foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

siang miang header

นิทานพื้นบ้านเรื่อง เซียงเมียง หรือ ศรีธนญชัย เป็นวรรณกรรมร่วมของอุษาคเนย์ และมีมากมายหลายตอนที่เล่าสืบทอดกันมาทั้งสองฝั่งโขง ในภาคกลางเรียก "นิทานศรีธนญชัย" ส่วนทางภาคเหนือ ภาคอีสานของไทย และฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เรียกชื่อเดียวกันคือ "เซียงเมี่ยง" หรือ "เซียงเหมี้ยง" ดังที่กล่าวรายละเอียดมาแล้วในบทความก่อนหน้า ในบทความนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะเนื้อเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาในฝั่ง สปป. ลาว ดังนี้

เรื่องย่อ 'เซียงเมี่ยง' ใน สปป.ลาว

ยังมีเมืองใหญ่กว้างเรียกว่าเมือง “ทวารวดี” ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งริมนํ้าเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมี “พระเจ้าทาวราวดี” เป็นผู้ปกครองเมือง ซึ่งหลายปีผ่านไปพระมเหสีของพระองค์ได้ทรงตั้งครรภ์ และได้ประสูติพระโอรส พระราชาได้มีรับสั่งให้โหรหลวงมาทายทักตรวจดูดวงชะตาของพระโอรส และโหรหลวงได้กราบทูลทํานายไว้ว่า พระโอรสพระองค์นี้จะมีความสะดวกสบายแต่เมื่ออายุ 15 ชันษาจะได้สืบราชสมบัติครองเมืองแทนพระราชาองค์ปัจจุบัน แต่หากติดตรงที่พระโอรสพระองค์นี้ดื้อ จึงควรหาเด็กมาเลี้ยงควบคู่กับพระโอรสไปด้วยเพื่อแก้เคล็ด

ทําให้พระราชามีพระราชโองการสั่งหาเด็กมาเลี้ยงคู่กับพระโอรส และเด็กชายคนนั้นก็คือ “ท้าวคํา” หรือนั้นก็คือ "เซียงเมี่ยง" นั้นเอง แต่ด้วยเนื่องว่าในวังตอนนั้นยังมีแม่นมไม่พอ ข้าราชบริพารท่านหนึ่งจึงอาสาเอาพระราชบุตรบุญธรรมไปเลี้ยงแทน จนมีอายุครบ 7 ปี จึงนําเอาท้าวคําไปถวายคืนให้พระราชา หลังจากนั้นท้าวคําก็ได้เจริญเติบโตเคียงคู่กับพระโอรส จนได้ถึงคราที่พระโอรสจะขึ้นครองบ้านครองเมือง แล้วก็พระราชาก็ทรงสั่งให้ "ท้าวคํา" เอ็นดูพระราชาองค์ใหม่เป็นดั่งน้อง

ท้าวคําได้มีโอกาสได้บวชเรียนในวัดหลวง ซึ่งมีสมภาร 3 องค์คิดจะมีสติปัญญาฉลาดหลักแหลม ด้วยการทำพิธีกรรมปลุกเสกอ้อย โดยที่สมภารได้คิดจะหลอกใช้ให้เณรคําไปถืออ้อยไปให้ถึงป่าช้า เพื่อทําพิธีปลุกเสกในตอนกลางคืนหลังปลุกเสกเสร็จแล้ว สมภารก็ออกอุบายให้เณรคําเป็นผู้เฝ้าอ้อยที่ปลุกเสก เพราะต้องทิ้งไว้ให้ถึงเช้ากว่าจะได้ผล ด้วยกลอุบายของสมภารทําให้เณรคําต้องอยู่เฝ้ารอจนรุ่งสาง และนำอ้อยไปไว้หลังกุฏิ

