foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra farang

มีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มีความเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน แล้วมาบวชอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นศิษยานุศิษย์ ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บ้างก็ปวารณาตัวบวชตลอดชีวิต จึงมีคำถามว่า "ศาสนาพุทธ มีดีอะไรจึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์มาบวชมากมายเช่นนี้"

ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก (4)

pra farang 06

ดอกบัวบานแผ่กิ่งก้านสาขาไปทุกมุมโลก

อกจาก "พระพุทธศาสนา" จะเบ่งบานในทิศตะวันตกแล้ว ก็ยังเป็นที่ยินดีที่ “เมล็ดพันธุ์แห่งพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ได้ถูกปลูกฝังลงในดินแดนของยูกันดา ทวีปอัฟริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เป็นเวลาแห่งการดูแลให้เติบใหญ่ หวังว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีประโยชน์นี้จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และเติบโตอย่างแข็งแรง แผ่ขยายไพศาลเป็นผลไม้แห่งประโยชน์ของสัตว์โลกทั้งปวง” โดยมี พระพุทธรักขิตะ หรือ สตีเว่น คาบอคโกซา (Steven Kaboggoza) ชาวอูกานดา ได้ก่อตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาในประเทศยูกันดา ในนาม Uganda Buddhist Centre หรือ UBC ซึ่งถือเป็นจุดเกิดพระพุทธศาสนาในดินแดนกาฬทวีปแผ่นดินอัฟริกา

african budhist

เมื่อแรกเริ่ม สตีเว่น คาบอคโกซา รู้จัก "พุทธศาสนา" เพียงผิวเผินตามหนังสือเรียน แต่พอรู้จักพระสงฆ์ไทยจากการเป็นเพื่อนร่วมชั้นระหว่างเรียนการบริหารที่อินเดีย ก็ทำให้ท่านสนใจในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังเรียนจบก็ได้ออกเดินทางไปยังพื้นที่กำเนิดพระพุทธศาสนา ทั้งที่ ทิเบต และเนปาล ก่อนที่จะจบลงที่ประเทศไทย ซึ่งการมาที่ไทยนอกจากมาศึกษาพระพุทธศาสนาแล้ว ก็มาประกอบอาชีพหาเงินด้วยการเป็นครูดำน้ำที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย ก่อนที่จะกลับไปบ้านเกิดอีกครั้งหลังจากห่างบ้านไปท่องโลกนาน 7 ปี พอไปถึงที่บ้านญาติๆ ของท่านก็ไม่ค่อยชอบใจที่ท่านนำหนังสือธรรมะและชุดดำน้ำกลับไปด้วย เพราะคาดคิดว่า จะได้พบท่านในฐานะนักธุรกิจ นักบริหารที่ร่ำรวย โดยถึงขั้นจะเผาหนังสือและชุดดำน้ำทิ้ง และให้หันกลับไปนับถือศาสนาคริสต์ตามครอบครัว ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้ง

ท่านได้เดินเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อไปศึกษาธรรมะโดยเฉพาะ จนกระทั่งปี 2002 ท่านจึงตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ หลังได้พบกับ ท่านปัณณาธิภา (Pannadipa) ณ ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนาตถาคต (Tathagata) ทีเอ็มซีTMC – Tathagata Meditation Centre ในเมืองซาน โฮเซ่ (San Jose) รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) โดยมีพระอาจารย์ คือ ท่านซายาดอว์ ยู สิละนันทะ (Sayadaw U. Silananda)

พระพุทธรักขิตะ หลังจากท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนา และบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านจึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่อูกานดา เพื่อทำตามปณิธานที่ตั้งไว้ว่า “จะต้องกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ยูกันดาให้จงได้” ซึ่งฟังดูอาจจะดูเหมือนง่าย แต่หากพอทำจริงมันยากมาก เพราะชาวบ้านยังไม่เชื่อใจ บ้างก็ว่าท่านถูกมนต์ดำ (ต้องเข้าใจว่า ในอัฟริกานั้นผู้คนยังเชื่อในเรื่องสิ่งลึกลับ ภูติผี เจ้าป่า เจ้าเขา ผู้วิเศษที่ลี้ลับอยู่) บ้างก็ว่าท่านวิกลจริต (บ้าไปแล้ว) เดินเข้ามาแกล้งสารพัด จนเป็นที่ตลกขบขัน แต่ด้วยวัตรปฏิบัติของท่านที่เรียบง่าย และงดงาม ไม่เคยถือโทษโกรธผู้ใด แต่ไขข้อสงสัยให้แก่ผู้ที่เข้ามาตั้งคำถามอย่างใจเย็น จนเป็นที่น่าประทับใจ ทำให้ผู้คนเปิดใจให้กับท่านมากขึ้น จนสามารถก่อตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ดังกล่าว ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

rakita african monk

ดาราและคนดังต่างชาติที่สนใจในพุทธศาสนา

ยังมีชาวต่างชาติอีกจำนวนมากที่มีความสนใจ และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เช่น เหล่าบรรดาเซเลปที่มีชื่อเสียง ศิลปิน ดาราดังในฮอลลีวู๊ด นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักปรัชญา และนักคิดนักเขียน แม้จะไม่ได้มาบวชเป็นพระสงฆ์ แต่ก็ยังคงใช้ชีวิตตามหลักพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อย ได้กล่าวถึงพุทธศาสนาในแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น

hollywood

อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน (ค.ศ.1788-1860) กล่าวว่า “ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่า เป็นมาตรฐานแห่งความจริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่า "เด่นเป็นพิเศษเหนือศาสนาที่เหลือ" อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า  คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น (พระพุทธศาสนา) อย่างแน่นอน”

ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900)  ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า “ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”

เอช. จี. เวลส์ นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ (ค.ศ.1866-1946) ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”

เบอร์ทรันด์ รัสเซล นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ (ค.ศ.1872-1970) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาเป็นการรวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”

ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาวสวิสเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “ในฐานะเป็นนักศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็นมา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”

อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ. 2495) บอกว่า “พระองค์ (พระพุทธเจ้า) ได้ทรงแสดงออกซึ่งสัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธเจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรมที่โลกเคยได้มา”

albert eistineอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า “ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย "พระพุทธศาสนา" ตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”

อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ กล่าวว่า “ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด "พระพุทธศาสนา" เป็นเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธศาสนายิ่งใหญ่มาก เหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่กับระบบทหาร”

เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1904-1976) ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า “ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”

สำหรับซุปเปอร์สตาร์ที่คนทั่วโลกชื่นชอบ และคลั่งไคล้กันนั้น การที่เขาสนใจ และบางรายถึงกับเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ พร้อมอุทิศตนทำงานเพื่อช่วยจรรโลงพุทธศาสนานั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า "หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกของพวกเขาได้อย่างแท้จริง"

ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราชื่อก้องชาวอเมริกัน ได้ชื่อว่าเป็นดาราหนุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งในปี 1980-1990 ภาพยนต์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากก็คือ Pretty Woman(1990) และเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา เขาก็คว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 60 ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนต์เรื่อง "ชิคาโก"

richard gear

ริชาร์ด เกียร์ หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนพบว่า ศาสนาพุทธให้คำตอบกับชีวิตของเขาได้ ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และใช้เวลานอกจอช่วยเหลืองานขององค์ทะไลลามะ ในการเผยแผ่ศาสนา และเมื่อครั้งที่มีการประกาศรางวัลออสการ์ปี 1993 ท่ามกลางสายตาของผู้ชมนับล้านๆ คู่ ริชาร์ด เกียร์ ก็ใช้เวทีนี้เรียกร้องความรักและสัจธรรมให้กับมวลมนุษย์ และในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ (เหตุการณ์ Nine-one-one) เมื่อวันที่ 11 กันยายน  2545 นั้น ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์ว่า เขากำลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่รัฐแมสซาชูเซตส์

เกียร์เคยพูดว่า "เราต้องคิดว่า บรรดาผู้ก่อการร้ายนั้นได้ก่อความเลวร้ายให้กับชีวิตภายหน้าของพวกเขาไว้แล้ว เรียกว่า สร้างกรรมชั่ว และเราจะต้องมองให้กว้างไกลว่า เราทุกคนต่างเกี่ยวโยงกับการกระทำครั้งนี้เช่นกัน" เขาย้ำว่า "เราต้องให้ความรักและเมตตากับทุกคน ไม่เว้นแม้พวกที่ก่อการร้าย ถ้าเราทั้งหลายสามารถที่จะมองพวกผู้ก่อการร้าย ด้วยความคิดว่าเขาเหล่านั้นคือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ยาที่จะรักษาพวกเขาได้ก็คือ ความรักและเมตตานั้นเอง ไม่มีอะไรจะดีกว่านั้นอีกแล้ว"

สตีเว่น ซีกัล (Steven Seagal) พระเอกนักบู๊ชื่อดังของฮอลลีวู้ด ชาวอเมริกัน โด่งดังขึ้นมาในฮอลลีวู้ดในฐานะพระเอกหนังแอ๊คชั่น หนังเรื่องล่าสุดของเขา คือ "Exit Wounds" ซีกัลได้ศึกษา และปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีลามะในทิเบตบางรูปพูดถึงเขาว่า "เขาเป็นอดีตลามะองค์สำคัญที่กลับชาติมาเกิดทีเดียว"

roberto baggioโรเแบร์โต บาจโจ (Roberto Baggio) นักฟุตบอลชื่อดังชาวอิตาลี หันมาสนใจพุทธศาสนา หลังผ่าตัดเข่าข้างขวา และต้องหยุดเล่นนานถึง 2 ปี ช่วงนี้เขาต้องฝึกกายภาพ ด้วยความหวังที่เลือนลางและไม่มีความสุข หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยครั้ง เมาริซิโอ โบลดรินี เจ้าของร้านขายแผ่นซีดี ซึ่งโรแบร์โตเป็นลูกค้าประจำที่ร้าน จึงได้แนะนำให้เขาสวดมนต์

โรเแบร์โต บาจโจ รู้สึกดีขึ้นมากและหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา จนนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง กระทั่งอาการบาดเจ็บที่เข่าของเขาค่อยทุเลาลง และสามารถกลับมาเล่นฟุตบอลได้อีกครั้ง บาจโจ บอกไว้เมื่อ พ.ศ. 2539 ว่า "แม้จะปฏิบัติธรรมได้เพียง 8 ปีเท่านั้น แต่บุญกุศลที่ได้รับนั้นมากมายเกินกว่าจะกล่าวได้หมด"

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ โรเแบร์โต บาจโจ ก็คือได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของตนเอง เพราะก่อนหน้าที่จะหันมาปฏิบัติธรรมนั้น เขาเป็นคนที่จะต้องคิดในรูปแบบที่ตัวเองวางกรอบหรือกำหนดไว้แล้ว หรือไม่ก็ตัดสินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความคิดของตนเองเป็นหลัก และคิดว่าการกระทำเช่นนี้ของตนถูกต้องเสมอ แต่หลังการปฏิบัติธรรมแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมายในชีวิตจิตวิญญาณของตัวเอง ซึ่งต้องใช้สติปัญญาในการตัดสินใจ แม้จะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะบางครั้งจิตใจก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางกาย บาจโจ บอกว่าสำหรับชาวอิตาเลียนแล้ว พุทธศาสนานั้นอยู่ห่างไกลและไม่เกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และชาวอิตาเลียนจะมีความเชื่อในความคิดเห็นของตนเองมาก และไม่ต้องการศึกษาเรียนรู้ หรือเข้าใจปรัชญาอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากที่พวกเขาเคยรับรู้มา แต่จะตัดสินสิ่งต่างๆ ตามความคิดเห็นของตนเอง สำหรับเขาแล้วการตัดสินใจหันมานับถือพุทธศาสนา ไม่รู้สึกว่าขาดความเชื่อมั่น และไม่แคร์ว่าใครจะพูดว่าอย่างไร เพราะเป้าหมายของตนคือ "ต้องการจะเป็นบุคคลที่มีความสุขที่สุด"

pra farang 08

Russian President Vladimir Putin promised “100-percent support” for Russian Buddhists
on Thursday during a visit to the country’s Buryatia republic, where about 20 percent of the population is Buddhist.

