foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra farang

มีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน แล้วมาบวชอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นศิษยานุศิษย์ ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บ้างก็ปวารณาตัวบวชตลอดชีวิต จึงมีคำถามว่า "ศาสนาพุทธ มีดีอะไรจึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์มาบวชมากมายเช่นนี้"

วิถีพระป่าฝรั่ง ศิษยานุศิษย์ชาวต่างชาติ (3)

kewalee 01พระภาวนาวัชราจารย์ (พระอธิการเฮนรี่ เกวลี)

ฉายา เกวลี อายุ 54 ปี พรรษา 25 วิทยฐานะ นักธรรม ชั้นเอก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ (สาขาวัดหนองป่าพง ที่ 19) ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ข้อมูล ณ พ.ศ. 2566)

นามเดิมชื่อ เฮ็นนิ่ง นามสกุล เอ็กเกร์ส เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีวอก ณ อำเภอคาร์ลสรูเฮ จังหวัดบาเดน-เวือร์เทมเบอร์ก ประเทศเยอรมนี นามบิดา นายเฮลมุท นามมารดา นางโรสวิทา

การบรรพชา และอุปสมบท

บรรพชา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2540 อายุ 28 ปี ณ วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง (เขตปกครองคณะสงฆ์ เป็นตำบลโนนโหนน เขต 2) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอธิการเลี่ยม ฐิตธมฺโม (พระเทพวชิรญาณ) เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 อายุ 29 ปี ณ วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง (เขตปกครองคณะสงฆ์ เป็นตำบลโนนโหนน เขต 2) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอธิการเลี่ยม ฐิตธมฺโม (พระเทพวชิรญาณ) วัดหนองป่าพง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฌอน ชยสาโร (พระธรรมพัชรญาณมุนี) วัดป่านานาชาติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อลัน วิปสฺสี วัดป่านานาชาติ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ มักจะเริ่มจากแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับพุทธศาสนา เกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีในการทำให้จิตใจสงบ ไม่มีความเครียดในชีวิต ผ่อนคลาย และหนึ่งในสิ่งที่งดงามคือ การพบพุทธศาสนา เราได้รับสารว่า ให้หยุดพักชั่วครู่ อยู่กับตัวเอง

เหมือนกับเวลาที่คนมาที่นี่ เขาได้ตระหนักว่า นอกจากการทำสมาธิโดยเฉพาะในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ได้เกิดปัญญามหาศาลซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิต และสำหรับพวกเราหลายคน มันเป็นสิ่งที่มีเหตุผล ทำให้พวกเราคิดได้ทันทีว่านี่แหละสิ่งที่พวกเรากำลังมองหา

เพราะคำสอนต่างๆ นั้น ถูกจุด ตรงประเด็น ไม่มีอะไรที่ลึกลับรู้กันในวงจำกัด คือไม่มีสิ่งที่ปิดบังซ่อนเร้น ไม่มีสิ่งที่แปลกประหลาดในนั้น

เหมือนกับสิ่งที่หลวงพ่อชาสกัดออกมา พูดถึงหลวงพ่อชา หลวงปู่มั่น พวกท่านต่างเพ่งไปที่แก่นของคำสอน เช่น อริยสัจ 4 หรือไตรลักษณ์ การลดความเครียด การหยุดพักชั่วคราว การมีสติ การระลึกรู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นและการค้นพบตัวเอง นั่นเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนชอบในพุทธศาสนา

เราต้องการเกิดปัญญาด้วยตัวเราเอง และพุทธศาสนาก็เป็นคำสอนแห่งปัญญาในทางหนึ่งเรามาที่นี่และรู้สึกถึงความสงบ ความผ่อนคลายของผู้คนในวัดแห่งนี้ เหมือนกับคนทั่วไปในประเทศไทย

ทำให้เรารู้สึกค่อนข้างประทับใจและเกิดแรงบันดาลใจ และก็มีหลายสิ่งที่ทำให้เราประทับใจอย่างมาก นั่นคือความโอบอ้อมอารีของคนไทย คนไทยชอบทำบุญ ให้การต้อนรับชาวต่างชาติเป็นอย่างดี ต้อนรับพวกเราต่างชาติที่แบคแพคมา ที่มาเที่ยวชายทะเล เที่ยวเชียงใหม่ หรือแม้แต่มาที่อุบล มายังพุทธศาสนา ไม่รู้สึกว่ามีอคติ ผู้คนทั้งหลายแค่รู้สึกมีความสุขมากๆ ที่เห็นเรามา และทำให้เห็นได้ว่าพวกเขามีความสุขจริงๆ พวกเขาช่างเป็นมิตรและทำไมถึงใจดีอย่างนี้

