย คือ สายประคอง เพื่อให้มีความสะดวกต่อการบรรเลงเสียงสเลอร์ หรือเสียง tie เพื่อสะดวกในการบรรเลงตามสำเนียงของลาย

sor kapo 03

วีธีการฝึกสีซออีสาน

การสีสายเปล่า ถ้าต้องการสีซอให้เกิดเสียงที่ชัดเจน และเป็นเสียงที่มีคุณภาพ ควรฝึกหัดสีซอสายเปล่าก่อน โดยเริ่มดังนี้

  • นั่งและจับซอตามข้อแนะนา จับคันทวนและคันชักให้มั่นคง ใช้มือขวาลากคันชักที่ชักออก โดยให้หางม้าสัมผัสกับสายทุ้ม (เสียงลา) ลากคันชักออกจนสุดคันชัก จึงหยุด (เรียกว่าหนึ่งคันชัก)
  • ดันคันชักให้หางม้าสัมผัสกับสายเอก (เสียงสูง) เสียง มี โดยดันคันชักเข้าช้าๆ ดันคันชักเข้าจนสุดคันชัก

เทคนิคการสีซออีสาน

การสีซออีสานให้ไพเราะ จะต้องเรียนรู้และฝึกหัดอย่างถูกต้อง ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้คันชักกับการวางนิ้วมือ เพราะความไพเราะในการสีซอ เกิดจากการใช้คันชักและนิ้วมือที่กดบนสายซอ (ขย่มซอ) การพรมนิ้ว การประสาย การเอ้เสียง (ใช้เสียงเลื่อน) ส่วนการไกวคันชักเข้าออก ควรไกวไปทั้งแขน โดยใช้ข้อมือช่วยเสียงซอจึงจะน่าฟัง คันชักสายเปล่า ควรไกวคันชักให้สุดคันชักไกวออกช้าๆ สังเกตว่าเสียงซอที่เกิดขึ้น ถ้าเสียงดัง กราก ก็แสดงว่าไกวคันชักแรงเกินไป ต้องไกวเบาลงมา แต่ถ้าเสียงเบาเกินไป แสดงว่าไกวคันชักเบาต้องเพิ่มให้แรงขึ้น สีสายเปล่าให้คล่อง จนเกิดความชานาญในการไกวคันชัก

การวางนิ้ว

เมื่อไกวคันชักสายเปล่าจนคล่องแล้ว ขั้นต่อไปจึงหัดลงนิ้วที่สายเอกก่อน โดยใช้คันชักหนึ่งก่อน ความหมายของ "คันชักหนึ่ง" หมายความว่า สีออกหนึ่งเสียง สีเข้าหนึ่งเสียง เมื่อสีสายเอกได้คล่องและไม่เพี้ยนแล้ว ต่อไปก็หัดสีสายทุ้ม การลงนิ้วในสายเอกและสายทุ้มควรลงนิ้วตามลำดับการไล่เสียง การหัดลงนิ้วนี้จะต้องไม่ให้เพี้ยนเลย ถ้าเพี้ยนต้องแก้ไขทันที การใช้คันชักกับการลงนิ้วจะต้องสัมพันธ์กัน คือ พอดึงคันชักออกก็ต้องลงนิ้วไปพร้อมกัน พอผลักคันชักเข้าก็ลงนิ้วไปพร้อมกันด้วย

วิธีสีซออีสานเบื้องต้น โดย อาจารย์หนุ่ม ภูไท

สนใจเรียนการสีซออีสาน โดย อาจารย์หนุ่ม ภูไท คลิกเลยตรงนี้

การใช้คันชัก

การสีซอไทย มีด้วยกันหลายคันชัก เช่น คันชักหนึ่ง คันชักสอง คันชักสี่ คันชักแปด คันชักนาคสะดุ้ง คันชักเลื่อยซุง คันชักน้ำไหล ฯลฯ การรู้จักใช้คันชักจะทำให้การสีซอมีความไพเราะ ได้อารมณ์ ให้ทดลองฝึกใช้คันชักต่างๆ

  • คันชักหนึ่ง (คันชักธรรมดา) หมายถึง สีออกหนึ่งตัวโน้ต สีเข้าหนึ่งตัวโน้ต
  • คันชักสอง (ลักคันชัก) หมายถึง คันชักสีออกสองตัวโน้ต สีเข้าสองตัวโน้ต
  • ส่วนคันชักสาม คันชักสี่ หมายถึง การรวบเสียงในอัตราจังหวะปรกติให้ได้สาม หรือสี่ตัวโน้ตขึ้นไป

