คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
คะลำ เป็นลักษณะความผิด บาป ผิดจารีต ไม่เหมาะ ไม่ควร อาจมีโทษมากหรือน้อย หรือไม่มีโทษ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม คะลำ จึงเป็นหลักคำสอนที่ปฏิบัติกันมา จนเป็นขนมธรรมเนียมที่มีลักษณะเป็นข้อห้าม
คะลำ หรือ ขะลำ ความหมายตาม พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2537 หน้า 16 ว่าไว้ดังนี้
พจนานุกรมภาษาลาว โดย ดร.ทองคำ อ่อนมะนีสอน หน้า 24 ให้ความหมายไว้ดังนี้ "กะลำ น. สิ่งใดที่เฮ็ดลงไปแล้วบ่ดี บ่งาม เกิดโทษเกิดภัย เกิดเสนียดจัญไรแก่ตนและผู้อื่น โบราณเอิ้น กะลำ คะลำ ขะลำ ก็ว่า" อย่างว่า "หัวโล้นอยากลำ หัวดำอยากเทศน์ คะลำ (พาสิด)"
คำว่า "คะลำ" เป็นภาษาอีสาน ในสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ให้ความหมายว่า "คะลำ น. ผิด บาป กรรม สิ่งใดที่ทำลงไปผิดจารีตประเพณี ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ ผิดศีลธรรมในทางพระศาสนา จะมีโทษมาก โทษน้อย หรือไม่มีโทษ แต่สังคมรังเกียจ สิ่งนั้นเรียก คะลำ อย่างว่า ของมันผิดอย่าได้กระทำ ของคะลำอย่าได้ไปต้อง ของพี่น้องอย่าได้ไปซูน (บ.). sin, transgression, taboo." ได้แก่ ไม่ดี ไม่งาม ไม่เหมาะไม่สม เป็นบาปเป็นกรรม ถ้าทำอะไรลงไปผู้เฒ่าผู้แก่ทักท้วงว่า คะลำ คะลำคำนี้เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทำจะไม่กล้าทำต่อไป คำว่า คะลำ จึงถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
คะลำ นี้ในสมัยโบราณถ้าใครไม่ปฏิบัติอาจมีโทษมาก หรือน้อย หรือไม่มีโทษ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม แต่ในปัจจุบัน เมื่อบ้านเมืองมีการพัฒนาทางด้านการศึกษา เทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น การคะลำของชาวอิสานจึงค่อยๆ หายไปกับกาลเวลา เพราะการคะลำบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ล้าสมัย เช่น คนอยู่กรรม (อยู่ไฟหลังคลอดลูก) จะไม่ให้กิน เนื้อวัว เนื้อควาย ผัก ผลไม่บางอย่าง จะผิดกรรม ให้กินข้าวบ่ายเกลือ ปลาขาวนาปิ้งเท่านั้น ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันนั้นได้ทดลองและวิจัยแล้วพบว่า ถ้าร่างกายหลังหลังคลอดไม่กินของเหล่านี้ ก็จะขาดวิตามินบำรุงร่างกาย และไม่มีน้ำนมให้ลูกกินด้วย การคะลำจึงควรเลือกปฏิบัติเป็นอย่างๆ ตามกาละเวลา
ทั้งนี้หากจะแบ่งประเภทของข้อคะลำแล้ว สามารถแบ่งออกกว้างๆ ตามสิ่งที่ได้ไปเกี่ยวข้อง หรือปฏิสัมพันธ์ได้ 3 ลักษณะคือ
ซึ่งการแบ่งลักษณะดังกล่าวนั้น ไม่ได้แยกออกจากกันเป็นอิสรภาพ หากแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน ในลักษณะองค์รวมความรู้ของค่านิยม บรรทัดฐาน อุดมการณ์ อันจะครอบคลุมไปทั้งหมดของวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเกิด การอยู่ การกิน การนอน การเจ็บป่วย การแต่งงาน การตาย เป็นต้น ซึ่งจะจัดพฤติกรรมความสัมพันธ์ของผู้คนในระดับต่างๆ เพื่อผลที่น่าปรารถนาทั้งต่อระดับบุคคลและสังคม