kewalee 02

แล้วเมื่อออกไปบิณฑบาต ก็มักจะมีชาวต่างชาติที่มาที่วัด ติดตามพระสงฆ์ออกไปบิณฑบาตในตอนเช้าด้วย และพวกเขามักจะรู้สึกซาบซึ้งประทับใจ ได้เห็นเด็กน้อยได้เห็นผู้เฒ่า ผู้แก่ที่ทางประเทศตะวันตกมักจะไม่ค่อยได้เห็นกัน เพราะมักจะไปอยู่บ้านพักคนชราหรือโรงพยาบาลกัน แต่ที่นี่เขาอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน ในเมือง ออกมาเจอกันแล้วก็ได้เห็นการให้ความเคารพ อย่างเด็กน้อยที่พูดว่า นั่งลง นั่งลง ไหว้พระเร็ว นั่นเป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกซาบซึ้งประทับใจจริงๆ แต่ความรู้สึกอบอุ่นแบบครอบครัวที่เราเห็นที่เมืองไทย มันทำให้เราบางคนรู้สึกอิจฉาคนไทยจริงๆ ที่มีแบบนั้นในขณะที่ทางตะวันตกมันสูญหายไปแล้ว

แน่นอนว่า ชาวต่างชาติที่มาที่นี่นั้น ต่างเป็นลูกชายจากครอบครัวที่ดี ไม่ใช่แค่คนที่หลีกหนีความวุ่นวายมา แต่ยังมีคนที่รู้สึกซาบซึ้งกับวัฒนธรรมของพุทธศาสนาที่เราได้เรียนรู้มาด้วย

สิ่งหนึ่งในนั้นแน่นอนว่าคือ ปรัชญา คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งชัดเจนแจ่มแจ้ง อาตมาได้ศึกษาจากตำรามาบ้าง พวกเราชาวต่างชาติได้มีโอกาสอ่านพระสูตรที่ขายอยู่ในร้านหนังสือ อย่างไปฝรั่งเศส ไปร้านหนังสือ ก็สามารถซื้อหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ พอได้อ่านแล้วก็รู้สึกได้แรงบันดาลใจ จากนั้นก็รู้ว่า พระทำสมาธิ ชาวพุทธทำสมาธิ พวกเขาใช้ชีวิตอย่างสงบสุข อาศัยอยู่ในสถานที่อย่างหลังคาโลก แล้วก็เกิดอยากทำบ้าง

แล้วประการที่สามคือ จากนั้นก็ได้ค้นพบว่า โอ้... ความเป็นพุทธนี้อยู่ที่นี่ ผู้คนมาที่อุบล หรือมาเมืองไทย แล้วก็เห็นความงดงาม เห็นผู้คนที่นี่ให้ความเคารพกับศาสนา กับพระสงฆ์ เห็นความโอบอ้อมอารี ทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้เราฉุกคิดว่า เราได้ทำอะไรมาบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ค่อยมีคุณค่านัก หรืออยากจะเปลี่ยนชีวิต

kewali 01

วิทยฐานะ

  • พ.ศ. 2531 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียน Hardtberg Gymnasium Bonn อำเภอบอนน์ จังหวัดนอรด์รายนเวสท์ฟาเลน ประเทศเยอรมนี
  • พ.ศ. 2539 สำเร็จระดับปริญญาตรี ด้านฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Freie Universität Berlin ประเทศเยอรมนี
  • พ.ศ. 2545 สอบได้ นักธรรม ชั้นเอก จากสำนักเรียนคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • การศึกษาพิเศษ ได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเป็นผู้ทรงจำและสวดพระปาฏิโมกข์ จาก สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี

งานการปกครองคณะสงฆ์

  • พ.ศ. 2551 เป็น เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2561 ได้รับตราตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วย การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2535 ซึ่งนับว่าเป็นพระชาวต่างประเทศรูปแรกที่เข้าระบบในการฝึกซ้อมอบรมหรือสอบความรู้พระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์ไทย
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูอุบลภาวนาวิเทศ” เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
  • 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระภาวนาวัชราจารย์" เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

kewali 06

ผลงาน พระภาวนาวัชราจารย์ ในการเผยแผ่พระธรรมเทศนาทั้งรูปแบบ หนังสือ การบันทึกเสียงและวิดีโอ มีอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาษาไทย อังกฤษ และเยอรมัน เป็นต้น ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ช่องยูทูป International Forest Monastery Wat Pah Nanachat และผ่านเว็บไซต์วัด www.watpahnanachat.org ได้ทำหนังสือสวดมนต์ทำวัตรแปล ภาษาบาลี-อังกฤษ (Buddhist Chanting Pali-English) เพื่อใช้ภายในวัดและเผยแพร่ออกไปสู่ระดับสากล (พ.ศ. 2561) ได้ทำการแปลหนังสือธรรมะเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา อาทิเช่น ประวัติและปฏิปทาพระเทพวชิรญาณ (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) (The Life and Teachings of Luang Por Liem Thitadhammo) หนังสือ No Worries หนังสือ The Ways of the Peaceful เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ Forest Path (พ.ศ. 2556) หนังสือ นอบน้อมบูชาคุณ (พ.ศ. 2564) หนังสือ Vinaya – die unbekannte Seite der Lehre des Buddha ภาษาเยอรมัน (พ.ศ. 2556)

ด้านศาสนกิจพิเศษอื่นๆ

พระภาวนาวัชราจารย์ ท่านเป็นผู้จัดโครงการอบรมกัมมัฏฐาน ทำหน้าที่สอนกัมมัฏฐานและจัดพระวิทยากรในการอบรมธรรม โดยใช้ภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาพักปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ที่วัดป่านานาชาติ ปีละประมาณ 400 คน เวลาอยู่พักปฏิบัติธรรมระยะเวลาสั้นยาวต่างกัน โดยเฉลี่ยประมาณ 7 วัน ให้คำแนะนำชีวิตบรรพชิตแก่ชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบนักท่องเที่ยว นักการศาสนาต่างๆ ผู้มาแวะเยี่ยมเยือน หรือผู้ที่มีความสนใจด้านการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน มีการอบรมและสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การฟังธรรมเทศนาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ชาวต่างชาติที่สนใจในพุทธศาสนา ได้มีโอกาสสัมผัสกับวิถีชีวิตพรหมจรรย์ เป็นเหตุให้ชาวต่างชาติจำนวนมากเกิดศรัทธาแล้วออกบวชเป็นพระภิกษุ สามเณร ในพุทธศาสนาในเวลาต่อมา หรือนำหลักการทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตคฤหัสถ์ที่ประเทศของ แต่ละคนต่อไป

รับหน้าที่เป็นล่ามแปลพระธรรมเทศนาของพระมหาเถระซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชารุ่นเก่า ที่ท่านเทศน์ให้เป็นภาษาอังกฤษ ในเวลาที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านไปปฏิบัติศาสนกิจต่างประเทศ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ต่างประเทศ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาแก่ชาวต่างชาติ ที่ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อินเดีย สิงคโปร์ สืบเนื่องมาโดยตลอด

ดำเนินการรวบรวมเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดิน วัดป่านานาชาติ ให้ออกเป็นโฉนดที่ดินถูกต้อง ตามกฎหมายครบถ้วนทุกแปลง การขยายเขตที่ดินวัดด้านหน้าทางเข้า และด้านข้างทิศตะวันตกของวัด เพื่อดำเนินโครงการปลูกป่าเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ อนุรักษ์พันธุ์ไม้พื้นถิ่น เพื่อให้เป็นศาสนสมบัติ เป็นเขตปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนสืบต่อไป เป็นผู้ริเริ่มการทำกิจกรรมปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านในการทำการเกษตรแบบปลอดสารเคมี

ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯ ทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ
ณ วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี วันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2565

พ.ศ. 2562 ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ (ทดแทนหลังเดิมที่มีขนาดเล็ก ไม่สะดวกในการทำสังฆกรรม เช่น การบรรพชา อุปสมบทพระ เป็นต้น) ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นการออกแบบที่มีการรักษารูปแบบแบบเรียบง่าย ตามแบบอย่างอุโบสถของวัดหนองป่าพง โดยเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้น ยกสูง เปิดโล่ง ไม่มีผนัง ไม่มีหน้าต่าง ดูกลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบอีสานล้านช้างเพื่อรักษาความเป็นโบราณไว้

kewali 07

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : พระอุโบสถหลังใหม่วัดป่านานาชาติ

siri panyo 02พระอาจารย์สิริปันโน (Ajahn Siripanyo)

