foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ผีขนน้ำ

ผีขนน้ำ เป็นการละเล่นของชาวบ้านนาซาว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ชึ่งเป็นชาวไทยพวนอพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีดังเช่นบรรพบุรุษเคยปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี จุดประสงค์ของการเล่นผีขนน้ำ ก็เพื่อบูชาไหว้ผีบรรพบุรุษ หรือ "เลี้ยงบ้าน" และรำลึกบุญคุณของวัวและควายที่ตายไปแล้ว แต่วิญญาณยังคงวนเวียนอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง รอบหมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านไปตักน้ำมาใช้ วิญญาณของสัตว์ทั้งสองจะตามกลับหมู่บ้านมาด้วย ซึ่งชาวบ้านจะพบขนสัตว์และได้ยินเสียงกระดึง จึงพากันเรียกว่า "ผีขนวัว ผีขนควาย" สมัยก่อนจะเรียกว่า "การละเล่นผีขน" แต่ทุกครั้งที่การละเล่นผีขนจบลง ฝนมักจะตก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า "ผีขนน้ำ" มาถึงปัจจุบัน

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เครื่องแต่งกายของผีขนน้ำมีเอกลักษณ์ สีสันที่สดใส สะดุดตา เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม ยึดประเพณีการเล่นแบบดั้งเดิมทั้งจุดประสงค์ ความเชื่อ รูปแบบพิธีการ การแต่งตัวมีขน อุปกรณ์ที่ใช้ตกแต่งและอื่นๆ

pee kon naam 01

ประเพณีผีขนน้ำบ้านนาซ่าว ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นการละเล่นที่แตกต่างจากที่อื่นๆ ทั้งประวัติความเป็นมา ความเชื่อ รูปแบบวิธีการละเล่น การพัฒนาการอนุรักษ์ การละเล่นผีขนน้ำบ้านนาซ่าว ไม่มีประวัติว่าเล่นครั้งแรกเมื่อใด แต่ชาวบ้านก็เล่นสืบมาเป็นประเพณี เช่นที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติมาทุกปี

กล่าวคือ ชาวบ้านนาซ่าว แต่เดิม เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าไทยพวน โดยอพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง จนมาพบบริเวณพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์คือ “นาซำหว้า” ซึ่งเหมาะแก่การตั้งหลังแหล่งเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พอชุมชนขยายมากขึ้นก็ย้ายมาที่บริเวณบ้านสองโนน ตั้งเป็นหมู่บ้านใหญ่ขึ้น ซึ่งแต่ก่อนหมู่บ้านยังไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คงนับถือผีบรรพบุรุษ ผีปู่ย่าเท่านั้น

ประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่แรกคือ พิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวบ้านร่วมกันจัดขึ้นเรียกว่า “เลี้ยงบ้าน” โดยกำหนดเอาวันเสร็จสิ้นจากการทำไร่ทำนาโดยมี “จ้ำ (ผู้ประกอบพิธีกรรม) เป็นผู้ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างชาวบ้านกับ เจ้าปู่จิรมาณพ และ เจ้าปู่ผ่านพิภพ ผ่าน บัวนาง หรือ เจ้าแม่นางเทียม (ผู้เป็นร่างทรงของเจ้าปู่ทั้งสอง) ซึ่งจะทำพิธีเข้าทรงกำหนดวันที่จะเลี้ยงบ้านขึ้น

pee kon naam 05

จากนั้นจ้ำจะไปประกาศบอกชาวบ้าน โดยการตะโกนตามสี่แยกหรือที่ชุมชนหนาแน่น ไม่ก็ใช้วิธีขึ้นไปบอกตามบ้านทุกหลังคาเรือนภายในหมู่บ้านว่า ในปีนี้จะกำหนดจัดพิธีการเลี้ยงบ้านแล้ว ให้ชาวบ้านจัดหาข้าวปลาอาหาร และของบวงสรวงต่างๆ ไปประกอบพิธีกันที่ดอนหอ “ศาลเจ้าปู่” ของหมู่บ้าน เดิมการบวงสรวงนั้น หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการเลี้ยงผีบ้าน ก็จะมีการฉลองด้วยการร้องรำทำเพลง ซึ่งจะประกอบด้วย นางเทียมร่างทรงเจ้าปู่ นางเทียมร่างทรงคนอื่นๆ นางแต่ง จ้ำ และผู้มาร่วมพิธีอย่างสนุกสนาน พิธีเลี้ยงบ้านนี้จะทำกันทุกปี แค่ปีละครั้งเท่านั้น จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ ที่ผีปู่ผีย่า ตลอดจนผีบรรพบุรุษในหมู่บ้าน ได้ปกปักรักษา คุ้มครองตน และชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขทำมาหากินได้อย่างอุดมสมบูรณ์