ข้อคะลำในหมวดนี้ หากจะแบ่งย่อยออกไปเพื่อระบุให้ชัดเจนแล้ว อาจจะสามารถแยกออกไปได้ในส่วนของระดับ หรือประเภทของบุคคลต่างๆ ในสังคม เช่น
ข้อคะลำ ที่สตรีมีครรภ์ไม่ควรประพฤติปฏิบัติในระหว่างช่วงดังกล่าวนั้นมีมากมาย ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ทั้งแม่และเด็ก สามารถที่จะประสบกับสวัสดิภาพของชีวิตให้มากที่สุด ซึ่งในจำนวนข้อคะลำทั้งหมดนั้น ส่วนใหญ่มักจะเน้นหนักไปทางด้านอาหารการกิน (ของแสลง) แบบแผนที่ผู้เป็นว่าที่คุณแม่ควรนำมาประพฤติ ซึ่งหากละเลยแล้วต้อง คะลำ ถือว่าไม่ดี ไม่งามไม่เหมาะสม หนักเข้าจะเป็นบาปกรรม เสื่อมเสียและอาจถึงแก่ชีวิต เป็นต้น
ซึ่งหลายข้อคะลำในบางข้อ หากมองด้วยความรู้มาตรฐาน โดยเฉพาะหลักสุขลักษณะตามหลักโภชนาการแม่และเด็กแล้ว ดูจะเป็นการขัดกันอยู่หลายข้อ แต่เมื่อพิจารณาตามสภาพแวดล้อม และเวลาในช่วงเวลานั้นของสังคมอีสาน ด้วยเงื่อนไข ขีดจำกัดทั้งการแพทย์ วิทยาการรักษาแล้ว ความจำเป็นในสวัสดิภาพของชีวิตและเผ่าพันธุ์ จึงจำเป็นต้องบัญญัติข้อคะลำตามที่บรรพบุรุษแนะนำไว้ จากประสบการณ์ที่เคยประสบอย่างเคร่งครัด เนื่องจากความเคารพนับถือแก่บุคคลที่กำเนิดเกิดก่อนผู้เฒ่าผู้แก่ในสังคมดั้งเดิม ซึ่งข้อคะลำที่นำมาเป็นตัวอย่างประกอบในการพิจารณามีดังนี้
ข้อคะลำในการปฏิบัติ เช่น
ข้อคะลำเรื่องอาหาร เช่น
ตามตำราสุขภาพแผนใหม่ในปัจจุบันนั้น ได้กำหนดอาหารต้องห้ามไว้ 6 ชนิดที่ไม่ควรรับประทานเพราะจะสุงผลต่อการให้นมบุตร คือ อาหารแปรรูป (พวกขนมเค้ก ขนมหวาน ที่ทำจากแป้งสาลี แป้งข้าวโพด นมวัว ถั่วลิสง ซึ่งเด็กบางคนแพ้สารในอาหารเหล่านี้) ผักบางชนิดที่มีแก๊ส เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บล็อกโคลี่ (เพราะทำให้เกิดแก๊สในท้องเด็ก ทำให้ท้องอืดได้ง่าย และผักชีจะทำให้ปริมาณน้ำนมมีน้อย) อาหารหมักดอง อาหารรสเผ็ดจัด อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ช็อกโกแลตก็อยู่ในกลุ่มนี้) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แม่ลูกอ่อนหรือผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูกใหม่ ยังอยู่ในภาวะที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งชีวิตของผู้เป็นแม่ และทารกที่เพิ่งคลอดได้ ดังนั้นในช่วงเวลานี้จึงยังมีข้อประพฤติ ปฏิบัติ หรือข้อห้าม ข้อคะลำที่ผู้เป็นแม่ลูกอ่อนต้องคะลำอยู่หลายอย่าง
ข้อคะลำในการปฏิบัติ เช่น
ข้อคะลำเรื่องอาหาร ทั้งนี้เชื่อว่าหากรับประทานเข้าไปแล้วจะก่ออันตรายต่อแม่ลูกอ่อน เป็นของแสลง ผิดสำแดง ซึ่งหากพิจารณาตามหลักโภชนาการแล้ว เข้าใจว่าสิ่งของที่คะลำนั้นยากต่อการย่อยเผาผลาญ และอาจมีผลต่อร่างกายที่ยังอ่อนแอของแม่และอาจมีผลต่อลูกได้ ตัวอย่างคะลำ เช่น
