คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
อัตลักษณ์ ไม่มีความหมายบันทึกไว้ในพจนานุกรมแต่อย่างใด แต่ก็มีตำราหลายเล่มได้ให้นิยาม หรือความหมายคำว่า อัตลักษณ์ คือ คุณลักษณะเฉพาะตัว ที่บ่งบอกหรือมีความชี้ชัดของตัวบุคล สังคม ชุมชนหรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ไม่มีทั่วไปและเป็นสากลกับสังคมอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่อัตลักษณ์จะใช้ในวงแคบๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้
“อัตลักษณ์” มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ “อัตตะ” มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ส่วน “ลักษณะ” หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ “อัตลักษณ์” จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า
อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน จึงหมายถึง ความเป็นรูปแบบเฉพาะของอีสานที่ไม่ว่าจะนำไปไว้ ณ แห่งหนใด ทุกคนก็จะร้องอ๋อทันทีว่า นี่เป็นของอีสาน มาจากภาคอีสาน หรือพบเห็นได้ที่อีสาน เป็นอีสานแน่ๆ ไม่เซินเจิ้น (ของก็อปจากจีน) อย่างแน่นอน นั่นเอง!
จากการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ รวบรวมมา และเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า สิ่งที่เป็น อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน มีอยู่ 54 อย่าง ดังต่อไปนี้
จากจำนวน "อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน" ทั้ง 54 อย่างนี้ เมื่อทำการศึกษาวิจัยลงลึกไปอีก ได้คัดเลือกอัตลักษณ์ที่มีความโดดเด่น และมีศักยภาพในการนำเป็น "ทุนประยุกต์ในเชิงสร้างสรรค์" ได้ 4 อัตลักษณ์ คือ
โดยการพิจารณาจาก 4 ประเด็นสำคัญ คือ
ที่มา : อัตลักษณ์ไทย ทุนความคิด ทุนสร้างสรรค์ (ผลการสำรวจศึกษาและสังเคราะห์อัตลักษณ์ไทย ๔ ภูมิภาค)
จัดพิมพ์เผยแพร่โดย สถาบันพัฒาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)