เคยมีฝรั่งบอกผมว่า ที่ รัสเซีย ก็มีชาวพุทธเป็นจำนวนมาก ที่ Buryatia มีชาวพุทธเกือบ 20 %

วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ : วิถีพระวัดป่าในโลกตะวันตก

ไม่เพียงแต่บรรดาคนดังเหล่านี้ ที่หันมาสนใจและประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมเท่านั้น ยังมีชาวตะวันตกอีกมากมายที่มุ่งหน้าค้นหาสัจธรรมของชีวิต เดินทางเข้าสู่ดินแดนแห่งพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทิเบต ภูฐาน ศรีลังกา พม่า หรือประเทศไทย เพื่อการศึกษาหลักธรรมคำสอนและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง คอร์ส อบรม วิปัสสนา ที่วัดหรือหน่วยงานบางแห่งในบ้านเราจัดขึ้น สำหรับชาวต่างชาตินั้น ได้รับความสนใจมีผู้สมัครเข้าร่วมอย่างล้นหลาม

pra farang 07

 

ดอกบัวบานทางทิศตะวันตก : ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4

redline

backled1

wat pa inter 2

ศาสนาพุทธ มีดีอะไร? จึงทำให้ฝรั่งต่างชาติละทิ้งทั้งอาชีพและอนาคตอันศิวิไลซ์ มาบวชในพุทธศาสนามากมายเช่นนี้ "

หลังจากที่ พระเทพญาณวิเทศ (หลวงพ่อสุเมโธ) พระฝรั่งรูปแรกที่มาเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท แห่ง วัดหนองป่าพง ก็ได้มีชาวต่างชาติอีกมากมายที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รวมทั้งปฎิปทาจริยาวัตรอันสม่ำเสมอของหลวงพ่อชา ได้หลั่งไหลเข้ามาบวช มาศึกษา ปฎิบัติจำนวนมากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 วัดหนองป่าพงมีพระสงฆ์ทั้งพระไทยและพระต่างชาติ จำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมาก กระทั่งหลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านเห็นว่า ควรจะได้สร้างสำนักสงฆ์สำหรับให้ศึกษา บวชเรียนสำหรับอาคันตุกะชาวต่างชาติ โดยมอบหมายให้ พระอาจารย์สุเมโธ เป็นหัวหน้าสำนัก ดูแล ฝึกอบรมชาวต่างชาติด้วยกัน กลายเป็นวัดป่านานาชาติในปัจจุบัน ณ บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

old ubosod wat pa inter

ในปี พ.ศ. 2528 เริ่มสร้างวิหาร (พระอุโบสถ) ในตำแหน่งที่พบเสมาเก่า เพื่อให้พระสงฆ์ใช้สวดทำสังฆกรรมต่างๆ ซึ่งสร้างเสร็จในอีกสองปีถัดมา เป็นพระอุโบสถขนาดเล็กเพียงพอต่อการทำสังฆกรรมในสมัยนั้น จากความเลื่อมใสศรัทธาทั้งจากญาติโยมชาวไทยเอง และผู้คนจากหลายๆ เชื้อชาติ ศาสนา ที่มีความเลื่อมใสเข้ามาศึกษาวัตรปฏิบัติต่างๆ ในฐานะอาคันตุกะ จนหลายๆ คนได้ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมของตนเอง มุ่งมั่นมาขอบวชเป็นพระภิกษุในแต่ละปีมีจำนวนมากเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี สถานที่ในการประกอบศาสนกิจ สังฆกรรมใหญ่ๆ เริ่มไม่สามารถกระทำได้ในพระอุโบสถหลังนี้ เช่น การทำพิธีบวชพระ เณร ในช่วงก่อนเข้าพรรษา ต้องไปอาศัยใช้พระอุโบสถของวัดหนองป่าพง ซึ่งไม่สะดวกมากนัก

kewali 04

พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ รูปปัจจุบัน ซึ่งท่านเป็นพระชาวเยอรมัน ที่ได้สอบผ่านเป็น "พระอุปัชฌาย์" ในระบบสงฆ์ไทย ตามกฎมหาเถรสมาคม เป็นรูปแรก สามารถบวชให้กับชาวต่างชาติที่มีความสนใจจะบวชเป็น "พระ-เณร" ในพระพุทธศาสนา ได้ปรารภกับญาติโยมในการที่จะทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ให้กว้างขวางเพียงพอต่อการทำสังฆกรรมดังกล่าว

sim isan 01

ภาพในอดีตของ "สิมวัดหลวง" ที่เป็นต้นแบบสำหรับพระอุโบสถวัดป่านานาชาตื

new ubosod wat pa inter 01

พระอุโบสถหลังใหม่นี้ออกแบบโดย คุณณรงค์ฤทธิ์ ทองแสง โดยใช้รูปแบบของ สิมแบบล้านช้าง อันมีต้นแบบแนวคิดจาก ภาพถ่ายเก่าของสิมวัดหลวง เมืองอุบลราชธานี ซึ่งหมายถึง การให้ความเคารพต่อรากเหง้าศิลปะวัฒนธรรมประจำถิ่น ผสมผสานกับรูปแบบสิมอีสานพื้นถิ่น และแบบภาคกลางเจือกลิ่นอายเล็กๆ แต่ปรับให้เรียบง่าย พอประมาณ ใช้สอยได้ดีตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับความที่เป็น "วัดป่านานาชาติ" วัดสาขาของวัดหนองป่าพง จึงคงเรียบง่ายเต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอย เป็นพระอุโบสถที่ไม่มีผนังกั้นเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก โดยมี "พระพุทธสุเมธคุณ" พระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินทรายเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถหลังนี้

buddha sumekun

new ubosod wat pa inter 02

new ubosod wat pa inter 03

การดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถได้เสร็จสิ้นเรียบร้อย และได้กระทำพิธียกยอดสัตตบริภัณฑ์ อันเป็นส่วนยอดของหลังคาเป็นส่วนที่สูงที่สุดของสิม มักแกะสลักด้วยไม้เป็นลักษณะคล้ายปราสาท (ผาสาด) หรือฉัตร ตั้งลดหลั่นซ้อนกันขึ้นไป บนสันหลังคาตรงส่วนกลางของหลังคาสิม นับเป็นส่วนสำคัญที่ชี้บอกถึงความเป็นอีสาน ปัจจุบันยังพอมีสิมที่ก่อสร้างใหม่บางหลังที่ยังคงเอกลักษณ์ของ “ช่อฟ้า” ส่วนนี้ไว้ แม้จะทำเป็นคอนกรีตไปแล้วก็ตาม ดังเช่นพระอุโบสถหลังนี้

new ubosod wat pa inter 04

สัตตบริภัณฑ์คีรี เป็นชื่อภูเขาในตำนานพุทธศาสนา เชื่อว่าตั้งอยู่กลางป่าหิมพานต์ มีเทือกเขา 7 เทือก ประกอบด้วย เขายุคนธร เขาอิสินธร เขากรวิก เขาสุทัส เขาเนมินธร เขาวินตกะ เขาอัสกรรณ แต่ละเขาจะเรียงเป็นชั้นๆ ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และจะมีแม่น้ำสีทันดร อีกเจ็ดสายคั่นเขาแต่ละเทือกไว้ ยอดเขาพระสุเมรุตรงใจกลางนี้ ท่านว่าเป็นที่ตั้งของดาวดึงส์สวรรค์

new ubosod wat pa inter 05

พิธียกยอดสัตบริภัณฑ์ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 09.59 น. วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 โดยมี พระเทพวชิรญาณ (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ  พระธรรมพัชรญาณมุนี (ท่านพระอาจารย์ชยสาโร) สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา ถือสายยึดโยงกับยอดสัตบริภัณฑ์ปิดทองอร่าม ก่อนถูกยกขึ้นไปติดตั้งเหนือหลังคาพระอุโบสถเป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางการอนุโมทนาสาธุของญาติโยมที่หลั่งไหลมาร่วมงานอย่างคับคั่ง

new ubosod wat pa inter 06

ทางวัดได้กำหนดให้มีพิธีผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิต อุโบสถวัดป่านานาชาติ ในระหว่างวันที่ 25-27 ธันวาคม 2565 นี้ จึงขอเรียนเชิญญาติธรรมได้มาร่วมทำบุญโดยทั่วกัน

pook pattasima watpa nanachart2

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี ตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ ณ วัดป่านานาชาติ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในวันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 น.

กำหนดการพิธีผูกพัทธสีมา ปิดทองฝังลูกนิมิต อ่านที่นี่

แนวปฏิบัติของวัดป่านานาชาติ

  • แนวทางการปฏิบัติ คือ วิปัสสนากรรมฐาน เจริญสติปัฏฐาน เน้นให้มีสติสัมปชัญญะสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบภาวนาพุทโธตามแนวปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และอานาปานสติแบบไม่มีคำภาวนา กำหนดสภาวะความรู้สึกตัวล้วนๆ อย่างเดียวแบบพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) สำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมชั่วคราว ถือศีล 8 เน้นให้ปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่มีคอร์ส (สำหรับผู้เคยผ่านคอร์สอานาปานสติ 16 ขั้นสายสวนโมกข์ สามารถนำมาใช้ร่วมได้) และไม่มีผู้นำปฏิบัติ ให้ปฏิบัติส่วนตัวกันเอง จึงเหมาะสำหรับผู้มีพื้นฐานการปฏิบัติอยู่แล้ว ทางวัดไม่ถึงกับให้ปิดวาจา แต่ก็ไม่ควรจับกลุ่มคุยกันหรือชวนใครพูดด้วย อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติธรรมของผู้อื่น
  • การแต่งกาย ผู้ชาย (อุบาสก) สวมเสื้อและกางเกงสีขาวทั้งชุด ผู้หญิง (อุบาสิกา) เสื้อสีขาว ผ้าถุงสีดำ ทางวัดมีให้ยืม แต่ควรเตรียมไปเองจะดีกว่า
  • ภาษา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร และสวดมนต์ แต่อย่างไรก็ตาม พระภิกษุหลายรูปสามารถพูดภาษาไทยกลาง และไทยอีสานได้ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาในการสื่อสาร
  • ที่พัก มีทั้งกุฏิเดี่ยวและกุฏิรวมอยู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีน้ำ ไฟ ห้องน้ำ พัดลม มีที่ซักผ้า ตากผ้า สำหรับผู้หญิง ที่พักแบ่งออกเป็น 2 โซน โซนที่ 1 กุฏิจะอยู่ใกล้กัน มีเสาไฟเปิดตอนกลางคืน โซนที่ 2 กุฏิจะอยู่ห่างกันแทบมองไม่เห็นกัน ตอนกลางคืนจะมืดมากเพราะไม่มีเสาไฟเปิด ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะนอนรวมกันที่ชั้น 2 ของโรงครัว หรือกุฏิเดี่ยวหากมีกุฏิว่าง สำหรับผู้ที่พักระยะสั้นก็ให้พักศาลารวม แต่ผู้ที่พักอยู่ระยะเวลานานก็จะได้อยู่กุฏิแยกเป็นส่วนตัว
  • การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารวันละ 1 มื้อ จะมีภาชนะที่เป็นเหมือนกะละมังเล็กๆ ให้ตักอาหาร อาหารมีทั้งอาหารท้องถิ่น และทางฝั่งประเทศตะวันตก เช่น ขนมปัง แซนด์วิช ปะปนกันไปหลากหลายมาก และทานน้ำปานะพร้อมกันอีกครั้งในเวลา 16.00 น.
  • สิ่งของจำเป็นที่ควรนำติดตัวไปขณะไปปฏิบัติธรรม ได้แก่ ไฟฉาย ยาทากันยุง เนื่องจากเป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุง แมลง และมดคันไฟมาก คนที่แพ้ยุง แมลง มด ก็ควรหายาเตรียมยาไปด้วย ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ยารักษาโรคประจำตัว เนื่องจากหน้าวัดไม่มีร้านขายของชำใกล้ๆ วัด ดังนั้น ควรจัดเตรียมของใช้ส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางเข้าไปในวัด
  • การเปิด-ปิดประตูวัด ทางวัดมีเวลาปิดประตูวัดประมาณ 18.00-05.00 น. ดังนั้น ควรเดินทางมาถึงวัดก่อนเวลาดังกล่าว

new ubosod wat pa inter 07

ตารางกิจวัตรประจำวัน ของวัดป่านานาชาติ

  • เวลา 03.00 น. ตีระฆัง สวดมนต์ทำวัตรเช้า และนั่งสมาธิร่วมกันที่ศาลา
  • เวลา 05.00 น. ภิกษุเตรียมตัวออกบิณฑบาต ส่วนอุบาสก อุบาสิกา ทำความสะอาดโบสถ์ และเก็บกวาดใบไม้-ใบหญ้าบริเวณรอบๆ ที่พักและศาลา โรงครัว
  • เวลา 07.00 น. หากประสงค์ก็สามารถไปช่วยจัดอาหารที่โรงครัวได้ เนื่องจากที่วัดไม่มีแม่ชีประจำ ไม่มีการทำครัว ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเอาอาหารมาร่วมทำบุญ หรือเอาวัตถุดิบมาปรุงอาหารในเช้าวันนั้นเลย
  • เวลา 08.00 น. รับประทานอาหาร
  • เวลา 15.00 น. ตีระฆัง กวาดลานวัด
  • เวลา 16.00 น. ดื่มน้ำปานะ
  • เวลา 18.15 น. ตีระฆัง นั่งสมาธิ สวดมนต์ทำวัตรเย็นและฟังธรรม ร่วมกันที่ศาลา
  • เวลา 21.00 น. เข้าที่พักเพื่อนอนพักผ่อน

