foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

provinces header

จังหวัดหนองบัวลำภู

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ
แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน"

nongbua lamphu logoจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างหุบเขา โอบล้อมด้วยเทือกเขาภูพาน จากเหนือจดใต้ และภูเก้าในทางทิศใต้ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มากมายด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ หนองบัวลำภูมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านธรรมชาติอันสวยงาม โบราณสถาน หรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี และวัดวาอาราม

จังหวัดหนองบัวลำภู มีเนื้อที่ประมาณ 3,859.062 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 2,411,928.74 ไร่ ขนาดพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 2.27 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หนองบัวลำภู หรือในอดีตเรียกว่า นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ตามตำนานพระวอ-พระตา ผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภูเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2302 โดยได้สร้างกำแพงเมือง มีค่ายคูประตูหอรบครบครันเพื่อป้องกันข้าศึก โดยเฉพาะข้าศึกจากทางเวียงจันทน์ คือ ได้สร้างกำแพงหิน หอรบขึ้นที่เชิงเขาบนภูพานคำ ซึ่งเป็นเส้นทางหน้าด่านใกล้กับบริเวณน้ำตกเฒ่าโต้ ห่างจากกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าสิริบุญสาร แห่งเมืองเวียงจันทน์ได้ส่งกองทัพมาปราบปราม เกิดการต่อสู้กันที่ช่องน้ำจั่น (น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำ สู้รบกันอยู่ 3 ปียังไม่แพ้ชนะกัน ทางฝ่ายเมืองเวียงจันทน์จึงขอกองทัพพม่ามาช่วยเหลือ จนสามารถตีเมืองนครเขื่อนขันธ์ฯ ได้ พระวอ-พระตา จึงอพยพผู้คนหนีไปพึ่ง พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งอาณาจักรล้าน ช้างจำปาสัก ในปี พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพมาช่วยพระวอ-พระตา ขับไล่กองทัพของพระเจ้าสิริบุญสารออกไป แล้วยกกองทัพติดตามเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ได้

ครั้งนั้นได้ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่ เมืองนครเขื่อนขันธ์ฯ ก็ได้มาขึ้นอยู่กับไทย ในปี พ.ศ. 2433 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองบ้านเมือง ให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชาเมืองใหญ่ 16 เมือง เมืองขึ้น 36 เมือง เรียกว่าเมืองลาวฝ่ายเหนือ และ เมืองนครเขื่อนขันธ์ฯ ก็ได้ขึ้นอยู่กับเมืองหนองคายนั้น เจ้าเมืองหนองคายได้แต่งตั้งให้พระวิชโยคมกมุทเขต มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์ฯ ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอก และ เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองกมุทธาสัย

nongbua lampoo 02

จน ในปี พ.ศ. 2443 ได้มีการเปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร และให้รวมเมืองต่างๆ ในมณฑลอุดรเป็น 5 บริเวณ เมืองกมุทธาสัย ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้ง และในปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองกมุทธาสัย เป็น เมืองหนองบัวลำภู

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 ได้ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอหนองบัวลำภู ขึ้นกับจังหวัดอุดรธานี โดยมีพระวิจารณ์กมุธกิจเป็นนายอำเภอคนแรก อำเภอหนองบัวลำภู มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งยกระดับเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536

จังหวัดหนองบัวลำภู แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ (2564) ได้แก่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอโนนสัง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอนากลาง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง

nongbua lampoo flower

ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู คือ ดอกบัวหลวง หรือ บัวหลวงอินเดีย (อังกฤษ: Indian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India) เป็นพืชน้ำในสกุลบัวหลวง (Nelumbo) วงศ์บัว (NELUMBONACEAE) มีชื่ออื่นๆ เช่น บุณฑริก, สัตตบงกช เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะสีสันขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ ขายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกกอจากหัวหรือเหง้า

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูมีชาติพันธุ์ต่างๆ มีดังนี้

  • กลุ่มไท - ลาว อพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยมีกลุ่มพระวอ - พระตาเป็นเชื้อสายลาวเวียงจันทน์
  • กลุ่มไท - เขมร อพยพมาจาก บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
  • กลุ่มไท - สยาม อพยพมาจากภาคกลางของประเทศไทย
  • กลุ่มคนจีนและคนญวน อพยพมาเพื่อประกอบอาชีพค้าขาย และได้มีการแต่งงานกับคนในท้องถิ่น เกิดเป็นเชื้อสายจีนและเชื้อสายญวน แต่ยังมีจำนวนน้อย

ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มลาวพุงขาว (ล้านช้างเวียงจันทน์) กลุ่มชนนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณรอบนอกเมือง และเป็นกลุ่มใหญ่ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีสัญลักษณ์การสักลายดำใต้สะเอวลงมาและมีกินหมาก ปัจจุบันกลุ่มชนพื้นเมืองดังกล่าวเป็นคนฟันขาว เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ห้ามประชาชนทั่วไปกินหมากและสักลายดำ
  2. กลุ่มคนจีน-ญวน ลักษณะเป็นคนผิวขาวเหลือง อพยพมาจากมณฑลกวางตุ้ง ยูนหนาน ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มีพระราชดำริให้คนจีนกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน และภายหลังได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู
  3. กลุ่มคนไต กลุ่มชนนี้เป็นเผ่าไตหรือไท ซึ่งอพยพเข้ามาในเขตจังหวัดหนองบัวลำภูช่วงสงครามเดียนเบียนฟู (สงครามเวียดนาม - ฝรั่งเศส) ภายหลังสงครามสงบลงกลุ่มคนไตบางส่วนได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและบางส่วนตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู

การเดินทางไปหนองบัวลำภู

หนองบัวลำภูอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 559 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดหนองบัวลำภูได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน (ปลายทางที่สนามบินอุดรธานี แล้วเดินทางต่อด้วยรถยนตร์)

  • โดยรถไฟ:
    การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขบวนรถด่วนและรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทุกวัน เป็นรถไฟที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานี จากนั้นใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุดรธานี-หนองบัวลำภู สอบถาม รายละเอียดเกี่ยวกับตารางรถไฟได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690 หรือ www.railway.co.th
  • โดยรถยนตร์:
    จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 210 ผ่านอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทาง 608 กิโลเมตร หรือเมื่อถึงจังหวัดขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2109 (น้ำพอง-เขื่อนอุบลรัตน์) เข้าอำเภอโนนสัง ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทางประมาณ 559 กิโลเมตร
  • โดยรถประจำทาง:
    มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th

nongbua lampoo 03

การเดินทางภายใน หนองบัวลำภู

ในตัวเมืองหนองบัวลำภูมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งหนองบัวลำภู นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไป ยังแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

จังหวัดหนองบัวลำภู มีทรัพยากรในด้านการท่องเที่ยวมากมายและหลากหลายรูปแบบ มีกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยกิจกรรมที่โดดเด่น คือ การชมแหล่งโบราณคดี นมัสการพระเกจิดัง เที่ยวชมวัดวาอาราม รอยพระพุทธบาท หรือเที่ยวชมหมู่บ้านหัตถกรรมต่างๆ เครื่องปั้นดินเผา พิพิธภัณฑ์ และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ ขี่จักรยานท่องเที่ยว เที่ยวน้ำตก ดูนก เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ตั้งแคมป์พักแรม บริเวณอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ

nongbua lampoo 04

ไปชมหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านผาโค้ง วัดถ้ำกลองเพล กราบหลวงปู่ขาวอนาลโย ภูหินลาดช่อฟ้า พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี วนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้ ศาลเจ้าปู่หลุบ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลอด ปโมทิตะเจดีย์ แหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อย-กุดคอเมย วัดพระพุทธบาทภูเก้า สิมไม้วัดเจริญทรงธรรม เป็นโบถส์ไม้แห่งเดียวในภาคอีสาน หมู่บ้านหัตถกรรมจักรสานกระติ๊บข้าวต้นคล้า อ่างเก็บน้ำห้วยไร่ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดแห่ ถ้ำผาเจาะ แหล่งโบราณคดีภูผายา อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เป็นต้น

nongbua lampoo 05

หนองบัวลำภูมีงานเทศกาลและประเพณีที่น่าสนใจหลายอย่าง มีงานเด่นดังประจำปีที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือ งานประเพณีสงกรานต์หาดโนนยาว งานประเพณีขึ้นเขาไหว้พระถ้ำเอราวัณ งานประเพณีบุญบั้งไฟล้าน ที่โนนสูงเปลือย งานประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์ ของอำเภอสุวรรณคูหา เป็นต้น

[ ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์จังหวัดหนองบัวลำภู | แผนที่จังหวัดหนองบัวลำภู | เอกสารการท่องเที่ยว ]

new1234ชมภาพเก่าเล่าเรื่องอดีต "เมืองหนองบัวลำภู"new1234

 

 

นอกจากรายละเอียดในแต่ละจังหวัดแล้ว ภาคอีสานยังมีสาระความรู้มากมายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ชนเผ่าไทยในอีสาน ศิลปวัฒนธรรมอันรุ่งเรือง และอื่นๆ อีกมาก หาความรู้เพิ่มเติมได้จากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องด้านล่างนี้

รู้จักภาคอีสานของไทย | ชาติพันธุ์เผ่าไทยในอีสาน | ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน | ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)