foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

wat pa inter

A rare documentary of the international forest temple : Wat Pah Nanachat, Upon Ratchathani, Thailand.

วัดป่านานาชาติ เป็นวัดราษฎร์ วัดป่า สายวัดหนองป่าพง ที่ตั้งอยู่ในบ้านบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมีหลวงปู่ชา สุภทฺโท (พระโพธิญาณเถร) จากวัดหนองป่าพงเป็นผู้ก่อตั้ง ถ้าเดินทางออกจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีโดยเริ่มที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี หรือสถานีขนส่งผู้โดยสารอุบลราชธานี หรือสถานีรถไฟอุบลราชธานี มุ่งหน้าไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 226 (วารินชำราบ - ศรีสะเกษ) ประมาณ 8 กิโลเมตร ถึงบ้านบุ่งหวาย ในเขตอำเภอวารินชำราบ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรก็ถึงวัดป่านานาชาติแล้วครับ

pa inter map

แผนที่แสดงเส้นทางสู่วัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย
ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

เว็บไซต์ทางการ วัดป่านานาชาติ : www.watpahnanachat.org

watpa inter 04

มูลเหตุและแรงดลใจในการสร้างวัดคือ พระสุเมโธ (ปัจจุบันคือ พระราชสุเมธาจารย์) ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ. 2510 ได้มาอยู่กับหลวงปู่ชาเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ได้มีพระภิกษุชาวต่างชาติทยอยกันเดินทางเข้ามาขอบวช และอยู่กับหลวงปู่ชามากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 วัดหนองป่าพงมีพระสงฆ์ทั้งพระไทยและพระต่างชาติ จำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมาก ไม้ฟืนที่ใช้บ่มบาตรก็หายาก หลวงปู่ชาจึงได้อนุญาตให้พระชาวต่างชาติบางรูป ออกมาหาฟืนที่ป่าช้าบ้านบุ่งหวาย ซึ่งมีต้นไม้มาก ฟืนก็หาง่าย

watpa inter 03

ชาวบ้านบุ่งหวายมีจิตศรัทธาในพระสงฆ์วัดหนองป่าพง จึงได้นิมนต์คณะพระภิกษุสามเณรชุดแรกซึ่งมี 6 รูป ทำการบ่มบาตรที่ป่าช้าบ้านบุ่งหวาย และปักกลดพักวิเวกปฏิบัติธรรมต่อ เมื่ออยู่ได้ 3 วัน ญาติโยมได้ช่วยกันสร้างศาลามุงหญ้าคาพอหลบฝน หลังจากนั้นไม่นานชาวบ้านบุ่งหวายได้ไปกราบหลวงปู่ชา ขอนิมนต์ให้พระเณรอยู่จำพรรษาต่อ หลวงปู่ชาเมตตาให้สร้างสำนักสงฆ์ และมอบหมายให้ พระอาจารย์สุเมโธ เป็นหัวหน้าสำนัก ญาติโยมจึงได้แบ่งกันเป็นเจ้าภาพในการสร้างกุฏิและเพิงมุงหญ้าคาถวาย

Sumedho 01

ในพรรษาแรกนั้นมีพระทั้งหมด 10 รูป และผ้าขาว 1 คน หลวงพ่อชาตั้งชื่อวัดว่า "วัดป่าอเมริกาวาส" เนื่องด้วยในช่วงนั้นมีแต่พระฝรั่งชาวอเมริกันมาบวช ต่อมามีชาวตะวันตกหลายเชื้อชาติสนใจเข้ามาศึกษาพระธรรม คำสอน การฝึกสมาธิจำนวนมาก ท่านจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดป่านานาชาติ" เพื่อให้สอดค้องกับความสนใจของชาวต่างชาติ มากมายหลายประเทศทั่วโลก ต่อมาปี พ.ศ. 2519 คณะศรัทธาญาติโยมได้นำกฐินมาทอดและได้สร้างศาลาใหม่ ในปี พ.ศ. 2528 เริ่มสร้างวิหาร (พระอุโบสถ) ในตำแหน่งที่พบเสมาเก่า เพื่อให้พระสงฆ์ใช้สวดทำสังฆกรรมต่างๆ ซึ่งสร้างเสร็จในอีกสองปีต่อมา

watpa inter 01

พ.ศ. 2530 ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ในชื่อ "วัดป่านานาชาติ" สาขาที่ 19 ของวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Grassroot Sala

