คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ชาวตะวันตก ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา หรือ ออสเตรเลีย ที่เราเรียกรวมๆ ว่า "ฝรั่ง" นั้นคงมีส่วนน้อยหรือน้อยมากๆ ที่รู้จักกับ "พุทธศาสนา" ศาสนาของฝรั่งที่นับถือส่วนใหญ่ก็จะเป็น "คริสต์ศาสนา" ซึ่งมีหลายนิกาย เช่น คาร์ทอลิก, ออทอร์ด็อก, โปแตสแตนส์ และอื่นๆ รวมทั้งที่เรียกตัวเองว่า "ไม่มีศาสนา" หรือ ศาสนาที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า (atheist), ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า (agnostic) แต่ในระยะประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา โลกตะวันตกก็ได้ซึมซับเอาวิถีพุทธไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
โดยในระยะแรกนั้น เป็นเพียงการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับ "พุทธศาสนา" เท่านั้น แต่เมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมา จากความนิยมทางหลักวิชาการ ก็กลายมาเป็นที่นิยมในแง่ของการปฏิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธมากขึ้นนั้น เป็นเพราะความน่าเลื่อมใสศรัทธาของพระหรือครูผู้สอน ที่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี และมีความรู้ความสามารถในการทำให้ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติได้เข้าใจหลักธรรม และวิธีการปฏิบัติ จนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ
ประเด็นสำคัญที่น่าคิด ก็คือ ทำไมที่ผ่านมาชาวตะวันตกจำนวนมากจึงหันมาหาพุทธศาสนา คำตอบก็คือ พวกเขาคิดว่า ศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นมาก ในแง่ที่ว่า ชาวพุทธเป็นผู้รักสงบและไม่ใช้ความรุนแรง
ในประเทศอังกฤษเองนั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้วจากข่าวของ พระภาวนาวิเทศ (เขมธมฺโมภิกฺขุ) (พระไทยชาวอังกฤษ ศิษย์ของหลวงพ่อชา) ซึ่งได้เข้าไปสอนปฏิบัติธรรมให้แก่นักโทษ ในเรือนจำของอังกฤษกว่า 26 ปี จนเกิดผลดี ช่วยลดปัญหาของเรือนจำลงได้มาก กระทั่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังมีนักโทษจำนวนมากมายที่หันมานับถือพุทธศาสนา บางรายที่พ้นโทษออกมา ก็ได้มาเป็นอาสาสมัครในการเผยแผ่พุทธธรรมด้วย พุทธศาสนิกชน ชาวอังกฤษเชื่อว่า ศาสนาพุทธจะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และจะเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในตะวันตก
มีอยู่หนึ่งข้อความที่ตัวผู้เขียนได้อ่าน และรู้สึกเห็นด้วยมากๆ ว่า “Buddhism is not just religion, Buddhism is the practice” หมายความว่า พุทธศาสนา ไม่ได้เป็นแค่ ศาสนา แต่เป็นการฝึกฝน ปฏิบัติ และทุกๆ คนทุกศาสนาก็สามารถเป็น Buddhism ได้ เพื่อฝึกฝนและปฏิบัติตนให้มีความสงบ สบาย รู้แจ้ง และเห็นธรรม แม้เขาไม่ต้องกราบไหว้พระพุทธรูป หรือ ไม่รู้คำสวดมนต์เลย
มีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน แล้วมาบวชอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นศิษยานุศิษย์ ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บ้างก็ปวารณาตัวบวชตลอดชีวิต จึงมีคำถามว่า
ศาสนาพุทธ มีดีอะไร? จึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งทั้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์ มาบวชในพุทธศาสนามากมายเช่นนี้ "
พระโพธิญาณเถระ หรือหลวงพ่อชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี นับได้ว่าเป็นพระมหาเถระในฝ่ายมหานิกายที่สามารถต่อหน่อเนื้อแห่งสังฆะได้มีคุณภาพ ไม่ใช่สักแต่ว่าบวชๆ ให้ไปแบบ 'อุปัชฌาย์เป็ด' คือ เช้าบวชวัด บ่ายบวชอีกวัด แต่ไม่เคยได้ให้การอบรมอะไรต่อผู้ที่เข้ามาบวชเลย
มีฝรั่ง (ชาวต่างชาติ) จำนวนมากที่มาอยู่ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อนั้น ต่างต้องผ่านการอบรมอย่างเข้มงวด กับการใช้ชีวิตในรูปแบบวิถีพระป่าจากคณะสงฆ์ของหลวงพ่อชาก่อน ตั้งแต่การเป็น 'ปะขาว' ถือศีลแปด ทำสมาธิ ปฏิบัติกิจต่างๆ รับประทานอาหารมื้อเดียว เมื่อหลวงพ่อเห็นว่าสมควรให้บวช ท่านก็จะทวงถามกับคณะสงฆ์ว่า "สมควรบวชให้ได้หรือไม่" เมื่อคณะสงฆ์ไม่ปฏิเสธหลวงพ่อก็บวชให้ โดยบรรพชาเป็นสามเณรก่อน เมื่อประพฤติปฏิบัติได้อย่างน้อย 1 ปี จึงจะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ (บางรูปเเป็นสามเณรอยู่ 3-5 ปี ก็มี)
