foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

paothai

ความหมายของชาติพันธุ์ ชาติพันธุ์คืออะไร?

คำว่า "ชาติพันธุ์" และ "ชาติพันธุ์วิทยา" เป็นคำใหม่ในภาษาไทย การทำความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์ จำเป็นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับเรื่องเชื้อชาติและสัญชาติ อาจเปรียบเทียบเชื้อชาติ สัญชาติ และชาติพันธุ์ได้ดังนี้

เชื้อชาติ (race) คือ ลักษณะทางชีวภาพของคน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากลักษณะรูปพรรณ สีผิว เส้นผม และตา การแบ่งกลุ่ม เชื้อชาติ (racial group) มักแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ นิกรอยด์ (Negroid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) และคอเคซอยด์ (Caucasoid) ในตอนหลังได้เพิ่มออสตราลอยด์ (Australoid) โพลินีเชียน (Polynesian) ฯลฯ อีกด้วย

การแบ่งแยกกลุ่มคนตามลักษณะทางชีวภาพนี้ มีความสำคัญในสังคมที่สมาชิกในสังคมมาจากบรรพบุรุษที่ต่างกัน และมีสีผิวและรูปพรรณสัณฐานที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ความแตกต่างระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ ในสังคมที่มีกลุ่มคนที่มีลักษณะทางชีวภาพต่างกัน และประวัติความเป็นมาตลอดจนบทบาทในสังคมต่างกัน ความแตกต่างทางชีวภาพอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันได้ แต่ในบางสังคม เช่น สังคมไทย ความแตกต่างทางชีวภาพไม่มีความหมายเท่าใดนัก

เชื้อชาติ คือ ระบบทางพันธุ์กรรม (DNA) หรือ ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ (สรีระวิทยา) ได้แก่ เล็บ, ขน, ผม, ฟัน, ผิวหนัง ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงระบบหมู่โลหิต A, B, AB, O หรือ ระบบ ABO เป็นสิ่งที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด ไม่สามารถบอกเลิกระบบหมู่โลหิต หรือ ยกเลิกระบบหมู่โลหิตดังกล่าวได้ แต่สามารถโอนถ่าย และ/หรือ ถ่ายเทให้แก่กันและกันได้ ด้วยหลักทางการแพทย์และพยาบาลที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากลโลก (W.H.O.) ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยกฏเกณฑ์ทางนิติเวชวิทยาศาสตร์

สัญชาติ (nationality) คือ การเป็นสมาชิกของประเทศใดประเทศหนึ่งตามกฎหมาย โดยที่ลักษณะทางชีวภาพและวัฒนธรรม เชื้อชาติ อาจแตกต่างกันได้ การเป็นสมาชิกของประเทศย่อมหมายถึง การเป็นประชาชนของประเทศนั้น ผู้ที่อพยพมาจากที่อื่นเพื่อมาตั้งถิ่นฐานสามารถโอนสัญชาติมาได้ ผู้ที่เปลี่ยนสัญชาติ คือ ผู้ที่เปลี่ยนฐานะจากการเป็นประชาชนของประเทศหนึ่ง มาเป็นประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง "สัญชาติ" นั้นสำคัญมากเพราะจะทำให้คนอื่นรู้ว่า คุณเกิดที่ไหน ดังนั้นในแบบฟอร์มที่ต้องกรอกในรายการทะเบียนหลายอย่าง จึงมีช่อง "สัญชาติ" ให้ระบุ สำหรับหนังสือเดินทาง จะต้องมีสัญชาติระบุอยู่ เพื่อที่จะได้รู้ว่าคนผู้นั้นมาจากประเทศอะไร

 paothai isan 01

ชาติพันธุ์ (ethnicity หรือ ethnos) คือ การมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูดเดียวกัน และเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน เช่น ไทย พม่า กะเหรี่ยง จีน ลาว เขมร เป็นต้น

กลุ่มชาติพันธุ์ หรือ กลุ่มวัฒนธรรม มีลักษณะเด่นคือ เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน บรรพบุรุษในที่นี้หมายถึงบรรพบุรุษทางสายเลือด ซึ่งมีลักษณะทางชีวภาพและรูปพรรณ (เชื้อชาติ) เหมือนกัน รวมทั้งบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด และทางวัฒนธรรมพร้อมๆ กันไปเป็นความรู้สึกผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธุ์

และในขณะเดียวกัน ก็สามารถเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นั้นนับถือศาสนาเดียวกัน ความรู้สึกผูกพันนี้อาจเรียกว่า "สำนึก" ทางชาติพันธุ์ หรือชาติลักษณ์ (ethnic identity)

banner 728x90
สนับสนุนให้เว็บเราคงอยู่ให้บริการด้วยการคลิกไปชมสปอนเซอร์ของเราด้วยครับ

ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในภาคอีสาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ของประเทศไทย ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และน้องใหม่ บึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน

ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรม เหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิต ตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ การอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ การกวาดต้อนไพร่พล หรือจากการหนีภัยสงครามเมื่อครั้งอดีต และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น

paothai isan 02

การแต่งกาย เป็นเครื่องบ่งบอกความเป็นชาติพันธุ์ของหญิง-ชายชาวอีสานสมัยก่อน  แต่ปัจจุบันนี้ พวกเราแต่งตัวแทบจะเหมือนกันหมด คนภาคอื่นจึงรู้จักชาวอีสานเพียงเป็นคนลาว และ พูดภาษาลาว  (ซึ่งไม่จริง คนลาวก็มีรูปแบบการดำเนินชีวิตเป็นเอกลักษณ์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนคนอีสานเลยทีเดียว ภาษาลาวกับภาษาอีสานแม้จะมีส่วนคล้ายแต่ก็ไม่เหมือนกัน ทั้งลีลาท่าทางและสำเนียงก็แตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่ ภาคเหนือ-กลาง-ใต้) ส่วนการกินการดื่ม นั้นก็เข้าใจเอาเองว่า คนอีสานกินแต่ ลาบ ก้อย ต้ม  ส้มตำ  แกงอ่อม แกงเห็ด แกงหน่อไม้ และสุรา จริงๆ แล้วอาหารการกินและเครื่องนุ่มห่มในพื้นถิ่นก็ยังมีหลากหลาย  ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชาติพันธุ์ในแผ่นดินที่ราบสูงนี้ ที่เราควรศึกษาเผยแพร่ไปสู่ลูกหลานในอนาคต

ชาวอีสาน มาจากไหน?

ชาวอีสาน หรือ ฅนอีสาน ไม่ใช่ชื่อชนชาติหรือเชื้อชาติเฉพาะของอีสาน แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม มีที่มาจากภูมิศาสตร์บริเวณที่เรียกอีสาน หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่สุวรรณภูมิ หรืออุษาคเนย์โบราณ) เลยสมมุติเรียกคนกลุ่มนี้อย่างรวมๆ กว้างๆ ว่า ชาวอีสาน หรือ คนอีสาน

ชาวอีสาน หรือ ฅนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสานของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ ทั้งภายในและภายนอกทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว (อาจถึง 10,000 ปีมาแล้วก็ได้) แล้วยังมีต่อเนื่องถึงทุกวันนี้ และอาจมีต่อไปในอนาคตอีกไม่รู้จบ ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ที่ประสมประสานกันเป็น ชาวอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย 2 พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิ กับคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศต่างๆ (มีร่องรอยและหลักฐานสรุปย่อๆ อยู่ในหนังสือ ?พลังลาว? ชาวอีสาน มาจากไหน? โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2549) อีสานฝั่งขวา แม่น้ำโขง

ฅนอีสาน บางทีเรียก ชาวอีสาน มีหลักแหล่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

อีสาน เป็นชื่อเรียกพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่มีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง คำว่า อีสาน มีรากมาจากภาษาสันสกฤต สะกดว่า อีศาน หมายถึง นามพระศิวะ ผู้เป็นเทพประจำทิศตะวันออกฉียงเหนือ (เคยใช้มาเมื่อราวหลัง พ.ศ. 1000 ในชื่อว่ารัฐว่า อีศานปุระ และชื่อพระราชาว่า อีศานวรมัน) แต่คำบาลีเขียน อีสาน ฝ่ายไทยยืมรูปคำจากบาลีมาใช้หมายถึง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่หมายตรงกับคำอีสาน) เริ่มใช้เป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2442 ในชื่อ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ยังหมายเฉพาะลุ่มน้ำมูลถึงอุบลราชธานี จำปาสัก ฯลฯ

รวมความแล้ว ใครก็ตามที่มีถิ่นกำเนิด หรือมีหลักแหล่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (จะโดยเคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่เมื่อไรก็ตาม) ถ้าถือตัวว่าเป็นฅนอีสาน หรือชาวอีสาน อย่างเต็มอกเต็มใจและอย่างองอาจ ก็ถือเป็นคนอีสานเป็นชาวอีสานทั้งนั้น

ฉะนั้น ฅนอีสานหรือชาวอีสานจึงไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติเฉพาะ แต่เป็น ชื่อสมมุติ เรียกคนหลายหลากมากมายในดินแดนอีสาน และเป็นชื่อเรียกอย่างกว้างๆ รวมๆ ตั้งแต่อดีตดึกดำบรรพ์สืบจนปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าว ความเป็นมาของคนอีสานหรือชาวอีสานจึงไม่หยุดนิ่งอยู่โดดเดี่ยว แต่ล้วนเกี่ยวข้อง เคลื่อนไหวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความเป็นมาของผู้คนสุวรรณภูมิ หรืออุษาคเนย์ ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมเริ่มแรกสืบจนทุกวันนี้ ซึ่งมีความเคลื่อนไหวไปๆ มาๆ ทั้งใกล้และไกลในทุกทิศทาง และหลายครั้งหลายหน จนระบุเห็นชัดเจนแน่นอนนักไม่ได้ว่าใคร? ที่ไหน? เมื่อไร?

แต่สิ่งหนึ่งซึ่งคนอีสานและชาวอีสานมีสำนึกร่วมกันอย่างแข็งขันและองอาจ คือคำสมมุติเรียกว่า "พลังลาว" อันมีรากจาก "วัฒนธรรมลาว"

จากหนังสือ : "อุบลราชธานี มาจากไหน" เขียนโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ,
สำนักพิมพ์แม่คำผาง พิมพ์เผยแพร่ ตุลาคม 2555.

แม้ว่าชาวอีสานจะมีพื้นเพมาจากคนหลายกลุ่ม มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ แต่ด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ยึดมั่นในจารีตประเพณีของท้องถิ่นที่เรียกว่า "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" ทำให้เกิดความสมานฉันท์ปรองดอง ประกอบสัมมาอาชีพอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขเรื่อยมา ชาติพันธุ์หลากหลายในภาคอีสานประกอบด้วย

paothai sumกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน

 

 paothai isan 03

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)