เล่ากันว่า “การบวงสรวงสัตว์เลี้ยงภายในบริเวณศาล สัตว์ที่นำไปผูกหลักเลี้ยงจะตายเองโดยไม่มีการฆ่า ขณะที่ประกอบพิธีอัญเชิญผีเจ้าปู่ และผีบรรพบุรุษต่างๆ ให้ลงมากินเครื่องเซ่น ปัจจุบันไม่นิยมทำกันแล้ว เพียงแต่นำเครื่องเซ่น พวกข้าวปลาอาหาร และสิ่งของอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้นมาประกอบพิธี”

pee kon naam 02

การบวงสรวงนั้น จะมีการนำ วัว ควาย มาฆ่าเพื่อเป็นเครื่องเซ่นสังเวยตามพิธีกรรม ในเวลาต่อมา ผีเจ้าปู่ได้บอกความผ่านร่างทรงว่า ให้ชาวบ้านทำ “แมงหน้างาม” หรือ “ผีขน” เพื่อเป็นการบูชาวัว ควาย ที่มีบุญคุณต่อชาวบ้าน แทนการนำมาฆ่าเพื่อเป็นเครื่องสังเวย

นอกเหนือจากการบูชาเพื่อรำลึกคุณของวัว ควาย ที่มีต่อชาวบ้านแล้ว ยังมีความเชื่อสืบเนื่องต่ออีกว่า “ผีขน” คือ วัว ควาย ที่ตายไปแล้ว แต่วิญญาณยังคงวนเวียนอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง รอบๆ หมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านไปตักน้ำมาใช้ วิญญาณของสัตว์ทั้งสองจะตามเข้าหมู่บ้านมาด้วย ซึ่งพบแต่ขน และได้ยินแต่เสียงกระดึง แต่ไม่เห็นตัว ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “ผีขนวัว ผีขนควาย” ยุคแรกๆ จะพากันเรียกว่า “การละเล่นผีขน” แต่ทุกครั้งหลังจบการละเล่นผีขน ฝนมักจะตก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “ผีขนน้ำ” มาถึงปัจจุบัน

การเล่นผีขนน้ำแต่ละปี ถือเอาช่วงก่อนที่จะมีการลงมือทำการเกษตร ชาวบ้านจะมีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำบุญเดือนหก ประมาณวันแรม 1 ค่ำ ของทุกปี ก่อนวันทำบุญ ก็จะมีการบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมงานบุญที่หมู่บ้านจะจัดให้มีขึ้น ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านก็จะเตรียมสถานไว้เพื่อต้อนรับชาวบ้านถิ่นอื่นๆ ด้วย

ผู้ที่เล่นผีขนน้ำส่วนมาก เป็นชายหนุ่มในหมู่บ้าน และเด็กๆ เขาเหล่านั้นจะจัดเตรียมแต่งตัว หัวผีขนของตัวเอง เพื่อเล่นประกอบพิธีบวงสรวงผีบรรพบุรุษ หัวผีขนน้ำที่จะใช้เล่นหากผู้เล่นยังเก็บรักษาของเดิมไว้ ก็สามารถนำกลับมาเล่นใหม่ได้อีก โดยตกแต่งทาสีใหม่ ให้ดูสดและเข้มขึ้น แต่ส่วนมากผู้เล่นผีขนน้ำมักจะทำหัวผีขนน้ำขึ้นมาใหม่เพราะใช้เวลาทำ และตกแต่งไม่มากนัก

