foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

wat pa inter 2

ศาสนาพุทธ มีดีอะไร? จึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งทั้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์ มาบวชในพุทธศาสนามากมายเช่นนี้ "

หลังจากที่ พระเทพญาณวิเทศ (หลวงพ่อสุเมโธ) พระฝรั่งรูปแรกที่มาเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท แห่ง วัดหนองป่าพง ก็ได้มีชาวต่างชาติอีกมากมายที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รวมทั้งปฎิปทาจริยาวัตรอันสม่ำเสมอของหลวงพ่อชา ได้หลั่งไหลเข้ามาบวช มาศึกษา ปฎิบัติจำนวนมากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 วัดหนองป่าพงมีพระสงฆ์ทั้งพระไทยและพระต่างชาติ จำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมาก กระทั่งหลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านเห็นว่า ควรจะได้สร้างสำนักสงฆ์สำหรับให้ศึกษา บวชเรียนสำหรับอาคันตุกะชาวต่างชาติ โดยมอบหมายให้ พระอาจารย์สุเมโธ เป็นหัวหน้าสำนัก ดูแล ฝึกอบรมชาวต่างชาติด้วยกัน กลายเป็นวัดป่านานาชาติในปัจจุบัน ณ บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

old ubosod wat pa inter

ในปี พ.ศ. 2528 เริ่มสร้างวิหาร (พระอุโบสถ) ในตำแหน่งที่พบเสมาเก่า เพื่อให้พระสงฆ์ใช้สวดทำสังฆกรรมต่างๆ ซึ่งสร้างเสร็จในอีกสองปีถัดมา เป็นพระอุโบสถขนาดเล็กเพียงพอต่อการทำสังฆกรรมในสมัยนั้น จากความเลื่อมใสศรัทธาทั้งจากญาติโยมชาวไทยเอง และผู้คนจากหลายๆ เชื้อชาติ ศาสนา ที่มีความเลื่อมใสเข้ามาศึกษาวัตรปฏิบัติต่างๆ ในฐานะอาคันตุกะ จนหลายๆ คนได้ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมของตนเอง มุ่งมั่นมาขอบวชเป็นพระภิกษุในแต่ละปีมีจำนวนมากเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี สถานที่ในการประกอบศาสนกิจ สังฆกรรมใหญ่ๆ เริ่มไม่สามารถกระทำได้ในพระอุโบสถหลังนี้ เช่น การทำพิธีบวชพระ เณร ในช่วงก่อนเข้าพรรษา ต้องไปอาศัยใช้พระอุโบสถของวัดหนองป่าพง ซึ่งไม่สะดวกมากนัก

kewali 04

พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ รูปปัจจุบัน ซึ่งท่านเป็นพระชาวเยอรมัน ที่ได้สอบผ่านเป็น "พระอุปัชฌาย์" ในระบบสงฆ์ไทย ตามกฎมหาเถรสมาคม เป็นรูปแรก สามารถบวชให้กับชาวต่างชาติที่มีความสนใจจะบวชเป็น "พระ-เณร" ในพระพุทธศาสนา ได้ปรารภกับญาติโยมในการที่จะทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ให้กว้างขวางเพียงพอต่อการทำสังฆกรรมดังกล่าว

sim isan 01

ภาพในอดีตของ "สิมวัดหลวง" ที่เป็นต้นแบบสำหรับพระอุโบสถวัดป่านานาชาตื

new ubosod wat pa inter 01

พระอุโบสถหลังใหม่นี้ออกแบบโดย คุณณรงค์ฤทธิ์ ทองแสง โดยใช้รูปแบบของ สิมแบบล้านช้าง อันมีต้นแบบแนวคิดจาก ภาพถ่ายเก่าของสิมวัดหลวง เมืองอุบลราชธานี ซึ่งหมายถึง การให้ความเคารพต่อรากเหง้าศิลปะวัฒนธรรมประจำถิ่น ผสมผสานกับรูปแบบสิมอีสานพื้นถิ่น และแบบภาคกลางเจือกลิ่นอายเล็กๆ แต่ปรับให้เรียบง่าย พอประมาณ ใช้สอยได้ดีตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับความที่เป็น "วัดป่านานาชาติ" วัดสาขาของวัดหนองป่าพง จึงคงเรียบง่ายเต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอย เป็นพระอุโบสถที่ไม่มีผนังกั้นเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก โดยมี "พระพุทธสุเมธคุณ" พระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินทรายเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถหลังนี้

buddha sumekun

new ubosod wat pa inter 02

new ubosod wat pa inter 03

การดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถได้เสร็จสิ้นเรียบร้อย และได้กระทำพิธียกยอดสัตตบริภัณฑ์ อันเป็นส่วนยอดของหลังคาเป็นส่วนที่สูงที่สุดของสิม มักแกะสลักด้วยไม้เป็นลักษณะคล้ายปราสาท (ผาสาด) หรือฉัตร ตั้งลดหลั่นซ้อนกันขึ้นไป บนสันหลังคาตรงส่วนกลางของหลังคาสิม นับเป็นส่วนสำคัญที่ชี้บอกถึงความเป็นอีสาน ปัจจุบันยังพอมีสิมที่ก่อสร้างใหม่บางหลังที่ยังคงเอกลักษณ์ของ “ช่อฟ้า” ส่วนนี้ไว้ แม้จะทำเป็นคอนกรีตไปแล้วก็ตาม ดังเช่นพระอุโบสถหลังนี้