ข้อคะลำสำหรับคนเจ็บป่วยนั้น โดยภาพรวมเป็นข้อที่ห้ามปฏิบัติของผู้ป่วยในแต่ละโรค ซึ่งจะบอกกล่าวโดยรวมทั่วไปว่าสิ่งใดควรเว้น ควรไม่กระทำ หลีกเลี่ยงแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ป่วย ทั้งนี้ขอให้พิจารณาภายใต้เงื่อนไขของสังคมอีสานในอดีต ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ต้องช่วยเหลือดูแลตัวเอง ทั้งนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ สาธารณสุขที่ยังไม่สามารถย่างกรายเข้ามาในสังคมดังกล่าว และได้สืบทอดปฏิบัติสืบต่อกันมานับหลายร้อยปี จากการสังเกต ลองถูกลองผิด สั่งสมเป็นข้อคะลำที่ควรระลึกไว้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างมาดังนี้
เด็กถือว่าเป็นวัยที่จะต้องเติบใหญ่ เป็นผู้สืบทอดความรู้ รักษาระเบียบแบบแผนของสังคมในอนาคตต่อไป จึงเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องมีการปลูกฝังแบบแผน ความประพฤติในสังคมอีสานโดยผ่านคะลำ ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ และควบคุมพฤติกรรมของเด็ก ให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่พึงปรารถนาของสังคม และเป็นการเพาะกล้าของความคิด ความรู้ ค่านิยม อุดมการณ์ บรรทัดฐานบางอย่างให้แก่คนจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งด้วย ซึ่งข้อคะลำที่ผู้ใหญ่นำมาใช้กับเด็กรุ่นหลัง มักจะเป็นลักษณะการปราบและปรามพฤติกรรมที่ไม่พึ่งปรารถนา และแสดงถึงผลที่ฝ่าฝืนข้อห้ามข้อคะลำดังกล่าวให้น่ากลัว หรือบางครั้งจะไม่แสดงเหตุผลแต่จะบอกว่าคะลำ ซึ่งนั้นมักจะทำให้เด็ก (ส่วนใหญ่) สยบยอมต่อข้อคะลำเหล่านั้น พร้อมกันนั้นยังเป็นการควบคุมหรือบอกข้อควรปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่ต่อเด็ก และบางข้อยังสามารถใช้กับบุคคลทั่วไปได้ด้วย ทั้งนี้ภายใต้บริบทแวดล้อมในขณะนั้นที่เป็นตัวหล่อหลอมความคิด การรับฟัง เชื่อถือผู้ใหญ่ที่เกิดมาก่อนด้วย ซึ่งตัวอย่างข้อคะลำที่ยกมามีดังนี้
ผู้ที่ร่ำเรียนวิชาความรู้ เช่น ผู้เรียนไสยศาสตร์ หมอยา (หมอยาสมุนไพร หมอยากระดูก หมอยาเป่า) หมอธรรม
ถือว่าเป็นปูชนียบุคคลสำคัญในสังคมอีสานเมื่อครั้งอดีต เนื่องจากเป็นทรัพยากรบุคคลที่จำเป็นต่อวิถีชีวิต ซึ่งจะเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อคนอีสานทุกเพศทุกวัย เนื่องจากในช่วงเวลาวิกฤติของชีวิต เช่น การเกิด การเจ็บป่วย การตาย และงานพิธีกรรมต่างๆ บุคคลดังกล่าวต้องได้รับเชิญมาประกอบพิธีกรรม หรือไม่มักจะเป็นข้อขะลำส่วนตัว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณวิชาที่ตนเรียนมา