ข่าวที่เรียกได้ว่า กำลังเป็นที่ฮือฮาในหมู่ Social Network อย่างยิ่งทีเดียว มีการแชร์กันไปมากมาย สำหรับเรื่องราวของพระชาวมาเลเซียรูปหนึ่ง ที่รู้สึกซาบซึ้งในรสพระธรรม จนถึงขนาดยอมทิ้งทรัพย์สมบัติอันมหาศาล ถึง 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.85 แสนล้านบาท) เพื่อขอบวชศึกษาพระธรรมภายใต้ร่มกาสาวพักตร์

อาจารย์สิริปันโน (Ajahn Siripanno) หรือชื่อเดิมคือ เว็น สิริปัญโญ (Ven Siripanyo) เป็นลูกชายคนเดียวของมหาเศรษฐี ที. อนันดา กริชนัน (Tan Sri Ananda Krishnan) เป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญสุนทานชาวศรีลังกา เชื้อสายทมิฬ ซึ่งนิตยสาร Forbes จัดอันดับความร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของมาเลเซีย และอันดับ 4 ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 93 ของโลก (2nd richest man in Malaysia, 4th in Southeast Asia and 93th in the world according to Forbes in 2012) และ ม.ร.ว.สุพินดา จักรพันธุ์ (คุณหญิงใหญ่) มารดาซึ่งเป็นคนไทย

ครอบครัวนี้มีลูกสาว 2 คน และมีลูกชายเพียง 1 คน คือ อาจารย์สิริปันโน ท่านจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ และสามารถพูดได้ถึง 8 ภาษา ท่านสิริปันโน เคยมาศึกษาธรรมกับ อาจารย์ชยสาโร ที่วัดป่านานาชาติอยู่ 3 เดือน จนเมื่อท่านเรียนจบและทำงานได้ราวหนึ่งปี ก็ตัดสินใจบวชอีกครั้งและไม่สึกตลอดชีวิต

ท่านได้เลือกที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ 24 ปีที่แล้ว (นับถึงปี พ.ศ. 2561) โดยเป็นลูกศิษย์สาย พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และท่านไม่เคยมองย้อนกลับไป อยากใช้ชีวิตฆราวาสอีก

ท่านปฏิเสธโอกาสที่จะทำงาน เพื่อเข้ามาดูแลและขยายอาณาจักรธุรกิจของบิดา รวมทั้งปฏิเสธที่จะรับมรดกของครอบครัว ซึ่งมีมูลค่าราว 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ($9.5 billion -2011) แต่กลับเลือกที่เดินบนเส้นทางของการเจริญสมาธิภาวนา ตามแนวปฏิบัติสายพระป่าแห่งวัดหนองป่าพงตลอดชีวิต

พวกเราชาวพุทธ ไม่ควรพูดถึงพระด้วยการเน้นชูพื้นเพชีวิตของท่านก่อนบวช (ว่าเรียนจบอะไร, ครอบครัวทำอะไร เป็นต้น) เพราะนั่นไม่สำคัญ ไม่ว่าใครจะเรียนจบอะไร พ่อแม่ทำอาชีพอะไร อยู่ในสังคมแบบไหน ก็ไม่สำคัญ เพราะว่าเมื่อ “...วรรณะ ๔ จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเองฉะนั้น...” พวกเราจึงควรจะพูดถึงท่านที่ธรรมะและปฏิปทามากกว่า

siri panyo 03
ท่านสิริปันโน กับโยมพ่อ มหาเศรษฐี ที. อนันดา กริชนัน

พระอาจารย์สิริปันโน (Ajahn Siripanno) ท่านเป็นพระที่เล่าถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์ โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (กล่าวคือ ไม่เอาชื่อเสียงเกียรติคุณของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาเป็นฐานเพื่อเสริมตัวเองขึ้น เพื่อยกตัวเองขึ้น) แต่มุ่งเน้นให้ความสำคัญที่ธรรมะและปฏิปทาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์เป็นหลัก นี่คือสิ่งที่เราควรชูขึ้น คือ ธรรมะ ปฏิปทา การปฏิบัติตน เราควรทำอย่างนี้เหมือนกัน ใช้ตรงนี้เป็นแบบอย่าง

siri panyo 01

ปัจจุบันท่านจำพรรษาอยู่ที่ สำนักสงฆ์เต่าดำ จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นสาขาของวัดป่านานาชาติ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

siri panyo 04
ภาพท่านสิริปัญโญ กับโยมมารดา (คุณหญิงใหญ่ ม.ร.ว.สุพินดา จักรพันธุ์)

มองพระพุทธศาสนา โดย พระอาจารย์สิริปัญโญ

 

ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)