foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

khom alphabet header

อักษรขอม

kom Lolei10อักษรขอม พัฒนามาจาก อักษรหลังปัลลวะ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้ ภายหลังได้มาติดต่อกับภูมิภาคอุษาคเนย์ จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงตัวอักษรไว้ให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้อีกด้วย ต่อมาอักษรชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนี้ มีวิวัฒนาการต่อไปจากอักษรปัลลวะ เป็นอักษรหลังปัลลวะ หลังจากนั้นก็แตกแขนงเป็นสองสาขาใหญ่ๆ คืออักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ

อักษรขอมโบราณ ใช้ในอาณาจักรต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขง ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็น ต้นแบบของอักษรไทย และ อักษรเขมร ในปัจจุบัน

เอกลักษณ์ของอักษรขอม คือ เปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศก หรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี)

อักษรขอมในประเทศไทย

พบหลักฐานการใช้อักษรขอมโบราณเขียน ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ในบริเวณภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ของประเทศไทยปัจจุบัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 - 16 แต่จะไม่พบเอกสารโบราณประเภทจารึกที่ใช้อักษรขอมโบราณ ในแถบภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดตากขึ้นไป หลักฐานทำนองนี้รวมไปถึงโบราณสถาน ที่เรียกว่า ปราสาทหิน ปราสาทอิฐ และพระปรางค์แบบขอม หรือลพบุรี ที่มีอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ แต่ไม่เคยปรากฏอยู่ทางภาคเหนือ

ในประเทศไทย อักษรขอม ถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ ต่อมา อักษรขอมไทยถูกแทนที่ด้วยอักษรไทย ส่วนอักษรขอมบาลียังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา แม้จะมีการพัฒนาอักษรไทยและอักษรอริยกะมาเขียนภาษาบาลีก็ตาม อักษรขอมบาลีถูกยกเลิกไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม

อักษรขอม ที่ใช้จารในใบลานที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 2 แบบ คือ

  • อักษรขอมบรรจง ส่วนมากใช้จารพระธรรมคำสอนต่างๆ
  • อักษรขอมหวัดบันทึก เพื่อความรวดเร็วเรียกกันว่า อักษรเกษียณ

ลักษณะอักษรขอมที่นิยมจารลงในใบลานมีอยู่ 3 ลักษณะ 3 ส่วน คือ ตัวอักษรหนามเตย และเชิงอักษรขอมทุกตัว จะมีเครื่องหมายเขียนหยักไว้ข้างบนที่เรียกว่า หนามเตย

หนามเตยโดยปกติแล้วจะเขียนติดกับสระ ยกเว้นตัวที่เขียนประสมกับสระอา อิ อี ส่วนเชิงอักษรนั้นเป็นเครื่องหมายแทนตัวอักษรที่เป็นตัวตาม ตัวสะกดจะเขียนไว้ข้างบนเชิงที่เป็นตามนั้นจะเขียนไว้ข้างล่างถ้าเป็นการเขียนเป็นภาษาบาลี แต่ถ้าเป็นการเขียนเป็นภาษาไทยเชิงอาจเป็นตัวสะกด ซึ่งจะแนะนำวิธีการเขียนอักษรขอมต่อไป

เรียนอักษรขอมเบื้องต้น EP.1

อักษรขอมมี 41 ตัว แบ่งเป็น สระ 8 ตัว พยัญชนะ 33 ตัว

  1. สระ มีการเขียน 2 แบบ คือ สระจมและสระลอย
    • สระลอย คือ สระที่ไม่ได้ประสมกับพยัญชนะ ใช้เขียนขึ้นต้นคำที่มีสระนำหน้า สระลอยมีรูปดังนี้
      khom alphabet 1
    • สระจม คือ สระที่ใช้ประสมกับพยัญชนะ มีลักษระดังนี้
      khom alphabet 2
  2. พยัญชนะที่เขียนเป็นภาษาบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เป็นเศษวรรคอีก 8 ตัว ดังนี้
             khom alphabet 3

ตั้งแต่โบราณมา การเรียนอักษรโบราณอีสาน ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรธรรม บทปัญญาบารมี เป็นบทใช้สอนฝึกหัดอ่านเขียน และถือว่าถ้าใครสามารถอ่านเขียนปัญญาบารมีได้แล้ว ถือว่ามีความรู้เรื่องอักษรโบราณแล้ว ครูผู้สอนจะให้หาประสบการณ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป

เรียนอักษรขอมเบื้องต้น EP.2

 อักษรขอม | อักษรธรรมโบราณอีสาน | อักษรไทยน้อย | วรรณกรรมอีสาน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)