เนื่องจากพระชาวต่างชาติมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ญาติโยมจึงได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินเพิ่ม ปัจจุบัน (พ.ศ.2558) มีเนื้อที่วัดทั้งหมด 343 ไร่ มีกุฏิ 52 หลัง พ.ศ. 2536 ได้ทำกำแพงล้อมรอบวัดทุกด้าน และได้มีการปลูกป่าทดแทนขึ้นจากเดิมที่เป็นเพียงไร่ปอที่ถูกทิ้งร้างไว้ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ขึ้นมาแล้ว

pa inter map 2

แผนที่แสดงขอบเขตของวัดป่านานาชาติในปัจจุบันนี้

Sumedho 02

เดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นวัดโดยสมบูรณ์

โบราณว่า น้ำบ่อหน้า อย่าได้หมาย แต่อย่าหน่าย จนหยุด ไม่ขุดต่อ
คนโง่ว่า น้ำหมด อดใจรอ ไม่ขุดบ่อ แล้วจะได้ อะไรกิน

เดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ทดแทนหลังเดิมโดยหลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม (พระราชภาวนาวิกรม) เป็นผู้ออกแบบและดูแลควบคุมการดำเนินงานตลอดการก่อสร้าง โดยในครั้งนี้มีชาวบ้านบุ่งหวาย ร่วมกับพระภิกษุสามเณร ทั้งจากวัดหนองป่าพง และวัดป่านานาชาติ ได้ร่วมแรงสามัคคีช่วยกันก่อสร้าง จนเสร็จในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ศาลาหลังใหม่นี้มีชื่อว่า "ฐิตะธรรมศาลา" 

Sala Inauguration

วัดป่านานาชาติมีสาขา 2 แห่ง คือ

  • สำนักสงฆ์ภูจ้อมก้อม ตั้งอยูที่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
  • สำนักสงฆ์เต่าดำ ตั้งอยู่ที่ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่ มีเพียงแต่ ต้นทุน บุญกุศล
ทรัพย์สมบัติ ทิ้งไว้ ให้ปวงชน แม้ร่างตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ

วัตถุประสงค์แรกเริ่มของ หลวงปู่ชา ที่ตั้งวัดป่านานาชาติขึ้น คือ การเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยเป็นภาษาอังกฤษ จนสามารถที่จะออกบวชเป็นพระภิกษุและปฏิบัติ ตามข้อวัตรสายวัดป่าได้

Sala Inauguration 2

สำหรับผู้ที่จะเข้ามาบวชที่วัดป่านานาชาติ ไม่ว่าจะอายุเท่าใด "ต้องมาเป็นผ้าขาว 4-6 เดือน เป็นสามเณร 1 ปี" เพื่ออบรมบ่มนิสัยให้เหมาะแก่สมณะเพศ ก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุได้ เมื่อได้ประสบการณ์ในการปฏิบัติแล้วและได้ศึกษาระบบพระธรรมวินัยพอสมควร คือ ระยะเวลาห้าพรรษา ก็สามารถช่วยเผยแผ่ศาสนาในวัดสาขาที่ต่างประเทศได้

เนื่องจากว่าการสื่อสารใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ผู้ที่ตั้งใจจะบวชที่วัดป่านานาชาติต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร ในปัจจุบัน พระภิกษุสามเณรสังกัดวัดป่านานาชาติที่อยู่ในเมืองไทย ทั้งหมดมีประมาณ 40 รูป รวมประมาณ 20 สัญชาติ

watpa inter 05

หลวงปู่ชายังมุ่งหมายให้วัดป่านานาชาติ เป็นที่ฝึกพระภิกษุให้มีคุณสมบัติเป็นผู้นำสงฆ์และปกครองวัดด้วย จึงมีพระภิกษุที่ไปจากวัดป่านานาชาติหลายรูป ที่ได้ไปตั้งสำนักสงฆ์สาขาในต่างประเทศขึ้น ซึ่งกระจายอยู่ในประเทศอังกฤษ เยอรมัน อิตาลี โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา แคนาดา และมาเลเซีย เพื่อจะสร้างคณะสงฆ์ในประเทศนั้นขึ้น และให้กำลังใจแก่ญาติโยมในการปฏิบัติ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวนพระภิกษุที่ผ่านการอบรมจากวัดป่านานาชาติ และยังครองเพศบรรพชิตอยู่ปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่ารูปทั่วโลก

วัวควายตาย เหลือไว้ เพียงเขาหนัง ช้างตายยัง เหลืองา เป็นศักดิ์ศรี
คนเราตาย เหลือไว้ แต่ชั่วดี บรรดามี ประดับไว้ ในโลกา