เวลาที่เหลือจะทำกิจวัตรส่วนตัว และปฏิบัติธรรมด้วยตัวเอง

Ajahn Kevali: Balance in Meditation

สำหรับท่านที่มีญาติ มิตร เพื่อนฝูง ชาวต่างชาติ ที่สนใจจะขอเข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรมกับทางวัดป่านานาชาตินั้น มีข้อควรทราบที่จะต้องแจ้งให้ทางวัดได้ทราบล่วงหน้า ดังนี้

watpananachart4

การขอเข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดป่านานาชาติ

  • เขียนจดหมายขออนุญาตต่อ Guest monk (พระผู้ดูแลแขก) ล่วงหน้า แจ้งชื่อ ที่อยู่ ให้ทราบว่า เป็นใคร มาจากไหน ปฏิบัติแนวไหน จะพักกี่วัน (เป็นภาษาอังกฤษ) ส่งไปตามที่อยู่วัด แล้วรอจดหมายตอบรับก่อน
    ที่อยู่ในการติดต่อทางวัด คือ The International Forest Monastery, Bahn Bung Wai, Warin Chamrab, Ubon Rachathani, 34310, Thailand.
  • ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ในการจะขออนุญาตล่วงหน้า ก็สามารถเดินทางไปที่วัดก่อน แล้วค่อยขออนุญาต Guest monk ก็ได้ เพราะโดยปกติท่านก็มักจะให้การอนุญาตอยู่แล้ว
  • ผู้ชาย อยู่ได้ไม่เกิน 3 วัน ถ้าจะอยู่เกิน 3 วัน ต้องโกนผม (คือ เป็น 'อนาคาริก' สวมชุดขาว ถือศีล 8 โกนผม) เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาพัก เพราะต้องการประหยัดค่าที่พัก สำหรับ ผู้หญิง อยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ได้ ตามแต่เจ้าอาวาสจะอนุญาต มีที่พักแยกอยู่ต่างหาก

watpananachart5

กราบสาธุ

วันที่ 29 ธันวาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูรกิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระครูอุบลภาวนาวิเทศ วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระภาวนาวัชราจารย์"

kewali 05

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : วัดหนองป่าพง | วัดป่านานาชาติ | ฝรั่งกับการนับถือพุทธศาสนา

redline

backled1

LP Saeng header

LP Saeng 01หลวงปู่แสงจันทร์ จันดะโชโต (แสง ญาณวโร)

หลวงปู่แสงจันทร์ จันดะโชโต นามเดิมชื่อ นายแสง ดีหอม เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2467 อำเภอฟ้าหยาด จังหวัดอุบลราชธานี (17 เมษายน 2482 กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อ อำเภอฟ้าหยาด เป็น อำเภอมหาชนะชัย และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2515 อำเภอมหาชนะชัย ย้ายไปขึ้นกับจังหวัดยโสธร จนถึงปัจจุบัน) อุปสมบทเมื่ออายุ 24 ปี วันที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2493 ณ วัดศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมี พระพิศาลสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุพจน์ อุตฺตโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดศรี จนฺทรณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ตามที่ปรากฏในใบสุทธิ)

ท่านได้จำพรรษาและได้ศึกษาหลักธรรมกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และวิเวกธุดงค์ทั้งในประเทศไทย ลาว และพม่า อีกด้วย นับว่าท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ศิษย์ในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่หาบุญมี สิริธโร และหลวงปู่บัว สิริปุณโณ องค์ท่านเป็นผู้มากไปด้วยความเพียรและเป็นผู้ไม่ติดถิ่น เปรียบกับหยดน้ำบนใบบัว ที่ไม่ติดใบบัวฉันนั้น อุปมาอุปมัยกับ ผู้สิ้นกิเลศ หรือเรียกว่า พระขีนาสพ องค์หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ได้เคยยกย่องไว้ว่า "หลวงปู่แสงเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัตชอบองค์หนึ่ง" ท่านเปรียบเสมือนแสงธรรมแห่งอำนาจเจริญ ที่ปกคลุมเมืองอำนาจเจริญให้ร่มเย็นเป็นสุข

LP Saeng 06

การจำพรรษา – วิเวกธุดงค์ และไปมาหาสู่กับพระอริยสงฆ์รูปต่างๆ

  • ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ช่วงบั้นปลายของท่านอาจารย์มั่น ที่อยู่บ้านหนองผือ)
  • หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย (พ.ศ.2494-2496)
  • พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้ร่วมสร้างวัดถ้ำขาม (พ.ศ. 2497)
  • หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย (1 พรรษา)
  • หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (20 พรรษา)
  • ท่านพระอาจารย์แบน ธนากโร ได้ร่วมสร้างกุฏิศาลา ที่วัดธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร

LP Saeng 05

  • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
  • หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี และได้ร่วมธุดงค์ที่ภูวัว
  • หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
  • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
  • หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่วัดดอยหินหมากเป้ง
  • หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จังหวัดอุดรธานี ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่ อำเภอบ้านผือ อำเภอสามพราน และ อำเภอน้ำโสม
  • พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตะโม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ได้วิเวกธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และภูทอก ฯลฯ
  • หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม ได้จำพรรษาด้วยกัน (พ.ศ. 2532 – 2533)
  • ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 – 31 ธันวาคม 2551 จำพรรษาที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • 31 ธันวาคม 2551 – 11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (เสนาสนป่าโคกค่าย) บ้านหนองไฮน้อย ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
  • 11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
  • 21 พฤศจิกายน 2553 จำพรรษาที่วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา) บ้านห้วยฆ้อง ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
  • 3 พฤศจิกายน 2556- 2557 สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
  • พ.ศ. 2558 – วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 หลวงปู่จำพรรษาที่ วัดป่าดงสว่างธรรม ตำบลโคกนาโก อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
  • หลวงปู่แสง ท่านไปจำพรรษาที่วัดป่าวิมุตตาราม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 จนถึงปลายปี 2559
  • ในพรรษาปี 2560 หลวงปู่แสงท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ และได้มีพิธีฉลองสมโภชเจดีย์วัดป่าอรัญญวิเวก เมื่อเดือนสิงหาคม 2560

LP Saeng 02

ฉายา 'จันดะโชโต' หรือ 'ญาณวโร' กันแน่?

หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 ว่า สมัยที่ท่านหนุ่มๆ ท่านได้เดินทางไปธุดงค์ที่ จังหวัดอุดรธานี เพื่อที่จะไปปักกลดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ทางที่จะไปนั้นต้องนั่งเรือข้ามห้วย ห้วยนี้ชื่อว่า “ห้วยหลวง” ขณะที่หลวงปู่ท่านกำลังนั่งเรืออยู่นั้น เรือได้เกิดพลิกคว่ำ ทำให้บาตรของหลวงปู่ได้หล่นน้ำ ซึ่งในบาตรนั้นได้มีสูจิบัตรพระอยู่ด้วย ทำให้สูจิบัตรของหลวงปู่ท่านได้ลอยหายไปกับกระแสน้ำ

หลวงปู่ท่านก็แปลกใจว่า ทำไมจู่ๆ เรือถึงได้เกิดพลิกคว่ำได้ ท่านจึงได้ใช้จิตเพ่งพิจารณาดูจึงพบว่า เป็นวิญญาณเจ้าที่ ที่ยังวนเวียนหวงสมบัติ เพราะที่ใต้หนองน้ำนั้นได้มีสมบัติฝังอยู่ หลวงปู่ท่านจึงได้เอ่ยวาจาว่า “อาตมาเป็นพระ เป็นผู้ทรงศีลจะทำอะไรให้ดูดีๆ หน่อย ประสาสมบัติแค่นี้ ไม่มีอะไรทำให้เกิดความอยากได้หรอก ต่อให้มากกว่านี้อาตมาก็ไม่เอา เจตนาเพียงแค่ข้ามหนองน้ำนี้ไปเพื่อที่จะไปปักกลดเท่านั้นเอง" หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ไปทำสูจิบัตรพระใบใหม่ เพราะสูจิบัตรพระใบเก่าได้หล่นหายไปในหนองน้ำนั้นแล้ว หลังจากทำสูจิบัตรพระใบใหม่เสร็จ หลวงปู่ท่านจึงมาเห็นในภายหลังว่า ได้พิมพ์ฉายาให้ท่านผิดเป็นฉายา “ญาณวโร” โดยแท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้ใช้ฉายา “จันดะโชโต” มาตั้งแต่ต้น

LP Saeng 03

จึงทำให้หลวงปู่ได้ใช้ฉายา "ญาณวโร" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นับเป็นเวลาหลายสิบปี จนล่วงมาปี พ.ศ. 2557 หลวงปู่ท่านได้มอบหมายให้ พระอาจารย์สะเทือน เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม ให้ดำเนินการในการเปลี่ยนฉายาของหลวงปู่กลับมาเหมือนเดิม จาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต” ซึ่งเป็นฉายาที่แท้จริงของหลวงปู่ และหลวงปู่ยังได้กล่าวอีกว่า “จันดะโชโต” มีความหมายว่า “ผู้ที่รุ่งเรือง”

..ให้เชื่อกรรม คือการกระทำ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คนเราเกิดมาแล้วต้องตายกันทั้งนั้น เกิดมาแล้วให้รู้จักสร้างสมคุณงามความดี คนบาป เวลาตายทรมาน คนดีมีศีลธรรม เวลาตายๆแบบสงบ ใครๆก็ต่างสรรเสริญ ยกย่องในคุณงามความดี คนก็แห่แหนไปร่วมงานมาก เพราะความดีที่สร้างไว้ คนเรากลัวแต่ความตาย ไม่กลัวความเกิด เพราะความเกิดนั่นแหละ ทำให้ต้องตาย บางคนก็ตายตั้งแต่คลอดก็มีถมไป ได้เกิดมาก็ให้รู้จักสร้างสมคุณงามความดี บางคนสว่างมา แล้วมืดไป บางคนมืดมาแล้วสว่างไป… ”

หลวงปู่แสงจันทร์กับการปกปักษ์รักษาป่า

LP Saeng 08

มีเรื่องเล่าว่า ก่อนที่จะมีการตั้ง วัดป่าอรัญญาวิเวก หลวงปู่แสงได้เดินธุดงค์มาถึงป่าใกล้บ้านไก่คำในช่วงพลบค่ำ ก็เลยพักปักกลดค้างแรมที่นี่ ระหว่างที่นั่งสมาธิอยู่ในกลดพบลูกแก้วเปล่งประกายแสงสีเขียว ขนาดเท่าผลส้มลอยมาจากต้นไม้ใหญ่ห่างจากท่านประมาณ 20 เมตร แล้วลอยวนเวียนรอบกลด 3 รอบจึงลอยกลับต้นไม้ใหญ่หายวับไป

