foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

alphabet

เรียบเรียงโดย : มนัส สุขสาย

คำว่า อักษร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า ตัวหนังสือ วิชาหนังสือ คำ เสียง พยัญชนะ

อักษรธรรม

อักษรธรรม เป็นอักษรที่คนโบราณอีสานใช้จารึกหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา สรรพวิชา ขนบธรรมเนียมและประเพณีต่างๆ ของชาวอีสานเป็นเวลาช้านาน อักษรโบราณอีสานเป็นมรดกทางปัญญา ที่ปราชญ์โบราณวางเกณฑ์อักษรวิธีเอาไว้เป็นกลางๆ เป็นหนังสือหนังหาเสร็จอยู่ในตัวเอง แม้จะไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์ไว้ครบถ้วน เหมาะสมกับผู้ใช้สามารถผันเอาเองตามต้องการ

chawedagongประวัติของอักษรโบราณอีสานนั้น นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า ในการทำสังฆายนาครั้งที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ณ ชมพูทวีป เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 ได้มีการจารึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นลายลักษณ์ครั้งแรก อักษรที่ใช้จารึกในครั้งนั้นเรียกว่า อักษรพรหมี และอักษรนี้เป็นแม่บทของอักษรเทวนาคี และอักษรปัลลวะ

นักปราชญ์ทั้งไทยและต่างประเทศยอมรับว่า อักษรปัลลวะ เป็นต้นแบบของอักษรชาติต่างๆ ในแหลมทอง โดยเฉพาะในภาคอีสานมีวรรณกรรมเกี่ยวกับการเดินทางไปสืบเอาพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดียเรื่องหนึ่งคือ "เซตะพน" หรือ "เสถพน" ในเรื่องมีว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทราบข่าวว่า วัดพระเชตุพน เมืองสาวัตถีเจริญรุ่งเรืองมาก ประสงค์จะทราบความจริง และจะได้คัมภีร์พระอภิธรรม พระองค์จึงทรงแต่งตั้งราชทูตคณะหนึ่งไปสืบดู ซึ่งคณะราชทูตมี ขุนไท ผู้เป็นหลานของพระเจ้าแผ่นดินเป็นหัวหน้า พร้อมด้วย ขุนพาย ขุนพล ขุนลิงล้ำ เป็นรอง นายกรวิก เป็นองครักษ์ และมีคนโบราณใหญ่สูง 8 ศอก เป็นคนนำทางพร้อมไพร่พล 500 คน เป็นชาย 400 หญิง 100 คน ในการเดินทางครั้งนั้นใช้ช้างและม้าเป็นพาหนะ

คณะราชทูตออกเดินทางประมาณเดือนอ้าย เดินทาง 3 เดือน ถึงเมืองหงสาวดีเข้าเฝ้าเจ้าเมือง และพักอยู่ที่นั่น 3 คืน แล้วเดินทางไปอีก 3 เดือน 14 วัน ถึงปลายแดนเมืองหงสาวดี พบเจดีย์ใหญ่ชื่อพระธาตุชะกุ้ง (ชเวดากอง) พากันบูชาแล้วเดินทางเข้าป่าหิมพานต์ พบสิงสาราสัตว์ ภูตผีปีศาจ และธรรมชาติต่างๆ มากมายเป็นเวลา 7 ปี จึงถึงแม่น้ำมหิง ไพร่หนุ่มสาวที่เดินทางไปด้วยได้แต่งงานให้กำเนิดเด็กประมาณ 300 คน

คณะทูตได้เดินทางไปอีก 1 ปี จึงพบพระฤาษีไตคำ ได้ทราบข่าวเรื่องมาลัยเจดีย์ วัดพระเชตุพน เมืองสาวัตถี ซึ่งอยู่บนเขาเนมินธร ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี คณะเดินทางขึ้นเขาเนมินธร ผู้คนในคณะเป็นโรคท้องตาย 205 คน ที่เหลือจึงเดินทางไปอีก 8 วัน จึงถึงเมืองสาวัตถี เข้าเฝ้าถวายราชบรรณาการแก่พระมหากษัตริย์เมืองสาวัตถี พักอยู่ที่นั่น 1 คืน รุ่งขึ้นเดินทางไปวัดพระเชตุพน เข้าเฝ้าถวายสักการะสมเด็จพระสังฆราชแล้วบูชามาลัยเจดีย์ ได้ทำการวัดเอาสัดส่วนต่างๆ ของเจดีย์เอาไว้

คณะทูตได้ขอพระอภิธรรมปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์ สมเด็จพระสังฆราชก็พระราชทานให้ดังประสงค์ ชายที่ไปด้วยในคณะมีความเลื่อมใสขอบวชเป็นพระภิกษุที่วัดพระเชตุพน 15 คน นอกนั้นพักอยู่ที่นั่น 1 เดือน แล้วได้เดินทางกลับ ขากลับได้ชมหมู่บ้านหิมพานต์ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาก แล้วเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา การกลับมาในครั้งนั้นได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าแผ่นดินเป็นอย่างดี และพระอภิธรรมที่ได้มาทั้ง 7 คัมภีร์นั้นได้สร้างหอคำบรรจุเอาไว้ ปราชญ์โบราณชาวอีสานได้อ่าน ได้ศึกษาจารึกที่ได้สืบเอามานี้ใช้สั่งสอนอบรมประชาชนสืบมา

bailan 01

ชาวอีสานโบราณใช้อักษรประจำถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ที่นิยมกันมากมี 3 ชนิด คือ

  • อักษรไทยน้อย ใช้ในราชการบ้านเมือง และจารึกวรรณกรรมที่ปราชญ์โบราณอีสานแต่งขึ้นเอง เพื่อสอนคนให้ประกอบแต่คุณงามความดี
  • อักษรธรรม ใช้จารึกเรื่องราวที่เป็นจริยวัตรของพระพุทธเจ้าและสรรพวิชาการต่างๆ
  • อักษรขอม ใช้จารึกเรื่องราวที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าล้วนๆ เช่น พระไตรปิฎก

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหัวเมืองชายแดนที่เป็นประเทศราช ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เข้าเป็นประเทศสยามอันเดียวกัน และอิทธิพลของอักษรไทยแพร่เข้ามาในหัวเมืองอีสาน เริ่มแรกนั้นอักษรไทยก็ใช้เฉพาะงานในหน้าที่ราชการเท่านั้น ส่วนชาววัดและชาวบ้านทั่วไป ยังคงใช้อักษรพื้นเมือง

ครั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ได้มีการจัดพิมพ์หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาด้วย อักษรไทยปัจจุบันในใบลานสำเร็จ และเผยแพร่ทั่วประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา การจาร (เขียน) อักษรโบราณอีสาน ทั้งอักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย ก็ลดความนิยมลงเรื่อยๆ หนังสือเหล่านี้ส่วนมากไม่ได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่สรรพวิชาการ มรดกทางปัญญาที่ล้ำค่าของปราชญ์โบราณอีสานต้องสูญเสียไป

bailan 02

ณ บัดนี้ ด้วยความร่วมมือของ อาจารย์มนตรี โคตรคันทา ผู้สร้างสรรค์เว็บไซต์ "สะออน" (ชื่อเดิม Sa-On : สะออนอีสาน ก่อนจะจดโดเมนใหม่ในชื่อ IsanGate.com) แห่งนี้ จะได้นำผลงานการค้นคว้าของข้าพเจ้ามานำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยมุ่งหวังที่จะให้เป็นแหล่งสืบสานภูมิปัญญา ของหมู่เฮาชาวอีสาน ไว้ให้ลูกหลานได้ค้นคว้าต่อไป

อักษรโบราณอีสาน

วรรณกรรมอีสาน

สำหรับท่านที่สนใจอยากจะได้หนังสือวรรณกรรมอีสาน ตำราเรียนอักษรโบราณอีสาน โปรดติดต่อโดยตรงที่
อาจารย์มนัส สุขสาย สำนักพิมพ์มูนมังไทยอีสาน 299 หมู่ 11 (บ้านนิคมจัดสรร) ตำบลไร่น้อย
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ 045-241716
(ส่งธณานัติสั่งจ่าย ปณ.แจ้งสนิท จำนวน 175 บาท [ค่าหนังสือ + ค่าส่ง] ได้เลยครับ)

 

และเป็นข่าวดีอีกข่าวหนึ่งคือ ตัวอักษรไทยน้อย ไทยอีสาน นั้น กำลังจะถูกสร้างสรรค์ให้เป็นอักขระบนระบบคอมพิวเตอร์ มีแป้นพิมพ์เปลี่ยนได้เหมือนกับภาษาอื่นๆ เช่น ไทย-อังกฤษ เราก็จะมี ไทยอีสาน-อังกฤษ เป็นต้น การดำเนินการดังกล่าวนี้กำลังดำเนินการโดย คุณเทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่บล็อกคุณเทพพิทักษ์ โครงการอักษรอีสาน เลยครับ และตอนนี้ยังมีการทดลองเอาไปใช้กับเพลงคาราโอเกะเพื่อการศึกษา โดยอาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์

อักษรธรรม และอักษรไทยน้อย, Dhamma - Thainoi script

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)