คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และจังหวัดน้องใหม่ บึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน
ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึง สูง 1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชี และลำตะคอง ทางด้านทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร ยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตร ทำให้ภาคอีสานถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
โดยแบ่งจังหวัดออกตามกลุ่มอนุภาคเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
สนับสนุนให้เว็บเราคงอยู่ให้บริการด้วยการคลิกไปชมสปอนเซอร์ของเราด้วยครับ
แม้ว่าชาวอีสานจะมีพื้นเพมาจากคนหลายกลุ่ม หลายชาติพันธุ์ มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เช่น ชาวส่วย (กุย) ย้อ ผู้ไทย ชาวโซ้ รวมทั้งไทยโคราช แต่ด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นในจารีตประเพณีของท้องถิ่นที่เรียกว่า "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"
จากอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาล ทำให้ภาคอีสานมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายน่าสนใจ ทั้งการท่องเที่ยวธรรมชาติ แบบการเดินป่า ล่องแก่ง ศึกษาธรรมชาติ ดูนก หรือจะเที่ยวเพื่อการชื่นชมความงามในศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่น ศึกษาประวัติศาสตร์จากแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ และโบราณสถานต่างๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ของประเทศไทย เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลาย ทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรม เหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิต ตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ การอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ การกวาดต้อนไพร่พล หรือจากการหนีภัยสงครามเมื่อครั้งอดีต และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น
ศิลปะของชาวอีสาน มีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือถ้ำฝ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ บ้านเรือนของชาวอีสาน สร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการรับอิทธิพลส่งผ่านการค้าขาย สมัยนายฮ้อย จากที่ราบสูงไปยังที่ราบลุ่มภาคกลาง การสร้างบ้านเรือนของชุมชนตั้งแต่สมัยโบราณ มักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่มีแม่น้ำสำคัญๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับไปตั้งอยู่ บนโคกหรือเนินสูง
ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึงมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน โพน หนอง นา ป่า" เป็นส่วนใหญ เช่น บ้านโคกจาน บ้านโนนสูง บ้านโพนเมือง บ้านหนองงูเหลือม บ้านนาดี บ้านป่าโมง บ้านป่าหวาย เป็นต้น บ้านเรือนโดยส่วนใหญ่จะยกพื้นสูง หลังคาทรงจั่ว เพื่อช่วยในการระบายความร้อน และน้ำฝน ในอดีตเป็นการก่อสร้างด้วยการใช้วิธีการบาก เจาะ และใส่ลิ่มไม้ในการยึดเกาะ ไม่ใช้ตะปู มีเรือนนอน ชานเรือน และครัวไฟ ใต้ถุนใช้เป็นที่ขังสัตว์ใช้งานเช่น วัว ควาย หรือ วางอุปกรณ์การเกษตร เครื่องมือทำกิน และกี่ทอผ้า
ประเพณีของชาวอีสาน มีความหลากหลายและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ประเพณีส่วนใหญ่จะเกิดมาจากความเชื่อ ค่านิยม และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อคนในท้องถิ่น ประเพณีต่างๆ ถูกจัดขึ้นเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ และเพื่อถ่ายทอดแนวความคิด ค่านิยมที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น การสู่ขวัญ การเลี้ยงผีปู่ตา ผีตาแฮก การแห่เทียนพรรษา การขอฝนจากแถน
คนอีสานมี คำคม สุภาษิต ไว้สั่งสอนลูกหลาน ให้ประพฤติตนอยู่ในฮีต ๑๒ คอง ๑๔ (จารีต ประเพณีที่ปฏิบัติในรอบ ๑๒ เดือน - ครรลอง ๑๔ อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกันของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุข ร่มเย็นของบ้านเมือง) ไม่ออกนอกลู่นอกทางคำคมเหล่านี้ รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง
ภาษิตโบราณอีสาน แต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียดก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำชาติใดก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคนในชาติอื่นอาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ผญา/ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรมแห่งชาติ นั่นเอง
ศิลปะการแสดงและดนตรีอีสาน ชาวอีสานมีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จึงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส การแสดงของภาคอีสานมักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของเซิ้ง
ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ แคน โหวต พิณ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง โปงลาง การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย ภูไทสามเผ่า เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
ภูมิปัญญาของคนอีสาน ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาต่อเนื่อง ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคล หรือทรัพยากรความรู้ก็ได้ ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะสากลที่หลายๆ ท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นล้วนเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และวิถีชีวิตชาวบ้าน
การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวง เกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น การลงแขก สร้างบ้าน สร้างวัด สร้างโรงเรียน สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับ มีลักษณะเด่นคือ สร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูง ทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
ถึงแม้ผู้คนไม่น้อยเห็นว่า ชุมชนอีสานเป็นดินแดนแห่งความโง่ ความจน ความเจ็บไข้ ได้ป่วยอันน่าเวทนา แท้ที่จริงไม่มีมนุษย์ผู้ใดและสังคมใด ที่ปล่อยให้วันเวลาผ่านเลยโดยไม่สั่งสมประสบการณ์ หรือไม่เรียนรู้อะไรเลยจากช่วงชีวิตหนึ่งของตน ไม่ว่าในภาวะสุขหรือทุกข์ คนอีสานได้ใช้สติปัญญาสั่งสมความรู้ ดังจะเห็นได้จาก ภาษิตอีสาน (ผญาก้อม) จำนวนไม่น้อยที่แสดงทัศนะ ชื่นชมคุณค่าของความรู้ในการประกอบอาชีพ และค่านิยมประการหนึ่งของชาวอีสานคือ ยกย่องความรู้ และการใช้ความรู้อย่างมีคุณธรรม ดังความว่า
ผู้ที่สามารถประกอบการงานได้ผลดี โดยใช้ภูมิปัญญาชาวอีสาน เรียกว่า หมอ เช่น หมอมอ คือผู้รอบรู้ด้านโหราศาสตร์ หมอว่าน คือ ผู้รอบรู้ด้านสมุนไพร หมอยา คือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน การรักษาโรค หมอลำ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการร้องลำนำประกอบแคน หมอผึ้ง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการหาน้ำผึ้ง ผู้มีภูมิปัญญาทุกวิชาชีพได้รับการยกย่องจากชุมชนเสมอหน้ากัน
ชาวอีสานมีทัศนะในการใช้ชีวิตว่า อยู่เป็นหมู่ดีกว่าอยู่โดดเดี่ยว เพราะขีดจำกัดทางกายภาพและภูมิปัญญา การช่วยกันคิด ช่วยกันทำ การพึ่งตนเองและการพึ่งพากันเองน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ทำอย่างไรการอยู่ร่วมกันจึงจะเกิดประโยชน์สุข ผู้ฉลาดจึงร่วมกันกำหนด ฮีตบ้าน-คลอง(ครรลอง)เมือง เช่น ฮีตสิบสอง-คลอง(คอง)สิบสี่ กฎหมายท้องถิ่น วรรณกรรมคำสอน นิทานพื้นบ้าน บทเพลงและคติธรรม ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง แม้บางส่วนอาจไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่กระบวนการทางสังคมหลายส่วน ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน
ผ้า ภูมิปัญญาของชาวอีสานที่สืบทอดกันมา สมัยก่อนถือว่าการทอผ้าเป็นงานของผู้หญิง เพราะต้องใช้ความประณีตและละเอียดอ่อน ใช้เวลานานกว่าจะทอผ้าชนิดนี้เสร็จแต่ละผืน ผู้หญิงซึ่งในสมัยนั้นต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนอยู่แล้ว จึงมีโอกาสทอผ้ามากกว่าผู้ชาย อีกประการหนึ่งคือ ค่านิยมของสมัยนั้นยกย่องผู้หญิงที่ทอผ้าเก่ง เพราะเมื่อโตเป็นสาวแล้ว จะต้องแต่งงานมีครอบครัวไปนั้น ผู้หญิงจะต้องเตรียมผ้าผ่อนสำหรับออกเรือน ถ้าผู้หญิงคนใดทอผ้าไม่เป็นหรือไม่เก่ง ก็จะถูกตำหนิ ชายหนุ่มจะไม่สนใจ เพราะถือว่าไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะเป็นแม่บ้านแม่เรือน เมื่อมีงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ชาวบ้านจะพากันแต่งตัวด้วยผ้าทอเป็นพิเศษไปอวดประชันกัน ผ้าชนิดนี้จะทอขึ้นด้วยฝีมือประณีตเช่นเดียวกัน มีสีสันและลวดลายดอกดวงงดงามเป็นพิเศษ ผ้าบางผืนจะทอกันเป็นเวลาแรมปีด้วยใจรักและศรัทธา
ผ้าไทยอีสาน เป็นสายใยแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นมรดกสืบทอดกันมานาน มีความงามหลากหลายแตกต่างกันไป ทั้งรูปแบบ ลวดลาย สีสัน โดยเฉพาะแง่มุมของความงดงามนั้น จะแตกต่างกันตามกลุ่มวัฒนธรรม และผ้าไทยอีสานเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่อยู่กับวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนภาคอีสานมานานแล้ว แต่ยังไม่มีหลักฐานการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า เริ่มมีการทอผ้าประเภทต่างๆ ตั้งแต่ยุคสมัยใด ซึ่งการทอผ้าของชุมชนอีสานมีวัตถุประสงค์ หรือ ความมุ่งหมายเพื่อการใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน และการทอผ้าเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ้าไทยอีสานจัดได้ว่า เป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น วิจิตรงดงาม มีลวดลายที่ประณีต และมีชื่อเสียงอย่างมาก ทั้งผ้าฝ้ายทอ ผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ซึ่งสามารถนำ มาสรรสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
อ่านเพิ่มเติม : ผ้าทออีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)