LP Saeng 04

รุ่งเช้าชาวบ้านไก่คำนำอาหาร คาว หวาน มาถวายพ้อมนิมนต์ท่านให้อยู่ที่นี่ โดยให้เหตุผลว่า อยากให้ป่าเหลืออยู่ เพราะมีชาวบ้านบางคนเข้ามาตัดไม้บ้างแล้ว หลวงปู่แสงท่านตอบตกลง ซึ่งรวมระยะเวลากว่า 20 ปีที่ท่านได้ดูแลรักษาป่าไม้ให้มีสภาพเดิมทุกอย่าง ว่ากันว่า หากใครลักลอบเข้าไปตัดไม้ในเขตวัด ภายใน 3 วันก็จะเจ็บป่วย บางคนถึงกับเสียชีวิต จนชาวบ้านขยาดไม่กล้าเข้าตัดไม้เลยและเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่

วัดป่าอรัญญาวิเวก ปัจจุบันมีพื้นที่ราว 300 ไร่ มีสภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จากความตั้งใจในการอนุรักษ์ผืนป่าของหลวงปู่แสง และลูกศิษย์ จนชาวบ้านเรียกว่า “พระพิทักษ์ป่า” ซึ่งวัดแห่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คธรรมแห่งจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ผู้มีศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนาไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

กระทั่งปี 2550 หลวงปู่แสงได้บอกกับบรรดาลูกศิษย์ว่า จะไปปกป้องรักษาป่าข่า ที่บ้านฆ้อง ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งป่าไม้เหลือน้อยเต็มทีแล้ว โดยใช้เวลาร่วม 3 ปีที่หลวงปู่แสงเข้าไปพัฒนามีความเจริญในระดับหนึ่ง และจัดตั้งเป็นวัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

 LP Saeng 07

หลวงปู่แสง จันดะโชโต (ญาณวโร) ปัจจุบันสิริอายุปีที่ 97 พรรษา 75 (บางคนเล่าว่าจริง ๆ แล้วท่านอายุ 105 ปี เพราะสมัยนั้นแจ้งเกิดช้า) จำพรรษา ที่ วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ตำบลโคกนาโก อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

redline

backled1

LP Si Siriyano header

หลวงปู่สี สิริญาโณ

หลวงปู่สี สิริญาโณ "พระมหาเถระผู้เดินตามรอยธรรมพระโพธิญาณเถร" แห่งวัดป่าศรีมงคล (วัดป่าบ้านเปือย) อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี เจริญอายุวัฒนมงคลครบ 98 ปี เมื่อวันนี้วันที่ 23 พฤษภาคม​ 2565 ท่านเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่เคยได้ออกธุดงค์ติดตามหลวงพ่อชา ไปตามป่าเขาในที่ต่างๆ ด้วยกัน ปัจจุบันนับได้ว่า ท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีพรรษามากที่สุดในบรรดาศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่ยังดำรงค์ธาตุขันธ์อยู่

LP Si Siriyano 11

LP Si Siriyano 01ชาติกำเนิดของท่าน

หลวงปู่สี สิริญาโณ มีนามเดิมว่า นายสี นามนาง เกิดเมื่อวันที่ 23 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2467 ตรงกับ วันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 6 ปี ชวด ที่บ้านเปือย หมู่ที่ 3 ตำบลโนนกาเล็น อำเภอวารินชำราบ (ปัจจุบันขึ้นอยู่กับ อำเภอสำโรง) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของโยมพ่ออินทร์ - โยมแม่นาง นามนาง มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน 9 คน โดยท่านเป็นบุตรชายลำดับที่ 2 ของครอบครัว ชีวิตในวัยเด็ก เด็กชายสี นามนาง เป็นเด็กที่อยู่ในโอวาทของพ่อ-แม่ ว่านอนสอนง่ายเสมอ ด้วยเหตุที่ เด็กชายสี เป็นคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างผี คือ พี่สาวและน้องชาย ที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงทำให้เด็กชายสีได้เป็นพี่คนโตของน้องๆ โดยปริยาย คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้นเรียกเด็กชายสี ว่า เป็นคนหามผี หรือหาบผี

ในฐานะที่เป็นพี่คนโต เด็กชายสี จึงมีหน้าที่รับผิดชอบมากกว่าน้องคนอื่นๆ หน้าที่หลักคือ งานเลี้ยงควาย ทำไร่อ้อย และหาอาหาร ควายกินหญ้าทุกวันก็ต้องไปเลี้ยงทุกวันไม่มีวันจบสิ้น และทุกๆ วันที่ไปเลี้ยงควาย เด็กชายสีก็จะหาอาหารไปด้วย เพื่อมาเป็นอาหารสำหรับครอบครัว ด้วยความอัตคัดขัดสนนี่เองที่ทำให้เด็กชายสีต้องขยันอดทน ว่องไวใจกล้า แก้ปัญหาเป็น เมื่อวันใดครอบครัวขาดเขิน "ข้าวขาดแลง แกงขาดหม้อ" เด็กชายสีก็จะแบ่งห่อข้าวที่ไปเลี้ยงควายไว้ครึ่งหนึ่ง เพื่อเก็บไว้กินตอนเย็น ซึ่งเป็นการช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง อย่างน้อยอาหารมื้อเย็นในส่วนของตนน้องก็อิ่มได้หนึ่งคน

ชีวิตเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม เมื่อน้องโตขึ้นพอที่จะเลี้ยงควายแทนได้แล้ว นายสีก็เอาใจใส่ในการดูแลไร่อ้อยเป็นหลัก จะเป็นคนที่มีรูปร่างเล็ก แต่ก็แข็งแรง บึกบึน ขยัน อดทน กระฉับกระเฉง ว่องไว ไฟแรง ชอบแสวงหารู้จากรุ่นพี่ คนเฒ่า คนแก่เป็นประจำ จึงได้ฝึกหัดงานช่างจักสานและช่างไม้ด้วย สมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนจึงได้อาศัยพระ-เณรในวัดเพื่อจะได้เล่าเรียนเขียนอ่านหวังจะให้ตัวเองอ่านออกเขียนได้

LP Si Siriyano 08

ในแต่ละวันจะต้องออกไปดูแลถากถางดายหญ้าในไร่อ้อยที่มีอยู่ประมาณ 3 ไร่ ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษในช่วงต้นอ้อยยังเล็ก ต้องถอนหญ้า พรวนดิน ใส่ปุ๋ยจนกว่าจะโตสมบูรณ์ เมื่อต้นอ้อยโตแล้วจึงมีเวลาว่าง ก็จะถางป่าเพิ่มขยายไร่อ้อยไปอีก จนวันหนึ่ง "ขวาน" ที่ใช้ถางป่า ได้ฟันเข้าที่เท้าซ้ายจนเป็นรอยแผลเป็นถึงปัจจุบัน พอตกเย็น นายสีก็จะไปพูดคุยเล่นกับคนเฒ่า คนแก่ในหมู่บ้าน ด้วยความขยันขันแข็งในการงาน หลายๆ คนจึงชอบพอรักใคร่ บางคนก็อยากได้มาเป็นเขยด้วยซ้ำ

การทำไร่อ้อยของนายสี เป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัว ที่เหลือก็จะเก็บไว้ซื้อนา ซื้อควาย ซึ่งในสมัยนั้นถ้าใครมีนามากหรือมีควายมาก ก็ถือว่ามีฐานะดีร่ำรวย เมื่ออ้อยโตเต็มที่ก็ตัดเอาไปบดคั้นเอาแต่น้ำเพื่อเอาไปต้มเคี่ยวให้เหลวเหนียว จากนั้น จึงนำมาปั้นเป็นก้อนตากให้แห้ง เพื่อนำไปขายที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ขณะนั้นมีราคากิโลกรัมละ 25 สตางค์ 4 กิโลกรัม ได้ 1 บาท และ 12 กิโลกรัมก็จะได้เงินแค่ 3 บาท (ในยุคนั้นเงินมีค่ามากกว่าปัจจุบันหลายเท่านัก)

อยู่มาวันหนึ่ง ความคิดของนายสีก็เริ่มเปลี่ยนไป เกิดความเบื่อหน่ายกับการงานที่ทำ จำเจไม่จบไม่สิ้น อยากจะบวชเรียนเขียนอ่าน หาความรู้ใส่ตัว จึงพูดทีเล่นทีจริงกับพ่อแม่ว่า "อยากไปอยู่วัด คัดทหารแล้วไปบวช" พ่อแม่ยังไม่อยากให้บวช เพราะนายสีเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว เพื่อเติมเต็มให้น้องๆ ได้เติบใหญ่สมบูรณ์ได้เป็นอย่างดี เมื่อถึงอายุ ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ชายไทยทุกคนต้องรับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารกองเกิน ผลการตรวจเลือกออกมาว่า ไม่ต้องเป็นทหาร ทั้งพ่อ-แม่และนายสีต่างก็โล่งใจ

อยู่ต่อมา ความฝันที่คิดจะบวชก็ใกล้ความจริง เมื่อพ่อพานายสีไปฝากเป็นศิษย์วัดกับหลวงพ่อกลม เจ้าอาวาสวัดบ้านเปือย หมู่ 3 ตำบลโนนกาเล็น อำเภอวารินชำราบ (อำเภอสำโรง ในปัจจุบัน) จังหวัดอุบลราชธานี นายสีจึงมีโอกาสศึกษากฎระเบียบ วินัย กิจวัตรประจำวันของสงฆ์ และท่องหนังสือ 7 ตำนาน พอถึงวันที่กำหนดบวชก็จัดงานบวชให้ ท่ามกลางความปีติยินดี ของญาติพี่น้องทุกคนโดยเฉพาะนายสีเอง เพราะมีจิตศรัทธาแรงกล้าที่คิดจะบวชมานานแล้ว

LP Si Siriyano 07

เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

นาคสี ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุ 21 ปี เมื่อวันที่ 19 เดือน กรกฎาคม พุทธศักราช 2488 ที่ สิมวัดบ้านเปือย (สิม เป็นศาลากลางน้ำใช้ในการทำสังฆกรรม เช่น การบวชพระ - บวชเณร เป็นต้น ในกรณีที่วัดยังไม่มีโบสถ์ถาวร) สมัยนั้นวัดบ้านเปือยยังไม่มีโบสถ์ โดยมี พระครูศรีระสุนทร (ทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อสงค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า "สิริญาโณ" เมื่อบวชได้ 3 พรรษา ตามประสาพระหนุ่มไฟแรงก็อยากเรียนโน่นเรียนนี่ เรียนคาถาอาคมบ้าง ตามความนิยมในสมัยนั้น จึงไปเรียน "สนธิ มูลกระจาย" แต่ก่อนเรียกว่า "เฮียนสนเฮียนนาม" (ศาสตร์ชั้นสูง พระไตรปิฎก หลักไวยากรณ์ ภาษาบาลี - มคธ) ที่สำนักวัดบ้านโพธิ์ ตำบลโพธิ์ อำเภอกันทรารมย์ (ปัจจุบันอยู่ใน อำเภอโนนคูณ) จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี ญาถ่านพิมพ์ โพธคุณ กับ พระครูโสภณ เจ้าอาวาสวัดบ้านโพธิ์ เป็นครูอาจารย์