new ubosod wat pa inter 04

สัตตบริภัณฑ์คีรี เป็นชื่อภูเขาในตำนานพุทธศาสนา เชื่อว่าตั้งอยู่กลางป่าหิมพานต์ มีเทือกเขา 7 เทือก ประกอบด้วย เขายุคนธร เขาอิสินธร เขากรวิก เขาสุทัส เขาเนมินธร เขาวินตกะ เขาอัสกรรณ แต่ละเขาจะเรียงเป็นชั้นๆ ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และจะมีแม่น้ำสีทันดร อีกเจ็ดสายคั่นเขาแต่ละเทือกไว้ ยอดเขาพระสุเมรุตรงใจกลางนี้ ท่านว่าเป็นที่ตั้งของดาวดึงส์สวรรค์

new ubosod wat pa inter 05

พิธียกยอดสัตบริภัณฑ์ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 09.59 น. วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 โดยมี พระเทพวชิรญาณ (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ  พระธรรมพัชรญาณมุนี (ท่านพระอาจารย์ชยสาโร) สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา ถือสายยึดโยงกับยอดสัตบริภัณฑ์ปิดทองอร่าม ก่อนถูกยกขึ้นไปติดตั้งเหนือหลังคาพระอุโบสถเป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางการอนุโมทนาสาธุของญาติโยมที่หลั่งไหลมาร่วมงานอย่างคับคั่ง

new ubosod wat pa inter 06

ทางวัดได้กำหนดให้มีพิธีผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิต อุโบสถวัดป่านานาชาติ ในระหว่างวันที่ 25-27 ธันวาคม 2565 นี้ จึงขอเรียนเชิญญาติธรรมได้มาร่วมทำบุญโดยทั่วกัน

pook pattasima watpa nanachart2

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี ตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ ณ วัดป่านานาชาติ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในวันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 น.

กำหนดการพิธีผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิต อ่านที่นี่

แนวปฏิบัติของวัดป่านานาชาติ

  • แนวทางการปฏิบัติ คือ วิปัสสนากรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน เน้นให้มีสติสัมปชัญญะสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบภาวนาพุทโธตามแนวปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และอานาปานสติแบบไม่มีคำภาวนา กำหนดสภาวะความรู้สึกตัวล้วนๆ อย่างเดียวแบบพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) สำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมชั่วคราว ถือศีล 8 เน้นให้ปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่มีคอร์ส (สำหรับผู้เคยผ่านคอร์สอานาปานสติ 16 ขั้นสายสวนโมกข์ สามารถนำมาใช้ร่วมได้) และไม่มีผู้นำปฏิบัติ ให้ปฏิบัติส่วนตัวกันเอง จึงเหมาะสำหรับผู้มีพื้นฐานการปฏิบัติอยู่แล้ว ทางวัดไม่ถึงกับให้ปิดวาจา แต่ก็ไม่ควรจับกลุ่มคุยกันหรือชวนใครพูดด้วย อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติธรรมของผู้อื่น
  • การแต่งกาย ผู้ชาย (อุบาสก) สวมเสื้อและกางเกงสีขาวทั้งชุด ผู้หญิง (อุบาสิกา) เสื้อสีขาว ผ้าถุงสีดำ ทางวัดมีให้ยืม แต่ควรเตรียมไปเองจะดีกว่า
  • ภาษา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร และสวดมนต์ แต่อย่างไรก็ตาม พระภิกษุหลายรูปสามารถพูดภาษาไทยกลาง และไทยอีสานได้ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาในการสื่อสาร
  • ที่พัก มีทั้งกุฏิเดี่ยวและกุฏิรวมอยู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีน้ำ ไฟ ห้องน้ำ พัดลม มีที่ซักผ้า ตากผ้า สำหรับผู้หญิง ที่พักแบ่งออกเป็น 2 โซน โซนที่ 1 กุฏิจะอยู่ใกล้กัน มีเสาไฟเปิดตอนกลางคืน โซนที่ 2 กุฏิจะอยู่ห่างกันแทบมองไม่เห็นกัน ตอนกลางคืนจะมืดมากเพราะไม่มีเสาไฟเปิด ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะนอนรวมกันที่ชั้น 2 ของโรงครัว หรือกุฏิเดี่ยวหากมีกุฏิว่าง สำหรับผู้ที่พักระยะสั้นก็ให้พักศาลารวม แต่ผู้ที่พักอยู่ระยะเวลานานก็จะได้อยู่กุฏิแยกเป็นส่วนตัว
  • การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารวันละ 1 มื้อ จะมีภาชนะที่เป็นเหมือนกะละมังเล็กๆ ให้ตักอาหาร อาหารมีทั้งอาหารท้องถิ่น และทางฝั่งประเทศตะวันตก เช่น ขนมปัง แซนด์วิช ปะปนกันไปหลากหลายมาก และทานน้ำปานะพร้อมกันอีกครั้งในเวลา 16.00 น.
  • สิ่งของจำเป็นที่ควรนำติดตัวไปขณะไปปฏิบัติธรรม ได้แก่ ไฟฉาย ยาทากันยุง เนื่องจากเป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุง แมลง และมดคันไฟมาก คนที่แพ้ยุง แมลง มด ก็ควรหายาเตรียมยาไปด้วย ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ยารักษาโรคประจำตัว เนื่องจากหน้าวัดไม่มีร้านขายของชำใกล้ๆ วัด ดังนั้น ควรจัดเตรียมของใช้ส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางเข้าไปในวัด
  • การเปิด-ปิดประตูวัด ทางวัดมีเวลาปิดประตูวัดประมาณ 18.00-05.00 น. ดังนั้น ควรเดินทางมาถึงวัดก่อนเวลาดังกล่าว

