prawat header

sweep

19. ป่

ยามบ่ายของวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 หลวงพ่อกับคณะเดินทางมาถึงดงป่าพง ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านก่อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร คืนแรกคณะพระธุดงค์ได้พักที่ริมหนองน้ำชายป่า

ดงป่าพงในสมัยนั้น มีสภาพเป็นป่าทึบ รกร้าง ชุกชุมด้วยไข้ป่า ในอดีตป่าพงเป็นดงใหญ่ มีแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ชาวบ้านเรียกดงดิบนี้ว่า หนองป่าพง เพราะใจกลางป่ามีหนองน้ำใหญ่ที่มีกอพงขึ้นอยู่หนาแน่น

wat nong papong 02

ต่อมาบริเวณผืนป่าส่วนใหญ่ถูกทำลายหมดไป ยังคงเหลือเพียงส่วนที่เป็นบริเวณวัดใน ปัจจุบันเท่านั้น สาเหตุที่ป่าส่วนนี้ไม่ถูกบุกรุกถากถาง เพราะชาวบ้านเชื่อถือกันว่า มีอำนาจลึกลับ แฝงเร้นอยู่ในดงนั้น เพราะปรากฏอยู่เสมอว่า คนที่เข้าไปทำไร่ตัดไม้หรือล่าสัตว์ เมื่อกลับออกมา มักมีอันต้องล้มตายไปทุกราย โดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ชาวบ้านจึงพากันเกรงกลัวภัยมืดนั้น ไม่มีใครกล้าเข้าไปทำลาย หรืออาศัยทำกินในป่านี้เลย ดงป่าพงจึงดำรงความเป็นป่าอยู่อย่างสมบูรณ์

วันถัดมา ผู้ใหญ่ลาพี่ชายหลวงพ่อ มานิมนต์ให้เข้าไปสำรวจหาที่พักในป่าใหญ่ ญาติโยม พาหลวงพ่อเดินบุกป่า ฝ่าหนาม เข้าไปอย่างยากลำบาก กระทั่งถึงดงมะม่วงใหญ่ (อยู่ด้านทิศใต้ ของโบสถ์ในปัจจุบัน) หลวงพ่อเดินสำรวจดูรอบๆ บริเวณนั้น แล้วบอกให้ชาวบ้านช่วยปรับที่บนจอมปลวกเก่าๆ ใช้เป็นที่พัก ส่วนพระเณรและผู้ติดตามก็กางกลดอยู่รายรอบ

แผนผังแสดงอาณาเขตวัดหนองป่าพง
pp 1

คืนต่อมา ผู้ใหญ่ลาได้พากำนันและชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมาพบหลวงพ่อ เพื่อปรึกษาหารือเรื่องสถานที่ หลังจากสนทนากันสักครู่หนึ่ง หลวงพ่อได้ถามกำนันและญาติโยมว่า "ที่นี่สมควรเป็น ที่พักสงฆ์ไหม ?"

"สมควรมากครับ" ทุกคนตอบอย่างยินดี

wat nong papong 04

หลายวันต่อมา ชาวบ้านก่อและบ้านกลาง ก็มาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกุฏิหลังเล็กๆ ให้สี่หลัง ใช้หญ้าคามุงเป็นหลังคา กั้นฝาด้วยใบชาด ปูพื้นด้วยฟากไม้ไผ่และขุดบ่อน้ำให้หนึ่งบ่อ

หลังจากมีกุฏิพอกันแดดกันฝนได้บ้างแล้ว หลวงพ่อก็พาหมู่คณะมุ่งบำเพ็ญภาวนาอย่างพากเพียร แม้ขณะนั้น จะลำบากยากไร้ปัจจัยเครื่องอาศัยแทบทุกอย่าง แต่ก็ไม่ทำให้พระ เณร ย่อท้อหรือหวั่นไหวเลย หลวงพ่อเล่าถึงความเป็นอยู่ในครั้งนั้นให้ฟังว่า

ครั้งแรกก็อยู่ด้วยกันสี่รูป ได้รับความทุกข์ยากลำบากสารพัดอย่าง แต่การประพฤติปฏิบัติเข้มข้นมาก การอดทนนี่ยกให้เป็นที่หนึ่ง ฉันข้าวเปล่าๆ ก็ไม่มีใครบ่น เงียบ ไม่มีใครพูด "

หลวงพ่อให้ข้อคิดเรื่องการฉันข้าวเปล่าๆ แก่ศิษย์ว่า "ชาวบ้านบางถิ่นให้ข้าวเหนียวก้อนเล็กๆ แก่สุนัขกินในวันหนึ่งๆ เท่านั้น แต่มันก็อยู่ได้ ตื่นเร็วว่องไวไม่เกียจคร้าน ผิดกับสุนัขที่กินดี จะนอนขี้เกียจทั้งวัน พระกรรมฐานก็เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ในถิ่นกันดารอาหารขาดแคลนบ้าง จะเป็นผู้ขยันภาวนาไม่เห็นแก่หลับนอน แต่ทางตรงกันข้าม หากมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายจนเกินไป คิดอยากได้อะไรก็ได้ดังปรารถนา มักจะติดสุข เห็นแก่กินแก่นอน ถูกนิวรณ์ครอบงำ ละทิ้งการภาวนา"

samati 6

หลวงพ่อจึงผูกคติธรรมขึ้น ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญของการดำเนินชีวิตในป่าพงว่า

กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย คือ นักปฏิบัติ
กินมาก พูดมาก นอนมาก คือ คนโง่ ..."

redline

arr 1larr 1uarr 1r