นอกจากนั้นยังเรียนปริยัติและบาลี สอบได้นักธรรมชั้นโท ต่อมาคิดอยากจะท่องปาฎิโมกข์ จึงหาหนังสือมาท่องประมาณ 2 เดือนเศษ ก็ท่องได้ขึ้นใจ พระสี บวชได้ 3 พรรษา หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดบ้านเปือยก็มรณภาพ พระสีก็รักษาการแทนต่อมา พระสีเป็นพระที่มีความมุมานะ ชอบทำงานใหญ่พาญาติโยมบ้านเปือย กั้นน้ำร่องชี - ร่องบักยาง (ห้วยควร) ถ้าไม่มีความขยันอดทนสูงจะทำไม่ได้แน่ เพราะบริเวณนี้มีพื้นที่กว้างและยาวมาก และยังใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา แสวงหาพระเถระผู้ใหญ่ ที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อจะขอเป็นศิษย์และศึกษาธรรมะด้วย จนในละแวกเขตใกล้เคียงไม่มีที่ใดน่าไปศึกษา พระผู้ใหญ่ก็ไม่มีอะไรจะสอนอีก กระทั้งปี พ.ศ. 2495 ขณะนั้นพระสีบวชได้ 8 พรรษา มีความรู้มากขึ้น อายุมากขึ้น และพรรษามากขึ้น ญาติโยมก็เริ่มเรียกพระสีว่า "พระอาจารย์สี" สุดท้ายก็เรียก "ญาถ่านสี"

ญาถ่านสี นอกจากจะขยันหมั่นเพียรศึกษาธรรมะ หาความรู้ และยังช่วยงานพระอุปัชฌาย์ทามาตลอด จนได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษ พระอุปัชฌาย์ทา จึงคิดที่จะให้ญาถ่านสีมาเป็นอุปัชฌาย์แทนตน เพราะอายุมากแล้ว แต่ยังไม่พูดอะไร และในปีนี้เอง (2495) ญาถ่านสีคิดอยากเปลี่ยนไปสถานที่ไกลๆ เผื่อจะได้มีโอกาสพบปะ พระเถระผู้ใหญ่ พอจะศึกษาธรรมะด้วย จึงตัดสินใจไปที่บ้านคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ที่นี้เป็นเวลา 4 ปี แต่จำพรรษาจริงๆ แค่ 2 พรรษา ช่วงที่อยู่วัดคอแลน ได้พาพระเณร ญาติโยมพัฒนาวัด สร้างศาลา กุฏิให้กว้างขวางขึ้น เพราะศาลาหลังเก่าคับแคบไม่พอที่จะให้โยมมาทำบุญ เจ้าคณะอำเภอบุญฑริกเห็นว่า ญาถ่านสี เป็นพระที่มีความรู้ ความสามารถ เลยจะแต่งตั้งให้เป็น เจ้าหน้าที่ผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาของอำเภอบุญฑริก แต่ ญาถ่านสี ไม่ชอบในลาภยศสรรเสริญ จึงไม่ขอรับตำแหน่งและกลับมาที่บ้านเปือยในปี พ.ศ. 2498

LP Si Siriyano 06

คราวนี้ ญาถ่านสี คิดที่จะสร้างโบสถ์วัดบ้านเปือย จึงปรึกษาหาหรือกับผู้นำหมู่บ้านตอนนั้นมี พ่อใหญ่ดี (ด่าง) กุลบุตรดี เป็นผู้ใหญ่บ้านท่านมีธุระมาก ไม่มีเวลาที่จะดูแลการก่อสร้างโบสถ์ได้ จึงยังไม่ให้สร้างเลยต้องล้มเลิกไป ญาถ่านสี เสียความตั้งใจ จึงออกท่องเที่ยวไปในเขตตำบลอื่น จึงได้มาพบกับหลวงพ่อพระครูวัด วัดบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และสนทนากันเรื่องธรรมะ หลวงพ่อพระครูวัดบุ่งหวาย จึงได้หยิบหนังสือธรรมะของเจ้าคุณพุทธทาส มาอ่านให้ฟัง ท่านเกิดความรู้สึกชอบในหนังสือเล่นนั้นเพราะมีแต่ธรรมดีๆ คิดอยากจะเห็นหน้าท่านเจ้าคุณพุทธทาสขึ้นมา จึงตัดสินใจเดินทางไปที่ วัดสวนโมกข์พลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับอาจารย์ศักดิ์ เมื่อไปถึงเข้ากราบนมัสการท่านเจ้าคุณพุทธทาส เพื่อฝากเนื้อฝากตัว และแจ้งวัตถุประสงค์การครั้งนี้ พอเริ่มศึกษาไปได้พักหนึ่งจิตใจเริ่มไม่ชอบ คำเทศน์คำสอนของท่านดีมีสาระ แต่ไม่ชอบที่ไม่ถือวินัย เช่น การขุดดิน พรากของเขียวด้วยตัวเอง เป็นต้น จึงขอกราบลาท่านเจ้าคุณพุทธทาสกลับสู่อุบลราชธานี ดังเดิม

เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้พบกับพระอาจารย์อินทร์ ซึ่งเป็นคนชอบฟังธรรม ที่ไหนมีการแสดงธรรมเทศนาของพระดังๆ ก็จะเดินทางไปฟังเป็นประจำ ขณะนั้น วัดหนองป่าพง เริ่มมีคนรู้จัก หลวงปู่ชา สุภัทโท เริ่มมีคนกล่าวถึง ในสาระเนื้อหาการแสดงพระธรรมเทศนาของท่าน พระอาจารย์อินทร์จึงชวนญาถ่านสีไปฟังธรรมหลวงปู่ชา ที่วัดหนองป่าพง เดินทางโดยทางเท้าเพราะยังไม่มีถนน มีแต่ทางเกวียนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน บางหมู่บ้านก็ไม่มีเลย ต้องเดินลัดเลาะตามป่าละเมาะ ทุ่งไร่ ทุ่งนา ใช้เวลาเดินทางเกือบค่อนวันจึงลำบากพอควร พอไปถึงวัดหนองป่าพง เข้าไปกราบหลวงปู่ชา บอกท่านว่า อยากมาฟังธรรมครูบาอาจารย์ (สมัยนั้นพระชอบเรียก-พระผู้มีพรรษามากกว่าว่า ครูบาอาจารย์) ปีนั้นคนฟังธรรมยังไม่มีมาก จึงมีเวลาสนทนาเรื่องธรรมะมากพอสมควร

วันนั้นหลวงปู่ชาได้เทศน์เรื่อง อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น และเรื่องของการปล่อยวางอุปาทาน การไม่ยึดมั่นถือมั่นความเป็นอนัตตา ญาถ่านสีได้ฟัง เกิดความคิดขัดแย้งขึ้นในใจ และด้วยมานะทิตฐิในตัวที่เข้าใจว่า ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมาเหมือนกัน จึงถ่ามขึ้นว่า

ญาท่านสี "แล้วที่ครูบาอาจารย์ ฉันในบาตร อยู่ในป่า ห่มผ้า 3 ผืน มันบ่แม่นการมีอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นบ้อ"

หลวงปู่ชาจึงพูดว่า "เอ๋า.....! เป็นจังได๋ว่าไปเบิ่ง"

ญาถ่านสีจึงได้พูดว่า "การฉันในบาตร บ่ยอมฉันในภา อยู่แต่ในป่าบ่อยู่ในบ้าน ถือผ้าแค่ 3 ผืน บ่ยอมเปลี่ยนแปลง ถึงสิมีผู้หามาถวาย กะบ่ยอมเปลี่ยน ยังคงเฮ็ดคือเก่า แล้วสิบ่ให้เอิ้นว่า อุปาทานได้จักได๋"

หลวงปู่ชา "ท่านเคยไปตลาดบ่" ญาถ่านสีตอบ "เคย"

หลวงปู่ชา "เห็นคนเขาซื้อกล้วยบ่" ญาถ่านสี "เห็น"

หลวงปู่ชา "เขาซื้อกล้วยเขาปอกเอาแต่เนื้อมันบ้อมา เปลือกเขาบ่กิน เขาเอาอยู่บ้อ เป็นหยังเขาจังเอาเปลือกมันมานำ เป็นหยังเขาบ่เอาเปลือกมันถิ่ม เอาแต่เนื้อมันมา มันกะเป็นแนวของมันจังซี่ อันนี้มันกะคือกัน อันนี้กะแนวของพระกรรมฐาน บ่แม่นแนวเอา เป็นแนวใช้ มันกะเป็นของมันแนวนี้"

แล้วหลวงปู่ชาจึงได้เทศน์อธิบายเรื่องของการประพฤติปฏิบัติ และธรรมะนานพอสมควร ท่านได้ฟังแล้วทำให้จิตใจสงบเยือกเย็นลง เกิดความเคารพศรัทธาในหลวงปู่ชาขึ้นมา (หลวงปู่ชาได้พูดกับญาถ่านสีภายหลังว่า "เทศนาวันนั้น พลิกแผ่นดินเทศน์เลยนะ")

LP Si Siriyano 02

หลังจากได้ฟังธรรมแล้ว ทำให้ท่านเกิดความศรัทธาอยากประพฤติปฏิบัติ จึงได้กลับมาสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นมาที่บ้านเปือย (ปัจจุบันคือ ที่ตั้งโรงเรียนบ้านเปือย) จากนั้นก็เข้าไปฟังธรรมจากหลวงปู่ชาอยู่เนืองๆ มิได้ขาด จนมั่นใจว่าทางนี้แหละที่ท่านจะก้าวเดินต่อไป ท่านคิดว่า การที่จะไปอยู่วัดหนองป่าพงดื้อๆ ง่ายๆ นั้น ไม่ได้แน่ เพราะผู้ใหญ่ดี (ด่าง) เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านเปือยสมัยนั้นเป็นคนที่อิทธิพลมีอำนาจมาก สั่งอะไรต้องได้หมดไม่มีใครไม่เกรงกลัวผู้ใหญ่ดี

ญาถ่านสีจึงคิดหาอุบายที่จะไปจึงคิดว่า ต้องสร้างโบสถ์วัดบ้านเปือย เมื่อสร้างเสร็จก็จะย้ายที่อยู่หรือไปจำพรรษาที่อื่นก่อน จึงจะกลับมาที่เดิมได้ เพราะตามประเพณีธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์ รูปใดสร้างถาวรวัตถุ อะไรแล้วเสร็จต้องย้ายไปจำพรรษาที่อื่น ช่วงจังหวะนี้คงพอจะมีโอกาสไปวัดหนองป่าพงได้ พอคิดได้ก็เริ่มวางแผนงานดูสถานที่ จุดที่จะสร้างพร้อมทั้งโครงการ กำหนดไว้ 5 ปีต้องแล้วเสร็จ และในการสร้างโบสถ์ครั้งนี้ มีการกำหนดไว้ว่า ชาวบ้านเปือยครัวเรือนใด ที่มีคนหนุ่มคนสาวอยู่ในครอบครัวจะต้องจายเงินช่วยสร้างโบสถ์ ใช้ดินบริเวณร่องชี ตัดต้นไม้ในป่าสาธารณะ (ป่าช้า) ใกล้ๆ มาเป็นเชื้อเพลิงในการเผาอิฐ ในปี พ.ศ. 2505 เริ่มเผาอิฐ วางผังตอกเสาเข็มเทคาน ก่ออิฐ จนการสร้างโบสถ์แล้วเสร็จสมบูรณ์ในต้นปี พ.ศ. 2509 เสร็จตามกำหนด 5 ปี

LP Si Siriyano 12

จากนั้นชาวบ้านโคก (บ้านดอนผึ้ง) ก็มานิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่วัดบ้านโคก เพื่อเป็นการย้ายที่อยู่ หลังจากสร้างโบสถ์เสร็จ จำพรรษาอยู่วัดบ้านโคก 2 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2510-2511 สมัยที่ท่านอยู่วัดบ้านโคก ก็ได้พาพระ เณร ญาติโยม สร้างศาลา 1 หลัง กุฏิ 1 หลัง เพราะญาติโยมบ้านโคกเริ่มจะเข้าวัด ท่านไม่ใช่คนนิ่งดูดาย มีเวลาก็จะเข้าไปศึกษาธรรมะกับหลวงปู่ชา และระยะหลังๆ นี้ เริ่มถี่ขึ้นเรื่อยๆ

