foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

isan vocation

ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เป็นดินแดนที่ราบสูงที่กว้างใหญ่ มีเทือกเขาสูงแบ่งเขตออกเป็น 2 ส่วนคือ แอ่งโคราช ที่ประกอบไปด้วยพื้นที่ลุมน้ำมูล ชี กินบริเวณมากถึง 3 ใน 4 ของภาคอีสาน และแอ่งสกลนคร ได้แก่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง การสร้างบ้านเรือนของชุมชนตั้งแต่สมัยโบราณ มักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่มีแม่น้ำสำคัญๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับไปตั้งอยู่ บนโคกหรือเนินสูง ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึงมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน โพน หนอง นา ป่า" เป็นส่วนใหญ

isan kandan nai pi

บทกวีสะท้อนภาพ "ความทุกข์ยากของชาวอีสาน" จากธรรมชาติมาแต่ไกล ดินแดนที่มีสภาพดินปนทราย หากตามปกติก็เหมาะแก่การเพาะปลูกทำเกษตรกรรมเป็นอย่างดี แต่ฝนกลับไม่อำนวยปล่อยน้ำลงมาจากท้องฟ้า เพื่อให้ชาวนาได้ทำการเพาะปลูก จนแผ่นดินแห้งแล้งส่งผลให้น้ำตาของชาวอีสานตกรายลงมาแทนน้ำฝน แถมแดดยังร้อนเปรี้ยงปานหัวจะแตก แผ่นดินก็แตกระแหงอยู่ทุกหนแห่ง จนในใจหดหู่ห่อเหี่ยวดังคำว่า แผ่นอกที่ครางครึม ขยับแยกอยู่ตาปี” หมายถึง แผ่นอกหรือนัยหนึ่งคือ จิตใจแทบแยกแตกสลายอยู่ชั่วนาตาปี คำสั้นๆ แต่มีความหมายสะท้อนอารมณ์ออกมาได้อย่างถึงส่วนลึกของจิตใจเป็นที่สุด

ระบบชลประทานเปลี่ยนชีวิต

ชุมชนหมู่บ้านในภาคอีสาน สามารถรักษาการผลิตแบบพอยังชีพไว้ได้ยาวนานที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ ของประเทศ อย่างน้อยก็จนถึงกลางทศวรรษ 2520 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันสังคมอีสานมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก พื้นที่ซึ่งเคยเป็นดินแดนแห่งความแห้งแล้งกันดาร กลับกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ในอดีตเคยปลูกได้เฉพาะในภาคอื่นๆ เช่น ยางพารา สะตอ ทุเรียน และผลไม้นานาชนิด ด้วยการมีระบบชลประทานมากขึ้นจากโครงการในพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และแรงงานภาคอีสานที่มีอยู่อย่างล้นเหลือ และเป็นแรงงานอพยพที่ไปทำงานขายแรงงาน หรือประกอบการค้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในภาคอื่นๆ จำนวนมากที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ซึ่งส่งผลให้ฐานะทางเศรษฐกิจของคนอีสานที่อาศัยอยู่ในดินแดนยากจนที่สุดของประเทศเปลี่ยนแปลงไป

thai farmer 1

การทำมาหากิน หรือการประกอบอาชีพนั้น คนอีสานมีความรู้ความสามารถในด้านการเกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าวเป็นหลัก ทำไร่เป็นรอง ไร่สวนที่ทำก็เช่น การปลูกปอ ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู ไก่ เป็ด ส่วนใหญ่ทำเพื่อพออยู่พอกินตลอดปี เหลือก็นำไปขายหรือแลกเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เช่น ข้าวไปแลกเป็นเกลือ แลกเป็นปลาร้า หรือเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม มีบ้างบางหมู่บ้านที่ปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม เพื่อทอเป็นผ้าผืนทำเครื่องนุ่งห่ม กระจายไปทั่วภูมิภาค ด้านการค้าขายนั้นดูจะไม่เชี่ยวชาญเอาเสียเลย

ยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลง

ฟังเพลงนี้ที่ร่วมสมัยพัฒาชาติ เพื่อประกอบความเข้าใจในเหตุการณ์ ณ พ.ศ. 2504

ต่อมา ในช่วงปี พ.ศ. 2504 - 2506 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีช่วงเวลาของแผน 6 ปี โดยแยกออกเป็นช่วง 3 ปีแรก (2504-2506) และช่วง 3 ปีหลัง (2507-2509) รัฐบาลจะถือเอาการเจริญเติบโต และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมาย ในการพัฒนาประเทศ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้สามารถรองรับกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการค้า เรียกว่า ทำมาค้าขายเป็นหลัก ปลูกพืชเพื่อขาย เลี้ยงสัตว์เพื่อขาย และขาย ประชาชนทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์จากพัฒนาการเศรษฐกิจตามสมรรถภาพของตน ตลอดจนมุ่งส่งเสริมการค้าเสรี ขยายการผลิต ส่งเสริมกิจกรรมและการลงทุนของภาคเอกชน โดยรัฐบาลจะดำเนินงานเฉพาะงานพื้นฐานที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม  ส่งเสริมการผลิตด้านการเกษตรทั้งปริมาณและคุณภาพโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ

และแผนนี้เองที่เริ่มทำให้เกษตรกรอีสาน (หรือทั่วประเทศ) เริ่มเป็นหนี้ เพราะลืมวัฒนธรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ทำอาชีพให้พออยู่พอกิน แล้วหันมาเมามัวแต่การท่องคำว่า "รวย รวย รวย" จนลืมคำพอเพียงของพ่อหลวง รัชกาลที่ ๙ เสียสิ้น เมื่ออยากรวยก็ต้องทำให้มาก ทำให้มากต้องลงทุน ไม่มีทุนก็ไปกู้หนี้จากนายทุน ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย หัวอาหาร ยาปราบศัตรูพืช ทำได้ผลิตผลก็ถูกยึดไปใช้หนี้วนเวียนไป จนลืมตาอ้าปากไม่ได้ คนที่รวยไม่ใช่เกษตรกรแต่เป็นนายทุน พ่อค้าคนกลาง (ภาพชัดเจนไหมครับ)

thai kasetakon 1

มีหลายอาชีพที่เคยทำกันมากมายในอดีต ผู้เขียนเองก็เคยทำช่วยพ่อ-แม่สมัยเมื่อยังเล็กเป็นเด็กน้อย เช่น การปลูกปอ (เพื่อนำมาฟอกขายให้พ่อค้า นำไปทอเป็นกระสอบป่าน) ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกมันสำปะหลัง แต่ในปัจจุบันนี้มีคนทำน้อยลงแล้ว หันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เลียนแบบตามๆ กัน (ข่าวว่าเขารวยเลยเอามั่ง สุดท้ายก็จนเพราะปลูกไม่คิดถึงการตลาด) เช่น การปลูกยางพารา ปลูกกล้วยหอมทอง พูดแบบตรงไปตรงมาก็คือ ข้าราชการไทยที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ก็ไม่มีความชำนาญในด้านการตลาด บอกให้ปลูกได้งามแต่ไม่รู้จะไปขายที่ไหน ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านเศรษฐกิจก็รู้จักการขายแต่ไม่รู้การวางแผนการผลิต และไม่เคยคุยกับข้าราชการด้านการเกษตรว่าจะร่วมมือกันอย่างไร? เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยยุค 4.0 จะต้องกลับไปคิดและปรับปรุงระบบราชการเสียใหม่ ให้มีการสื่อสารทำความเข้าใจในเรื่องเดียวกัน มิใช่ประสานงากันทุกเรื่อง

เรื่อง อาชีพ และเครื่องมือทำมาหากินของฅนอีสาน นี้จะนำเสนอ อาชีพของฅนอีสานที่เคยทำในอดีต เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้เขียนเคยพบเห็น เคยลงมือทำมาเล่าสู่กันฟังให้เห็นภาพชีวิต (อดีตของฅนอีสาน) รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ที่บางสิ่งยังพอมีและใช้กันอยู่ บางอย่างเริ่มสูญหายไป เพราะเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เคยมีในอดีตที่เริ่มสูญหายไป จนบางคนไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อ เอามาเล่าสู่กันฟังครับ

อาชีพฅนอีสานในอดีต

แหล่งทำมาหากินอีสานบ้านเฮา

  • ป่าบุ่งป่าทาม ทางภาคใต้เรียก "ป่าพรุ" ทางภาคกลางเรียก "พื้นที่ชุ่มน้ำ" สากลหรือต่างประเทศเรียก "แรมซาร์ไซต์" ที่เป็นแหล่งอาหาร สมุนไพรยารักษาโรค ของฅนอีสาน ในประเทศไทยขึ้นทะเบียนแล้ว 15 แห่ง อยู่ในภาคอีสานบ้านเฮา 3 แห่ง
  • ดอนปู่ตา นอกจากเป็นที่เคารพสักการะแล้ว ยังเป็นตลาดสด หรือตู้เย็นเก็บอาหารสดๆ ให้ฅนอีสานในอดีต

รายการที่นี่บ้านเรา ตอน มูนแห่งแม่มูล

เครื่องมือ-เครื่องใช้ในการทำมาหากิน

catch fish 01

ส่อนสวิง แก่มอง หากุ้ง หอย ปลา ปู ไปกินแลง

[ อ่านเพิ่มเติมเรื่อง : อาหารการกินอีสานบ้านเฮา ]

redline

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)