วัดป่านานาชาติเป็นวัดสายวิปัสสนากรรมฐาน และยึดปฏิปทาพร้อมทั้งข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชาเป็นหลัก เพราะฉะนั้นวัดป่านานาชาติเน้นการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

watpananachart2

หน้าที่พิเศษของวัดป่านานาชาติคือ การแนะนำชีวิตบรรพชิตให้ชาวต่างชาติ นอกจากนั้น วัดป่านานาชาติยังให้การศึกษาด้านศาสนาพุทธแก่ญาติโยมชาวต่างชาติทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว นักการศาสนาต่างๆ ผู้มาแวะเยี่ยมเยือน ผู้ที่มีความสนใจด้านการวิปัสสนากรรมฐาน ปฏิบัติธรรม ภาวนา นั่งสมาธิ โดยอาจจะเข้าพักในวัด 3 วัน หนึ่งสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ตามความสนใจของแต่ละบุคคล และตามข้อกำหนดในกฎระเบียบการเข้าพักของวัด ซึ่งระหว่างที่พักอยู่ในวัดต้องนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลแปด ประพฤติพรหมจรรย์ ทานอาหารมื้อเดียว และในแต่ละวันก็จะมีตารางกิจกรรมต่างๆ ให้ทำควบคู่ไปกับการศึกษาพระธรรมวินัย รับการอบรมกรรมฐาน ฟังพระธรรมเทศนาและการสนทนาธรรม แลกเปลี่ยนความคิดความเห็น

ทำบุญคน ไม่ขึ้น อย่ามึนหัว นึกถึงตัว เรามั่ง อย่างถ้วนถี่
ผู้ทำคุณ แก่เรา เท่าที่มี ได้ทดแทน ความดี แล้วหรือยัง

การใช้ภาษาอังกฤษในการอบรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดป่านานาชาติ การทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นจึงแปลเป็นภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาบาลี

watpa inter 02

วัดป่านานาชาติ ยึดเอาพระวินัยเป็นแม่แบบในการปฏิบัติข้อวัตรต่างๆ เป็นหลัก จึงให้ความสำคัญในการแนะนำข้อวินัยบัญญัติต่อผู้ที่ต้องการลองเข้ามาศึกษารูปแบบชีวิตในผ้าเหลืองตั้งแต่แรก และเน้นการอบรมศึกษาด้านพระวินัยสำหรับเหล่าพระสงฆ์ที่บวชแล้ว ทางวัดได้จัดหลักสูตรการเรียนพระวินัยเป็นภาษาอังกฤษขึ้น ที่มีการร่วมกันศึกษาอภิปรายและแลกเปลี่ยนความเข้าใจอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาสามเดือนในพรรษาทุกๆ ปี

ทางวัดยังทำหน้าที่ในการแปลและแจกหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ออกไปสู่ระดับสากล รวมถึงบทเรียนธรรมศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการสอนพระปริยัติธรรมเบื้องต้นแก่พระภิกษุสามเณรชาวต่างชาติ ตามปกติวัดป่านานาชาติยังเป็นสถานที่สำหรับให้นักเรียน นักศึกษา ชาวบ้าน บุคคลทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มีความสนใจในพระพุทธศาสนา ได้สดับฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล และสนทนาธรรมโดยตลอดเรื่อยมา พร้อมทั้งมีการจัดห้องสมุดทางพระพุทธศาสนา

watpananachart3

ทางด้านการสาธารณสงเคราะห์ วัดป่านานาชาติได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการศึกษา ทางวัดจึงได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมด้วยการบรรยายธรรม รวมทั้งมอบทุนการศึกษาให้กับ นักเรียน โรงเรียน สถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม อีกทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณกับหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล มูลนิธิ กองทุนต่างๆ วัดอื่นๆ นอกเหนือจากสายวัดป่า โดยต่อเนื่องเรื่อยมา การปฏิบัติดังนี้เป็นการถ่ายทอดสืบต่อซึ่งข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทาของหลวงปู่ชาเอาไว้

มาถึงวัด เห็นดิน และต้นไม้ ยังมิใช่ เห็นวัด ดั่งความหมาย
รู้จักวัด ต้องฝึกหัด ทั้งกายใจ จึงจะได้ บ่งชัด เห็นวัดจริง

ในฐานที่วัดป่านานาชาติเป็นวัดสายวัดป่า ทางวัดให้ความสำคัญมากในการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งในวัดป่านานาชาติเองและในสำนักสาขาทั้งสอง ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติทั้งสองแห่ง

watpananachart

ลำดับเจ้าอาวาสจากอดีต – ปัจจุบัน

  • พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2518-2519
  • พระอาจารย์ปภากโร ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2520-2521
  • พระอาจารย์ชาคโร ชาวออสเตรเลีย พ.ศ. 2522-2524
  • พระอาจารย์ปสันโน ชาวแคนาดา พ.ศ. 2525-2539
  • พระอาจารย์ชยสาโร ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2540-2544
  • พระอาจารย์ญาณธัมโม ชาวออสเตรเลีย พ.ศ. 2545-2550
  • พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) ชาวเยอรมัน พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน

watpa inter 06 
พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) เจ้าอาวาสรูปแรกัดป่านานาชาติ