new ubosod wat pa inter 07

ตารางกิจวัตรประจำวัน ของวัดป่านานาชาติ

  • เวลา 03.00 น. ตีระฆัง สวดมนต์ทำวัตรเช้า และนั่งสมาธิร่วมกันที่ศาลา
  • เวลา 05.00 น. ภิกษุเตรียมตัวออกบิณฑบาต ส่วนอุบาสก อุบาสิกา ทำความสะอาดโบสถ์ และเก็บกวาดใบไม้-ใบหญ้าบริเวณรอบๆ ที่พักและศาลา โรงครัว
  • เวลา 07.00 น. หากประสงค์ก็สามารถไปช่วยจัดอาหารที่โรงครัวได้ เนื่องจากที่วัดไม่มีแม่ชีประจำ ไม่มีการทำครัว ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเอาอาหารมาร่วมทำบุญ หรือเอาวัตถุดิบมาปรุงอาหารในเช้าวันนั้นเลย
  • เวลา 08.00 น. รับประทานอาหาร
  • เวลา 15.00 น. ตีระฆัง กวาดลานวัด
  • เวลา 16.00 น. ดื่มน้ำปานะ
  • เวลา 18.15 น. ตีระฆัง นั่งสมาธิ สวดมนต์ทำวัตรเย็นและฟังธรรม ร่วมกันที่ศาลา
  • เวลา 21.00 น. เข้าที่พักเพื่อนอนพักผ่อน

เวลาที่เหลือจะทำกิจวัตรส่วนตัว และปฏิบัติธรรมด้วยตัวเอง

Ajahn Kevali: Balance in Meditation

สำหรับท่านที่มีญาติ มิตร เพื่อนฝูง ชาวต่างชาติ ที่สนใจจะขอเข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรมกับทางวัดป่านานาชาตินั้น มีข้อควรทราบที่จะต้องแจ้งให้ทางวัดได้ทราบล่วงหน้า ดังนี้

watpananachart4

การขอเข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดป่านานาชาติ

  • เขียนจดหมายขออนุญาตต่อ Guest monk (พระผู้ดูแลแขก) ล่วงหน้า แจ้งชื่อ ที่อยู่ ให้ทราบว่า เป็นใคร มาจากไหน ปฏิบัติแนวไหน จะพักกี่วัน (เป็นภาษาอังกฤษ) ส่งไปตามที่อยู่วัด แล้วรอจดหมายตอบรับก่อน
    ที่อยู่ในการติดต่อทางวัด คือ The International Forest Monastery, Bahn Bung Wai, Warin Chamrab, Ubon Rachathani, 34310, Thailand.
  • ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ในการจะขออนุญาตล่วงหน้า ก็สามารถเดินทางไปที่วัดก่อน แล้วค่อยขออนุญาต Guest monk ก็ได้ เพราะโดยปกติท่านก็มักจะให้การอนุญาตอยู่แล้ว
  • ผู้ชาย อยู่ได้ไม่เกิน 3 วัน ถ้าจะอยู่เกิน 3 วัน ต้องโกนผม (คือ เป็น 'อนาคาริก' สวมชุดขาว ถือศีล 8 โกนผม) เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาพัก เพราะต้องการประหยัดค่าที่พัก สำหรับ ผู้หญิง อยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ได้ ตามแต่เจ้าอาวาสจะอนุญาต มีที่พักแยกอยู่ต่างหาก

watpananachart5

กราบสาธุ

วันที่ 29 ธันวาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูรกิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระครูอุบลภาวนาวิเทศ วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระภาวนาวัชราจารย์"

kewali 05

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : วัดหนองป่าพง | วัดป่านานาชาติ | ฝรั่งกับการนับถือพุทธศาสนา

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)