siang mian lao 01

พอเณรคําหลับสนิทด้วยความง่วง สมภารทั้งสามองค์ก็มากินอ้อยทั้งหมด โดยที่เหลือไว้แค่ข้อกับชานอ้อยเท่านั้น และเมื่อเณรคําตื่นขึ้นมาเห็นว่าเหลือแค่ข้ออ้อยและชานอ้อย เณรคําก็นึกแค้นใจแต่อย่างไรก็ต้องกินด้วยความหิว หลังจากนั้นสามวัน ผลของการกินข้อและชานอ้อยส่งผลให้เณรคํามีปัญญาที่เฉลียวฉลาด โดยที่เณรคําได้ประลองทายปัญญากับสมภาร ผลเณรคําเป็นฝ่ายชนะ โดยที่สมภารไม่รู้เลยว่า "พลังของการปลุกเสกอ้อยครั้งนั้น ผลมันอยู่ที่ข้อของอ้อยที่ปลุกเสก"

ในวันหนึ่งมี พ่อค้าเมี่ยงต้องการข้ามคลองหน้าวัด และได้สนทนากับเณรคํา ถามว่าคลองนี้สามารถข้ามได้ไหม แล้วเณรก็บอกไปว่า ถ้าข้ามได้ก็ข้าม ถ้าข้ามไม่ได้ล่ะ ทําให้พ่อค้าเกิดความคิดอยากพนันกับเณรคําว่า หากพ่อค้าข้ามคลองไปได้จะขอให้เณรเปลื้องจีวรที่สวมใส่อยู่ แต่หากพ่อค้าข้ามไปไม่ได้พ่อค้าต้องเสียเมี่ยงให้แก่เณร และแล้วพ่อค้าได้มายังอีกฝั่งจนได้ แต่เณรก็ไม่ได้ถอดจีวรที่สวมใสให้ เพราะบอกว่าพ่อค้าว่ายนํ้ามาไม่ได้ข้ามลําคลองนี้มา จนเกิดเหตุถกเถียงกัน

แล้วเรื่องได้ล่วงรู้ถึงพระราชาทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า พ่อค้าเมี่ยงผิดจริงตามที่เณรคําบอก จึงบอกว่าให้พ่อค้ายกเมี่ยงให้แก่เณร แล้วเณรคําก็พูดว่า เอาเมี่ยงมาแค่ สี่ซ้าห้าบาทก็พอแล้ว (ในที่นี้คือ สี่ตะกร้า และ ห้าบาตรพระ) ซึ่งความนี้รู้แก่พระราชา ทําให้พระราชาจับเณรคําสึกออกมาโดยทันที โดยบอกว่า "การกระทําอย่างนี้มันเกินไปโดยไม่ใช่วิสัยของพระเณรที่จะทํากัน"

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คนก็เรียก เณรคํา ว่า “เซียงเมี่ยง” หลังจากที่เซียงเมี่ยงสึกจากบวชเรียนนั้น เขาก็ไม่ได้หายหน้าหายตาไปไหน เขายังคงเป็นข้าราชบริพารรับใช้ราชสํานักอยู่นั้นเอง และมีเรื่องราวฉลาดแกมโกง ใช้ปัญญาเอาชนะผู้อื่น โดยตลอดป็นเรื่องเล่ามายาวนานนั่นเอง...

siang mian lao 02

มีผู้ทำการ์ตูนนืทานลาว เล่าเรื่อง เซียงเมี่ยง ตอน "เซียงเมี่ยงตั่วพระยาลงหนอง" (เซียงเมี่ยงโกหกพระยาลงหนองน้ำ)

ນິທານລາວ ເລືອງ ຊຽງໝ້ຽງ ຕອນ ຕົວະພະຍາລົງໜອງ

นิทานลาว เรื่อง เซียงเมี่ยง ตอน ตั่วพระยาลงหนอง

ตัวอย่างตอนหนึ่งของนิทาน 'เซียงเหมี้ยง'

ได้รับรูปภาพที่ถ่ายมาจากหนังสือนิทานลาว เป็น ตัวอักษรภาษาลาว นิทานเรื่อง "เซียงเหมี้ยง" ตอนหนึ่งมา เลยถอดความออกมาเป็นภาษาไทยให้ได้อ่านกันครับ เนื้อหามีดังนี้