หัวใจถึงธรรม หนองป่าพง 2 โดย พระอาจารย์ สิริปัญโญ
(ปัจจุบันท่านจำพรรษาที่ สำนักสงฆ์เต่าดำ กาญจนบุรี สาขาที่ 2 ของวัดป่านานาชาติ)

งานปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชา ประจำปี 2560 - พระธรรมเทศนา โดย พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 ช่วงค่ำ

งานปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชา ประจำปี 2560

พระชาวต่างชาติรูปแรก สอบผ่านพระอุปัชฌาย์ในระบบสงฆ์ไทย

kewali 01

พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี (พระชาวเยอรมัน) สอบผ่านพระอุปัชฌาย์ในระบบสงฆ์ไทย ตามกฎมหาเถรสมาคม เป็นรูปแรก อดีตมีดีกรีนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาบวชจนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ สายวัดหนองป่าพงของหลวงปู่ชา อุบลราชธานี เผยชอบนั่งสมาธิตั้งแต่เด็ก ศรัทธาวิธีสอนหลวงปู่ชา มาบวชในไทยตั้งแต่อายุ 28 ชี้ภูมิใจสอบผ่านพระอุปัชฌาย์ที่ยาก

พระครูอุบลภาวนาวิเทศ กล่าวว่า ตนมีความสนใจวิปัสสนากรรมฐานมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยฟรี กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยได้ไปฝึกนั่งสมาธิที่วัดไทยในเยอรมนี จากนั้นจึงได้อ่านหนังสือสอนวิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่ชา ที่เขียน(แปล)เป็นภาษาอังกฤษ และเคยได้มาประเทศไทย ชอบวิถีวัฒนธรรมของคนไทย ชอบพระพุทธศาสนา เมื่อเรียนจบจึงตัดสินใจมาที่วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดป่าสายหลวงปูชา จึงได้ตัดสินใจบวชที่วัดดังกล่าวในปี 2541 ตอนอายุประมาณ 28 ปี กระทั่งได้รับความไว้วางใจจากพระราชภาวนาวิกรม หรือหลวงพ่อเลียม วัดหนองป่าพง และได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น สนับสนุนให้พระต่างชาติได้มาบวช และทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา

kewali 02

“การมาสอบพระอุปัชฌาย์ครั้งนี้ทางพระเถระ โดยพระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะภาค 10 ท่านเห็นว่า ควรจะมีพระอุปัชฌาย์ในวัดป่านานาชาติ ทำหน้าที่บวชพระภิกษุทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากพระเถระในวัดก็มีอายุมากขึ้น จึงได้ส่งเสริมให้อาตมาเข้าสู่กระบวนการสอบพระอุปัชฌาย์ตามระบบคณะสงฆ์ไทย ถือเป็นพระภิกษุชาวต่างประเทศรูปแรก ที่ได้เข้ามาสอบในระบบคณะสงฆ์ไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาสมเด็จเกี่ยวท่านได้เมตตาแต่งตั้ง รุ่นอาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นกรณีพิเศษ เช่น หลวงพ่อสุเมโธ หรือพระราชสุเมธาจารย์ ท่านอมโร หรือพระวิเทศพุทธิคุณ ท่านปสันโน หรือพระโพธิญาณวิเทศ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อาตมารู้สึกภูมิใจที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สำคัญเช่นนี้ ขอบคุณคณะสงฆ์ไทยที่ให้โอกาสพระชาวต่างประเทศ ได้ทำหน้าที่เหมือนกับพระสงฆ์ไทย ทำให้รู้สึกอบอุ่นใจเป็นเกียรติ เพราะที่ผ่านมาทางพระพรหมสิทธิ ท่านให้คำปรึกษาและส่งเสริมพระป่าสายวิปัสสนากรรมฐานมาโดยตลอด อีกทั้งการสอบพระอุปัชฌาย์ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับพระสงฆ์ไทย โดยเฉพาะพระชาวต่างชาติอย่างอาตมาถือว่า ยากขึ้นไปอีก เพราะจะต้องท่องบาลีให้ถูกต้อง เขียนให้ถูกต้อง ผ่านทดสอบความรู้ตามพระธรรมวินัยอีกด้วย” พระครูอุบลภาวนาวิเทศ กล่าว

kewali 03

 ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 28 มกราคม 2561

new1234อ่านเพิ่มเติม : ฝรั่งกับการนับถือพระพุทธศาสนา | พระอุโบสถหลังใหม่วัดป่านานาชาติnew1234

วัดหนองป่าพง | วัดป่านานาชาติ | ธรรมะจากหลวงพ่อชา | เส้นทางสู่ธรรมของหลวงพ่อ | งานอาจาริยบูชา 16 มกราคม

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)