foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

paya

ภาษิตโบราณอีสานรวบรวมไว้ให้ลูกหลานโดย คุณพ่อปรีชา พิณทอง

สิถ่มน้ำลายให้เหลียวเบิ่งป่อง
สิกวมให้เหลียวเบิ่งหน้า
ของเพิ่นแพงอย่าเข้าใกล้
สิเต้นข้ามฮ่องให้เหลียวเบิ่งหนาม
พร้าเข้าอย่าฟันแฮง
ได้โชคแล้วอย่ามัวเมา

นอีสานมี คำคม สุภาษิต สำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)

ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำในภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่ง

ปัญญา ปรัชญา หรือ ผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้เคียงกัน หรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา เป็น เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจจะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้

  • ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไร
  • ผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย
  • ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กินใจความมาก

การพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิด สติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิดความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อนนิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้น จึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึก สามารถผูกมัดจิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไป

ผญามีความเป็นมาอย่างไร

วรรณกรรมมุขปาฐะประเภท ผญา หรือ คำคม ภาษิตท้องถิ่นอีสานนี้ มีความเป็นมาอย่างไรหรือใครเป็นผู้ให้กำเนิด ยากที่จะตัดสินได้ว่ามาจากไหน ใครเป็นผู้ให้กำเนิดหรือริเริ่ม แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้รู้และนักวิชาการที่ทำการศึกษาค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับเรื่อง ผญา หรือ ภาษิตอีสาน ได้สันนิษฐานหรือให้ทัศนะเกี่ยวกับที่มาของผญาพอสรุปได้ดังนี้

  1. ผญาเกิดจากคำสั่งสอนและศาสนา โดยหมายเอาคำสอนของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก ครูบาอาจารย์ที่มีต่อศิษย์ พ่อแม่ที่มีต่อลูกหลาน ทั้งนี้ก็สืบเนื่องจากคำสอนของศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา
  2. ผญาเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี โดยหมายเอาข้อปฏิบัติที่คนในสังคมอีสานปฏิบัติต่อกันในวิถีชีวิต
  3. ผญาเกิดจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว อาจหมายเอาแรงบันดาลใจ หรือความรู้สึกภายในใจ ที่อยากจะบอกต่อกันและกัน จึงกล่าวออกมาด้วยคำคมเชิงโวหารภาพพจน์ต่างๆ แล้วเกิดการโต้ตอบถ้อยคำแก่กันและกัน
  4. ผญาเกิดจากการเล่นของเด็ก โดยหมายเอาการเล่นกันระหว่างเด็ก แล้วมีการตั้งคำถาม อย่างเช่น ปริศนาคำทาย แต่แทนที่จะถามโดยตรงกับสร้างเป็นถ้อยคำที่คล้องจองกัน
  5. ผญาเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์อื่นๆ ในวิถีชีวิต โดยหมายเอาสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตแล้วเกิดแรงบันดาลใจ ให้เกิดถ้อยคำในใจและมีการกล่าวถ้อยคำที่คล้องจองแก่กันและกัน ในโอกาสที่เดินทางไปมาค้าขาย หรือกิจกรรมอื่นๆ


จากการสันนิษฐานที่มาของการเกิดขึ้นของ "ผญา" จะเห็นว่า ผญานั้นมีความหมายต่อชาวอีสาน ไม่ว่าชาวอีสานอาศัยอยู่สถานที่ใด เมื่อมีกิจกรรมใดๆ ร่วมกัน หรือสนทนากันในกลุ่ม จะมีการกล่าวผญาสอดแทรกขึ้นมาเสมอ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผญามีบทบาทหน้าที่และมีความสำคัญต่อสังคมไทยอีสาน ตั้งแต่อดีดจนถึงปัจจุบัน อาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ แล้วแต่โอกาสที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมนั้นๆ

"ภาษิตโบราณอีสาน" แต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียดก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคนในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือ รูปภาพของวัฒนธรรมแห่งชาติ นั่นเอง

การจ่ายผญา หรือการแก้ผญา

การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือ พูดผญา คือ การตอบคำถาม ซึ่งมึผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา ด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่า ลำผญา หรือ ลำผญาญ่อย เช่น

      (ชาย) ..... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า (ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี
      (หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายสิมาเกี้ยว พัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม พัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มี

"ลำผญา" คือ สุภาษิตที่คนอีสานใช้สั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในความดีงาม ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ซึ่งคำสอนเหล่านี้เรียกกันทั่วไปว่า "ผญา" ในอดีต จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการลำผญาอย่างแพร่หลาย ดังที่เราเห็นได้จากถ้อยคำคำขวัญจังหวัดที่ว่า 'ถิ่นกำเนิดลำพญา' แต่ปัจจุบันนี้เหลือผู้ที่สืบทอดศิลปะวัฒนธรรมเหล่านี้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น หมอผญา ที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ คือ แม่ดา ซามงค์ แม่สำอางค์ อุณวงศ์ แม่เป๋อ พลเพ็ง แม่บุญเหลื่อม พลเพ็ง แห่งบ้านดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