ในคืนวันหนึ่งที่วัดบ้านโคก วันนั้นเป็นคืนธรรมสวนะ หลังจากทำวัตรเสร็จญาติโยมลากลับบ้านกันหมด เหลือแต่ท่านอยู่พับพระลูกวัด ท่านจึงเข้าพักในกุฏินั่งสมาธิ ภาวนาตามดูจิตเองนึกคิด สมัยนั้นท่านยังไม่ได้ฝึกหัดศึกษาการทำสมาธิภาวนาอย่างถูกต้องและเข้าใจพอ นั่งไปถึงเวลาตีหนึ่ง ตีสอง จิตเกิดความสงบสบายใจและว่างเปล่า จึงนั่งต่อไปอีกจนถึงตีสาม ตีสี่ ตอนหลังเกิดความผิดปกติจิตใจว้าวุ่น ไม่สงบ กระวนกระวายเหมือนจะเป็นบ้า กลัวธรรมจะแตก เหมือนโบราณว่า

พอรุ่งเช้าวันใหม่ หลังจากฉันภัตตาหารเช้าเสร็จ จึงชวนญาติโยมออกเดินทางไปหาหลวงปู่ชา ที่วัดหนองป่าพง ในเวลาช่วงบ่ายๆ ขณะนั้น หลวงปู่ชากำลังมีแขกอยู่พอดี จึงเข้าไปกราบ หลวงปู่ชาจึงถามญาถ่านสีว่า "มีเหตุฮ้อนประการแท้สิ่งใด๋น้อ" (มีเหตุเดือดร้อนอะไร) ท่านจึงเล่าเรื่องการนั่งสมาธิภาวนาให้ฟัง ว่ามันเหมือนจะเป็นบ้า แล้วถามหลวงปู่ชาว่า "มันเป็นเพราะหยังครูบาอาจารย์"

หลวงปู่ชาตอบทันทีว่า "มันเป็นภวตัณหากะบ่ฮู้จัก" เพราะการที่อยากได้โนนได้นี่ เป็นนั้นเป็นนี่ เป็นตัณหา พอได้ฟังท่านก็เกิดความกระจ่างสว่างขึ้นในใจ ความวิตกกังวลก็พลันหายไป หลวงปู่ชาจึงพูดกับท่านว่า "ถ้าบ่มาอยู่กับผมบ่เป็นด่อก" เพราะท่านมาติดขัดที่การปฏิบัติ การภาวนาต้องฝึกหัดปฏิบัติจริงๆ มันจึงจะเป็นญาถ่านสีตัดสินใจว่า จะต้องอยู่ปฏิบัติให้ได้

พอกลับถึงวัดบ้านโคก ความก็รู้ถึงพระอุปัชฌาย์ทาว่า ญาถ่านสีจะหนีไปอยู่วัดหนองป่าพง ท่านจึงไม่สบายใจ เพราะความตั้งใจที่จะให้ญาถ่านสีมาเป็นอุปัชฌาย์แทนตน วันต่อมาจึงให้ญาติโยม บ้านโพนงาม และบ้านโพนเมือง จัดเตรียมเกวียน 9 เล่ม มารับญาถ่านสีไปเป็นอุปัชฌาย์ ตามคำสั่งของอุปัชฌาย์ทา ส่วนผู้ใหญ่ดี บ้านเปือย ก็เข้ามาขวาง ชาวบ้านโคกก็หวงไม่อยากให้ไป ญาถ่านสีก็เลยพูดขึ้นว่า "หลายทางโพด จักสิไปทางใด๋ สิตัดสินใจเองดอกมื้อแลง" พอตกตอนเย็น ญาถ่านสี ก็ไปหาอุปัชฌาย์ทา ที่วัดบ้านโนนกาเล็น เพราะวันนั้นท่านไปธุระที่บ้านโพนเมืองบ้านเกิดของท่านอุปัชฌาย์ ญาถ่านสีจึงกลับมาวัดบ้านโคกโดยไม่พูดอะไรเพราะตัดสินใจแล้ว

เช้าวันต่อมาจึงเดินทางไปวัดหนองป่าพง พร้อมญาติโยมคณะหนึ่งได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อฝึกหัดปฏิบัติกรรมฐานในวัดหนองป่าพง ซึ่ง หลวงปู่ชา ก็ให้ความอนุเคราะห์เมตตารับเป็นศิษย์ โดยไม่ต้องเป็นพระอาคันตุกะอีกต่อไป ในปี พ.ศ. 2511 หลวงปู่ชาได้บอกกับคณะสงฆ์วัดหนองป่าพง ในขณะนั้นเลยว่า "พระรูปนี้เคยเข้ามาศึกษาธรรมะกับผมมานานแล้ว ผมจะรับรองเอง"

หลวงปู่สี สิริญาโน - เทศน์โปรดญาติโยมที่วัดป่าศรีมงคล

เริ่มต้นเส้นทางธรรมสายใหม่

เมื่อท่านมาอยู่วัดหนองป่าพงแล้ว เกิดความประหม่า กระวนกระวาย เพราะยังไม่คุ้นเคยกับกลิ่นไอของป่าใหญ่ที่เยือกเย็น จากการเป็น ญาถ่านสี กลับมาเป็น พระสี หรือ พระอาจารย์สี อีกครั้ง มันรู้สึกเขินๆ แต่ด้วยพระอาจารย์สี เป็นพระที่มีพรรษามากกว่าพระสงฆ์รูปอื่นๆ ในขณะนั้น จึงได้นั่งต่อจากหลวงปู่ชา เพราะฉะนั้นการทำอะไรทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการขบฉัน การวางตัว จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงเป็นเหตุให้ได้ฝึกสมาธิเบื้องต้น ระยะแรกๆ มีความลำบากพอควร เพราะข้อปฏิบัติแตกต่างกับที่เคยปฏิบัติมา ในขณะนั้นท่านจึงเปรียบเสมือนพระที่บวชใหม่ ที่ต้องฝึกหัดและทำความเข้าใจใหม่

วันหนึ่งญาติโยมทางบ้านเปือย ได้ไปเยี่ยมท่านที่วัดหนองป่าพง พอไปถึง ก็เข้ากราบหลวงปู่ชา จึงถามหาญาถ่านสี หลวงปู่ชาตอบว่า "บ่มีดอก ญาถ่านสี มีแต่พระบวชใหม่" พระอาจารย์สีได้พบกับญาติโยมบ้านเปือยที่ไปเยี่ยมเยียน จึงพูดเล่นๆ ว่า "ข่อยบวชใหม่แล้วใด๋ หลวงปู่ชาบวชให้" เพราะต้องปฏิบัติใหม่หมด จนบางครั้งเกิดความท้อแท้ แต่ด้วยการเป็นพระที่มีพรรษามาก ทั้งยังมีความขยันอดทนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ด้านการศึกษาปฏิบัติ ก็ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เริ่มเคยชินกับสภาพที่อยู่ใหม่ที่แสงสว่างไสว ให้ก้าวเดินไปตามความปรารถนา สู่เส้นทางธรรมอันทรงคุณค่าของพระอาจารย์สี สิริญาโณ ผู้เปลี่ยนเส้นทางตัวเองสู่ทางวิปัสสนากรรมฐาน ได้อย่างถูกต้องบรรลุผล

ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดหนองป่าพงได้ 3 พรรษา การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ในสาขาต่างๆ คณะสงฆ์จึงเรียกคำนำหน้าเป็น หลวงพ่อสี เพราะอายุและพรรษามากแล้ว เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2513 ต้นปี พ.ศ. 2514 หลวงปู่ชาได้พาหลวงพ่อสี และพระเณร ไปทำทางขึ้นที่ สำนักสงฆ์วัดถ้ำแสงเพชรบน ซึ่งแต่ก่อนชาวบ้านเรียกว่า "ถ้ำวัวนอน" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภออำนาจเจริญ (จังหวัดอำนาจเจริญ) การทำถนนขึ้นไปด้วยความลำบาก อุปกรณ์เครื่องมือ ตามมีตามได้ ไม่มีเครื่องทุนแรง มีแต่จอบเสียมชะแลง บุ้งกี่ ที่สำคัญที่สุดคือกำลังแรงกายและความอดทน ในวันที่มีแสงเดือนก็ทำกลางคืนด้วย ที่พักก็อยู่ตามพะลานหินและชะง่อนผา เมื่อทำถนนขึ้นเสร็จ พอที่พระเณรจะใช้ประโยชน์ได้แล้ว จึงกลับมาวัดหนองป่าพง

หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2514 หลวงปู่ชาได้มอบหมายให้หลวงพ่อสีไปดูแลรักษาป่าวนอุทยาน ซึ่งทางการกำลังสร้างเขื่อนสิรินธร ท่านไปกับพระ 1 รูป ผ้าขาว 1 คน พอไปถึงที่นั้นยังไม่มีอะไรเลย กุฏิก็ไม่มี ตอนนั้นเป็นปลายฝนต้นหนาว วันหนึ่งฝนตกลมแรง ต้องอาศัยซอกหินเป็นที่หลบฝน วันหลังหลวงปู่ชาจึงให้โยมพ่อจวน พ่อคูณ นำเต็นท์มาให้ พ่อจอม พ่อคูณ ได้ช่วยกันเกี่ยวหญ้าคาไปทำกุฏิชั่วคราวพอได้อาศัย และหาเรือไว้ให้ใช้ 1 ลำ หลายวันต่อมาหลวงปู่ชาจึงมาเยี่ยม พร้อมเรือลำใหญ่กว่าเดิมไว้ให้ใช้ 1 ลำ เพราะถ้าลำเล็กอาจจะเป็นอันตราย เมื่อมีฝนตกลมแรงเวลาออกบิณฑบาต

LP Si Siriyano 05

การบิณฑบาตก็ลำบาก หมู่บ้านอยู่ไกลๆ ส่วนหลวงพ่อสีจะเดินไปบิณฑบาตที่ช่องเม็ก ทั้งไปและกลับประมาณ 18 กิโลเมตร กว่าจะกลับมาถึงที่พักก็สายมาก วันไหนโชคดีหน่อยมีรถทหารมาเจอ เขาก็รับไปส่งที่พัก ระยะหลังญาติโยมเริ่มรู้จักว่า มีพระมาอาศัยอยู่ป่าแห่งนี้ และเริ่มทยอยกันมาช่วยทำงาน และอุปถัมภ์ตามกำลังศรัทธา

ต่อมาหลวงปู่ชาจึงได้ส่งพระเณรและแม่ชีมาอยู่ด้วย หลวงพ่อสีก็ได้พาพระเณร และญาติโยมสร้างศาลานาบุญขึ้น 1 หลัง เป็นศาลาไม้ยกสูงจนแล้วเสร็จ พื้นที่นั้นจึงตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมา ชื่อว่า "วัดป่าโพธิญาณ" หรือ วัดเขื่อนสิรินธร ที่หลายคนชอบเรียก ในคืนวันหนึ่งหลวงพ่อสีนั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ คืนนั้นฝนตกหนักลมแรง ต้นไม้ใหญ่ได้โค่นล้มทับกุฏิที่หลวงพ่อสีพำนักพังลงทั้งหลัง พอรู้สึกตัวก็คิดว่า "เฮาตายหรือยัง" และคิดต่อไปว่า ถ้าตายก็สบายไม่เจ็บ ถ้ายังไม่ตายก็จะเดินออกไป ถ้ามีคนถามก็แสดงว่ายังไม่ตาย

ต่อจากนั้นหลวงพ่อสีจึงได้ถือบาตรจีวรเดินออกจากกุฏิ พอเดินไปได้สักพัก โยมได้ถามขึ้นว่า "หลวงพ่อสิไปไส" หลวงพ่อสีอุทานขึ้นว่า "ฮึอ! ยังบ่ตาย" โยมจึงถามต่อว่า "หลวงพ่อเป็นจังได๋ต้นไม่ใหญ่ล้มทับ" หลวงพ่อสีตอบว่า "นึกว่าตายแล้ว ถ้าบ่ตายย่างไปคือสิมีคนถามยุ" หลวงพ่อสีอยู่ที่วัดป่าโพธิญาณนี่สองปีเศษ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2514 ถึงปลายปี พ.ศ. 2516 (ไปเป็นหมู่ลิง อยู่หั่นสองปี หลวงปู่เล่าให้ฟัง) หลวงพ่อสีได้ถือโอกาสกลับมาเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ และญาติพี่น้องทุกคนว่า สุขสบายดีหรือไม่ วันนั้นหลวงพ่อสีขอนอนพักที่บ้านเปือยสักคืน