การฝึกสีซออีสาน สรุปได้ว่า จะต้องฝึกหัดการใช้คันชัก การลงนิ้ว ให้มีความชำนาญ โดยควรฝึกกับบทเพลงที่เป็นการสีที่ใช้วิธีการขั้นพื้นฐาน ฝึกสีซอตามจังหวะต่างๆ ตามแบบฝึกหัดจนเกิดความชานาญ ฝึกสีซอลายพื้นบ้านต่างๆ โดยควรฝึกจังหวะช้าๆ ก่อน เมื่อชานาญแล้วจึงเพิ่มจังหวะให้เร็วขึ้นตามลำดับ

ควรฝึกเทียบเสียง การสีสายเปล่า โดยไม่ต้องลงนิ้ว เริ่มฝึกสีทีละสาย เมื่อฝึกจนชำนาญแล้วจึงฝึกไล่เสียง ฝึกกดนิ้วแต่ละนิ้วลงบนสายซอให้มีความสัมพันธ์และกลมกลืนกับการใช้คันชัก จนสามารถปฏิบัติไปอย่างอัตโนมัติ จึงฝึกวิธีสีแบบง่ายๆ คือ การสีด้วยคันชักหนึ่ง หรือเรียกว่าการสีแบบเก็บ ฝึกสีตามวิธีการนี้จนมีทักษะที่ชำนาญในการลงนิ้วและใช้คันชัก จึงค่อยฝึกทักษะการสีที่ยากขึ้น เช่น ฝึกการพรมนิ้ว รูดนิ้ว สะบัดนิ้ว หรือสะบัดคันชัก ตามแต่บทเพลงที่นำมาฝึก ที่สาคัญคือ ควรฝึกอ่านโน้ตให้เกิดความชานาญ

เทคนิคการเอ้เสียง

การเอ้เสียงหรือการเอื้อนเสียง เป็นเทคนิคที่พบในการบรรเลงเพลงเดี่ยวซอ เพราะมีลักษณะเหมือนการเลียนเสียงร้อง สามารถสะกดความรู้สึกสร้างอารมณ์ผู้ฟังให้รู้สึกคล้อยตาม โดยเฉพาะอารมณ์ความโศกเศร้า อาลัยอาวรณ์ที่มีต่อคนที่รัก หรือคนที่จากบ้านมาทำงานต่างถิ่น ทำให้ผู้ฟังรู้สึกสะเทือนใจไปด้วย บางคนที่เข้าถึงอารมณ์ของเสียงซอ อาจทำให้รู้สึกใจจะขาดตามเสียงซอที่ได้ยินก็ได้ ผู้ที่ถือว่าเป็นต้นแบบของเทคนิคการสีซอ ได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ด้านซออีสานก็คือ นายทองฮวด ฝ่ายเทศ เจ้าของรางวัลศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้นเทคนิคการเอ้เสียงหรือการเลื่อนเสียง ผู้ที่สีซออีสานจะตองหมั่นฝึกซ้อม ลายเพลงต่างๆ ให้เกิดความชำนาญ เพื่อใช้เทคนิคดังกล่าวทำให้บทเพลงมีสีสันและความไพเราะน่าฟ้งขึ้น

การเอ้เสียงหรือเสียงเอื้อน เป็นกลวิธีการบรรเลงซอที่เลียนเสียงเอื้อนหรือเสียงร้อง เป็นการสร้างหรือประดับตกแต่งเสียงให้มีสีสัน สามารถเลื่อนเสียงจากสายนอกเสียง มี ไปที่เสียง ซอล โดยสีสายนอกเสียง มี คันชักออกหรือเข้าก็ได้ เพียงคันชักเดียว จากนั้นใช้นิ้วชี้กดโน้ตเสียง ฟา แล้วเลื่อนลงมาที่เสียง ซอล หลังจากเอ้เสียงแล้วจะต้องพรมนิ้วต่อเนื่องกัน

 

ทำซอแบบง่ายๆ ไว้ใช้เอง โดย พ่อมนเทียร บุญธรรม 

นอกจากนั้นยังมีเทคนิค การพรมนิ้ว การสะบัด การประ ซึ่งต้องฝึกฝนร่ำเรียนจากครูซอให้ชำนาญ

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ความรู้เกี่ยวกับซออีสาน สถาบันพัฒนศิลป์

[ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ซอกันตรึม ]

redline

backled1