foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

คาดหมายอากาศทั่วไป 22 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ในช่วงวันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง

forecast7days 22 28 11 2567

ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่ง

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 27 - 28 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง 2 - 5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร

winter come 3

เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันนี้ (11 พฤศจิกายน 2567) พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงแล้ว โดยเมื่อเวลา 04.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 230 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 18.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 111 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เกือบไม่เคลื่อนที่ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2567 และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

ในช่วงวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง ถึงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีน ยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองทางตอนล่างของภาค ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

2-6 พฤศจิกายนอากาศแปรปรวน

trami cyclone2

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน !!! อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ ฝนตกหนักถึงหนักมาก (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 2–5 พฤศจิกายน 2567)

ทำความเข้าใจการเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว (Pre-winter) ก่อนที่จะประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ :

ช่วงวันที่ 29 ตุลาคม 2567 เป็นวันแรกที่จะเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว โดยมีเงื่อนไขที่ใช้ในการพิจารณาคือ พื้นที่และการกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบน เริ่มมีฝนลดลงแล้วชัดเจน แล้วและมวลอากาศเย็นเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนแล้ว แต่กำลังยังไม่แรง ทำให้มีทิศทางลมในระดับล่างที่ไหลเวียนออกจากศูนย์กลางของความกดอากาศสูงเป็นลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนอีกเงื่อนไข คือการลดลงของอุณหภูมิต่ำสุด มีบางพื้นที่อุณหภูมิในพื้นราบเริ่มลดลงแล้วแต่ยังลดลงเฉพาะภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน สำหรับยอดภู ยอดดอย อากาศเริ่มหนาว ซึ่งเป็นสัญญาณการเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว ในระยะนี้ภาคกลาง ตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล ยังมีฝนรบกวนอยู่บ้างเนื่องจากความชื้นสูง และอีกปัจจัยที่ยังทำให้อุณหภูมิไม่ลดลงมากนัก

winter come

เนื่องจากในทะเลจีนใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำ (สลายตัวจากพายุ"จ่ามี") และพายุไต้ฝุ่น "กองเร็ย(KONG-REY)" ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกก่อกวน เลยทำให้ทิศทางลมยังมีความแปรปรวน

แต่ในช่วงต้นเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป จะมีมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสาน จะทำให้มีฝนในระยะแรกๆ (1 พฤศจิกายน 2567) ทางภาคอีสาน ภาคกลาง กทม. ปริมณฑล และภาคตะวันออก หลังจากนั้นอากาศภาคอีสานจะเริ่มเย็นลง 2-4 เซลเซียส เช้าวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ก่อนภาคอื่นๆ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง อากาศจะเย็นลง 1-3 เซลเซียส

สำหรับ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจะเย็นลง 1-2 เซลเซียส ยอดดอย ยอดภู จะมีอากาศหนาวจัด ความหนาวเย็นจะแผ่ปกคลุมอยู่ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เตรียมตัววางแผนไปสัมผัสอากาศเย็นถึงหนาวได้ และช่วงนี้กรมอุตุนิยมวิทยาจะมีประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ

สำหรับภาคใต้ เมื่อลมหนาวมาเยือน ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ตั้งแต่ประจวบ ชุมพร ลงไป) ต้องเตรียมรับมือฝนตกหนัก คลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ลมหนาวกำลังมาหาแล้ว

ช่วงนี้ฝนน้อยลงกว่าเดิม ข่าวคราวน้ำท่วมเริ่มซา มีแต่ข่าวแล้ง น้ำน้อยในหลายๆ พื้นที่ เขื่อน ฝาย หลายแห่งในภาคอีสานยังมีปริมาณน้ำไม่เต็มความจุ บางแห่งเรียกว่าแล้งผิดปกติไปเลยเช่น เขื่อนลำตะคอง ทุกวันนี้มองเห็นเส้นทางถนนสายนมิตรภาพเดิมที่จมในอ่างโผล่มาให้เห็นเป็นระยะที่ยาวมากๆ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในบริเวณอ่างเก็บน้ำของเขื่อนไม่มีอุปสรรคดังปีก่อนๆ อุณหภูมิในหลายๆ จังหวัดเริ่มลดลง แสดงให้เห็นว่า ลมหนาวกำลังจะมาเยือนในไม่ช้า

winter2024

ปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้ ภาคอีสานของเรามีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมายที่น่าไปเยี่ยมชม เช่น อุทยานแห่งชาติต่างๆ ที่ยังมีน้ำตก ป่าไม้ ลำธาร สายหมอกให้ท่านได้ไปปลดปล่อยให้ชีวิตได้เพิ่มพลังกายพลังใจ เพื่อกลับมาทำงานกันในช่วงปลายปีนี้ เช่น