ใครเคยไป วัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จะเห็น 'พระฝรั่ง' มากมาย ทั้งพรรษามาก พรรษาน้อย และปะขาว หรือ ผ้าขาว (ผู้สนใจในพุทธศาสนาและต้องการบวช มาทดลองฝึกปฏิบัติอยู่อย่างพระ) ต่างก็ผ่านการอบรมด้วยดีมาแล้วทั้งสิ้น บางรูปฉันจังหัน (อาหารอาสนะเดียว มื้อเดียว หนเดียว) กับแจ่วปลาร้า น้ำพริก กล้วยและส้มตำ แบบไม่มีสิทธิเลือก ฉันตามมีตามเกิด ตามที่ไปบิณฑบาตรมาได้ หรือเท่าที่ญาติโยมนำมาถวาย
แม้จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด ก็ยังมีชาวต่างชาติมาบวชมากมาย และพระฝรั่งเหล่านี้ก็ได้ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปทั่วโลก จึงมีวัดสาขาของวัดหนองป่าพงทั้งในและนอกประเทศมากกว่า 200 สาขา โดยมีศิษย์ชาวต่างชาติสำคัญหลายรูปที่เป็นกำลังสำคัญ อาทิเช่น
พระเทพญาณวิเทศ (หลวงพ่อสุเมโธ) ปัจจุบันจำพรรษาที่ วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร
[ อ่านเพิ่มเติม : หลวงพ่อชาสอนฝรั่งอย่างไร? ]
คนไทยมีบุญที่ได้เกิดอยู่ในเมืองพุทธ เมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด แต่คนไทยไม่มีวาสนาที่จะเข้าถึงหลักธรรมหลักการปฏิบัติที่แท้จริง คนไทยส่วนใหญ่จะติดในพิธีกรรมทางศาสนามากเกินไป จนลืมแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คนไทยไม่ค่อยเข้าถึงหลักธรรมเท่าไรนัก แต่จะเน้นเรื่องประเพณีและพิธีกรรมมากกว่า แต่ตัวเองเริ่มต้นจากการเรียนรู้คำสอนก่อน ส่วนประเพณีและพิธีกรรมมาเรียนรู้ทีหลัง ถึงไม่ได้เกิดในเมืองพุทธแต่ก็มีวาสนาที่ได้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ”
ศ. ดร. คาโลร่า (CALORA ANDUJO M.D.)
นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมพวกเราชาวต่างชาติถึงมาที่นี่ 'ประเทศไทย' เมืองแห่งพุทธศาสนา... เพื่อศึกษาเข้าถึงธรรมกับพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
รายการทันโลก ThaiPBS : พุทธศาสนาหยั่งรากในอิตาลี
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระเถระเข้ารับพระราชทานสถาปนา เลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 เวลา 17.00 น. จำนวน 74 รูป
ซึ่งมีพระเถระ "กิ่งก้านโพธิญาณดอกบัวตะวันตก" ที่เบ่งบานด้วยธรรม (ศิษย์ในองค์หลวงพ่อชา สุภัทโท) รวมอยู่ด้วย ดังนี้
สาธุ สาธุ สาธุ...
ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 พศจิกายน 2563 ได้มีราชกิจจานุเบกษาประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ พระเทพญาณวิเทศ (หลวงพ่อสุเมโธ) วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลวิเทศศาสนกิจ วิจิตรธรรมปฏิภาณ วิปัสสนาญาณวงศวิสิฐ ราชมานิตวชิราลงกรณ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป
พระเทพพัชรญาณมุนี, พระธรรมพัชรญาณมุนี, พระอาจารย์วชิโร, พระอาจารย์เขมานันโท
ภาพถ่ายอันเป็นที่ระลึกนึกถึง "ความศรัทธา" ของชาวต่างชาติต่อพระพุทธศาสนา หลวงพ่อทั้ง 4 รูป ได้อุปสมบทในวันเดียวกัน เมื่อ 42 ปีที่ผ่านมา และได้มาเจอพร้อมกันอีกครั้งที่ วัดป่านานาชาติ อุบลราชธานี ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่หลวงพ่อทั้งสี่รูปจะมาเจอหน้าตาพร้อมกัน ได้ร่วมถ่ายภาพพร้อมกันแบบเป็นกันเอง เป็นภาพที่งดงามมากที่สุด
ด้วยหลวงพ่อทั้ง 4 รูป อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภฺทโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์บุญชู ฐิตคุโณ (วัดเขื่อนโพธิญาณ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ในวันนั้น มีการอุปสมบทพระภิกษุชาวต่างชาติด้วยกัน 4 รูป ตามลำดับ คือ
พระอาจารย์เขมานันโท, พระอาจารย์วชิโร, พระธรรมพัชรญาณมุนี, พระเทพพัชรญาณมุนี
ถาพถ่าย : ณ วัดป่านานาชาติ : 26 ธันวาคม 2565
ขอขอบคุณข้อมูลจากพี่ เฉลิมชัย จารุพัฒนเดช KruPim Nittaya
และยังมีพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระฟิลลิป ญาณธัมโม เป็น พระราชวชิรญาณ กรรมฐานนิเทศสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี พระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระ สถิต ณ วัดป่ารัตนวัน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 4 รูป
โรบิน ฟิลลิปป์ มัวร์ ผู้แปลหนังสือ "พุทธธรรมวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา" ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)