foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

LP Lee header

LP Lee 01หลวงปู่ลี กุสลธโร

ชาติกำเนิด

หลวงปู่ลี กุสลธโร นามเดิมขององค์ท่านชื่อ ลี สาลีเชียงพิณ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2465 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ ที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของ นายปุ่น และนางโพธิ์ ชาลีเชียงพิณ มีพี่น้องร่วมกัน 9 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 5 คน การศึกษาทางโลกเรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 เมื่ออายุ 12 ปี เมื่อวัยหนุ่มอายุประมาณ 20 ปีก็ได้แต่งงานกับนางสาวตีหญิงสาวในหมู่บ้าน จนกระทั่งนางตั้งท้อง เมื่อคลอดออกมาปรากฏว่า ลูกเสียชีวิต ท่านได้รู้สึกเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง

การแต่งงานครั้งนี้ ท่านเล่าว่า ที่แต่งงานกับนางสาวตี มิได้แต่งเพราะความรักเสน่หา หากแต่เป็นการแต่งแบบคลุมถุงชน (การเลือกให้ของพ่อ-แม่ทั้งสองฝ่ายที่เห็นว่าดี เหมาะสมกัน ได้เวลาครองเรือน) โดยที่ท่านยังไม่เคยรักผู้ใดเลย ท่านอยู่กับภรรยาได้เพียง 2 ปี 3 เดือน จึงได้ขอออกบวช เพราะได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐานที่เป็นศิษย์ของท่าน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่เดินธุดงค์มาพักยังป่าแถบหมู่บ้านของท่าน ได้ฟังธรรมเทศนาจนเกิดความเลื่อมใส จิตใจภายในอยากจะบวชแสวงหาความพ้นทุกข์

LP Lee 03

อุปสมบท

หลวงปู่ลี อุปสมบทที่ วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมือวันที่ 30 มกราคม 2493 โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านได้เล่าว่า เป็นการบวชพระเมื่อครั้งงานเผาศพ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต และเมื่ออุปสมบทได้ฉายานามว่า “กุสลธโร” แปลว่า “พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี” พรรษาแรกท่านจำพรรษาที่วัดป่าทรงคุณ จังหวัดปราจีนบุรี อยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม แม้อายุพรรษามากท่านมักวางตนเป็นเสมือนผู้น้อย

LP Lee 05

หลวงปู่ลี ท่านนั้นได้ติดสอยห้อยตาม "หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน" ตลอดมา แม้หลวงตาบัวจะหนีออกวิเวกไปทางไหน หรือจะดุ จะว่า จะไล่ให้หนีไปอย่างไร หลวงปู่ลีก็อดทนติดตามไปทุกหนทุกแห่งไม่เลิก ไม่รา ไม่ท้อถอย หวังให้ท่านช่วยอบรมสั่งสอนให้ สุดท้ายหลวงตามหาบัวก็ยอมรับเป็นศิษย์ ท่านมักติดตามหลวงตามหาบัวไปตามสถานที่ต่างๆ เสมือนเณรน้อยๆ ท่านเป็นศิษย์ที่ซื่อสัตย์ เคารพยำเกรง และปฏิบัติตามคำสอนครูบาอาจารย์ อย่างหาที่ติมิได้ ท่านได้รับการยกย่องจากหลวงตาว่าเป็น “เศรษฐีธรรม” และหลวงตามักเรียกนามท่านสั้นๆ ว่า “ธรรมลี” ปีพุทธศักราช 2494 ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ต่อจากนั้นท่านได้ติดตามหลวงตาไปจำพรรษายังจังหวัดจันทบุรี และย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

LP Lee 04

การมีส่วนร่วมในโครงการผ้าป่าช่วยชาติ

หลวงปู่ลี เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยมักน้อย สันโดษ มีความเคารพรักครูบาอาจารย์เป็นสำคัญ เช่นเหตุการณ์ผ้าป่าช่วยชาติที่ หลวงตามหาบัวจัดตั้งขึ้น อดีตสะท้อนปัจจุบันเป็นที่อัศจรรย์เสมอในบุญบารมี ใครจะคาดคิดได้ว่า พระรูปร่างเล็กๆ อยู่ในป่า ไม่มีโวหารเทศนาต้อนรับแขกผู้มาเยือนเช่นท่าน จะสามารถหาทองคำช่วยชาติกับหลวงตาได้ถึง 500 กว่ากิโลกรัม คิดเป็นเงินหาน้อยไม่ ขอเกาะชายฝ้าเหลืองไปด้วยนะ ท่านเล่าว่า อดีตชาติท่านเกิดเป็นสุนัขรับใช้องค์หลวงตามาหลายภพชาติ แม้ในภพชาติที่เป็นสุนัขนั้น หลวงตาก็ได้เมตตาอบรมสั่งสอน ดัดนิสัยจนเป็นสุนัขที่มีนิสัยดี ไม่เกเร นอกจากนั้น ท่านยังเคยเกิดเป็นช้าง… ซึ่งแสดงให้เห็นความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างที่สุด หลังจากนั้นสาธุชน ก็มีศรัทธาเลื่อมใสและได้มีร่วมทำบุญกับหลวงปู่ลี ตั้งแต่นั้น

