คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ภาษาเขมร เรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านใกล้กัน เผื่อไปเที่ยวจะได้พอฟังรู้เรื่อง สื่อสารกันได้บ้าง บอกก่อนว่า ผู้ทำเว็บไซต์นี้ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษาเขมรเลยแม้แต่น้อย แต่สนใจใคร่รู้อยากทราบมากเพราะเคยไปเที่ยมเสียมเรียบ นครวัด นครธม โตนเลสาป มาแล้วใบ้กิน อาศัยไกด์ทัวร์อย่างเดียวเลย วันนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก ครูเหลิม (นายเฉลิมชัย ถึงดี ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 3) ส่งคลิปการเรียนรู้ภาษาเขมรวันละคำมาให้เผยแพร่ ขอบคุณอย่างยิ่งครับ
ความตั้งใจของผม(ผู้จัดทำเว็บไซต์นี้)นั้น ต้องการจะเผยแพร่งานอันเป็นศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน คนอีสานมีการใช้ภาษาถิ่นหลากหลาย ซึ่งก็รวมทั้งภาษาเขมร ลาว ส่วย และภาษาชนเผ่าอื่นๆ อีกมากมาย ค้นหามาได้ก็อยากบันทึกไว้ เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ต้องขอขอบคุณผู้ที่อนุเคราะห์ส่งเสริมข้อมูลความรู้ต่างๆ ไว้เป็นอย่างยิ่งครับ
ภาษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์
คืนลับฟ้า kernlabfar โดย เจน สายใจ (นักร้องไทย)
จากคลิปวีดิโอด้านบนนี้ คงทำให้ใครหลายคนสนใจอยากเรียนรู้ภาษาเขมรได้บ้าง ด้วยความไพเราะของบทเพลงทั้งเนื้อหาและท่วงทำนอง "คืนลับฟ้า" ในภาคภาษาไทยส่วนมากจะรู้จากการขับร้องของต้นฉบับ คุณเหลือง บริสุทธิ์ และต่อมาก็มีเพลงแก้ที่ขับร้องโดย เจน สายใจ นักร้องสาวชาวสุรินทร์ (ที่ชาวเขมรในอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโหวตยกย่องให้เธอเป็น "นักร้องกันตรึมในดวงใจ" ชนะขาด เอื้อน สเรย์มัม นักร้องสาวคนดังชาวเขมรเสียอีก) ที่เอามาให้ชมข้างต้น ที่มีการใส่เนื้อร้องแบบคาราโอเกะให้ได้รับรู้กัน น่าสนใจครับ
ภาษาถิ่น ที่เป็นการพูดจาในประเทศเขมรเอง ก็มีสำเนียงต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละพื้นที่ มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่
ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือ การออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น "มเปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "dreey" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroich โกรช ในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น koich โคช
ภาษาเขมรวันละคำ โดย เฉลิมชัย ถึงดี
ไวยากรณ์ ลำดับคำในภาษาเขมรมักจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาเขมรประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่การสร้างคำจากการเติมหน้าคำ และการเติมภายในคำก็มีมาก ซึ่งไวยากรณ์นี้เป็นไวยากรณ์ชนิดเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย
อักษรเขียน ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะคล้ายเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอารบิก ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2แบบ
และอีกแบบ คือ Romanization เขียนภาษาเขมรด้วยอักษรโรมัน ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย
พยัญชนะเขมร และคำอ่านตัวอักษรเขมร ในภาษาเขมร (ภาษากัมพูชา) พบว่ามีหลายตัวที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรไทย - ตัวอักษรลาว - ที่มา : http://www.anantasook.com
สระเขมร และคำอ่านสระในภาษาเขมร (สระในภาษากัมพูชา) ประกอบด้วย สระลอย (สระที่ไม่ประกอบกับพยัญชนะ) และ สระจม (สระที่ต้องประกอบพยัญชนะ) - ที่มา : http://www.anantasook.com/khmer-language-alphabet-vowel-number
คลิป พยัญชนะภาษาเขมร
สำหรับท่านที่สนใจอยากไปเที่ยวเสียมเรียบ ตอนนี้มีบริการรถประจำทางระหว่างประเทศจากไทยไปเสียมเรียบแล้วนะครับ สนใจดูคลิปข้างล่างนี้ได้เลย
รถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ
คลิปสอนภาษาเขมรจาก กรมประชาสัมพันธ์ ก็น่าสนใจดีครับ ถ้าชมแล้วต้องการติดตามให้ Login เข้าระบบด้วยอีเมล์ของ Gmail คลิก! ติดตามรายการใน Youtube เหล่านี้จะแจ้งเตือนเมื่อมีคลิปใหม่ๆ ครับ
สนุกกับภาษาเขมร
รายการพันแสงรุ้ง ตอน ภาษาเขมรถิ่นไทย เรื่องน่ารู้ของการใช้ภาษาเขมรของคนไทยในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
รายการพันแสงรุ้ง ตอน เขมรถิ่นไทย
สนใจต้องการศึกษาเพิ่มเติมเชิญที่ Facebook : เรียนภาษาเขมรกับ khmersren.com หรือที่เว็บไซต์ www.khmersren.com/ ของคุณวิจิตร วิทยา
ปิดท้ายหน้านี้ด้วย แหล่งดาวน์โหลดคู่มือ "การอ่านภาษาเขมรเบื้องต้นด้วยตนเอง" จาก สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 7 คลิกเลยครับ
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)