pee kon naam 03

การทำและตกแต่งหัวผีขนน้ำ นั้นจะนำเอาไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้นุ่น ไม้ตีนเป็ด ฯลฯ ที่มีขนาดพอเหมาะมาสลักเป็นรูปหน้ากาก วาดลวดลายลงสีต่างๆ เช่น ลายบัวเครือ ลายผักแว่น ตามความเชื่อและจินตนาการเพื่อให้ดูน่ากลัว โดยใช้ผ้าจากที่นอนเก่าไม่ใช้แล้ว มาทำเป็นตัวเสื้อผีขนน้ำ ซึ่งให้นุ่นที่ติดอยู่กับที่นอนนั้น ฟุ้งกระจายไปทั่วขณะที่เต้นรำ และมีอุปกรณ์ในการให้จังหวะ คือ ตีเคาะ หรือ ขอลอ และโป่ง มัดติดด้านหลังลำตัว ผีขนน้ำ สำหรับผู้ที่เดินร่วมขบวนก็จะตีกลองตีเคาะ ปรบมือ เป่าแคน ดีดพิณ เพื่อให้เกิดจังหวะอย่างสนุกสนานสลับกันไป

หน้ากากผีขนน้ำจะขุดให้เป็นรูปหน้าคล้ายๆ วัว ควาย วาดให้เป็นรูปผีน่ากลัว ตาจะโต จมูกโต ฟันใหญ่ แต่มักเขียนปากให้เป็นรอยยิ้ม เหมือนเมตตาปราณี ใบหูทำด้วยสังกะสีโตพอควรกับใบหน้า ส่วนเขาต่อมานิยมใช้หวายมาตรึงติดกับหน้ากาก ให้ปลายทั้งสองข้างแยกออกจากกัน ใช้เชือกมัดลำหวายให้โค้งเข้าหากันพองาม เหมือนกับเขาควายที่โค้ง ใช้กระดาษสีต่างๆ ตัดเป็นริ้วติดประดับระหว่างเขาทั้งสองข้าง ผมทำด้วยต้นกล้วยโดยตัดต้นกล้วยลอกกาบแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งนำมาถักเป็นเปีย แล้วเอามาใส่กับหน้าผีเพื่อทำให้ดูคล้ายผมยาวถึงน่องหรือบางคนอาจยาวถึงตาตุ่ม

pee kon naam 04

เสื้อทำด้วยผ้าตัดเป็นเสื้อคอกลม ลำตัวของเสื้อจะยาวลงไปถึงตาตุ่ม ย้อมให้เป็นสีเหลือง อมดำหรือสีม่วงเหลือง น้ำผ้ามาเย็บเป็นชิ้นขวางตามลำตัวเสื้อ หรือชาวบ้านบางคนจะเอาที่นอนขาดที่ไม่ใช้แล้วกลับด้านในออกเป็นด้านนอกสวมใส่ นำไม้มามัดเป็นลูกระนาดขั้นบันใด และใช้มัดติดกับส่วนเขาด้านหลังให้ถ่วงน้ำหนักไม่ให้หลุดเวลาเล่น

เครื่องดนตรีสำหรับเล่นผีขน เป็นเครื่องดนตรีที่หาได้ง่ายๆ อาศัยจากพื้นบ้านและวิวัฒนาการเอา กระดิ่ง โป่ง ที่แขวนคอ โค กระบือ เป็นเครื่องดนตรี กลองหน้ากลองทำด้วยหนังวัวหนังควาย กระเหลบ หรือ เขรบ ซึ่งใช้ผูกคอวัวควาย นำมาผูกที่เอว เวลาเต้นจะทำให้เกิดเสียงตามจังหวะ บางครั้งจะใช้ กระดิ่งหรือ ขิก พิณ หรือ ซึง ใช้ดีดเข้ากับจังหวะและบทเซิ้ง มีสายสามสาย เคาะ กระดิ่ง และอื่นๆ ที่ใช้แทนเสียงดนตรีได้ แคน กะลอ ทำด้วยไม้ไผ่หนึ่งข้อปล้อง เจาะเป็นรางเวลาเคาะจะเกิดเสียงดัง

เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงเซิ้งผีขนน้ำประยุกต์ ได้กำหนดเพลง “ลายนกไซบินข้ามทุ่ง” เพื่อให้เหมาะสมกับการเต้น ซึ่งเน้นความพร้อมเพรียง สวยงาม สิ่งสำคัญการเต้นเซิ้งผีขนอยู่ที่จังหวะลีลาของเพลง และจังหวะลีลาของเสียงกลองเป็นหลัก

รายการทั่วถิ่นแดนไทย "สืบสานประเพณีผีขนน้ำ บ้านนาซ่าว จังหวัดเลย"

เรียนรู้เรื่องราวชาวอีสาน : อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)