1. ผาชะนะได จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อพูดถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว หลายท่านคงทราบกันดีกว่า จังหวัดนี้จะพบแสงอาทิตย์เป็นที่แรก ซึ่งลักษณะโดดเด่นของที่นี่ ที่ทำให้เป็นที่จดจำและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามานั่นก็คือผาที่ยื่นออกมา สามารถมานั่งถ่ายรูปเช็คอินได้ พร้อมทั้งวิวทิวทัศน์ก็สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นป่าสนสองใบที่ขึ้นอย่างหนาแน่น อีกทั้งยังมีภูเขาขึ้นสลับที่ดูสวยแปลกตาอีกด้วย ซึ่งถ้ามาถึงที่นี่แล้ว ก็ห้ามพลาดที่จะมาชม ทะเลหมอก โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมาจับจองพื้นที่สำหรับชมทะเลหมอกในช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพราะมีความเชื่อที่ว่าท่านใดที่มีโอกาสเห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่นี่ เปรียบเสมือนการเพิ่มพลังชีวิตและลบล้างพลังงานลบๆ ออกไป ใครที่จะมาแนะนำมาช่วงตุลาคม-กุมภาพันธ์ จะได้ชมทั้งทะเลหมอกและได้ชมดอกไม้ที่เบ่งบานในช่วงนี้ด้วย สำหรับท่านใดที่จะเดินทางมาที่นี่ จะแบ่งการขึ้นผาชะนะได เป็น 2 รอบ คือรอบเช้าและรอบบ่าย โดยในแต่ละรอบจะมีการจำกัดจำนวนคน แนะนำว่าให้ไปรอตั้งแต่ตอนเช้า เพราะไม่มีการจองคิวล่วงหน้า ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการวางแผนดีๆ

pa chana dai

2. อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย

เป็นอุทยานที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และนักท่องเที่ยวปักไว้เป็นจุดมุ่งหมายในการมาเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศเลย ด้วยความที่มีสภาพอากาศเย็นสบายตลอดปี ซึ่งถ้าใครจะมาที่นี่ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนเดินทางเป็นอย่างมาก เพราะจำเป็นต้องมีการเดินทางเท้าที่มีความชันถึง 9 กิโลเมตร แต่ก็มีจุดให้แวะพักเหนื่อยตลอดเส้นทางอีกด้วย เมื่อเดินทางถึงจุดชมวิวแล้ว ทุกท่านสามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศที่เย็นสบาย พร้อมกับช่วงเวลาเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจะเหมาะแก่การชมทะเลหมอกมากที่สุด โดยจุดชมวิวทะเลหมอกยอดฮิตก็จะเป็นผานกแอ่น ช่วงเวลาก็เริ่มตั้งแต่ 5.00 น. เป็นต้นไป โดยการเดินทางมาที่นี่จากตัวเมืองจังหวัดเลย ขับรถไปตามทางหลวงเลย-ขอนแก่น จากนั้นให้แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2019 จะพบทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

poo kradueng

3. เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

สถานที่ชมหมอกใกล้กรุงเทพฯ เดินทางเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ได้สัมผัสกับบรรยากาศคนละขั้วกับตัวเมือง ได้ความสงบ ผ่อนคลาย และชมวิวทิวทัศน์ไปพร้อมๆ กัน อากาศที่นี่ก็จะมีลมเย็นพัดผ่านตลอดเวลา ยิ่งช่วงนี้นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับอากาศสุดแสนจะเย็นสบาย พร้อมกับทะเลหมอกที่กระจายตัวสุดลูกหูลูกกตา อีกทั้งยังสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกับทะเลหมอกได้อีกด้วย เป็นวิวที่อยากแนะนำ เพราะจะทำให้ได้เห็นทะเลหมอกสีทองสวย และได้รับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า มีประโยชน์กับร่างกายอีกด้วย ในการเดินทางจากถนนพหลโยธิน ผ่านรังสิตประตูน้ำพระอินทร์ และจังหวัดสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ก่อนถึงอำเภอปากช่อง บริเวณกิโลเมตรที่ 23 จะพบศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศาลเจ้าพ่อ และเดินทางต่อไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รวมระยะทางประมาณ 205 กิโลเมตร

khaoyai

อันนี้แค่ตัวอย่างนะครับ หลายๆ จังหวัดก็มีที่ท่องเที่ยวมากมาย ใกล้ที่ไหนไปกันที่นั่น อย่างน้อยก็เพื่อสนับสนุนให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวของชุมชนต่างๆ เกิดงานจากการบริการ อาหาร เครื่องดื่ม และการขนส่งต่างๆ เป็นเจ้าภาพที่ดีให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศประทับใจกลับมาเยือนอีกในคราวต่อไป

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)