foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

october festival header

ล่วงเข้าเดือนที่สองของการเข้าพรรษาแล้ว ก็มาถึงฮีตสำคัญอีกฮีตหนึ่งในสิบสองเดือนคือ "ฮีตบุญเดือนสิบ" คือ บุญข้าวสาก ในภาคอีสาน ส่วนทางภาคกลางเรียกว่า บุญสลากภัตร เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานงานบุญประเพณีบ้านเฮาเอาไว้ ก็อย่าลืมประพฤติปฎิบัติ "สืบฮอยตา วาฮอยปู่" ไว้เด้อลูกหลานเอย บางคนก็บอกว่า "ช่วงหยุดเข้าพรรษาเดินทางเมือบ้านลำบาก รถราแน่นขน้ดบ่สะดวกในการเดินทาง บุญข้าวสากปีนี้กะเมือบ้านได้เด้อ ไปทำบุญให้ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือที่ล่วงลับไปแล้วกัน ได้พานพบพี่น้องป้องปายในรอบปี" เมือยามบ้านกัน...

  • งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ประจำปี 2567 จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 8-18 ตุลาคม 2567
  • งานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 25667 จังหวัดหนองคาย วันที่ 17 ตุลาคม 2567
  • งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและแข่งขันเรือยาว ประจำปี 2567 จังหวัดสกลนคร ระหว่าง 12 – 17 ตลาคม 2567

งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม

fire boat“ประเพณีไหลเรือไฟ” เป็นพิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ โดยมีความเชื่อว่า การไหลเรือไฟเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธองค์ประทับไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที ครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมในพิภพของนาคใต้เมืองบาดาล รวมทั้งความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาคในลำน้ำโขง การระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา ขอขมาลาโทษต่อแม่น้ำ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในแม่น้ำ และยังถือเป็นการลอยเคราะห์ลอยโศก ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข มีโชคมีลาภ

นอกจากนั้นในตำนานยังเล่าขานกันว่า ในแม่น้ำโขงเป็นที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น พญานาค เจ้าพ่อเหล็กซีด้ามแตก เจ้าพ่อคำแดง เจ้าพ่อหมื่น เจ้าพ่อสัมมะติ เจ้าพ่อสิบสอง ต้องทำการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อให้ท่านปกปักรักษาบ้านเมือง ประชาชนให้มีความสงบสุขร่มเย็น ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และขอให้มีโชคลาภ การทำมาหากินให้มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง

lai rue fire 2024 1

จังหวัดนครพนม เพิ่มวันจัดงานประเพณีไหลเรือไฟ และงานกาชาดจังหวัดนครพนม ประจำปี 2567 เป็นเวลา 9 วัน ระหว่างวันที่ 10-18 ตุลาคม 2567

กำหนดการ

  • วันที่ 10 -16 ตุลาคม 2567 ไหลเรือไฟโชว์ คืนละ 3 ลำ
  • วันที่ 17 ตุลาคม 2567 ไฮไลท์คืนวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีการประกวดเรือไฟชิงถ้วยพระราชทาน ประเภทสวยงามและประเภทความคิด จำนวน 12 ลำ จาก 12 อำเภอ
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2567 ไหลเรือไฟโชว์ 4 ลำ สนับสนุนการจัดเรือไฟโชว์ 4 ลำ โดย อบจ.นครพนม เทศบาลเมืองนครพนม ที่ทำการปกครองจังหวัดนครพนม และมหาวิทยาลัยนครพนม

ข้อมูลสำคัญ เรือไฟ ทำโครงจากไม้ไผ่ 100% ไฟตะเกียง ทำมาจากขวดและน้ำมัน + ไส้ตะเกียง มีการจุดไฟจริง และไหลลอยน้ำจริงๆ / เรือไฟยักษ์ขนาดใหญ่สุดถึง 80 เมตร เรือไฟเล็ก ประมาณ 30 - 60 เมตร

ใครยังไม่เคยเห็น หรือนึกภาพไม่ออก ลองค้นหาในกูเกิ้ลดูคลิป ดูภาพเก่าๆ ได้จ้า แล้วค่อยมาดูของจริง จะทึ่งยิ่งกว่า !!! สุดยอดภูมิปัญญาชาวบ้าน

วันที่จัดงาน : 10-18 ตุลาคม 2567

สถานที่จัดงาน : ณ เลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร และศาลากลางจังหวัดนครพนม

งานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก

ชาวจังหวัดหนองคาย ขอเชิญชมการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม จากตำนานบั้งไฟพญานาค สู่ความเชื่อ ความศรัทธา ปฐมบทแห่งคืน 15 ค่ำ เดือน 11 ผสมผสานจินตนาการและการสร้างสรรค์ เล่าขานเรื่องราวผ่านนาฏกรรมอีสาน ชุด “ประทีปนาคา บูชาพระสัพพัญญู“ ในงานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก

payanak2024

เริ่มตั้งแต่บริเวณ  วัดหายโศก ลานวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขงหน้าวัดลำดวนถึงพระธาตุหล้าหนอง ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญภายในงานประกอบ พิธีบวงสรวงและรำบูชาพญานาค การแสดง แสง สี เสียง จากนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย พิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนาง พิธีบวงสรวงพระธาตุกลางน้ำ พิธียกฉัตรพระธาตุหล้าหนอง (พระธาตุกลางน้ำจำลอง) กิจกรรมตักบาตรเทโวโรหนะ กิจรรมถนนอาหาร กิจกรรมถนนคนเดิน กิจกรรมแข่งเรือประเพณี กิจกรรมลอยกระโป๋ไฟบูชาพระแม่คงคา กิจกรรมชกมวยแมกไม้มวยไทย และกิจกรรมอื่นๆ 

โดยมีการแสดงของนักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย ต่อด้วยการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม ภายใต้ชื่อ ประทีปนาคา บูชาพระสัพพัญญู ซึ่งหมายถึงลูกไฟขององค์พญานาคที่พ่นขึ้นมาจากใต้น้ำหรือเมืองบาดาลเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า  ในวันออกพรรษา การแสดงประกอบไปด้วย 4 องค์ เป็นการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของหนองคาย แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยองค์ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องการเกิดแม่น้ำโขง องค์ที่ 2 กล่าวถึงวิถีชีวิตของคนลุ่มแม่น้ำโขง ที่เชื่อเรื่องพญานาค โดยการแสดงเกี่ยวกับพญานาคทั้ง 4 ตระกูล อันประกอบไปด้วย ตระกูลวิรูปักขะ ตระกูลฉัพพะยาปุตตะ ตระกูลกัณหาโคตะมะ ตระกูลเอราปะถะ ผูกร้อยเรียงไปกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดหนองคาย มีพระสุก พระเสริม พระใส และพระธาตุหล้า  ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ล้มลงไปในแม่น้ำโขงเนื่องจากตลิ่งถูกกระแสน้ำกัดเซ่าะ และเชื่อว่ามีพญานาคเป็นผู้เฝ้ารักษา องค์ที่ 3 เป็นตำนานกล่าวถึง บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นความเชื่อเรื่องของการเกิด บั้งไฟพญานาค และองค์ที่ 4 เป็นประเพณีออกพรรษาจังหวัดหนองคาย

วันที่จัดงาน : 17 ตุลาคม 2567

สถานที่จัดงาน : ณ ลานวัฒนธรรมริมโขง หน้าวัดลำดวน จังหวัดหนองคาย

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและแข่งขันเรือยาว

จังหวัดสกลนคร งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง และแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ จัดขึ้นในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี มีการจัดการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ บริเวณหนองหาร และในตอนกลางคืนของวันขึ้น 13 ค่ำ ก่อนวันทำการแห่ขบวนปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มต่างๆ จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งสวยงามประดับโคมไฟหลากสีมาตั้งประกวดแข่งขันกัน เพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด

prasart pueng 1

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร ถือเป็นประเพณีงานบุญสำคัญ และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจะจัดขึ้นในช่วงเดือน 11 หรือช่วงออกพรรษา ในงานแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร ชาวบ้านจากทุกหมู่บ้านจะมีการจัดทำปราสาทซึ่งสร้างมาจากขี้ผึ้งเป็นส่วนประกอบหลัก จากนั้นจะมีการจัดขบวนแห่อย่างสวยงาม อันประกอบไปด้วยการแสดงพื้นบ้าน การแต่งกายพื้นเมือง การรำมวย หรือกระทั่งการฟ้อนภูไทย

จากนั้น ทุกขบวนแห่ปราสาทผึ้งของแต่ละหมู่บ้านจะนำปราสาทผึ้งไปทอดถวาย ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลานานในภาคอีสาน แต่จะเป็นที่รู้จักมากและแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยมีจุดประสงค์ของประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกัน ระหว่างความเชื่อในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับ และการทำบุญใหญ่ในช่วงออกพรรษา ซึ่งเป็นงานบุญที่มีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าจะได้รับอานิสงส์มาก

12 ตุลาคม 2567

  • เวลา 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขันเรือยาว "ชิงถ้วยพระราชทานฯ" ณ สนามแข่งเรือหนองหาร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สกลนคร

วันที่ 12-15 ตุลาคม 2567

  • ชมลานวัฒนธรรมและการแสดงปราสาทผึ้งประยุต์ โบราณ สร้างสรรค์  ณ บริเวณทางเข้าศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร
  • จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน, การแสดงประกอบแสง สี เสียง เมืองสกล, เทศกาลอาหารปลอดภัย ไทสกล ละเบ๋อ และกิจกรรมติดดอกผึ้ง ณ ศูนย์ราชการจังหวัดสกลนครและลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5

วันที่ 16 ตุลาคม 2567 

  • เวลา 17.00 น. พิธีเปิดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งฯ และปล่อยขบวนแห่ปราสาทผึ้ง ประกอบแสง สี เสียง ณ สี่แยกหอนาฬิกา
  • เวลา 19.30 น. พิธีถวายปราสาทผึ้ง ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร
  • เวลา 22.00 น. ประกาศผล/มอบรางวัลการประกวดปราสาทผึ้ง แสดงปราสาทผึ้ง ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 

  • เวลา 07.00 น. ทำบุญตักบาตรวันออกพรรษา ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

วันที่จัดงาน : 12-17 ตุลาคม 2567

สถานที่จัดงาน : ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จังหวัดสกลนคร และวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

Free Free! โฆษณางานประเพณีของท่านที่นี่

ท่องเที่ยวอีสาน

lilred

หากแฟนานุแฟนของเว็บไซต์อีสานบ้านเฮา หรือหน่วยงานราชการ จังหวัด อำเภอ เทศบาล อปท. ใดๆ มีข่าวสารการจัดงานบุญประเพณีในท้องถิ่นของท่าน อยากจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ก็แจ้งมายังทีมงานได้ครับ ผ่านทางอีเมล์ webmaster @ isangate.com หรือผ่านทาง Inbox ใน Fanpage Facebook : IsanGate ก็ได้เช่นเดียวกันครับ ขอรายละเอียด วันเวลา สถานที่จัดงาน กิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ ถ้ามีภาพประกอบด้วยก็จะดีเยี่ยมครับ (ภาพของงานปีก่อนๆ หรือการคประชุมเตรียมงาน) บริการท่านฟรีๆ ครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

 

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)