foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

paothai sak

แสก หมายความว่า แจ้ง สว่าง เป็นชนชาติหนึ่งในตระกูลมอญ - เขมร ชาวไทแสก เป็นชนกลุ่มน้อยตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในท้องที่จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร ชาวไทแสกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชาติพันธุ์เดิมมีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในตอนกลางของสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาศัยอยู่ในแถบเมืองรอง เมืองเว้ ต่อมาชาวเวียดนาม พยายามเข้าครอบครองและรุกรานชาวไทแสกตลอดมา จนทำให้ชาวไทแสก ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม มีชาวไทแสกบางกลุ่มไม่พอใจอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม ได้อพยพมาทางตอนใต้ มาทางตอนกลางของประเทศ มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้เมืองท่าแขก (อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนม ประเทศไทย) มาอยู่ที่บ้านหม้อเตลิง บ้านทอก ท่าแค บ้านโพธิ์ค้ำ

sak tent sak 3

ชาวไทแสกที่อพยพจากเมืองแสก อพยพมาตั้งอยู่ที่บ้านโคกยาว (ปัจจุบันคือบ้านไผ่ล้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม) สมัยก่อนมีอาณาเขตอยู่ใกล้เคียงกับบ้านนาลาดควาย (ปัจจุบันบ้านนาราชควาย) จำนวนชาวไทแสกที่ย้ายมาในขณะนั้นมีจำนวน 1,170 คน ต่อมาชาวไทแสกได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านโคกยาวมาอยู่ที่บ้าน "ป่าหายโศก" (ปัจจุบันคือบ้านอาจสามารถ) พระสุนทร ราชวงษา (ฝ้าย) ได้พิจารณาเห็นว่า ชาวไทแสก มีความสามารถ มีความสามัคคี มีความเข้มแข็ง สามารถปกครองตนเองได้ จึงยกฐานะชาวไทแสกที่อยู่ที่ "ป่าหายโศก" ให้เป็นกองอาทมาตคอยลาดตระเวนชายแดน

sak tent sak 4

ปัจจุบันชาวไทแสกส่วนมากจะอยู่ที่ หมู่บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดนครพนมไป 4 กิโลเมตร และยังมีชนไทแสกบางกลุ่มที่ได้พากันอพยพโยกย้ายที่อยู่ ไปทำมาหากินในท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดนครพนม และรวมทั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีชนชาวไทแสกตามถิ่นต่าง ดังนี้

  1. บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
  2. บ้านไผ่ล้อม ตำบลอาจสามรถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
  3. บ้านบะหว้า ตำบลบะหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
  4. บ้านดอนเสมอ ตำบลอาจสามารถ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
  5. บ้านโพธิ์ค้ำ แขวงคำม่วน เมืองท่าแขก ประเทศลาว

จากคำบอกเล่าของชาวไทแสก ทราบว่า ปัจจุบันยังมีชาวไทแสกอยู่ แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน และที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยชาวไทแสกทุกหมู่บ้านทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะอยู่ที่ประเทศไทย หรืออยู่ที่ประเทศลาว สามารถพูดภาษาแสกสื่อสารพูดคุยกันได้ โดยใช้ภาษาแสกในการพูดจาสื่อสารกัน

sak tent sak 6

หนุ่มสาวในชุดไทแสก นครพนม

ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวแสก "พิธีกินเตดเดน" เป็นประเพณีพิธีกรรมอย่างหนึ่ง โดยการประกอบพิธีกรรมขึ้นมาเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ "โองมู้" ที่ชาวไทแสกเคารพนับถือ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวไทแสก เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกหลานรุ่นหลังๆ สืบต่อกันมา "โองมู้" จะทำหน้าที่คุ้มครองอันตรายที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน และดลบันดาลให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นตามที่ "ผู้บ๊ะ" (บนบาน) โดยมี "กวนจ้ำ" เป็นสื่อกลางในการประกอบพิธีกรรม แต่ถ้าหากลูกหลานประพฤติมิชอบ ไม่เหมาะสม หรือทำพิธีบนบานแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ถูกดีงามหรือไม่มีพิธีกรรม เก่บ๊ะ (พิธีแก้คำบนบาน) ก็จะทำให้เกิดเหตุเภทภัยในครอบครัว

sak tent sak 5

เพื่อเป็นการตักเตือนให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ตัวอย่างเช่น อาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดอาการร้อนรนกินไม่ได้นอนไม่หลับแต่เมื่อทำ การบ๊ะ หรือ เก่บ๊ะ แล้ว เหตุร้ายก็จะกลายเป็นดี พิธีกรรมกินเตดเดน นี้ชาวไทแสกเชื่อว่า พิธีกรรมนี้มีบทบาทในการสร้างความศรัทธา ความเชื่อมั่น ความรู้สึกดีๆร่วมกัน ความรู้สึกผูกพันที่มีในสายเลือดเผ่าพันธุ์เดียวกัน เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ชาวไทแสกทุกคน เกิดความรักความหวงแหนในวัฒนธรรมประเพณีของตน มุ่งสอนให้ผู้มีอายุมากกว่าให้ความเคารพนับถือ และแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ หรือต่อผู้มีอายุน้อยกว่า ให้เกิดความสามัคคี เคารพนับถือบรรพบุรุษ แสดงความปลื้มปีติแก่ชาวไทแสกที่มาร่วมพิธีกันทุกถ้วนหน้า