แต่ความเคยชินที่ หลวงพ่อสี เคยอยู่ป่ามาหลายปี หลวงพ่อสีจึงพาญาติโยมคณะหนึ่ง เพื่อสำรวจสถานที่พักปักกลดในคืนนั้น จึงไปสำรวจที่ดอนปู่ตา หรือป่าดงกุด เป็นบริเวณกว้างมีหนองน้ำใหญ่กลางป่า มีคนเคยเข้าไปในป่าได้เห็นจระเข้ใหญ่เชื่อกันว่าเป็น เจ้าที่ ถ้ามีใครไปลักขโมยล่าสัตว์ป่าและไม่ขออนุญาต บางคนถึงกับลอยบก (เพราะเห็นพื้นที่ดินเป็นพื้นน้ำ) จึงทำให้ชาวบ้านเกรงกลัวไม่กล้าเข้าไปคนเดียวกลัวเป็นอันตราย ในบริเวณนั้นชาวบ้านเคารพนับถือ เวลาชาวบ้านที่ผ่านไปบริเวณนั้นจะเก็บดอกไม้บอกทุกครั้งทุกคน เพราะกลัวตนเองจะมีภัย และมีเสาลักษณะแหลวฝังไว้เป็นสัญลักษณ์ "ปัจจุบันเสานั้น นำไปฝังไว้ใกล้ๆ รูปเหมือนหลวงปู่"

LP Si Siriyano 03

แล้วคืนนั้นหลวงพ่อสี ก็ได้ปักกลดในบริเวณนั้น เป็นบริเวณโคนส้มป่อย (โพนส้มป่อย) ไกลจากกุดหินแห่ไม่มาก นับเป็นการปักกลดครั้งแรกของท่านกลางดงกุดหินแห่แห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2514 "ปัจจุบันจุดที่พักปักกลดนี้ เป็นที่ตั้งรูปเหมือนหลวงปู่" ต่อมาจึงเดินทางกลับวัดหนองป่าพงแล้วจำพรรษาต่อ ชาวบ้านเปือยเมื่อเวลาทราบว่าหลวงพ่อสีกลับมาพักที่บ้านเปือย ก็พากันออกมาทำความสะอาดตรงที่หลวงพ่อปักกลด เพื่อรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ จะได้จดจำให้ลูกหลานได้ฟัง

หลังจากออกพรรษาที่วัดหนองป่าพง ท่านได้มาร่วมงานกฐิน ที่วัดหนองไฮ สาขาที่ 4 วัดหนองป่าพง ซึ่งในขณะนั้นสาขายังไม่มีพระมาก พระสงฆ์แต่ละวัดก็มาช่วยกันทุกวัด ในช่วงก่อนหน้านี้ บริษัทรับเหมาสร้างถนนสายเดชอุดม-โชคชัย หรือถนนสายยุทธศาสตร์ 24 ได้มาตั้งแคมป์ที่พักที่บ้านไทพัฒนา อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อสร้างถนนเสร็จก็ย้ายไปที่อื่น จึงทำให้บริเวณที่ตั้งแคมป์ว่างเปล่า เจ้าของที่ดินเลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่ชา จึงถวายที่ดินบริเวณนั้นให้กับหลวงปู่ชา หลวงปู่ชาจึงมีคำสั่งให้ หลวงพ่อสีไปปรับพื้นที่บูรณะให้เป็นที่พักสงฆ์

หลวงพ่อสีเมื่อได้รับคำสั่ง ท่านก็เข้าไปสำรวจบริเวณรอบๆ ที่ตั้งแคมป์ มีแต่ ป่าตำแย (หมามุ้ย) หลวงพ่อสีคิดว่า "ไม่อย่ากมาอยู่มีแต่ตำแย" หลังจากนั้นพระสงฆ์วัดหนองป่าพง ก็ลงมาช่วยรวมทั้งญาติโยมบ้านใกล้เคียง ช่วยกันสร้างศาลา 2 หลัง กุฏิ 5 หลัง ก็แล้วเสร็จในเวลาไม่นาน แล้วจึงตั้งเป็นที่พักสงฆ์ ชื่อว่า "วัดแคมป์" ปัจจุบัน คือ วัดไทยพัฒนา

LP Si Siriyano 09

ในระหว่างหลวงพ่อสีอยู่วัดแคมป์ ได้มีคณะญาติโยมทางบ้านเปือย นำโดย นายคำ เสนาพันธ์ (กำนันตำบลโนนกาเล็น ในสมัยนั้น) ได้เข้าไปหาหลวงปู่ชาที่วัดหนองป่าพง เพื่อจะนิมนต์หลวงพ่อสีไปอยู่ที่บ้านเปือย เพราะมีพื้นที่ป่าใหญ่สมบูรณ์เหมาะที่จะสร้างวัดได้ และได้เตรียมการไว้เบื้องต้นแล้ว พอถึงวัดหนองป่าพง คณะญาติโยมก็เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่ชา แล้วบอกความประสงค์ว่า "สิมานิมนต์ญาถ่านสี โอ๊ะ! หลวงพ่อสี ไปอยู่บ้านเปือย ข้าน้อย" หลวงปู่ชาตอบว่า "บ่แม่นสิเอาพระข่อยไปถิ่มบ้อ" ญาติโยมตอบว่า "บ่ดอกข้าน้อย จังใด๋หลวงพ่อสีกะเป็นคนบ้านเปือย พี่น้องกะมีหลายอยู่" หลวงปู่ชาจึงพูดกับญาติโยมบ้านเปือยว่า "ข่อยกะยังบ่รับปากด้วย ให้คุยกับเพิ่นเบิ่งก่อน" แล้วคณะญาติโยมก็พากันกลับบ้าน

วันต่อมา หลวงปู่ชาจึงให้โยมไปตามหลวงพ่อสีที่วัดแคมป์ กลับมา วัดหนองป่าพง หลวงปู่ชาจึงแจ้งข่าวให้ทราบว่า ญาติโยมบ้านเปือยมานิมนต์ให้กลับไปอยู่บ้านเปือย หลวงพ่อสีบอกว่า "บ่อยากไปอยู่ปานได๋แหลว แนวเคยอยู่มาแล้ว" แต่ด้วยความเคารพนับถือหลวงปู่ชา จึงรับปากว่าจะไป วันต่อมาหลวงปู่ชาก็พาหลวงพ่อสีมาส่งที่ ป่าดงกุดหินแห่ ญาติโยมบ้านเปือยคณะหนึ่งก็ออกมารับ และจัดเตรียมสถานที่พอได้พักอาศัยก่อน เลือกจุดที่หลวงพ่อสีมาปักกลดครั้งแรก เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2514 เป็นจุดเริ่มต้นตั้งวัด บริเวณนั้นจึงถือกำเนิดเป็น วัดป่าศรีมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2517 มาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาหลวงปู่สี สิริญาโณ ก็ได้อยู่ที่วัดป่าศรีมงคลมาโดยตลอด และมีวัดที่หลวงปู่เคยไปสร้างไปบูรณะอีกหลายแห่ง และอยู่จะพรรษา เช่น

  • วัดป่าเลิงแฝก บ้านเลิงแฝก ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • วัดเขาภูแพน บ้านหนองยาง ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
  • วัดป่าภูตามุย บ้านตามุย ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

LP Si Siriyano 04

  • วัดป่าสิริพะลานทราย บ้านหนองฆ้อง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศรีมงคลธรรมสถาน (ริมโขง) บ้านตามุย ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ที่ วัดป่าศรีมงคล (วัดป่าบ้านเปือย) อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้สร้างฌาปนสถานไว้สำหรับองค์ท่านเองไว้แล้ว เป็นการเตรียมการอย่างไม่ประมาทและเพื่อไม่ให้รบกวนแก่ศิษย์ในภายหลัง ถือเป็นการสอนมรณานุสติให้แก่ศิษยานุศิษย์ด้วย

ที่มา : หนังสือ "สิริญานุสรณ์ ๒" พิมพ์โดย พระเสกสรรค์ มหาปุญโญ และคณะสงฆ์วัดป่าศรีมงคล

ข้อคิดธรรมะ จากหลวงปู่สี สิริญาโน

มีโยมชาวต่างชาติพำนักอยู่ทางใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาถามท่านว่า "ท่านเป็นธรรมยุติ หรือมหานิกาย" หลวงปู่สีท่านตอบว่า "หลวงพ่อชา ท่านพาว่า ไม่เป็นธรรมยุติ ไม่เป็นมหานิกาย เป็น 'พุทธนิกาย' นิกายของพระพุทธเจ้า ไม่ต้องเป็นอะไรทั้งนั้น ไม่เอาอะไรทั้งนั้น ลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ไม่เอา สุขทุกข์ก็ไม่เอา อยู่กับความว่างดีที่สุด"

..อันตัวเราก็มี ๒ อย่าง รูปธรรมก็คือ ธาตุดินกับธาตุน้ำ สำหรับธาตุไฟกับธาตุลม เป็นนามธรรม รวมกันเป็นธาตุทั้ง ๔ ที่ทุกคนมีเหมือนกันหมด ฉะนั้นอย่าได้ยึดมั่นถือมั่น ให้เจริญภาวนารักษาศีล มีสติด้วย นั่งสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา.."

LP Si Siriyano 10

..การทำบุญ ถ้าพูดตรงๆ บุญก็คือความสุข บาปก็คือความทุกข์ บุญหมายถึงสภาพความสุข ความรื่นเริงพอใจในตนเอง อารมณ์ที่ชอบใจก็เป็นบุญ อารมณ์ที่ขัดใจก็เป็นบาป สวรรค์นรกมันไม่มีจริง แค่พูดตามกันไปเฉยๆ พูดตรงๆ ตามธรรมะของพระพุทธเจ้า สวรรค์กับนรก ก็คือ ทุกข์กับสุข..”

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดพระราชทานสัญญาบัตร ตั้งสมณศักดิ์ หลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล จังหวัดอุบลราชธานี เป็น พระราชวัชรสิริมงคล มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 4 รูป คือ พระครูปลัด 1 พระครูสังฆรักษ์ 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1

redline

backled1

Boonserm header

Boonserm 01หลวงพ่อบุญเสริม ธมฺมปาโล

พระนักเทศน์ (อดีตนักร้อง-นักพากย์ภาพยนตร์) ผู้สร้างสุขด้วยธรรมะเฮฮา

พระครูวิมลธรรมรัตน์ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อบุญเสริม ธมฺมปาโล นามเดิมของท่านคือ นายบุญเสริม อุกาพรหม เป็นบุตรชายลำดับที่ 4 ในจำนวนบุตร-ธิดา 9 คน ของ นายเกลี้ยง อุกาพรหม และ นางเต้า อุกาพรหม (สกุลเดิม ดวงบุปผา) เกิดวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2489 ณ บ้านหนองตาโผ่น บ้านเลขที่ 125 ถนนกันทรลักษ์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จาก โรงเรียนบ้านหนองตาโผ่น (ปัจจุบันเป็น โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น มิตรภาพที่ ๕) และเข้าเรียนต่อในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7 ณ โรงเรียนวารินชำราบ

บิดา-มารดา ของท่านเป็นคนขยันขันแข็งทำมาหากิน มีอาชีพค้าขายในตลาดสดเทศบาลตำบลวารินชำราบ ท่านจึงเข้าไปช่วยทางบ้านค้าขายในตลาดสดเป็นประจำ

ในช่วงหลังจากจบการศึกษา ในระดับประถมศึกษาปีที่ 7 ช่วงวัยรุ่น ท่านมีโอกาสได้พบกับ พระอาจารย์ฉลวย ซึ่งเป็นเพื่อนสหธรรมิกกับหลวงปู่ชา สุภัทโท ที่ได้จาริกแสวงบุญมาถึงอำเภอวารินชำราบ บิดาของท่าน (ตาเกลี้ยง) ได้มีโอกาสพบสนทนาธรรมด้วย จึงได้เอ่ยปากฝากลูกชายให้บวชเณร เพื่อศึกษาธรรมะในเบื้องต้น ท่านจึงได้บวชติดตามพระอาจารย์ฉลวยไปศึกษาธรรมะ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นานถึง 3 พรรษา แต่ด้วยเหตุที่พ่อเกลี้ยงมีความสนใจในพระพุทธศาสนา จึงได้เข้าวัดเพื่อศึกษาธรรมะ แม่ต้องหาเลี้ยงลูกเพียงลำพัง

