คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ปราชญ์ผู้รอบรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน คือ ผู้ค้นพบวิถีแห่งภูมิปัญญาในด้านการทำมาหากิน ประกอบอาชีพในแขนงต่างๆ เป็นมรดกตกทอดมาสู่ลูกหลานชาวอีสาน จึงขอประกาศเชิดชูคุณูปการของท่านเหล่านั้นให้ลูกหลานได้รู้จัก เพื่อเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง ผู้จัดทำเว็บไซต์ไม่อาจทำความรู้จักกับปราชญ์ ผู้รู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านทุกท่านได้ ก็ได้แต่หวังว่าจะได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ในท้องถิ่นต่างๆ ได้ช่วยชี้แนะกันมา ยินดีรับข้อมูลและภาพประกอบของศิลปินชาวอีสานทุกท่านนำมาเสนอ ณ ที่นี้ ติดต่อได้ที่ webmaster (@t) isangate.com ขอบพระคุณทุกๆ ท่านครับ
พ่อมหาอยู่ สุนทรธัยปราชญ์ชาวบ้านเกษตรผสมผสาน |
นายบุญเหล็ง สายแววปราชญ์ชาวบ้านเกษตรพอเพียง |
ดาบวิชัย สุริยุทธตำรวจที่ได้ฉายา 'คนบ้าปลูกต้นไม้' |
นายชาลี มาระแสง |
นายคำเดื่อง ภาษี |
นายผาย สร้อยสระกลาง |
นายเลี่ยม บุตรจันทา |
นายปริญญา นาเมืองรักษ์ |
นายทัศน์ กระยอม |
แรงบันดาลใจจากอัตประวัติของปราชญ์พื้นบ้านเหล่านี้ คือ ผู้สร้างคุณประโยชน์แนวทางในการดำรงชีวิต ต้นแบบแห่งเกษตรกรผู้หลุดพ้นจากวังวนหนี้สิน การทำมาหากินด้วยวิถีเดิมๆ ค้นคิด วางแนวทาง สาระอันเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดิน เพื่อสร้างอีสานให้อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร สร้างดิน สร้างป่า แหล่งน้ำให้ฟื้นคืนมาอีกครั้ง ขอกราบคารวะทุกๆ ท่านจากใจจริงของทีมงาน เว็บไซต์ประตูสู่อีสาน ขอรับกระผม
อ่านใน Facebook ของเพื่อนบางท่านบอกว่า "เดี๋ยวเกษียณแล้วไปทำไร่นา พร้อมโชว์รูปไร่นาสวนผสม ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง" ซึ่งบางเพจก็ตอบสนองทันทีโดยการลงรูปกระท่อมปลายนา มีแปลงผักและต้นไม้เขียวขจี เพื่อขายให้คนมีกะตังค์ผู้สนใจหลังเกษียณ พ่อผมเป็นครู และ ทำสวนมาตลอดชีวิต สอนผมไว้ว่า
อย่าคิดทำอะไรหลังเกษียณ เพราะเมื่อถึงเวลานั้น จะไปโรงพยาบาล ก็ต้องให้ลูกพาไป ไปเองยังไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าอยากทำ ให้ทำตอนมีเรี่ยวแรง "
เพราะ ชีวิตหลังเกษียณต้องดูแลสุขภาพตัวเอง หรือบางทีต้องหาคนมาดูแลด้วยซ้ำ และที่เน้นมาตลอดก็คือ "ที่อยู่ตอนแก่ไม่ใช่กระท่อมปลายนา แต่ต้องเป็นบ้านที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ตั้งอยู่ในที่ที่รถกู้ภัยเข้าถึงได้ และมีสัญญานโทรศัพท์ กรณีฉุกเฉินโทร 1669 ได้ อย่าฝันหวาน ตามโลกโซเชียลกันเลย นะครับ"
Cr. Namom Thoongpoh
จากสถานการณ์ของการระบาดไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลกในครั้งนี้ ทำให้มองเห็นได้ว่า "อาชีพที่มั่นคงที่สุด คือ ผู้ผลิตอาหาร" นั่นคือ อาชีพเกษตรกรรม เพราะสามารถพึ่งพาตนเองได้ดีที่สุด เพราะการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญคือ อาหารและน้ำ ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตสิ่งเหล่านี้ได้เองและเพียงพอ โดยเฉพาะการทำการเกษตรผสมผสาน พอเพียง ตามหลักทฤษฎีการเกษตรสมัยใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่ได้พิสูจน์มาแล้วเป็นเวลาหลายสิบปี
สิ่งที่ต้องการให้เกษ๋ตรกรบ้านเราร่วมกันสร้าง ร่วมกันทำมากที่สุดในเวลานี้คือ "การสร้างแหล่งเก็บกักน้ำและปลูกป่า" ในพื้นที่ทำกินของตนเอง เพื่อให้มีระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตรมากที่สุด ในช่วง 30 ปีให้หลังมานี้ เราได้พบกับภาวะฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนมาแทบทุกปีแน่นอน เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาก การตัดไม้ทำลายป่าให้หมดไปจนดินขาดความชุ่มชื้น เมื่อขาดป่าการเกิดฝนก็ยิ่งมีน้อยลงทุกวัน เกษตรกรต้องสร้างแหล่งเก็บกักน้ำไว้ให้มาก เพื่อบรรเทาการขาดน้ำของพืชผล
ต้นไม้และป่าไม้ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการเกิดฝน การเกิดฝนเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องมีองค์ประกอบหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน จนถึงจุดที่ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และตกลงมาเป็นฝน ทำไมพื้นที่หนึ่งฝนไม่ตกแต่อีกพื้นที่หนึ่งฝนตกทั้งๆ ที่เมฆที่ปกคลุมบนท้องฟ้าเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน นั่นแสดงว่า พื้นที่ที่ฝนไม่ตกยังมีองค์ประกอบไม่เพียงพอที่จะทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นฝนได้ แต่พอเมฆลอยไปอีกพื้นที่หนึ่งก็ตกลงมาเป็นฝน แสดงว่าอีกพื้นที่นึงมีองค์ประกอบเพียงพอที่จะทำให้ไอน้ำกลั่นตัวลงมาเป็นฝนได้ ฉะนั้นลองสำรวจสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราในบริเวณที่เราอาศัยอยู่ว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตบ้าง ก่อนที่จะตีโพยตีพายว่า ทำไมฝนไม่ตก?
“ของขวัญจากดิน” ศาสตร์พระราชา “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “เกษตรทฤษฎีใหม่”
โดยศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)