LP Lee 02

พระธรรมโอวาท

...บ่ทันนาน คั่นจิตเป็นปัจจุบันอยู่ฮั่น บ่เห็นหนึ่งต้องแนวหนึ่งหละ มันซิเกิดเฮ็ดให้มันเป็นปัจจุบัน อดีตที่ล่วงมาแล้ว ก็อย่าไปคำนึงเลย มันก็ออกไปจากปัจจุบันนั่นหละ อนาคตคือกัน มันออกไปจากปัจจุบันนี่ละ อย่าไปคำนึงมันเลย คุมมันเข้า เบิ่ง ให้เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่นละ อย่าไปเบิ่งหัวใจผู้อื่น... คั่นคุมเจ้าของแท้ๆ ต้องเห็น คั่นพิจารณาสภาพร่างกายก็พิจารณาอยู่ฮั่น แต่พื้นเท้ามาศีรษะ แต่ศีรษะลงมาพื้นเท้า ให้พิจารณาอยู่ฮั่น เอาแหมะ ๒๔ ชั่วโมงนี่ บ่ให้มันปากมาเลย ต้องเกิดแน่... อันนี้หัวใจมันแลนอยู่นำโลกนำสงสารพุ่น มันบ่ปักมั่น แล้วซิเห็นหยังฮั่น คือกินข้าวเนี่ย กินนอนอยู่ ย้ายไปนั่น นอนอยู่ก็ไปฮั่น นอนก็ไปนี่ เลยบ่อิ่มจักที นี่เรื่องมัน

 

เอ้า พิจารณามันซี คั่นคุมเข้าแท้ๆ มันซิต้องจับได้เงื่อน เดี๋ยวมันซิเกิดอันนั้นเกิดอันนี่โลด นี่เฮ็ดจริงทำจริงมันต้องรู้จริง... ไอ้ พิจารณาโตนี่ละ โตสำคัญ ถ้าหากว่าได้จับจุดได้ละ เออ มันซิออกอุทานบัดทีนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจทั้งนั้น... คั่นตีแตกอริยสัจนี่ได้แล้ว ฮ่วย! กราบพระพุทธเจ้ากราบครูอาจารย์ โอ๊ย มันก็กราบอยู่จังซั่นหละ หมดคืนหละ นี่ เพิ่นเว่าจริงเฮ็ดจริง มันซิประมวลมาหมดดอก อันพระพุทธเจ้าเพิ่นเห็นนะ มันซิมาเกิดจากใจเฮานี่ละ... ให้พากันเร่งความพากความเพียร..."

หลวงปู่ลี กุสลธโร
วัดป่าภูผาแดง

LP Lee 06

ละสังขาร

ภายหลังปี พ.ศ. 2533 หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านได้สร้าง วัดเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี และได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้มาโดยตลอด

LP Lee 08

เนื่องด้วยองค์หลวงปู่ลี กุสลธโร มีอาการอาพาธด้วยโรคชรา ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 คณะศิษยานุศิษย์และพระอุปัฎฐากได้ส่งท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอุดรธานี หลังจากนั้นเมื่ออาการทุเลาดีขึ้น ได้นำกลับมาพักดูแลอย่างใกล้ชิด ณ ห้องปลอดเชื้อข้างศาลาใหญ่ ในวัดภูผาแดง โดยมีทีมแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี และแพทย์ทางเลือกมาดูแลเป็นระยะๆ และหลวงปู่ลีได้ละสังขารอย่างสงบในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 15.15 น. ณ ห้องปลอดเชื้อ ข้างศาลาใหญ่ วัดภูผาแดง นี่เอง รวมสิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 วัน พรรษา 69

LP Lee 09

11 พฤศจิกายน 2561 ประชาชนหลั่งไหลมาร่วมอาลัยหลวงปู่สี กุสลธโร

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)