เซียงเหมี้ยง แม่นชื่อตัวละครเอกในนิทานตลก และ ทังแม่นชื่อนิทานดังกล่าวนี้พร้อม เรื่อง "เชียงเหมี้ยง" แม่นเรื่องที่ประชาชนมักเล่า และมักฟังหลาย เพราะเป็นเรื่องม่วนซื่นอุรา (สนุกสนาน) ทั้งสะท้อนให้เห็นความมุ่งหวังของขะเจ้า (พวกเขา) ในการเอาชนะกับชนชั้นปกครองด้วยภูมิปัญญา เรื่องนี้มีหลายบั้น (หลายตอน) และแต่ละบั้นก็กะทัดรัดทั้งมีลักษณะขึ้นอยู่กับผู้เล่าอีกนำ

 siang miang lao 1

ปั้นตั่วไปการก่อนไก่ (ตอนไปทำงานก่อนไก่)

เซียงเหมี้ยง เป็นคนขี้ลัก ยามไปเฮ็ดเวียกการ (งาน) ให้พระยา ก็ไปลุน (ทีหลัง) หมู่เพราะได้เฮ็ดเวียกน้อย ในสมัยก่อนยังบ่ทันมีเครื่องบอกโมง (นาฬิกา) ที่แน่นอนคือเดี๋ยวนี้ ชาวบูฮาน (โบราณ) ได้กำหนดมื้อ กำหนดยาม ตามการสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติและสังคม ส่วนหลายชาวบูฮานเริ่มไปเฮ็ดเวียกแต่ตอนข้อนแจ้ง (ย่ำรุ่ง) สิ่งหนึ่งที่พาให้ฮู้จัก (รู้จัก) ยาม เวลา ในตอนนี้ก็แม่นเสียงไก่ขัน แต่ละคืนไก่จะขันสามเทื่อ (ครั้ง) จั่งเอิ้นตามลำดับว่า ไก่ขันกก ไก่ขันกลาง และไก่ขันเลย เมื่ออยากไปเฮ็ดเวียกแต่เดิก ขะเจ้าจึงมักเอิ้น (เรียก) ติดปากว่า ไปก่อนไก่ขันเดิก/กลาง/เลย ต่อมาข้อความก็เหลือเพียงแต่ "ไปก่อนไก่ขัน และ ไปก่อนไก่" ตามลำดับของความเข้าใจของผู้ใช้

เจ้าลองทวย (ทาย) ก่อนเบิ่ง (ดู) ว่า เซียงเหมี้ยงจะไปเฮ็ดการ (ทำงาน) ให้พระยาก่อนไก่ขันเทื่อ (ครั้ง) ที่เท่าใด? ลาวได้ไปเฮ็ดเวียกให้พระยาแท้บ่ หรือ มีเหตุการณ์แนวใดอีก?

มันอาจจะเป็นย้อนว่า เซียงเหมี้ยงเป็นคนขี้ตั๋ว (โกหก) และคนขี้คร้านบ่? ลาวจึงไปเฮ็ดการให้พระยาช้ากว่าผู้อื่น ทุกเทื่อที่ถืกโฮม (ถูกเรียกรวม) ไปเฮ็ดเวียก หมู่เฮ็ดจนตาเว็น (ตะวัน) ใกล้สิเที่ยง ลาวจึงไปฮอด (ถึง) เมื่อพระยาฮู้เรื่องนั้นแล้วก็ให้เสนาไปเอิ้น (เรียก) เซียงเหมี้ยงเข้าพบจะได้ลงโทษลาว

พระยา : เซียงเหมี้ยง !

เซียงเหมี้ยง : โดยขะน้อย! พระยามีเวียกหยังสิให้ขะน้อยเฮ็ดอีกบ่ ?

พระยา : มื้ออื่นนี่ ให้มึงมาการก่อนไก่ ได้ยินบ่ ?