พิธีบวงสรวง "โองมู้" โดยการแสดง "แสกเต้นสาก" ในสมัยก่อนการเต้นสากชองชาวแสก ถือว่าเป็นการละเล่นประจำเฉพาะพิธีบวงสรวง "โองมู้" ในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ชาวแสก เรียกว่า "พิธี-กิน-เตด-เดน" จะมีการแสดง "แสกเต้นสากถวายโองมู้" โดยใช้ไม้สากตีกระทบกันเป็นจังหวะ สากที่ใช้ตีในการเต้นสากก็คือไม้สากที่เป็นสากตำข้าวในใสมัยโบราณ แต่ขนาดยาวกว่าตรงกลางเรียวเล็ก ไม้รองพื้นสากจะใช้ไม้อะไรรองก่อนก็ได้มีจำนวน 1 คู่ ขอให้มีขนาดเท่ากัน

sag ten sak

อุปกรณ์ในการเต้นสาก

  1. ไม้สาก มีลักษณะตรงยาวประมาณ 2 เมตร ใช้เคาะจังหวะประมาณ 5-6 คู่ การวางไม้ สากจะจัดเป็นช่วง ๆ ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร ต่อ 1 คู่
  2. ไม้รองพื้นสาก มีขนาดใหญ่และยาวกว่าไม้สากมี 1 คู่ ขนาดกว้างยาวเท่ากันยาวประมาณ 5-7 เมตร สำหรับเป็นฐานรองไม้สาก

จังหวะการตีสาก

สมัยโบราณในการเคาะจังหวะจะใช้ไม้สากตำข้าวไม่มีการเตรียม จับไม้สากมาเคาะเป็นจังหวะได้เลย ปัจจุบันจังหวะการตีสากจะมีหลายจังหวะด้วยกัน หากคนตีสากไม่เป็นและเต้นสากไม่เป็น หรือ เต้นไม่ถูกจังหวะ ไม่สากก็จะตีกระทบขาคนที่เต้น ให้เกิดการเจ็บปวดได้ จะไม่เหมือนกับรำลาวกระทบไม้ เพราะต้องฝึกและต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งยากนักจะมีคนตีและเต้นได้เหมือนชาวแสก เพราะจังหวะเร็วก็เร็วมาก ถ้าไม่ฝึกจนชำนาญจะไม่สามารถเต้นได้ มิใช่ว่าจะนำไปแสดงได้ตลอดไป ก่อนที่จะนำไปแสดงที่อื่นจะต้องทำพิธีขออนุญาต "โองมู้" อนุญาตแล้วจึงนำไปแสดง การนำเต้นสากไปแสดงโดยไม่ได้ขออนุญาตก็จะมีเหตุให้มีอันเป็นไป เช่น ทำให้เจ็บไข้ไม่สบายโดยหาสาเหตุไม่ได้

sak tent sak

ดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ
ส่วนมากเป็นดนตรีพื้นบ้าน มีกลองใหญ่ กลองเล็ก ฆ้องเล็ก พังฮาด (มีลักษณะคล้ายฆ้องตรงกลางจะนูนเป็นวงกลม) ฉิ่ง ฉาบผู้ให้จังหวะส่วนมากจะเป็นผู้ชาย

ผู้แสดง "แสกเต้นสาก"

  1. ผู้ทำหน้าที่เคาะไม้สาก จะนั่งตรงข้าม จับคู่กันประมาณ 5 ถึง 7 คู่ แล้วแต่ความยาวของไม้รองไม้สากจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้
  2. ผู้เต้น จะทำท่าเต้นคล้ายๆ รำลาวกระทบไม้แต่จังหวะการเต้นจะเร็วกว่ามาก จะมีทั้งเต้นเดี่ยว เต้นเป็นคู่ มีจังหวะช้า จังหวะเร็ว ผู้เต้นจะมีทั้งชายและหญิง
  3. ผู้ร้อง เนื้อเพลงภาษาแสกแล้วประกอบดนตรี จะเป็นผู้หญิงหรือชายก็ได้

เครื่องแต่งกายในการแสดงสาก
ผู้ชาย เสื้อดำแขนสั้น ผ้ายอมหม้อสีคราม เสื้อคอกลมติดกระดุมด้านหน้ากางเกงขาก๊วย หรือขาครึ่งท่อ ผ้าคาดเอว เป็นผ้าขาวม้า เป็นลายตะล่องสีแดงส่วนผ้าพาดบ่า ใช้ผ้าสีแดงล้วน

ผู้หญิง เสื้อแขนยาวสีดำ ผ่าอก ติดกระดุมด้านหน้า ผ้าถุงสีดำมีเชิงที่ปลายผ้าถุง ผ้าถุงยาวกรอมเท้า ผ้าคาดเอวนิยมเป็นผ้าลายเดี่ยวกันกับลายเชิงผ้าถุงผ้าเบี่ยงซ้าย นิยมใช้ผ้าสีแดง นิยมใส่ตุ้มหู กำไลขา และสร้อยขา และสร้อยคอผมนิยมไว้ผมยาวเกล้ารัดมวย

sak tent sak 2
การแสดง
แสกเต้นสาก

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านที่นี่

การฟ้อนแสกเต้นสาก

 

redline

 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)