คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
เรื่องราวของพระอริยสงฆ์ภาคอีสาน ที่เป็นผู้สืบสานต่อพระพุทธศาสนา เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ น้อมนำเอาหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเผยแผ่กับปวงชนชาวไทย จนเป็นที่เลื่องลือกล่าวถึงอยู่จากอดีตสู่ปัจจุบัน ทางเว็บไซต์ประตูสู่อีสานจึงได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ เพื่อให้พวกเราชาวพุทธได้เห็นแจ้งจริงในแนวทางปฏิบัติตนสู่ความสงบสุข ลดละกิเลส ไกลจากสิ่งมัวหมอง ให้สามารถดำรงตนอย่างเป็นสุข ดังคำกล่าวที่ว่า
ศาสนาพุทธไม่เคยเสื่อม แต่ที่เสื่อมคือใจของพุทธบริษัททั้ง 4 อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งนี้ การเสื่อมดังกล่าวเกิดจากการกระทำของพวกเรากันเอง จะมัวไปโทษพระสงฆ์อย่างเดียวก็ไม่ได้ พวกเราต่างหากที่คอยสนับสนุนให้ท่านเหล่านั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวก เกินความจำเป็น เช่น เงินตรา และเทคโนโลยี "
หากเราจะตั้งสติกันใหม่ พิจารณาให้ดีก็จะเห็นคล้อยตาม ดังพระโอวาทของ สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบัน ที่ว่า
พระพุทธศาสนา เข้ามาสู่ดินแดนสยามที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของ พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่ จังหวัดนครปฐม ของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น พระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัย
การสืบต่อพระพุทธศาสนามีต่อมาตามลำดับ โดยแยกเป็น 2 สาย คือ มหานิกาย และธรรมยุตินิกาย อย่างไรก็ตามความมีศรัทธาของชาวไทยก็ยังคงปักแน่น มีพระผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ที่เป็นหลักสำคัญให้กับพระพุทธศาสนาอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย สำหรับในภาคอีสานนั้น ก็มีพระอริยสงฆ์อยู่มากมายที่เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นหลักแก่นในการเผยแผ่พระศาสนาออกไปให้ไพศาล โดยเฉพาะสาย "พระป่า" (ครู-อาจารย์หลายท่านได้กล่าวว่า ไม่อยากให้แตกแยกกันด้วยนิกาย ขอให้ยึดเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักในการปฏิบัติ และสานต่อพระพุทธศาสนา) มีชาวต่างประเทศมากมายที่เลื่อมใสจนได้สละทางโลกมาบวชในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก [ อ่านเพิ่มเติม : ฝรั่งกับการนับถือพระพุทธศาสนา ]
หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลพระปรมาจารย์กรรมฐาน |
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตพระผู้เลิศทางธุดงควัตร |
หลวงปู่สรวง ออยเตียนสรูลเทวดาเดินดินแห่งอีสานใต้ |
หลวงปู่ขาว อนาลโยวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี |
หลวงปู่ฝั้น อาจาโรวัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร |
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีวัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย |
หลวงปู่ชา สุภทฺโทวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี |
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี |
หลวงพ่อพุธ ฐานิโยวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา |
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธวัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา |
หลวงปู่จาม มหาปุญโญวัดป่าวิเวกวัฒนาราม จังหวัดมุกดาหาร |
หลวงปู่ดูลย์ อตฺโลวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ |
หลวงปู่จันทร์ เขมิโยวัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม |
พระครูดีโลด (วิโรจน์รัตโนบล)พระสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาชำนาญศิลป์ |
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโลพระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน ศรีสะเกษ |
หลวงปู่เกลี้ยง เตชธฺมโมวัดโนนแกด อำเภอเมือง ศรีสะเกษ |
หลวงปู่กินรี จนฺทิโยวัดกัณตะศิลาวาส อำเภอธาตุพนม |
หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง นครราชสีมา |
หลวงปู่ลี กุสลธโรวัดภูผาแดง หนองวัวซอ อุดรธานี
|
หลวงพ่ออมร เขมจิตโตวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อุบลราชธานี
|
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐวัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) บึงกาฬ
|
หลวงพ่อบุญเสริม ธมฺมปาโลวัดป่ากัทลิวัน (ป่าสวนกล้วย) ศรีสะเกษ
|
หลวงปู่แสงจันทร์ จันดะโชโตวัดป่าดงสว่างธรรม อำเภอป่าติ้ว ยโสธร
|
หลวงปู่สี สิริญาโนวัดป่าศรีมงคล อำเภอสำโรง อุบลราชธานี
|
ยังไม่หมด ยังมีอีกมากครับ อยู่ในระหว่างการรวบรวมเรียบเรียงข้อมูล จะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป สำหรับท่านที่ทราบประวัติของพระอริยสงฆ์ท่านอื่นๆ จะแนะนำมาก็ยินดีที่จะเรียบเรียงมานำเสนอ แจ้งมาที่ webmaster @ isangate.com ได้เลยครับ
หมายเหตุ : ต้องขอเรียนให้ทราบว่า "ทางทีมงานนำเสนอเรื่องราวของพระอริยสงฆ์ ท่านเหล่านี้ในทางที่เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้จำเริญสืบต่อไปในภายภาคหน้า หาใช่ด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ การปลุกเสก เลข ยันตร์ แต่อย่างใดนะครับ จึงไม่มีเรื่องราวของเหรียญ ของขลังใดๆ และไม่สามารถจัดหาแก่ท่านได้ ไม่ต้องขอมานะขอรับ"
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)