ดังนั้นในส่วนของฮีตปฏิบัติของบุคคลดังกล่าว จึงต้องเคร่งครัดเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณความดี ความสามารถของตนเอง และสร้างความน่าเชื่อถือศรัทธาแก่ผู้พบเห็น ซึ่งข้อคะลำบางกล่าวอาจจะหาเหตุผลมาชี้แจงได้ชัดเจน ทั้งนี้อาจจะเป็นเรื่องของศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรมหรือจรรยาบรรณที่ผู้ร่ำเรียนทางด้านนี้ต้องมี เชื่อกันว่าสำหรับผู้ที่เรียนคาถาอาคมหากฝ่าฝืน จะมีอาการผิดครู อาจจะเกิดสิ่งไม่ดีต่อตนเอง เช่น คาถาอาคมเสื่อม เป็นบ้า เป็นผีปอบ เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างของข้อคะลำมีดังนี้ เช่น
นอกจากนี้ยังมีข้อคะลำข้อห้ามปฏิบัติของผู้ที่มีวิชาอาคม ที่สอดคล้องกับอาชีพหลักของครอบครัว ซึ่งจะจำเพาะเจาะจงว่าเป็นคะลำอย่างยิ่ง เช่น ผู้มีอาชีพคล้องช้าง ทั้งนี้ข้อคะลำดังกล่าวยังได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นๆ ข้างเคียงด้วย เช่น ภรรยาคู่ชีวิต อีกนัยหนึ่ง อาจจะสอดคล้องกับข้อที่ควรปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง อาจจะเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ไปคล้องช้าง และเป็นอุบายตักเตือนห้ามปรามผู้ที่อยู่บ้านปฏิบัติตนให้เหมาะสมทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อรอคอยผู้ชายที่ออกไปคล้องช้าง และข้อเตือนใจเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่อยู่บ้าน เป็นการป้องกันสวัสดิภาพไปด้วย
ซึ่งข้อคะลำของภรรยาหรือฝ่ายหญิงที่อยู่เรือน นับตั้งแต่ฝ่ายสามี ฝ่ายชายออกเดินทางออกไปทำกิจดังกล่าว คือ
นอกเหนือจากข้อคะลำของประเภทบุคคลข้างต้นดังที่กล่าวไปแล้ว ยังมีข้อคะลำที่ห้ามประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลทั่วไปอยู่มากมาย โดยข้อคะลำของบุคคลทั่วไปที่นำตัวอย่างมากล่าวนี้ จะเป็นการบอกโดยรวม อาจจะไม่ใคร่สัมพันธ์กับเวลาหรือสถานที่มากนัก ทั้งนี้จะไม่เจาะจงสถานที่ หรือกำหนดห้วงเวลาที่ชัดเจน บอกเพียงว่าอย่าปฏิบัติเท่านั้น เช่น
นอกจากนี้ยังมีข้อคะลำที่สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องลาง เรื่องโชคชะตาต่างๆ เช่น
ในส่วนของคะลำที่สัมพันธ์กับสถานที่ ทั้งที่เป็นสถานที่ซึ่งคนสร้างขึ้นมา เช่น บ้านเรือน วัด หรือสถานที่ตามธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำ ป่าเขาต่างๆ คนอีสานจะมีข้อคะลำกำกับไว้ เพื่อควบคุมพฤติกรรม ความประพฤติให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานที่นั้นๆ เพื่อความสัมพันธ์ที่พึ่งปรารถนาในการอยู่ร่วมกัน และสวัสดิภาพของบุคคลนั้น ซึ่งข้อคะลำที่นำมาเป็นตัวอย่างประกอบในส่วนนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น
ข้อคะลำที่เกี่ยวข้องกับบ้านเรือนนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การเริ่มสร้างบ้านขึ้นมา จนถึงข้อปฏิบัติในระหว่างอยู่ที่บ้าน เช่น การเลือกไม้ที่จะสร้างบ้าน ห้ามเลือกไม้ที่มีลักษณะดังนี้ มิเช่นนั้นจะคะลำ เช่น
นอกจากนั้นยังมีข้อคะลำเกี่ยวกับบ้านทั้งการสร้างบ้าน และการอาศัยอยู่ในบ้าน เช่น
คลิกไปดู คะลำ ขะลำ หน้าที่ 2
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)