Boonserm 02

ท่านจึงได้ตัดสินใจลาสิกขาบท กลับมาช่วยแม่ทำงานหาเงินเลี้ยงน้องๆ ขายสินค้าทุกชนิดแล้วแต่แม่จะจัดการมาให้ บางครั้งท่านก็หาสินค้ามาขายเสียเอง เงินกำไรที่ได้ก็เอามารวบรวมให้แม่ บางครั้งท่านไปกับคาราวานขายสินค้าไปตามต่างจังหวัดถึง นครพนม สกลนคร อุดรธานี มหาสารคาม ขอนแก่น เมื่อกลับมาท่านจะส่งเงินให้แม่ทุกครั้ง

มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดความผิดหวัง ด้วยความรู้สึกน้อยใจแม่ ท่านได้แอบนำเงินที่ได้จากการขายสินค้าไปเป็นค่าเดินทาง หนีแม่ไปกรุงเทพฯ เพื่อตามหาพี่ชายคนโต และคิดว่าจะไปหางานทำในกรุงเทพฯ แต่กลับต้องไปเลี้ยงหลานให้พี่ชายแทน สุดท้ายจึงหาวิธีหาเงินเป็นค่าเดินทางกลับบ้านที่อำเภอวารินชำราบอีกครั้ง ด้วยความสำนึกในบุญคุณของพ่อแม่ และกลับมาเรียนตัดผมกับพ่อ เพื่อเป็นนักตัดผมมืออาชีพ และนักออกแบบทรงผมฝีมือดี

เพื่อความก้าวหน้าของครอบครัว พ่อแม่ได้พาลูกๆ ที่โตแล้ว เข้าไปเช่าบ้านในตัวเมือง บ้านเลขที่ 21/7 ถนนกันทรลักษ์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (แถวห้าแยกวงกลม วารินฯ) ห่างจากบ้านสวนหนองตาโผ่น ไปประมาณ 1 กิโลเมตร และเปิดกิจการร้านตัดผม มีพ่อ (ตาเกลี้ยง) เป็นหลักให้ โดยมีลูกชาย คือ นายบุญส่ง นายบุญเสริม เป็นนายช่างรอง มีช่างในร้านอีก 3-4 คน นับเป็นร้านตัดผมที่มีชื่อเสียงเลื่องลือพอสมควรในเมืองวารินชำราบ และเป็นร้านแรกที่มีพัดลม (โดยใช้ผ้าผืนใหญ่ๆ ติดขึงบนเพดานเพื่อพัดโบกไปมาให้แขกที่มาตัดผม)

Boonserm 03

ส่วนพี่น้องคนอื่นๆ ไปค้าขายในตลาดสดวารินชำราบ เป็นครอบครัวที่อยู่ท่ามกลางคนจีนแคระ แต้จิ๋ว จนทำให้นายบุญเสริมพูดภาษาจีนได้ดี ทั้งจีนแคระ และจีนแต้จิ๋ว ด้วยความเป็นผู้มีอัธยาศัยดี ทำให้ท่านมีเพื่อนมากมาย ทั้งเพื่อนในวัยเดียวกัน รุ่นน้อง วัยรุ่นหลายรุ่น ท่านมีเรื่องเล่ามากมายไม่จบไม่สิ้น อารมณ์ดี หลายคนเข้ามารอคอยในร้าน ไม่ได้มาตัดผม แต่มารอฟังว่า "วันนี้พี่เสริมจะเล่าอะไรให้ฟัง"

ถึงช่วงหนึ่งของชีวิต ท่านได้ไปประกวดร้องเพลงที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ในแนวเพลงไทยสากล หลังจากนั้นท่านเริ่มเป็นที่รู้จักกันในฐานะนักร้อง และได้เป็นนักร้องประจำวงดนตรี ชื่อวง Spider ของ พันเอกสุบัน คงนิล (อดีตนายทหารดุริยางค์ มทบ. 22) รับใช้พี่น้องชาวอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงนานหลายปี เป็นพิธีกรทอล์คโชว์ ชอบการแสดง เป็นจำอวดหน้าเวทีคอนเสิร์ต จนมีชื่อเสียงพอตัว โดยยังคงเป็นช่างตัดผมขวัญใจวัยรุ่นในตอนกลางวัน และเป็น นักร้อง รับงานร้องเพลงตอนกลางคืน จนสุดท้ายท่านได้ร่วมกันตั้งวงดนตรีสตริงกับเพื่อนรัก (เฮียเตี้ย โรงหนังวารินภาพยนตร์) ชื่อวง Big Ant รับงานทั่วไป อยู่นานประมาณ 3 ปี

ความทีท่านเป็นเพื่อนกับเฮียเตี้ยแห่งโรงหนังวารินภาพยนตร์ วันใดที่นักพากย์หนังไม่มา หรือมาไม่ทันรอบฉาย ท่านก็ต้องไปรับงานพากย์หนังเพิ่มอีก นี่คือที่มาของการเป็น "นักพากย์หนัง" ประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตก็ได้เพิ่มอีกอาชีพหนึ่งคือ การทำหนังเร่ ซึ่งเป็นการฉายหนังล้อมผ้านี้ จะต้องทำทุกอย่าง ทั้งพากย์เอง คุมการฉาย การล้อมผ้าเอง นี่คือ การเป็นนักบริหารจัดการ ท่านไม่เคยพัก จนท่านต้องทิ้งอาชีพช่างตัดผมไปโดยปริยาย

Boonserm 04

ในขณะที่ พ่อ-แม่ มีความเลื่อมใสในทางธรรม ได้เข้าไปปฏิบัติเป็นโยมอุปัฐากที่วัดหนองป่าพงโดยสมบูรณ์ แต่การทำมาหากินยังไม่สิ้น ท่านพาน้องๆ ค้าขาย ทำมาหากินไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่ง กิจการหนังเร่เริ่มสะดุดหยุดตัวลง นักพากย์ตกงานเพราะช่วงนั้นมีภาพยนตร์ 35 ม.ม. เสียงในฟิล์มออกมา เครื่องฉายขนาด 16 ม.ม. ต้องปรับเปลี่ยน สุดท้าย บริษัทหนังเร่ใหญ่จากจังหวัดสุรินทร์ได้ให้โอกาสท่าน ได้เข้าร่วมงานเป็นผู้จัดการหนังเร่ ประจำสาขาที่ จังหวัดศรีสะเกษ และได้เพิ่มสาขาในอำเภอวารินชำราบ อีก 1 สาขา ท่านทำหนังเร่ต่อมา 4 - 5 ปี ก็ต้องหยุด เพราะแม่ไม่สบาย ส่วนพ่อเกลี้ยงได้จาริกแสวงบุญไปกับ หลวงปู่ชา สุภัทโท ไปเรื่อยๆ ครอบครัวจึงได้ย้ายกลับมาอยู่รวมกันที่บ้านหนองตาโผ่น เป็นครอบครัวใหญ่อีกครั้ง

ปี 2533 นางสาวพิสมัย อุกาพรหม (น้องสาวคนที่ 6) ได้เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต พ่อไปแสวงบุญที่ วัดป่าคล้อเจริญธรรม อำเภอน้ำยืน แม่ที่ป่วยจึงไม่มีใครดูแล ท่านจึงลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการบริษัทหนังเร่ เพื่อมาดูแลแม่ โดยไปร้องเพลงที่ซีซอไนต์คลับในเวลากลางคืน และกลางวันดูแลแม่ที่ไม่สบาย น้องที่เป็นครูที่โรงเรียนสตรีสิริเกศ ต้องเดินทางไปกลับ อุบล - ศรีสะเกษ เพื่อเปลี่ยนกันมาดูแลแม่

Boonserm 05

สุดท้ายท่านสงสารโยมแม่มาก จึงตั้งใจอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า หากโยมแม่ของท่านหายจากการเจ็บป่วยเดินได้ จะบวชพระอีกครั้ง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แม่ ปรากฏว่า โยมแม่มีสุขภาพดีแข็งแรงขึ้น สามารถลุกเดินได้ ท่านจึงต้องทำตามคำอธิษฐานนั้นโดยตั้งใจว่าจะบวชสักหนึ่งพรรษา ซึ่งเจ้อ๋า (ร้านวารินเบเกอรี่) ได้พาท่านไปบวชที่วัดป่าใหญ่ (วัดมหาวนาราม) โดยท่านเจ้าอาวาสเป็นอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วได้มาจำพรรษาที่วัดหนองป่าพง และมีโอกาสได้บริบาล ท่านหลวงปู่ชา สุภัทโท ซึ่งอาพาธอยู่ในขณะนั้น

คุณแม่ท่านอาการดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนท่านก็ยังคงติดวัด และบวชต่อไม่มีวี่แววว่าจะลาสิกขาบท ความห่วงหมดไปเพราะน้องที่เป็นครู ได้กลับมาสร้างบ้านให้พ่อกับแม่ในปี พ.ศ. 2535 และย้ายมาประจำที่ โรงเรียนโนนค้อวิทยาคม อำเภอโนนคูณ ศรีสะเกษ สามารถกลับมาดูแลพ่อ-แม่แทนท่านได้ และในปี 2536 ท่านได้แวะมาบอกที่บ้านกับพ่อใหญ่สา ว่าท่านจะไปอยู่ที่วัดป่ากัทลิวัน บ้านสวนกล้วย (ส่วนใหญ่เรียกจนติดปากว่าท่านอยู่ วัดป่าบ้านสวนกล้วย จนทุกวันนี้)

Boonserm 07

หลวงพ่อบุญเสริม ธมฺมปาโล ท่านมีความสามารถในการเทศนาสั่งสอนญาติโยม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพให้ได้รับธรรมะตามหลักศาสนาด้วยความสนุกสนาน เฮฮา เพราะในอดีตท่านคือ นักพากย์ภาพยนตร์ มากความสามารถ เป็นนักร้องที่สามารถร้องเพลงและสื่อสารได้หลายภาษา ท่านจึงนำเอาความสามารถพิเศษนี้มาสอดแทรกในการเทศนาโปรดญาติโยม ท่านมีกุศโลบายในการชักนำให้ชาวบ้านรอบวัดหันมาสนใจช่วยเหลือพัฒนาวัด ชักจูงลูกหลานในวัยเยาว์ให้มาบวชเรียนและสนใจในธรรมะ ท่านได้เทศน์สั่งสอนโปรดญาติโยมในทุกสาขาอาชีพอย่างสม่ำเสมอ มีโครงการพัฒนาเยาวชนให้พ้นปลอดจากยาเสพติด เดินทางไปเทศนาตามกิจนิมนต์ทั่วประเทศ

อบรมคณะครูอาจารย์ วัดป่ากัทลิวัน (วัดป่าสวนกล้วย) 5 เมษายน 2543

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 พระครูวิมลธรรมรัตน์ (หลวงพ่อบุญเสริม ธมฺมปาโล) แห่ง วัดป่ากัทลิวัน สาขา 6 วัดหนองป่าพง (วัดป่าสวนกล้วย) ตำบลสวนกล้วย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มรณะภาพลงแล้ว ด้วยอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ที่โรงพยาบาลบุณฑริก อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี หลังรับกิจนิมนต์แสดงธรรมเทศนาที่ อำเภอบุณฑริก และนำสรีระสังขารมาจัดการงานศพอยู่ที่วัดป่ากัทลิวัน (วัดป่าสวนกล้วย) รวมอายุ 67 ปี 7 เดือน 4 วัน

Boonserm 06

พระธรรมเทศนาบนเวทีหมอลำ โดยหลวงพ่อบุญเสริม ธมฺมปาโล
ณ วัดใหม่ทองสว่าง จังหวัดอุบลราชธานี (มกราคม 2554)

redline

backled1

Subcategories

ประวัติหลวงพ่อชา

พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อ

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)