การลำและจ่ายผญา ในสมัยโบราณนั้นจะนั่งกับพื้น คือ หมอลำ หมอผญา และหมอแคน จะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่นๆ ก็นั่งเป็นวงล้อมรอบ หมอลำบางครั้งจะมีการฟ้อนด้วย ส่วนผู้จ่ายผญาจะไม่มีการฟ้อน ในบางครั้งจะทำงานไปด้วยแก้ผญาไปด้วย เช่น เวลาลงข่วง หมอลำชายจะลำเกี้ยว ฝ่ายหญิงจะเข็นฝ้ายไปแก้ผญาไป นอกจากหมอลำ หมอแคนแล้ว บางครั้งจะมี "หมอสอย" ทำการสอยสอดแทรกเป็นจังหวะไป ทำให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนาน การจ่ายผญาในครั้งแรกๆ นั้น เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว และนั่งพูดจ่ายตามธรรมดา ต่อมาได้มีการดัดแปลงให้มีการเอื้อนเสียงยาว มีจังหวะและสัมผัสนอกสัมผัสในด้วย ทำให้เกิดความไพเราะ และมีการเป่าแคนประกอบจนกลายมาเป็น "หมอลำผญา" ซึ่งพึ่งมีขึ้นประมาณ 30 - 40 ปีมานี้

รายการ ก(ล)างเมือง - หมอลำผญาดอนตาล

เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปการพัฒนาของการจ่ายผญาจึงมีมากขึ้น จากการนั่งจ่ายผญาซึ่งมองกันว่าไม่ค่อยถนัด และไม่ถึงอกถึงใจผู้ฟัง (ด้วยขาดการแสดงออกด้านท่าทางประกอบ) จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นยืนลำ ทำให้มีการฟ้อนประกอบไปด้วย จากดนตรีประกอบที่มีเพียงแคน ก็ได้นำเอากลอง ฉิ่ง ฉาบ และดนตรีอื่นๆ เข้ามาประกอบ จากผู้แสดงเพียง 2 คนก็ค่อยๆ เพิ่มเป็น 3, 4 และ 5 คน จนมารวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะหมอลำผญา บางคณะได้มีหางเครื่องเข้ามา ประกอบด้วย

ความทวย (ปริศนาคำทาย)

วามทวย ในภาษาอีสาน จะมีความหมายตรงกับ ปริศนาคำทาย ในภาษากลาง เป็นวิธีการสอนลูกหลานให้มีความคิด เชาว์ปัญญา ไหวพริบปฏิภาณเฉียบแหลม ประกอบกับการเล่านิทานที่มีคติสอนใจ ในสมัยก่อนนั้น คนบ้านนอกในภาคอีสานยังไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งบันเทิงที่พอมีคือ การเล่านิทานชาดกของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ในขณะที่คนแก่ก็จะได้ความสุขใจมาจากการฟังเทศน์ฟังธรรมจากวัด

ช่วงเย็นหลังอาหารค่ำก็จะเป็นช่วงเวลาของเด็กๆ หนุ่มสาว จะได้ฟังนิทานชาดก นิทานพื้นบ้านกัน หลังการเล่านิทานก็จะมี การถามปัญหา หรือ ความทวย ผู้ใดสามารถตอบได้ก็จะได้รับรางวัลเป็นผลไม้ กล้วย อ้อย ตามฤดูกาล ตัวอย่างความทวย เช่น

  • ความทวย สุกอยู่ดิน กากินบ่ได้ สุกอยู่ฟ้า กายื้อบ่เถิง ไผว่าแม่นหยัง?
  • ความแก้ ลูกหลานก็จะคิดหาความแก้ ถ้าใครแก้ได้ท่านก็ให้รางวัลดังกล่าว แล้วความแก้หรือคำตอบนี้ก็คือ "ดวงตะวัน" และ "กองไฟ"

ข้อสังเกต ความทวยหรือปริศนาปัญหานี้ ท่านจะผูกขึ้นจากลักษณะของสิ่งที่จะเอามาตั้งเป็นปัญหา เพื่อให้ลูกหลานใช้สมองเทียบเคียงดู เช่น สุกอยู่ดินคือ "กองไฟ" เพราะกองไฟมันจะมีสีแดง ปกติของสีแดงๆ มันจะเป็นสัญลักษณ์แห่งของสุก "สุกอยู่ฟ้า" คือดวงตะวันสีแดงๆ บนฟ้า ของสุกมันจะมีสีแดง ของดิบมันจะเป็นสีอื่นๆ และกากินไม่ได้ด้วย เด็กฉลาดก็จะเทียบเคียงได้เอง รายละเอียดและตัวอย่างคำทวยดูได้จากหัวข้อด้านล่าง

ประเภทของผญา - สุภาษิต - ความทวย

"ผญา" เมื่อแบ่งแยกหมวดหมู่ออกไปตามลักษณะอย่างคร่าวๆ ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทดังนี้

  1. ผญาคำสอน   2. ผญาปริศนา
  3. ผญาภาษิตสะกิดใจ   4. ผญาเกี้ยวพาราสีทั่วไป
  5. ผญาเกี้ยวพาราสีโต้ตอบหนุ่มสาว   6. หมวดภาษิตคำเปรียบเปรยต่างๆ
  7. ผญาปัญหาภาษิต   8. ผญาฮีตสิบสอง
  9. ภาษิตโบราณอีสาน 10. คำกลอนโบราณอีสาน
11. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 1) 12. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 2)
13. วรรณกรรมคำสอย (จากจังหวัดกาฬสินธู์) 14. ความทวย

 

ขอขอบพระคุณ
: ผศ.สุระ อุณวงศ์ เสริมข้อมูลการจ่ายผญา
: อาจารย์สวิง บุญเจิม ปธ.๙ M.A. เสริมข้อมูลความทวย

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)