เซียงเหมี้ยง : โดยขะน้อย !

siang miang lao 2

พระยาเว้าแนวนั้นก็เพราะอยากให้เซียงเหมี้ยงไปเฮ็ดเวียกก่อนหมู่ ต่าง (เป็นการ) ลงโทษ มื้อต่อมา ผู้อื่นไปเฮ็ดเวียกตามปกติ แต่เซียงเหมี้ยงกับไปบ่ทันหมู่คือเก่า มื้อนั้นเซียงเหมี้ยงแฮ่งไปการช้ากว่ามื้อก่อนๆ จนฮอดตาเว็นใกล้สิเที่ยง ลาวจึงเอาเชือกมัดตีนไก่โตหนึ่งแล้วแก่ (ลาก) เข้าไปในวัง เมื่อเสนาเห็นแล้วก็ฟ้าว (รีบ) ไปทูลให้พระยาฮู้ พระยาจึงเอิ้น (เรียก) เซียงเหมี้ยงเข้าไปหา เพื่อจะตัดสินใจลงโทษให้สมใจ

พระยา : วานนี้ กูบอกมึงว่าแนวใดลืมแล้วบ่ หือ !

เซียงเหมี้ยง : ยังบ่ลืม ขะน้อย !

พระยา : กูบอกแนวใด ?

เซียงเหมี้ยง : พะยาบอกขะน้อยว่าให้มาการก่อนไก่

พระยา : ซั้น เป็นหยังมึงบ่มาก่อนไก่ ?

เซียงเหมี้ยง : กะย้อนว่า อยากมาก่อนไก่นี้แหล้ว จั่งได้มาสาย

พระยา : มึงว่าหยังเกาะ?

เซียงเหมี้ยง : ย้อนว่าอยากมาก่อนไก่คือพระยาบอก จั่งได้มาสาย

พระยา : มาก่อนไก่ แม่นมาสายนั้นบ้อ หือ ?

เซียงเหมี้ยง : กะบ่แม่น ขะน้อย !

พระยา : คันบ่แม่น เป็นหยังจั่งได้มาสาย ?

เซียงเหมี้ยง : ขอพระยาจิ่งอภัยโหดห้อน! มื่อตื่นมาแล้ว ขะน้อยก็จับไก่มาโตหนึ่ง แล้วบอกมันว่า "มื้อนี้ พระยาบอกกูให้ไปการก่อนมึง มึงต้องไปการนำกู บ่ซั้นพระยาสิลงโทษกู กูสิหย่างก่อน มึงย่างนำหลังเด้อ" บอกมันแล้วก็ปลงมันลง และหย่างก่อน เมื่อขะน้อยเหลียวคืนผัดเห็นมันแล่นไปทางอื่น ขะน้อยจับโตใดมาก็เป็นคือกันหมด ไก่ขะน้อยตั้ง 20 กว่าโต ก่อนสิจับโตใดก็ไล่เมื่อยเกือบตาย ขะน้อยไล่จับบ่ทันครบซ้ำ เหลียวเบิ่งตาเว็นผัดใกล้สิเที่ยงแล้ว ขะน้อยคิดว่า ย้านพ่อพระยาสิลงโทษ จึงได้เอาเชือกมัดตีนแล้วแก่มา ตำอิด (ครั้งแรก) ก็ว่าสิจูงมา จึงมัดตีนเดียว มันผัดบ่ยอมหย่างจักหน่อย บทละแล่นก่อน หน่อยกะแล่นออกนอกทาง ขะน้อยทังย้านพระยาลงโทษ ทังอยากฮ้ายให้มัน จึ่งได้มัดทั้งสองตีน แล้วแก่มันมานี่แหละ !

พระยา : (ได้แต่คิดในใจว่า) มึงเด้อ บักเซียงเมี่ยงเด้อ !!

จบตอนแต่เพียงเท่านี้ !

นี่และปัญญาของ "เซียงเหมี้ยง" ไม่ต้องรีบร้อน มาทำงานสายก็ได้ ไม่ต้องถูกลงโทษทัณฑ์ โดยหาสาเหตุมาอ้างจนเจ้านายไม่สามารถลงโทษได้ ที่คนไทยเรียกว่า "ฉลาดแกมโกง" นั่นเอง

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)